Archer ปืนใหญ่อัตราจรล้อยางที่ดีที่สุดในตอนนี้
FH-77BW อาร์เชอร์
ปืนใหญ่อัตราจรล้อยางในปัจจุบันนั้นมีหลายชาติที่นิยมสร้างเพื่อส่งออกและเข้าประจำการ ส่วนนึงก็ไม่ต้องวิจัยมากเน้นหนักไปที่ระบบปืนส่วนรถที่จะมาทำแคร่รถก็เลือกรถลำเลียงทหารที่มีใช้กันเยอะและราคาถูกกว่ารถถังสายพาน มาประกอบกันเข้าไป
หลายคนคงจะทราบถึงประสิทธิภาพอันลือลั่นของปืนใหญ่ซีซาร์ที่ผลิตในฝรั่งเศสและไทยเราเองก็มีประจำการใช้ในการรบกรณีข้อพิพาทกับเขมร ด้วยความสามารถคือเคลื่อนที่เข้ายิงและถอนตัวได้เร็วและทำการยิงได้ไวและแม่นยำ แต่ใครจะทราบบ้างว่าปืนใหญ่อัตราจรล้อยางที่ประสิทธิภาพสูงสุดในตอนนี้ถ้าวัดกันที่ประสิทธิภาพในการยิง การบรรจุและความอยู่รอดของแท่นปืน ไม่นับความแม่นยำเพราะส่วนใหญ่ใช้กระสุนและระบบควบคุมการยิงที่แทบจะมาจากบริษัทเดียวกันหรือความร่วมมือระหว่างประเทศผลที่ได้คือความแม่นยำไม่หนีกันมาก แต่เอาประสิทธิภาพขั้นต้นต้องยกให้ระบบจากสวีเดนที่ชื่อArcher (นักธนู)
FH-77A
ส่วนนึงเพราะมีไม่กี่ระบบเท่านั้นที่เรียกว่าอัตโนมัติทั้งระบบ ใช้พลประจำยิงและควบคุมเพียง2-3นาย โดยระบบส่วนใหญ่จะเป็นกึ่งอัตโนมัติคือต้องใช้กำลังพลในการบรรจุกระสุนหรือยกกระสุนมาวางเพื่อให้ระบบของปืนทำการบรรจุเข้ารังเพลิงเอง แต่อาร์เชอร์สามารถโหลดกระสุนเพื่อทำการยิงได้ต่อเนื่องทั้งระบบโดยพลประจำรถแค่ทำการยิงและวางแผนการยิงเท่านั้น ซึ่งระบบอีกแบบนึงคือNora B-52 ของเซอร์เบีย ที่อัตโนมัติทั้งระบบเช่นกัน
ชื่อเต็มของระบบอาร์เชอร์ คือArcher Artillery System เป็นความร่วมมือระหว่างสวีเดนกับนอร์เวย์ เป็นปืนใหญ่รุ่นพัฒนาต่อแบบเต็มระบบจากปืนใหญ่FH-77A ที่เป็นปืนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองด้วยระบบAPU ซึ่งเคลื่อนที่ได้ไม่ไกลและช้า หัวใจคือการนำปืนใหญ่FH-77Aขนาด155มม.ขนาด38คาลิเบอร์มาเพิ่มความยาวเป็น52คาลิเบอร์ในรุ่นBเพื่อทำการส่งออกให้อินเดีย ที่พัฒนาตั้งแต่ปี1978และเข้าประจำการในช่วงสงครามเย็นเป็นต้นมา มาติดตั้งบนรถบรรทุกหนักVolvo A30D ขับเคลื่อน6x6ซึ่งเป็นรถบรรทุกใช้งานในเหมืองมาทำ เพื่อให้สามารถลุยได้ในทุกภูมิประเทศ
โครงการพัฒนาเริ่มในปี1995 ช่วงเริ่มโครงการได้ทำการศึกษาระบบรองรับน้ำหนักและขับเคลื่อนและทำการสร้างต้นแบบมา2รุ่นคือFH-77BDและBW โดยรุ่นที่นำหน้าว่าBคือการนำปืนใหญ่รุ่นAมายืดลำกล้องเป็น45คาลิเบอร์
FH-77BD L-45
อาร์เชอร์ FH-77BD ใช้ปืนใหญ่FH-77รุ่นBขนาด155มม.45คาลิเบอร์ มาทำการติดตั้งบนรถบรรทุกให้อัตราการยิง8นัดต่อนาที ยิง3นัดใช้เวลา15วินาที ระยะยิง30ก.ม.และ เมื่อใช้กระสุนต่อระยะ ระยะยิงไกลสุด40ก.ม. ใช้เวลาเตรียมการยิง50วินาที มีการทดลองยิง8นัดและเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งแรก500เมตรเพื่อทำการยิงใหม่ใช้เวลามากกว่า3นาทีเล็กน้อย ภาพรวมเหมือนFH-77A ที่ติดตั้งบนรถบรรทุก และยังไม่อัตโนมัติเต็มระบบต้องใช้พลประจำรถถึง6นาย ในการอำนวยการยิงเช่นบรรจุกระสุน ซึ่งสามารถบรรทุกกระสุนได้24นัดและดินส่งจำนวน42แท่ง ได้รับการจัดหาจากสวีเดนในปี2008จำนวน7ระบบและอีก1ระบบจากนอร์เวย์ พอเดือนสิงหาคมปี2009ทั้ง2ประเทศก็จัดหาเพิ่มชาติล่ะ24ระบบ ซึ่งในปี2000บริษัทโบฟอสก็ส่งต้นแบบFH-77BD ไปให้อินเดียทดสอบในเดือนพฤษภาคม ซึ่งกลาโหมอินเดียได้ยอมรับข้อเสนอรวมถึงราคาในการปรับปรุงFH-77A จำนวน200กระบอกและการจัดหาปืนใหญ่อัตราจรล้อยางระหว่างอาร์เชอร์กับซีซาร์ของกองทัพอินเดียด้วย
บริษัทโบฟอส ผู้พัฒนาระบบปืนได้รับสัญญาจากกองทัพสวีเดนในปี2003เพื่อส่งต้นแบบFH-77BWขนาด52คาลิเบอร์ จำนวน2ระบบเพื่อเข้าทำการทดสอบในปี2005-2006 พอมกราคมปี2009ลงนามร่วมกับBAE Systemของอังกฤษ เพื่อพัฒนาระบบควบคุมการยิงและบริษัทNexterของฝรั่งเศส ในการพัฒนากระสุนปืนและดินส่ง
FH-77BW L-52 อาร์เชอร์
โดยความสามารถพื้นฐานของFH-77BW52คาลิเบอร์ นั้นสามารถยิงไกล30ก.ม.ด้วยกระสุนมาตราฐาน 40ก.ม.ด้วยกระสุนต่อระยะและระยะยิงไกลสุดๆ60-65ก.ม.ด้วยกระสุนนำวิถีจีพีเอส เอ็กซ์คาลิเบอร์ เอ็ม-982 ยิงต่อตีเร่งด่วนในแนวราบได้ไกล2ก.ม. มุมยิงของปืน0-70องศา ปืนใหญ่ขนาด155ม.ม.ขนาด52คาลิเบอร์ อัตราการยิงสูงสุด8-9นัดต่อนาที กระสุนพร้อมยิงจำนวน20นัดบรรจุในแม็กกาซีนและ1นัดในรังเพลิง พร้อมดินส่งบรรจุในแม็กกาซีนจำนวน126แท่ง โดยทั้งดินระเบิดและกระสุนใช้ซองบรรจุแบบสายพาน หลังจากยิงจนหมดสามารถบรรจุใหม่ในเวลา8นาที โดยการเติมกระสุนด้วยกำลังพลจากรถเติมกระสุน
กระสุนปืนใหญ่ในที่บรรจุถูกบันทึกเพื่อเลือกการใช้กระสุนต่อตีเป้าหมาย โหมดการยิงทำลายเป้าหมาย4-6นัดในเวลา30วินาทีหรือ8-9นัดในเวลา1นาทีด้วยการยิงแบบ MRSI(Multiple Round Simultaneous Impact)เรียกง่ายๆว่ายิงกระสุนหลายนัดในมุมต่างกันเพื่อให้กระสุนตกเป้าหมายพร้อมกัน การบันทึกทิศทางการเคลื่อนที่ของเป้าหมาย ระยะยิง การโหลดกระสุนให้พอดีกับเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่เพื่อทำการยิง
กระสุนและดินส่งมีตัวเด็ดๆเช่นกระสุนที่พัฒนาโดยBAE Bofors / Nexter ชื่อว่าBonus เพื่อทำลายเป้าหมายเคลื่อนที่และยานเกราะโดยเฉพาะ ซึ่งพัฒนาเสร็จในปี2007 มีระยะยิงไกลถึง35ก.ม.(ปืน52คาลิเบอร์)27ก.ม.(39คาลิเบอร์) เมื่อยิงออกไปแล้วกระสุนชนิดนี้จะทำการค้นหาเป้าหมายด้วยฟิวส์อินฟาเรดที่ระดับความสูง175เมตร พื้นที่ค้นหา32000ตารางเมตร ความเร็วตกสู่พื้น45เมตรต่อวินาที เพื่อส่งข้อมูลทำการแตกตัวเหนือเป้าหมาย โดยระเบิดย่อยจะมีน้ำหนัก6.5กก. ยาว138มม. เจาะเกราะหนาได้100มม. จะทำการหมุมราวๆ15ครั้งต่อวินาทีเพื่อทรงตัวและเลเซอร์วัดระยะความสูงและอินฟาเรดจะค้นหาเป้าหมายเพื่อระเบิดใส่หลังคาเป้าหมาย(ไม่รู้เราได้หาตัวนี้มาใช้ตอนรบครั้งล่าสุดรึเปล่า)
ดินส่งกระสุนแบบUniflex 2IMแบ่งเป็นแท่งเต็มและครึ่งแท่ง โดยขนาดของห้องรังเพลิงอาร์เชอร์มีถึง25ลิตรในขณะที่ซีซาร์มีขนาด23ลิตร แน่นอนว่าอาร์เชอร์สามารถใส่ดินส่งได้ถึง7แท่งเพื่อให้มีระยะยิงไกลซึ่งอาร์เชอร์สามารถเลือกใส่ดินส่งกระสุนได้ตามความต้องการ โดยมีการคำนวณชัดเจนจากการทดลองกับปืนใหญ่AS-90ของอังกฤษว่าดินส่ง1แท่งให้ความเร็วกระสุนเท่าใดแรงดันเท่าใด ซึ่งมีผลอย่างมากในการคำนวณการยิงเป้าหมายแบบMRSI
ดินส่งแบบUniflex 2IM
