....รถถัง เป็นชื่อเรียกทับศัพท์ตามภาษาอังกฤษว่า "THANK" ซึ่งแปลว่า "ถังน้ำ" สาเหตุที่มาของชื่อนี้เนื่องมาจากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ฝ่ายอังกฤษต้องประสบกับความสูญเสียอย่างมาก ในการทุ่มกำลังทหารราบเข้าตีที่มั่นของฝ่ายเยอรมันที่วางระบบป้องกันไว้อย่างแข็งแรง ทั้งสนามเพลาะ แนวลวดหนาม และรังปืนกล....
....จึงเกิดแนวความคิดในการใช้รถแทร็คเตอร์กรุยทางนำหน้าทหารราบเข้าตี ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ คือสามารถกรุยทางให้ทหารราบรุกเข้าโจมตีที่หมายได้สะดวกขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาว่า รถแทร็คเตอร์ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากการถูกระดมยิงด้วยปืนกลหนักได้ จึงมีการนำรถแทร็กเตอร์มาดัดแปลงหุ้มด้วยเหล็กหนา เจาะช่องให้ทหารที่อยู่ข้างในสามารถสอดปากกระบอกปืนเล็กยาวออกมายิงโต้ตอบข้าศึกได้....
ภาพรถถังยุคแรกของโลกซึ่งดัดแปลงมาจากรถแทร็กเตอร์
....ต่อมาจึงได้เพิ่มเติมติดปืนกลหนักเข้าไปที่ด้านหน้ารถ และได้กลายมาเป็นต้นแบบของการติดปืนใหญ่ของรถถังยุคต่อมาจนถึงปัจจุบัน....
....ในการส่งรถถังเข้าสู่สมรภูมิครั้งแรกนั้น อังกฤษได้ใช้ชื่อพรางให้ข้าศึกที่ดักฟังข่าวทางวิทยุเกิดความเข้าใจว่า เป็นการส่งรถบรรทุกน้ำเพื่อส่งกำลังบำรุงให้กับทหารในแนวรบตามปกติ ดังนั้น จึงเรียกยานรบที่คิดขึ้นมาใหม่นี้ว่า "Thank" หรือถังน้ำตามที่กล่าวไว้ข้างต้น และชื่อนี้ก็ยังคงถูกเรียกรถรบชนิดนี้มาจนถึงปัจจุบัน....
...ปืนใหญ่รถถังขนาด 37 มม.ของเยอรมันที่ใช้ติดตั้งกับรถถังแบบแพนเซอร์-1 จะเห็นได้ว่าได้รับการออกแบบให้กระทัดรัด ใช้กระสุนแบบปิด และด้านท้ายรังเพลิงจะเปิดโล่งเพื่อลดแรงสะท้อนถอยหลังของปืน และสามารถดีดปลอกออกเองได้หลังจากการยิงไปแล้ว ทำให้การบรรจุกระสุนนัดต่อไปทำได้รวดเร็วขึ้น แม้แต่ปืนใหญ่รถถังในยุคปัจจุบัน ก็ยังคงพัฒนาบนพื้นฐานนี้เช่นเดียวกัน
....รถถังมีวิวัฒนาการและพัฒนามาอย่างไม่หยุดยั้ง ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันมีการพัฒนารถถังที่ก้าวกระโดดจนในยุคที่เริ่มสงคราม ไม่มีรถถังใดของฝ่ายพันธมิตรที่สามารถต้านรถถังตระ:Xลแพนเซอร์ ไทเกอร์ และคิงไทเกอร์ของเยอรมันได้เลย เยอรมันซึ่งมีชื่อเสียงมากในด้านวิศวกร ได้คิดค้นและออกแบบรถถังใหม่ให้มีลักษณะเฉพาะตัว โดยเฉพาะระบบล้อสายพานและทอร์ชั่นบาร์ที่เป็นระบบสำหรับรถถังโดยเฉพาะ ทำให้รถถังสามารถเคลื่อนที่และหันเลี้ยวได้อย่างรวดเร็ว และการออกแบบตัวรถให้สามารถทนแรงสะท้อนถอยหลังของปืนใหญ่วิถีตรงได้ รวมทั้งการออกแบบปืนใหญ่และลูกกระสุนให้มีขนาดที่พอเหมาะกับพื้นที่คับแคบภายในรถ รถถังของเยอรมัน จึงเป็นรถถังแบบแรกของโลกที่ติดตั้งปืนใหญ่วิถีตรงที่มีอำนาจการยิงทำลายที่รุนแรงและแม่นยำ จนทำให้รถถังแบบวิคเกอร์ อาร์มสตรองของอังกฤษไม่สามารถต่อสู้กับรถถังแพนเซอร์ของเยอรมันได้เลย...
รถถังแพนเซอร์ของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2
สมรรถนะ
เครื่องยนต์ 140 แรงม้า
น้ำหนักพร้อมรบ 9,500 กก.
ความเร็วสูงสุด 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความสูง 2.15 ม.
ความยาว 4.18 ม.
ความกว้าง 2.28 ม.
ระยะทำการ 200 กม.
