เปรตเป็นอมนุษย์ตามคติความเชื่อที่มาพร้อมศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเป็นตัวแทนของความตะกละ อยากได้ของคนอื่น ที่ไม่รู้จักพอ เกิดขึ้นในจิตใจ จนทำให้ผู้อื่นและตนเองเกิดความเดือดร้อน
ลักษณะของเปรตที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักกันดีจะมีลักษณะทางกายภาพที่คนโบราณมักจะเล่าให้ฟัง คือมี ความสูงเท่าต้นตาล ท้องใหญ่เท่าภูเขา ลำคอเรียว ปากเล็กเท่ารูเข็ม และมักจะออกมาในเวลาตอนช่วงเช้ามืด โดยจะส่งเสียงร้องที่แหลมยาวฟังเป็นภาษาที่ยากเกินกว่าชาวบ้านคนธรรมดามักจะเข้าใจได้ ทำให้ชาวบ้านมีความหวาดกลัว เปรตจะมีหลายชนิด ได้แก่ เปรตที่มีความอดอยากหิวโหยโดยความละโมบหิวกระหาย ซึ่งเปรตบางชนิดมีความรู้สึกว่าตนยากไร้ แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกมั่งคั่ง เป็นลักษณะความรู้สึกที่มีขัดแย้งและสับสนในเวลาเดียวกัน ส่วนเปรตอีกบางชนิดที่มีลักษณะเต็มไปด้วยความอยาก ไม่ว่าจะ อยากมี อยากได้ อยากเป็น ซึ่งจะกินทั้งสิ่งที่ใช่และไม่ใช่อาหาร คือพวกเอาปัญญาไปใช้สนองต่อความอยากของตนหรือกลุ่มของตน
ทั้งนี้ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ลองมาดูลักษณะอื่นว่าเปรตลักษณะอย่างไรกันบ้าง
เปรตจะแบ่งลักษณะออกเป็น ๑๒ ตระ:Xล ได้แก่
๑. วันตสาตะ คือ เปรตที่อยู่ในตระ:Xลการกินเศษอาหารที่เขาเหลือคายทิ้งเพื่อดำรงชีวิต
๒. กุณปขาทา คือ เปรตที่อยู่ในตระ:Xลของการกินอยู่กับซากสัตว์ต่างๆ “เวตาล(vetala)”คือ เปรตที่เป็นใหญ่อยู่ในตระ:Xลกุณปขาทาและเป็นกึ่งสัตว์หิมพานต์ด้วย โดยพิจารณาจากพฤติกรรมของเวตาล คือ เวตาลนั้นเป็นวิญญาณร้ายที่วนเวียนอยู่ตามสุสาน เป็นปีศาจของบรรพชนที่ลูกหลานไม่ยอมทำพิธีศพให้อาจจะรวมถึงบรรดาอาจารย์ที่หวงวิชา อาศัยในซากศพของผู้อื่น ชอบสิงอยู่ในป่าช้าหากินอยู่กับซากสัตว์ต่างๆ เวตาลมักจะปรากฏในลักษณะรูปร่างมนุษย์ แต่มือและเท้าหันกลับไปทางด้านหลัง นัยน์ตาเป็นสีลานแกมเขียว มีเส้นผมตั้งชันทั้งศีรษะ มือขวาถือไม้เท้า มือซ้ายถือหอยสังข์ ขณะเมื่อมาปรากฏตัวจะนุ่งห่มเสื้อผ้าสีเขียวทั้งชุด นั่งมาบนเสลี่ยง บางคราวก็ขี่ม้า มีภูตบริวาร ถือคบเพลิงแวดล้อมโดยรอบ และส่งเสียงโห่ร้องกึกก้อง เวตาลยังทำให้ผู้คนเป็นบ้า ฆ่าเด็ก และแท้งลูก แต่เวตาลยังมีข้อดี คือมันจะคอยดูแลหมู่บ้านที่เป็นเขตปกครอง ของมันเอง เนื่องจากเวตาลสารถปลุกชีพคนตายได้ ลักษณะของเวตาลจะช่างเจรจา ปากร้าย ปากจัด และเย่อหยิ่ง
๓. คูถขาทา คือเปรต ที่อยู่ในตระ:Xลกินแต่ของเสียจากสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น กากอุจจาระ ปัสสาวะ
