มิถุนายนของทุกปี จะมีพิธีรำลึกการยกพลขึ้นบกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ของทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่ชายฝั่งเมืองนอร์มังดี ของฝรั่งเศสเมื่อปี 1944 ความสำคัญของารยกพลขึ้นบกที่นี่ก็คือ การที่ทำให้นาซีเยอรมันต้องรบ 2 ทาง คือด้านหนึ่งต้องรบกับสหภาพโซเวียต และอีกด้านหนึ่งก็ต้องรบกับทหารอเมริกัน และอังกฤษ เหตุการณ์วันนี้ มักถูกเรียกกันสั้นๆว่าวันดี - เดย์สหรัฐสร้างหนังเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาหลายเรื่อง ผมก็ได้ดูมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ก็ดูแบบเด็กๆ คือดูเอามัน ไม่รู้เรื่องประวัติศาสตร์ เบื้องลึกหรือเบื้องหลังอะไร ดูแล้วก็รู้สึกว่าวันดี - เดย์ ช่างยิ่งใหญ่แท้ๆ สามารถพลิกโฉมสงครามโลกไปได้เลย ที่ชอบมากๆก็เห็นจะเป็นเรื่อง The Longest Day
พอโตขึ้นมาหน่อย ในชั้นมัธยม ก็ได้เรียนประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 แบบลงลึกไปอีกเล็กน้อย คราวนี้ก็ได้เจอกับเรื่องวันดี - เดย์ อีกมากมาย จนรู้สึกว่า วันดี - เดย์ คือเหตุการณ์สำคัญทั้งหลายทั้งปวงของสงครามโลกครั้งที่ 2
แต่พอมีโอกาสไปเรียนที่โซเวียต โลกทัศน์และความเข้าใจเกี่ยวกับสงครามโลก ที่เราสะสมมาจากเมืองไทย ก็ถูกทุบจนน่วมในบัดเดี๋ยวนั้น ทั้งจากข้อมูลที่ว่าสหภาพโซเวียตสูญเสียทั้งประชากรและทหารไปในสงครามครั้งนั้น 27 ล้าน มากกว่า นาซีเยอรมัน สหรัฐ อังกฤษ และอีกหลายๆประเทศรวมกัน ( ตอนเรียนอยู่เมืองไทย ก็ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหนมาถึงไม่รู้ข้อมูลเรื่องนี้ ) หากคิดแค่สหรัฐกับอังกฤษ ผมแทบไม่เชื่อว่าตัวเลขส่วนนี้จะมีแค่ 7 แสนเท่านั้น
แต่ที่เล่นทำเอามึนที่สุด ก็เห็นจะเป็นเรื่องวันดี - เดย์ ขณะอยู่ที่เมืองไทย วันดี - เดย์ เป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ แต่จากการที่ได้พูดคุยกับคนรัสเซีย ผมสามารถสรุปได้ว่าวันดี - เดย์ เป็นวันที่คนรัสเซียรู้สึกเจ็บปวด (อย่างมาก ) พวกเขามองว่ามันเป็นการลวงโลกในบางแง่บางมุม (เหตุผลของเรื่องนี้ เป็นอย่างไร จะเล่าให้ฟังในลำดับต่อไปครับ อ่านไปเรื่อยๆจะเห็นเอง )
ตอนแรก ผมก็นึกว่า อีกแล้ว........โซเวียต โฆษณาชวนเชื่อ เป่าหูตูอีกแล้ว ก็เลยไม่ค่อยได้สนใจอะไรมากนัก
อีกหลายปีต่อมา เมื่อกลับมาเมืองไทย ได้ดูหนังเรื่อง Saving Private Ryan หนังเรื่องนี้ ทำให้ผมต้องเปลี่ยนแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับวันดี - เดย์ และมีความเห็นค่อนไปทางคนรัสเซีย (อันนี้ยอมรับกันตรงๆ เลย 5555 )
เพราะหนังเรื่องนี้ ทำให้เพิ่งได้รู้เป็นครั้งแรกว่า การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ใช้เวลาสั้นมากๆ คือแค่ไม่กี่ชั่วโมง การสูญเสียของทั้งสองฝ่ายก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก แม้ว่าในเรื่องของกำลังพล รวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรขนมา จะดูโอฬารก็ตามที ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าตอนนั้น นาซีเยอรมัน ไม่แข็งแกร่งเสียแล้ว กำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ส่วนมากของพวกเขา ถูกนำไปใช้ในการสู้รบกับโซเวียต และก็เสียหาย หรือสูญเสียไปมากมาย
ต่อมาผมก็ลองหาข้อมูลในเรื่องนี้มาอ่านจากนิตยสาร เนชั่นแนล จีออร์กราฟฟิค โซไซตี้มาอ่าน ก็พบว่าทั้งหลายทั้งปวงไม่ได้ผิดไปจากสิ่งที่ผมสรุปไว้หลังดูหนัง Saving
รัสเซียชอบนำเรื่องนี้ไปเปรียบเทียบกับ " ศึกสตาลินกราด " ( หาดูได้จากหนังเรื่อง " Enemy At The Gate " ) เพราะการรบที่นี่ระหว่างโซเวียตกับนาซีเยอรมัน กินเวลาหลายเดือน และเป็นการรบที่นองเลือดที่สุดเท่าที่โลกเคยประสบพบมาตั้งแต่อดีต จนลุล่วงถึงปัจจุบัน จากการประเมิน พบว่าในการรบครั้งนั้น ทั้งสองฝั่งตายรวมกันอาจจะถึง 1 ล้านคน (อันนี้ ผมก็เพิ่งมาทราบเมื่อ 2 - 3 ปีที่ผ่านมานี่เอง )
เมื่อเทียบกันจะเห็นว่า วันดีเดย์จิ๊บจ๊อยมาก แต่ผมกลับมองว่ามันเทียบกันไม่ได้ เพราะมันเป็นคนละเรื่องกัน ที่สตาลินกราดเป็นการรบ แต่ที่นอร์มังดี เป็นการยกพลขึ้นบก คงไม่มีใครใช้เวลาในการยกพลขึ้นบกเป็นเดือนเป็นปีแน่ๆ
แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่ทำให้คนรัสเซียช้ำใจ เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษหลังสงครามสงบ ที่โซเวียตหรือรัสเซียไม่เคยส่งตัวแทนไปร่วมงานรำลึกวันดี - เดย์ เช่นเดียวกับที่ชาติตะวันตก ก็ไม่เคยส่งตัวแทนมาร่วมในงานรำลึกศึกสตาลินกราด เรื่องนี้ บ่งบอกถึงความบาดหมางใจกันกรณี วันดี - เดย์ ได้เป็นอย่างดี
จากข้อมูลเท่าที่สต็อกไว้ในสมอง รู้สึกว่าผู้นำชาติตะวันตกคนแรกที่มาร่วมรำลึกศึกสตาลินกราด คือนายโทนี่ แบลร์ สมัยเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษ และเรื่องนี้เป็นการเปิดทางให้ชาติตะวันตก ส่งผู้นำของตนมาร่วมในพิธีฉลองวันแห่งชัยชนะที่กรุงมอสโกโดยพร้อมหน้าในอีกหลายปีต่อมา และนายวลาดิมีร์ ปูติน ในช่วงที่เป็นประธานาธิบดีรัสเซียก็ไปร่วมพิธีรำลึกวันดี - เดย์ เป็นการตอบแทนเมื่อปี 2004
จะเล่าให้ฟังถึงเหตุผลความช้ำใจของรัสเซียในเรื่องนี้
จากข้อมูลของนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพนาซีเยอรมันอันเกียงไกร แม้จะเคยต้องพลาดท่าเสียทีให้กับข้าศึกอยู่บ้าง แต่หลังจากที่พวกเขาพ่ายแพ้ให้กับรัสเซียในศึกสตาลินกราด พวกเขาก็ไม่เคยฟื้นกลับมาอีกเลย ในการรบกับรัสเซีย กองทัพนาซีเยอรมัน เสียทั้งกำลังพล และอาวุธยุทโธปกรณ์ไปมากมายมหาศาล และนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มก็บอกว่า เรื่องนี้แหละที่ทำให้การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี เป็นไปอย่างสะดวกโยธิน
แต่หลังสงคราม ชาติตะวันตกไม่เคยให้เครดิตเท่าที่ควรกับโซเวียตในเรื่องนี้เมื่อพูดถึงวันดี - เดย์ ข้อมูลจากบีบีซีบอกว่า ปูติน เป็นผู้นำรัสเซียคนแรกที่ทางชาติตะวันตกเชิญไปร่วมงานรำลึกวันดี - เดย์ ซึ่งถ้าเป็นไปตามนั้น ก็เท่ากับว่า ชาติตะวันตกไม่เคยให้เครดิตกับรัสเซียเลย (แต่ผมไม่ค่อยเชื่อข้อมูลบีบีซีมากนัก เพราะมองว่า อาจจะมีการเชิญ แต่รัสเซียปฏิเสธเพราะงอน )
โซเวียตเข้าสู่สงครามกลางปี 1941 และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ร้องขอให้แกนนำกลุ่มประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรส่งทหารบุกเข้ามาในยุโรป เพื่อให้นาซีเยอรมัน ที่ตอนนั้นรบหนักอยู่กับโซเวียตเพียงประเทศเดียว ต้องทำศึก 2 ด้าน แต่คำสัญญาก็เป็นเพียงคำสัญญา เมื่อสหรัฐและอังกฤษต่างก็มองว่า การส่งทหารไปยกพลขึ้นบกที่ยุโรปนั้นเป็นงานช้าง ที่ยุ่งยากและซับซ้อน
ท้ายที่สุดพวกเขาก็ตัดสินใจส่งทหารมาขึ้นบกที่ฝั่งยุโรปกลางปี 1944 หรือปล่อยให้โซเวียตดวลกับนาซีเยอรมันมานานถึง 3 ปีเต็ม
ในช่วงนั้น โซเวียตชนะศึกสตาลินกราดเรียบร้อย (มกราคม 1943 ) และกำลังตีโต้จนแทบจะไม่มีข้าศึกหลงเหลืออยู่ในประเทศแล้ว และที่สำคัญก็คือสงครามโลกในยุโรป ยุติลงกลางปี 1945 หรืออีกแค่ 1 ปีต่อมา
เรื่องนี้ก็ทำให้หลายฝ่าย โดยเฉพาะในรัสเซียเองต่างก็คิดกันว่า ถ้าไม่มีวันดี - เดย์ โซเวียตยังจะสามารถรุกไล่ข้าศึกไปจนถึงกรุงเบอร์ลินได้หรือไม่ คำตอบที่หลายคนมองก็คือได้ เพราะในขณะที่ข้าศึกอ่อนเปรี้ยเพลียแรง แต่พญาหมี ดูเหมือนเพิ่งจะเริ่มตื่น กำลังพลที่ดูเหมือนจะสูญเสียไปมากมาย ก็เหมือนกับว่าประเทศสามารถผลิตออกมาได้เหมือนกับการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม
หลายฝ่ายมองกันว่า หากวันดี - เดย์ เปิดฉากเร็วขึ้นกว่านี้ สงครามอาจจะจบเร็วขึ้นหลายปี คนโซเวียตหลายสิบล้าน รวมทั้งประชากรประเทศอื่นอีกไม่ต้องจบชีวิตลงก่อนถึงวัยอันควร
ความเป็นไปได้ในการเปิดวันดี - เดย์ เร็วกว่านี้ อยู่ที่ความเห็นในเบื้องต้นของนายพลดไวท์ ไอเซนฮาวร์ ของสหรัฐ ที่บอกว่า วันดี - เดย์ ควรเกิดขึ้นในฤดูร้อนปี 1942 ( 2 ปี ก่อนวันดี - เดย์ของจริง ) ซึ่งตอนแรก ประธานาธิบดีรูสเวลท์ ของสหรัฐก็เห็นด้วย
แต่คนที่เป็นปัญหาก็คือ นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลล์ ของอังกฤษ
นักประวัติศาสตร์มองว่า เหตุผลส่วนหนึ่งของเรืองนี้เกิดจากการที่ผู้นำอังกฤษไม่ชอบโซเวียต เขาอยากให้นาซีเยอรมัน รบกับโซเวียตต่อไปจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งน่วมและพ่ายแพ้ไป และหากฝ่ายอักษะชนะ อังกฤษก็จะเข้าไปจัดการ หรือหากว่าโซเวียตชนะ ก็คงจะน่วมเสียจนๆไม่มีปัญญาทำอะไรได้
แต่เขาคิดผิด และนี่ก็เป็นสาเหตุให้โซเวียตกินแหนงแคลงใจเรื่องวันดี - เดย์มานานแสนนาน จนในวันครบรอบ 50 ปีวันดี - เดย์ ชาติตะวันตกก็ไม่เชิญผู้นำรัสเซียมาร่วมงาน แม้ว่าในยุคนั้น สหภาพโซเวียตจะไม่มีอยู่ในโลกแล้วก็ตาม เหลือแต่รัสเซียที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นการสบประมาทรัสเซียครั้งใหญ่
