แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย shimasaki เมื่อ 2014-4-3 19:17
สวัสดีค่ะ ทุกท่าน
ขออภัยที่อู้มานานเหลือเกิน เนื่องจากติดปัญหาทางเน็ตนิดหน่อยเลยไม่สามารถอัพภาพได้
วันนี้มาแจกภาพ Musashi (มูซาชิ)「武蔵」จาก Kantai Collection
ผลงานทั้งหมดอยู่ในนี้นะ >>>คลังภาพเรือรบ<<< ถ้าชอบอย่าลืมกดติดตามด้วยนะ
ถ้าชอบก็กดให้คะแนนหรือคอมเม้นด้วยนะจ้ะ
*ถ้าอยากได้ประวัติเรืออะไรอะไร PM มาขอเจ้าของกระทู้ได้นะ เค้าไม่กัด
มาทราบประวัติเรือกันซักเล็กน้อยก่อนดูภาพนะคะ
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก wiki
เอาหล่ะ ต่อไปมารับชมเรือประจัญบานมูซาชิในแบบ kancolle กันบ้าง
สวัสดีค่ะ ทุกท่าน
ขออภัยที่อู้มานานเหลือเกิน เนื่องจากติดปัญหาทางเน็ตนิดหน่อยเลยไม่สามารถอัพภาพได้
วันนี้มาแจกภาพ Musashi (มูซาชิ)「武蔵」จาก Kantai Collection
ผลงานทั้งหมดอยู่ในนี้นะ >>>คลังภาพเรือรบ<<< ถ้าชอบอย่าลืมกดติดตามด้วยนะ
ถ้าชอบก็กดให้คะแนนหรือคอมเม้นด้วยนะจ้ะ
*ถ้าอยากได้ประวัติเรืออะไรอะไร PM มาขอเจ้าของกระทู้ได้นะ เค้าไม่กัด
มาทราบประวัติเรือกันซักเล็กน้อยก่อนดูภาพนะคะ
เรือประจัญบานมูซาชิ (武蔵) เป็นเรือประจัญบานของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นเรือธงแห่งกองเรือผสม ได้รับการตั้งชื่อตามจังหวัดมูซาชิซึ่งเป็นชื่อจังหวัดในสมัยโบราณของญี่ปุ่น เป็นเรือลำที่สองในชั้นยามาโตะต่อจากเรือประจัญบานยามาโตะ เป็นเรือที่หนักและติดอาวุธหนักที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมา ด้วยระวางขับน้ำเต็มที่ถึง 72,800 ตันและติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 460 มม.ถึง 9 กระบอก
เรือสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1938–1941 และขึ้นระวางอย่างเป็นทางการในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1942 มูซาชิทำหน้าที่เป็นเรือธงของพลเรือเอกอิโซรกคุ ยามาโมโต้และมินีชิ โคะงะ (Mineichi Koga) ในปี ค.ศ. 1943 ตลอดปี ค.ศ. 1943 มูซาชิจอดทอดสมออยู่ในฐานทัพเรือที่ทรูก คุเระ และบรูไน แห่งใดแห่งหนึ่งขึ้นอยู่กับการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ มูซาชิอับปางเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1944 โดยเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบินในระหว่างยุทธนาวีอ่าวเลย์เต
"ปฏิบัติการสุดท้ายของเรือประจัญบานมูซาชิ"
เรือประจัญบาน มุซาชิ ซึ่งได้รับการทาสีใหม่จนเด่นเพื่อดึงความสนใจของเครื่องบิน ข้าศึกก็ได้ถูกโจมตีตั้งแต่ระลอกแรกเรือถูกตอร์ปิโดที่ท้ายเรือกราบซ้าย 1 ลูก แรงสั่นสะเทือนทำให้ศูนย์รวมของปืนใหญ่ ขนาด 460 มิลลิเมตร ชำรุด ยังผลให้อำนาจการยิงลดลงเพราะต้องให้แต่ละป้อมยิงอิสระ การโจมตีระลอกที่ 2 และ 3 ก็ติดตามมาโดยเฉพาะในระลอกที่ 3 นี้ จะเน้นที่เรือมุซาชิ นอกจากจะโจมตีด้วยลูกระเบิดและตอร์ปิโดแล้ว เครื่องบินขับไล่ข้าศึกยังได้ทำการยิงกราดลงมาด้วยปืนกล ขนาด 12.7 มิลลิเมตร ที่มีลำละ 6 กระบอก ทำให้ทหารประจำปืนกลต่อสู้อากาศยาน ซึ่งไม่มีโล่ปืนกำบังได้รับ บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก เรือมุซาชิความเร็วลดลงจาก 27 นอต เหลือเพียง 16 นอต จึงตามกระบวนเรือไม่ทัน ถูกทิ้งห่างออกไป ต่อมาความเร็วของเรือก็ลดลงอีก จนทำความเร็วได้ไม่เกิน 12 นอต แม้ฝ่ายพรรคกลินจะได้พยายามซ่อมแซมแล้วก็ตาม แต่เรือก็ถูกตอร์ปิโดหลายลูก เครื่องไฟฟ้าหมายเลข 3 และ 5 ขัดข้อง เรือเริ่มเอียงจนถึง 25 องศา การโจมตีระลอกที่ 5 ทำให้สะพานเดินเรือเสียหาย ต้อง ใช้สะพานเดินเรือสำรองนำเรือต่อไป
ความเร็วของเรือมุซาชิ เหลือเพียง 6 นอต น้ำเข้าเรือมากจนดาดฟ้าหัวเรือจมอยู่ใต้น้ำ ในการโจมตีระลอกที่ 5 นี้ เรือถูกลูกระเบิด 2 ลูก และตกใกล้เรืออีก 3 ลูก ลูกที่ตกถูกเรือได้ ทะลุดาดฟ้าลงไปทำลายหม้อน้ำ หมายเลข 1 และพัดลมของหม้อน้ำ หมายเลข 2 และ 5 ด้วย ต่อมาหม้อน้ำหมายเลข 2 4 และ 6 ก็เสียหายตามไปด้วย ทำให้ไอน้ำส่งไปยังเครื่องจักรใหญ่ไม่ได้ เรือมีความเร็วเหลือเพียง 2 นอต แต่ยังไม่ยอมจมง่าย ๆ เรือถูกตอร์ปิโดรวม 21 ลูก และลูกระเบิด ขนาด 450 กิโลกรัม อีก 17 ลูก นอกจากนั้นยังมีลูกระเบิดที่ตกระเบิดใกล้เรืออีกกว่า 20 ลูก แต่เรือที่ได้รับการออกแบบให้ทุกส่วนมีการป้องกันอย่างดี จึงเสียหายไม่มากนัก ปัญหาสำคัญก็คือ การปรับสมดุล แก้อาการเอียงของเรือ เมื่อเรือถูกตอร์ปิโดทางกราบซ้าย ก็ต้องปล่อยน้ำทะเลเข้าถังอับเฉาทางกราบขวา เพื่อแก้อาการเอียง แต่ เมื่อถูกหลายลูก เข้าก็ต้องปล่อยน้ำทะเลเข้า มาแก้เอียงมากขึ้น จนหัวเรือมุดต่ำลง จน ดาดฟ้าจากหัวเรือจนถึงป้อ ปืนหมายเลข 1 มีน้ำท่วมเต็มเหมือนทะเลสาบ แม้การโจมตีจะผ่านไปกว่า 3 ชั่วโมง แล้วก็ไม่สามารถแก้ไข อาการจมน้ำของหัวเรือได้ เรือต้องลอยลำ อยู่รอเวลาจมเท่านั้น ในที่สุด พลเรือตรี อิงุจิ โตชิฮิระ ผู้บังคับการเรือประจัญบาน มุซาชิ ก็จำต้องสั่งสละ เรือใหญ่ โดยตัวท่านได้ยอมจมไปกับเรือ ต่อมาไม่นานส่วนท้ายเรือ มุซาชิ ก็ยกสูงขึ้น เพราะหัวเรือได้จมลงไปใต้น้ำแล้ว เรือเอียงซ้ายแล้วจมลงสู่ใต้ทะเล และจมมิดน้ำเมื่อเวลา 1930 ของวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าพอดี
เมื่อเรือประจัญบานมุซาชิถูกโจมตีได้รับความเสียหาย ความเร็วลดลงจนไม่สามารถตามกระบวนได้ทัน พลเรือเอก คุริตะ ผู้บัญชาการทัพเรือ ก็ได้สั่งการให้เรือ ลาดตระเวนหนัก โทเนะ เรือพิฆาตฮามะคาเซะ และ คิโยชิโมะ อยู่ให้ความคุ้มกัน ต่อมาเรือพิฆาตชิมะคาเซะ ก็เข้ามารับหน้าที่แทนเรือ ฮามะคาเซะ ซึ่งได้รับความเสียหายจากการโจมตีระลอกที่ 5 จาก นั้น เมื่อเห็นว่าเรือมุซาชิต้องลอยลำรอเวลาจมเท่านั้น เรือลาดตระเวนหนักโทเนะ ได้ขออนุมัติแยกตัวใช้ความเร็วตามกระบวนเรือใหญ่ไปปฏิบัติภารกิจหลัก จึงเหลือเรือพิฆาต 2 ลำ ที่อยู่ จนวาระสุดท้ายของเรือ มุซาชิ เพื่อช่วยเหลือพลประจำเรือที่สละเรือใหญ่ คือ เรือพิฆาต ชิมะคาเซะ และเรือพิฆาตคิโยชิโมะ
ต่อไปเป็นแบบแปลนเรือประจัญบานมูซาชิ
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก wiki
เอาหล่ะ ต่อไปมารับชมเรือประจัญบานมูซาชิในแบบ kancolle กันบ้าง
แจกภาพเรื่อยเปื่อย [21] Musashi [Kantai Collection]
[IMG]