หมึกโคลอสซัล หรือ หมึกมหึมา (อังกฤษ: Colossal Squid, Antarctic Giant Cranch Squid) เชื่อว่าเป็นหมึกสปีชีส์ที่ขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นสปีชีส์เดียวในสกุล Mesonychoteuthis [2]
ที่มา http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2385358
ประเมินจากตัวอย่างที่ขนาดเล็กกว่าและยังไม่โตเต็มวัย คาดว่าขนาดตัวเต็มวัยใหญ่ที่สุดอาจถึง 14 เมตร จึงเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่สุดด้วย
ข้อมูลทางชีววิทยา
หนวดไม่เหมือนหมึกชนิดอื่นที่มีปุ่มดูดยาวเป็นแถวหรือมีฟันซี่เล็ก แต่มีทั้งปุ่มดูดและตะขอที่แหลมคม ลำตัวกว้างกว่า หนากว่า และหนักกว่าหมึกชนิดอื่น เชื่อว่ามีแมนเทิลที่ยาวกว่าหมึกชนิดอื่น แต่มีหนวดสั้นกว่าเมื่อเทียบตามส่วนจะงอยปากใหญ่ที่สุดในบรรดาหมึกที่รู้จักกัน มีขนาดและความแข็งแรงมากกว่าในหมึกสกุล Architeuthis และเชื่อว่า มีดวงตาที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรสัตว์ถิ่นอาศัยมีบริเวณหลายพันกิโลเมตร ตั้งแต่ทวีปแอนตาร์กติก ขึ้นไปทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้, ทางใต้ของทวีปแอฟริกา และทางใต้ของนิวซีแลนด์ กล่าวคือมีถิ่นอาศัยในมหาสมุทรทางตอนใต้ของโลกที่ล้อมรอบขั้วโลกใต้เป็นวงกลมวงจรชีวิตของหมึกชนิดนี้เป็นที่รู้จักน้อยมาก เชื่อว่าล่าเหยื่อเช่น หนอนทะเลและหมึกชนิดอื่นในทะเลลึก โดยใช้แสงเรืองจากตัวเอง อาจกินปลาขนาดเล็ก เพราะชาวประมงจับได้ขณะจับปลาจิ้มฟันยังไม่เคยมีการสังเกต การสืบพันธุ์ของหมึกชนิดนี้ แต่อนุมานได้จากลักษณะทางกายวิภาค ตัวผู้ไม่มี hectocotylus (หนวดในสัตว์ประเภทหมึกซึ่งใช้ปล่อยอสุจิไปในตัวเมีย) จึงคาดว่าใช้ ลึงค์ โดยสอดใส่อสุจิเข้าสู่ร่างกายของตัวเมียโดยตรงเชื่อว่าศัตรูตามธรรมชาติที่สำคัญคือ วาฬสเปิร์ม ซึ่งซากวาฬจำนวนมากมีแผลบนหลัง คล้ายปุ่มดูดของหมึกขนาดใหญ่ และซากจะงอยปากหมึก ที่พบในกระเพาะของวาฬสเปิร์มแอนตาร์กติกที่อาศัยในมหาสมุทรตอนใต้ ถึง 14% เป็นของหมึกชนิดนี้ ทำให้อนุมานได้ว่ามีปริมาณ 77% ของน้ำหนักอาหารที่วาฬเหล่านี้ในบริเวณนั้นกิน มีสัตว์ชนิดอื่นอีกที่อาจกินหมึกชนิดนี้ในช่วงวัยต่างๆ ได้แก่ วาฬจมูกขวด, วาฬไพล็อต, แมวน้ำช้างขั้วโลกใต้, ปลาจิ้มฟันพาตาโกเนีย, ฉลามขี้เซาแปซิฟิก และนกอัลบาทรอส โดยซากจะงอยปากจากตัวเต็มวัย พบได้แต่ในกระเพาะอาหารสัตว์ขนาดใหญ่พอจะล่าตัวเต็มวัยได้เท่านั้น เช่น วาฬสเปิร์ม และฉลามขี้เซาแปซิฟิก ขณะที่นักล่าอื่นกินได้เพียงวัยอ่อนจากตัวอย่างไม่กี่ชิ้น โดยเฉพาะซากจะงอยปากที่พบในกระเพาะอาหารของวาฬสเปิร์ม จึงคาดว่า หมึกที่โตเต็มวัยน่าจะอาศัยที่ความลึกอย่างน้อย 2,200 เมตร ขณะที่ตัวที่ยังไม่โตเต็มที่อาศัยที่ความลึก 1,000 เมตรเป็นอย่างมาก
เปรียบเทียบขนาดรถบรรทุก วาฬสีน้ำเงิน หมึกหอมยักษ์ เเละหมึกมหึมา
ประวัติการค้นพบ
ค.ศ. 1925 สปีชีส์นี้ถูกพบครั้งแรก โดยพบเพียงหนวด 2 เส้นในกระเพาะอาหารของวาฬสเปิร์ม
- ค.ศ. 1981 ตัวอย่างถูกจับได้โดยเรือลากอวนของรัสเซีย ในทะเลรอสส์ นอกชายฝั่งทวีปแอนตาร์กติก ความยาวรวม 3.9 เมตร ภายหลังพบว่าเป็นหมึกเพศเมียสปีชีส์นี้ที่ยังไม่โตเต็มที่
- ค.ศ. 2003 ตัวอย่างที่สมบูรณ์ถูกพบใกล้ผิวน้ำ ความยาวรวม 6 เมตร แมนเทิลยาว 2.5 เมตร และหนักประมาณ 195 กิโลกรัม
- ค.ศ. 2005 25 มิถุนายน ตัวอย่างยังมีชีวิตถูกจับได้ที่ความลึก 1,625 เมตร ขณะมันกำลังล่า ปลาจิ้มฟันแอนตาร์กติก นอกชายฝั่งหมู่เกาะจอร์เจียใต้
- ค.ศ. 2007 14 กุมภาพันธ์ ตัวอย่างขนาดใหญ่ที่สุดถูกจับได้โดยเรือหาปลา ซาน แอสไปริง ของนิวซีแลนด์ นอกชายฝั่งทวีปแอนตาร์ติกา และนำขึ้นเรือกลับมาศึกษา ความยาวรวม 10 เมตร หนัก 494 กิโลกรัม และประกาศเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ ว่าเป็นหมึกขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยจับได้
ขนาดเมื่อเทียบกับรถบัสในลอนดอน
ปัจจุบันยังไม่เคยมีไครพบหมึกชนิดนี้ตอนโตเต็มวัย เพราะพวกมันอาศัยอยู่ใต้มหาสมุทรที่ลึกมาก เเต่จะพบหลักฐานจากร่องรอยปุ่มดูจากการต่อสู้บริเวณผิวหนังของวาฬสเปิรมซึ่งใหญ่กว่ากันอย่างเทียบไม่ได้!!!
วันนี้ คุณทานหมึกย่างกันแล้วหรือยัง?
ที่มา http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2385358
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Zero2Zero เมื่อ 2012-9-29 23:35
มาทานหมึกย่างกันเถอะ...