แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย tinysmile เมื่อ 2013-12-4 14:48
Beaver บีเวอร์ มหัศจรรย์วิศวกรตัวน้อย
บีเวอร์ (Beaver) จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่อยู่ในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับกระรอกยักษ์
พวกมันมีอยู่ด้วยกันสองสายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ยูเรเชียน (Eurasian beaver) ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Castor fiber
กับพันธุ์อเมริกาเหนือ (North American beaver) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ก็คือ Castor Canadensis (Rodentia)
ทั้งสองชนิดจัดอยู่ในวงศ์ Castoridae ถึงแม้จะมีขนาดและรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน แต่ทั้งสองสายพันธุ์
แยกขาดจากกันตั้งแต่เมื่อ 24,000 ปีที่แล้ว พวกมันจึงไม่สามารถผสมพันธุ์กันเองได้อีก บีเวอร์มีขนาดตัวใหญ่กว่าที่คุณคิด
โดยตัวบีเวอร์ตัวโตเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่พอๆ กับเด็กอายุ 8 ขวบ ขณะที่ตัวบีเวอร์ยักษ์ (Giant beaver)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Castor ohioensis ซึ่งได้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อน
มีขนาดเท่ากับยอดนักชกอย่างไมค์ ไทสันเลยทีเดียว หลายคนอาจจะเคยเห็นหรือรู้จักบีเวอร์จากในภาพยนตร์การ์ตูน
หรืออนิเมชั่น หรือสารคดีหลายเรื่อง เช่น Angry Beaver และ Ice Age เป็นต้น
พวกมันมีอยู่ด้วยกันสองสายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ยูเรเชียน (Eurasian beaver) ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Castor fiber
กับพันธุ์อเมริกาเหนือ (North American beaver) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ก็คือ Castor Canadensis (Rodentia)
ทั้งสองชนิดจัดอยู่ในวงศ์ Castoridae ถึงแม้จะมีขนาดและรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน แต่ทั้งสองสายพันธุ์
แยกขาดจากกันตั้งแต่เมื่อ 24,000 ปีที่แล้ว พวกมันจึงไม่สามารถผสมพันธุ์กันเองได้อีก บีเวอร์มีขนาดตัวใหญ่กว่าที่คุณคิด
โดยตัวบีเวอร์ตัวโตเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่พอๆ กับเด็กอายุ 8 ขวบ ขณะที่ตัวบีเวอร์ยักษ์ (Giant beaver)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Castor ohioensis ซึ่งได้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อน
มีขนาดเท่ากับยอดนักชกอย่างไมค์ ไทสันเลยทีเดียว หลายคนอาจจะเคยเห็นหรือรู้จักบีเวอร์จากในภาพยนตร์การ์ตูน
หรืออนิเมชั่น หรือสารคดีหลายเรื่อง เช่น Angry Beaver และ Ice Age เป็นต้น
บีเวอร์ พันธุ์ Eurasian beaver
บีเวอร์ พันธุ์ North American beaver
บีเวอร์ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเฉพาะเขตซีกโลกเหนือ ในเขตที่มีภูมิอากาศอบอุ่น
และยังไม่เคยพบเห็นตามเขตเส้นศูนย์สูตรปัจจุบัน สัตว์ชนิดนี้มีลักษณะและพฤติกรรมที่โดดเด่น
ทำให้คนทั่วไปสามารถจดจำพวกมันได้อย่างแม่นยำตั้งแต่แรกเห็น ด้วยลักษณะที่ว่าพวกมันมีฟันหน้า
หรือฟันแทะ (incisor) ที่มีขนาดใหญ่เพื่อใช้ไว้แทะเปลือกไม้ตามต้นไม้ขนาดใหญ่เพื่อใช้ในจุดประสงค์บางอย่าง
บีเวอร์เป็นผู้มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อสภาพแวดล้อมของถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน
มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นใด (ยกเว้นมนุษย์) พวกมันทำการก่อสร้างตามสัญชาตญาณและเอาลูกๆ ใส่ไว้ในคอกที่สร้างขึ้น
