Suzumiya Haruhi : เรียกเธอว่าพระเจ้า!
"พจนานุกรมฉบับพระเจ้า"
สึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น:Suzumiya Haruhi) เป็นชื่อเรียกนิยายชุดหนึ่ง แต่งโดย นาการุ ทานิกาวะ และวาดภาพประกอบโดย โนอิจิ อิโต ลงตีพิมพ์ในนิตยสารสนีกเกอร์ส ในประเทศญี่ปุ่น นิยายชุด สึซึมิยะ ฮารุฮิ ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นเอซ จากนั้นได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ชิบะ ในปี พ.ศ. 2549 และนำมาฉายซ้ำพร้อมกับฉายตอนที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในปี พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ยังถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนตอนยาวออกฉายในปี พ.ศ. 2553
เนื้อเรื่อง
สึซึมิยะ ฮารุฮิ เป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมปีที่ 4 ผู้ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆรอบตัวจากจิตใต้สำนึกได้โดยที่เธอไม่รู้ตัว เธอได้ก่อตั้งชมรมที่เรียกว่า "หน่วยเอสโอเอส" (SOS dan) ย่อมาจาก "Sekai wo Ooini moriagerutame no Suzumiya Haruhi no dan" แปลว่า "หน่วยของสึซึมิยะ ฮารุฮิ เพื่อทำให้โลกนี้สนุกสนานครื้นเครงยิ่งขึ้น" โดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหาปรากฎการณ์ประหลาดเหนือธรรมชาติ, มนุษย์ต่างดาว, ผู้เดินทางข้ามกาลเวลา, มนุษย์ต่างมิติ และผู้มีพลังพิเศษ ฮารุฮิได้บังคับเคียวน์ เพื่อนร่วมชั้น(ผู้เล่าเรื่อง) และสมาชิกอีกสามคน ได้แก่ หนอนหนังสือไร้อารมณ์ นางาโตะ ยูกิ, สาวน้อยขี้อาย อาซาฮินะ มิคุรุ และ นักเรียนอารมณ์ดีที่ย้ายเข้ามาใหม่ โคอิซึมิ อิซึกิ เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม หลังจากนั้นทั้งสามได้เปิดเผยตัวตนที่แท้จริงแก่เคียวน์ ว่าไม่ได้เป็นมนุษย์ธรรมดาแต่เป็นกลุ่มที่ฮารุฮิกำลังค้นหาอยู่ นั่นคือ มนุษย์ต่างดาว, ผู้เดินทางข้ามกาลเวลา และผู้มีพลังพิเศษ ซึ่งถูกส่งมาจากองค์กรลึกลับต่างๆเพื่อศึกษาสามารถพิเศษของฮารุฮิและยับยั้งฮารุฮิจากการเปลี่ยนแปลงโลกโดยไม่รู้ตัว โดยพยายามทำให้เธอใช้ชีวิตอยู่อย่างคนปกติ
ตัวละครหลักของเรื่อง
สึซึมิยะ ฮารุฮิ
(ญี่ปุ่น:Suzumiya Haruhi)
ให้เสียงโดย อายะ ฮิราโนะ (ญี่ปุ่น) , ศรีอาภา เรือนนาค (ไทย)
สึซึมิยะ ฮารุฮิ เป็นจุดเริ่มต้นทั้งหมดในเรื่อง โดยมีความสนใจในสิ่งเหนือธรรมชาติ มนุษย์ต่างดาว คนที่มาจากโลกอนาคต และผู้มีพลังจิต และมีความสามารถท่างกีฬาเป็นอย่างมาก เรียนเก่ง แต่ด้วยความเป็นคนตรงไปตรงมาก จึงมีอุปนิสัยที่แปลกประหลาด คือ เคียวน์ จนทำให้เธอได้ตั้ง "กองกำลัง SOS"
เคียวน์
(ญี่ปุ่น:Kyon)
ให้เสียงโดย โทโมคาซุ ซุงิตะ (ญี่ปุ่น) , กริน อักษรดี (ไทย)
เคียวน์เป็นเพื่อนร่วมชั้นของฮารุฮิ ซึ่งให้คำแนะนำซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งกองพัน SOS ของฮารุฮิ และถูกบังคับให้เป็นสมาชิกของกองพัน SOS โดยไม่สมัครใจ ทำให้เคียวน์เป็นมนุษย์ธรรมดาเพียงคนเดียวในกลุ่มนี้ ชื่อ "เคียวน์" นั้นไม่ใช่ชื่อจริงแต่เป็นชื่อเล่นที่คุณป้าเรียก โดยที่ชื่อจริงของเคียวน์ยังไม่ปรากฏในเนื้อเรื่อง แต่สิ่งที่เป็นความจริงก็คือ เขาเป็นคนธรรมดา จากคำพูดของตัวละครหลายๆ คน
นางาโตะ ยูกิ
(ญี่ปุ่น:Nagato Yuki)
ให้เสียงโดย มิโนริ จิฮาระ (ญี่ปุ่น) ,
