สงครามโลกครั้งที่ 1 ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในยุโรปใน พ.ศ. 2457 นั้น ประเทศไทยยังคงยึดมั่นอยู่ในความ เป็นกลางแต่พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสังเกตความเคลื่อนไหวของคู่สงคราม อย่างใกล้ชิดการสงครามได้รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกรานจึงทรงตัดสินพระ ทัยประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 แล้วประกาศเรียกพลทหารอาสาสำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่งไปช่วย สงครามยุโรป การส่งทหารไปรบครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะเท่ากับได้เรียนรู้วิชาการทางเทคนิคการรบและการช่างในสมรภูมิจริงๆ เมื่อเสร็จสงครามสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทย ได้ส่งผู้แทนเข้าประชุม ณ พระราชวังแวร์ซาย ด้วยผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ ก็คือสัญญาต่างๆ ที่ไทยทำกับเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี ย่อมสิ้นสุดลงตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศนั้น และไทยก็ได้พยายามขอเจรจาข้อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และ ชาติอื่นๆ แต่ก็ประสบความยากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วยเหลือจาก ดร. ฟราน ซิส บี แซยร์ (Dr. Francis B. Sayre) ชาวอเมริกาซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาต่างประเทศจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี ในที่สุดประเทศต่างๆ 13 ประเทศ รวมทั้งอังกฤษ ตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2468 และ ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2467 ตกลงยอมแก้ ไขสัญญาโดยมีเงื่อนไขบางประการ เช่น จะยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุล เมื่อไทยมีประมวลกฎหมายครบถ้วน และยอมให้อิสรภาพในการเก็บภาษีอาการ ยก เว้นบางอย่างที่อังกฤษขอลดหย่อนต่อไปอีก 10 ปีเช่น ภาษีสินค้าฝ้ายเป็น เหล็ก ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่างๆ ต่อมาจนแล้วเสร็จ และเปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่งในที่สุด ประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่กับไทย เมื่อ พ.ศ. 2480 ไทย ได้อิสรภาพทางอำนาจศาล และภาษีอากรคืนมาโดยสมบูรณ์
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในยุโรปใน พ.ศ. 2457 นั้น ประเทศไทยยังคงยึดมั่นอยู่ในความ เป็นกลางแต่พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสังเกตความเคลื่อนไหวของคู่สงคราม อย่างใกล้ชิดการสงครามได้รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกรานจึงทรงตัดสินพระ ทัยประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 แล้วประกาศเรียกพลทหารอาสาสำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่งไปช่วย สงครามยุโรป การส่งทหารไปรบครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะเท่ากับได้เรียนรู้วิชาการทางเทคนิคการรบและการช่างในสมรภูมิจริงๆ เมื่อเสร็จสงครามสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทย ได้ส่งผู้แทนเข้าประชุม ณ พระราชวังแวร์ซาย ด้วยผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ ก็คือสัญญาต่างๆ ที่ไทยทำกับเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี ย่อมสิ้นสุดลงตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศนั้น และไทยก็ได้พยายามขอเจรจาข้อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และ ชาติอื่นๆ แต่ก็ประสบความยากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วยเหลือจาก ดร. ฟราน ซิส บี แซยร์ (Dr. Francis B. Sayre) ชาวอเมริกาซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาต่างประเทศจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี ในที่สุดประเทศต่างๆ 13 ประเทศ รวมทั้งอังกฤษ ตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2468 และ ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2467 ตกลงยอมแก้ ไขสัญญาโดยมีเงื่อนไขบางประการ เช่น จะยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุล เมื่อไทยมีประมวลกฎหมายครบถ้วน และยอมให้อิสรภาพในการเก็บภาษีอาการ ยก เว้นบางอย่างที่อังกฤษขอลดหย่อนต่อไปอีก 10 ปีเช่น ภาษีสินค้าฝ้ายเป็น เหล็ก ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่างๆ ต่อมาจนแล้วเสร็จ และเปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่งในที่สุด ประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่กับไทย เมื่อ พ.ศ. 2480 ไทย ได้อิสรภาพทางอำนาจศาล และภาษีอากรคืนมาโดยสมบูรณ์
ไทยกับสงครามโลกมันไม่ใช่เรื่องสนุก