1. สร้างพล็อต
เรื่องนี้ใครๆก็รู้ดีว่าการแต่งนิยายนั้นต้องมีพล็อตที่แน่นและสามารถดำเนิน
เรื่องไปได้ตั้งแต่ต้นจนจบ หลายๆคนเข้ามาถามว่า พล็อตต้องวางละเอียดแค่ไหน
บอกได้เพียง วางตามความคิดของตัวเองเลยค่ะ บางคนอาจจะวางไว้กว้างมาก
ตอนหนึ่งๆอาจจะมีพล็อตแค่ประโยคเดียว
แม้ว่าตอนนั้นๆจะมีขนาดยาวกว่าสิบหน้าก็ตาม
บางคนถนัดการวางพล็อตละเอียดยิบเพราะต้องการความเนียบ
ก็แนะนำให้จดๆไว้ในสมุดหน่อยก็ดี
ทั้งนี้การวางพล็อตเองก็มีทั้งวางพล็อตไปทีละตอนๆแต่มีกำหนดจุดหมายปลายทาง
ไว้ หรืออาจจะวางโครมไปทีเดียวเลยก็ได้ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน
ทว่าจุดรวมของการวางพล็อตที่เหมือนกันนั้นก็คือ
พล็อตจะต้องสามารถส่งต่อไปยังตอนต่อไปได้อย่างราบรื่นและสมเหตุสมผล
และหากมีการวางปมปริศนาอะไร ถ้าเป็นคนความจำสั้นอย่างเช่นข้าน้อย - -"
แนะนำให้จดปมไว้เป็นข้อๆในสมุดเล็กๆ 1 เล่ม
เอาขึ้นมาอ่านทวนทุกครั้งที่จะเริ่มแต่งต่อ
2. กำหนดตัวละครและสถานที่
เมื่อเราวางพล็อตว่าอะไรเสร็จก็ถึงขั้นตอนการกำหนดตัวละครต่างๆให้เป็นรูป
เป็นร่างขึ้นมาโลดแล่นในนิยายของเรา
ทั้งนี้ตัวละครและฉากสถานที่เป็นสิ่งที่ควรจะสอดคล้องกับช่วงเวลาความเป็น
จริงในเรื่อง อย่างเช่น หากจะแต่งในสมัยยุคกลาง
บรรยากาศและตัวละครรวมถึงเครื่องแต่งกายก็ควรจะมีกลิ่นอายของความเป็นยุค
กลาง เพื่อให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสได้ดียิ่งขึ้น แต่หากเป็นแนวแฟนตาซีแล้ว
บางทีการสอดแทรกเทคโนโลยีเล็กๆน้อยๆเข้าไปในเรื่องทั้งๆที่กลิ่นอายยังเป็น
แบบยุคสมัยโบราณหน่อยก็ไม่น่าจะใช่เรื่องผิด
เพราะส่วนใหญ่นิยายแฟนตาซีจะเป็นการสร้างโลกใหม่ขึ้นมาอีกโลกหนึ่งโดยที่เรา
เป็นพระเจ้า 555+
ทั้งนี้ก็ต้องระวังคนอ่านที่ยังคงยึดติดกับค่านิยมเก่าๆด้วยว่า "เฮ้ย
อยู่ยุคกลาง ไหงหลอดไฟนีออนมันโผล่มาได้วะ" 555+
3. แน่ใจว่าข้อมูลที่หามาแน่นพอ
ข้อมูลต่างๆที่ใช้ประกอบแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน
หากเป็นนิยายรักอาจจะมีตำนานหรือความเชื่อ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ข่าวสารปัจจุบันมาเกี่ยวข้อง ส่วนแฟนตาซีคงต้องหากันหนักหน่อย
เพราะจะมีองค์ประกอบหลายอย่างที่เราไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น
อาวุธของตัวละคร ชีวิตประจำวันของคนในสมัยก่อน ค่านิยมต่างๆ
หรือตำนานประวัติศาสตร์ที่จะมาใช้อ้างอิงในเรื่อง
เราจะต้องเตรียมพร้อมในจุดนี้ให้ดี
4. มีการฝึกภาษาในการอ่านและการเขียนบ่อยๆ
