สาวเรียวกังหัวใจเกินร้อย (ญี่ปุ่น: 花咲くいろは Hanasaku Iroha ?; "สีสันแห่งการผลิบาน")หรือเรียกโดยย่อว่า ฮะนะอิโระ (花いろ Hanairo ?; "สีสันดอกไม้")[4] เป็นชื่ออะนิเมะโทรทัศน์ชุดหนึ่งซึ่งมะซะฮิโระ อันโด (Masahiro Andō) กำกับ, มะริ โอะกะดะ (Mari Okada) เขียนเรื่อง, เมล คิชิดะ (Mel Kishida) ออกแบบตัวละคร และบริษัทพีเอเวิกส์ (P.A. Works) ผลิตเพื่อเฉลิมฉลองปีที่สิบแห่งกิจการของตน[5] โดยนำออกฉายทางโทรทัศน์ญี่ปุ่นในเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2554 ต่อมา ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารด้วย
เนื้อหาว่าด้วยหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งถูกมารดาส่งไปอยู่กับยายผู้เป็นเจ้าสำนักโรงแรมและบ่อน้ำร้อนเก่าแก่ โดยต้องทำงานเป็นบริกรในโรงแรมนั้นแลกที่อยู่ที่กิน กับทั้งต้องประเชิญและฟันฝ่าความกดดันตลอดจนอุปสรรคนานัปการเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากคนรอบข้างและไปสู่อนาคตที่ดีกว่าดังมุ่งหวัง อะนิเมะนี้ชี้ปัญหาหลายประการทางสังคม โดยเฉพาะปัญหาในวงครอบครัวและการทำงานที่นับวันผู้เยาว์จำต้องแบกรับมากขึ้นเนื่องจากการกระทำของผู้ใหญ่ โดยนำเสนอผ่านเนื้อเรื่องแนวตลก นาฏกรรม และวีรคติ เมื่อเผยแพร่แล้วก็ได้รับความนิยมเป็นอันมาก ทั้งเป็นโอกาสให้ฝ่ายบ้านเมืองญี่ปุ่นสร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวด้วย
ครั้นปลายปี 2554 พีเอเวิกส์ประกาศว่า ได้ดำเนินโครงการที่สองของอะนิเมะนี้ โดยเป็นอะนิเมะยาวเรียก ฮะนะซะกุอิโระฮะโฮมสวีตโฮม (Hanasaku Iroha Home Sweet Home) เพื่อฉาย ณ โรงภาพยนตร์ญี่ปุ่นในปีถัดมา[6][7]
การผลิตและเผยแพร่[แก้]
อะนิเมะนี้ บริษัทพีเอเวิกส์ ผลิต, ซะฮิโระ อันโด กำกับใหญ่, มะริ โอะกะดะ เขียนบท, คะนะมิ เซะกิงุชิ (Kanami Sekiguchi) กำกับการเคลื่อนไหวโดยสร้างตัวละครขึ้นจากแบบที่เมล คิชิดะ ร่างขึ้น, จิง อะเกะตะงะวะ (Jin Aketagawa) กำกับเสียง และชิโร ฮะมะงุชิ (Shirō Hamaguchi) ประพันธ์เพลงประกอบ[8]
ครั้นแล้ว จึงออกฉายทางโทรทัศน์ญี่ปุ่นผ่ายเครือข่ายของโตเกียวเอ็มเอกซ์ (Tokyo MX) กับทั้งเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ บราซิล และโปรตุเกส สิบสี่ประเทศ ผ่านเว็บไซต์ครันชีโรล (Crunchyroll) ในเวลาเดียวกัน คือ ทุก ๆ วันอาทิตย์ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2554 ถึงวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน ปีเดียวกันนั้น[9][10] ต่อมา บริษัทโพนีแคนยอน (Pony Canyon) จึงเผยแพร่เป็นดีวีดีและบลูเรย์เป็นชุด ๆ ชุดแรกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2554 ชุดสุดท้าย คือ ชุดที่หก จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2554[9]
สำหรับประเทศไทย บริษัทโรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ แถลงเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2555 ในงานแคปซูลครั้งที่ 17 ที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพมหานคร ว่า ได้รับอนุญาตให้นำอะนิเมะนี้เข้ามาเผยแพร่ มีกำหนดจำหน่ายตั้งแต่เดือนกันยายน 2555[2][11][12] แต่ภายหลังเลื่อนมาเริ่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2555 โดยเปิดตัว ณ งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 17 ในวันนั้นเอง[13]
เพลง[แก้]อะนิเมะสิบสามตอนแรกใช้เพลงเปิดชื่อ "ฮะนะโนะอิโระ" (ハナノイロ Hana no Iro ?; ดอกไม้หลากสี) วงนะโนะ.ริเปะ (nano.RIPE) ร้อง และใช้เพลงปิดชื่อ "เฮซี" (Hazy; พร่ามัว) วงสเฟียร์(Sphere) ร้อง ครั้นตอนที่สิบสี่สืบไปใช้เพลงเปิดชื่อ "โอะโมะกะเงะวาร์ป" (面影ワープ Omokage Wāpu ?; "ตะกอนแห่งร่องรอย") วงนะโนะ.ริเปะร้อง และใช้เพลงปิดชื่อ "ฮะนะซะกุอิโระฮะ" วงแคล็มบน (Clammbon) ร้อง[14]
อย่างไรก็ดี มีบางตอนใช้เพลงอื่นปิด คือ ตอนที่หกใช้เพลง "สึกิกะเงะโทะบุรังโกะ" (月影とブランコ Tsukikage to Buranko ?; "ม้าโยกและจันทรา"), ตอนที่แปดใช้เพลง "ยุเมะจิ" (夢二 Yumeji ?; "ทางฝัน"), ตอนที่สิบเอ็ดใช้เพลง "ไซโบคิวกุ" (細胞キオク Saibō Kioku ?; "ความทรงจำของเซลล์") และตอนที่ยี่สิบสองใช้เพลง "ไฮลีป" (ハイリープ Hai Rīpu ?; "ทะยาน") วงนะโนะ.ริเปะร้องทั้งสี่เพลง[14]
มีการใช้เพลงอีกสองเพลงประกอบวีดิทัศน์และอะนิเมะประชาสัมพันธ์ ได้แก่ เพลง "แพทริเชีย" (パトリシア Patorishia ?) กับเพลง "ยุเมะจิ" วงนะโนะ.ริเปะร้องทั้งสองเพลง และบริษัทแลนทิส (Lantis) จำหน่ายเป็นซิงเกิลเดียวกันตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2553[5][15][16][17][18]