นอกจากนั้น ในงานนั้น ชาติตะวันตกก็ยังทำผิดพลาด โดยการที่ไม่พูดถึงบทบาทของโซเวียตแม้แต่แอะเดียว พวกเขาพูดเหมือนว่า นาซีเยอรมัน รบกับชาติตะวันตกแต่เพียงฝ่ายเดียว แล้วประเทศที่มีคนตายไป 27 ล้านคนถูกลืมไปได้อย่างไร ถ้าไม่ใช่ว่าพวกเขาถูกลืมจนชาติตะวันตกชินกันเสียแล้ว
ขณะที่สถิติของฝ่ายอังกฤษเองก็บอกว่า ความสูญเสีย 93 เปอร์เซ็นต์ของฝ่ายนาซีเยอรมัน เกิดขึ้นในแนวรบฝั่งตะวันออก คือการรบกับโซเวียต ขณะที่ในการรบที่อื่นๆ ทั้งในฝั่งยุโรปตะวันตก ในเอเชีย แอฟริกา หรือในมหาสมุทรแอตแลนติก เยอรมันสูญเสียไปแค่ 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
นักประวัติศาสตร์บอกว่า หลังจากที่สหรัฐกับอังกฤษ เปิดแนวรบด้านตะวันตกกับนาซีเยอรมันแล้ว ความหนักหน่วงของการรบของนาซีเยอรมัน ก็ยังอยู่ทางแนวรบด้านตะวันออก คือด้านที่รบกับโซเวียต โดยการรบที่นี่หนักกว่าอีกด้านถึง 4 เท่า
จนถึงปัจจุบันศักดิ์ศรีของรัสเซียในสงครามครั้งนั้น ก็ยังถูกบั่นทอนอยู่
มาดูด้าเยรอมันกันบ้าง
การยกพลขึ้นบกของฝ่ายพันธมิตร ที่หาดนอร์มังดี ของฝรั่งเศสในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 หรือที่เรียกว่าวัน ดี เดย์ จะเห็นเมืองแชร์บูรกก์ (Cherbourg) อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ ถัดมาคือหาดยูท่าห์ (Utah) โอมาฮ่า (Omaha) โกลด์ (Gold) จูโน (Juno) และซอร์ด (Sword) สีแดงคือกำลังของฝ่ายเยอรมัน จะเห็นกำลังของกองพลยานเกราะที่ 21 (21st Panzer Division) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองคานส์ (Caen) ถัดมาทางขวา จะเห็น กองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 12 ฮิตเลอร์จูเกน (12th SS. Panzer Division Hitler Jugend) ทางขวาล่างขงแผนที่จะเห็นกองทัพ บี ของจอมพล เออร์วิน รอมเมล ผู้รับผิดชอบกำแพงแอตแลนติค ต่อต้านการยกพลขึ้นบกของฝ่ายพันธมิตร
ทหารอเมริกันอีกคนหนึ่งที่ไม่มีโอกาสได้เห็นชัยชนะของ สัมพันธมิตรเหนือหาดนอร์มังดี เครื่องกีดขวางที่เห็นอยู่ด้านข้าง แสดงให้เห็นว่า เมื่อน้ำขึ้น จะขึ้นสูงมากจนท่วมเครื่องกีดขวางนี้ ยอดของมันที่อยู่เรี่ยผิวน้ำจะเป็นตัวสกัดเรือยกพลขึ้นบกที่แล่นเข้ามา
ส่วนเครื่องกีดขวางที่เห็นอยู่ด้านหลัง เรียกว่า รอมเมลแอสปาราคัส (Rommel's Asparacus) ทำจากเหล็กรางรถไฟ หรือเสาเหล็กทั่วๆไป จะมีผลเมื่อน้ำขึ้นไม่สูงนัก นอกจากนี้บางส่วนของเครื่องกีดขวางเหล่านี้ ยังผูกกับระเบิดเอาไว้อีกด้วย
จอมพลเออร์วิน รอมเมล (Erwin Rommel)
วันที่ 6 มิถุนายน 1944 ถือว่าเป็นวันดี เดย์ เป็นวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทุ่มกำลังยกพลขึ้นบก โจมตีป้อมปราการยุโรปของฮิตเลอร์ (Fortress Europe) ด้วยกำลังมหาศาลเท่าที่เคยมีมา เพื่อเปิดสงครามด้านที่สองของเยอรมัน ซึ่งกำลังเผชิญกับรัสเซียทางด้านตะวันออก
จริงๆแล้วเยอรมันนั้นรู้ล่วงหน้ามาก่อนแล้วว่าฝ่ายสัมพันธมิตร จะทำการยกพลขึ้นบกในฝรั่งเศส แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นที่ใด เนื่องจากแนวชายทะเลของฝรั่งเศสด้านที่ติดกับอังกฤษนั้นยาวมาก ฮิตเลอร์และฝ่ายเสนาธิการบางคนเชื่อว่า การยกพลขึ้นบกจะเกิดขึ้นที่ เมืองท่าคาเล่ย์ (Calais) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือและเป็นส่วนที่แคบที่สุดระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส
ในขณะที่ จอมพลเออร์วิน รอมเมล (Erwin Rommel) ของนาซีเยอรมัน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพกลุ่มบี ในประเทศฝรั่งเศส เมื่อเดือน พย. 1943 เชื่อว่าการยกพลขึ้นบกจะเกิดขึ้นในบริเวณอื่น เขาจึงสั่งการให้สร้างสร้างป้อมและบังเกอร์ขึ้นเรียงรายตามแนวชายฝั่ง ฝรั่งเศส เพิ่มจำนวนรังปืนกล เครื่องยิงลูกระเบิดหรือปืนครก บนหาดก็มีการสร้างสิ่งกีดขวางสำหรับเรือยกพลขึ้นบก ที่เรียกว่า เม่นทะเลและงาแซง บวกกับการติดทุ่นระเบิดและกับระเบิดจำนวนมากเข้าไป แนวตั้งรับนี้มีชื่อเรียกว่า กำแพงแอตแลนติค (Atlantic Wall)
รอม เมลเชื่อว่าชัยชนะของการต่อต้านการยกพลขึ้นบกจะอยู่ที่ชายหาด ใครที่ยึดหาดได้จะเป็นผู้ชนะ แต่ฮิตเลอร์มองว่า หากการยกพลขึ้นบกเกิดขึ้นจริง การรบขั้นแตกหักจะอยู่บนฝั่ง คือปล่อยให้พันธมิตรขึ้นฝั่งแล้วใช้กำลังเข้าบดขยี้
