ปืนเล็กยาว Karabiner Mauser Kar98K
คา ราไบน์เนอร์ เค 98 เป็นปืนที่ส่งลูกเข้ารังเพลิงด้วยระบบลูกเลื่อน เป็นอาวุธประจำกายของทหารเยอรมันมาตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ปืนเล็กยาวรุ่นนี้ บริษัทเมาเซอร์ (Mauser) พัฒนามาจากปืน Gewehr 98 ซึ่งก่อนเกิดสงครามปืนรุ่นนี้จะผลิตขึ้นอย่างพิถีพิถัน ตัวปืนที่เป็นไม้ จะผลิตโดยช่างฝีมอทางด้านงานไม้ แต่พอเกิดสงคราม ความต้องการของปืนมีมาก จึงผลิตด้วยไม้เคลือบมันราคาถูกๆแทน คาราไบเนอร์ เค 98 มีน้ำหนักตัวเปล่า โดยยังไม่บรรจุกระสุน 3.66 กก. บรรจุกระสุนขนาด 7.92 มม. ด้วยซองกระสุน 5 นัด ซึ่งขนาดกระสุน 7.92 มม.นี้เป็นขนาดกระสุนมาตรฐานของกองทัพนาซีเยอรมันในขณะนั้น ต่างจากขนาดกระสุนของรัสเซียที่ใช้ขนาด 7.62 มม. เล็กน้อย กระสุนของเคร 98 มีความเร็ว 745 เมตรต่อวินาที ระยะยิงได้ไกล 550 เมตรหรือ 600 หลา
สมรรถนะ
ผู้ผลิตบริษัทเมาเซอร์ ประเทศเยอรมัน
ความยาวของปืน1,250 มม.
ลำกล้องยาว 740 มม.
น้ำหนักปืนเปล่า3.66 กก.
กระสุนขนาด 7.92 มม.
บรรจุ5 นัด
ระยะยิงไกล500 ม.
ความยาวของปืน1,250 มม.
ลำกล้องยาว 740 มม.
น้ำหนักปืนเปล่า3.66 กก.
กระสุนขนาด 7.92 มม.
บรรจุ5 นัด
ระยะยิงไกล500 ม.
ปืนกลมือ MP 40
คง จะไม่ผิดนักถ้าหากจะกล่าวว่าปืนกลมือ Maschinenpistole MP 40 (schmeisser) เป็นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สอง มันถูกผลิตออกมาโดยบริษัท เออร์ม่า (Erma) มากกว่า 1,000,000 กระบอก จนถึงปี 1945 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยความที่ผลิตง่าย ตามความต้องการของกองทัพเยอรมันที่ต้องการปืนที่มีระบบการผลิตที่ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้คนงานที่มีความสามารถพิเศษ ก็สามารถประกอบปืนรุ่นนี้ได้ ตัวปืน MP 40 เป็นเหล็กและพลาสติคแข็ง ไม่มีส่วนใดเป็นไม้ บำรุงรักษาง่าย ต้นแบบของมันคือ MP 38 ซึ่งผลิตขึ้นมาในปี 1938 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะเปิดฉากขึ้นเพียงเล็กน้อย และพัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายเป็น MP 40 และได้รับสมญาว่า ชมิสเซอร์ (Schmeisser)
ปืนกล รุ่นนี้ใช้กระสุนขนาด 9 มม. ส่งกระสุนด้วยซองกระสุนบรรจุกระสุน 32 นัด อัตราความเร็วในการยิง 500 นัดต่อนาที เป็นปืนที่ทหารเยอรมันใช้ในระยะประชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารของหน่วย เอส เอส มักนิยมใช้ปืน MP 40 เป็นอาวุธประจำกาย รวมทั้งทหารประจำรถถัง หรือหน่วยยานเกราะ ตลอดจนหน่วยพลร่ม ก็ใช้อาวุธชนิดนี้เป็นอาวุธประจำกาย เพราะไม่ยาวเกะกะ มีความคล่องตัวสูง บรรจุกระสุนได้มาก บำรุงรักษาง่าย และมีความทนทาน ไม่แต่เฉพาะทหารเยอรมันเท่านั้นที่ชมชอบปืนรุ่นนี้ ทหารพันธมิตร และทหารรัสเซียก็มักจะนำไปใช้ เมื่อยึดมันมาได้จากทหารเยอรมันสมรรถนะ
ผู้ผลิตบริษัทเออร์ม่า (Erma)ประเทศเยอรมันความยาวของปืน833 มม.