อนึ่ง ในอะนิเมะยังมีเพลงแทรกอีกสองเพลง คือ เพลง "บมโบะริโยะรุ" (雪洞夜 Bonbori Yoru ?; "ค่ำคืนแห่งโคม") คณะประสานเสียงเด็กซุงินะมิ (Suginami Children's Chorus Group) ร้อง กับเพลง "เรย์ออฟไลต์" (Ray of Light; ลำแสง) ไม่ปรากฏผู้ร้อง เพลงทั้งสองนี้กับเพลงอื่น ๆ อีกหกสิบเอ็ดเพลงที่ใช้ประกอบอะนิเมะปรากฏอยู่ในอัลบัมชื่อ 'ฮะนะซะกุอิโระฮะ' ออริจินัลซาวด์แทร็ก (「花咲くいろは」 オリジナル・ サウンドトラック 'Hanasaku iroha' Orijinaru Saundotorakku ?) ซึ่งแลนทิสจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2554[19]
เรื่อง[แก้]เนื้อเรื่อง[แก้] ดูเพิ่มที่ รายชื่อตอนในสาวเรียวกังหัวใจเกินร้อย
อะนิเมะว่าด้วยโอะฮะนะ มะสึมะเอะ หญิงสาววัยสิบหกปี ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียวกับซะสึกิ มะสึมะเอะ มารดา แต่มารดาหนีหนี้สินตามคนรักไปและให้เธอไปอาศัยอยู่กับซุอิ ชิจิมะ ยายที่มิเคยพบหน้าค่าตากันมาก่อน ยายของโอะฮะนะเป็นเจ้าสำนักโรงแรมและบ่อน้ำร้อนชื่อ "คิสซุอิ" (喜翆荘 Kissuisō ?) ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึงสมัยไทโช นางซุอิให้หลานทำงานที่โรงแรมเพื่อแลกค่าอยู่ค่ากิน ณ ที่นั้น โอะฮะนะพบว่า ตนเองไม่สามารถเข้ากับพนักงานหลาย ๆ คนได้ จึงท้อแท้เป็นอันมาก ทว่า เมื่อกำหนดใจไว้แล้วว่า จะใช้โอกาสนี้เปลี่ยนแปลงชีวิตตนให้ดีขึ้น ก็ได้พยายามปรับปรุงความสัมพันธ์กับคนทั้งปวงหมายจะไปสู่อนาคตที่ดีกว่านี้
ฉาก[แก้]เนื้อเรื่องดำเนินไปในกรุงโตเกียวกับตำบลยุโนะซะงิ (Yunosagi) อันเป็นตำบลสมมุติ[20] ตามท้องเรื่อง ตำบลยุโนะซะงินั้นอยู่ชานเมืองนะนะโอะจังหวัดอิชิกะวะ มีลักษณะเป็นชนบทเงียบสงบติดทะเล อากาศร่มเย็น มักมีนกกระสานวลออกเพ่นพ่านทั่วไปตามท้องถนน และมีเทศกาลซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ เดือนตุลาคมเรียก "เทศกาลตามประทีป" (ぼんぼり祭り Bonbori Matsuri ?) ในเทศกาลนี้ พลเมืองจะแขวนโคมกระดาษเป็นทิวแถวไปตามสองข้างทางตั้งแต่วัดหลักเมืองเป็นต้นไป เพื่อให้เป็นแสงไฟนำทางเด็กหญิงซึ่งเป็นภูตจิ้งจอกประจำเมืองไปร่วมเทวสโมสรที่อารามหลวงอิซุโมะ (Izumo-taisha) ในจังหวัดชิมะเนะตามความเชื่อ อนึ่ง ผู้คนจะเขียนถ้อยคำอธิษฐานห้อยไว้กับโคมเพื่อภูตจิ้งจอกดังกล่าวจะได้นำส่งต่อให้แก่บรรดาเทพเจ้าที่มาประชุม ณ อารามนั้นด้วย
ตัวละคร[แก้]ชื่อ | พากย์ | |
ญี่ปุ่น | ไทย | |
| คะนะเอะ อิโต (Kanae Itō) | เบญจวรรณ วนิชจิวพันธ์ |
