ประวัติศาสตร์รถไฟญี่ปุ่น ตอนที่ 1
เรื่องโดย : SmokedSalmon @ Pantip.com
ช่วงนี้มีกระแสเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงในไทยขึ้นมาอีกครั้ง และได้ฟังได้อ่านความเห็นต่างๆ ที่วิพากษ์วิจารณ์รถไฟไทยในหลายๆ มุม ทั้งการพัฒนาที่ล่าช้า คุณภาพที่ต่ำสุด:X่ ฯลฯ ด้วยความที่ไม่สันทัดในเรื่องรถไฟก็เลยไปลองศึกษาดูใน Wikipedia และพบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ของรถไฟที่น่าสนใจเลยทีเดียว นอกจากนั้นบางส่วนบางตอนของเรื่องราวนั้นคล้ายคลึงกับสถานการณ์ของไทยในปัจจุบันด้วย
ต้องออกตัวไว้ก่อนว่าผมไม่ได้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้เท่าไหร่ เพียงแต่อยากจะให้ทุกคนได้รับรู้ประวัติอย่างย่อของเขาว่ากว่าจะมาเป็นรถไฟที่มีประสิทธิภาพในวันนี้ เขาผ่านอะไรมาบ้าง และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอื่นๆ เกี่ยวกับระบบรถไฟบ้านเขา ซึ่งผมคาดว่าจะมันช่วยทำให้เราตระหนักได้ถึงอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับอนาคตรถไฟของประเทศไทย งั้นเริ่มกันเลยครับ
หลังจากได้สร้างรถไฟสายแรกไปแล้ว ทางรัฐบาลญี่ปุ่นก็มีความพยายามที่จะขยายเส้นทางรถไฟออกไป โดยต้องการให้ดำเนินการโดยรัฐ แต่เนื่องจากจากปัญหาหลายประการรวมทั้งด้านการเงินทำให้การขยายเส้นทางเป็นไปอย่างล่าช้า ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจึงอนุญาตให้เอกชนมาสร้างและขยายทางรถไฟต่างๆ โดยบริษัทแรกที่เข้ามาสร้างคือ Nippon Railways ซึ่งการขยายเส้นทางก็เป็นไปอย่างรวดเร็วดังคาด จากนั้นก็มีเอกชนเจ้าอื่นๆ เข้ามาร่วมขยายทางรถไฟอีกหลายสาย
การขยายทางรถไฟดำเนินไปเรื่อยๆ มีทั้งที่สร้างโดยรัฐและเอกชนโดยในปี คศ. 1889 ทางรถไฟสาย Tokaido ที่เชื่อมระหว่างโตเกียวและโอซาก้าก็สร้างเสร็จซึ่ง Tokaido Main Line นี่เองนับเป็นทางรถไฟที่สำคัญที่สุดของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเลยก็ว่าได้ (แต่ปัจจุบันเส้นทางเดิมถูกแทนที่ด้วยรางที่ทันสมัยกว่าหมดแล้ว)
ในปี คศ. 1906 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบรถไฟ สืบเนื่องจากการออกพระราชบัญญัติ Railway Nationalization คือการแปรรูประบบรางจากเอกชนมาเป็นของรัฐ ทำให้ระบบรางผนวกรวมกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ของรัฐเพื่อให้รัฐสามารถบริหารจัดการได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น โดยการดำเนินการเสร็จสิ้นในปี คศ. 1907 รวมระยะรางที่ซื้อมาจากเอกชน เป็น 4,525 กิโลเมตร
แต่เนื่องจากการผนวกรวมรางนั่นเอง ก็เป็นเหตุให้รัฐมีค่าใช้จ่ายสูงมากจนไม่มีงบเพียงพอที่จะขยายเส้นทางเพิ่มในพื้นที่ห่างไกลรัฐจึงได้ร่าง พรบ.ใหม่ที่อนุญาตให้เอกชนมีสิทธิ์ในการนำเนินกิจการรถรางเบา หรือ Light Railway ในปีคศ. 1910 สำหรับการนำหัวรถดีเซลมาใช้นั่นเริ่มในปีคศ. 1929 ซึ่งนำเข้ามาจากเยอรมัน