ด้วยความเห็นที่แตกต่างกันนี้เอง ฮิตเลอร์จึงสั่งการให้วางกำลังส่วนใหญ่ไว้ในแนวหลัง เนื่อ งจากไม่มั่นใจว่าการยกพลขึ้นบกจะเกิดที่ใด เมื่อมีการยกพลขึ้นบก ก็จะใช้กำลังหลักที่อยู่ส่วนหลังนี้เข้าเสริมกำลังที่ป้องกันชายหาด ส่วนรอมเมลต้องการให้วางกำลังหลักตามแนวชายหาดเพื่อสกัดกั้นการยกพลขึ้นที่ ชายหาดได้ทันท่วงที
แน่นอนฮิตเลอร์เป็นฝ่ายชนะในความคิดของเขา ฮิตเลอร์และนายพลรุดชเท็ด (Gerd Von Rundstedt) จึงดึงกำลังสำคัญ เช่น หน่วยยานเกราะ (Panzer) เกือบทั้งหมดไปอยู่ส่วนหลัง เหลือเพียงกองพลยานเกราะที่ 21 (21st Panzer Division) ให้รอมเมลบังคับบัญชาเพียงกองพลยานเกราะเดียว
นอกจากนี้รอมเมลยังมีกองพลทหารราบอีก 38 กองพล วางกำลังอยู่ตั้งแต่เมืองท่าคาเล่ย์ ของฝรั่งเศส ขึ้นเหนือไปถึงฮอลแลนด์ และเลยลงไปทางใต้ถึงชายแดนสเปน จะเห็นว่าแนวตั้งรับของเยอรมัน มีระยะทางยาวมาก กำลังทหารเยอรมัน จึงดูไม่เพียงพอต่อการต่อต้านการยกพลขึ้นบก ในขณะเดียวกัน กำลังทางอากาศของเยอรมัน(Luftwaffe) ก็มีเครื่องบินขับไล่เพียง 70 ลำ เครื่องบินทิ้งระเบิด 90 ลำ และเครื่องบินอื่นๆ 160 ลำ น้อยเกินไปที่จะรับมือกับฝูงบินพันธมิตรจำนวนมหาศาล
กำลังของพันธมิตร ที่จะทำการยกพลขึ้นบกนั้นประกอบด้วย กองพลทหารราบ 39 กองพล (สหรัฐ 20 กองพล อังกฤษ 3 กองพล คานาดา 1 กองพล ฝรั่งเศสอิสระ 1 กองพลและโปแลนด์ 1 กองพล) มีเครื่องบินขับไล่ กว่า 5,000 ลำ เครื่องร่อน 2,600 ลำ เรือรบและเรืออื่นๆกว่า 6,000 ลำ จะเห็นว่ากำลังทหารราบของทั้งสองฝ่ายใกล้เคียงกันที่จำนวน แต่เยอรมันกระจายกันตั้งแต่เหนือจรดใต้ ในขณะที่พันธมิตรทุ่มไปที่จุดๆเดียว
กองทัพนาซีเยอรมันเชื่อว่า การยกพลขึ้นบกจะมีขึ้นในฤดูร้อนของปี 1944 เพราะมีการเตรียมการขนานใหญ่ที่สามารถสังเกตุเห็นได้ชัดในอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการระดมพลครั้งยิ่งใหญ่ การระดมเรือทั้งเรือยกพลขึ้นบก เรือลำเลียงขนาดใหญ่ เรือรบนานาชนิด แต่วันเวลาที่แน่นอนนั้น ก็ยังเป็นความลับที่ดำมืด
หน่วยพลร่มของสหรัฐอเมริกาหลังจากยึดหัวหาดได้สำเร็จแล้ว
ฝ่ายสัมพันธมิตรเองก็พยายามลวงให้เยอรมันมั่นใจว่า การยกพลขึ้นบกจะมีขึ้นที่คาเล่ย์ (Calais) สายลับของทั้งสองฝ่ายทำงานกันอย่างหนัก สายลับพันธมิตรพยายามปล่อยข่าวสถานที่ยกพลขึ้นบกหลายแห่ง จนสายลับเยอรมันในอังกฤษเกิดความสับสน
และแล้วนายพลไอเซนฮาว (Eisenhower) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจว่าการบุกจะเกิดขึ้นที่ใด และเมื่อใด ก็วางแผนที่จะเริ่มการยกพลขึ้นบกในวันที่ 5-6-7 มิย. 1944 ในเวลารุ่งอรุณ แต่สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย คลื่นลมบริเวณช่องแคบอังกฤษแรงราวกับทะเลกำลังบ้าคลั่ง ทำให้การปฏิบัติการต้องเลื่อนออกไปอีก 24 ชั่วโมง จนกระทั่งเช้าของวันที่ 6 มิย. ไอเซนฮาวจึงตกลงใจที่จะเริ่มการยกพลขึ้นบก
ฝ่ายเยอรมันนั้นก็สับสนกับข่าวการยกพลขึ้นบก ข่าววิทยุจากสถานีวิทยุบี บี ซี ที่กระจายเสียงจากกรุงลอนดอนของอังกฤษ สามารถรับฟังได้อย่างชัดเจนในฝรั่งเศส ซึ่งมักจะส่งข่าวให้พวกใต้ดินในฝรั่งเศส ผ่านทางข้อความที่เป็นรหัสลับ ออกข่าวเป็นเป็นบทกวีว่า "Chanson d'Automne" ซึ่งเป็นสัญญานให้หน่วยใต้ดินฝรั่งเศสทราบว่าการรุกกำลังจะเกิดขึ้น เยอรมัน สามารถจับรหัสนี้ได้ แต่สภาพอากาศที่เลวร้าย ทะเลที่มีแต่คลื่นลมแรง ทำให้เยอรมันตายใจ ไม่คิดว่าการยกพลจะเกิดขึ้นในสภาพอากาศที่เลวแบบนี้ จอมพลรอมเมลเอง ก็เดินทางกลับเยอรมันเพื่อไปเยี่ยมภรรยาของเขา ไม่มีใครคาดคิดว่า การยกพลขึ้นบกที่ยิ่งใหญ๋ที่สุดในประวัติศาสตร์สงครามสมัยใหม่กำลังจะเกิด ขึ้น
และแล้วในคืนของวันที่ 5 ต่อเช้ามืดของวันที่ 6 มิย. พันธมิตรก็ได้ทำแผนลวง เช่น ส่งพลร่มลงที่หมายอื่นๆ ในฝรั่งเศส มีการปฏิบัติการทางอากาศที่เมืองบูโลน (Boulogne) ในขณะเดียวกันกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมดก็ออกจากอังกฤษ มุ่งหน้าสู่นอร์มังดี (Normandy) ท่ามกลางความมืดสนิท พลร่มและเครื่องร่อนบรรทุกทหารราบของสหรัฐและอังกฤษ ร่อนลงในดินแดนส่วนหลังของแนวตั้งรับของเยอรมันตามชายหาด และในแผ่นดินใหญ่ เพื่อป้องกันการเสริมกำลังของเยอรมัน
หาดต่างๆ ถูกแบ่งออกโดยใช้นามเรียกขานคือ ยูท่าห์ (Utah), โอมาฮ่า (Omaha), โกลด์ (Gold), จูโน (Juno), และซอร์ด (Sword) (ดูแผนที่การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี)
