้้ัคำเตือน : บล๊อกมีความยาวมากกว่า 2000 ตัวอักษรแน่นอน ถ้าท่านใดสมาธิสั้น อย่าได้คิดอ่านครับ
และทัั้งหมดนี้ ขอให้ชาวเกรียนหลายๆคนได้อ่านด้วย จะได้ไม่ไปเถียงกับคนอื่น
เริ่มทำความรู้จักกับการ์ด Yu-Gi-Oh
ก่อนเริ่มเล่นเกมยูกิโอ เพื่อความสนุกควรรู้เรื่องราวของ ยูกิโอ
ยูกิโอ เป็นการ์ตูนแนวต่อสู้โดยการใช้ "การ์ดเกม" เป็นหลัก ผลงานของ คะซุกิ ทะกะฮะชิ (Kazuki Takahashi) เนื้อเรื่อง เป็นเรื่องราวของ มุโต ยูกิ (Muto Yugi) เด็กนักเรียนชั้นม.ปลายปี 2 ซึ่งมีปู่เป็นเจ้าของร้านเกมส์ซึ่งเป็นคนเรียบร้อยและใจดีและยอมคน ยูกินั้นไม่มีเพื่อนเลยนอกจากอันสุที่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่อนุบาล และภายหลังยูกิได้ต่อ ตัวต่อปริศนาพันปีได้สำเร็จทำให้เขามีอีกร่างนึงซึ่งเป็น"ฟาโรห์" ปรากฏตัวขึ้นมาใน ตัวต่อ ของเขา และสิงอยู่ใน ตัวต่อพันปีนั้น และหลังจากนั้นยูกิก็ได้ร่วมต่อสู้ กับเหล่าผองเพื่อนที่เค้าได้มาหลังจากได้พิสูจน์ตัวเองในหลายๆเรื่อง จนกระทั่งยูกินั้นต้องตามหา ความทรงจำแท้จริงของยูกิอีกคนที่สิงอยู่ในตัวต่อพันปีนั้น ทำให้ยูกิต้องเดินทางและต่อสู้กับคนต่างๆ มากมายเพื่อชิงความทรงจำของตัวเองอีกคนกลับคืนมา
เกมการ์ดยูกิโอ เป็นเกมการ์ดที่มีรูปแบบการเล่น และความสามารถที่หลากหลายอย่างมาก โดยผู้เล่นสามารถที่จะทำการพลิกแพลงเทคนิคต่าง ๆ ได้ตลอดเวลาทำให้การเล่นไม่น่าเบื่อหรือซ้ำซากจำเจ
การ์ดแต่ละใบนั้นจะมีความสามารถทีไม่เหมือนกัน ความยาก-ง่ายที่จะได้รับการ์ดมาก็จะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการ์ดใบนั้นมีความสามารถที่สูงมากหรือน้อยเพียงไร ซึ่งในส่วนนี้เราจะมาทำความรู้จักประเภทของการ์ดยูกิโอกันเสียก่อนเพื่อที่เราจะได้ใช้งานการ์ดต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กฏการเล่นยูกิโอ พื้นฐานการเล่นเกมการ์ด
ข้อบังคับพื้นฐาน
1.เริ่มต้นผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะมีพลังชีวิติหรือ LP เท่ากับ 8000 ในระหว่างเล่นฝ่ายใดเหลือ LP = 0 ฝ่ายนั้นจะถูกตัดสินว่าแพ้
2.การต่อสู้จะผลัดกัน เล่น คนละเทิร์น ในการเริ่มเล่นครั้งแรกผู้ที่เล่นก่อนจะไม่สามารถสั่งโจมตีได้ในเทิร์นแรก
3.เมื่อเริ่มต้นเทิร์นของแต่ละฝ่าย ฝ่ายนั้นๆจะได้จั่วการ์ดจากเด็ค 1 ใบ