๔. อัคคิชาลขาทา คือเปรตที่อยู่ในตระ:Xลกินข้าวเปลือกไฟแดงเป็นอาหารและอาจจะรวมถึงเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นๆด้วยลักษณะของเปรตตัวนี้จะมีปากอยู่เหนือกระหม่อมหัวและมักอาศัยตามโรงสีข้าว เพราะชอบผูกขาดการค้าการส่งออกข้าว
๕. ตัณหชิตา คือเปรตตระ:Xลนี้ คนทั่วไปมักจะรู้จักกันดี เพราะมีลักษณะคือตัวสูงเท่าต้นตาล ตัวผอม พุงโรก้นแฟบ ขอส่วนบุญมนุษย์บ่อยที่สุด
๖. สุนิชฌามก คือเปรตที่อยู่ในตระ:Xล มีฤทธิ์มาก เพ่งเล็งเอาแต่ของผู้อื่นอย่างไม่ถูกต้องทั้งทางกฎหมาย ศีลธรรม และเหตุผล ตัวดำ(หรือใจดำ)เหมือนอิฐถูกเผาชอบประดับแต่งตัว
๗. สัพพปากะ คือเปรตตระ:Xลจะมีลักษณะตัวสูงเหมือนตัณหชิตาแต่ตัวขาวเหมือนคลุกแป้งไม่สม่ำเสมอ หน้าตาแบนราบเหมือนหน้ากระดาน ขาวโพลนไม่เห็นจมูกปาก เห็นแต่ตาที่แสงเหมือนถ่านที่ลุกแดง
๘. สูจิมุขุ คือเปรตตระ:Xลนี้มีลักษณะปากเท่ารูเข็ม ท้องโตเป็นภูเขา ต้นตำนาน“ชิงเปรต”ภาคใต้
๙. ปัพพตังคา คือเปรตตระ:Xลนี้มีลักษณะร่างกายสูงใหญ่เท่าภูเขา เล็บมือเล็บเท้าผมและขนที่เป็นหอกดาบ ศาสตราวุธเวลาเดินศาสตราวุธจะกระทบกันเป็นไฟลุกไหม้ ความเดือดร้อนให้สังคมและตนเอง
๑๐. อชครังคา คือเปรตตระ:Xลนี้ มีลักษณะร่างกายเรียวใหญ่ยาว และลายเหมือนงูเหลือม
๑๑. เวมานิกะ คือเปรตตระ:Xลนี้ จะเป็นเศรษฐีที่ต้องเสวยทุกข์ในเวลากลางวัน แต่กลางคืนได้ไปเสวยสุขในวิมาน เวลาข้างขึ้น/ข้างแรม หรือเสวยทุกข์๑๕วัน และ เสวยสุขในวิมาน๑๕วัน ราว๑เดือน เวมานิกเปรตมีแต่ฐานะทางสังคมแต่ไม่มีอำนาจ ลักษณะคือกึ่งหนึ่งเป็นสัตว์นรกถูกลงทัณฑ์และอีกกึ่งหนึ่งเป็นข้าราชการนรกด้วย วิมานอยู่ในป่าหิมพานต์ข้างๆต้นนารีผล เป็นพวกที่หลอกคนไปค้าประเวณีแล้วมีอาชีพบังหน้า แต่วิมานของเปรตคือผลจากบุญฤทธิ์กึ่งหนึ่งความขาวสะอาดที่บังหน้า
๑๒. มหิทธิกา คือเปรตอยู่ในตระ:Xลที่มีฤทธิ์มาก เป็นใหญ่อยู่ในเมืองเปรตในป่าหิมพานต์ มีรูปอันงามเสมอด้วยเทพยดา มีตำแหน่งหน้าที่ ลักษณะคือกึ่งหนึ่งเป็นสัตว์นรกถูกลงทัณฑ์กึ่งหนึ่งเป็นข้าราชการนรกด้วย เป็นเปรตที่ขี่ช้าง ม้า ไม่ก็นั่งเกวียน ที่เป็นยานพาหนะประจำตำแหน่ง เป็นพวกที่อิทธิพลทำให้สังคมส่วนใหญ่เดือดร้อน ชอบอยู่เหนือกฎเกณฑ์ กติกาสังคมทุกรูปแบบ คล้ายโลกันตรนรก ซึ่งโลกันตร์ มาจาก โลก+อันตระ แปลว่า ระหว่าง คือ ทำตัวอยู่เหนือกฎกติกากฏหมายของโลก
ซึ่งสามารถแบ่งได้ ๔ ชนชั้นคือ
๑.กาลกัญชกาสูร คือ เปรตในจำพวกอสุรกาย มีตาและปากอยู่เหนือกระหม่อมแบบปู ใจกล้าหน้าแข็งแรง ชอบถือสากและตรีทุกเวลาและสถานที่ แสดงถึงอำนาจ และความไม่ไว้วางใจใครตลอดเวลา จอมอสูรราชาของหมู่กาลกัญชกาสูร คือ อสุรินทราหู มีความหิวจัด กินเดือน กินตะวัน หมายถึง ชอบกำจัดความสว่าง