กองพลพลร่มที่ 6 ของอังกฤษบุกขึ้นบกที่หาดซอร์ด (Sword) และยึดได้อย่างง่ายดาย กองพลพลร่มหรือกองพลส่งทางอากาศของสหรัฐที่ 82 และ 101 อันเลื่องชื่อ บุกเข้ายึดหาดยูท่าห์ (Utah) แต่ได้รับการต้านทานจากเยอรมัน จึงมีการสูญเสียมากกว่าหาดของอังกฤษ เนื่องจากเยอรมันทราบถึงการเข้าโจมตีของทหารพลร่ม จึงต่อสู้อย่างทรหด
พอโตขึ้นมาหน่อย ในชั้นมัธยม ก็ได้เรียนประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 แบบลงลึกไปอีกเล็กน้อย คราวนี้ก็ได้เจอกับเรื่องวันดี - เดย์ อีกมากมาย จนรู้สึกว่า วันดี - เดย์ คือเหตุการณ์สำคัญทั้งหลายทั้งปวงของสงครามโลกครั้งที่ 2
แต่พอมีโอกาสไปเรียนที่โซเวียต โลกทัศน์และความเข้าใจเกี่ยวกับสงครามโลก ที่เราสะสมมาจากเมืองไทย ก็ถูกทุบจนน่วมในบัดเดี๋ยวนั้น ทั้งจากข้อมูลที่ว่าสหภาพโซเวียตสูญเสียทั้งประชากรและทหารไปในสงครามครั้งนั้น 27 ล้าน มากกว่า นาซีเยอรมัน สหรัฐ อังกฤษ และอีกหลายๆประเทศรวมกัน ( ตอนเรียนอยู่เมืองไทย ก็ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหนมาถึงไม่รู้ข้อมูลเรื่องนี้ ) หากคิดแค่สหรัฐกับอังกฤษ ผมแทบไม่เชื่อว่าตัวเลขส่วนนี้จะมีแค่ 7 แสนเท่านั้น
แต่ที่เล่นทำเอามึนที่สุด ก็เห็นจะเป็นเรื่องวันดี - เดย์ ขณะอยู่ที่เมืองไทย วันดี - เดย์ เป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ แต่จากการที่ได้พูดคุยกับคนรัสเซีย ผมสามารถสรุปได้ว่าวันดี - เดย์ เป็นวันที่คนรัสเซียรู้สึกเจ็บปวด (อย่างมาก ) พวกเขามองว่ามันเป็นการลวงโลกในบางแง่บางมุม (เหตุผลของเรื่องนี้ เป็นอย่างไร จะเล่าให้ฟังในลำดับต่อไปครับ อ่านไปเรื่อยๆจะเห็นเอง )
ตอนแรก ผมก็นึกว่า อีกแล้ว........โซเวียต โฆษณาชวนเชื่อ เป่าหูตูอีกแล้ว ก็เลยไม่ค่อยได้สนใจอะไรมากนัก
อีกหลายปีต่อมา เมื่อกลับมาเมืองไทย ได้ดูหนังเรื่อง Saving Private Ryan หนังเรื่องนี้ ทำให้ผมต้องเปลี่ยนแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับวันดี - เดย์ และมีความเห็นค่อนไปทางคนรัสเซีย (อันนี้ยอมรับกันตรงๆ เลย 5555 )
เพราะหนังเรื่องนี้ ทำให้เพิ่งได้รู้เป็นครั้งแรกว่า การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ใช้เวลาสั้นมากๆ คือแค่ไม่กี่ชั่วโมง การสูญเสียของทั้งสองฝ่ายก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก แม้ว่าในเรื่องของกำลังพล รวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรขนมา จะดูโอฬารก็ตามที ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าตอนนั้น นาซีเยอรมัน ไม่แข็งแกร่งเสียแล้ว กำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ส่วนมากของพวกเขา ถูกนำไปใช้ในการสู้รบกับโซเวียต และก็เสียหาย หรือสูญเสียไปมากมาย
ต่อมาผมก็ลองหาข้อมูลในเรื่องนี้มาอ่านจากนิตยสาร เนชั่นแนล จีออร์กราฟฟิค โซไซตี้มาอ่าน ก็พบว่าทั้งหลายทั้งปวงไม่ได้ผิดไปจากสิ่งที่ผมสรุปไว้หลังดูหนัง Saving
รัสเซียชอบนำเรื่องนี้ไปเปรียบเทียบกับ " ศึกสตาลินกราด " ( หาดูได้จากหนังเรื่อง " Enemy At The Gate " ) เพราะการรบที่นี่ระหว่างโซเวียตกับนาซีเยอรมัน กินเวลาหลายเดือน และเป็นการรบที่นองเลือดที่สุดเท่าที่โลกเคยประสบพบมาตั้งแต่อดีต จนลุล่วงถึงปัจจุบัน จากการประเมิน พบว่าในการรบครั้งนั้น ทั้งสองฝั่งตายรวมกันอาจจะถึง 1 ล้านคน (อันนี้ ผมก็เพิ่งมาทราบเมื่อ 2 - 3 ปีที่ผ่านมานี่เอง )
เมื่อเทียบกันจะเห็นว่า วันดีเดย์จิ๊บจ๊อยมาก แต่ผมกลับมองว่ามันเทียบกันไม่ได้ เพราะมันเป็นคนละเรื่องกัน ที่สตาลินกราดเป็นการรบ แต่ที่นอร์มังดี เป็นการยกพลขึ้นบก คงไม่มีใครใช้เวลาในการยกพลขึ้นบกเป็นเดือนเป็นปีแน่ๆ
แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่ทำให้คนรัสเซียช้ำใจ เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษหลังสงครามสงบ ที่โซเวียตหรือรัสเซียไม่เคยส่งตัวแทนไปร่วมงานรำลึกวันดี - เดย์ เช่นเดียวกับที่ชาติตะวันตก ก็ไม่เคยส่งตัวแทนมาร่วมในงานรำลึกศึกสตาลินกราด เรื่องนี้ บ่งบอกถึงความบาดหมางใจกันกรณี วันดี - เดย์ ได้เป็นอย่างดี
จากข้อมูลเท่าที่สต็อกไว้ในสมอง รู้สึกว่าผู้นำชาติตะวันตกคนแรกที่มาร่วมรำลึกศึกสตาลินกราด คือนายโทนี่ แบลร์ สมัยเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษ และเรื่องนี้เป็นการเปิดทางให้ชาติตะวันตก ส่งผู้นำของตนมาร่วมในพิธีฉลองวันแห่งชัยชนะที่กรุงมอสโกโดยพร้อมหน้าในอีกหลายปีต่อมา และนายวลาดิมีร์ ปูติน ในช่วงที่เป็นประธานาธิบดีรัสเซียก็ไปร่วมพิธีรำลึกวันดี - เดย์ เป็นการตอบแทนเมื่อปี 2004
