ประวัติ
ปืน M16 นี้พัฒนาขึ้นโดยกองทัพบก สหรัฐฯ ในช่วงทศวรรษ 1950 ขณะที่ได้นำไปใช้เป็นครั้งแรกในสงครามเวียดนาม ซึ่งแต่เดิมนั้น ปืน M16 ออกแบบและผลิตโดยบริษัทอาร์มาไลต์ (Armalite)ในปีค.ศ. 1958 โดยเรียกปืนรุ่นนี้ว่า AR-15 สำหรับปืนไรเฟิลอัตโนมัติ AR-15 นี้เป็นปืนไรเฟิลซ้อมยิงที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปืน M16 ในปัจจุบันนี้ และได้เข้าประจำการในฐานะอาวุธปืนประจำกายของหน่วยแพทย์ทหารเสนารักษ์ และ หน่วยสนับสนุนการรบต่างๆในช่วงสงครามเกาหลีด้วย แต่เนื่องจากตัวปืนนั้นมีปัญหาเรื่องลำกล้องปืนมักจะบวมและแตกร้าวเมื่อทำการยิงต่อเนื่องนานๆ จึงทำให้มียอดสั่งซื้อเข้ามาน้อยมาก ต่อมาเมื่อบริษัท Armalite ได้ขายแบบแปลนปืน AR-15 ให้แก่บริษัทโคลต์ (Colt Firearms) ปืน AR-15 ก็ได้รับการพัฒนาจนออกมาเป็นปืน M16 และเข้าประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯในปีค.ศ. 1964 ส่วนทางกองทัพบกสหรัฐฯ ก็ได้นำปืน M16 มาพัฒนาต่อเป็นปืน XM16E1 ซึ่งได้เพิ่มระบบคันส่งลูกเลื่อน (Forward Assist Assembly) เข้ามาและเข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯพร้อมทั้งเรียกชื่อใหม่ว่า ""US Rifle, 5.56mm, M16A1" ในปีค.ศ. 1967 และยังมีการเปิดสายการผลิตปืน M16 ในรูปแบบอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันในอีกหลายประเทศทั่วโลก
ต่อมาในปีค.ศ. 1981 บริษัทโคลต์จึงได้พัฒนาและปรับปรุงปืน M16A1 จนออกมาเป็นปืน M16A1E1 เพื่อรองรับกระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO รุ่นใหม่คือกระสุน M855 Ball หรือ SS-109ของบริษัท FN ซึ่งมีความแม่นยำและอานุภาพมากกว่าเดิม จนในปีค.ศ. 1982 หน่วย US Department of Defense (US DoD) จึงได้บรรจุปืน M16 รุ่นนี้เข้าประจำการและเรียกในชื่อใหม่ว่า"US Rifle, 5.56mm, M16A2" ซึ่งปืน M16A2 นี้สามารถยิงได้เพียง 2 รูปแบบ คือ แบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Auto) ครั้งละ 1 นัด/ครั้ง และแบบอัตโนมัติชุดละ 3 นัด (Burst Auto)โดยมีคันบังคับการยิงให้จัดเลือกอยู่ทางด้านซ้ายเหนือด้ามปืน ซึ่งต่างจากปืน M16A1 ตรงที่แบบอัตโนมัติของรุ่น A1 จะเป็นแบบอัตโนมัติเต็มตัว (Full-Auto) กล่าวคือปืนจะทำการยิงตามวงรอบการทำงานไปเรื่อยๆจนกว่าผู้ยิงจะเลิกเหนี่ยวไกปืนหรือจนกว่ากระสุนจะหมดซองกระสุน มิใช่ยิงเป็นชุดเพียง 3 นัดเท่านั้น ไม่ว่าผู้ยิงจะเหนี่ยวไกค้างไว้หรือไม่ก็ตาม
ในปีค.ศ. 1994 ทางบริษัทโคลต์ได้มีการปรับปรุงสมรรถภาพของปืน M16A2 อีกครั้งเป็นรุ่น A3 และ A4 ตามลำดับ โดยปืน M16A3 นั้นสามารถยิงได้สองโหมดคือ ยิงทีละนัด (Semi-Auto)และยิงอัตโนมัติเต็มตัว (Full-Auto)เท่านั้น ส่วนปืน M16A4 นั้นจะยิงได้สองโหมดนี้คือ โหมดยิงทีละนัด (Semi-Auto) และแบบอัตโนมัติชุดละ3นัด (Three-Burst Auto)
โดยรุ่น A4 มีลักษณะภายนอกคล้ายกับ A2 และ A3 ทุกประการแต่สามารถถอดด้ามหูหิ้ว (Flat Top Receiver) ออกเพื่อติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆได้ในขณะที่ A2 และ A3 จะเป็นแบบติดตั้งตายตัว