4.การ์ดเวทมนตร์และการ์ดกับดักจะใช้กี่ใบก็ได้ในเทิร์นนั้นๆ เท่าที่มี
5.ในแต่ละเทิร์นจะสามารถเรียกมอนสเตอร์ธรรมดา ได้เพียง 1 ใบ เท่านั้น แต่ถ้าเรียกมอนสเตอร์แบบพิเศษสามารถเรียกกี่ครั้งก็ได้(ถ้าทำได้)
6. เมื่อหมอบการ์ดกับดัก จะไม่สามารถใช้ในเทิร์นแรกได้
7. การ์ดเวทย์ฉับพลัน สามารถใช้ได้ในเทิร์นอีกฝ่าย ถ้าเราคว่ำไว้ในโซนเวทย์กับดัก
เงื่อนไขการแพ้ เสมอ หรือ ชนะ
1.ทำให้ LP ของฝ่ายตรงข้ามเหลือ 0
2.เมื่อผ่านไหนที่ต้องจั่วการ์ด แต่ไม่มีการ์ดให้จั่ว จะถือว่าแพ้ทันที
3. ทำให้อีกฝ่ายแพ้ด้วยผลของการ์ดแต่ละชนิด
4.ทำให้ LP ของทั้งสองฝ่ายเหลือ 0 พร้อมกันก็จะทำให้ “เสมอ”
5. ใช้การ์ด Last Turn เพื่อทำให้เสนอ
การตัดสินผลการต่อสู้
การโจมตีที่อยู่ในสภาพปกติ (สภาพตั้งโจมตีทั้งสองฝ่าย)
1.เมื่อมอนส์เตอร์ที่โจมตีพลังโจมตีมากกว่าพลังโจมตีของมอนส์เตอร์ที่ถูกโจมตี
-มอนส์เตอร์ที่ถูกโจมตีถูกทำลาย และผู้ถูกโจมตีได้รับค่าเสียหายเท่ากับส่วนต่างของพลังโจมตี
2.พลังโจมตีของมอนส์เตอร์เราเท่ากับมอนส์เตอร์อีกฝ่าย
-การ์ดของทั้ง 2 ฝ่ายถูกทำลาย
3.พลังโจมตีของมอนส์เตอร์เราน้อยกว่าอีกฝ่าย
-มอนส์เตอร์ของราถูกทำลาย และเราเสีย LP เท่ากับส่วนต่างของพลังโจมตี
การโจมตีมอนสเตอร์ที่อยู่ในสภาพป้องกัน(ฝ่ายเราตั้งโจมตีฝ่ายตรงข้ามตั้งป้องกัน)
1.พลังโจมตีของมอนส์เตอร์เรา สูงกว่าพลังป้องกันของมอนส์เตอร์อีกฝ่าย
-B ถูกทำลาย
2.พลังโจมตีของมอนส์เตอร์เรา เท่ากับพลังป้องกันของมอนส์เตอร์อีกฝ่าย
- ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
3.พลังโจมตีของมอนส์เตอร์เรา น้อยกว่าพลังป้องกันของมอนส์เตอร์ฝ่ายตรงข้าม
- การ์ดของทั้งสองฝ่ายไม่เปลี่ยนแปลงแต่ผู้โจมตีจะได้รับค่าเสียหายตามความต่างของพลังโจมตีและป้องกัน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Phase(รอบ)
จะนับต่อไปดังนี้
P 1 = ผู้เล่นคนที่ 1
P 2 = ผู้เล่นคนที่ 2
P 1:Draw phase > Standby phase > Main phase 1 > Battle phase > Main phase 2 > End phase > P 2 turn
P 2:Draw phase > Standby phase > Main phase 1 > Battle phase > Main phase 2 > End phase > P 1 turn-Main phase 1 : เป็นรอบที่จะให้เราลงมอนส์เตอร์ เปลี่ยนแนวมอนส์เตอร์ หรือหมอบการ์ดเวทย์/กับดักให้หนำใจ หลังจากทำทั้งหมดเราก็สามารถเลือกได้ ว่าจะไปต่อใน Battle phase หรือ End phase