๒.ขุปปิปาสิกะคือ เปรตที่มีสถานภาพหิวและกระหายไม่สิ้นสุด เป็นเปรตยมโลกตามธรรมของร่างกายผิดกับชนชั้นที่3
๓.นิชฌามตัณหิกะ คือ สถานภาพทางร่างกายไม่หิวโหย แต่จิตใจเต็มไปด้วยความโลภ ไม่รู้จักพอ มักมีแต่ความอยาก ตัณหิกะ หมายถึง ความอยากที่แผ่ซ่านออกแล้ว เพ่งเล็งจะเอาของผู้อื่นอย่างไม่ถูกต้องทั้งทางกฎหมาย ศีลธรรม และเหตุผล นิชฌาม,นิชฌาน ตรงกับ เพ่งโดยความโลภ คือ อภิชฌาวิสมโลภะ
๔.ปรทัตตูปชีวี คือ เปรตที่อาศัยอยู่ด้วยการขอส่วนบุญของผู้อื่น เป็นที่มาของ "เปรตขอแบ่งบุญ"และ"เปรตขอส่วนบุญ"เพราะ ปร แปลว่า ผู้อื่น ทัตต แปลว่า ให้แล้วหรือ"ทาน” อุปชีวี แปลว่า การดำรงชีวิตอยู่ ปรทัตตูปชีวี แปลว่า เปรตที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการที่ผู้อื่นเขาให้ทาน
“ปรทัตตูปชีวีเปรต”แบ่งเป็น ๔ ชนชั้น เท่านั้นที่มนุษย์จะทำทักษิณาทานอุทิศบุญกุศลส่งให้ได้
ซึ่งในพุทธกาลผู้ที่รู้จัก“นิชฌามตัณหิกเปรต”ที่เป็นอมนุษย์สิงอยู่ในมนุษย์ระดับท้าวพระยาอยู่เต็มนครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ คือ“ท่านพระมหาโมคคัลลาน์”!!!การดับขันธปรินิพพานของท่านจึงเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยสถานภาพร่างทรงเปรต(มนุสสเปโต)เหล่านี้เอง ในพุทธกาลมีคำพูดเปรียบเปรยว่า “กรุงราชคฤห์ แม้ตามปกติก็มากไปด้วยอมนุษย์” ก็ด้วยเหตุนี้เช่นกัน(นครเวสาลีก็เคยเจอในภัย ๓ ประการ)
วิธีสังเกต แมลง แมงป่อง ตะขาบ หนอน ฯลฯ(แมลงจำพวกปรสิต) เกิดจากซากและกลิ่นของเปรต(ซากและกลิ่นของเปรตคือความอยากความโลภที่สร้างมลภาวะให้ระบบนิเวศน์)สถานที่หรือเมืองใดมีแมลง(จำพวกปรสิต)เยอะ(มนุษย์กึ่ง)เปรตจะเยอะด้วย
ภัย๓ประการ คือ
๑.ทุพภิกขภัย(ข้าวยากหมากแพงเพราะมีการกักตุนสินค้า)
๒.โรคันตรภัย(โรคอันตรายระบาดคร่าชีวิตผู้คนเนื่องจากระบบสาธารณสุขมีปัญหา)
๓.อมนุษยภัย(อมนุษย์ที่สิงอยู่ในมนุษย์ระดับท้าวพระยาในพระนครเบียดเบียน)
นอกจากเป็นต้นเหตุของภัยทั้ง๓ประการแล้ว ยังเป็นต้นเหตุของ“ความพิโรธของพญานาค” “โลกร้อน”และ "ภัยธรรมชาติ ที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงและเกิดถี่ขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันนี้ด้วย"
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อเรื่องเปรตในทางพุทธศาสนา เพื่อต้องการให้เปรต เป็นตัวแทนถึง ความตะกละ อยากได้ของคนอื่นที่ไม่รู้จักพอ ที่อยู่ในใจของมนุษย์และทำให้เกิดทุกข์ แต่ถ้ามนุษย์ได้ตระหนักถึง และรู้จักระงับความต้องการ และพร้อมที่จะแบ่งปันให้ผู้อื่น ก็จะทำให้มีจิตใจเกิดความสุข
เครดิต:http://social.tnews.co.th/content/105199/