ในช่วงทศวรรษ 1980 ปืน M16A1 ติดขาทราย และปืนกลเบา M60 จะถูกแทนที่ด้วยปืนกลเบา SAW M249 ซึ่งใช้กระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO รุ่น M855 เช่นเดียวกับปืน M16A2
เพื่อเพิ่มอานุภาพของอาวุธและลดภาระในการจัดส่งกระสุนและเสบียงเข้าสู่สนามรบของหน่วยพลาธิการ ครั้นถึงทศวรรษ 1990 ปืน M16A2 จำนวนมากเริ่มถูกแทนที่ด้วยปืน M4 Carbineซึ่งปรับปรุงมาจากปืน M16 เพื่อเพิ่มสมรรถนะและความคล่องตัวกับการรบในที่แคบหรือในอาคารต่างๆ
ลักษณะโดยทั่วไป
ชิ้นส่วนต่างๆของปืน M16 ผลิตขึ้นจากกรรมวิธีต่างๆดังนี้ ปลอกลดแสง ลำกล้อง โครงปืน และชิ้นส่วนในระบบลั่นไกผลิตด้วยวิธีการขึ้นรูปด้วยกระบวนการ Forging จากวัสดุเหล็กกล้าผสมอะลูมิเนียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อนและมีความทนทานต่อการใช้งานสูง ส่วนพานท้ายและฝาครอบลำกล้องทำจากวัสดุโพลิเมอร์ไฟเบอร์ทนความร้อนทำให้ปืน M16 รุ่นแรกๆ นั้นมีน้ำหนักเบาเพียง 3.60 กิโลกรัมเท่านั้น (น้ำหนักปืนพร้อมซองกระสุนขนาด 30 นัด) ซึ่งเบากว่าปืนเล็กยาวจู่โจมรุ่นก่อนๆอย่างปืน M14 ในขณะที่ปืนอาก้า (AK-47) จากรัสเซียที่นิยมกันในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ในเวลานั้นมีน้ำหนักถึง 4.30 กิโลกรัม แต่ปืน M16 รุ่นหลังจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 3.77 จากการออกแบบให้ลำกล้องและโครงปืนมีความหนามากขึ้นเพื่อรองรับการใช้ งานกระสุน 5.56 มม.แบบ M855 (SS-109) จึงทำให้น้ำหนักมากตามไปด้วย โดยตั้งแต่ปืน M16A2 เป็นต้นไปจะมีการออกแบบให้ปลอกลดแสงมีรูระบาย 5 รูเพื่อให้แรงดันก๊าซกดปากกระบอกมิให้เชิดหัวขึ้นเวลาทำการยิงเพื่อความแม่นยำสูงขึ้น รวมทั้งมีความยาวของปืนเพิ่มเป็น 40 นิ้ว (1.06 เมตร) มีลำกล้องยาว 20 นิ้ว(508 มิลลิเมตร)
ปืน M16/M4 นั้นสามารถเพิ่มสมรรถนะด้วยการติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. M203 , กล้องเล็งจุดแดง (Red Dot) , ขาทราย (Bi-pod) ฯลฯ เป็นต้น
ปืนเล็กยาว M16
ชนิด ปืนเล็กยาวจู่โจม (Assault Rifle)
สัญชาติ สหรัฐอเมริกา
ใช้ในสมัย สงครามเวียดนาม - ปัจจุบัน
การใช้งาน อาวุธประจำกาย
เป้าหมาย บุคคล
เริ่มใช้ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1967)
ช่วงผลิต พ.ศ. 2500 - ปัจจุบัน
ช่วงการใช้งาน พ.ศ. 2503 - ปัจจุบัน
ผู้ปฏิบัติการ NATO
สงคราม สงครามเวียดนาม, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอิรัก
ขนาดลำกล้อง 5.56 มิลลิเมตร (0.223 นิ้ว) 6 เกลียว เวียนขวา
ระยะครบรอบเกลียว A1 = 12 ฟุต ,A2/A3/A4 = 7 ฟุต
ความยาวลำกล้อง 508 มิลลิเมตร
กระสุน 5.56x45 mm. NATO
ซองกระสุน ซองกระสุนแบบ STANAG ความจุ 20, 30 นัด และแบบ Drum ความจุ 100 นัด
ระบบปฏิบัติการ ขับดันด้วยก๊าซ (Gas-operated) ขัดกลอนด้วยลูกสูบหมุนตัว (Rotating Bolt) ปลดกลอนด้วยแรงดันก๊าซเป่าห้องลูกเลื่อนโดยตรง (Direct Impingement)
อัตราการยิง 600 - 900 นัด/นาที (แล้วแต่รุ่น)
ความเร็วปากลำกล้อง 975 m/s (3,200 ft/s Ball M193)930 m/s (3,050 ft/s Ball M855)
ระยะหวังผล A1 = 460 เมตรA2,A3,A4 = 550 เมตร
น้ำหนัก แล้วแต่แบบ
ความยาว A1=990.6 มม.A2=1006 มม.