แน่นอนว่าอาร์เชอร์1ระบบ สามารถถล่มเป้าหมายด้วยความแม่นยำ75นัดต่อช.ม. หรือหมดแม็กคือ20นัดภายในเวลา2.3นาทีหรือ3นัดในเวลา13-15วินาที อัตราการยิงที่สูงและแม่นยำสามารถทำลายเป้าหมายแบบไม่ผุดไม่เกิด ตอบโต้หรือหนีก็ยังไม่ทัน ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายได้มากๆในคราวเดียวเพราะทั้งแม่นยำและรุนแรงบวกปริมาณอีกด้วย ซึ่งข้าศึกจะได้พักหายใจก็ต่อเมื่ออาร์เชอร์พักเติมกระสุนใหม่ในช่วง8นาที
โดยระบบควบคุมการยิงก็แทบจะเหมือนทุกๆรุ่นคือข้อมูลแผนที่ดาวเทียม จอแสดงข้อมูลการรบและการประมวลผลเป้าหมายด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านการอัพโหลดข้อมูลเป้าหมายจากแหล่งอื่น เรดาห์จับความเร็วลำกล้อง โดยพลที่ทำการยิงทั้งหมดจะทำงานในห้องพลขับซึ่งอยู่ด้านหลัง โดยจะใช้พลยิง3นายต่อ1ระบบหรือฉุกเฉินสุดๆคือใช้พลควบคุมการยิงเพียง1นายและพลขับอีก1นาย ควบคุมการยิงผ่านรีโมทคอนโทรล โดยการเตรียมยิงและถอนตัวสามารถทำได้โดยที่พลในรถไม่ต้องออกมาด้านนอกเลย
นอกจากนั้นยังรวมถึงการพัฒนาระบบกำหนดจุดยิงในกรณีไม่สามารถใช้จีพีเอสได้ซึ่งชื่อว่าSIGMAstem 30 Gyrolaser Artillery Pointing ในปี2008
อาร์เชอร์ สามารถทำการรบได้ทุกสภาพอากาศ ทุกสภาวะ กลางวันและกลางคืน การป้องกันตัวเองนั้นสามารถทำการยิงปืนกล7.62หรือ12.7มม.จำนวน1กระบอกผ่านระบบรีโมทที่ติดตั้งเหนือป้อมจากภายในตัวรถด้วยระบบLemur ตัวรถและห้องพลขับติดตั้งเกราะสามารถป้องกันกระสุนปืนกล7.62มม.แบบเจาเกราะ รวมถึงสะเก็ดระเบิดที่มาตกใกล้ๆได้ และยังป้องกันกับระเบิดขนาด6กก.หากรถไปเหยียบซึ่งตัวรถในส่วนช่วงล่างมีลักษณะเป็นรูปตัววีช่วยกระจายแรงระเบิด ซึ่งตรงนี้มีความสำคัญตรงที่ระบบปืนใหญ่อัตราจรล้อยางโดยทั่วไปบริเวณแท่นปืนจะเปิดโล่ง ซึ่งหากมีระเบิดใดๆมาระเบิดใกล้ๆสามารถสร้างความเสียหายให้กับระบบอำนวยการรบและควบคุมการยิงของปืนใหญ่รวมถึงพลประจำแท่นปืนด้วย (ประมาณว่าข้าศึกสามารถตรวจจับได้และยิงตอบโต้ ถึงกระสุนไม่โดนจังๆแต่เพียงตกข้างๆในระยะ10-20เมตร โดยเฉพาะกระสุนปืนใหญ่สามารถสร้างความเสียหายได้รวมถึงกระสุนแตกอากาศด้วยเช่นกัน) อาร์เชอร์จึงหุ้มเกราะเบาแทบทุกส่วนเพื่อป้องกันความเสียหาย
FH-77BWArcher กับ Ceasar โดยอาร์เชอร์สามารถทำการยิงโดยพลประจำสถานีรบไม่ต้องออกมาด้านนอกและมีการหุ้มเกราะป้องกันแท่นปืนหากมีระเบิดมาตกใกล้ๆ
ตัวรถVolvo A30D 6×6 เครื่องยนต์ดีเซลทำความเร็วบนถนนได้70ก.ม./ช.ม. ระยะทำการ500ก.ม. น้ำหนักพร้อมรบ30ตัน สามารถเข้าเตรียมยิงและถอนตัวใช้เวลาราวๆ30วินาที ซึ่งสวีเดนได้ทำการอัพเกรดและพร้อมจะเข้าประจำการในปี2011 ยังรวมถึงการนำปืนใหญ่FH-77Aจำนวน700กระบอก จะนำมาดัดแปลงเป็นระบบอาร์เชอร์ทั้งหมด
โนนา ปืนค.อัตราจรของรัสเซีย
Nona SPG-120m.m.
Nona-s (โนนา-เอส ) เป็นปืน ค.อัตราจรขนาดหนัก 120 ม.ม. ติดตั้งบนยานลำเลียงพล ของกองทัพรัสเซียเริ่มนำออกมาใช้ช่วงทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ใช้ออกรบเช่นในตอนบุกอัฟกานิสถาน หรือ โจมตีกองโจรเชเชน เป็นต้น แผนแบบเป็นยานเกราะน้ำหนักเบาสามารถทำการยิงด้วยพลประจำเพียง2นาย ใช้ส่งกำลังทางอากาศด้วยเครื่องบินลำเลียงขนาดหนักได้
2เอส9 โนนา-เอส บรรจุเข้าสู่กองทัพบกรัสเซียในปี1981 เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 1985 นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนายุทธวิถีในการเสริมกำลังรบให้ทหารพลร่มด้วยอาวุธหนักในการทำลายเป้าหมายนอกจากยานเกราะติดเพียงปืนกลหนักเท่านั้น ซึ่งก้ได้มีการนำเข้าไปใช้ทำการรบในอัฟกานิสถานในระหว่างทศวรรษที่ 1980 นั้นเอง (ช่วงนี้รัสเซียหรือสหภาพโซเวียตนำของมาทดลองในสมรภูมิอัพกัน เยอะ เหมือนอเมริกาตะลุยเวียดนาม อ่าวเปอร์เซีย )
ตัวรถเป็น รถลำเลียงพลสายพานแบบ บีทีอาร์-ดี มาดัดแปลงโดย โวโกกราด แทร็คเตอร์ แพล์ท ใช้ชื่อแผนแบบดัดแปลง เอสโอ-120 น้ำหนักพร้อมรบสูงสุดเพิ่มเป็น 8.5 ตัน พลประจำ4นาย โดยเครื่องยนต์ดีเซล 5ดี-20 6สูบวี 4จังหวะ 240แรงม้า ทำความเร็วได้60ก.ม./ช.ม. และความเร็วในน้ำ 10 ก.ม./ช.ม. ไต่ทางชัน60องศา เอียงข้างอีก30องศา ข้ามคูกว้าง2เมตร ข้ามลำน้ำ 0.7 เมตร ซึ่งทำให้มีความอ่อนตัวในการทำการรบสูงสุด เพราะขนส่งทางอากาศก็ได้ ลงน้ำได้อีก
ป้อมปืนติดตั้งปืน ค.บรรจุท้ายลำกล้อง แบบ 2เอ60 ขนาด 120 ม.ม. 24.2คาลิเบอร์ ระยะยิงสูงสุด 12.8 ก.ม. อัตรายิงสูงสุด 6-8 นัด/นาที ลำกล้องทำมุมยิงได้ที่ -4 ถึง+80 องศา พร้อมกระสุนทั้งหมด 25 นัด แต่รุ่น 2เอส9-1 บรรทุกได้สูงสุด40นัด ซึ่งอัพเกรดในปี1988 โดยกระสุนที่มีระยะยิงไกลที่สุดคือ เอชอีเอ็มอาร์พี
ในด้านการขนส่งทางอากาศ สามารถทิ้งที่ระดับความสูง 300-1500 เมตร โดยติดร่มแบบ พีอาร์เอสเอ็ม-195 ซึ่งเป็นร่มหน่วงทิ้งอาวุธขนาดใหญ่พร้อมเบาะลมและไอพ่นหน่วงความเร็วตกสู่พื้น ลำเลียงด้วยเครื่องบินลำเลียงขนาดหนักแบบ แอลโตนอฟ-22/32 และ อิล-76 โดย อิล-76 สามารถลำเลียงได้ถึง3คัน
หลังจากเปิดตัว โนนา-เอส ไปได้มีการพัฒนาโดยบริษัท มอโตลิวิค่า แพลน์ท คอร์เปอเรชั่น ของรัสเซีย ชื่อว่าระบบ โนนา-เอสวีเค ในราวๆปี1984และเปิดตัวในปี1994 โดยติดตั้งกับยานเกราะล้อยางแบบ บีทีอาร์-80 ใช้ชื่อว่า 2เอส23 ระยะยิงหวังผล 8ก.ม. และไกลสุด 12.8 ก.ม. ใช้แผนการออกแบบระบบ ปืนค.ที่ผลิตโดย ทอมสัน ของ ฝรั่งเศส รุ่นเอ็ม-120 อาร์ที-61 ขนาด120ม.ม.ซึ่งรัสเซียเรียกว่ารุ่น 2เอ-60 สามารถยิงได้ถึง10นัด/นาที ด้วยระบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ อื่นๆก็หลังคาป้อมมีกล้องอินฟาเรดสำหรับตรวจการณ์และเล็งยิงรุ่น ทีเคดี-3เอ หลักๆคือความคล่องตัวมากขึ้นคือ ทำความเร็วได้บนถนน 70ก.ม./ช.ม. สภาพพื้นที่ป่าเขา 40ก.ม./ช.ม. และมีระบบป้องกันตัวที่ดีขึ้นด้วยเครื่องยิงลูกระเบิดควัน และการทำการรบใต้สภาวะสงคามเคมี-นิวเคลียร์-ชีวะ และทนแรงระเบิดของกระสุนขนาด 152-155 ม.ม. ที่มาระเบิดใกล้ๆได้
2s-23
และในปี1996 ได้ผลิตออกมาอีก1รุ่นโดยบริษัทเดียวกัน ใช้ตัวยานเกราะสายพานแบบ บีเอ็มพี-3 ซึ่งเป็นยานเกราะที่มีขนาดมิติที่ใหญ่กว่า บีทีอาร์-ดี เกราะหนา เครื่องยนต์มีกำลังสูง ชื่อว่า 2เอส-31 วีน่า หลักๆคือติดตั้งปืนค.ขนาด120 ม.ม. รุ่น 2เอ-80 ที่มีลำกล้องยาวกว่ารุ่น2เอ-51 อัตราการยิงก็พอๆกัน แต่มีระยะยิงไกลสุดถึง13 ก.ม. นอกจากนั้นยังใช้กระสุนนำวิถีด้วยเลเซอร์แบบ คิโตลอฟ-2เอ็ม ที่มีความแม่นยำสูง โดย วีน่า นั้นสามารถนำกระสุนไปได้ทั้งหมด70นัด มีระบบการเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อทำการยิงระหว่างคันต่อคันในระยะ8ก.ม.