โอะฮะนะเป็นตัวนางของเรื่อง อายุสิบหกปี มีบุคลิกลักษณะร่าเริง มีพลังงานมาก กล้าหาญ บ้าบิ่น มีมุมมองทางบวก และมีพฤติกรรมที่คนรอบข้างมองว่าตลกขบขัน โอะฮะนะมีจุดเด่นที่ตัวเตี้ย ผมเป็นลอนโดยธรรมชาติ แต่คนอื่นมักเข้าใจว่าดัดมา นอกจากนี้ เธอยังมักติดกิ๊บรูปกลีบดอกไม้สีขาวที่ผมด้านซ้ายขวาด้านละดอก และพอใจบริโภคโคล่าเจือชาดำ ซะสึกิ มารดาของโอะฮะนะ หนีตามชายคนรักเพื่อช่วยกันหลบเลี่ยงการชำระหนี้สินของเขา แล้วส่งเธอไปอยู่กับนางซุอิ ยายที่มิเคยพบเจอกันมาก่อนและเป็นเจ้าสำนักโรงแรมเก่าแก่หลังหนึ่งที่ซึ่งเมื่อไปถึงแล้วโอะฮะนะต้องทำงานเป็นบริกรแลกปัจจัยดำรงชีวิต ก่อนเดินทาง โคอิชิ เพื่อนสนิทของโอะฮะนะ ได้สารภาพรักต่อเธอ แต่ยังมิทันที่เธอจะได้ตอบเขาว่ากระไร เขาก็วิ่งหนีหายไปเสียก่อน ครั้นเวลาผ่านไป โอะฮะนะจึงตระหนักว่าตนก็รักเขามาก และตอบรับรักเขา ณ ท้ายเรื่อง | ||
| ชิอะกิ โอะมิงะวะ (Chiaki Omigawa) | นิรมล กิจภิญโญชัย |
มิงโกะเป็นหญิงสาวอายุสิบหกปี เป็นพนักงานฝึกหัดในครัวโรงแรมคิสซุอิ และพำนักอาศัยที่โรงแรมระหว่างทำงาน เธอมีรูปโฉมงดงามเป็นที่ต้องใจคนทั่วไปถึงขนาดที่เพื่อนร่วมโรงเรียนพากันเรียกเธอว่า "เจ้าหญิง" และมีชายหนุ่มมาขอคบหาเป็นคู่รักอยู่มิขาดสาย ทว่า มิงโกะผู้มีกิริยาเย็นชาและมีโทสะเป็นเจ้าเรือนได้บอกปัดชายเหล่านั้นไปทั้งสิ้น มิงโกะนั้นต้องการเป็นแม่ครัวมืออาชีพมาแต่เด็กซึ่งขัดกับความประสงค์ของบิดามารดา เธอออกติดตามหาสถานที่ที่จะช่วยฝึกหัดเธอตามความปรารถนานั้นได้ จนมาถึงโรงแรมคิสซุอิที่ซึ่งนางซุอิยินดีรับเธอไว้หลังจากโทรุตกลงเป็นพี่เลี้ยงให้ นับแต่นั้น มิงโกะก็มีใจรักใคร่โทรุอย่างมาก แรกพบกัน มิงโกะรู้สึกไม่ชอบพอโอะฮะนะ เพราะโอะฮะนะรื้อถอนทำลายต้นกระเทียมที่เธอปลูกไว้หน้าโรงแรม จึงบอกให้โอะฮะนะ "ไปตายเสีย" และภายหลังเปลี่ยนมาใช้คำว่า "ไข่ข้าว" นางซุอินั้นให้โอะฮะนะพักอยู่ห้องเดียวกับมิงโกะ เมื่อเวลาผ่านไป มิงโกะก็ยอมรับและสนิทสนมกับโอะฮะนะมากขึ้นตามลำดับ | ||
| อะกิ โทะโยะซะกิ (Aki Toyosaki) | พนาวรรณ ศรีวะโลสกุล |
นะโกะเป็นหญิงสาววัยสิบหกปี มีอากัปกิริยาช่างเหนียมอายจนเกินควร ทำงานเป็นบริกรอยู่ที่โรงแรมคิสซุอิ มีน้องสาวน้องชายอีกสามคนที่ต้องช่วยบิดามารดาเลี้ยง เมื่อได้รู้จักกับโอะฮะนะแล้วก็ได้สนิทสนมกันมากขึ้นโดยลำดับ นะโกะมีทักษะในการว่ายน้ำมากถึงขนาดที่ผู้คนเรียกขานเธอมาแต่เด็กว่า "คัปปะปะ" (Kappapa) ล้อเลียนชื่อพรายน้ำคัปปะ | ||
| ฮะรุกะ โทะมะสึ (Haruka Tomatsu) | ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ |
ยุอินะเป็นหญิงสาวอายุสิบหกปี เป็นหลานของเจ้าสำนักโรงแรมฟุกุยะซึ่งโอะฮะนะสำคัญว่าเป็นโรงแรมคู่แข่งของคิสซุอิ ยุอินะเป็นเพื่อนร่วมห้องเรียนของโอะฮะนะ มิงโกะ และนะโกะ และมักไปไหนมาไหนกับคนทั้งสาม ยุอินะมีบุคลิกลักษณะร่าเริงแจ่มใส มักพยายามพูดสำเนียงท้องถิ่นอื่น และชื่นชอบโอะฮะนะที่มีอารมณ์ขัน ยุอินะนั้นเฝ้าถามตนเองเสมอว่า ควรรับช่วงกิจการโรงแรมของครอบครัวต่อ หรือดำเนินชีวิตไปในทางอื่นดังใจใฝ่ฝัน ภายหลังเธอได้คำตอบว่า คนเรานั้นเมื่อไม่รักชอบสิ่งใดแล้วก็มิควรฝืนใจกระทำสิ่งนั้น เมื่อเธอไม่สนใจงานโรงแรมก็จะไม่มุ่งไปทางนั้น | ||
|
| ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ |
ซุอิเป็นหญิงวัยหกสิบแปดปี เป็นมารดาของซะสึกิกับเอะนิชิ และเป็นยายของโอะฮะนะ เดิมนางซุอิกับสามีเป็นพนักงานในโรงแรมแห่งหนึ่งและได้พบรักกัน เจ้านายรักใคร่เอ็นดูคนทั้งสองเป็นอันมาก จึงยกโรงแรมกับบ่อน้ำพุร้อนอีกแห่งหนึ่งซึ่งเวลานั้นมีอายุมากกว่าครึ่งศตวรรษให้พวกเขาสืบกิจการต่อ สามีของนางตั้งนามโรงแรมและบ่อน้ำพุนั้นว่า "คิสซุอิ" มีความหมายว่า "ความสุขของซุอิ" ทั้งสองครองรักกันและช่วยกันบุกเบิกกิจการผ่านร้อนผ่านหนาวมานานัปการจนกระทั่งมีหน้ามีตาในสังคม ทว่า ไม่ช้าไม่นานสามีนางตายละนางเสีย นางจึงสืบสานเจตนารมณ์ร่วมกันของนางกับสามีในกิจการโรงแรมนั้นต่อมา นางซุอิวางตัวเข้มงวดอย่างยิ่งต่อเหล่าพนักงาน ภายนอกจึงดูดุร้ายและเย็นชา แต่นางรัก เอาใจใส่ และช่วยเหลือคนทั้งนั้นเสมอมาไม่ว่าในเรื่องใด จึงได้รับทั้งความรัก ความเคารพ ความเชื่อฟัง และความเสียสละจากพวกเขา | ||
|
| นิรมล กิจภิญโญชัย |
ซะสึกิเป็นหญิงวัยสามสิบแปดปี เป็นบุตรของนางซุอิและเป็นมารดาของโอะฮะนะ สามีของเธอถึงแก่ความตายเมื่อนานมาแล้ว เธอคบหากับผู้ชายหลายคนแต่ก็มิได้จริงจังด้วย เพราะความรักที่มีต่อสามีนั้นมิเสื่อมคลาย ซะสึกิกับมารดาไม่ลงรอยกันในหลาย ๆ เรื่อง จึงละทิ้งมารดาและโรงแรมมาอยู่ที่กรุงโตเกียวทำงานเป็นนักเขียน ซะสึกิเลี้ยงดูโอะฮะนะแบบปล่อยปละละเลยมาแต่เล็กเพราะสาละวนอยู่กับงาน เป็นเหตุให้โอะฮะนะต้องยืนหยัดด้วยกายและใจของตนเองทั้งต้องเป็นที่พึ่งของมารดาด้วยในเวลาเดียวกัน | ||
| จุนจิ มะจิมะ (Junji Majima) | อภินันท์ ธีระนันทกุล |
โทรุเป็นชายหนุ่มวัยยี่สิบสามปี ทำงานเป็นพนักงานครัวที่โรงแรมคิสซุอิ มักพูดจาโผงผางและปากร้าย เมื่อเห็นโอะฮะนะน่ารักและจริงใจก็แหย่เย้าเธอเล่นเป็นประจำ ทำให้เธอไม่พอใจเขาสักเท่าไรนัก แต่เขานั้นหลงรักและเป็นห่วงเป็นใยเธอมากขึ้นทุกวัน เป็นเหตุให้มิงโกะซึ่งแอบชอบเขาอยู่ขุ่นเคืองโอะฮะนะเสมอ | ||
| ยูกิ คะจิ (Yūki Kaji) | ภัคภูมิ ลิ้มมานะสภาพร |
โคอิชิเป็นชายหนุ่มวัยสิบหกปี และเป็นเพื่อนสนิทของโอะฮะนะในกรุงโตเกียว เขาหลงรักโอะฮะนะมาเป็นเวลานาน กระทั่งทราบว่าเธอต้องจากกรุงโตเกียวไป จึงรวบรวมความกล้าแล้วบอกรักเธอก่อนวิ่งหนีหายไปด้วยความตื่นเต้นตกใจ ครั้นโอะฮะนะจากไปแล้ว เขาก็คอยเป็นกำลังใจให้เธออยู่ไม่ขาด แต่ความห่างเหินโดยระยะทางนั้นก็ยังให้เขารู้สึกราวกับถูกโอะฮะนะทิ้งไป | ||
| มะมิโกะ โนะโตะ (Mamiko Noto) | ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ |
โทะโมะเอะเป็นหญิงวัยยี่สิบแปดปี ทำงานเป็นพนักงานที่โรงแรมคิสซุอิโดยเป็นหัวหน้าบริกร เนื่องจากอายุใกล้สามสิบปีแล้วแต่ยังเป็นโสด จึงมักถูกมารดาเร่งเร้าให้หาคู่อยู่เป็นนิตย์ | ||
|
| กริน อักษรดี |
เอะนิชิเป็นชายวัยสามสิบสองปี เป็นบุตรของนางซุอิ และเป็นน้องชายของซะสึกิ โดยศักดิ์จึงเป็นน้าของโอะฮะนะ สมัยเด็กเขาถูกพี่สาวแกล้งบ่อยครั้ง ครั้นโอะฮะนะมาแล้ว จึงแกล้งเธอบ้าง เมื่อโรงแรมคิสซุอิเลิกกิจการลง เอะนิชิกำหนดใจว่าจะเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะของตนในการบริหารจัดการเพื่อสืบทอดโรงแรมต่อจากมารดา | ||
| ทะโร ยะมะงุชิ (Tarō Yamaguchi) | คมสรร รัตนากรบดี |
เร็นจิเป็นชายวัยสี่สิบสองปี ทำงานเป็นหัวหน้าพ่อครัวที่โรงแรมคิสซุอิ และเป็นพี่เลี้ยงของโทรุ เขามีรูปร่างกำยำใหญ่โต ที่ใบหน้ามีบาดแผลเล็ก ๆ บาดแผลหนึ่ง และมักมีอารมณ์ฟืดฟาด คนภายนอกจึงมักยำเกรงและหวาดกลัวเขา แต่คนภายในนั้นทราบดีว่า เขามีจิตใจอ่อนโยน และเกิดความวิตกกังวลได้ง่ายอย่างยิ่งเมื่อถูกกดดัน | ||
| อะยุมิ สึเนะมะสึ (Ayumi Tsunematsu) | นิรมล กิจภิญโญชัย |
ทะกะโกะเป็นหญิงอายุสามสิบปี เป็นเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยของเอะนิชิ และทำงานเป็นที่ปรึกษาฝ่ายบริการจัดการของโรงแรมคิสซุอิ แต่มักเสนอแผนการที่คุ้มดีคุ้มร้าย จึงมักเป็นที่หวั่นใจของชาวคิสซุอิทั่วกัน ทะกะโกะนั้นมักพูดญี่ปุ่นคำอังกฤษคำ และภายหลังได้สมรสกับเอะนิชิ | ||
| จุนอิชิ ซุวะเบะ (Junichi Suwabe) | ภัคภูมิ ลิ้มมานะสภาพร |