อาวุธ ปืนใหญ่ ขนาด 20 มม.
เกราะหนา 5 มม. ถึง 35 มม.
พลประจำรถ 3 คน
เครื่องยนต์ 140 แรงม้า
น้ำหนักพร้อมรบ 9,500 กก.
ความเร็วสูงสุด 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความสูง 2.15 ม.
ความยาว 4.18 ม.
ความกว้าง 2.28 ม.
ระยะทำการ 200 กม.
อาวุธ ปืนใหญ่ ขนาด 20 มม.
เกราะหนา 5 มม. ถึง 35 มม.
พลประจำรถ 3 คน
รถถังไทเกอร์
รถถังคิงไทเกอร์
สมรรถนะ รถถังไทเกอร์ และ คิงไทเกอร์
น้ำหนัก 55 ตัน
ความเร็ว 24 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 38 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ระยะปฏิบัติการ 62 ไมล์ หรือ 99 กิโลเมตร
ปืนใหญ่ประจำรถ 88 มิลลิเมตร และปืนกลขนาด 7.92 มิลลิเมตร สองกระบอก
เกราะหนา 110 มิลลิเมตร
พลประจำรถ 5 นาย
ความเร็ว 24 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 38 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ระยะปฏิบัติการ 62 ไมล์ หรือ 99 กิโลเมตร
ปืนใหญ่ประจำรถ 88 มิลลิเมตร และปืนกลขนาด 7.92 มิลลิเมตร สองกระบอก
เกราะหนา 110 มิลลิเมตร
พลประจำรถ 5 นาย
....ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันตัดสินใจโจมตีรัสเซีย โดยทุ่มกำลังรถถังเกือบทั้งกองทัพเข้าตีรัฐยูเครน ฝ่ายรัสเซียพยายามต้านทานอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างมาก เนื่องมาจากอาวุธและกำลังทหารที่ส่วนใหญ่เกณฑ์มาจากชาวนาไม่สามารถเปรียบเทียบสมรรถนะกับกองทัพเยอรมันได้....
....นายพลโมโลตอฟ แม่ทัพใหญ่ยูเครนเห็นว่าอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับรถถังเยอรมันเริ่มร่อยหรอ ถึงจะได้รับเพิ่มเติมแต่ก็ไม่สามารถหยุดยังกองทัพรถถังของฝ่ายเยอรมันได้ จึงเกิดความคิดในการใช้ไฟเผารถถังฝ่ายเยอรมัน และสั่งทหารนำขวดเหล้าวอดก้าเปล่ามาบรรจุน้ำมันเบนซินทำเป็นระเบิดเพลิงขว้างใส่รถถังเยอรมัน ทำให้ฝ่ายเยอรมันต้องสูญเสียรถถังไปบ้าง ต่อมา...เยอรมันจึงเปลี่ยนยุทธวิธีให้ทหารราบเดินขนามข้างรถถังเข้าตี เพื่อป้องกันทหารรัสเซียเข้าใกล้รถถัง....
....ระเบิดขวดเพลิงบรรจุน้ำมันเบนซินนี้ ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถหยุดรถถังได้แม้ในยุคปัจจุบัน ต่อมามันจึงถูกเรียกตามชื่อผู้คิดทำมันขึ้นมาว่า "โมโลตอฟ ค็อกเทล"....
รถถังแบบเอ็ม.1เอแบร่มส์ของสหรัฐถูกโจมตีด้วยระเบิดเพลิงแบบโมโลตอฟ ค็อกเทลสูตรนาปาล์มสบู่ที่เมืองบัสรา ประเทศอิรัก
รถถัง A.1 เอแบร่มส์อีกคันหนึ่ง ถูกทำลายด้วยระเบิดขวดโมโลตอฟ ค็อกเทลบนไฮเวย์ทางเข้ากรุงแบกแดด ประเทศอิรัก ในสงครามอิรัก
....ในขณะที่ทางสหรัฐ ได้เกิดมีนักคิดผู้หนึ่งนำเสนอแนวความคิดการสร้างรถถังแบบใหม่ที่เน้นความคล่องตัวและน้ำหนักเบา เพื่อให้สามารถวิ่งบนพื้นที่โคลนเลนได้ดี และสามารถติดปืนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพื่อให้สามารถวิ่งได้ระยะทางที่ไกล และทนต่อการระเบิดลุกไหม้ดีกว่าเครื่องยนต์เบนซินที่ใช้กันอยู่เดิม แต่แนวความคิดนี้ฝ่ายนักการทหารของกองทัพสหรัฐกลับมองเห็นเป็นความประสงค์ร้ายของผู้ออกแบบ โดยคิดว่าอาจเป็นแผนการณ์ของฝ่ายเยอรมันที่จะหลอกให้สหรัฐสร้างรถถังที่อ่อนแอเพื่อให้ข้าศึกบดขยี้ง่าย ๆ ผู้คิดออกแบบรถถังรุ่นใหม่จึงต้องหลบหนีออกจากสหรัฐ ไปขอลี้ภัยในรัสเซียโดยนำแบบพิมพ์เขียวรถถังที่คิดขึ้นไปเสนอต่อกองทัพรัสเซียด้วย....