2s31
ภาพขณะทิ้งร่มครับ
ปืนใหญ่อัตราจร PzH 2000 ของ เยอรมัน
Panzerhaubitze 2000
ปืนใหญ่อัตราจร พีแซดเอช-2000 (แพนเซอร์เฮาบิทเซ่-2000 ) เป็นปืนใหญ่อัตราจรสายพานขนาด155 ม.ม. แบบหลักในปัจจุบันของกองทัพบกเยอรมัน ผลิตโดยบริษัท Krauss-Maffei Wegmann (KMW) และ Rheinmetall จัดเป็นปืนใหญ่อัตราจรที่ประสิทธิภาพค่อนข้างจะสูง(มาก) ด้วยอัตราการยิงที่เร็วและระยะยิงไกล ได้รับการจัดหาเข้าประจำการในกองทัพบก เยอรมัน อิตาลี เนเธอแลนด์ และ กรีซ เพื่อทดแทนปืนใหญ่อัตราจร M-109 ที่ผลิตโดยอเมริกา
M-109 มีใช้กันหลายชาติ
หลักจากยุติโครงการ ปืนใหญ่อัตราจร ความร่วมมือ3ชาติคือ อิตาลี เยอรมัน อังกฤษ ในปี 1986 ภายใต้โครงการ SP-70 หรือ Pzh 155-1 อันมีผลมาจากการออกแบบ และ ตัวรถที่นำมารองรับป้อมปืนใหญ่ รวมถึงมาตราฐานการกำหนดขนาดปืนใหญ่ของกองทัพบกอังกฤษและเยอรมัน เป็นต้น โดยเยอรมันจึงได้พัฒนาต่อแลปรับปรุงแผนแบบใหม่กำหนดเป็น พีแซดเอช-2000หรือ พีแซดเอช-155-2 และเริ่มทำการทดสอบในปี 1993 โดยพัฒนา JBMOU เกี่ยวกับระบบควบคุมการยิงและขีปนวิถีของกระสุน โดย เวคมันท์ เคเอ็มดับบิว ได้รับเลือกไป แผนพัฒนาป้อมปืน พีแซดเอช-2000 โดย เวคมันท์ เริ่มในเดือน มีนาคม ปี 1996 จำนวนผลิต 185 ป้อม ส่งให้ ไรเมนทัล ทำการประกอบร่วมกับกระบอกปืนใหญ่ บริษัท โอลลี่เวล เมนทัล ทำการประกอบป้อมปืนกับตัวรถอีกทีนึง ในช่วงเดือน กรกฎาคม 1998 มีการสั่งผลิตจำนวน450คันและถูกปรับลดลงเหลือ260คัน ซึ่งกองทัพบกเยอรมันกำหนดแผนเข้าประจำการจำนวน 238 ได้รับเลือกจากชาติอื่นๆเช่น อิตาลี กรีซ ฮอลแลนด์ นอกจากนั้นยังคาดกันว่าในอนาคตจะมีอีก2ชาติที่จะสั่งไปใช้งานคือ โครเอเชียและเม็กซิโก
PzH 155-1 หรือ SP-70
โดยปืนใหญ่ที่ส่งมอบ ให้อิตาลี นั้นผลิตในอิตาลีจำนวน68ระบบ ซึ่งบริษัท เวคมันท์ ส่งมอบจำนวน2ระบบในปี 2002 และอีก68ระบบ ผลิตโดยบริษัท คอนเซาลิโอ-เลคโอ่ ออโต้ เมราร่า ของอิตาลี และทำการส่งมอบ ในเดือนมิถุนายน ปี2007 รวมถึงส่งมอบอุปกรณ์อื่นๆในเดือนตุลาคม 2008 ซึ่งเสร็จสิ้นการส่งมอบให้กองทัพบกอิตาลีในปี2009
กองทัพบกฮอลแลนด์ สั่งซื้อจำนวน 57ระบบพร้อมกับอิตาลี และถูกปรับลดลงเหลือ39ระบบในภายหลัง(จะ40ระบบก็ไม่ได้เนาะ) ในจำนวนนี้ 18ระบบที่ผลิตให้กองทัพบกดัตท์ ถูกเสนอให้กองทัพบกออสเตรเลีย แต่ถูกปฏิเสธ โดยในปี 2006 เดือนกันยายน ฮอลแลนด์ส่ง พีแซดเอช-2000 จำนวน3ระบบเข้าไปในอัพกานิสถานเพื่อทำการโจมตีกองโจรตาลีบัน ในยุทธการ เมดูซ่า ทำการยิงสนับสนุนในระยะ 30 ก.ม. แก่กองกำลังพันธมิตร
กองทัพบกกรีซ ทำการสั่งซ์อจำนวน24ระบบ และได้รับการส่งมอบในเดือนกรกฎาคม 2003-มิถุนายน 2004
ป้อมปืน
พลประจำรถมี5นาย ผ.บ./พลขับ/พลปืน/บรรจุกระสุน2นาย หากทำงานด้วยระบบอัตโนมัติใช้พล2นายคือ ผ.บ.และพลขับ สั่งการยิงและโหลดกระสุนด้วยคอมพิวเตอร์ ป้อมปืนนั้นเกราะทำด้วยเหล็กกล้าสามารถป้องกันปืนกลหนักขนาด 14.5 ม.ม. ได้ หรือกระสุนปืนต่ำกว่าขนาด14.5 ม.ม.ลงมา รวมถึงสะเก็ดระเบิด สร้างความปลอดภัยให้กับพลประจำรถภายในทั้งด้านข้างและด้านบน หลังคาป้อมเสริมเกราะเพื่อป้องกันกระสุนหรือลูกระเบิดวิถีโค้ง หลังคาป้อมเองยังออกแบบให้เป็นมุมโค้งลาดเอียง เพื่อให้เกิดการสะท้อนและลดอำนาจการเจาะของกระสุนที่ถูกยิงมา นอกจากนั้นยังสามารถป้องกันพลประจำรถในสภาวะสงครามนิวเคลียร์ เคมี ชีวะ อีกด้วยเช่นกันหรือทำการรบในสภาวะอากาศ -30 องศา หรือ +51 องศา ก็ได้เช่นกัน หลังคาป้อมมีปืนกล เอ็มจี-3 ขนาด 7.62 ม.ม. กระสุน 1-2000 นัด
ระบบไฟฟ้าภายในสำหรับทำการควบคุมป้อมปืนทั้งเซมิ-ออโต้(ด้วยพลประจำ) หรือ ออโต้(คอมพิวเตอร์ควบคุม)แบบ อีเอสดับบิว เอ็กซ์เทล ซิสเต็ม เป็นไฟกระแสตรงจ่ายให้คอมพิวเตอร์รวมถึงมีระบบการสำรองไฟอีกด้วยเช่นกัน ใช้เวลาเซ็ทอัพระบบใหม่หากเกิดการขัดข้อง 30 วินาที ระบบดับเพลิงภายในของบริษัท คีทด์ แอร์โรว์สเปซ
ระบบควบคุมการยิงด้วยคอมพิวเตอร์แบบ เอ็มไอซีเอ็มโอเอส โดยบริษัท เดมเลอร์-ไครเลอร์ แอร์โรว์สเปซ ซึ่งเป็นแบบอัตโนมัติทั้งหมด สามารถทำการรบด้วยพลประจำรถเพียง2คน เช่นบรรจุกระสุนอัตโนมัติ คอมพิวเตอร์ควบคุมขีปนวิถี วิทยุและระบบลิงซ์เชื่อมต่อในการกำหนดโจมตีเป้าหมายพร้อมกัน พร้อมด้วยแผนที่ดาวเทียม ระบบเชื่อมโยงข้อมูลเป้าหมายและสัญญาณเรดาห์สำหรับตรวจจับภาคพื้นดินที่ส่งมาเพื่อทำการยิงแบบ เอ็มอาร์เอสไอ ทำหน้าที่บันทึกเป้าหมาย ทิศทาง/ระยะยิง การโหลดกระสุน ให้พอดีกับเป้าหมายโดยเฉพาะเป้าหมายเคลื่อนที่ ที่ต้องการต่อตีอย่างรวดเร็วแม่นยำ ซึ่งมีใช้ในปืนใหญ่แบบ ดาเนล จี-6-52 ของแอฟริกาใต้ รวมถึงปืนใหญ่รุ่นใหม่แบบอาร์เชอร์ของสวีเดน