การพัฒนาระบบรถไฟเป็นไปด้วยดีในปี 1931 ญี่ปุ่นมีระยะทางของรางทั้งหมด 14,574 กิโลเมตร จนกระทั่งปีคศ. 1938 ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ระบบรถไฟต่างๆ ถูกทหารเข้าควบคุมดูแลและมีการแปรรูปรางเอกชนที่เหลือมาเป็นของรัฐอีกครั้งมีการรื้อรางรถไฟออกไปจำนวนมากเพราะการขาดแคลนแร่เหล็กรางคู่บางส่วนถูกรื้อเหลือเพียงรางเดี่ยวและบางเส้นทางถึงกับถูกรื้อออกทั้งหมด อีกทั้งมีการลดการให้บริการทางรถไฟลงมากเพื่อนำไปใช้ทางทหาร นอกจากนี้ผลพวงของสงครามยังทำให้ทางรถไฟจำนวนมากได้รับความเสียหายอย่างหนัก อย่างไรก็ตามมันก็ยังกลับมาเปิดให้บริการได้อย่างรวดเร็ว
หลังสงครามจบลง ญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาวะข้าวยากหมากแพงแต่การเดินทางรถไฟนั้นเป็นที่ต้องการมาขึ้นในขณะที่รถไฟที่มีให้บริการเหลือเพียงไม่มาก ทำให้ความหนาแน่นของผู้โดยสารสูงเกินจะรับได้
ซึ่งขณะนั้นสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นก็ได้จัดการปฏิรูปการรถไฟญี่ปุ่นให้เป็นบริษัทมหาชนเสีย เรียกว่า การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese National Railways: JNR) ก่อตั้งเมื่อปี 1949 การปฏิรูปนี้ทำให้การก่อสร้างซ่อมแซมระบบรถไฟต่างๆเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงระบบของตัวรถไฟอีกอย่างคือการเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้าแทนดีเซล
โดยมีการติดตั้งสายนำไฟฟ้าไปตามเส้นทางหลักต่างๆ และยกเลิกการใช้รถจักรไอน้ำทั้งหมด
เมื่อการเดินทางโดยรถไฟกลับสู่ภาวะปกติ ผู้คนก็เริ่มถามหาถึงการขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วกว่ารถไฟแบบเดิมๆ ซึ่งรางรถไฟแบบแคบไม่สามารถทำความเร็วได้มากเท่าไหร่ (ขณะนั้นทางรถไฟแทบทั้งหมดยังเป็นรางแคบอยู่) อีกทั้งสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขา มีทางคดเคี้ยวมาก ทำให้การเดินทางโดยรถไฟธรรมดาไม่ทันใจ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีคนปิ๊งไอเดียการสร้างรถไฟความเร็วสูง หรือที่เราเรียกกันว่า “ชินคันเซ็น”
เรื่องโดย : SmokedSalmon @ Pantip.com
ที่มา : www.pantip.com
ติดตาม ตอนที่ 2 >>> https://2th.me/thread-61241-1-1.html
เรื่องโดย : SmokedSalmon @ Pantip.com
ช่วงนี้มีกระแสเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงในไทยขึ้นมาอีกครั้ง และได้ฟังได้อ่านความเห็นต่างๆ ที่วิพากษ์วิจารณ์รถไฟไทยในหลายๆ มุม ทั้งการพัฒนาที่ล่าช้า คุณภาพที่ต่ำสุด:X่ ฯลฯ ด้วยความที่ไม่สันทัดในเรื่องรถไฟก็เลยไปลองศึกษาดูใน Wikipedia และพบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ของรถไฟที่น่าสนใจเลยทีเดียว นอกจากนั้นบางส่วนบางตอนของเรื่องราวนั้นคล้ายคลึงกับสถานการณ์ของไทยในปัจจุบันด้วย
