สงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็คือ การลอบปลงพระชนม์อาร์คดุยค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทของบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยกัฟรีโล ปรินซีป ชาวเซิร์บบอสเนีย ซึ่งเป็นสมาชิกของแก๊งมือมืด และการแก้แค้นของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต่อราชอาณาจักรเซอร์เบียก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในทวีปยุโรป ภายในหนึ่งเดือน ทวีปยุโรปส่วนมากก็อยู่ในสภาวะสงคราม แต่ความขัดแย้งที่มีมาตั้งแต่การรวมชาติเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1871 นั้นทำให้ยุโรปต้องอยู่ในสมดุลแห่งอำนาจซึ่งยากแก่การรักษา การแข่งขันทางทหาร อุตสาหกรรมและการแย่งชิงดินแดนก็ทำให้วิกฤตสุกงอมจนกระทั่งปะทุออกมาเป็นสงคราม
สงครามครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ มหาอำนาจไตรภาคี (อังกฤษ: Triple Entente) ซึ่งเดิมประกอบด้วย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร จักรวรรดิรัสเซีย รวมไปถึงประเทศอาณานิคมด้วย โดยส่วนใหญ่รัฐที่เข้าร่วมสงครามในภายหลังจะเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยชาติมหาอำนาจที่เข้าสู่สงครามด้วย ได้แก่จักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม 1914 อิตาลี เมื่อเดือนเมษายน 1915 และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน 1917 และฝ่ายมหาอำนาจกลาง (อังกฤษ: Central Powers) ซึ่งเดิมประกอบด้วย จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และดินแดนอาณานิคม จักรวรรดิออตโตมานได้เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อเดือนตุลาคม 1914 และบัลแกเรียในอีกปีให้หลัง ระหว่างช่วงสงคราม ประเทศที่วางตัวเป็นกลางในทวีปยุโรป ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สเปนและประเทศตามคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้อาจจะเคยส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ไปช่วยเหลือบางประเทศที่รบอยู่ก็ตาม
การสู้รบที่เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกเกิดขึ้นไปตามระบบสนามเพลาะ และป้อมปราการซึ่งถูกแยกออกจากกันด้วยดินแดนรกร้าง แนวปราการเหล่านี้ตรึงขนานออกไปเป็นระยะมากกว่า 600 กิโลเมตรและเป็นส่วนสำคัญของสงครามสำหรับคนจำนวนมาก ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก ที่ราบฝั่งตะวันออกที่กว้างขวางและเครือข่ายทางรถไฟที่จำกัด ทำให้การรบในสนามเพลาะไม่สามารถทำได้ แม้ว่าความรุนแรงของความขัดแย้งในด้านตะวันออกนั้น จะพอ ๆ กับด้านตะวันตกก็ตาม แนวรบตะวันออกกลางและแนวรบอิตาลีก็มีการสู้รบกันอย่างดุเดือดเช่นกัน และการสู้รบก็ยังลุกลามไปยังน่านน้ำ และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือการรบกลางอากาศ
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร และความปราชัยของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ภายหลังสงคราม ได้มีการเซ็นสนธิสัญญาจำนวนมาก แต่ที่สำคัญคือ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919 แม้ว่าฝ่ายเยอรมนีจะยอมสงบศึกไปก่อนแล้วในปี 1918 ผลที่สำคัญอย่างหนึ่งของสงคราม ก็คือการวาดรูปแผนที่ยุโรปใหม่ ประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางสูญเสียดินแดนของตนเป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดประเทศใหม่ขึ้นมาในยุโรปตะวันออก เยอรมนีสูญเสียอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหมด รวมไปถึงการต้องชดใช้ค่าปฏิกรสงครามจำนวนมหาศาล และการต้องทนการถูกตราหน้าว่าเป็นผู้เริ่มสงคราม จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้แตกออกเป็นประเทศเอกราชใหม่ ได้แก่ ออสเตรีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย จักรวรรดิออตโตมานล่มสลาย แผ่นดินเดิมของจักรวรรดินอกจากที่ราบสูงอนาโตเลียได้ถูกแบ่งให้กลายเป็นอาณานิคมของผู้ชนะสงครามทั้งหลาย