-Battle phase : รอบนี้ จะเป็นรอบที่เราสามารถสั่งให้มอนส์เตอร์ตัวใหนโจมตีใส่กันก็ได้ แต่ถ้าอีกผ่ายไม่มีมอนส์เตอร์ เราก็สามารถโจมตีใส่ผู้เล่นโดยตรงได้ (คือการนำพลังโจมตีไปหักค่า LP ทันที) หลังจากจบแล้ว เราก็สามารถเลือกได้ว่าจะไป Main phase 2 หรือ End phase
-Main phase 2 : ก็คือ Main phase 1 นั้นหล่ะ แต่สามารถไปต่อได้แค่ End phase เท่านั้น
-End phase : ไม่มีอะไร มาแล้วก็ข้ามไปเทิร์นอีกฝ่าย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การ์ดยูกิโอสามารถที่จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ เลยก็คือ การ์ดมอนสเตอร์, การ์ดกับดักและการ์ดเวทมนตร์ ซึ่งการ์ดทั้ง 3 ประเภทนี้ยังสามารถแบ่งย่อยออกได้อีก โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้การ์ดมอนสเตอร์
การ์ดมอนสเตอร์จัดได้ว่าเป็นการ์ดพื้นฐานที่สุดของเกมการ์ดยูกิโอ ซึ่งการ์ดแต่ละใบจะแทนด้วยตัวมอนสเตอร์ที่ปรากฏบนการ์ดนั้น ๆ ซึ่งการ์ดมอนสเตอร์แต่ละใบจะมีรายละเอียดบนการ์ดดังต่อไปนี้
1.ชื่อของการ์ด (ชื่อที่อยู่บนการ์ด)
2.ธาตุของมอนสเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ธาตุ คือ
- ธาตุน้ำ (WATER)
- ธาตุลม (WIND)
- ธาตุไฟ (FIFE)
- ธาตุความมืด (DARK)
- ธาตุดิน (EARTH)
- ธาตุแสงสว่าง (LIGHT)
3.จำนวนดาวของการ์ดมอนสเตอร์ (ยิ่งมีดาวมากแสดงว่าเป็นมอนสเตอร์ระดับสูง)
4.รูปภาพของมอนสเตอร์บนการ์ด
5.พลังโจมตีของการ์ดมอนสเตอร์
6.พลังป้องกันของการ์ดมอนสเตอร์
7.เผ่าพันธุ์ของมอนสเตอร์
- มังกร (Dragon)
- อัสนี (Thunder)
- จอมเวทย์ (Spellcaster)
- ทูตสวรรค์ (Fairy)
- สัตว์ปีก (Winged Beast)ฝฝฝ
- นักรบ (Warrior)
- วารี (Agua)
- พืช (Plant)
- นักรบสัตว์ (Beast-Warrior)
- สัตว์ (Beast)
- แมลง (Insect)
- ไดโนเสาร์ (Dinosaur)
- ปลา (Fish)
- เครื่องจักร (Machine)
- ก้อนหิน (Rock)
- มังกรวารี (Sea Serpent)
- อัคคี (Pyro)
- ปีศาจ (Fiend)
- อันเด็ธ (Zombie)
- สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile)
8. ความหมายของการ์ด
การ์ดมอนสเตอร์พิเศษ (สีส้ม)
คือ การ์ดมอนสเตอร์ที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งมีลักษณะของการ์ดคล้ายกับการ์ดมอนสเตอร์ทั่วไป เพียงแต่ว่าสีของการ์ดจะเป็นสีส้ม เพื่อบ่งบอกว่าการ์ดใบนี้มีความสามารถพิเศษอยู่ โดยมอนสเตอร์แต่ละตัวจะมีความสารถที่แตกต่างกันออกไปด้วย