ทะโรเป็นชายวัยสามสิบเอ็ดปี เป็นนักเขียนนิยาย มาหลอกอาศัยอยู่ที่โรงแรมคิสซุอิ เมื่อถูกจับได้จึงทำงานใช้หนี้สิน ทะโรนั้นมักเขียนนิยายเร้ากำหนัดโดยใช้ชาวคิสซุอิเป็นตัวละคร งานเขียนของเขายังรวมถึงมังงะเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้มิงโกะกับโทรุรักจะเป็นพ่อครัวแม่ครัวด้วย เมื่อคนทั้งสองทราบว่าเป็นผลงานของเขาแล้วก็ให้รู้สึกพิพักพิพ่วนขึ้นในทันใด | ||
| โช (Chō) | คมสรร รัตนากรบดี |
เด็นโระกุเป็นชายวัยเจ็บสิบสามปี ทำงานเป็นภารโรงที่โรงแรมคิสซุอิตั้งแต่หนุ่ม ชาวคิสซุอิเรียกเขาว่า "ลุงเมล็ดถั่ว" (マメ父 Mameji ?) เพราะชื่อเด็นโระกุคล้ายนามบริษัทถั่วชื่อดังแห่งหนึ่ง | ||
เอโตะ ชิดะ (Eito Chida) ดัดแปลงอะนิเมะนี้เป็นมังงะ ลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร กังงังโจเกอร์ (Gangan Joker) ของสำนักพิมพ์สแควร์เอนิกซ์ (Square Enix) ตั้งแต่ฉบับเดือนตุลาคม 2553 แล้วรวมเล่มจำหน่าย เล่มแรกเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2554 เล่มถัดมาวันที่ 22 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[21] ต่อมา จุง ซะซะเมะยุกิ (Jun Sasameyuki) เขียนมังงะภาคเสริมเรียก ฮะนะซะกุอิโระฮะ: กรีนเกิลส์กราฟฟิตี (Hanasaku Iroha: Green Girls Graffiti) มีมิงโกะเป็นตัวนาง ลงเผยแพร่ในนิตยสารออนไลน์ เว็บคอมิกเก็กกิง (Web Comic Gekkin) ของบริษัทบันไดวิชวล (Bandai Visual) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554[21]
อะนิเมะโรงวันที่ 10 ธันวาคม 2554 บริษัทพีเอเวิกส์แถลงว่า ได้ดำเนินโครงการที่สองของอะนิเมะนี้ โดยเป็นอะนิเมะยาวชื่อ ฮะนะซะกุอิโระฮะโฮมสวีตโฮมเพื่อฉาย ณ โรงภาพยนตร์ญี่ปุ่นในปี 2555[6][7] ครั้นวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 นิตยสาร กังงังโจเกอร์ ฉบับเดือนมิถุนายน 2555 ก็ได้ลงโฆษณาประชาสัมพันธ์อะนิเมะโรงดังกล่าว และเว็บไซต์ผู้ถือสิทธิ์เผยแพร่ในต่างประเทศก็ได้ลงประกาศยืนยันข่าวนั้นด้วย ทว่า ยังมิได้กำหนดการฉายแต่ประการใด[22]
ซ้าย: ป้ายสถานีรถไฟยุโนะชิงะซึ่งการรถไฟญี่ปุ่นให้ติดตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2555
ขวา: รถไฟในจังหวัดอิชิกะวะซึ่งประดับรูปตัวละครจากอะนิเมะนี้
การตอบรับ[แก้]การตอบรับเชิงวิพากษ์[แก้]
อะนิเมะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในทางบวกโดยทั่วกัน เว็บไซต์เมเนีย (Mania) ชื่นชมความสามารถของคะนะเอะ อิโต ในการพากย์เป็นโอะฮะนะ กับทั้งสรรเสริญความสวยงามและคุณภาพของภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนการดำเนินเรื่องราว แต่กล่าวว่า อะนิเมะเริ่มเรื่องมาทำนองซ้ำซากจำเจ[23]