จะเล่าให้ฟังถึงเหตุผลความช้ำใจของรัสเซียในเรื่องนี้
จากข้อมูลของนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพนาซีเยอรมันอันเกียงไกร แม้จะเคยต้องพลาดท่าเสียทีให้กับข้าศึกอยู่บ้าง แต่หลังจากที่พวกเขาพ่ายแพ้ให้กับรัสเซียในศึกสตาลินกราด พวกเขาก็ไม่เคยฟื้นกลับมาอีกเลย ในการรบกับรัสเซีย กองทัพนาซีเยอรมัน เสียทั้งกำลังพล และอาวุธยุทโธปกรณ์ไปมากมายมหาศาล และนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มก็บอกว่า เรื่องนี้แหละที่ทำให้การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี เป็นไปอย่างสะดวกโยธิน
แต่หลังสงคราม ชาติตะวันตกไม่เคยให้เครดิตเท่าที่ควรกับโซเวียตในเรื่องนี้เมื่อพูดถึงวันดี - เดย์ ข้อมูลจากบีบีซีบอกว่า ปูติน เป็นผู้นำรัสเซียคนแรกที่ทางชาติตะวันตกเชิญไปร่วมงานรำลึกวันดี - เดย์ ซึ่งถ้าเป็นไปตามนั้น ก็เท่ากับว่า ชาติตะวันตกไม่เคยให้เครดิตกับรัสเซียเลย (แต่ผมไม่ค่อยเชื่อข้อมูลบีบีซีมากนัก เพราะมองว่า อาจจะมีการเชิญ แต่รัสเซียปฏิเสธเพราะงอน )
โซเวียตเข้าสู่สงครามกลางปี 1941 และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ร้องขอให้แกนนำกลุ่มประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรส่งทหารบุกเข้ามาในยุโรป เพื่อให้นาซีเยอรมัน ที่ตอนนั้นรบหนักอยู่กับโซเวียตเพียงประเทศเดียว ต้องทำศึก 2 ด้าน แต่คำสัญญาก็เป็นเพียงคำสัญญา เมื่อสหรัฐและอังกฤษต่างก็มองว่า การส่งทหารไปยกพลขึ้นบกที่ยุโรปนั้นเป็นงานช้าง ที่ยุ่งยากและซับซ้อน
ท้ายที่สุดพวกเขาก็ตัดสินใจส่งทหารมาขึ้นบกที่ฝั่งยุโรปกลางปี 1944 หรือปล่อยให้โซเวียตดวลกับนาซีเยอรมันมานานถึง 3 ปีเต็ม
ในช่วงนั้น โซเวียตชนะศึกสตาลินกราดเรียบร้อย (มกราคม 1943 ) และกำลังตีโต้จนแทบจะไม่มีข้าศึกหลงเหลืออยู่ในประเทศแล้ว และที่สำคัญก็คือสงครามโลกในยุโรป ยุติลงกลางปี 1945 หรืออีกแค่ 1 ปีต่อมา
เรื่องนี้ก็ทำให้หลายฝ่าย โดยเฉพาะในรัสเซียเองต่างก็คิดกันว่า ถ้าไม่มีวันดี - เดย์ โซเวียตยังจะสามารถรุกไล่ข้าศึกไปจนถึงกรุงเบอร์ลินได้หรือไม่ คำตอบที่หลายคนมองก็คือได้ เพราะในขณะที่ข้าศึกอ่อนเปรี้ยเพลียแรง แต่พญาหมี ดูเหมือนเพิ่งจะเริ่มตื่น กำลังพลที่ดูเหมือนจะสูญเสียไปมากมาย ก็เหมือนกับว่าประเทศสามารถผลิตออกมาได้เหมือนกับการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม
หลายฝ่ายมองกันว่า หากวันดี - เดย์ เปิดฉากเร็วขึ้นกว่านี้ สงครามอาจจะจบเร็วขึ้นหลายปี คนโซเวียตหลายสิบล้าน รวมทั้งประชากรประเทศอื่นอีกไม่ต้องจบชีวิตลงก่อนถึงวัยอันควร
ความเป็นไปได้ในการเปิดวันดี - เดย์ เร็วกว่านี้ อยู่ที่ความเห็นในเบื้องต้นของนายพลดไวท์ ไอเซนฮาวร์ ของสหรัฐ ที่บอกว่า วันดี - เดย์ ควรเกิดขึ้นในฤดูร้อนปี 1942 ( 2 ปี ก่อนวันดี - เดย์ของจริง ) ซึ่งตอนแรก ประธานาธิบดีรูสเวลท์ ของสหรัฐก็เห็นด้วย
แต่คนที่เป็นปัญหาก็คือ นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลล์ ของอังกฤษ
นักประวัติศาสตร์มองว่า เหตุผลส่วนหนึ่งของเรืองนี้เกิดจากการที่ผู้นำอังกฤษไม่ชอบโซเวียต เขาอยากให้นาซีเยอรมัน รบกับโซเวียตต่อไปจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งน่วมและพ่ายแพ้ไป และหากฝ่ายอักษะชนะ อังกฤษก็จะเข้าไปจัดการ หรือหากว่าโซเวียตชนะ ก็คงจะน่วมเสียจนๆไม่มีปัญญาทำอะไรได้
แต่เขาคิดผิด และนี่ก็เป็นสาเหตุให้โซเวียตกินแหนงแคลงใจเรื่องวันดี - เดย์มานานแสนนาน จนในวันครบรอบ 50 ปีวันดี - เดย์ ชาติตะวันตกก็ไม่เชิญผู้นำรัสเซียมาร่วมงาน แม้ว่าในยุคนั้น สหภาพโซเวียตจะไม่มีอยู่ในโลกแล้วก็ตาม เหลือแต่รัสเซียที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นการสบประมาทรัสเซียครั้งใหญ่
นอกจากนั้น ในงานนั้น ชาติตะวันตกก็ยังทำผิดพลาด โดยการที่ไม่พูดถึงบทบาทของโซเวียตแม้แต่แอะเดียว พวกเขาพูดเหมือนว่า นาซีเยอรมัน รบกับชาติตะวันตกแต่เพียงฝ่ายเดียว แล้วประเทศที่มีคนตายไป 27 ล้านคนถูกลืมไปได้อย่างไร ถ้าไม่ใช่ว่าพวกเขาถูกลืมจนชาติตะวันตกชินกันเสียแล้ว