1.ชื่อการ์ด (ชื่อที่อยู่บนการ์ด)
2.ธาตุของมอนสเตอร์
3.จำนวนดาวของการ์ดมอนสเตอร์ (ยิ่งมีดาวมากแสดงว่าเป็นมอนสเตอร์ระดับสูง)
4.รูปภาพของมอนสเตอร์บนการ์ด
5.พลังโจมตีของการ์ดมอนสเตอร์
6. พลังป้องกันของการ์ดมอนสเตอร์
7.เผ่าพันธุ์ของมอนสเตอร์
8.รายละเอียดของการ์ด (จะบอกถึงวามสามรถพิเศษของการ์ด)
การ์ดมอนสเตอร์รวมร่าง (สีม่วง)
การ์ดมอนสเตอร์รวมร่างนั้น จะเป็นการ์ดที่ไม่สามารถใช้งานแบบปกติได้ เหมือนกับการ์ดมอนสเตอร์อื่น ๆ เนื่องจากการ์ดประเภทนี้จะเป็นการรวมเอามอนสเตอร์หลายตัว เข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้มีระดับพลังที่สูงขึ้นมากกว่าก่อนที่จะรวมร่าง
สำหรับวิธีการใช้งานของการ์ดนั้นจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากนิดก็คือ ตรงที่เราจำเป็นที่จะต้องมีการ์ดมอนสเตอร์วัตถุดิบที่ใช้รวมร่างเสียก่อน อาจจะเป็น 2 หรือ 3 ตัว แล้วแต่การ์ดมอนสเตอร์รวมร่างนั้น ๆ ประกอบกับจะต้องมีการ์ดเวทมนตร์ Polymerization หรือ Fusion Gate ใช้ควบคู่กันไปด้วยจึงจะสามารถทำการรวมการ์ดมอนสเตอร์ 2 ใบ เข้าด้วยกันได้ ซึ่งการ์ดเหล่านี้จะใช้ตอนอยู่บนมือทันทีหรือตอนที่อยู่บนสนามก็ได้
1.ชื่อของการ์ด (ชื่อที่อยู่บนการ์ด)
2.ธาตุมอนสเตอร์
3.จำนวนดาวของการ์ดมอนสเตอร์ (ยิ่งมีดาวมาก แสดงว่าเป็นมอนสเตอร์ระดับสูง)
4.รูปภาพของการ์ดมอนสเตอร์
5.พลังโจมตีของการ์ดมอนสเตอร์
6.พลังป้องกันของการ์ดมอนสเตอร์
7.เผ่าพันธุ์ของมอนสแตอร์
8.รายละเอียดของการ์ด (ระบุชื่อของมอนสเตอร์วัตถุดิบที่ใช้ในการรวมร่างด้วย)
การ์ดมอนสเตอร์พิธีกรรม (สีฟ้า,น้ำเงิน)
การ์ดมอนสเตอร์พิธีกรรมก็คือ การ์ดมอนสเตอร์ที่มีสามารถเรียกอออกมาใช้งานได้โดยทันทีเหมือนกับการ์ดมอนสเตอร์อื่นทั่ว ๆ ไป การที่จะเรียกมอนสเตอร์พิธีกรรมออกมาได้นั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยการ์ดเวทมนตร์อัญเชิญมอนสเตอร์ตัวนั้น ๆ และจะต้องทำการบูชายัญการ์ดมอนสเตอร์ที่มีจำนวนดาวเท่ากับการ์ดมอนสเตอร์พิธีกรรมด้วย
ถึงแม้การเรียกมอนสเตอร์พิธีกรรมจะทำได้ค่อนข้างยาก แต่ถ้าหากเราเรียกออกมาได้ก็จะถือว่าดีมาก ๆ เพราะการ์ดประเภทนี้มีระดับความสามารถที่สูงมาก ๆ
1.ชื่อของการ์ด (ชื่อที่อยู่บนการ์ด)