พวกมันสามารถโค่นต้นไม้ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้วได้ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง การสร้างเขื่อนของบีเวอร์
มีผลต่อระบบนิเวศอย่างมาก เพราะแหล่งน้ำที่ได้จากเขื่อน จะดึงดูดสัตว์จำพวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
และสัตว์เลื้อยคลานให้เข้ามาอาศัยและหากินใกล้บริเวณเขื่อน
เขื่อนที่สร้างโดยบีเวอร์
ภาพตัดขวางจำลองเขื่อนที่บีเวอร์สร้างขึ้น
บีเวอร์ ที่อาศัยอยู่ในบ้านเขื่อนของมัน
นอกจากนี้ การสร้างเขื่อนยังมีประโยชน์ในการป้องกันพวกมันจากนักล่า เนื่องจากบีเวอร์นั้น
จัดเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในน้ำ (semi-aquatic animal) ดังนั้นบีเวอร์จึงต้องการแหล่งน้ำจากเขื่อน
และหางของพวกมันก็มีลักษณะแบนเป็นเสมือนพายของเรือ ซึ่งช่วยให้พวกมันเคลื่อนไหวได้รวดเร็วขึ้นเมื่ออาศัยอยู่ในน้ำ
ซึ่งเขื่อนจากฝีมือตัวบีเวอร์ที่ ใหญ่ที่สุดในโลกนั้น ได้มีการบันทึกว่ามีความยาวถึง 853 เมตร
ถูกค้นพบที่อุทยาน Wood Buffalo National Park บริเวณทางเหนือของ Alberta ประเทศแคนนาดา
โดยเขื่อนบีเวอร์ ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ เกิดขึ้นจาก บีเวอร์สองครอบครัว ที่สร้างเขื่อน จากกิ่งไม้ เลน โคลน และมูลของตัวบีเวอร์
ขวางทางน้ำเพื่อปรับสภาพแวดล้อมโดยรอบให้เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อปกป้องรัง และเป็นแหล่งอาหารของพวกมัน
เขื่อนนี้นับว่าเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ ที่สร้างโดยบีเวอร์
บีเวอร์สามารถดำน้ำได้นานถึง 15 นาที พวกมันมีตีนคู่หลังที่มีลักษณะคล้ายพังผืด
หางแบนที่นำทางเหมือนหางเสือ เปลือกตาโปร่งแสงที่ทำหน้าที่เหมือนแว่นตาว่ายน้ำ
ริมฝีปากซึ่งมีขนขึ้นเป็นแนวที่สามารถกั้นน้ำได้ รวมถึงหูที่สามารถปิดและโพรงจมูกที่สามารถเปิด
ซึ่งช่วยให้พวกมันแทะใต้น้ำได้ ฟันหน้าสี่ซี่ของบีเวอร์มีสีส้มสุกสว่าง ฟันของพวกมันมีสารเคลือบฟัน
หรือเรียกว่า อีนาเมล (enamel) ซึ่งอีนาเมลนี้ประกอบไปด้วยสารอนินทรีย์ คือ Hydroxyapatite (Ca5(PO4)3(OH))
ได้แก่ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ซึ่งคงทนต่อการผุพังอย่างมาก
แม้จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ขึ้นชื่อว่า “ไม่เคยอยู่เฉย” แต่พวกมันก็ค่อนข้างขี้เกียจ ในช่วงฤดูหนาว บีเวอร์จะออกจากโพรงโดยเฉลี่ยหนึ่งครั้งในทุกสองสัปดาห์ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง หางขนของบีเวอร์จะมีขนาดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะบีเวอร์เก็บกักไขมันเอาไว้มี่หางของมัน ด้วยเหตุนี้ หางของมันจึงมีขนาดเล็กลงเมื่อมีการเผาผลาญไขมันตลอดฤดูหนาว
จบแล้วครับ เรื่องราวของเจ้าสัตว์นักวิศวกรตัวน้อย บังเอิญวันนี้กลับบ้านเร็วและได้มีโอกาสดูสารคดีทางทีวีช่องหนึ่ง
และได้เห็นเรื่องราวของบีเวอร์ที่สร้างเขื่อนในเขตพื้นที่ป่าที่ราบทวีปอเมริกาเหนือ รู้สึกว่ามันเป็นสัตว์คัวเล็กๆที่น่านับถือ
นอกจากเขื่อนของมันจะสร้างเพื่อตัวเองแล้ว เขื่อนที่มันสร้างยังเป็นแหล่งน้ำที่มีประโยชน์ต่อฝูงสัตว์หลายชนิดในหน้าแล้งอีกด้วย
หวังว่าเรื่องราวของมัน จะสร้างกำลังใจได้บ้างครับ
เครดิต http://pantip.com/topic/31098309
และยังไม่เคยพบเห็นตามเขตเส้นศูนย์สูตรปัจจุบัน สัตว์ชนิดนี้มีลักษณะและพฤติกรรมที่โดดเด่น
ทำให้คนทั่วไปสามารถจดจำพวกมันได้อย่างแม่นยำตั้งแต่แรกเห็น ด้วยลักษณะที่ว่าพวกมันมีฟันหน้า
หรือฟันแทะ (incisor) ที่มีขนาดใหญ่เพื่อใช้ไว้แทะเปลือกไม้ตามต้นไม้ขนาดใหญ่เพื่อใช้ในจุดประสงค์บางอย่าง