เครือข่ายข่าวอะนิเมะ (Anime News Network) ยกย่องความสมจริงและคุณภาพของภาพเคลื่อนไหว คณะนักพากย์ กับทั้งเพลงเปิดและปิดอะนิเมะ นอกจากนี้ เห็นว่า ตัวละครออกแบบมาได้ดี มีลักษณะดึงดูดใจอย่างประจักษ์ชัด และมีอุปนิสัยที่ช่วยธำรงความสมจริงไว้ได้ โดยเฉพาะโอะฮะนะมีบุคลิกลักษณะยอดเยี่ยมเหนือตัวละครจำพวกโมะเอะที่ปรากฏอยู่ทั่วไป[24] เครือข่ายข่าวอะนิเมะยังว่า เมื่อเรื่องดำเนินไปเรื่อย ๆ ปฏิกิริยาระหว่างตัวละครทั้งหลายนั้นน่าประทับใจและมีความสมเหตุสมผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์ของโอะฮะนะกับมารดาและยายนั้นเขียนขึ้นได้ดีนักหนาทั้งยังชวนใจหวิวไปพร้อมกับตัวละครด้วย[25] ที่สุดแล้ว เครือข่ายข่าวอะนิเมะประเมินว่า อะนิเมะเรื่องนี้เป็นหนึ่งในบรรดาที่ดีที่สุดสำหรับปี 2554 นั้น[26]
การตอบรับทางความนิยม[แก้]สถานที่สมมุติหลาย ๆ แห่งในอะนิเมะนั้นอ้างอิงสถานที่จริง เป็นต้นว่า โรงแรมคิสซุอิมีน้ำพุร้อนยุวะกุ (Yuwaku Hot Spring) ในเมืองคะนะซะวะจังหวัดอิชิกะวะ เป็นต้นแบบ[27] และสถานีรถไฟยุโนะชิงะได้แรงบันดาลใจจากสถานีรถไฟนิชิงิชิ (Nishigishi Station) เมืองนะนะโอะ จังหวัดอิชิกะวะ[20]
เมื่ออะนิเมะนี้ออกเผยแพร่ในกลางปี 2554 และได้รับความนิยมเป็นอันมาก ผู้คนมากมายก็หลั่งไหลไปเยี่ยมชมน้ำพุร้อนยุวะกุ ถึงขนาดทำให้โรงแรมในท้องที่นั้นและใกล้เคียงได้รับการจองเต็มทั้งสิ้นในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ดี แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในปีนั้นเป็นเหตุให้มีผู้ถอนการจองไปถึงหนึ่งพันห้าร้อยคน[27] ต่อมา การรถไฟญี่ปุ่นได้ติดตั้งป้ายสถานีรถไฟยุโนะชิงะขึ้นที่หน้าสถานีรถไฟนิชิงิชิในเดือนเมษายน 2555 ทั้งยังได้แต่งขบวนรถไฟในจังหวัดอิชิกะวะเป็นรูปตัวละครจากอะนิเมะออกให้บริการ และจัดให้บรรดาผู้พากย์เป็นโอะฮะนะ มิงโกะ นะโกะ กับยุอินะบรรยายประวัติจังหวัดเปิดในรถไฟระหว่างโดยสารไปจังหวัดนั้น ตลอดจนจัดจำหน่ายสินค้าที่ระลึกต่าง ๆ เกี่ยวเนื่องกับอะนิเมะนี้ เป็นต้นว่า ตุ๊กตาตัวละครแต่งเครื่องแบบเจ้าพนักงานรถไฟ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย
กระทู้นี่จัดให้ตามคำขอของhanasanค่ะ
สาวเรียวกังหัวใจเกินร้อย
[IMG]