ส่วนชาวอาหรับเดิมได้กลายเป็นประเทศตุรกี จักรวรรดิรัสเซียซึ่งได้ถอนตัวจากสงครามในปี 1917 ได้สูญเสียดินแดนของตนเป็นจำนวนมากทางชายแดนด้านตะวันตกกลายเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และ โปแลนด์ และได้มีการก่อตั้ง สันนิบาตชาติ เพื่อเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางการทูต สงครามโลกครั้งที่หนึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคระเบียบโลกที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามนโปเลียน และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็คือ การลอบปลงพระชนม์อาร์คดุยค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทของบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยกัฟรีโล ปรินซีป ชาวเซิร์บบอสเนีย ซึ่งเป็นสมาชิกของแก๊งมือมืด และการแก้แค้นของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต่อราชอาณาจักรเซอร์เบียก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในทวีปยุโรป ภายในหนึ่งเดือน ทวีปยุโรปส่วนมากก็อยู่ในสภาวะสงคราม แต่ความขัดแย้งที่มีมาตั้งแต่การรวมชาติเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1871 นั้นทำให้ยุโรปต้องอยู่ในสมดุลแห่งอำนาจซึ่งยากแก่การรักษา การแข่งขันทางทหาร อุตสาหกรรมและการแย่งชิงดินแดนก็ทำให้วิกฤตสุกงอมจนกระทั่งปะทุออกมาเป็นสงคราม
สงครามครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ มหาอำนาจไตรภาคี (อังกฤษ: Triple Entente) ซึ่งเดิมประกอบด้วย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร จักรวรรดิรัสเซีย รวมไปถึงประเทศอาณานิคมด้วย โดยส่วนใหญ่รัฐที่เข้าร่วมสงครามในภายหลังจะเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยชาติมหาอำนาจที่เข้าสู่สงครามด้วย ได้แก่จักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม 1914 อิตาลี เมื่อเดือนเมษายน 1915 และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน 1917 และฝ่ายมหาอำนาจกลาง (อังกฤษ: Central Powers) ซึ่งเดิมประกอบด้วย จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และดินแดนอาณานิคม จักรวรรดิออตโตมานได้เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อเดือนตุลาคม 1914 และบัลแกเรียในอีกปีให้หลัง ระหว่างช่วงสงคราม ประเทศที่วางตัวเป็นกลางในทวีปยุโรป ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สเปนและประเทศตามคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้อาจจะเคยส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ไปช่วยเหลือบางประเทศที่รบอยู่ก็ตาม
การสู้รบที่เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกเกิดขึ้นไปตามระบบสนามเพลาะ และป้อมปราการซึ่งถูกแยกออกจากกันด้วยดินแดนรกร้าง แนวปราการเหล่านี้ตรึงขนานออกไปเป็นระยะมากกว่า 600 กิโลเมตรและเป็นส่วนสำคัญของสงครามสำหรับคนจำนวนมาก ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก ที่ราบฝั่งตะวันออกที่กว้างขวางและเครือข่ายทางรถไฟที่จำกัด ทำให้การรบในสนามเพลาะไม่สามารถทำได้ แม้ว่าความรุนแรงของความขัดแย้งในด้านตะวันออกนั้น จะพอ ๆ กับด้านตะวันตกก็ตาม แนวรบตะวันออกกลางและแนวรบอิตาลีก็มีการสู้รบกันอย่างดุเดือดเช่นกัน และการสู้รบก็ยังลุกลามไปยังน่านน้ำ และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือการรบกลางอากาศ
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร และความปราชัยของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ภายหลังสงคราม ได้มีการเซ็นสนธิสัญญาจำนวนมาก แต่ที่สำคัญคือ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919 แม้ว่าฝ่ายเยอรมนีจะยอมสงบศึกไปก่อนแล้วในปี 1918 ผลที่สำคัญอย่างหนึ่งของสงคราม ก็คือการวาดรูปแผนที่ยุโรปใหม่ ประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางสูญเสียดินแดนของตนเป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดประเทศใหม่ขึ้นมาในยุโรปตะวันออก เยอรมนีสูญเสียอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหมด รวมไปถึงการต้องชดใช้ค่าปฏิกรสงครามจำนวนมหาศาล และการต้องทนการถูกตราหน้าว่าเป็นผู้เริ่มสงคราม จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้แตกออกเป็นประเทศเอกราชใหม่ ได้แก่ ออสเตรีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย จักรวรรดิออตโตมานล่มสลาย แผ่นดินเดิมของจักรวรรดินอกจากที่ราบสูงอนาโตเลียได้ถูกแบ่งให้กลายเป็นอาณานิคมของผู้ชนะสงครามทั้งหลาย
ส่วนชาวอาหรับเดิมได้กลายเป็นประเทศตุรกี จักรวรรดิรัสเซียซึ่งได้ถอนตัวจากสงครามในปี 1917 ได้สูญเสียดินแดนของตนเป็นจำนวนมากทางชายแดนด้านตะวันตกกลายเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และ โปแลนด์ และได้มีการก่อตั้ง สันนิบาตชาติ เพื่อเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางการทูต สงครามโลกครั้งที่หนึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคระเบียบโลกที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามนโปเลียน และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น
มีความรู้มาให้อ่านกัน