นางาโตะ ยูกิ เป็นสมาชิกของกองหัน SOS เป็นเจ้าของห้องชมรมอักษรที่เหลืออยู่คนสุดท้ายทำให้ถูกบังคับ ให้มาอยู่ในชมรมเพื่อจะได้ใช้ห้องชมรมอักษรเปลื่ยนไปเป็นของ ฮารุฮิแทน ลักษณะตัวละครเป็นคนเงียบๆ อ่านแต่หนังสือ ในเบื้องหลัง ยูกิไม่ใช่มนุษย์ เป็นกลุ่มของข้อมูลที่มีความคิด ทีมาคอยสังเกตการณ์ฮารุฮิ ในตอนต้นของเนื้อเรื่อง ยูกิสวมแว่นตา แต่เลิกสวมไปหลังจากที่เคียวน์บอกว่าถอดแว่นแล้วดูดีกว่า หลังจากเหตุการณ์ที่ต่อสู้กับอาซากุระ เรียวโกะ และเป็นคนที่ทำให้ เวลาเมื่อ3ปีก่อนถูกเปลี่ยนแปลง
อาซาฮินะ มิคุรุ
(ญี่ปุ่น:Asahina Mikuru)
ให้เสียงโดย ยูโกะ โกโต (ญี่ปุ่น) , พนาวรรณ ศรีวะโลสกุล (ไทย)
อาซาฮินะ มิคุรุ เป็นนักเรียนที่ถูกฮารุฮิจับตัวเธอได้ระหว่างที่เธอกำลังอยู่ในห้องเรียน แล้วโดนบังคับให้เธอออกจากชมรมเขียนพู่กันมาเป็นสมาชิกของกองพัน SOS มิคุรุมีนิสัยเป็นคนสุภาพเรียบร้อย ซุ่มซ่าม ขี้กลัว ขี้ตกใจ ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง และไม่สู้คน ทำให้ฮารุฮิสามารถใช้เธอเล่น "แต่งตัวตุ๊กตา" เพื่อแก้เบื่อได้อย่างง่ายดาย เบื้องหลัง มิคุรุถูกส่งมาจากโลกอนาคตเพื่อสืบหาสาเหตุที่ความปั่นป่วนในมิติเวลาในอดีตก่อนสามปีก่อนที่ฮารุฮิจะเข้าโรงเรียนมัธยมปลายได้
โคอิซึมิ อิสึกิ
(ญี่ปุ่น:Koizumi Itsuki)
ให้เสียงโดย ไดซุเกะ โอโนะ (ญี่ปุ่น) ,
โคอิซึมิ อิสึกิ เป็นนักเรียนที่ย้ายเข้ามาเรียน ม.4 โรงเรียนของฮารุฮิหลังจากเปิดเทอมได้ 1 เดือนและถูกฮารุฮิชักชวนให้เข้ากองพัน SOS ทันที โดยปกติ อิสึกิมีหน้าตายิ้มแย้มอยู่เสมอ และเป็นมนุษย์ธรรมดา อิสึกิพร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่งของฮารุฮิทุกอย่างโดยไม่ขัดข้องหรือสงสัย เขามีนิสัยชอบอธิบายเรื่องราวต่างๆ อย่างมีหลักการ เต็มไปด้วยรายละเอียด ยืดยาว ใช้การอุปมาอุปไมยที่เข้าใจยาก และมักจะใช้มือแสดงท่าทางประกอบด้วยเวลาพูด เบื้องหลัง อิทสึกิเป็นหนึ่งในมนุษย์ที่มีพลังเหนือธรรมชาติที่ได้รับพลังเหล่านี้เมื่อ 3 ปีก่อนโดยพวกเขามีหน้าที่ต่อสู้กับ "มนุษย์เทพ"ที่เกิดขึ้นจากการสร้างจากจิตใจของ ฮารุฮิ ซึ่งจะปรากฏตัวในมิติอยู่คู่ขนานกับโลก โดยมี "องค์กร"(the Agency) เป็นผู้ดูแลและสนับสนุนอิสึกิ ในการเก็บข้อมูลของฮารุฮิอีกด้วย
สื่อต่างๆ
นิยาย
แต่งโดย นาการุ ทานิกาวะ และวาดภาพประกอบโดย โนอิจิ อิโต ซึ่งวางจำหน่ายในรูปแบบนิยายยาวและรวมเรื่องสั้น โดยเรื่องสั้นนั้น ตีพิมพ์ลงใน The Sneaker ของ สำนักพิมพ์ คาโดคาว่าโชเท็น ในประเทศญี่ปุ่น สำหรับลิขสิทธิ์ของนิยายในต่างประเทศได้แก่ ใน ไต้หวัน, ฮ่องกง และ จีน ลิขสิทธิ์โดย Kadokawa Media, ในเกาหลีใต้ลิขสิทธิ์โดย Daiwon CI, ในสหรัฐอเมริกาลิขสิทธิ์โดย Little, Brown Books for Young Readers and Yen Press และในประเทศไทย ลิขสิทธิ์โดย สำนักพิมพ์บงกช พับลิชชิ่ง
มังงะ
สำหรับมังงะของสึซึมิยะ ฮารุฮิ นั้นมี 2 แบบ โดยแบบแรก วาดโดย มิซึโนะ มาโคโตะ โดยตีพิมพ์ลงใน Shōnen Ace ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2547 เนื้อเรื่องในมังงะนี้ แตกต่างจากต้นฉบับที่เป็นไลท์โนเวลอย่างมาก และออกฉบับรวมเล่มได้ 1 เล่ม ต่อมา มังงะแบบที่ 2 วาดโดย กาคุ สึงาโนะ เริ่มตีพิมพ์ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 และปัจจุบันยังคงตีพิมพ์อยู่ ออกฉบับรวมเล่มได้ 11 เล่ม