แบบอื่น M4 Carbine , AR-15
ปืน M16 นี้พัฒนาขึ้นโดยกองทัพบก สหรัฐฯ ในช่วงทศวรรษ 1950 ขณะที่ได้นำไปใช้เป็นครั้งแรกในสงครามเวียดนาม ซึ่งแต่เดิมนั้น ปืน M16 ออกแบบและผลิตโดยบริษัทอาร์มาไลต์ (Armalite)ในปีค.ศ. 1958 โดยเรียกปืนรุ่นนี้ว่า AR-15 สำหรับปืนไรเฟิลอัตโนมัติ AR-15 นี้เป็นปืนไรเฟิลซ้อมยิงที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปืน M16 ในปัจจุบันนี้ และได้เข้าประจำการในฐานะอาวุธปืนประจำกายของหน่วยแพทย์ทหารเสนารักษ์ และ หน่วยสนับสนุนการรบต่างๆในช่วงสงครามเกาหลีด้วย แต่เนื่องจากตัวปืนนั้นมีปัญหาเรื่องลำกล้องปืนมักจะบวมและแตกร้าวเมื่อทำการยิงต่อเนื่องนานๆ จึงทำให้มียอดสั่งซื้อเข้ามาน้อยมาก ต่อมาเมื่อบริษัท Armalite ได้ขายแบบแปลนปืน AR-15 ให้แก่บริษัทโคลต์ (Colt Firearms) ปืน AR-15 ก็ได้รับการพัฒนาจนออกมาเป็นปืน M16 และเข้าประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯในปีค.ศ. 1964 ส่วนทางกองทัพบกสหรัฐฯ ก็ได้นำปืน M16 มาพัฒนาต่อเป็นปืน XM16E1 ซึ่งได้เพิ่มระบบคันส่งลูกเลื่อน (Forward Assist Assembly) เข้ามาและเข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯพร้อมทั้งเรียกชื่อใหม่ว่า ""US Rifle, 5.56mm, M16A1" ในปีค.ศ. 1967 และยังมีการเปิดสายการผลิตปืน M16 ในรูปแบบอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันในอีกหลายประเทศทั่วโลก
ต่อมาในปีค.ศ. 1981 บริษัทโคลต์จึงได้พัฒนาและปรับปรุงปืน M16A1 จนออกมาเป็นปืน M16A1E1 เพื่อรองรับกระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO รุ่นใหม่คือกระสุน M855 Ball หรือ SS-109ของบริษัท FN ซึ่งมีความแม่นยำและอานุภาพมากกว่าเดิม จนในปีค.ศ. 1982 หน่วย US Department of Defense (US DoD) จึงได้บรรจุปืน M16 รุ่นนี้เข้าประจำการและเรียกในชื่อใหม่ว่า"US Rifle, 5.56mm, M16A2" ซึ่งปืน M16A2 นี้สามารถยิงได้เพียง 2 รูปแบบ คือ แบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Auto) ครั้งละ 1 นัด/ครั้ง และแบบอัตโนมัติชุดละ 3 นัด (Burst Auto)โดยมีคันบังคับการยิงให้จัดเลือกอยู่ทางด้านซ้ายเหนือด้ามปืน ซึ่งต่างจากปืน M16A1 ตรงที่แบบอัตโนมัติของรุ่น A1 จะเป็นแบบอัตโนมัติเต็มตัว (Full-Auto) กล่าวคือปืนจะทำการยิงตามวงรอบการทำงานไปเรื่อยๆจนกว่าผู้ยิงจะเลิกเหนี่ยวไกปืนหรือจนกว่ากระสุนจะหมดซองกระสุน มิใช่ยิงเป็นชุดเพียง 3 นัดเท่านั้น ไม่ว่าผู้ยิงจะเหนี่ยวไกค้างไว้หรือไม่ก็ตาม
ในปีค.ศ. 1994 ทางบริษัทโคลต์ได้มีการปรับปรุงสมรรถภาพของปืน M16A2 อีกครั้งเป็นรุ่น A3 และ A4 ตามลำดับ โดยปืน M16A3 นั้นสามารถยิงได้สองโหมดคือ ยิงทีละนัด (Semi-Auto)และยิงอัตโนมัติเต็มตัว (Full-Auto)เท่านั้น ส่วนปืน M16A4 นั้นจะยิงได้สองโหมดนี้คือ โหมดยิงทีละนัด (Semi-Auto) และแบบอัตโนมัติชุดละ3นัด (Three-Burst Auto)
โดยรุ่น A4 มีลักษณะภายนอกคล้ายกับ A2 และ A3 ทุกประการแต่สามารถถอดด้ามหูหิ้ว (Flat Top Receiver) ออกเพื่อติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆได้ในขณะที่ A2 และ A3 จะเป็นแบบติดตั้งตายตัว