ลำกล้องยาว 251 มม.
น้ำหนักปืนเปล่า4 กก.
กระสุนขนาด 9 มม.
บรรจุ32 นัด
ระยะยิงไกล200-250 ม.
ปืนกล MG 34
ปืน กล Machinengewehr MG 34 นี้ บางคนจัดให้เป็นปืนกลเบา (Light machine gun) แต่บางตำราก็จัดให้เป็นปืนกลหนัก (Heavy machine gun) ปืนกลรุ่นี้ผลิตโดย Louis Stange จากบริษัท Rhinemetall และบริษัท Mauser ของเยอรมันในคราวเดียวกัน ซึ่งการถือกำเนิดปืนกล MG 34 ในปี 1934 นี้ ถือเป็นการก่อกำเนิดของอาวุธปืนกลสมัยใหม่ ในกองทัพเยอรมันเลยทีเดียว
การ ทำงานของปืนกล MG 34 นี้ ใช้การทำงานผสมผสานระหว่าง การใช้แรงสะท้อนถอยหลังของดินปืน และแก๊ส ในการยิงแต่ละครั้ง นับเป็นการผสมผสาน ที่ไม่ค่อยจะมีใช้กัน ในระบบการยิงของปืนกลในยุคสมัยนั้น และถือเป็นความสำเร็จอันยอดเยี่ยมของการประดิษฐ์ระบบการยิงด้วยวิธีนี้ของ Louis ผู้ผลิตปืนกล MG 34ปืนกล MG 34 ใช้ระบบส่งกระสุนขนาด 7.92 มม. ได้ทั้งการใช้สายกระสุน และกล่องบรรจุกระสุนที่เรียกว่า ดรัม (Drum) ซึ่งดรัมนี้มสองแบบ คือ แบบดรัมเดียว และสองดรัมติดกัน มีอัตราการยิง 800-900 นัดต่อนาที ระยะยิงไกลถึง 2,000 ม. หรือ 2 กม.
ปืนกล MG 34 มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในกองทัพเยอรมัน แม้ว่าปืนกลรุ่นใหม่อย่าง MG 42 จะเกิดขึ้นมาในปี 1942 และมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า MG 34 แต่ MG 34 ก็เป็นปืนกลที่ทหารเยอรมันยังคงใช้อยู่ทุกแนวรบ จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
สมรรถนะ
ผู้ผลิตประเทศเยอรมัน
ความยาวของปืน1,220 มม.
ลำกล้องยาว628 มม.
น้ำหนักปืนเปล่า12.1 กก.
กระสุนขนาด7.92 มม.
บรรจุสายกระสุน สายละ 50 นัด
ระยะยิงไกล2000 ม.
ปืนกล MG 42
ปืน กล Machinengewehr MG 42 หรือปืนกลสแปนเดา (Spandau) นี้ เกิดขึ้นจากแนวความคิดของกองทัพเยอรมัน ที่ต้องการปืนกลที่มีประสิทธิภาพสูง มีสายการผลิตที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ผู้ที่รับแนวคิดนี้ไปทำให้เป็นความจริงคือ Dr. Grunow ผู้ซึ่งเป็นนักอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงของเยอรมัน ในการผลิตแบบสายการผลิตจำนวนมาก ที่ไม่ต้องการผู้เชี่ยวชาญมาทำการผลิต ผลที่ได้ก็คือ ปืนกลที่ได้ชื่อว่า เป็นปืนกลที่ดีที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สองชนิดหนึ่ง
ปืนกล MG 42 นำเอาปืนกลแบบ MG 34 มาประกอบใหม่ ใช้หลักการเดิม คือการผสมผสานระหว่างแรงสะท้อนของกระสุน และระบบแก๊ส ปืนกล MG 42 ใช้ระบบส่งกระสุนขนาด 7.92 มม. เหมือนปืนกล MG 34 คือใช้ได้ทั้งการใช้สายกระสุนขนาด 50 นัด และกล่องบรรจุกระสุนที่เรียกว่า ดรัม (Drum) ซึ่งดรัมนี้มสองแบบ คือ แบบดรัมเดียว และสองดรัมติดกัน มีอัตราการยิง 1200 นัดต่อนาที ระยะยิงไกลถึง 2,000 ม. หรือ 2 กม.ปืน กล MG 42 มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในกองทัพเยอรมัน แม้ว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับการสั่นของตัวปืน ขณะทำการยิง ส่งผลถึงความแม่นยำของการยิงก็ตาม มันถูกใช้อย่างแพร่หลายจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง และกลายเป็นต้นแบบของปืนกลยุคใหม่อย่างเช่น ปืนกล M 60 ของกองทัพสหรัฐอเมริกา
สมรรถนะ
ผู้ผลิตประเทศเยอรมันความยาวของปืน1,220 มม.
