ผมเอง ไม่รู้ลึกมากนัก รู้แต่ว่า ผมใช้มัน ทำมาหากินอยู่ทุกวันนี้
ลูกศิษย์ผม(เด็กวิศวะ) ประมาณ 99.99% ไม่รู้ที่มาที่ไปของ "พาย" อันนั้น ก้อไม่แปลกเท่าไหร่
ที่อยากเอาหัวโขกกระดานไวท์บอร์ดตอนสอนมากที่สุดคือ
ผมวาดวงกลมบนกระดาน กำหนดให้ เส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ D ผมถามว่า เส้นรอบวงยาวเท่าไหร่
ประมาณ 95% จะตอบว่า 2พายD/2
เนื่องจาก ตลอดชีวิตที่เรียนมา เส้นรอบวงจะเท่ากับ 2พาย r เลยแทนค่า r ด้วย D/2
แต่ไม่คิดต่ออีกหน่อยว่า 2กับ 2 มันตัดกันหมด เหลือแค่ พายD
ส่วนใหญ่ ผมจะกลบเกลื่อนด้วยการแซว และอำ ให้มันขำๆไป
ที่สำคัญกว่า คือเรื่อง "หน่วย"กำกับ ปริมาณต่างๆในระบบ SI ที่ใช้กันในระบบสากล
เช่น ความยาว มีหน่วยเป็นเมตร(m) ความเร็ว เมตร ต่อวินาที(m/s) มวล เป็น กิโลกรัม(kg) แรง เป็น นิวตัน(N)
ซึ่งเรื่องพวกนี้ เด็กจบสายวิทย์มา ควรรู้ แต่ มีไม่กี่คนที่รู้(บางครั้ง สงสัยเหมือนกันว่า มันใช่เด็กจบสายวิทย์มาจริงหรอฟระ)
อย่างกระทู้ทดสอบไอคิว บางข้อก้อ มั่ว มึนใช้ได้ ไม่น่าเป็นโจทย์ทดสอบไอคิวเลย
เช่น ข้อที่บอกว่า "ลูกบาศก์ X มีปริมาตร 8 ลูกบาศก์ มีพื้นที่ผิวด้านนอกกี่ตารางเมตร"
ขึ้นต้น ลูกบาศก์เฉยๆ ตอนจบเสือกถาม ตารางเมตร คำถามแบบนี้ ถ้าไม่เจาะจงหน่วยกำกับ จะใช้คำว่า "หน่วย" แทน
เช่น ลูกบาศก์หน่วย ตารางหน่วย ถ้าจะ เจาะจงว่าเป็น เมตร ก็ควรใส่เป็นเมตรให้หมด ตารางเมตร ลูกบาศก์เมตร อะไรก็ว่าไป
เพราะ คำว่าลูกบาศก์ มันหมายถึง ความยาว ยกกำลังสาม
ซึ่งหน่วยความยาว มีหลายแบบ มิลลิเมตร นิ้ว เซ็นติเมตร ฟุต เมตร ฯลฯ
แถมยังมีหน่วยวัดปริมาตรแบบอื่นอีก ที่ไม่ใช้คำว่า ลูกบาศก์
เช่น ลิตร ออนซ์ แกลลอน เป็นต้น บางคนก็ยังมี ทะลึ่งใช้ "ลูกบาศก์ลิตร" ให้เห็นอยู่บ่อยๆฮะ
ปล. ขอบคุณ เรื่องประวัติของ "พาย" นะฮะ