ในช่วงทศวรรษ 1980 ปืน M16A1 ติดขาทราย และปืนกลเบา M60 จะถูกแทนที่ด้วยปืนกลเบา SAW M249 ซึ่งใช้กระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO รุ่น M855 เช่นเดียวกับปืน M16A2
เพื่อเพิ่มอานุภาพของอาวุธและลดภาระในการจัดส่งกระสุนและเสบียงเข้าสู่สนามรบของหน่วยพลาธิการ ครั้นถึงทศวรรษ 1990 ปืน M16A2 จำนวนมากเริ่มถูกแทนที่ด้วยปืน M4 Carbineซึ่งปรับปรุงมาจากปืน M16 เพื่อเพิ่มสมรรถนะและความคล่องตัวกับการรบในที่แคบหรือในอาคารต่างๆ
ลักษณะโดยทั่วไป
ชิ้นส่วนต่างๆของปืน M16 ผลิตขึ้นจากกรรมวิธีต่างๆดังนี้ ปลอกลดแสง ลำกล้อง โครงปืน และชิ้นส่วนในระบบลั่นไกผลิตด้วยวิธีการขึ้นรูปด้วยกระบวนการ Forging จากวัสดุเหล็กกล้าผสมอะลูมิเนียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อนและมีความทนทานต่อการใช้งานสูง ส่วนพานท้ายและฝาครอบลำกล้องทำจากวัสดุโพลิเมอร์ไฟเบอร์ทนความร้อนทำให้ปืน M16 รุ่นแรกๆ นั้นมีน้ำหนักเบาเพียง 3.60 กิโลกรัมเท่านั้น (น้ำหนักปืนพร้อมซองกระสุนขนาด 30 นัด) ซึ่งเบากว่าปืนเล็กยาวจู่โจมรุ่นก่อนๆอย่างปืน M14 ในขณะที่ปืนอาก้า (AK-47) จากรัสเซียที่นิยมกันในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ในเวลานั้นมีน้ำหนักถึง 4.30 กิโลกรัม แต่ปืน M16 รุ่นหลังจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 3.77 จากการออกแบบให้ลำกล้องและโครงปืนมีความหนามากขึ้นเพื่อรองรับการใช้ งานกระสุน 5.56 มม.แบบ M855 (SS-109) จึงทำให้น้ำหนักมากตามไปด้วย โดยตั้งแต่ปืน M16A2 เป็นต้นไปจะมีการออกแบบให้ปลอกลดแสงมีรูระบาย 5 รูเพื่อให้แรงดันก๊าซกดปากกระบอกมิให้เชิดหัวขึ้นเวลาทำการยิงเพื่อความแม่นยำสูงขึ้น รวมทั้งมีความยาวของปืนเพิ่มเป็น 40 นิ้ว (1.06 เมตร) มีลำกล้องยาว 20 นิ้ว(508 มิลลิเมตร)
ปืน M16/M4 นั้นสามารถเพิ่มสมรรถนะด้วยการติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. M203 , กล้องเล็งจุดแดง (Red Dot) , ขาทราย (Bi-pod) ฯลฯ เป็นต้น
ปืนเล็กยาว M16
ชนิด ปืนเล็กยาวจู่โจม (Assault Rifle)
สัญชาติ สหรัฐอเมริกา
ใช้ในสมัย สงครามเวียดนาม - ปัจจุบัน
การใช้งาน อาวุธประจำกาย
เป้าหมาย บุคคล
เริ่มใช้ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1967)
ช่วงผลิต พ.ศ. 2500 - ปัจจุบัน
ช่วงการใช้งาน พ.ศ. 2503 - ปัจจุบัน
ผู้ปฏิบัติการ NATO
สงคราม สงครามเวียดนาม, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอิรัก
ขนาดลำกล้อง 5.56 มิลลิเมตร (0.223 นิ้ว) 6 เกลียว เวียนขวา
ระยะครบรอบเกลียว A1 = 12 ฟุต ,A2/A3/A4 = 7 ฟุต
ความยาวลำกล้อง 508 มิลลิเมตร
กระสุน 5.56x45 mm. NATO
ซองกระสุน ซองกระสุนแบบ STANAG ความจุ 20, 30 นัด และแบบ Drum ความจุ 100 นัด
ระบบปฏิบัติการ ขับดันด้วยก๊าซ (Gas-operated) ขัดกลอนด้วยลูกสูบหมุนตัว (Rotating Bolt) ปลดกลอนด้วยแรงดันก๊าซเป่าห้องลูกเลื่อนโดยตรง (Direct Impingement)
อัตราการยิง 600 - 900 นัด/นาที (แล้วแต่รุ่น)
ความเร็วปากลำกล้อง 975 m/s (3,200 ft/s Ball M193)930 m/s (3,050 ft/s Ball M855)
ระยะหวังผล A1 = 460 เมตรA2,A3,A4 = 550 เมตร
น้ำหนัก แล้วแต่แบบ
ความยาว A1=990.6 มม.A2=1006 มม.