....เครื่องยนต์ดีเซลของรถถัง T.34 /75
....ทางผู้นำรัสเซียเห็นชอบให้ดำเนินการสร้างรถถังตามแบบที่ถูกเสนอได้ เพราะเห็นว่ามันสร้างได้ง่าย และรัสเซียก็กำลังขาดแคลนรถถังอย่างหนัก...
.....T-34 คือรถถังแบบที่กล่าวมา ซึ่งมันเป็นรถถังที่ประสบความสำเร็จอย่างเยี่ยมยอดที่สุดของรัสเซีย เพราะมันสามารถเคลื่อนที่บนพื้นที่เต็มไปด้วยโคลนเหลวจากหิมะได้อย่างแคล่วคล่อง ในขณะที่รถถังเยอรมันเกราะเหล็กหนามาก ทำให้หนักและจมโคลนจึงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบถูกยิงทำลายจนเกือบหมด จนทำให้เยอรมันไม่มีรถถังเพียงพอในการรบ กอรปกับฝ่ายพันธมิตรระดมทิ้งระเบิดโรงงานอาวุธและเขตอุตสาหกรรมหนักของเยอรมันอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เยอรมันไม่สามารถสร้างรถถังใหม่ชดเชยส่วนที่สูญเสียได้ทันกาล ในที่สุดเยอรมันจึกตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามเป็นครั้งที่สอง....
รถถัง T-34 ของรัสเซียซึ่งเป็นจุดหักเหส่วนหนึ่งที่ทำให้เยอรมันต้องแพ้สงคราม รถถังรุ่นนี้ได้เปลี่ยนแนวความคิดการพัฒนารถถังจากเดิมที่เน้นเกราะหนามาเป็นเกราะบาง ลดน้ำหนักเพิ่มความเร็วและคล่องตัว ซึ่งเป็นต้นแนวความคิดของรถถังในยุคปัจจุบันนี้
สมรรถนะ T-34
น้ำหนักพร้อมรบ 26,000 กก.
เครื่องยนต์ 450 แรงม้า
ความเร็วสูงสุด 55 กม.ต่อ ชม.
ระยะทำการ 300 กม.
อาวุธหลัก ปืนใหญ่ขนาด 76.2 มม. ในรุ่นแรก และ 85 มม.ในรุ่นสุดท้าย
ความยาว 5.92 ม.
ความกว้าง 3 ม.
ความสูง 2.45 ม.
เกราะหนา 15 มม. ถึง 45 มม.
พลประจำรถ 4 คน
เครื่องยนต์ 450 แรงม้า
ความเร็วสูงสุด 55 กม.ต่อ ชม.
ระยะทำการ 300 กม.
อาวุธหลัก ปืนใหญ่ขนาด 76.2 มม. ในรุ่นแรก และ 85 มม.ในรุ่นสุดท้าย
ความยาว 5.92 ม.
ความกว้าง 3 ม.
ความสูง 2.45 ม.
เกราะหนา 15 มม. ถึง 45 มม.
พลประจำรถ 4 คน
รถถังมาทิลด้าของอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่สอง ถึงจะเป็นรถถังที่มีความแข็งแกร่ง แต่การสร้างมีความซับซ้อน และต้องใช้แรงงานคนเป็นอย่างมาก จึงสร้างได้น้อยไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
.....ในส่วนของฝ่ายอังกฤษ ใช้รถถังแบบมาทิลด้า และรถถังครอมเวลล์เป็นตัวหลักในการต่อต้านกับกองทัพรถถังแพนเซอร์ของเยอรมัน มาทิลด้าเป็นรถถังที่ใช้แผ่นเกราะปิดสายพานกลายเป็นเกราะชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง มันจึงมีความความแข็งแกร่งทนทานต่อการถูกยิงด้วยอาวุธต่อต้านรถถังทางภาคพื้นดินทางด้านข้างตัวรถเมื่อถูกยิงครั้งแรกเกราะชั้นนอกถูกทำลาย ก็ยังเหลือเกราะตัวรถข้างในอีกหนึ่งชั้น เสียแต่ว่า รถถังมาทิลด้าถึงจะเป็นรถถังขนาดหนัก แต่ติดปืนใหญ่ขนาด 40 มม.เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถเผชิญหน้ากับรถถังคิงไทเกอร์ของเยอรมันได้ อีกทั้งการติดเกราะสองชั้น ทำให้น้ำหนักของมาทิลด้ามากเกินไปที่จะใช้รบบนพื้นที่โคลนเลน หรือดินอ่อน มันจึงถูกส่งไปประจำการในแนวรบด้านอาฟริกา ที่เป็นทะเลทรายและทุ่งสะวันน่าเสียเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งจากการออกแบบที่ประณีตมากเกินไป จึงทำให้สร้างได้ช้า ตลอดระยะเวลาของสงคราม มาทิลด้าถูกสร้างขึ้นรวมทั้งหมดเพียงสองพันคันเท่านั้น....