สำหรับมังงะแบบการ์ตูนสี่ช่อง ใช้ชื่อว่า สึซึมิยะ ฮารุฮิจัง (The Melancholy of Haruhi Suzumiya-chan) วาดโดย Puyo โดยเริ่มตีพิมพ์ลงใน Shōnen Ace ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และใน The Sneaker ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และฉบับรวมเล่มเล่มแรกวางจำหน่ายวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เล่มสองวางจำหน่ายวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และมังงะแบบการ์ตูนสี่ช่อง ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดย บงกช พับลิชชิ่ง ส่วนมังงะการ์ตูนสี่ช่อง อื่นๆ ได้แก่ Nyoro~n Churuya-san วาดโดย Eretto (อูทสึระ อูราระกะ) โดยต้นฉบับเดิมมาจากโดจินชิ วางจำหน่ายทั้งหมดสามเล่ม (วางจำหน่ายเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2549, กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550, และ ตุลาคม พ.ศ. 2550) ก่อนที่จะตีพิมพ์ลงใน Comp Ace ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[3][4] และ การหายตัวไปของนางาโตะ ยูกิจัง (ญี่ปุ่น:Nagato Yuki-chan no Shōshitsu The Vanishing of Nagato Yuki chan ?) วาดโดย Puyo โดยเริ่มตีพิมพ์ลงใน Young Ace ของสำนักพิมพ์ Kadokawa Shoten ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
อะนิเมะ
ภาพยนตร์
ในตอนท้ายของตอน Someday in the rain ของอะนิเมะที่นำมาฉายใหม่ ได้มี ทีเซอร์ ประกาศเกี่ยวกับภาพยนตร์อะนิเมะของสึซึมิยะ ฮารุฮิ ใหม่ โดยใช้ชื่อว่า การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น:Suzumiya Haruhi no Shōshitsu 'The Disappearance of Haruhi Suzumiya) โดยมาจากนิยายเล่มที่ 4 ฉายในโรงภาพยนตร์ที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ออดิโอดรามา
ในชุด เรดิโอดรามา นั้นวางจำหน่ายทั้งหมด 3 ชุดโดยในชุดแรกใช้ชื่อว่า SOS Dan Radio Shibu Bangai Hen CD Vol.1 วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดย แลนติส ชุดที่สอง วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549 และชุดที่สาม วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ส่วนดรามาซีดีใช้ชื่อว่า Sound Around วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2550 โดย แลนติส
วิดีโอเกมส์
สำหรับเกมของ สึซึมิยะ ฮารุฮิ นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 เกม เกมแรกคือ
คำสัญญาของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น:Suzumiya Haruhi no Yakusoku The Promise of Haruhi Suzumiya)พัฒนาโดย Namco Bandai Games วางจำหน่ายลงบนเครื่อง เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2550
เกมที่สองคือ ความสับสนของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น:Suzumiya Haruhi no Tomadoi The Perplexity of Haruhi Suzumiya)พัฒนาโดย Banpresto วางจำหน่ายลงบนเครื่อง เพลย์สเตชัน 2 เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551 และมียอดขายวิดีโอเกมในญี่ปุ่นอันดับที่ 95 ประจำปี พ.ศ. 2551 ด้วย โดยยอดขายรวมทั้งหมด 139,425 ชุด
เกมที่สามคือ จังหวะเร้าใจของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น:Suzumiya Haruhi no Gekidō The Excitement of Haruhi Suzumiya) พัฒนาโดย Kadokawa Shoten วางจำหน่ายลงบนเครื่อง วี เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552