แบบอื่น M4 Carbine , AR-15
AK-47 ปืนยอดนิยมของผู้ร้าย
- เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าปืนเล็กยาวเป็นอาวุธประจำกายของทหารราบ ทหารต้องพึ่งพามันได้ยามเข้าสมรภูมิ ไม่ว่าภูมิประเทศ และภูมิอากาสจะเป็นอย่างไร กลไกของปืนต้องทำงานได้ดีไม่ติดขัด ความขัดข้องแม้เพียงน้อยนิดหมายถึงชีวิตของทหารผู้ถือปืนกระบอกนั้น
- หากมีใครตั้งคำถามว่ามีปืนเล็กยาวแบบนั้นอยู่ในโลกหรือเปล่า คำตอบก็คือมี และมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947
แล้วในชื่อ AK-47
จากชื่อเต็ม Avtomat Kalashnikova obraztsova:goda 1947
ในชื่ออันคุ้นเคยว่า “อาก้า”
Mikhail Timofeevich Kalashnikov
- ปืนเล็กยาวจากฝีมือการออกแบบของนายทหารชาวรัสเซียผู้ใช้นามสกุลของตนเป็น ชื่อย่อของปืน ร้อยเอกมิคาอิล คาลาชนิคอฟ ก่อนจะแตกรุ่นออกไปมากมาย และเป็นที่นิยมใช้ในกองทัพทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
- ประวัติศาสตร์หน้าแรกของอาก้าเริ่มขึ้นในดินแดนของศัตรูเมื่อสงครามโลกครั้ง ที่ 2 จากการวิจัยของกองทัพบกเยอรมันที่พบว่าระยะยิงปืนเล็กยาวหวังผลได้ดีที่สุด คือ 300 เมตร ตรงนั้นคือระยะไกลที่สุดที่ทหารมองเห็นด้วยตาเปล่า และสามารถทำลายเป้าหมายได้ด้วยอาวุธประจำกาย นำกระสุนเข้าสนามรบได้อย่างพอเพียง เพื่อให้ใช้ปืนได้ง่ายมันต้องมีระบบการทำงานไม่ซับซ้อน มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อยที่สุดเพื่อง่ายต่อการบำรุงรักษาในสนาม
- ผลการวิจัยของเยอรมันทำให้ต้องรื้อแนวความคิดในการสร้างอาวุธประจำกายทหาร ราบใหม่ทั้งหมดรวมถึงกระสุน เพื่อให้ยิงหวังผลได้ในระยะ 300 เมตร
กระสุน เดิมขนาด 7.92x57 ม.ม. ของเมาเซอร์ที่ใหญ่ และหนักเกินความจำเป็น
จึงถูก ตัดท้ายให้สั้นลงเป็น 7.92x33 ม.ม. มีชื่อเล่นว่า “คูร์ซ” (Kurz)
ผลพลอย ได้คือราคาถูกลง และผลิตได้มากกว่า
MP44 ต้นแบบของAK47
- ผลการวิจัยของเยอรมันทำให้เกิดปืนเล็กยาวเพื่อรองรับแนวความคิด และกระสุน “ชทวร์มเกแวร์ 44” (Sturmgewehr 44 ชื่อเดียวกับ MP44) โดยการนำข้อดีของปืนอีกสองสัญชาติมาดัดแปลงคือปืน เชอิ-ริก็อตตี (Cei-Rigotti) ของอิตารี และเฟโดรอฟ อัฟโตมัต (Fedorov Avtomat) ของรัสเซียคู่สงครามในขณะนั้น แล้วผลิตออกมามากในปี ค.ศ. 1944 เพื่อส่งเข้าแนวรบด้านตะวันออกที่ตนกำลังเพลี่ยงพล้ำให้ยันการรุกของกองทัพ แดง
- ถึงจะได้ชื่อว่าผลิตออกมามากเพราะสร้างได้เร็วจาการปั๊มโลหะขึ้นรูป แต่ StG44 ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของสงครามได้ เยอรมันแพ้สงครามในปีถัดมาก็จริง แต่รัสเซียได้รับผลกระทบจากปืนแบบนี้ไปเต็มๆเพราะถูกทิ้งไว้เกลื่อนกลาดรวม ทั้งที่ยึดได้อีกมาก
- โลกคงไม่รู้จัก มิคาอิล คาลาชนิคอฟ หากเข้าเสียชีวิตในสมรภูมิเมืองไบรยันสก์ ปราการขวางกองทัพเยอรมันสู่กรุงมอสโกที่ทหารของกองทัพแดงถูกสังหารถึง 80,000 นาย และอีก 50,000 นาย ตกเป็นเชลย
- คาลาชนิคอฟได้รับบาดเจ็บที่นี่ระหว่างทำหน้าที่ผู้บังคับรถถังในกองพลยาน เกราะที่ 12 ด้วยยศสิบเอก และการเผชิญหน้ากับเยอรมันด้วยยานเกราะ และบางครั้งก็ปะทะกันแบบทหารราบ คาลาชนิคอฟจึงเข้าใจดีถึงความต้องการอาวุธประจำกายของทหาร