ลำกล้องยาว 533 มม.
น้ำหนักปืนเปล่า 11.6 กก.
กระสุนขนาด 7.92 มม.
บรรจุสายกระสุน สายละ 50 นัด
ระยะยิงไกล2000 ม.
ปืนไรเฟิลจู่โจม STG 44
เอส ที จี 44 มีกำเนิดมาจากปืนกล เอ็ม พี 43 (MP 43 – Machine Pistol 43) ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี 1943 เป็นปืนกลที่มีอำนาจการยิงสูง โดยเฉพาะในระยะประชิด มีแรงสะท้อน หรือแรงสะบัดของปืนต่ำ ทำให้มีความแม่นยำ แม้ระยะยิงจะไม่ไกลนัก
ในช่วงแรก ฮิตเลอร์ต้องการอาวุธประจำกายทหารราบที่มีระยะยิงไกลกว่า 2,000 หลา จึงไม่สนใจที่จะให้ผลิตปืนเอ็ม พี 43 ขึ้น แต่อัลเบิร์ต สเปียร์ รัฐมนตรีกระทรวงอาวุธของนาซีเยอรมันในขณะนั้น เห็นว่าเยอรมันมีความต้องการปืนรุ่นนี้เป็นอย่างมาก จึงทำการผลิตปืนรุ่นนี้ขึ้น โดยที่ฮิตเลอร์ไม่รู้ และส่งออกไปให้ทหารเยอรมันในแนวรบด้านรัสเซียได้ทดลองใช้ ปรากฏว่า ทหารราบเยอรมันต่างพอใจในสมรรถนะของปืนรุ่นนี้ ถึงขนาดที่ผู้บัณชาการกองพลของเยอรมันบางกองพล ได้พูดกับฮิตเลอร์ถึงประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยมของปืนกลมือ เอ็ม พี 43 ความจริงเลยปรากฏต่อฮิตเลอร์ว่า ปืนรุ่นนี้ได้ถูกผลิตออกมาแล้วอย่าง ไรก็ตาม ฮิตเลอร์ก้ได้รับการโน้มน้าวจากฝ่ายเสนาธิการของเขาว่า ปืนกล เอ็ม พี 43 มีประสิทธิภาพมาก และเป็นที่ต้องการของทหารในแนวหน้า ทำให้ฮิตเลอร์ เปลี่ยนใจ และสั่งให้ผลิตปืนเอ็ม จี 43 ออกมาใช้อย่างเต็มที่ โดยมอบหมายให้โรงงาน 3 โรงงานรับผิดชอบในการผลิต ตลอดจนมีการปรับเปลี่ยนภายในเล็กน้อย และเปลี่ยนชื่อเป็นปืน สตรุม เกอแวร์ 44 (Sturmgewehr 44 หรือ ปืนไรเฟิลจู่โจม – Assault Rifle) สายการผลิตของปืนรุ่นนี้มีอยู่จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1945
รัส เซียได้เข้ายึดโรงงานผลิตปืน เอส ที จี 44 ได้ และนำไปเป็นต้นแบบปืนไรเฟิลของตน ในโลกยุคสงครามเย็น นั่นคือ ปืนไรเฟิล AK 47 อันลือชื่อ โดยมีการปรับเปลี่ยนขนาดลำกล้องจาก 7.92 มม. มาเป็นขนาด 7.62 มม. ซึ่งเป็นขนาดกระสุนมาตรฐานของรัสเซีย จนกลายเป็นปืนที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ยุคสงครามเย็น จนถึงยุคการก่อการร้ายในปัจจุบัน
ปืนใหญ่ขนาด 88 มม.