เกมที่สี่คือ โลกคู่ขนานของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น:Suzumiya Haruhi no Heiretsu The Parallel of Haruhi Suzumiya) วางจำหน่ายลงบนเครื่อง วี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552
และเกมที่ห้าคือ ลำดับของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (ญี่ปุ่น:Suzumiya Haruhi no Chokuretsu The Series of Haruhi Suzumiya) วางจำหน่ายลงบนเครื่อง นินเทนโด ดีเอส เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552โดย 2 เกมหลังนี้พัฒนาโดย Sega, ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ทางคาโดคาว่า โชเต็น ได้วางจำหน่ายเกม The Day of Sagittarius III ลงใน App Store ของ Apple
รางวัลและความนิยม
รางวัลอะนิเมะประเภท TV Series ยอดเยี่ยม จากงาน Tokyo International Anime Fair (TAF) 2007
รางวัลอะนิเมะทีวีซีรีส์ยอดเยี่ยมและเพลงประกอบยอดเยี่ยม จากงาน Animation Kobe ครั้งที่ 11 ปี 2006
ผลโหวตอะนิเมะยอดเยี่ยมจากนิตยสาร Newtype ปี 2006
อะนิเมะยอดเยี่ยมจากนิตยสาร Animedia ฉบับปี 2007
อันดับ 4 จากผลโหวตออนไลน์อะนิเมะยอดนิยม จากช่องทีวี TV Asahi ปี 2006
อันดับ 22 จากผลโหวตอะนิเมะชันยอดนิยมตลอดกาล จากงานนิทรรศการ Japan Media Arts Festival ปี 2006 (จัดอันดับ 25 ใน 4 สาขา เพื่อนำไปจัดแสดงที่หอศิลป์)
ผลโหวต Anime Grand-Prix จากนิตยสาร Animage ครั้งที่ 29 ปี 2007
เรื่องยอดนิยมอันดับ 3
ตัวละครชายยอดนิยม เคียวน์ ได้อันดับ 3
ดาราหญิงยอดนิยม สึซึมิยะ ฮารุฮิ อันดับ 2, นากาโตะ ยูกิ อันดับ 9, อาซาฮินะ มิคุรุ อันดับ 15, ซึรุยะ อันดับ 45
Episode ยอดนิยม : อันดับ 3 ตอน 12 (Live a Live) , อันดับ 10 ตอน 1 (Mikuru Episode 00) , อันดับ 12 ตอน 9 (Someday in the rain) , อันดับ 15 ตอน 11 (Day of Sagittarius) , อันดับ 16 ตอน 14 (Suzumiya Haruhi VI) , อันดับ 49 ตอน 2 (Suzumiya Haruhi I) , อันดับ 51 ตอน 4 (Boredom of Suzumiya Haruhi)
อายะ ฮิราโนะ (ผู้พากย์ สึซึมิยะ ฮารุฮิ) ได้รับรางวัลนักพากย์หน้าใหม่ยอดเยี่ยม จากงาน Seiyuu Awards ครั้งที่ 1 ปี 2006, ได้รับรางวัลนักพากย์ยอดเยี่ยมจากงาน TAF 2007 และอันดับ 4 จากนิตยสาร Animage
ยูโกะ โกโต้ (ผู้พากย์ อาซาฮินะ มิคุรุ) นักพากย์ตัวละครสมทบฝ่ายหญิงดีเด่น จากงาน Seiyuu Awards ครั้งที่ 1 ปี 2006
อันดับความนิยมในการจำหน่ายสินค้า
ช่วงที่อะนิเมะฉาย 3 เดือน มี Clip ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มากกว่า 2,000 Clip ใน Youtube ถือว่าเป็นสถิติปริมาณ Clip จากอะนิเมะที่สูงมากในช่วงเวลาสั้นๆ
ช่วงที่อะนิเมะฉาย 3 เดือน นิยายซีรีส์ Suzumiya Haruhi ติดอันดับ Best Seller และติด Top 10 ทั้ง 8 เล่ม (เล่ม 8 เพิ่งจำหน่าย ตอนพฤษภาคม) จากเว็บ Amazon ของญี่ปุ่น
อันดับ DVD ขายดีที่สุดในปี 2006 จากผลสำรวจของร้านหนังสือ Dengeki Maoh ร่วมกับร้าน Toranoana และ Animate
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2007 ยอดขายซิงเกิล God Knows (เพลงประกอบตอน 12 Live A Live) อยู่ที่ 100,426 แผ่น
แถม!!!
เวอร์ชั่นกลับเพศ
แต่ละคนหล่อจ๊าดดดดดดดดด
ปล. ภาพแนะนำตัว เซอร์วิสพอหรือยัง??
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย UNDERTAKER เมื่อ 2012-5-14 00:32
เรียกเธอว่าพระเจ้า เธอคือใคร?