2.ธาตุมอนสเตอร์
3.จำนวนดาวของการ์ดมอนสเตอร์ (ยิ่งมีดาวมาก แสดงว่าเป็นมอนสเตอร์ระดับสูง)
4.รูปภาพของการ์ดมอนสเตอร์
5.พลังโจมตีของการ์ดมอนสเตอร์
6.พลังป้องกันของการ์ดมอนสเตอร์
7.เผ่าพันธุ์ของมอนสแตอร์
8.รายละเอียดของการ์ด (ระบุชื่อของมอนสเตอร์วัตถุดิบที่ใช้ในการรวมร่างด้วย)
การ์ดเวทย์มนต์
การ์ดเวทมนตร์มีลักษณะเป็น สีเขียว ซึ้งมีความแตกต่างจากการ์ดมอนสเตอร์ง่ายต่อการสังเกต การ์ดเวทมนตร์แต่ละใบจะมีความสามารถแตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งประเภทของการ์ดเวทมนตร์ได้ดังนี้
1. ชื่อการ์ด
2. สัญลักษ์การ์ดเวทมนตร์
3. ประเภทการ์ด
4. รูปการ์ด
5. ความหมายของเวทมนตร์
1.การ์ดเวทมนตร์แบบต่อเนื่อง (Continuous)
การ์ดเวทมนตร์ต่อเนื่อง คือ เมื่อใช้แล้วความสามารถของการ์ดจะยังคงอยู่ ตราบเท่าที่การ์ดเวทมนตร์นั้นยังอยู่บนสนาม หรือจนกว่าการ์ดเวทมนตร์นั้นๆจะลงสู่สุสาน หมายเหตุ ดูสัญลักษ์ที่มุมขวา เลข 3
2.การ์ดเวทมนตร์สวมใส่ (Equip)
คือ การ์ดที่สวมใส่ให้กับมอนสเตอร์ เพื่อเพิ่มพลังโจมตี เพิ่มพลังป้องกัน หรือเพิ่มพลังพิเศษให้กับการ์ด เช่น เรียกมอนสเตอร์จากสุสานกลับมาสู่สนาม เพิ่มพลังการโจมตีทะลุผ่านพลังป้องกัน เป็นต้น เมื่อใช้การ์ดนี้แล้วตัวการ์ดจะยังคงอยู่ในสนาม จนกว่าการ์ดจะถูกทำลาย หรือมอนสเตอร์ที่สวมใส่ถูกทำลาย การ์ดถึงจะตกสุสาน หมายเหตุ ดูสัญลักษ์ที่มุมขวา เลข 3
3.การ์ดเวทมนตร์แบบร่ายเร็ว (Quick)
การ์ดเวทมนตร์แบบร่ายเร็วคือ เป็นการ์ดที่ใช้คล้ายๆ กับการ์ดกับดัก สามารถร่ายได้เร็ว โดยสามารถใช้การ์ดชนิดนี้ในเทิร์นฝ่ายตรงข้าม หรือฝ่ายเราก็ได้ ซึ้งมีประโยชน์มากในการขัดขวางศัตรูการ์ดชนิดนี้จะตกสุสานทันทีที่ใช้การ์ดนี้แล้ว หมายเหตุ ดูสัญลักษ์ที่มุมขวา เลข 3
4.การ์ดเวทมนตร์อันเชิญ (Ritual)
คือ การ์ดที่ใช้ในการ์ดประกอบพิธีกรรม เพื่อเรียกการ์ดมอนสเตอร์พิธีกรรมลงสู่สนาม การใช้การ์ดรูปแบบนี้บนมือของเรา เราจะต้องมีการ์ดตามที่ระบุไว้ และจะต้องมีการ์ดมอนสเตอร์อื่นๆ ไว้ใช้ในการบูชายัญด้วย หมายเหตุ ดูสัญลักษ์ที่มุมขวา เลข 3
5.การ์ดเวทมนตร์ฟิลด์ (Field)
การ์ดนี้มีลักษณะการใช้เหมือนการ์ดเวทมนตร์ต่อเนื่อง เมื่อใช้แล้วความสามารถของการ์ดจะคงอยู่จนกว่าการ์ดนั้นๆจะถูกทำลาย ตกลงสุสาน ประโยชน์ของการ์ดนี้คือเปลี่ยนสภาพของสนาม (ฟิลด์)ให้เป็นไปตามที่เราต้องการเพื่อให้มอนสเตอร์เราได้เปรียบในการต่อสู้ เพราะ ฟิลด์ มีผลต่อพลังป้องกัน และพลังต่อสู้ของมอนสเตอร์ หมายเหตุ ดูสัญลักษ์ที่มุมขวา เลข 3