ขณะที่สถิติของฝ่ายอังกฤษเองก็บอกว่า ความสูญเสีย 93 เปอร์เซ็นต์ของฝ่ายนาซีเยอรมัน เกิดขึ้นในแนวรบฝั่งตะวันออก คือการรบกับโซเวียต ขณะที่ในการรบที่อื่นๆ ทั้งในฝั่งยุโรปตะวันตก ในเอเชีย แอฟริกา หรือในมหาสมุทรแอตแลนติก เยอรมันสูญเสียไปแค่ 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
นักประวัติศาสตร์บอกว่า หลังจากที่สหรัฐกับอังกฤษ เปิดแนวรบด้านตะวันตกกับนาซีเยอรมันแล้ว ความหนักหน่วงของการรบของนาซีเยอรมัน ก็ยังอยู่ทางแนวรบด้านตะวันออก คือด้านที่รบกับโซเวียต โดยการรบที่นี่หนักกว่าอีกด้านถึง 4 เท่า
จนถึงปัจจุบันศักดิ์ศรีของรัสเซียในสงครามครั้งนั้น ก็ยังถูกบั่นทอนอยู่
มาดูด้าเยรอมันกันบ้าง
การยกพลขึ้นบกของฝ่ายพันธมิตร ที่หาดนอร์มังดี ของฝรั่งเศสในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 หรือที่เรียกว่าวัน ดี เดย์ จะเห็นเมืองแชร์บูรกก์ (Cherbourg) อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ ถัดมาคือหาดยูท่าห์ (Utah) โอมาฮ่า (Omaha) โกลด์ (Gold) จูโน (Juno) และซอร์ด (Sword) สีแดงคือกำลังของฝ่ายเยอรมัน จะเห็นกำลังของกองพลยานเกราะที่ 21 (21st Panzer Division) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองคานส์ (Caen) ถัดมาทางขวา จะเห็น กองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 12 ฮิตเลอร์จูเกน (12th SS. Panzer Division Hitler Jugend) ทางขวาล่างขงแผนที่จะเห็นกองทัพ บี ของจอมพล เออร์วิน รอมเมล ผู้รับผิดชอบกำแพงแอตแลนติค ต่อต้านการยกพลขึ้นบกของฝ่ายพันธมิตร
ทหารอเมริกันอีกคนหนึ่งที่ไม่มีโอกาสได้เห็นชัยชนะของ สัมพันธมิตรเหนือหาดนอร์มังดี เครื่องกีดขวางที่เห็นอยู่ด้านข้าง แสดงให้เห็นว่า เมื่อน้ำขึ้น จะขึ้นสูงมากจนท่วมเครื่องกีดขวางนี้ ยอดของมันที่อยู่เรี่ยผิวน้ำจะเป็นตัวสกัดเรือยกพลขึ้นบกที่แล่นเข้ามา
ส่วนเครื่องกีดขวางที่เห็นอยู่ด้านหลัง เรียกว่า รอมเมลแอสปาราคัส (Rommel's Asparacus) ทำจากเหล็กรางรถไฟ หรือเสาเหล็กทั่วๆไป จะมีผลเมื่อน้ำขึ้นไม่สูงนัก นอกจากนี้บางส่วนของเครื่องกีดขวางเหล่านี้ ยังผูกกับระเบิดเอาไว้อีกด้วย
จอมพลเออร์วิน รอมเมล (Erwin Rommel)
วันที่ 6 มิถุนายน 1944 ถือว่าเป็นวันดี เดย์ เป็นวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทุ่มกำลังยกพลขึ้นบก โจมตีป้อมปราการยุโรปของฮิตเลอร์ (Fortress Europe) ด้วยกำลังมหาศาลเท่าที่เคยมีมา เพื่อเปิดสงครามด้านที่สองของเยอรมัน ซึ่งกำลังเผชิญกับรัสเซียทางด้านตะวันออก
จริงๆแล้วเยอรมันนั้นรู้ล่วงหน้ามาก่อนแล้วว่าฝ่ายสัมพันธมิตร จะทำการยกพลขึ้นบกในฝรั่งเศส แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นที่ใด เนื่องจากแนวชายทะเลของฝรั่งเศสด้านที่ติดกับอังกฤษนั้นยาวมาก ฮิตเลอร์และฝ่ายเสนาธิการบางคนเชื่อว่า การยกพลขึ้นบกจะเกิดขึ้นที่ เมืองท่าคาเล่ย์ (Calais) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือและเป็นส่วนที่แคบที่สุดระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส
ในขณะที่ จอมพลเออร์วิน รอมเมล (Erwin Rommel) ของนาซีเยอรมัน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพกลุ่มบี ในประเทศฝรั่งเศส เมื่อเดือน พย. 1943 เชื่อว่าการยกพลขึ้นบกจะเกิดขึ้นในบริเวณอื่น เขาจึงสั่งการให้สร้างสร้างป้อมและบังเกอร์ขึ้นเรียงรายตามแนวชายฝั่ง ฝรั่งเศส เพิ่มจำนวนรังปืนกล เครื่องยิงลูกระเบิดหรือปืนครก บนหาดก็มีการสร้างสิ่งกีดขวางสำหรับเรือยกพลขึ้นบก ที่เรียกว่า เม่นทะเลและงาแซง บวกกับการติดทุ่นระเบิดและกับระเบิดจำนวนมากเข้าไป แนวตั้งรับนี้มีชื่อเรียกว่า กำแพงแอตแลนติค (Atlantic Wall)
รอม เมลเชื่อว่าชัยชนะของการต่อต้านการยกพลขึ้นบกจะอยู่ที่ชายหาด ใครที่ยึดหาดได้จะเป็นผู้ชนะ แต่ฮิตเลอร์มองว่า หากการยกพลขึ้นบกเกิดขึ้นจริง การรบขั้นแตกหักจะอยู่บนฝั่ง คือปล่อยให้พันธมิตรขึ้นฝั่งแล้วใช้กำลังเข้าบดขยี้
ด้วยความเห็นที่แตกต่างกันนี้เอง ฮิตเลอร์จึงสั่งการให้วางกำลังส่วนใหญ่ไว้ในแนวหลัง เนื่อ งจากไม่มั่นใจว่าการยกพลขึ้นบกจะเกิดที่ใด เมื่อมีการยกพลขึ้นบก ก็จะใช้กำลังหลักที่อยู่ส่วนหลังนี้เข้าเสริมกำลังที่ป้องกันชายหาด ส่วนรอมเมลต้องการให้วางกำลังหลักตามแนวชายหาดเพื่อสกัดกั้นการยกพลขึ้นที่ ชายหาดได้ทันท่วงที
แน่นอนฮิตเลอร์เป็นฝ่ายชนะในความคิดของเขา ฮิตเลอร์และนายพลรุดชเท็ด (Gerd Von Rundstedt) จึงดึงกำลังสำคัญ เช่น หน่วยยานเกราะ (Panzer) เกือบทั้งหมดไปอยู่ส่วนหลัง เหลือเพียงกองพลยานเกราะที่ 21 (21st Panzer Division) ให้รอมเมลบังคับบัญชาเพียงกองพลยานเกราะเดียว
