มารี กูรี (อังกฤษ: Marie Curie) เดิมชื่อ มารืออา ซกวอดอฟสกา (โปแลนด์: Marya Skłodowska) (7 พฤศจิกายน 2410 - 4 กรกฎาคม 2477) นักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง.....
วันนี้เช่นเคยครับกับ google logo ของวันสำคัญ ต้องขอภัยก่อนนะครับที่ไม่ค่อยว่างได้อัพเดทสักเท่าไร่
มารี กูรี(อังกฤษ:Marie Curie) เดิมชื่อมารืออา ซกวอดอฟสกา(โปแลนด์:Marya Skłodowska) (7 พฤศจิกายน 2410 - 4 กรกฎาคม 2477) นักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้มารี กูรีได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน
มารี เป็นชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 ที่เมืองวอร์ซอ เขตวิสทูลา จักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ และมักพาเธอมาที่ห้องทดลองเสมอ จึงทำให้เธอสนใจวิชาด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก แม้จะมีเหตุการณ์ทางการเมืองเมื่อรัสเซียมาปกครองโปแลนด์ และบังคับให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการก็ตาม
ในสมัยนั้นค่านิยมในสังคมของผู้หญิงส่วนใหญ่ จะต้องเรียนการเป็นแม่บ้าน ซึ่ง มารี กูรี่ แตกต่างโดยสิ้นเชิง ที่ใส่ใจค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์
หลังจบการศึกษาระดับต้นแล้ว เธอกับพี่สาวก็ทำงานด้วยการเป็นครูอนุบาล สอนหนังสือให้กับเด็กๆ แถวๆ นั้น โดยทั้งสองมุ่งหวังอยากไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส แต่เงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย เธอจึงให้พี่สาวคือ บรอนยา ไปเรียนต่อด้านแพทย์ศาสตร์ก่อน พอจบแล้วค่อยส่งเสียเธอเรียนต่อด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป จนพี่สาวจบมาเธอก็ได้ไปเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยปารีส สมใจแต่ด้วยเงินอันน้อยนิดจากพี่สาว ไม่พอต่อค่าใช้จ่ายเธอจึงดิ้นรนหางานทำ จนได้เป็นผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการทางเคมี ของ ปิแอร์ กูรี จนทั้งสองแต่งงานมีลูกด้วยกัน แต่ ปิแอร์ เสียชีวิตก่อนเพราะอุบัติเหตุรถม้าชน ระหว่างที่เรียนไปทำงานไป เธอก็มุ่งมั่นศึกษาทดลองไปเรื่อยๆ จนมาพบรังสีแร่ธาตุเรเดียม โดยได้มาจากแร่พิทช์เบลนที่เป็นออกไซต์ชนิดหนึ่งสามารถแผ่รังสีได้ จากการเพียรพยายามทดลองมาหลายปีในการสกัดแร่ชนิดต่างๆ จนมาพบรังสีดังกล่าวทำให้เธอได้รับปริญญาเอก ในการค้นพบแร่ธาตุเรเดียม
จนในปี พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) เธอก็สามารถสกัดแร่เรเดียมให้บริสุทธิ์ได้ เรียกว่า เรเดียมคลอไรด์ ที่สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 2,000,000 เท่า มีคุณสมบัติคือ ให้แสงสว่าง และความร้อนได้ และเมื่อแร่นี้แผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตรังสี และสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับแร่เรเดียม จนทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลต่อมา
มารี กูรีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแร่เรเดียมอย่างหนัก และต่อเนื่องกว่า 4 ปี ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้ง แม้สามีจะเสียชีวิตก็ตาม ด้วยกำลังใจอันล้นเปี่ยม เมื่อเกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งผู้คนส่วนมากล้มตายและถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เธอจึงอาสาสมัครเป็นอาสากาชาดเพื่อช่วยทหารที่บาดเจ็บ ในการเอกซเรย์เคลื่อนที่ตระเวนรักษาตามหน่วยต่างๆ จนสงครามสงบเธอก็กลับมาทำงาน แต่ก็ต้องล้มป่วยเพราะผลมาจากการทำงานหนัก และโดนรังสีเรเดียม ทำให้ไขกระดูกถูกทำลายและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
อนึ่ง มารี กูรี่ สามารถจดสิทธิบัตรได้ และทำให้เธอเป็นเศรษฐีได้ในพริบตา แต่เธอกลับเลือกที่จะมอบสื่งที่เธอค้นพบให้กับโลก ทำให้เธอและครอบครัวเป็นเพียงครอบครัวนักวิทยาศาสตร์จนๆ ตลอดจนเสียชีวิต
หลังการเสียชีวิตของ มารี กูรี หนึ่งในลูกสาวของเธอ ก็ได้ทำการค้นคว้างานวิจัยของเธอต่อไป จนประสบความสำเร็จได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา
รางวัลที่ได้รับ
ประกาศนียบัตรรางวัลโนเบลของมารี กูรีรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ค.ศ. 1903 จากผลงานการพบธาตุเรเดียม
Davy Medal ค.ศ. 1903
Matteucci Medal ค.ศ. 1904
รางวัลโนเบลสาขาเคมี ค.ศ. 1911 จากผลงานการค้นคว้าหาประโยชน์จากธาตุเรเดียม
ขอขอบคุณที่มาจาก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารี เป็นชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 ที่เมืองวอร์ซอ เขตวิสทูลา จักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ และมักพาเธอมาที่ห้องทดลองเสมอ จึงทำให้เธอสนใจวิชาด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก แม้จะมีเหตุการณ์ทางการเมืองเมื่อรัสเซียมาปกครองโปแลนด์ และบังคับให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการก็ตาม