สมรรถนะ
น้ำหนักพร้อมรบ 26,950 กก.
เครื่องยนต์ 2 x 190 แรงม้า
ความเร็วสูงสุด 24 กม.ต่อ ชม.
ระยะทำการ 255 กม.
อาวุธหลัก ปืนใหญ่ขนาด 40 มม.
ความยาว 5.613 ม.
ความกว้าง 2.59 ม.
ความสูง 2.515 ม.
เกราะหนา 20 มม. ถึง 78 มม.
พลประจำรถ 4 คน
น้ำหนักพร้อมรบ 26,950 กก.
เครื่องยนต์ 2 x 190 แรงม้า
ความเร็วสูงสุด 24 กม.ต่อ ชม.
ระยะทำการ 255 กม.
อาวุธหลัก ปืนใหญ่ขนาด 40 มม.
ความยาว 5.613 ม.
ความกว้าง 2.59 ม.
ความสูง 2.515 ม.
เกราะหนา 20 มม. ถึง 78 มม.
พลประจำรถ 4 คน
....และจากการตัดสินใจประกาศเข้าร่วมรบข้างฝ่ายพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1942 หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ทิ้งระเบิดฐานทัพเรือสหรัฐที่อ่าวเพิร์ล ในหมู่เกาะฮาวาย เวลานั้นกองกำลังของสหรัฐถูกจัดไปเป็นอันดับที่ 17 ของโลก แต่จากการที่อังกฤษและฝรั่งเศสถูกเยอรมันบุกเข้ายึดครองและทำลายกองทัพของทั้งสองประเทศจนยับเยิน สหรัฐจึงสามารถพัฒนากองทัพตัวเองจนก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแนวหน้าของโลกภายในช่วงเวลาเพียงไม่ถึงปี สหรัฐได้ดำเนินการระดมทุนทำสงครามด้วยการออกพันธบัตร ให้ดาราฮอลลีวู้ดเป็นผู้เชิญชวนประชาชนทุกรัฐให้ช่วยกันซื้อพันธบัตรสงครามเพื่อระดมทุนทำศึก...
....เนื่องจากแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักของสหรัฐ มีลักษณะอ่อนตัวที่ให้อำนาจรัฐเข้าควบคุมการผลิตของอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมหนักในยามสงครามได้ ดังนั้นทุกโรงงานอุตสาหกรรมในสหรัฐจึงสามารถใช้เป็นโรงงานผลิตอาวุธและยุทธภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างไม่ขาดแคลน...
....ในยุคเริ่มต้นสงครามนั้น สหรัฐประกาศวางตัวเป็นกลางจึงมิได้มีบทบาทในการพัฒนารถถัง ที่มีอยู่ในประจำการเวลานั้น ก็เป็นรถถังที่หลงเหลือมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 คือแบบเอ็ม.3 และเอ็ม.5 ในจำนวนไม่มากนัก และรถถังดังกล่าวถึงจะถูกนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่สองบ้าง แต่ก็มีบทบาทน้อยเต็มที เพราะสหรัฐรู้ว่ารถถังทั้งสองแบบไม่สามารถต่อกรกับรถถังเยอรมันได้เลย ในการเข้าปะทะกับกองทัพรถถังเยอรมัน สหรัฐจะใช้ยุทธวิธีนำเครื่องบินบรรทุกระเบิดและจรวดเข้าโจมตีกองรถถังเยอรมันจากทางอากาศเสียมากกว่า...
รถถังเบาแบบเอ็ม.3 ในยุคเริ่มก้าวเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐ
รถถังเบาแบบเอ็ม.5
....อย่างไรก็ตามรถถังเบาแบบเอ็ม.3 และเอ็ม.5 ก็ได้ถูกส่งเข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งญี่ปุ่นเป็นผู้จุดชนวนขึ้นในปี ค.ศ.1943 จากการส่งฝูงบินเข้าโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐที่อ่าวเพิร์ล
....หลังจากการถูกญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือในอ่าวเพิร์ล เกาะฮาไวอิ สหรัฐจึงได้ตัดสินใจประกาศสงครามร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ซึ่งในการดังกล่าวสหรัฐได้มีการเตรียมตัวมาอย่างดีเยี่ยม เนื่องจากการประกาศตัวเป็นกลางมาก่อน จึงเป็นผู้ที่สามารถสังเกตการณ์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้โดยละเอียด และได้วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของทั้งสองฝ่ายโดยละเอียด...
....การประกาศสงครามร่วมกับฝ่ายพันธมิตรของสหรัฐ ทำให้สถานการณ์การรบของฝ่ายพันธมิตร ที่มีอังกฤษเป็นตัวหลักที่ถือว่ายังพอยันกองทัพเยอรมันได้ แต่ก็อ่อนแรงลงไปทุกวัน ได้พลิกกลับมาเป็นต่อทันที เพราะสหรัฐซึ่งมิได้รบกับใครเลยตั้งแต่ต้น เป็นกองทัพที่มีความพร้อมมากกว่า และสดชื่นกว่าทุกฝ่าย....