ต้องออกตัวไว้ก่อนว่าผมไม่ได้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้เท่าไหร่ เพียงแต่อยากจะให้ทุกคนได้รับรู้ประวัติอย่างย่อของเขาว่ากว่าจะมาเป็นรถไฟที่มีประสิทธิภาพในวันนี้ เขาผ่านอะไรมาบ้าง และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอื่นๆ เกี่ยวกับระบบรถไฟบ้านเขา ซึ่งผมคาดว่าจะมันช่วยทำให้เราตระหนักได้ถึงอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับอนาคตรถไฟของประเทศไทย งั้นเริ่มกันเลยครับ
รถไฟสายแรกของญี่ปุ่นนั้นถูกสร้างขึ้นในปี คศ. 1872 เป็นเส้นทางระหว่างเมืองโตเกียวกับโยโกฮาม่า ดำเนินการสร้างและบริการโดย Japan Government Railways หรือ JGR โดยมีประเทศอังกฤษให้คำปรึกษารางที่ใช้เป็นรางกว้าง 1.067 เมตร หรือรางขนาดแคบคล้ายแบบบ้านเรา หัวรถเป็นแบบหัวรถจักรไอน้ำซึ่งนำเข้ามาจากอังกฤษ (ในขณะที่ไทยสร้างรถไฟสายแรกจากกรุงเทพฯไปนครราชสีมาสร้างเสร็จ (บางส่วน) และเปิดใช้งานในปีพศ. 2439 หรือปี คศ.1896)
บุคคลผู้นี้คือนาย Briton Edmund Morell หัวหน้าวิศวกรคนแรกของ JGR ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งระบบรถรางในญี่ปุ่นครับ
หลังจากได้สร้างรถไฟสายแรกไปแล้ว ทางรัฐบาลญี่ปุ่นก็มีความพยายามที่จะขยายเส้นทางรถไฟออกไป โดยต้องการให้ดำเนินการโดยรัฐ แต่เนื่องจากจากปัญหาหลายประการรวมทั้งด้านการเงินทำให้การขยายเส้นทางเป็นไปอย่างล่าช้า ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจึงอนุญาตให้เอกชนมาสร้างและขยายทางรถไฟต่างๆ โดยบริษัทแรกที่เข้ามาสร้างคือ Nippon Railways ซึ่งการขยายเส้นทางก็เป็นไปอย่างรวดเร็วดังคาด จากนั้นก็มีเอกชนเจ้าอื่นๆ เข้ามาร่วมขยายทางรถไฟอีกหลายสาย
ภาพนี้เป็นหัวจักรไอน้ำอันแรกที่ญี่ปุ่นนำมาใช้นะครับ
การขยายทางรถไฟดำเนินไปเรื่อยๆ มีทั้งที่สร้างโดยรัฐและเอกชนโดยในปี คศ. 1889 ทางรถไฟสาย Tokaido ที่เชื่อมระหว่างโตเกียวและโอซาก้าก็สร้างเสร็จซึ่ง Tokaido Main Line นี่เองนับเป็นทางรถไฟที่สำคัญที่สุดของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเลยก็ว่าได้ (แต่ปัจจุบันเส้นทางเดิมถูกแทนที่ด้วยรางที่ทันสมัยกว่าหมดแล้ว)
ในปี คศ. 1906 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบรถไฟ สืบเนื่องจากการออกพระราชบัญญัติ Railway Nationalization คือการแปรรูประบบรางจากเอกชนมาเป็นของรัฐ ทำให้ระบบรางผนวกรวมกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ของรัฐเพื่อให้รัฐสามารถบริหารจัดการได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น โดยการดำเนินการเสร็จสิ้นในปี คศ. 1907 รวมระยะรางที่ซื้อมาจากเอกชน เป็น 4,525 กิโลเมตร
แต่เนื่องจากการผนวกรวมรางนั่นเอง ก็เป็นเหตุให้รัฐมีค่าใช้จ่ายสูงมากจนไม่มีงบเพียงพอที่จะขยายเส้นทางเพิ่มในพื้นที่ห่างไกลรัฐจึงได้ร่าง พรบ.ใหม่ที่อนุญาตให้เอกชนมีสิทธิ์ในการนำเนินกิจการรถรางเบา หรือ Light Railway ในปีคศ. 1910 สำหรับการนำหัวรถดีเซลมาใช้นั่นเริ่มในปีคศ. 1929 ซึ่งนำเข้ามาจากเยอรมัน