นอกจากนั้นยังมีกล้องเพอริสโคบสำหรับมองจากภายในป้อมปืนยังภายนอกแบบ ลิค่า พีอีอาร์ไอ-อาร์ทีเอ็นแอล80 พาโนรามิค ใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนด้วยโหมดจอแสดงภาพสำหรับค้นหาเป้าหมายและตรวจการณ์ นอกจากนั้นยังมีเลเซอร์วัดระยะ กล้องเล็งยิงปืนทั้งยิงตรงและยิงจำลอง รุ่น พีแซดเอฟ ทีเอ็น-80 สามารถทำการเล็งยิงได้ทั้งกลางวันกลางคืน กล้องสำหรับพลขับมองในเวลากลางคืนแบบ ทีออน-เซ็นเซอร์ เอสเอ กล้องเล็งยิง หาพิกัดเป้าหมาย ทั้งกลางวัน/กลางคืน ของ เว็คโทรนิค
ปืนใหญ่ขนาด155 ม.ม. แอล52 คาลิเบอร์ ยาว8 เมตร พร้อมกระสุน60นัดในตัวรถ ใช้โครเมี่ยมเคลือบลำกล้องพร้อมปลอกลดแรงถอย ผลิตโดยบริษัท ไรเมทัล ระบบการบรรจุกระสุนอัตโนมัติด้วยไฮโดรลิคการทำงานความเร็วสูงสุดหรือบรรจุด้วยพลประจำ ปืนมีมุมเงยสูงสุด65องศา มุมกด-2.5องศา ป้อมปืนทำการยิงได้360องศา การทดสอบยิงในเดือนตุลาคม 1997 อัตราการยิงสูงสุด 10นัดต่อนาที เฉลี่ยอัตราการยิง 3นัด 9.2-10 วินาที 8นัด 42.9 วินาที (10นัดก็59.74วินาทีนิดๆ) 20นัดภายในเวลา 2นาที 30วินาที ซึ่งมากพอจะโจมตีเป้าหมายหลายๆแห่งพร้อมกันได้ ซึ่งในการทำสอบยิงนั้นทำด้วยการควบคุมด้วยพลประจำเพียง2นายเท่านั้น นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มพลช่วยบรรจุกระสุนได้อีก2-3นาย ในกรณีระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติเสียหาย
กระสุนที่ใช้
ระยะยิงมาตราฐานนาโต้ด้วยกระสุนหัวระเบิดแรงสูง แบบ แอล15เอ2 ที่30 ก.ม. 1นัดหนัก 43.5 กิโลกรัม ซึ่งเป็นกระสุนแรกเริ่มที่จะกำหนดให้ใช้กับ พีแซดเอช-155-1 ที่ยกเลิกโครงการไป ซึ่งผลิตในอังกฤษ ในเยอรมันเรียกว่า ดีเอ็ม-111 ดินส่งกระสุนแบบ ดีเอ็ม-72/92 ของ ไนโตรเชม/ไรเมนทัล
กระสุน เอชอี อาร์เอช-40 บีบี ระยะยิงไกล 40 ก.ม.
ดีเอ็ม-702 เป็นกระสุนอีก1รุ่นที่ มีความแม่นยำสูงสุด ระยะยิง27 ก.ม. หัวระเบิดแรงสูง นำวิถีเข้าหาเป้าหมายด้วยการทำงานร่วมกับ อินฟาเรดกับคลื่นสัญญาณเรดาห์ สามารถทำการยิงโจมตีเป้าหมายได้ทุกสภาพอากาศ
กระสุนควัน แบบ ดีเอ็ม-58 และ กระสุน พลุส่องสว่าง ดีเอ็ม-106 ทำงานเหนือพื้น600 เมตร รัศมี 800 เมตร ความเร็วในการตกถึงพื้น 5เมตร/วินาที ความสว่าง 1.8 ล้านแรงเทียน
ในปี2001 เดือนพฤศภาคม กองทัพบกกรีซ ทดสอบยิง พีแซดเอช-2000 ด้วยกระสุนปืนที่ผลิตในแอฟริการุ่น เอ็ม2000บีบี ของ บริษัท นาสเชม/ดาเนล ซึ่งมีระยะยิงหวังผลได้ถึง 40 ก.ม. เลยทีเดียวจำนวนยิงถึง 20นัด ในปี2002เดือนพฤศจิกายน บริษัทไรเมนทัล ทดสอบยิงกระสุน ดีเอ็ม72และ อาร์เอช-40บีบี ซึ่งเป็นกระสุนระยะยิงไกล ในสวีเดน
ตัวรถ
ตัวรถเป็น(แคร่รถ) ยานสายแทร็คพานขับเคลื่อนด้วยชุดล้อหน้า เครื่องยนต์ดีเซล เอ็มทียู เอ็มที-881 เคเอ-500 ดีเซล8สูบ เทอร์โบซุปเปอร์ชาร์จ ระบบหัวฉีดไดเร็คอินเจ็คชั่น กำลังเครื่องยนต์ 986แรงม้า อัตราขับ 17.83แรงม้าต่อตัน ระบบรองรับน้ำหนักแบบ ทอร์ชั่นบาร์ ชุดเกียร์แบบ เอชเอสดับบิวแอล 284 ซี ขอบริษัท เรคท์ 4เกียร์ เดินหน้า 2เกียร์ถอยหลัง ล้อขับแทร็คสายพาน12ฟันเฟือง ให้ความเร็วสูงสุด 60ก.ม. บนถนน และ 45 ก.ม.ในพื้นที่ภูมิประเทศ ระยะปฏิบัติการไกล 420 ก.ม. พร้อมเชื้อเพลิงเต็มถัง240ลิตรเดินทางได้ไกล100ก.ม. สามารถไต่มุมลาดเอียงได้ 30องศา ข้ามสิ่งกีดขวาง 1.1 เมตร ลุยน้ำได้ลึก 1.5 เมตร ข้ามคูกว้าง 3เมตรได้ น้ำหนักพร้อมรบสูงสุด 55.3 ตัน ทำงานพร้อมรถลำเลียงกระสุนแบบ สตาแน็ก 2832 บีปืนใหญ่อัตราจร Caesar 155mm Self-Propelled Artillery System
ปืนใหญ่อัตราจร ซีซาร์ (Caesar) เป็นปืนใหญ่อัตราจรขนาด 155 ม.ม. ติดตั้งบนรถบรรทุกล้อยาง 6x6 ล้อ ซึ่งจัดเป็น ปืนใหญ่เคลื่อนที่แบบนึงที่ดีที่สุดในโลกเลยทีเดียว และก่อให้เกิดปืนใหญ่อัตราจรแบบที่คล้ายกันในหลายประเทศ โดยมีข้อดีคือมีความคล่องตัวสูงกว่าปืนใหญ่ที่ใช้รถสายพาน ซึ่งเหมาะกับประเทศมีถนนเข้าถึงหลายจุด จึงเข้าที่ตั้งยิงได้รวดเร็ว
ซีซาร์นั้นผลิตโดยความร่วมมือ2บริษัทคือ ตัวปืนใหญ่พัฒนาโดย เกียต ( GIAT)และ Lohr Industrie ของประเทศฝรั่งเศส โครงการทดแทน ปืนใหญ่อัตราจรรุ่นเก่าแบบ F3 self-propelled howitzer 155 m.m. ที่ใช้งานมานาน ซีซาร์เริ่มพัฒนาในปี 1996 ตามแผนพัฒนาอาวุธยิงสนับสนุนเคลื่อนที่เร็วตามความต้องการของกองทัพบกฝรั่งเศส ซึ่งมีแผนส่งมอบ5ระบบแรกให้กองทัพในปี2003เพื่อทำการประเมินผล ได้รับสัญญาจ้างผลิตในเดือนธันวาคม ปี 2004 และเข้าสู่สายการผลิตในเดือนมิถุนายน 2006 ซึ่ง72ระบบผลิตให้กับกองทัพบกฝรั่งเศสเพื่อทดแทนปืนใหญ่ TRF-1รุ่นเก่า ในเดือนเมษายนปี2007 ซีซาร์ระบบแรกถูกนำไปทดลองยิงและปฏิบัติงานงานและอีก7ระบบถูกผลิตในปี2008และจะส่งมอบให้ครบ 72ระบบภายในปี 2011 และส่งออกให้กับกองทัพบกไทย6ระบบ (ชาติแรกเลยนะนี่) และซาอุดิอาราเบีย 80ระบบ โดยสั่งซื้อพร้อมกันในปี2006 และได้รับการส่งมอบภายในปี2009-11 นอกจากนั้นยังถูกนำไปจัดแสดงงานอาวุธที่มาเลเซีย(ซึ่งมาเลเซียก็ได้จัดหาไว้จำนวนนึง)และอเมริกา