บีเวอร์เป็นผู้มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อสภาพแวดล้อมของถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน
มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นใด (ยกเว้นมนุษย์) พวกมันทำการก่อสร้างตามสัญชาตญาณและเอาลูกๆ ใส่ไว้ในคอกที่สร้างขึ้น
พวกมันสามารถโค่นต้นไม้ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้วได้ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง การสร้างเขื่อนของบีเวอร์
มีผลต่อระบบนิเวศอย่างมาก เพราะแหล่งน้ำที่ได้จากเขื่อน จะดึงดูดสัตว์จำพวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
และสัตว์เลื้อยคลานให้เข้ามาอาศัยและหากินใกล้บริเวณเขื่อน
เขื่อนที่สร้างโดยบีเวอร์
ภาพตัดขวางจำลองเขื่อนที่บีเวอร์สร้างขึ้น
บีเวอร์ ที่อาศัยอยู่ในบ้านเขื่อนของมัน
นอกจากนี้ การสร้างเขื่อนยังมีประโยชน์ในการป้องกันพวกมันจากนักล่า เนื่องจากบีเวอร์นั้น
จัดเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในน้ำ (semi-aquatic animal) ดังนั้นบีเวอร์จึงต้องการแหล่งน้ำจากเขื่อน
และหางของพวกมันก็มีลักษณะแบนเป็นเสมือนพายของเรือ ซึ่งช่วยให้พวกมันเคลื่อนไหวได้รวดเร็วขึ้นเมื่ออาศัยอยู่ในน้ำ
ซึ่งเขื่อนจากฝีมือตัวบีเวอร์ที่ ใหญ่ที่สุดในโลกนั้น ได้มีการบันทึกว่ามีความยาวถึง 853 เมตร
ถูกค้นพบที่อุทยาน Wood Buffalo National Park บริเวณทางเหนือของ Alberta ประเทศแคนนาดา
โดยเขื่อนบีเวอร์ ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ เกิดขึ้นจาก บีเวอร์สองครอบครัว ที่สร้างเขื่อน จากกิ่งไม้ เลน โคลน และมูลของตัวบีเวอร์
ขวางทางน้ำเพื่อปรับสภาพแวดล้อมโดยรอบให้เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อปกป้องรัง และเป็นแหล่งอาหารของพวกมัน
เขื่อนนี้นับว่าเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ ที่สร้างโดยบีเวอร์
บีเวอร์สามารถดำน้ำได้นานถึง 15 นาที พวกมันมีตีนคู่หลังที่มีลักษณะคล้ายพังผืด
หางแบนที่นำทางเหมือนหางเสือ เปลือกตาโปร่งแสงที่ทำหน้าที่เหมือนแว่นตาว่ายน้ำ
ริมฝีปากซึ่งมีขนขึ้นเป็นแนวที่สามารถกั้นน้ำได้ รวมถึงหูที่สามารถปิดและโพรงจมูกที่สามารถเปิด
ซึ่งช่วยให้พวกมันแทะใต้น้ำได้ ฟันหน้าสี่ซี่ของบีเวอร์มีสีส้มสุกสว่าง ฟันของพวกมันมีสารเคลือบฟัน
หรือเรียกว่า อีนาเมล (enamel) ซึ่งอีนาเมลนี้ประกอบไปด้วยสารอนินทรีย์ คือ Hydroxyapatite (Ca5(PO4)3(OH))
ได้แก่ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ซึ่งคงทนต่อการผุพังอย่างมาก
แม้จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ขึ้นชื่อว่า “ไม่เคยอยู่เฉย” แต่พวกมันก็ค่อนข้างขี้เกียจ ในช่วงฤดูหนาว บีเวอร์จะออกจากโพรงโดยเฉลี่ยหนึ่งครั้งในทุกสองสัปดาห์ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง หางขนของบีเวอร์จะมีขนาดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะบีเวอร์เก็บกักไขมันเอาไว้มี่หางของมัน ด้วยเหตุนี้ หางของมันจึงมีขนาดเล็กลงเมื่อมีการเผาผลาญไขมันตลอดฤดูหนาว
จบแล้วครับ เรื่องราวของเจ้าสัตว์นักวิศวกรตัวน้อย บังเอิญวันนี้กลับบ้านเร็วและได้มีโอกาสดูสารคดีทางทีวีช่องหนึ่ง
และได้เห็นเรื่องราวของบีเวอร์ที่สร้างเขื่อนในเขตพื้นที่ป่าที่ราบทวีปอเมริกาเหนือ รู้สึกว่ามันเป็นสัตว์คัวเล็กๆที่น่านับถือ
นอกจากเขื่อนของมันจะสร้างเพื่อตัวเองแล้ว เขื่อนที่มันสร้างยังเป็นแหล่งน้ำที่มีประโยชน์ต่อฝูงสัตว์หลายชนิดในหน้าแล้งอีกด้วย
หวังว่าเรื่องราวของมัน จะสร้างกำลังใจได้บ้างครับ
เครดิต http://pantip.com/topic/31098309
Beaver บีเวอร์ มหัศจรรย์วิศวกรตัวน้อย
[IMG]