Light Rail Train ก็หน้าตาประมาณนี้ครับ
หัวจักรดีเซล Class DD13 ครับ
การพัฒนาระบบรถไฟเป็นไปด้วยดีในปี 1931 ญี่ปุ่นมีระยะทางของรางทั้งหมด 14,574 กิโลเมตร จนกระทั่งปีคศ. 1938 ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ระบบรถไฟต่างๆ ถูกทหารเข้าควบคุมดูแลและมีการแปรรูปรางเอกชนที่เหลือมาเป็นของรัฐอีกครั้งมีการรื้อรางรถไฟออกไปจำนวนมากเพราะการขาดแคลนแร่เหล็กรางคู่บางส่วนถูกรื้อเหลือเพียงรางเดี่ยวและบางเส้นทางถึงกับถูกรื้อออกทั้งหมด อีกทั้งมีการลดการให้บริการทางรถไฟลงมากเพื่อนำไปใช้ทางทหาร นอกจากนี้ผลพวงของสงครามยังทำให้ทางรถไฟจำนวนมากได้รับความเสียหายอย่างหนัก อย่างไรก็ตามมันก็ยังกลับมาเปิดให้บริการได้อย่างรวดเร็ว
ภาพสมัยก่อน ทหารจะไปรบก็นั่งรถไฟกัน
หลังสงครามจบลง ญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาวะข้าวยากหมากแพงแต่การเดินทางรถไฟนั้นเป็นที่ต้องการมาขึ้นในขณะที่รถไฟที่มีให้บริการเหลือเพียงไม่มาก ทำให้ความหนาแน่นของผู้โดยสารสูงเกินจะรับได้
ซึ่งขณะนั้นสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นก็ได้จัดการปฏิรูปการรถไฟญี่ปุ่นให้เป็นบริษัทมหาชนเสีย เรียกว่า การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese National Railways: JNR) ก่อตั้งเมื่อปี 1949 การปฏิรูปนี้ทำให้การก่อสร้างซ่อมแซมระบบรถไฟต่างๆเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงระบบของตัวรถไฟอีกอย่างคือการเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้าแทนดีเซล
โดยมีการติดตั้งสายนำไฟฟ้าไปตามเส้นทางหลักต่างๆ และยกเลิกการใช้รถจักรไอน้ำทั้งหมด
โลโก้ของ JNR
ส่วนนี่รถ Kodama limited express (คันขวา ส่วนคันซ้ายคือ Shinkansen 0 series) เป็นรถไฟที่ใช้ไฟฟ้ายุคแรกๆ ของ JNR ผลิตตั้งแต่ปี 1958 ซึ่งทำ Maximum speed ได้ถึง 160 km/h
เมื่อการเดินทางโดยรถไฟกลับสู่ภาวะปกติ ผู้คนก็เริ่มถามหาถึงการขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วกว่ารถไฟแบบเดิมๆ ซึ่งรางรถไฟแบบแคบไม่สามารถทำความเร็วได้มากเท่าไหร่ (ขณะนั้นทางรถไฟแทบทั้งหมดยังเป็นรางแคบอยู่) อีกทั้งสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขา มีทางคดเคี้ยวมาก ทำให้การเดินทางโดยรถไฟธรรมดาไม่ทันใจ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีคนปิ๊งไอเดียการสร้างรถไฟความเร็วสูง หรือที่เราเรียกกันว่า “ชินคันเซ็น”
เรื่องโดย : SmokedSalmon @ Pantip.com
ที่มา : www.pantip.com
ติดตาม ตอนที่ 2 >>> https://2th.me/thread-61241-1-1.html
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย sillverpro เมื่อ 2012-8-17 15:14
ประวัติศาสตร์รถไฟญี่ปุ่น ตอนที่ 1