โดย ซาอุฯเลือกติดตั้งบนรถลำเลียงล้อยาง6x6ล้อแบบ Mercedes-Benz Unimog ส่วนประเทศไทยใช้แบบเดียวกับกอบทัพบกฝรั่งเศสติดตั้งบนรถลำเลียงล้อยาง Renault Sherpa 5 6x6 โดยสามารถทำความเร็วบนถนนได้ 100ก.ม./ช.ม.และความเร็วเดินทาง 50ก.ม./ช.ม. ระยะทำการ600ก.ม. เครื่องยนต์ดีเซล240แรงม้า อัตราขับ13.6แรงม้า/ตัน
ซีซาร์ใช้พลประจำรถ6นาย ตัวรถสามารถนำกระสุนไปได้16นัดด้วยกัน ปืนใหญ่ขนาด155 ม.ม./52คาลิเบอร์ อัตรายิงสูงสุดคือ6นัด/นาที(3นัดใช้เวลาเพียง15วินาที) ยิงได้ไกลถึง 42 ก.ม. ปืนมีมุมยิงที่0-60องศา มุมส่าย30องศา(15องศาซ้าย-ขวา) และมีระบบการคำนวณเตรียมการยิงที่รวดเร็ว ซึ่งระบบควบคุมการยิงด้วยFAST-Hitคอมพิวเตอร์ ระบบแผนที่ดาวเทียม SAGEM Sigma 30 ระบบควบคุมการยิง/ค้นหาเป้าหมายด้วยเรดาห์ ROB4 muzzle สำหรับโจมตีเป้าหมายในทะเล ทำการรบได้ทุกสภาพพื้นที่ ซีซาร์มีระบบสั่งการรวมที่เรียกว่า C4I ( command, control, communications and intelligence) ระบบการทำงานที่เรียกว่า onboard terminals ใช้การสื่อสารแบบเรียล์ไทม์ จัดลำดับเป้าหมายที่ต้องการทำการยิงที่ตั้งไว้และการยิงตามการร้องขอตามเป้าหมายที่หลากหลาย การควบคุมตัวปืนด้วยระบบไฮโดรลิคและระบบการยิงกึ่งอัตโนมัติ สามารถเตรียมการยิงได้น้อยกว่า1นาที
ตัวปืนสามารถใช้กระสุนยิงได้หลายแบบตามแต่ชนิดของเป้าหมาย เช่น กระสุนแบบ EFP ยิงได้ไกล34ก.ม.ซึ่งจะแตกออกกระจายสู่เป้าหมายสำหรับทำลายกลุ่มยานเกราะ(เจาะด้านบนของหลังคา) หากใช้กระสุนส่งสำหรับหัวระเบิดแรงสูงยิงได้ไกล42ก.ม.
ตัวรถซีซาร์สามารถลำเลียงทางอากาศด้วย เครื่องบินลำเลียงขนาดหนักเช่น C-130 ได้ด้วย ซึ่งในรุ่นที่ต้องการลำเลียงทางอากาศจะลดน้ำหนักเหลือ 16.2ตัน ในรุ่นมาตราฐานนั้นหนัก18.5ตัน
รถในคลาสเดียวกัน SH-1จีน,DANA-152เชคฯ,ATMOS-2000อิสราเอล, Semserคาซัคสถาน,ATORMโรมาเนีย,NORA B-52เซอร์เบีย,G-6/6 52 และ T-5-52 แอฟริกาใต้,Archerสวีเดน
...BEREG A-222 ปืนใหญ่ป้องกันฝั่งของรัสเซีย....ระบบ เบเรค เอ222 เป็นปืนใหญ่อัตตราจร ขนาด130ม.ม. หน้าที่หลักใช้ยิงป้องกันฝั่งจากเรือต่างๆ เช่นเรือยกพลขึ้นบก เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้ยิงเป้าหมายทางพื้นดินทั่วไปก็ได้ พิสัยยิงที่ 20-35 ก.ม. ผ่านการหาที่ตั้งโดยเรดาห์ สามารถพร้อมยิงภายในเวลา3นาที และทำการยิงได้ทุกสภาพอากาศ และภายใต้สงครามอิเล็คทรอนิค
...ปืนใหญ่หลัก 130 ม.ม.54คาลิเบอร์ รุ่น เอเค-130(บล็อคปืน แซดไอเอฟ-94)หรือ เอ-222เอส1 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่ติดตั้งเป็นปืนเรือชั้น โซเวนเมนี่ สลาวา สามารถตั้งมุมยิงสูงสุดได้ 50องศาและต่ำสุด -5 องศา มุมส่ายของปืนรวมได้120องศา ทำการยิงได้สูงสุด12นัดต่อนาที ดินระเบิดในกระสุน1นัดหนัก 12.9กก. สร้างแรงดันในลำกล้อง 3.15ตัน/ตร.ซ.ม. ความเร็วจากปากลำกล้องถึงเป้าหมาย 930ก.ม./วินาที ระยะยิง 27.3ก.ม. โดยสามารถพากระสุนไปได้ 40นัดต่อคัน กระสุนหนัก 34กก.
....ตัวรถนั้นสามารถทำการรบได้ต่อเนื่อง7วัน โดยมีห้องครัวที่ตัวรถควบคุมด้วย นอกจากนั้นยังมีปืนกล พีเคที ขนาด 7.62 ม.ม.ใช้ยิงป้องกันตัวรถ น้ำหนักของรถที่ 43.7ตันใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาดความจุ 525ลิตร สามารถทำความเร็วได้ 63ก.ม./ช.ม.
....การทำการยิงนั้นสามารถยิงจากการชี้เป้าโดย เลเซอร์ชี้เป้า ฮ.ตรวจการทางทะเลและดาวเทียม นอกจากนั้นยังทำการเล็งยิงด้วยสายตาผ่านกล้อง ในการเล็งใส่เป้าหมายโดยตรง การทำการยิงใช้รถรุ่น เอ็มเอแซด-543เอ็ม ขนาด 8ล้อ จำนวน3คัน ซึ่งจะมีรถบรรทุกปืนใหญ่1คัน เรดาห์ ตรวจการณ์ และระบบควบคุมการยิง อย่างล่ะ1คัน ใช้ระบบควบคุมการยิงแบบ บีอาร์136 ซึ่งประกอบด้วยเรดาห์และ ทีวี ใช้รายงานผลและตรวจสอบเป้าหมายในทะเล ซึ่งสามารถให้ปืนใหญ่ยิงเป้าหมายที่เรดาห์และสามรถตรวจจับได้และไม่สามารถตรวจจับได้ โดยการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ คือสามารถทำการยิงโดยการควบคุมโดยเรดาห์ คือยิงเป้าหมายที่เรดาห์ตรวจจับอัตโนมัติ และ ควบคุมการยิงด้วยพลประจำรถก็ได้
Nona SPG-120m.m.