....สงครามยังคงดำเนินต่อไป สหรัฐในช่วงต้นสงคราม ได้ทุ่มเทการสร้างเครื่องบินรบเป็นอย่างมาก มากกว่าอาวุธชนิดอื่น ๆ อันเนื่องมาจากเครื่องบินเป็นอาวุธที่สร้างได้ง่าย สร้างได้เร็ว มีราคาถูก หากนำไปเทียบกับเรือรบ และรถถัง อีกทั้งยังเป็นอาวุธเชิงรุกที่รวดเร็ว และรบรุกพื้นที่ได้เป็นวงกว้างกว่า....
....กองทัพรถถังของเยอรมัน จึงต้องเผชิญกับการโจมตีทางอากาศอย่างหนักจากฝูงบินขับไล่ และฝูงบินโจมตี-ทิ้งระเบิดของสหรัฐและพันธมิตร จนสูญเสียรถถังไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้น รถถังในยุคหลัง ๆ ของเยอรมันจึงมีการนำไปติดตั้งปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน เรียกว่า ปตอ.อัตตาจร เพื่อคุ้มกันขบวนรถถัง....
....รถถังที่เยอรมันนำไปติดตั้ง ปตอ.นั้น เป็นรถถังแพนเซอร์รุ่นเก่า ที่มีเกราะบางกว่ารถถังหลักแบบไทเกอร์ และแพนเซอร์ II-III ดังนั้นพันธมิตรจึงต้องหันมาพัฒนารถถังเพื่อไล่ล่าทำลาย ปตอ.อัตตาจรของฝ่ายเยอรมัน ควบคู่ไปกับยุทธวิธีโจมตีทำลายรถถังจากทางอากาศ...
....รถถังแบบ เอ็ม.4ได้ถูกคิดค้นขึ้น โดยยึดแนวความคิดแบบรถถัง T-34 ของรัสเซีย คือน้ำหนักเบา ความคล่องตัวสูง เน้นความหนาของเกราะด้านหน้ารถและป้อมปืนมากที่สุด โดยรถถังแบบ เอ็ม.4 นี้ สหรัฐได้ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก และขายให้กับอังกฤษไปจำนวนหนึ่ง อังกฤษได้เรียกรถถัง เอ็ม.4 ตามชื่อนายพลเชอร์แมน แม่ทัพใหญ่ผู้บัญชาการรบของฝ่ายอังกฤษ...
....ถึงแม้ว่ารถถังแบบ เอ็ม.4 จะมีพัฒนาการไปมากกว่ารถถังทุกแบบในยุคนั้นก็ตาม แต่ก็ยังมีจุดอ่อนในเรื่องช่วงล่างและระบบพยุงตัวรถที่ไม่ค่อยตอบสนองต่อพื้นที่ ๆ มีความอ่อนตัวมากนัก มันจึงมีบทบาทมากต่อการรบในเมืองและในพื้นที่ ๆ เป็นดินแข็ง หรือทะเลทรายมากที่สุด...
.....รถถังแบบ เอ็ม.4 คันนี้จอดโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์รถถังของอิสราเอล เป็นรถถังเอ็ม.4 รุ่นปรับปรุงตัวสุดท้าย โดยติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 105 มม. ใช้ในประจำการมาจนถึงประมาณปี ค.ศ.1995 จึงปลดประจำการ ซึ่งรถถังแบบเอ็ม.4 นี้มีบทบาทมากต่อการทำสงครามกับอาหรับ และจากการที่รู้จักคิดค้น ปรับปรุงระบบอาวุธของอิสราเอล ทำให้กลายเป็นชาติผู้มีความชำนาญในเรื่องการอัพเกรดอาวุธเก่าให้ทันสมัยมาจนทุกวันนี้
สมรรถนะ รถถัง เอ็ม.4 (รถถังเชอร์แมน) ในรุ่นมาตรฐาน
น้ำหนักพร้อมรบ 30,160 กก.
เครื่องยนต์ 400 แรงม้า
ความเร็วสูงสุด 38 กม.ต่อ ชม.
ระยะทำการ 160 กม.
อาวุธหลัก ปืนใหญ่ขนาด 75 มม. (ในช่วงแรกของการผลิต)
ความยาว 5.84 ม.
ความกว้าง 2.68 ม.
ความสูง 2.97 ม.
เกราะหนา 25 มม. ถึง 51 มม.
พลประจำรถ 5 คน
น้ำหนักพร้อมรบ 30,160 กก.
เครื่องยนต์ 400 แรงม้า
ความเร็วสูงสุด 38 กม.ต่อ ชม.
ระยะทำการ 160 กม.
อาวุธหลัก ปืนใหญ่ขนาด 75 มม. (ในช่วงแรกของการผลิต)
ความยาว 5.84 ม.
ความกว้าง 2.68 ม.
ความสูง 2.97 ม.
เกราะหนา 25 มม. ถึง 51 มม.