ในจุดนี้คงไม่บังคับให้ไปเรียนภาษาไทยกัน (ฮา)
แต่การอ่านเยอะๆจะเป็นการสะสมคำศัพท์ในหัว
ทำให้เวลาแต่งนิยายแต่งได้โดยที่ภาษาไหลลื่นไม่ติดขัด
ทั้งนี้การอ่านอย่างเดียวก็คงไม่ช่วยให้เกิดอะไร
เราจึงควรเขียนควบคู่ไปกับการอ่านและจดจำสำนวนต่างๆไปด้วย
ในช่วงแรกอาจจะยังแต่งได้ไม่ดีนัก แต่หากเราเขียนไป อ่านทบทวนไป
หาจุดบกพร่องที่อ่านแล้วไม่ลื่นไหล
มันจะเกิดการพัฒนาที่เร็วกว่าการให้คนอื่นมาช่วยบอกจุดบกพร่องของเราเอง
ถึงแม้บางคนจะเห็นจุดอ่อนในสิ่งที่เรามองไม่เห็น
แต่การที่เราพบเองและเรียนรู้เองมันก็เป็นการสะสมประสบการณ์เหมือนทำโจทย์
เลขบ่อยๆนั่นแหละนะ ^^
5. สร้างแรงบันดาลใจและกำหนดขอบเขตให้กับตัวเอง
ข้อนี้เป็นส่วนที่เราเริ่มเขียนนิยายไปแล้ว คนเรามีความสามารถ
สมาธิ และจินตนาการไม่เหมือนกัน บางคนเขียนออกมาได้เป็นฉากๆ
รวดเร็วเสียยิ่งกว่าคุยMSNกัน แต่บางคนก็ต้องรอเวลา ดูอารมณ์
ใจศิลป์เสียยิ่งกว่าศิลปิน 555+
ดังนั้นเราจึงควรหาบางสิ่งบางอย่างมาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดวินัยในตัวเอง
อย่างเช่น กำหนดเวลาว่า เอาล่ะ สัปดาห์นี้ฉันจะเขียนให้ได้สัก 3 หน้าล่ะนะ
แต่ถ้าถึงเวลา ทำไม่ได้จริงๆก็อย่าไปฝืน
อย่าลืมว่านิยายเป็นเพียงงานอดิเรก จริงจังได้อต่อย่ามากจนเกินไป
ชีวิตเรายังมีอะไรอีกเยอะแยะ เราพยายามในแบบของเรา
แต่งนิยายด้วยความสนุกสนาน แต่พยายามสร้างวินัยตัวเองให้ได้เท่านั้นเอง
ถือเป็นการฝึกการใช้ชีวิตในสังคมอย่างหนึ่งเลยนะ ^^
แต่หากแต่งไม่ได้มาเดือนกว่าแล้ว ไม่ใช่ไม่มีเวลา แต่มันไม่มีอารมณ์
นั่นล่ะปัญหาหนักของนักอยากเขียนทุกคนไม่เว้นแม้แต่ตัวข้าน้อยเอง 555+
ก็อยากให้สร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง
อย่างเช่นบางคนฟังเพลงคลาสสิกแล้วรู้สึกไฟลุกพรึบพรับ
ฟังทีไรอยากหยิบปากกาขึ้นมาเขียนเหลือเกิน ก็จงฟังเพลงคลาสสิกแต่พอดี
ไม่ใช่ฟังทุกครั้งที่จะแต่ง
มิฉะนั้นนานๆไปมันจะไม่ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจใดๆได้อีก
ร้อนต้องไปหากิจกรรมอย่างอื่นทำ เป็นต้นอย่างข้าพเจ้านี่ 555+
6. การเขียนบล็อคช่วยคุณได้
555+ หลายคนงง เฮ้ย
ข้อนี้มันมาได้ไงเนี่ยแต่มันก็มาแล้วล่ะนะคะ (ฮา)
การเขียนบล็อคช่วยพัฒนาภาษา การเขียน
และเพิ่มจินตนาการให้กับทุกๆคนได้นะคะ
การเขียนบล็อคก็เหมือนการเล่าเรื่องที่ต้องคิดภาพตามไปด้วยเสมอ
ฝึกทั้งภาษาฝึกทั้งจินตนาการ แถมไม่ต้องไปหาข้อมูลอะไรที่ไหนให้ปวดหัว
เห็นไหมว่ามันช่วยได้เยอะขนาดไหน อิอิอิ