- เขาเบนเข็มจากทหารในหน่วยรบสู่นักออกแบบ และพัฒนาอาวุธหลังออกจากโรงพยาบาล ด้วยความคิด่าจะนำประสบการณ์ และความรู้ของตนมาช่วยกองทัพ ให้ทหารมีอาวุธดีๆ ใช้และกองทัพแดงไม่เป็นรองใคร
- อาวุธประจำกายพลิกประวัติศาสตร์ฝีมือ มิคาอิล คาลาชนิคอฟ จึงเกิดขึ้น จากแนวความคิดให้ตอบสนองความต้องการของทหารราบมากที่สุด ต้องผลิตได้เร็วมาก ยิงแม่นพอประมาณด้วยกระสุน 7.62x39 ม.ม. ที่เล็กกว่าแต่ให้แรงขับมากกว่ากระสุนต้นแบบของเยอรมันเล็กน้อย
- ทหารถอดทำความสะอาดได้รวดเร็วโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ใช้งานได้ในทุกภูมิประเภท และภูมิอากาศ
- เมื่อปืนเล็กยาว และปืนกลมือในขณะนั้นต่างก็มีข้อดีแตกต่างไป ปืนของ คาลาชนิคอฟ จึงเกิดการนำข้อดีของปืนเหล่านั้นมารวมกันด้วยเดือยเหล็กลำกล้องคู่จาก M1 “กาแรนด์” (Garand) ของสหรัฐ เรือนเครื่องลั่นไก และกลไกนิรภัยจากปืนเล็กยาวเรมิงตันโมเดล 8 และระบบการทำงานด้วยแก๊ซกับรูปแบบการวางเรียงชิ้นส่วนจาก StG44 ของเยอรมัน
- ระบบทั้งหมดถูกนำมายำโดยไม่ต้องคิดค้นอะไรใหม่ให้มากความ
- ถึง คาลาชนิคอฟ จะบอกว่าไม่ได้เอาแนวคิดของเยอรมันมาใช้ (เพราะตอนนั้นเป็นศัตรูกัน ใครจะไปยอมรับว่าเป็นปืนของข้าศึกดีกว่าจนต้องลอกเลียน) แต่หลักฐานที่ปรากฏนั้นเป็นไปคนละทิศละทาง
- AK-47 คล้ายคลึงกับ StG44 เหมือนปืนแบบเดียวกันแต่แตกรุ่น ด้วยพานท้ายไม้ลาดต่ำโครงปืนเหล็กปั๊มขึ้นรูป ซองกระสุนโค้งเพื่อจุกระสุนได้มาก ทำงานด้วยแรงดันแก๊ซผลักลูกเลื่อนถอยหลังคัดปลอก มีคันบังคับการยิงอยู่ด้านขวาของตัวปืนเหมือนกัน
- ทั้งที่ปืนเล็กยาวของค่ายตะวันตก และสหรัฐฯต่างวางตำแหน่งกึ่งอัตโนมัติ (semi) ให้เลือกยิงได้ก่อนอัตโนมัติ (auto) แต่คาลาชนิคอฟกลับเลือกระบบของการยิงปืนตนเองกลับข้างกัน ให้เลือกยิงอัตโนมัติได้ก่อนผลักสวิชท์ไปยิงกึ่งอัตโนมัติ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อให้กลุ่มกระสุนกดหัวข้าศึกไว้ก่อนแล้วจึงเปลี่ยนระบบการ ยิง
- เป็นการเลือกระบบการยิงที่ฉลาด และเป็นไปตามสถานการณ์จริง
- เมื่อเกิดเหตุการณ์ขับขันทหารมักเลือกยิงอัตโนมัติให้กลุ่มกระสุนกดหัวฝ่าย ตรงข้ามไว้ก่อนจะเข้าที่กำบัง และเล็งประณีตต่อด้วยระบบกึ่งอัตโนมัติ
- แนวคิดเริ่มต้นของ AK-47 เกิดขึ้นในปลายปี ค.ศ. 1941 จริง แต่กว่าจะพัฒนา และทดสอบจนพอใจได้ ก็ล่วงถึง ค.ศ. 1944 กว่าจะชนะการประกวดให้เป็นปืนในโครงการทดลองของกองทัพโซเวียตได้ต้องใช้เวลา อีกสองปี และถัดมาอีกปีคือ ค.ศ. 1947
- มันจึงได้เข้าประจำการในฐานะอาวุธประจำกายทหารบางหน่วย ก่อนจะประจำการในฐานะอาวุธพื้นฐานของทหารราบทั้งหมดของโซเวียตในปี ค.ศ. 1949 ตามด้วยกลุ่มประเทศกติกาสัญญาวอร์ซอร์ และบริวาร
- มีให้เลือกทั้งแบบพานท้ายไม้ปกติสำหรับหน่วยรบภาคพื้นดิน และพานท้ายเหล็กพับเก็บได้เพื่อความคล่องตัวสำหรับทหารประจำยานรบ และหน่วยรบพิเศษ ก่อนจะแตกรุ่น และแบบออกไปปอีก
- ความโดดเด่นของ AK-47 นอกจากที่กล่าวข้างต้น คือมันราคาถูก ถอดรื้อทำความสะอาดชิ้นส่วนง่ายแม้ทหารสวมถุงมือ เพื่อตอบสนองความต้องการของทหารโซเวียตที่ประจำการในเขตอากาศหนาวของรัสเซีย และขั้วโลกเหนือส่วนใหญ่
ทหารหน่วยพิเศษของรัสเซียSpetnaz กับDragunov SVD
- เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าปืนเล็กยาวเป็นอาวุธประจำกายของทหารราบ ทหารต้องพึ่งพามันได้ยามเข้าสมรภูมิ ไม่ว่าภูมิประเทศ และภูมิอากาสจะเป็นอย่างไร กลไกของปืนต้องทำงานได้ดีไม่ติดขัด ความขัดข้องแม้เพียงน้อยนิดหมายถึงชีวิตของทหารผู้ถือปืนกระบอกนั้น
- หากมีใครตั้งคำถามว่ามีปืนเล็กยาวแบบนั้นอยู่ในโลกหรือเปล่า คำตอบก็คือมี และมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947
แล้วในชื่อ AK-47
จากชื่อเต็ม Avtomat Kalashnikova obraztsova:goda 1947
ในชื่ออันคุ้นเคยว่า “อาก้า”
Mikhail Timofeevich Kalashnikov
- ปืนเล็กยาวจากฝีมือการออกแบบของนายทหารชาวรัสเซียผู้ใช้นามสกุลของตนเป็น ชื่อย่อของปืน ร้อยเอกมิคาอิล คาลาชนิคอฟ ก่อนจะแตกรุ่นออกไปมากมาย และเป็นที่นิยมใช้ในกองทัพทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
- ประวัติศาสตร์หน้าแรกของอาก้าเริ่มขึ้นในดินแดนของศัตรูเมื่อสงครามโลกครั้ง ที่ 2 จากการวิจัยของกองทัพบกเยอรมันที่พบว่าระยะยิงปืนเล็กยาวหวังผลได้ดีที่สุด คือ 300 เมตร ตรงนั้นคือระยะไกลที่สุดที่ทหารมองเห็นด้วยตาเปล่า และสามารถทำลายเป้าหมายได้ด้วยอาวุธประจำกาย นำกระสุนเข้าสนามรบได้อย่างพอเพียง เพื่อให้ใช้ปืนได้ง่ายมันต้องมีระบบการทำงานไม่ซับซ้อน มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อยที่สุดเพื่อง่ายต่อการบำรุงรักษาในสนาม
- ผลการวิจัยของเยอรมันทำให้ต้องรื้อแนวความคิดในการสร้างอาวุธประจำกายทหาร ราบใหม่ทั้งหมดรวมถึงกระสุน เพื่อให้ยิงหวังผลได้ในระยะ 300 เมตร
กระสุน เดิมขนาด 7.92x57 ม.ม. ของเมาเซอร์ที่ใหญ่ และหนักเกินความจำเป็น
จึงถูก ตัดท้ายให้สั้นลงเป็น 7.92x33 ม.ม. มีชื่อเล่นว่า “คูร์ซ” (Kurz)
ผลพลอย ได้คือราคาถูกลง และผลิตได้มากกว่า
MP44 ต้นแบบของAK47
- ผลการวิจัยของเยอรมันทำให้เกิดปืนเล็กยาวเพื่อรองรับแนวความคิด และกระสุน “ชทวร์มเกแวร์ 44” (Sturmgewehr 44 ชื่อเดียวกับ MP44) โดยการนำข้อดีของปืนอีกสองสัญชาติมาดัดแปลงคือปืน เชอิ-ริก็อตตี (Cei-Rigotti) ของอิตารี และเฟโดรอฟ อัฟโตมัต (Fedorov Avtomat) ของรัสเซียคู่สงครามในขณะนั้น แล้วผลิตออกมามากในปี ค.ศ. 1944 เพื่อส่งเข้าแนวรบด้านตะวันออกที่ตนกำลังเพลี่ยงพล้ำให้ยันการรุกของกองทัพ แดง
- ถึงจะได้ชื่อว่าผลิตออกมามากเพราะสร้างได้เร็วจาการปั๊มโลหะขึ้นรูป แต่ StG44 ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของสงครามได้ เยอรมันแพ้สงครามในปีถัดมาก็จริง แต่รัสเซียได้รับผลกระทบจากปืนแบบนี้ไปเต็มๆเพราะถูกทิ้งไว้เกลื่อนกลาดรวม ทั้งที่ยึดได้อีกมาก
- โลกคงไม่รู้จัก มิคาอิล คาลาชนิคอฟ หากเข้าเสียชีวิตในสมรภูมิเมืองไบรยันสก์ ปราการขวางกองทัพเยอรมันสู่กรุงมอสโกที่ทหารของกองทัพแดงถูกสังหารถึง 80,000 นาย และอีก 50,000 นาย ตกเป็นเชลย
- คาลาชนิคอฟได้รับบาดเจ็บที่นี่ระหว่างทำหน้าที่ผู้บังคับรถถังในกองพลยาน เกราะที่ 12 ด้วยยศสิบเอก และการเผชิญหน้ากับเยอรมันด้วยยานเกราะ และบางครั้งก็ปะทะกันแบบทหารราบ คาลาชนิคอฟจึงเข้าใจดีถึงความต้องการอาวุธประจำกายของทหาร