พลประจำรถ 5 คน
....ตอนปลายสงครามโลกครั้งที่สอง คือระหว่างช่วง ค.ศ.1944-1945 สหรัฐได้ทำการคิดค้นรถถังรุ่นใหม่ ที่รวมข้อดีของรถถังแบบ เอ็ม.4 และแพนเซอร์ของเยอรมันเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงช่วงล่างของรถถังจากเดิมที่ยังใช้ของรถบูลโดเซอร์ มาเป็นระบบทอร์ชันบาร์เช่นเดียวกับรถถังเยอรมันและโซเวียด นั่นคือรถถังเบาแบบ เอ็ม.24 เป็นรถถังรุ่นแรกของสหรัฐ ที่มีการตั้งชื่อประจำตัวรถถังเช่นเดียวกับอังกฤษ รถถัง เอ็ม.24 มีชื่อประจำตัวตามชื่อนายพลชาฟฟี่ แม่ทัพรถถังของสหรัฐ...
....ซึ่งสหรัฐก็ได้พัฒนารถถังหลักขึ้นมาเป็นครั้งแรก คือรถถังแบบ เอ็ม.26 ซึ่งเป็นต้นตระ:Xลรถถังแพตตั้นมาจนถึงรุ่น เอ็ม.60...
....อย่างไรก็ตาม รถถังทั้งสองแบบเมื่อเทียบกับ เอ็ม.4 แล้วยังมีเกียรติประวัติในการรบน้อยมาก เนื่องมาจากการผลิตเข้าประจำการในช่วงปลายสงครามโลก ซึ่งเยอรมันอ่อนแรงลงมากแล้วประการหนึ่ง และหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ยุทธวิธีการรบทางภาคพื้นดินก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังเห็นได้จากสงครามเกาหลี ที่ยุทธวิธีการรบของฝ่ายสหรัฐ - โซเวียด - จีน และเกาหลีเหนือ ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ยุทธวิธีการรบเคลื่อนที่ มากกว่าการตั้งป้อมค่ายที่มั่นแบบการรบสมัยก่อน...
...รถถังเบาแบบ เอ็ม.24 ชาฟฟี่ จุดต้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลงมาสู่รถรบหุ้มเกราะที่เป็นปัจจุบันมากขึ้น
...รถถังหลักแบบ เอ็ม.26 แพตตั้นติดปืนใหญ่ขนาด 76 มม.
....จากการที่ไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามเกาหลีในฐานะพันธมิตร สหรัฐจึงได้มอบรถถังเบาแบบ เอ็ม.24 และรถถังหลักแบบ เอ็ม.26 ให้กับกองทัพบกไทยจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดที่เปลี่ยนแปลงกองทัพไทยให้หันมาใช้อาวุธจากประเทศสหรัฐเป็นหลักมาจนถึงปัจจุบัน....
....ในตอนต้นสงครามเกาหลี กำลังทางอากาศของฝ่ายโซเวียดได้พัฒนาไปไกลมาก โดยมีการนำเครื่องบินขับไล่ไอพ่นความเร็วสูงแบบมิก.15 และมิก.17 เข้ามาใช้ในสงครามจนทำให้กำลังทางอากาศของสหรัฐและพันธมิตรซึ่งยังใช้เครื่องบินขับไล่ใบพัดแบบ พี.51 และ สปิตไฟร์ ต้องตกเป็นรองอย่างมาก...
....ดังนั้น ผลกระทบจากการครองอากาศในตอนต้นสงครามของฝ่ายโซเวียด และยุทธวิธีคลื่นมนุษย์ของฝ่ายจีนที่เคลื่อนกำลังพลนับแสนเข้าตีในครั้งเดียว ทำให้ยุทธวิธีในเชิงรุกของรถถังต้องเปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นหัวหอกในการเข้าบดขยี้ป้อมค่ายของข้าศึกต้องเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ดังนั้น บทบาทเชิงรุกของรถถังจึงถูกปรับเปลี่ยนเป็นการยิงสนับสนุนการรบของทหารราบ และการลาดตระเวนทางยุทธวิธี ด้วยเหตุนี้ยุทธวิธีแบบเรียงหน้าประจัญบานของรถถังจึงถูกปรับเปลี่ยนเป็นรูปขบวน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และอุดช่องว่างมุมอับต่าง ๆ ....