Nona-s (โนนา-เอส ) เป็นปืน ค.อัตราจรขนาดหนัก 120 ม.ม. ติดตั้งบนยานลำเลียงพล ของกองทัพรัสเซียเริ่มนำออกมาใช้ช่วงทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ใช้ออกรบเช่นในตอนบุกอัฟกานิสถาน หรือ โจมตีกองโจรเชเชน เป็นต้น แผนแบบเป็นยานเกราะน้ำหนักเบาสามารถทำการยิงด้วยพลประจำเพียง2นาย ใช้ส่งกำลังทางอากาศด้วยเครื่องบินลำเลียงขนาดหนักได้
2เอส9 โนนา-เอส บรรจุเข้าสู่กองทัพบกรัสเซียในปี1981 เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 1985 นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนายุทธวิถีในการเสริมกำลังรบให้ทหารพลร่มด้วยอาวุธหนักในการทำลายเป้าหมายนอกจากยานเกราะติดเพียงปืนกลหนักเท่านั้น ซึ่งก้ได้มีการนำเข้าไปใช้ทำการรบในอัฟกานิสถานในระหว่างทศวรรษที่ 1980 นั้นเอง (ช่วงนี้รัสเซียหรือสหภาพโซเวียตนำของมาทดลองในสมรภูมิอัพกัน เยอะ เหมือนอเมริกาตะลุยเวียดนาม อ่าวเปอร์เซีย )
ตัวรถเป็น รถลำเลียงพลสายพานแบบ บีทีอาร์-ดี มาดัดแปลงโดย โวโกกราด แทร็คเตอร์ แพล์ท ใช้ชื่อแผนแบบดัดแปลง เอสโอ-120 น้ำหนักพร้อมรบสูงสุดเพิ่มเป็น 8.5 ตัน พลประจำ4นาย โดยเครื่องยนต์ดีเซล 5ดี-20 6สูบวี 4จังหวะ 240แรงม้า ทำความเร็วได้60ก.ม./ช.ม. และความเร็วในน้ำ 10 ก.ม./ช.ม. ไต่ทางชัน60องศา เอียงข้างอีก30องศา ข้ามคูกว้าง2เมตร ข้ามลำน้ำ 0.7 เมตร ซึ่งทำให้มีความอ่อนตัวในการทำการรบสูงสุด เพราะขนส่งทางอากาศก็ได้ ลงน้ำได้อีก
ป้อมปืนติดตั้งปืน ค.บรรจุท้ายลำกล้อง แบบ 2เอ60 ขนาด 120 ม.ม. 24.2คาลิเบอร์ ระยะยิงสูงสุด 12.8 ก.ม. อัตรายิงสูงสุด 6-8 นัด/นาที ลำกล้องทำมุมยิงได้ที่ -4 ถึง+80 องศา พร้อมกระสุนทั้งหมด 25 นัด แต่รุ่น 2เอส9-1 บรรทุกได้สูงสุด40นัด ซึ่งอัพเกรดในปี1988 โดยกระสุนที่มีระยะยิงไกลที่สุดคือ เอชอีเอ็มอาร์พี
ในด้านการขนส่งทางอากาศ สามารถทิ้งที่ระดับความสูง 300-1500 เมตร โดยติดร่มแบบ พีอาร์เอสเอ็ม-195 ซึ่งเป็นร่มหน่วงทิ้งอาวุธขนาดใหญ่พร้อมเบาะลมและไอพ่นหน่วงความเร็วตกสู่พื้น ลำเลียงด้วยเครื่องบินลำเลียงขนาดหนักแบบ แอลโตนอฟ-22/32 และ อิล-76 โดย อิล-76 สามารถลำเลียงได้ถึง3คัน
หลังจากเปิดตัว โนนา-เอส ไปได้มีการพัฒนาโดยบริษัท มอโตลิวิค่า แพลน์ท คอร์เปอเรชั่น ของรัสเซีย ชื่อว่าระบบ โนนา-เอสวีเค ในราวๆปี1984และเปิดตัวในปี1994 โดยติดตั้งกับยานเกราะล้อยางแบบ บีทีอาร์-80 ใช้ชื่อว่า 2เอส23 ระยะยิงหวังผล 8ก.ม. และไกลสุด 12.8 ก.ม. ใช้แผนการออกแบบระบบ ปืนค.ที่ผลิตโดย ทอมสัน ของ ฝรั่งเศส รุ่นเอ็ม-120 อาร์ที-61 ขนาด120ม.ม.ซึ่งรัสเซียเรียกว่ารุ่น 2เอ-60 สามารถยิงได้ถึง10นัด/นาที ด้วยระบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ อื่นๆก็หลังคาป้อมมีกล้องอินฟาเรดสำหรับตรวจการณ์และเล็งยิงรุ่น ทีเคดี-3เอ หลักๆคือความคล่องตัวมากขึ้นคือ ทำความเร็วได้บนถนน 70ก.ม./ช.ม. สภาพพื้นที่ป่าเขา 40ก.ม./ช.ม. และมีระบบป้องกันตัวที่ดีขึ้นด้วยเครื่องยิงลูกระเบิดควัน และการทำการรบใต้สภาวะสงคามเคมี-นิวเคลียร์-ชีวะ และทนแรงระเบิดของกระสุนขนาด 152-155 ม.ม. ที่มาระเบิดใกล้ๆได้
2s-23
และในปี1996 ได้ผลิตออกมาอีก1รุ่นโดยบริษัทเดียวกัน ใช้ตัวยานเกราะสายพานแบบ บีเอ็มพี-3 ซึ่งเป็นยานเกราะที่มีขนาดมิติที่ใหญ่กว่า บีทีอาร์-ดี เกราะหนา เครื่องยนต์มีกำลังสูง ชื่อว่า 2เอส-31 วีน่า หลักๆคือติดตั้งปืนค.ขนาด120 ม.ม. รุ่น 2เอ-80 ที่มีลำกล้องยาวกว่ารุ่น2เอ-51 อัตราการยิงก็พอๆกัน แต่มีระยะยิงไกลสุดถึง13 ก.ม. นอกจากนั้นยังใช้กระสุนนำวิถีด้วยเลเซอร์แบบ คิโตลอฟ-2เอ็ม ที่มีความแม่นยำสูง โดย วีน่า นั้นสามารถนำกระสุนไปได้ทั้งหมด70นัด มีระบบการเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อทำการยิงระหว่างคันต่อคันในระยะ8ก.ม.
2s31
ภาพขณะทิ้งร่มครับ
ปืนใหญ่อัตราจร PzH 2000 ของ เยอรมัน
Panzerhaubitze 2000
ปืนใหญ่อัตราจร พีแซดเอช-2000 (แพนเซอร์เฮาบิทเซ่-2000 ) เป็นปืนใหญ่อัตราจรสายพานขนาด155 ม.ม. แบบหลักในปัจจุบันของกองทัพบกเยอรมัน ผลิตโดยบริษัท Krauss-Maffei Wegmann (KMW) และ Rheinmetall จัดเป็นปืนใหญ่อัตราจรที่ประสิทธิภาพค่อนข้างจะสูง(มาก) ด้วยอัตราการยิงที่เร็วและระยะยิงไกล ได้รับการจัดหาเข้าประจำการในกองทัพบก เยอรมัน อิตาลี เนเธอแลนด์ และ กรีซ เพื่อทดแทนปืนใหญ่อัตราจร M-109 ที่ผลิตโดยอเมริกา
M-109 มีใช้กันหลายชาติ
หลักจากยุติโครงการ ปืนใหญ่อัตราจร ความร่วมมือ3ชาติคือ อิตาลี เยอรมัน อังกฤษ ในปี 1986 ภายใต้โครงการ SP-70 หรือ Pzh 155-1 อันมีผลมาจากการออกแบบ และ ตัวรถที่นำมารองรับป้อมปืนใหญ่ รวมถึงมาตราฐานการกำหนดขนาดปืนใหญ่ของกองทัพบกอังกฤษและเยอรมัน เป็นต้น โดยเยอรมันจึงได้พัฒนาต่อแลปรับปรุงแผนแบบใหม่กำหนดเป็น พีแซดเอช-2000หรือ พีแซดเอช-155-2 และเริ่มทำการทดสอบในปี 1993 โดยพัฒนา JBMOU เกี่ยวกับระบบควบคุมการยิงและขีปนวิถีของกระสุน โดย เวคมันท์ เคเอ็มดับบิว ได้รับเลือกไป แผนพัฒนาป้อมปืน พีแซดเอช-2000 โดย เวคมันท์ เริ่มในเดือน มีนาคม ปี 1996 จำนวนผลิต 185 ป้อม ส่งให้ ไรเมนทัล ทำการประกอบร่วมกับกระบอกปืนใหญ่ บริษัท โอลลี่เวล เมนทัล ทำการประกอบป้อมปืนกับตัวรถอีกทีนึง ในช่วงเดือน กรกฎาคม 1998 มีการสั่งผลิตจำนวน450คันและถูกปรับลดลงเหลือ260คัน ซึ่งกองทัพบกเยอรมันกำหนดแผนเข้าประจำการจำนวน 238 ได้รับเลือกจากชาติอื่นๆเช่น อิตาลี กรีซ ฮอลแลนด์ นอกจากนั้นยังคาดกันว่าในอนาคตจะมีอีก2ชาติที่จะสั่งไปใช้งานคือ โครเอเชียและเม็กซิโก
PzH 155-1 หรือ SP-70
โดยปืนใหญ่ที่ส่งมอบ ให้อิตาลี นั้นผลิตในอิตาลีจำนวน68ระบบ ซึ่งบริษัท เวคมันท์ ส่งมอบจำนวน2ระบบในปี 2002 และอีก68ระบบ ผลิตโดยบริษัท คอนเซาลิโอ-เลคโอ่ ออโต้ เมราร่า ของอิตาลี และทำการส่งมอบ ในเดือนมิถุนายน ปี2007 รวมถึงส่งมอบอุปกรณ์อื่นๆในเดือนตุลาคม 2008 ซึ่งเสร็จสิ้นการส่งมอบให้กองทัพบกอิตาลีในปี2009