การ์ดกับดัก
เป็นการ์ดที่มีลักษณะการใช้งานเหมือนกับการ์ดเวทมนตร์ ใช้ก่อกวนหรือทำลายการ์ดของฝ่ายตรงสตรู ช่วยเพิ่มเทคนิคการต่อสู้และสร้างความได้เปรียบให้ผู้ใช้ การ์ดกับดักแบ่งประเภทได้ดังนี้
1. ชื่อการ์ด
2. สัญลักษ์การ์ดกับดัก
3. ประเภทการ์ด
4. รูปการ์ด
5. ความหมายของกับดัก
1.กับดักต่อเนื่อง (Continuous)
เป็นการ์ดที่มีความสามารถต่อเนื่องจะไม่ตกสุสานทันทีหลังจากใช้ แต่จะมีผลของกับดักอยู่จนกว่าตัวการ์ดจะถูกทำลาย
ตัวอย่างการ์ดกับดักต่อเนื่อง จะมีสัญลักษ์ที่มุมขวา เลข 3
2.กับดักเคาน์เตอร์ Counter)
เป็นการ์ดที่ใช้ขัดขวางการร่ายการ์ดมอนสเตอร์ หรือใช้ขัดขวางการทำงานของการ์ดเวทมนตร์ หรือการ์ดกับดัก
ตัวอย่างการ์ดกับดักเคาน์เตอร์จะ มีสัญลักษ์ที่มุมขวา เลข 3
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การเชน คือ การใช้ความสามารถการ์ดเวทมนตร์หรือการ์ดกับดักที่ต่อเนื่องกันมากกว่า 1 ใบ โดยจะมีผลกของการ์ดต่อเนื่องกันด้วยเงื่อนไขการใช้การ์ดตอนเริ่มต้น หลังจากเริ่มการเชนจะเกิดผลต่อเนื่องทันที ซึ่งจะแตกต่างจากการใช้การ์ดเหล่านี้แบบปกติ และผลการใช้ต่อเนื่องที่เกิดขึ้น การเชน จะมีผล เพื่มประสิทธิภาพ หรือลดประสิทธิภาพของการ์ดโดยขี้นอยู่กับการเรียงลำดับ การเชน เช่น การใช้็การ์ด Heavy strom เพื่อทำลายการ์ดเวทย์กับดักทั้งหมดบนสนาม แล้ว เชนด้วยการ์ก Scepegoat เพื่อเรียกโทเคนมา 4 ตัวได้ โดนไม่ีเสียการ์ดเปล่า 2.จะเกิดเฉพาะการ์ดเวทมนตร์แบบร่ายเร็วและการ์ดกับดักเท่านั้น 3.ในกรณีการ์ดเวทมนตร์จะไม่สามารถใช่เชนการ์ดกับดักได้ยกเว้นเวทย์มนต์ฉับพลัน ----------------สำหรับการเชนนั้น การ์ดที่ใช้ทีหลัง จะถือว่าทำงานก่อน เรียงลำดับให้ถูกด้วยหล่ะ---------------------- สนาม |
1. Monster Zone
2. Hand card
3. Spell/Trap Zone
4. Card information(ไม่มีเวลาเล่นจริง)
5. Card nam(ไม่มีเวลาเล่นจริง)
6. LP bar(ไม่มีเวลาเล่นจริง)
7. Extra deck
8. Field spell card Zone
9. Phase
10. Deck
11. Graveyard
---คุณสมบัติหลักก็ได้แก่ มอนส์เตอร์ปกติ มอนส์เตอร์เอฟเฟค มอนส์เตอร์ฟิวชั่น มอนส์เตอรืพิธีกรรม