....อย่างไรก็ตาม ในยุคสงครามเกาหลีนี้ สหรัฐได้พัฒนารถถังเบาขึ้นมาอีกแบบหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นรถถังลาดตระเวน และคุ้มกันรถถังหลัก ตลอดจนกองกำลังทหารราบ คือรถถังแบบ เอ็ม.41 วอล์คเกอร์ บูลล์ด็อก ซึ่งขนาดใหญ่กว่ารถถังเบาแบบ เอ็ม.24 ติดปืนใหญ่ขนาด 76 มม.ที่มีความยาวลำกล้องมากกว่าปืน 75 มม.ของ เอ็ม.24 ถึงสามเท่าเพื่อต้องการความรุนแรงและแม่นยำในการยิงระยะไกล อีกทั้งการใช้ปืนใหญ่ขนาดเบาก็จะมีขีดความสามารถในการยิงซ้ำได้อย่างรวดเร็วกว่าปืนใหญ่ขนาดหนัก ในยุคนี้ ได้เริ่มมีการคิดค้นระบบช่วยเล็งยิงของรถถังขึ้นมาเป็นครั้งแรกในรถถังเบาแบบ เอ็ม.41 เรียกว่ากล่องเทียบระยะ โดยการปรับตั้งตัวเลขระยะทางสู่เป้าหมาย มุมกด มุมกระดก และมุมส่าย ป้อมและตัวปืนจะถูกปรับไปตามตัวเลขที่ตั้งระยะไว้ พลยิงเพียงดึงคันรั้งไกปืน ๆ ก็จะยิงเข้าใส่ตำบลที่หมายตามที่ตั้งระยะไว้ที่กล่องเทียบระยะทุกประการ ดังนั้น รถถังเบาแบบ เอ็ม.41 จึงเป็นรถถังที่มีอำนาจการยิงที่รุนแรง ยิงซ้ำได้รวดเร็ว และมีความแม่นยำเป็นที่เชื่อถือได้มากที่สุดในยุคนั้น....
....รถถังเบาแบบ เอ็ม.41 เอ.3 ซึ่งประจำการในกองทัพบกไทยเป็นจำนวนมากกว่ารถถังแบบอื่นๆ
....รถถังเบาแบบ เอ็ม.41 นี้ ยังได้รับการพัฒนาปรับปรุงอีกหลายครั้ง มาจนถึงรุ่นเอ.3 ซึ่งได้รับการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์ดีเซล และพัฒนาเกราะด้านหน้ารถให้มีความแข็งแรงกว่ารุ่นแรก ๆ....
สมรรถนะ รถถังแบบ เอ็ม.41 วอล์คเกอร์บูลด็อก
เครื่องยนต์ : จีอี.เบนซิน 500 แรงม้า (ในรุ่น A1-A2)
อาวุธ : ปืนใหญ่เบาขนาด 76 มม. 1 กระบอก
: ปืนกลร่วมแกน ขนาด 7.62 มม. 1 กระบอก
: ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด .50 คาลิเบอร์ แบบบราวนิ่งก์ รุ่น เอ็ม.2 1 กระบอกบรรทุกกระสุนปืนใหญ่ได้ 65 นัด
น้ำหนัก : 23.5 ตัน
พลประจำรถ : 4 คน
....รถถังเบา เอ็ม.41 ยังคงใช้ในประจำการในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งในบางประเทศได้มีการปรับปรุงเพิ่มสมรรถภาพให้กับรถถัง ด้วยการเปลี่ยนปืนใหญ่เป็นขนาด 90 มม. เสริมเกราะ และเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์ดีเซล....
....และมีหลายประเทศที่ปรับเปลี่ยนเฉพาะระบบเครื่องยนต์ เกียร์ และไฮดรอลิก ส่วนปืนใหญ่ยังคงเดิม อันเนื่องมาจากความสมดุลที่ดีของตัวปืนกับตัวรถที่ดีอยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มระบบช่วยเล็งยิงที่ทันสมัยกว่าระบบกล่องเทียบระยะเข้าไปเท่านั้น....
....รถถังเบา เอ็ม.41 ของ ทบ.เดนมาร์ก ได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัยขึ้น
....นอกจากนั้นแชสซีส์ของรถถัง เอ็ม.41 ยังได้ถูกนำไปใช้กับรถถังในภาระกิจต่าง ๆ อย่างเช่น ปตอ.อัตตาจรแบบ เอ็ม.42 ดัสเตอร์ ซึ่งติดตั้งปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาด 40 มม.แบบแท่นคู่....
...ปตอ.อัตตาจร เอ็ม.42 ดัสเตอร์ ซึ่งปืนขนาด 40 มม.นั้นนอกจากสามารถยิงทำลายอากาศยานได้ทุกชนิดแล้ว ยังสามารถยิงทำลายยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบาได้อีกด้วย
ปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 105 มม. แบบ เอ็ม.82
....รถถังเบา เอ็ม.41 วอล์คเกอร์ บูลด็อก จึงมีชื่อติดอยู่ในทำเนียบรถถังที่ดีที่สุดของโลกอีกแบบหนึ่งมาจนทุกวันนี้...
การพัฒนารถถังของฝ่ายวอร์ซอร์
....หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา สหภาพโซเวียตยังคงใช้รถถัง ที.34/85 เป็นรถถังหลักมาจนถึง ค.ศ.1954 จึงได้มีการพัฒนารถถังขนาดกลางขึ้นรุ่นหนึ่ง ใช้ชื่อว่า T.54 โดยการนำโครงสร้างที่มีส่วนประกอบน้อย ทำให้น้ำหนักเบาและมีขนาดที่กว้างขวางกว่ารุ่น T.34 และลดความสูงของรถลงเพือลดการมองเห็นเป้าหมายจากระยะไกลของข้าศึก ใช้เครื่องยนต์ดีเซล และสายพานหน้ากว้างทำให้ตัวรถมีการกระจายน้ำหนักกดที่พื้นดีมาก อีกทั้งได้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาดกลาง ขนาด 100 มม. จึงทำให้รถถังแบบ T.54 เป็นรถถังที่มีปืนขนาดใหญ่กว่ารถถังทุกแบบในโลกเวลานั้น สร้างความหวาดหวั่นให้กับฝ่ายนาโต้มิใช่น้อย...