- เขาเบนเข็มจากทหารในหน่วยรบสู่นักออกแบบ และพัฒนาอาวุธหลังออกจากโรงพยาบาล ด้วยความคิด่าจะนำประสบการณ์ และความรู้ของตนมาช่วยกองทัพ ให้ทหารมีอาวุธดีๆ ใช้และกองทัพแดงไม่เป็นรองใคร
- อาวุธประจำกายพลิกประวัติศาสตร์ฝีมือ มิคาอิล คาลาชนิคอฟ จึงเกิดขึ้น จากแนวความคิดให้ตอบสนองความต้องการของทหารราบมากที่สุด ต้องผลิตได้เร็วมาก ยิงแม่นพอประมาณด้วยกระสุน 7.62x39 ม.ม. ที่เล็กกว่าแต่ให้แรงขับมากกว่ากระสุนต้นแบบของเยอรมันเล็กน้อย
- ทหารถอดทำความสะอาดได้รวดเร็วโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ใช้งานได้ในทุกภูมิประเภท และภูมิอากาศ
- เมื่อปืนเล็กยาว และปืนกลมือในขณะนั้นต่างก็มีข้อดีแตกต่างไป ปืนของ คาลาชนิคอฟ จึงเกิดการนำข้อดีของปืนเหล่านั้นมารวมกันด้วยเดือยเหล็กลำกล้องคู่จาก M1 “กาแรนด์” (Garand) ของสหรัฐ เรือนเครื่องลั่นไก และกลไกนิรภัยจากปืนเล็กยาวเรมิงตันโมเดล 8 และระบบการทำงานด้วยแก๊ซกับรูปแบบการวางเรียงชิ้นส่วนจาก StG44 ของเยอรมัน
- ระบบทั้งหมดถูกนำมายำโดยไม่ต้องคิดค้นอะไรใหม่ให้มากความ
- ถึง คาลาชนิคอฟ จะบอกว่าไม่ได้เอาแนวคิดของเยอรมันมาใช้ (เพราะตอนนั้นเป็นศัตรูกัน ใครจะไปยอมรับว่าเป็นปืนของข้าศึกดีกว่าจนต้องลอกเลียน) แต่หลักฐานที่ปรากฏนั้นเป็นไปคนละทิศละทาง
- AK-47 คล้ายคลึงกับ StG44 เหมือนปืนแบบเดียวกันแต่แตกรุ่น ด้วยพานท้ายไม้ลาดต่ำโครงปืนเหล็กปั๊มขึ้นรูป ซองกระสุนโค้งเพื่อจุกระสุนได้มาก ทำงานด้วยแรงดันแก๊ซผลักลูกเลื่อนถอยหลังคัดปลอก มีคันบังคับการยิงอยู่ด้านขวาของตัวปืนเหมือนกัน
- ทั้งที่ปืนเล็กยาวของค่ายตะวันตก และสหรัฐฯต่างวางตำแหน่งกึ่งอัตโนมัติ (semi) ให้เลือกยิงได้ก่อนอัตโนมัติ (auto) แต่คาลาชนิคอฟกลับเลือกระบบของการยิงปืนตนเองกลับข้างกัน ให้เลือกยิงอัตโนมัติได้ก่อนผลักสวิชท์ไปยิงกึ่งอัตโนมัติ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อให้กลุ่มกระสุนกดหัวข้าศึกไว้ก่อนแล้วจึงเปลี่ยนระบบการ ยิง
- เป็นการเลือกระบบการยิงที่ฉลาด และเป็นไปตามสถานการณ์จริง
- เมื่อเกิดเหตุการณ์ขับขันทหารมักเลือกยิงอัตโนมัติให้กลุ่มกระสุนกดหัวฝ่าย ตรงข้ามไว้ก่อนจะเข้าที่กำบัง และเล็งประณีตต่อด้วยระบบกึ่งอัตโนมัติ
- แนวคิดเริ่มต้นของ AK-47 เกิดขึ้นในปลายปี ค.ศ. 1941 จริง แต่กว่าจะพัฒนา และทดสอบจนพอใจได้ ก็ล่วงถึง ค.ศ. 1944 กว่าจะชนะการประกวดให้เป็นปืนในโครงการทดลองของกองทัพโซเวียตได้ต้องใช้เวลา อีกสองปี และถัดมาอีกปีคือ ค.ศ. 1947
- มันจึงได้เข้าประจำการในฐานะอาวุธประจำกายทหารบางหน่วย ก่อนจะประจำการในฐานะอาวุธพื้นฐานของทหารราบทั้งหมดของโซเวียตในปี ค.ศ. 1949 ตามด้วยกลุ่มประเทศกติกาสัญญาวอร์ซอร์ และบริวาร
- มีให้เลือกทั้งแบบพานท้ายไม้ปกติสำหรับหน่วยรบภาคพื้นดิน และพานท้ายเหล็กพับเก็บได้เพื่อความคล่องตัวสำหรับทหารประจำยานรบ และหน่วยรบพิเศษ ก่อนจะแตกรุ่น และแบบออกไปปอีก
- ความโดดเด่นของ AK-47 นอกจากที่กล่าวข้างต้น คือมันราคาถูก ถอดรื้อทำความสะอาดชิ้นส่วนง่ายแม้ทหารสวมถุงมือ เพื่อตอบสนองความต้องการของทหารโซเวียตที่ประจำการในเขตอากาศหนาวของรัสเซีย และขั้วโลกเหนือส่วนใหญ่
ทหารหน่วยพิเศษของรัสเซียSpetnaz กับDragunov SVD
ปืน2กระบอกนี้ทุกคนรู้จักชื่อกันเเน่นอน