กองทัพบกฮอลแลนด์ สั่งซื้อจำนวน 57ระบบพร้อมกับอิตาลี และถูกปรับลดลงเหลือ39ระบบในภายหลัง(จะ40ระบบก็ไม่ได้เนาะ) ในจำนวนนี้ 18ระบบที่ผลิตให้กองทัพบกดัตท์ ถูกเสนอให้กองทัพบกออสเตรเลีย แต่ถูกปฏิเสธ โดยในปี 2006 เดือนกันยายน ฮอลแลนด์ส่ง พีแซดเอช-2000 จำนวน3ระบบเข้าไปในอัพกานิสถานเพื่อทำการโจมตีกองโจรตาลีบัน ในยุทธการ เมดูซ่า ทำการยิงสนับสนุนในระยะ 30 ก.ม. แก่กองกำลังพันธมิตร
กองทัพบกกรีซ ทำการสั่งซ์อจำนวน24ระบบ และได้รับการส่งมอบในเดือนกรกฎาคม 2003-มิถุนายน 2004
ป้อมปืน
พลประจำรถมี5นาย ผ.บ./พลขับ/พลปืน/บรรจุกระสุน2นาย หากทำงานด้วยระบบอัตโนมัติใช้พล2นายคือ ผ.บ.และพลขับ สั่งการยิงและโหลดกระสุนด้วยคอมพิวเตอร์ ป้อมปืนนั้นเกราะทำด้วยเหล็กกล้าสามารถป้องกันปืนกลหนักขนาด 14.5 ม.ม. ได้ หรือกระสุนปืนต่ำกว่าขนาด14.5 ม.ม.ลงมา รวมถึงสะเก็ดระเบิด สร้างความปลอดภัยให้กับพลประจำรถภายในทั้งด้านข้างและด้านบน หลังคาป้อมเสริมเกราะเพื่อป้องกันกระสุนหรือลูกระเบิดวิถีโค้ง หลังคาป้อมเองยังออกแบบให้เป็นมุมโค้งลาดเอียง เพื่อให้เกิดการสะท้อนและลดอำนาจการเจาะของกระสุนที่ถูกยิงมา นอกจากนั้นยังสามารถป้องกันพลประจำรถในสภาวะสงครามนิวเคลียร์ เคมี ชีวะ อีกด้วยเช่นกันหรือทำการรบในสภาวะอากาศ -30 องศา หรือ +51 องศา ก็ได้เช่นกัน หลังคาป้อมมีปืนกล เอ็มจี-3 ขนาด 7.62 ม.ม. กระสุน 1-2000 นัด
ระบบไฟฟ้าภายในสำหรับทำการควบคุมป้อมปืนทั้งเซมิ-ออโต้(ด้วยพลประจำ) หรือ ออโต้(คอมพิวเตอร์ควบคุม)แบบ อีเอสดับบิว เอ็กซ์เทล ซิสเต็ม เป็นไฟกระแสตรงจ่ายให้คอมพิวเตอร์รวมถึงมีระบบการสำรองไฟอีกด้วยเช่นกัน ใช้เวลาเซ็ทอัพระบบใหม่หากเกิดการขัดข้อง 30 วินาที ระบบดับเพลิงภายในของบริษัท คีทด์ แอร์โรว์สเปซ
ระบบควบคุมการยิงด้วยคอมพิวเตอร์แบบ เอ็มไอซีเอ็มโอเอส โดยบริษัท เดมเลอร์-ไครเลอร์ แอร์โรว์สเปซ ซึ่งเป็นแบบอัตโนมัติทั้งหมด สามารถทำการรบด้วยพลประจำรถเพียง2คน เช่นบรรจุกระสุนอัตโนมัติ คอมพิวเตอร์ควบคุมขีปนวิถี วิทยุและระบบลิงซ์เชื่อมต่อในการกำหนดโจมตีเป้าหมายพร้อมกัน พร้อมด้วยแผนที่ดาวเทียม ระบบเชื่อมโยงข้อมูลเป้าหมายและสัญญาณเรดาห์สำหรับตรวจจับภาคพื้นดินที่ส่งมาเพื่อทำการยิงแบบ เอ็มอาร์เอสไอ ทำหน้าที่บันทึกเป้าหมาย ทิศทาง/ระยะยิง การโหลดกระสุน ให้พอดีกับเป้าหมายโดยเฉพาะเป้าหมายเคลื่อนที่ ที่ต้องการต่อตีอย่างรวดเร็วแม่นยำ ซึ่งมีใช้ในปืนใหญ่แบบ ดาเนล จี-6-52 ของแอฟริกาใต้ รวมถึงปืนใหญ่รุ่นใหม่แบบอาร์เชอร์ของสวีเดน
นอกจากนั้นยังมีกล้องเพอริสโคบสำหรับมองจากภายในป้อมปืนยังภายนอกแบบ ลิค่า พีอีอาร์ไอ-อาร์ทีเอ็นแอล80 พาโนรามิค ใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนด้วยโหมดจอแสดงภาพสำหรับค้นหาเป้าหมายและตรวจการณ์ นอกจากนั้นยังมีเลเซอร์วัดระยะ กล้องเล็งยิงปืนทั้งยิงตรงและยิงจำลอง รุ่น พีแซดเอฟ ทีเอ็น-80 สามารถทำการเล็งยิงได้ทั้งกลางวันกลางคืน กล้องสำหรับพลขับมองในเวลากลางคืนแบบ ทีออน-เซ็นเซอร์ เอสเอ กล้องเล็งยิง หาพิกัดเป้าหมาย ทั้งกลางวัน/กลางคืน ของ เว็คโทรนิค
ปืนใหญ่ขนาด155 ม.ม. แอล52 คาลิเบอร์ ยาว8 เมตร พร้อมกระสุน60นัดในตัวรถ ใช้โครเมี่ยมเคลือบลำกล้องพร้อมปลอกลดแรงถอย ผลิตโดยบริษัท ไรเมทัล ระบบการบรรจุกระสุนอัตโนมัติด้วยไฮโดรลิคการทำงานความเร็วสูงสุดหรือบรรจุด้วยพลประจำ ปืนมีมุมเงยสูงสุด65องศา มุมกด-2.5องศา ป้อมปืนทำการยิงได้360องศา การทดสอบยิงในเดือนตุลาคม 1997 อัตราการยิงสูงสุด 10นัดต่อนาที เฉลี่ยอัตราการยิง 3นัด 9.2-10 วินาที 8นัด 42.9 วินาที (10นัดก็59.74วินาทีนิดๆ) 20นัดภายในเวลา 2นาที 30วินาที ซึ่งมากพอจะโจมตีเป้าหมายหลายๆแห่งพร้อมกันได้ ซึ่งในการทำสอบยิงนั้นทำด้วยการควบคุมด้วยพลประจำเพียง2นายเท่านั้น นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มพลช่วยบรรจุกระสุนได้อีก2-3นาย ในกรณีระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติเสียหาย
กระสุนที่ใช้
ระยะยิงมาตราฐานนาโต้ด้วยกระสุนหัวระเบิดแรงสูง แบบ แอล15เอ2 ที่30 ก.ม. 1นัดหนัก 43.5 กิโลกรัม ซึ่งเป็นกระสุนแรกเริ่มที่จะกำหนดให้ใช้กับ พีแซดเอช-155-1 ที่ยกเลิกโครงการไป ซึ่งผลิตในอังกฤษ ในเยอรมันเรียกว่า ดีเอ็ม-111 ดินส่งกระสุนแบบ ดีเอ็ม-72/92 ของ ไนโตรเชม/ไรเมนทัล
กระสุน เอชอี อาร์เอช-40 บีบี ระยะยิงไกล 40 ก.ม.
ดีเอ็ม-702 เป็นกระสุนอีก1รุ่นที่ มีความแม่นยำสูงสุด ระยะยิง27 ก.ม. หัวระเบิดแรงสูง นำวิถีเข้าหาเป้าหมายด้วยการทำงานร่วมกับ อินฟาเรดกับคลื่นสัญญาณเรดาห์ สามารถทำการยิงโจมตีเป้าหมายได้ทุกสภาพอากาศ
กระสุนควัน แบบ ดีเอ็ม-58 และ กระสุน พลุส่องสว่าง ดีเอ็ม-106 ทำงานเหนือพื้น600 เมตร รัศมี 800 เมตร ความเร็วในการตกถึงพื้น 5เมตร/วินาที ความสว่าง 1.8 ล้านแรงเทียน
ในปี2001 เดือนพฤศภาคม กองทัพบกกรีซ ทดสอบยิง พีแซดเอช-2000 ด้วยกระสุนปืนที่ผลิตในแอฟริการุ่น เอ็ม2000บีบี ของ บริษัท นาสเชม/ดาเนล ซึ่งมีระยะยิงหวังผลได้ถึง 40 ก.ม. เลยทีเดียวจำนวนยิงถึง 20นัด ในปี2002เดือนพฤศจิกายน บริษัทไรเมนทัล ทดสอบยิงกระสุน ดีเอ็ม72และ อาร์เอช-40บีบี ซึ่งเป็นกระสุนระยะยิงไกล ในสวีเดน
ตัวรถ
ตัวรถเป็น(แคร่รถ) ยานสายแทร็คพานขับเคลื่อนด้วยชุดล้อหน้า เครื่องยนต์ดีเซล เอ็มทียู เอ็มที-881 เคเอ-500 ดีเซล8สูบ เทอร์โบซุปเปอร์ชาร์จ ระบบหัวฉีดไดเร็คอินเจ็คชั่น กำลังเครื่องยนต์ 986แรงม้า อัตราขับ 17.83แรงม้าต่อตัน ระบบรองรับน้ำหนักแบบ ทอร์ชั่นบาร์ ชุดเกียร์แบบ เอชเอสดับบิวแอล 284 ซี ขอบริษัท เรคท์ 4เกียร์ เดินหน้า 2เกียร์ถอยหลัง ล้อขับแทร็คสายพาน12ฟันเฟือง ให้ความเร็วสูงสุด 60ก.ม. บนถนน และ 45 ก.ม.ในพื้นที่ภูมิประเทศ ระยะปฏิบัติการไกล 420 ก.ม. พร้อมเชื้อเพลิงเต็มถัง240ลิตรเดินทางได้ไกล100ก.ม. สามารถไต่มุมลาดเอียงได้ 30องศา ข้ามสิ่งกีดขวาง 1.1 เมตร ลุยน้ำได้ลึก 1.5 เมตร ข้ามคูกว้าง 3เมตรได้ น้ำหนักพร้อมรบสูงสุด 55.3 ตัน ทำงานพร้อมรถลำเลียงกระสุนแบบ สตาแน็ก 2832 บีปืนใหญ่อัตราจร Caesar 155mm Self-Propelled Artillery System