ปืน ใหญ่ที่ลือชื่อมากที่สุดของเยอรมัน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง คือ ปืนใหญ่ขนาด 88 มม. ที่ปรากฎอยู่ในภาพนี้ ปืนใหญ่นี้มีอานุภาพรุนแรงมาก สามารถทำลายยานเกราะแทบทุกชนิดได้ นอกจากนี้ยังเป็นปืนที่มีความแม่นยำสูง สามารถยิงเป้าหมายทางพื้นดินได้ไกลถึงกว่า 10 กิโลเมตร คือประมาณ 10,600 เมตร และเป้าหมายทางอากาศ ได้ 14,680 เมตร หรือกว่า 14 กิโลเมตร
คุณสมบัติ พิเศษของปืนใหญ่รุ่นนี้ คือ สามารถยิงเป้าหมายทางพื้นดิน และทางอากาศได้พร้อมๆกัน โดยที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของตัวปืนแต่อย่างใด เพียงแค่เปลี่ยนชนิดของกระสุนจากกระสุนปืนต่อสู้ยานเกราะ เป็นกระสุนต่อสู้อากาศยานแบบแตกอากาศเท่านั้นปืนใหญ่ขนาด 88 มม. ชนิดนี้ มีความยาว 25 ฟุต อัตราการยิงเฉลี่ย 8 นัด ต่อนาที ใช้พลประจำปืน 6 คน มีบทบาทตั้งแต่การรบในฝรั่งเศส ในเดือนพฤษภาคม ปี 1940 เมื่อทหารอังกฤษในประเทศฝรั่งเศส นำโดยพลตรี แฟรงคลิน (Flanklyn) ใช้ชื่อหน่วย Flankforce ซึ่งมีรถถังมาทิลด้า 16 คัน และรถถังอื่นๆอีก 50 คัน พร้อมด้วยทหารราบ ได้ตอบโต้หน่วยทหารเยอรมันของ กองพลยานเกราะที่ 7 นำโดยพลตรีเออร์วิน รอมเมลที่กำลังรุกเข้าไป ทางตอนใต้ของ อาราส (Arras) โดยใช้รถถังแบบ มาทิลดา (MAtilda) เป็น หัวหอก ทหารเยอรมันซึ่งใช้ปืนต่อสู้รถถังขนาดความกว้างปากลำกล้อง 37 มม. พบว่า แม้จะยิงใส่รถถังมาทิลด้าอย่างจังๆ ด้วยกระสุนขนาด 37 มม. แต่ปรากฏว่า ไม่สามารถหยุดรถถังดังกล่าวได้ มาทิลด้าบางคันถูกยิงถึง 14 นัดโดยที่ไม่เสียหายแต่อย่างใด สร้างความตกใจให้กับทหารเยอรมันเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันรถถังมาทิลด้าก็ยังคงรุกเข้ามาด้วยความเร็วสูง ฝ่ายเยอรมันจึงมีการใช้ปืนใหญ่ขนาด 88 มม. ที่ลากจูงไปด้วย ยิงใส่เข้าหน่วยรถถังของอังกฤษ ส่งผลให้รถถังอังกฤษถูกทำลายลงถึง 46 คัน กองพันปืนใหญ่ 88 มม. กองพันหนึ่งของเยอรมัน สามารถทำลายมาทิลด้าลงได้ถึง 9 คัน โดยใช้กระสุนเจาะเกราะ นับแต่นั้นมาชื่อเสียงของปืนขนาด 88 มม. ก็กลายเป็นที่รู้จักไปทั่ว
ปืนขนาด 88 มม. นี้มาสร้างชื่อโด่งดังอีกครั้ง ในการรบที่นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ภายหลังจากที่พันธมิตรยกพลขึ้นบกในวัน ดี เดย์ฝ่าย เยอรมันได้ใช้ปืน 88 มม. ในการตั้งรับอย่างได้ผล รถถังของฝ่ายพันธมิตรถูกทำลายลงอย่างไม่รู้ตัว ตั้งแต่ระยะ 10 กิโลเมตร โดยเฉพาะรถถัง M 4 เชอร์แมน (Sherman)ของ สหรัฐอเมริกา ที่มีการติดไฟได้ง่ายมาก หากถูกยิง จนพลประจำรถถังเชอร์แมน มักจะเรียกรถถังของตนเองว่า ไฟแช็ครอนสัน (Ronson Lighter) ซึ่งสโลแกนของไฟแช็ครอนสันขณะนั้นคือ แช็คเดียวติด รถถังเชอร์แมนตกเป็นเหยื่อของปืน 88 มม. เป็นจำนวนมาก
ปืนที่โด่งดังของนาซี