....จากการออกแบบที่ดูบึกบึนน่าเกรงขามของ ที.54 ทำให้นักวิเคราะห์สงครามฝ่ายนาโต้มองว่า รถถังของโซเวียดค่อนข้างจะปราบยาก แต่ในการรบจริงมิได้เป็นเช่นดังที่วิเคราะห์กัน รถถังที.54 ของฝ่ายอาหรับจำนวนมากถูกยิงทำลายลงด้วยปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังขนาด 57 มม.ของอิสราเอลในสงคราม 6 วัน และถูกยิงทำลายด้วยจรวดอาร์พีจี และอาร์มบรัสขนาด 66 มม.ในกัมพูชา....
....แต่ถึงกระนั้น รถถัง ที.54 ยังกลายเป็นต้นแบบป้อมปืนที่ใช้เหล็กหล่อแบบชิ้นเดียว ที่มีความทนทานต่อแรงระเบิดได้สูงกว่าป้อมปืนแบบเหล็กแผ่น....
...รถถังขนาดกลางแบบ T.54 ของโซเวียด
....จุดอ่อนอีกข้อหนึ่งของ ที.54 คือสายพานที่มักหลุดเวลาเลี้ยวกระทันหัน เนื่องจากมันไม่มีล้อรับสายพาน ที่ทำหน้าที่ขึงสายพานให้ตึงแบบรถถังของอเมริกา ก็เพราะว่ามันถูกออกแบบมาแบบชิ้นส่วนน้อย และเตี้ยมาก จนไม่มีพื้นที่พอใส่ล้อรับสายพานนั่นเอง...
....รถถัง ที.54 ถูกส่งเข้าในสมรภูมิกัมพูชา และลาวมากที่สุด เนื่องจากสงครามเวียดนาม เป็นสงครามที่รถถังแทบจะไม่มีบทบาทในการรบเลย อันเนื่องจากฝ่ายเวียดกงไม่ยอมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน โดยใช้ยุทธวิธีจรยุทธเข้าโจมตีกองทหารอเมริกันและพันธมิตรบริวารในแบบกองโจรกลุ่มย่อย...
.....แต่ถึงกระนั้น รถถัง ที.54 กลับมีบทบาทเพียงแค่การคุมเชิง ซึ่งมีส่วนร่วมในการโจมตีน้อยมาก เพราะสงครามกัมพูชาและลาวนั้น ยังคงรบกันแบบกองโจรเช่นเดียวกับเวียดนาม...
....รถถังที่ยังคงมีบาทบาทมากในสงครามเวียดนาม ลาว กัมพูชา ก็ยังคงเป็นรถถังแบบ ที.34 และ พีที.76 เท่านั้น...
....รถถัง T.55 ซึ่งก็คือแบบ T.54 ซึ่งได้รับการปรับปรุงเพิ่มสมรรถนะในการข้ามน้ำได้ลึกกว่ารุ่น T.54 โดยการปรับปรุงตัวรถให้สูงกว่ารุ่น T.54 เล็กน้อย และปรับปรุงระบบซีลกันน้ำใหม่ จนกลายเป็นต้นแบบรถถังที่ดำน้ำได้ของรัสเซียในปัจจุบันนี้
....หากนับอายุจากรถถังคันแรกที่ขับเคลื่อนเข้าสูสมรภูมิจนถึงวันนี้ เป็นเวลามากกว่า 100 ปีแล้ว แต่การพัฒนารถถังยังคงมีต่อไปจนถึงในอนาคต แม้ว่ายุทธวิธีการรบจะเปลี่ยนไปมาก โดยการโจมตีที่มั่นข้าศึกในปัจจุบัน ได้ใช้การโจมตีระยะไกลด้วยจรวดแบบพื้นสู่พื้น และการโจมตีทางอากาศในระดับสูงจากพื้นดินมาก ๆ แต่รถถัง อาวุธโบราณก็ยังคงได้รับความเชื่อถือ และสร้างความมั่นใจให้กับกองทหารทุกเหล่า ยามเข้ารบรุกต่อตีกับข้าศึก ถึงแม้ในเวลานี้ รถถังไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์มากมายจนหาคู่ต่อกรยากแบบสมัยก่อนก็ตาม แต่มันก็ยังคงเป็นเพื่อนยากคู่กายของทหารม้ายานเกราะในทุกแห่งหน...
....ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจ หรือประเทศยากจน รถถังยังคงตำแหน่งราชินีแห่งสนามรบเสมอ....
คลิปข้างล่างใครพอรุ้จักอนิเมเรื่องนี้บ้าง
http://youtu.be/xW7NvMFTpvI
รถถังรุ่นต่างๆที่บางรุ่นโผล่ในเรื่องสาวน้อยรถถัง