ปืนใหญ่อัตราจร ซีซาร์ (Caesar) เป็นปืนใหญ่อัตราจรขนาด 155 ม.ม. ติดตั้งบนรถบรรทุกล้อยาง 6x6 ล้อ ซึ่งจัดเป็น ปืนใหญ่เคลื่อนที่แบบนึงที่ดีที่สุดในโลกเลยทีเดียว และก่อให้เกิดปืนใหญ่อัตราจรแบบที่คล้ายกันในหลายประเทศ โดยมีข้อดีคือมีความคล่องตัวสูงกว่าปืนใหญ่ที่ใช้รถสายพาน ซึ่งเหมาะกับประเทศมีถนนเข้าถึงหลายจุด จึงเข้าที่ตั้งยิงได้รวดเร็ว
ซีซาร์นั้นผลิตโดยความร่วมมือ2บริษัทคือ ตัวปืนใหญ่พัฒนาโดย เกียต ( GIAT)และ Lohr Industrie ของประเทศฝรั่งเศส โครงการทดแทน ปืนใหญ่อัตราจรรุ่นเก่าแบบ F3 self-propelled howitzer 155 m.m. ที่ใช้งานมานาน ซีซาร์เริ่มพัฒนาในปี 1996 ตามแผนพัฒนาอาวุธยิงสนับสนุนเคลื่อนที่เร็วตามความต้องการของกองทัพบกฝรั่งเศส ซึ่งมีแผนส่งมอบ5ระบบแรกให้กองทัพในปี2003เพื่อทำการประเมินผล ได้รับสัญญาจ้างผลิตในเดือนธันวาคม ปี 2004 และเข้าสู่สายการผลิตในเดือนมิถุนายน 2006 ซึ่ง72ระบบผลิตให้กับกองทัพบกฝรั่งเศสเพื่อทดแทนปืนใหญ่ TRF-1รุ่นเก่า ในเดือนเมษายนปี2007 ซีซาร์ระบบแรกถูกนำไปทดลองยิงและปฏิบัติงานงานและอีก7ระบบถูกผลิตในปี2008และจะส่งมอบให้ครบ 72ระบบภายในปี 2011 และส่งออกให้กับกองทัพบกไทย6ระบบ (ชาติแรกเลยนะนี่) และซาอุดิอาราเบีย 80ระบบ โดยสั่งซื้อพร้อมกันในปี2006 และได้รับการส่งมอบภายในปี2009-11 นอกจากนั้นยังถูกนำไปจัดแสดงงานอาวุธที่มาเลเซีย(ซึ่งมาเลเซียก็ได้จัดหาไว้จำนวนนึง)และอเมริกา
โดย ซาอุฯเลือกติดตั้งบนรถลำเลียงล้อยาง6x6ล้อแบบ Mercedes-Benz Unimog ส่วนประเทศไทยใช้แบบเดียวกับกอบทัพบกฝรั่งเศสติดตั้งบนรถลำเลียงล้อยาง Renault Sherpa 5 6x6 โดยสามารถทำความเร็วบนถนนได้ 100ก.ม./ช.ม.และความเร็วเดินทาง 50ก.ม./ช.ม. ระยะทำการ600ก.ม. เครื่องยนต์ดีเซล240แรงม้า อัตราขับ13.6แรงม้า/ตัน
ซีซาร์ใช้พลประจำรถ6นาย ตัวรถสามารถนำกระสุนไปได้16นัดด้วยกัน ปืนใหญ่ขนาด155 ม.ม./52คาลิเบอร์ อัตรายิงสูงสุดคือ6นัด/นาที(3นัดใช้เวลาเพียง15วินาที) ยิงได้ไกลถึง 42 ก.ม. ปืนมีมุมยิงที่0-60องศา มุมส่าย30องศา(15องศาซ้าย-ขวา) และมีระบบการคำนวณเตรียมการยิงที่รวดเร็ว ซึ่งระบบควบคุมการยิงด้วยFAST-Hitคอมพิวเตอร์ ระบบแผนที่ดาวเทียม SAGEM Sigma 30 ระบบควบคุมการยิง/ค้นหาเป้าหมายด้วยเรดาห์ ROB4 muzzle สำหรับโจมตีเป้าหมายในทะเล ทำการรบได้ทุกสภาพพื้นที่ ซีซาร์มีระบบสั่งการรวมที่เรียกว่า C4I ( command, control, communications and intelligence) ระบบการทำงานที่เรียกว่า onboard terminals ใช้การสื่อสารแบบเรียล์ไทม์ จัดลำดับเป้าหมายที่ต้องการทำการยิงที่ตั้งไว้และการยิงตามการร้องขอตามเป้าหมายที่หลากหลาย การควบคุมตัวปืนด้วยระบบไฮโดรลิคและระบบการยิงกึ่งอัตโนมัติ สามารถเตรียมการยิงได้น้อยกว่า1นาที
ตัวปืนสามารถใช้กระสุนยิงได้หลายแบบตามแต่ชนิดของเป้าหมาย เช่น กระสุนแบบ EFP ยิงได้ไกล34ก.ม.ซึ่งจะแตกออกกระจายสู่เป้าหมายสำหรับทำลายกลุ่มยานเกราะ(เจาะด้านบนของหลังคา) หากใช้กระสุนส่งสำหรับหัวระเบิดแรงสูงยิงได้ไกล42ก.ม.
ตัวรถซีซาร์สามารถลำเลียงทางอากาศด้วย เครื่องบินลำเลียงขนาดหนักเช่น C-130 ได้ด้วย ซึ่งในรุ่นที่ต้องการลำเลียงทางอากาศจะลดน้ำหนักเหลือ 16.2ตัน ในรุ่นมาตราฐานนั้นหนัก18.5ตัน
รถในคลาสเดียวกัน SH-1จีน,DANA-152เชคฯ,ATMOS-2000อิสราเอล, Semserคาซัคสถาน,ATORMโรมาเนีย,NORA B-52เซอร์เบีย,G-6/6 52 และ T-5-52 แอฟริกาใต้,Archerสวีเดน
...BEREG A-222 ปืนใหญ่ป้องกันฝั่งของรัสเซีย....ระบบ เบเรค เอ222 เป็นปืนใหญ่อัตตราจร ขนาด130ม.ม. หน้าที่หลักใช้ยิงป้องกันฝั่งจากเรือต่างๆ เช่นเรือยกพลขึ้นบก เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้ยิงเป้าหมายทางพื้นดินทั่วไปก็ได้ พิสัยยิงที่ 20-35 ก.ม. ผ่านการหาที่ตั้งโดยเรดาห์ สามารถพร้อมยิงภายในเวลา3นาที และทำการยิงได้ทุกสภาพอากาศ และภายใต้สงครามอิเล็คทรอนิค
...ปืนใหญ่หลัก 130 ม.ม.54คาลิเบอร์ รุ่น เอเค-130(บล็อคปืน แซดไอเอฟ-94)หรือ เอ-222เอส1 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่ติดตั้งเป็นปืนเรือชั้น โซเวนเมนี่ สลาวา สามารถตั้งมุมยิงสูงสุดได้ 50องศาและต่ำสุด -5 องศา มุมส่ายของปืนรวมได้120องศา ทำการยิงได้สูงสุด12นัดต่อนาที ดินระเบิดในกระสุน1นัดหนัก 12.9กก. สร้างแรงดันในลำกล้อง 3.15ตัน/ตร.ซ.ม. ความเร็วจากปากลำกล้องถึงเป้าหมาย 930ก.ม./วินาที ระยะยิง 27.3ก.ม. โดยสามารถพากระสุนไปได้ 40นัดต่อคัน กระสุนหนัก 34กก.
....ตัวรถนั้นสามารถทำการรบได้ต่อเนื่อง7วัน โดยมีห้องครัวที่ตัวรถควบคุมด้วย นอกจากนั้นยังมีปืนกล พีเคที ขนาด 7.62 ม.ม.ใช้ยิงป้องกันตัวรถ น้ำหนักของรถที่ 43.7ตันใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาดความจุ 525ลิตร สามารถทำความเร็วได้ 63ก.ม./ช.ม.
....การทำการยิงนั้นสามารถยิงจากการชี้เป้าโดย เลเซอร์ชี้เป้า ฮ.ตรวจการทางทะเลและดาวเทียม นอกจากนั้นยังทำการเล็งยิงด้วยสายตาผ่านกล้อง ในการเล็งใส่เป้าหมายโดยตรง การทำการยิงใช้รถรุ่น เอ็มเอแซด-543เอ็ม ขนาด 8ล้อ จำนวน3คัน ซึ่งจะมีรถบรรทุกปืนใหญ่1คัน เรดาห์ ตรวจการณ์ และระบบควบคุมการยิง อย่างล่ะ1คัน ใช้ระบบควบคุมการยิงแบบ บีอาร์136 ซึ่งประกอบด้วยเรดาห์และ ทีวี ใช้รายงานผลและตรวจสอบเป้าหมายในทะเล ซึ่งสามารถให้ปืนใหญ่ยิงเป้าหมายที่เรดาห์และสามรถตรวจจับได้และไม่สามารถตรวจจับได้ โดยการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ คือสามารถทำการยิงโดยการควบคุมโดยเรดาห์ คือยิงเป้าหมายที่เรดาห์ตรวจจับอัตโนมัติ และ ควบคุมการยิงด้วยพลประจำรถก็ได้
ข้อมูลรถสุดเเจ่มที่โจมตีระยะไกล