ในสมัยนั้นค่านิยมในสังคมของผู้หญิงส่วนใหญ่ จะต้องเรียนการเป็นแม่บ้าน ซึ่ง มารี กูรี่ แตกต่างโดยสิ้นเชิง ที่ใส่ใจค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์
หลังจบการศึกษาระดับต้นแล้ว เธอกับพี่สาวก็ทำงานด้วยการเป็นครูอนุบาล สอนหนังสือให้กับเด็กๆ แถวๆ นั้น โดยทั้งสองมุ่งหวังอยากไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส แต่เงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย เธอจึงให้พี่สาวคือ บรอนยา ไปเรียนต่อด้านแพทย์ศาสตร์ก่อน พอจบแล้วค่อยส่งเสียเธอเรียนต่อด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป จนพี่สาวจบมาเธอก็ได้ไปเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยปารีส สมใจแต่ด้วยเงินอันน้อยนิดจากพี่สาว ไม่พอต่อค่าใช้จ่ายเธอจึงดิ้นรนหางานทำ จนได้เป็นผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการทางเคมี ของ ปิแอร์ กูรี จนทั้งสองแต่งงานมีลูกด้วยกัน แต่ ปิแอร์ เสียชีวิตก่อนเพราะอุบัติเหตุรถม้าชน ระหว่างที่เรียนไปทำงานไป เธอก็มุ่งมั่นศึกษาทดลองไปเรื่อยๆ จนมาพบรังสีแร่ธาตุเรเดียม โดยได้มาจากแร่พิทช์เบลนที่เป็นออกไซต์ชนิดหนึ่งสามารถแผ่รังสีได้ จากการเพียรพยายามทดลองมาหลายปีในการสกัดแร่ชนิดต่างๆ จนมาพบรังสีดังกล่าวทำให้เธอได้รับปริญญาเอก ในการค้นพบแร่ธาตุเรเดียม
จนในปี พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) เธอก็สามารถสกัดแร่เรเดียมให้บริสุทธิ์ได้ เรียกว่า เรเดียมคลอไรด์ ที่สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 2,000,000 เท่า มีคุณสมบัติคือ ให้แสงสว่าง และความร้อนได้ และเมื่อแร่นี้แผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตรังสี และสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับแร่เรเดียม จนทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลต่อมา
มารี กูรีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแร่เรเดียมอย่างหนัก และต่อเนื่องกว่า 4 ปี ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้ง แม้สามีจะเสียชีวิตก็ตาม ด้วยกำลังใจอันล้นเปี่ยม เมื่อเกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งผู้คนส่วนมากล้มตายและถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เธอจึงอาสาสมัครเป็นอาสากาชาดเพื่อช่วยทหารที่บาดเจ็บ ในการเอกซเรย์เคลื่อนที่ตระเวนรักษาตามหน่วยต่างๆ จนสงครามสงบเธอก็กลับมาทำงาน แต่ก็ต้องล้มป่วยเพราะผลมาจากการทำงานหนัก และโดนรังสีเรเดียม ทำให้ไขกระดูกถูกทำลายและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
อนึ่ง มารี กูรี่ สามารถจดสิทธิบัตรได้ และทำให้เธอเป็นเศรษฐีได้ในพริบตา แต่เธอกลับเลือกที่จะมอบสื่งที่เธอค้นพบให้กับโลก ทำให้เธอและครอบครัวเป็นเพียงครอบครัวนักวิทยาศาสตร์จนๆ ตลอดจนเสียชีวิต
หลังการเสียชีวิตของ มารี กูรี หนึ่งในลูกสาวของเธอ ก็ได้ทำการค้นคว้างานวิจัยของเธอต่อไป จนประสบความสำเร็จได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา
รางวัลที่ได้รับ
ประกาศนียบัตรรางวัลโนเบลของมารี กูรีรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ค.ศ. 1903 จากผลงานการพบธาตุเรเดียม
Davy Medal ค.ศ. 1903
Matteucci Medal ค.ศ. 1904
รางวัลโนเบลสาขาเคมี ค.ศ. 1911 จากผลงานการค้นคว้าหาประโยชน์จากธาตุเรเดียม
มารืออา ซกวอดอฟสกา กูรี | |
Marie Curie | |
วันที่เกิด | 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 วอร์ซอ, จักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งในขณะนั้นปกครองประเทศโปแลนด์ |
วันที่เสียชีวิต | 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 (66 ปี) ปรเทศฝรั่งเศส |
สัญชาติ | รัสเซีย, ฝรั่งเศส |
เชื้อชาติ | โปแลนด์ |
สาขา | ฟิสิกส์, เคมี |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยปารีส |
สถาบันการศึกษาที่เรียน | มหาวิทยาลัยปารีส ESPCI |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | อ็องรี เบ็กแรล |
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก | André-Louis Debierne Óscar Moreno Marguerite Catherine Perey |
งานที่เป็นที่รู้จัก | กัมมันตภาพรังสี, พอโลเนียม, เรเดียม |
รางวัลที่ได้รับ | รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (1903) Devy Medal (1903) Matteucci Medal (1904) รางวัลโนเบลสาขาเคมี (1911) |
ศาสนา | ไม่ปรากฏ |
ลายเซ็น | |
หมายเหตุ มารี กูรี่เป็นคนแรกที่ได้รับ รางวัลโนเบล ใน สองสาขาด้านวิทยาศาสตร์. และเป็นภรรยาของ ปิแอร์ กูรี, และเป็นแม่ของ Irène Joliot-Curie and Ève Curie. |
ขอขอบคุณที่มาจาก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประวัติ Marie Curie
[IMG]