นอกจากนี้รอมเมลยังมีกองพลทหารราบอีก 38 กองพล วางกำลังอยู่ตั้งแต่เมืองท่าคาเล่ย์ ของฝรั่งเศส ขึ้นเหนือไปถึงฮอลแลนด์ และเลยลงไปทางใต้ถึงชายแดนสเปน จะเห็นว่าแนวตั้งรับของเยอรมัน มีระยะทางยาวมาก กำลังทหารเยอรมัน จึงดูไม่เพียงพอต่อการต่อต้านการยกพลขึ้นบก ในขณะเดียวกัน กำลังทางอากาศของเยอรมัน(Luftwaffe) ก็มีเครื่องบินขับไล่เพียง 70 ลำ เครื่องบินทิ้งระเบิด 90 ลำ และเครื่องบินอื่นๆ 160 ลำ น้อยเกินไปที่จะรับมือกับฝูงบินพันธมิตรจำนวนมหาศาล
กำลังของพันธมิตร ที่จะทำการยกพลขึ้นบกนั้นประกอบด้วย กองพลทหารราบ 39 กองพล (สหรัฐ 20 กองพล อังกฤษ 3 กองพล คานาดา 1 กองพล ฝรั่งเศสอิสระ 1 กองพลและโปแลนด์ 1 กองพล) มีเครื่องบินขับไล่ กว่า 5,000 ลำ เครื่องร่อน 2,600 ลำ เรือรบและเรืออื่นๆกว่า 6,000 ลำ จะเห็นว่ากำลังทหารราบของทั้งสองฝ่ายใกล้เคียงกันที่จำนวน แต่เยอรมันกระจายกันตั้งแต่เหนือจรดใต้ ในขณะที่พันธมิตรทุ่มไปที่จุดๆเดียว
กองทัพนาซีเยอรมันเชื่อว่า การยกพลขึ้นบกจะมีขึ้นในฤดูร้อนของปี 1944 เพราะมีการเตรียมการขนานใหญ่ที่สามารถสังเกตุเห็นได้ชัดในอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการระดมพลครั้งยิ่งใหญ่ การระดมเรือทั้งเรือยกพลขึ้นบก เรือลำเลียงขนาดใหญ่ เรือรบนานาชนิด แต่วันเวลาที่แน่นอนนั้น ก็ยังเป็นความลับที่ดำมืด
หน่วยพลร่มของสหรัฐอเมริกาหลังจากยึดหัวหาดได้สำเร็จแล้ว
ฝ่ายสัมพันธมิตรเองก็พยายามลวงให้เยอรมันมั่นใจว่า การยกพลขึ้นบกจะมีขึ้นที่คาเล่ย์ (Calais) สายลับของทั้งสองฝ่ายทำงานกันอย่างหนัก สายลับพันธมิตรพยายามปล่อยข่าวสถานที่ยกพลขึ้นบกหลายแห่ง จนสายลับเยอรมันในอังกฤษเกิดความสับสน
และแล้วนายพลไอเซนฮาว (Eisenhower) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจว่าการบุกจะเกิดขึ้นที่ใด และเมื่อใด ก็วางแผนที่จะเริ่มการยกพลขึ้นบกในวันที่ 5-6-7 มิย. 1944 ในเวลารุ่งอรุณ แต่สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย คลื่นลมบริเวณช่องแคบอังกฤษแรงราวกับทะเลกำลังบ้าคลั่ง ทำให้การปฏิบัติการต้องเลื่อนออกไปอีก 24 ชั่วโมง จนกระทั่งเช้าของวันที่ 6 มิย. ไอเซนฮาวจึงตกลงใจที่จะเริ่มการยกพลขึ้นบก
ฝ่ายเยอรมันนั้นก็สับสนกับข่าวการยกพลขึ้นบก ข่าววิทยุจากสถานีวิทยุบี บี ซี ที่กระจายเสียงจากกรุงลอนดอนของอังกฤษ สามารถรับฟังได้อย่างชัดเจนในฝรั่งเศส ซึ่งมักจะส่งข่าวให้พวกใต้ดินในฝรั่งเศส ผ่านทางข้อความที่เป็นรหัสลับ ออกข่าวเป็นเป็นบทกวีว่า "Chanson d'Automne" ซึ่งเป็นสัญญานให้หน่วยใต้ดินฝรั่งเศสทราบว่าการรุกกำลังจะเกิดขึ้น เยอรมัน สามารถจับรหัสนี้ได้ แต่สภาพอากาศที่เลวร้าย ทะเลที่มีแต่คลื่นลมแรง ทำให้เยอรมันตายใจ ไม่คิดว่าการยกพลจะเกิดขึ้นในสภาพอากาศที่เลวแบบนี้ จอมพลรอมเมลเอง ก็เดินทางกลับเยอรมันเพื่อไปเยี่ยมภรรยาของเขา ไม่มีใครคาดคิดว่า การยกพลขึ้นบกที่ยิ่งใหญ๋ที่สุดในประวัติศาสตร์สงครามสมัยใหม่กำลังจะเกิด ขึ้น
และแล้วในคืนของวันที่ 5 ต่อเช้ามืดของวันที่ 6 มิย. พันธมิตรก็ได้ทำแผนลวง เช่น ส่งพลร่มลงที่หมายอื่นๆ ในฝรั่งเศส มีการปฏิบัติการทางอากาศที่เมืองบูโลน (Boulogne) ในขณะเดียวกันกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมดก็ออกจากอังกฤษ มุ่งหน้าสู่นอร์มังดี (Normandy) ท่ามกลางความมืดสนิท พลร่มและเครื่องร่อนบรรทุกทหารราบของสหรัฐและอังกฤษ ร่อนลงในดินแดนส่วนหลังของแนวตั้งรับของเยอรมันตามชายหาด และในแผ่นดินใหญ่ เพื่อป้องกันการเสริมกำลังของเยอรมัน
หาดต่างๆ ถูกแบ่งออกโดยใช้นามเรียกขานคือ ยูท่าห์ (Utah), โอมาฮ่า (Omaha), โกลด์ (Gold), จูโน (Juno), และซอร์ด (Sword) (ดูแผนที่การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี)
กองพลพลร่มที่ 6 ของอังกฤษบุกขึ้นบกที่หาดซอร์ด (Sword) และยึดได้อย่างง่ายดาย กองพลพลร่มหรือกองพลส่งทางอากาศของสหรัฐที่ 82 และ 101 อันเลื่องชื่อ บุกเข้ายึดหาดยูท่าห์ (Utah) แต่ได้รับการต้านทานจากเยอรมัน จึงมีการสูญเสียมากกว่าหาดของอังกฤษ เนื่องจากเยอรมันทราบถึงการเข้าโจมตีของทหารพลร่ม จึงต่อสู้อย่างทรหด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย vcity007 เมื่อ 2012-5-4 14:14
วันนี้เราเอาความรู้มาเเจกจ้า