สวัสดีครับ พี่น้องทุกท่าน
แบบว่า ตามเข้ามาด้วยการเสพเมะเรื่องนึง ที่โหลดมาจากบล็อกแจกหนังแห่งหนึ่ง
ตามมาเสพ EP ที่เหลือ
อย่าว่างั้นงี้เลยนะครับ หลังจากที่เสพมาได้พักใหญ่ๆ ปัญหาเล็กๆอย่างนึง ที่ผมเจอ(คิดว่าหลายท่านก็คงเจอ)
คือ เรื่อง บทบรรยายไทย การสะกด และการใช้ภาษา ที่เจอผิดบ่อยมาก คือ คำว่า "อนุญาติ" คำนี้ ไม่มี สระ "อิ" ที่ตัว ต.เต่า ที่ถูกคือ "อนุญาต"
เจออยู่คำนึง ถึงกับรับไม่ได้ คือคำว่า "บันดา" (หมดกัน ภาษาพ่อภาษาแม่) "บรรดา" เขียนแบบนี้ครับผม
หรือ คำว่า อมตะ เคยเจออยู่ทีนึง เขียนว่า อัมมตะ หรือไม่ก็ อำมตะ เสียงอ่าน มันอ่านว่า อะ-มะ-ตะ ไม่ใช่ อำ-มะ-ตะ(คำว่า มตะ หรือ มะตะ แปลว่า ตาย เติมอ.อ่างไว้ข้างหน้า ให้ความหมายตรงข้ามกับคำเดิม แปลว่า ไม่ตาย ทำนองเดียวกับคำว่า มนุษย์ และ อมนุษย์)
หรือ การพิมพ์ และการสะกด มันมีลำดับ ก่อน-หลัง ในการพิมพ์ อย่าง สระ กับ วรรณยุกต์ เอก โท ตรี โดยปกติต้องพิมพ์วรรณยุกต์ก่อน แล้วตามด้วยสระ เสมอ เนื่องจาก อ้างอิงระบบการพิมพ์มาจากเครื่องพิมพ์ดีดแบบเก่า ที่ใช้กระเดื่องและกลไกในการพิมพ์และขยับช่องไฟ
บนแป้นวรรณยุกต์ จะไม่มีกระเดื่องโยงไปขยับช่องไฟ
คำว่า "น้ำ" ต้องพิมพ์ น.หนู ตามด้วยไม้โท แล้วตามด้วย สระอำ หากพิมพ์สลับลำดับ มันจะขึ้นเป็นแถบดำ ไม่ก็ เว้นวรรคแปลกๆออกมา แบบนี้ "นำ้"
ไหนๆ ทำแล้ว ทำให้ดี สมกับได้ชื่อว่าเป็น "คนไทย"
อีกอย่าง มันทำให้ผมคิดว่า การศึกษา ระดับต้นของบ้านเรา มันเป็นอะไรไปแล้ว เด็กๆสมัยนี้ เขียนหนังสือ ผิดๆถูกๆ และติดนิสัยมาจนถึงระดับสูงอย่างระดับปริญญา จะผิดที่เด็กซะทั้งหมด คงไม่ใช่ ที่หนักกว่า น่าจะเป็นครูผู้สอน คงขาดความเข้มงวดไปเยอะพอสมควร
เข้าใจว่า บางบท บางตอน สมควรใช้การสะกด และการเล่นเสียงแบบ ภาษาวิบัติ อันนั้น เข้าใจ และมันไม่ถึงกับผิด ตรงกันข้าม มันช่วยให้สนุกยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ แต่บทสนทนาปกติ ก็ควร พิมพ์ และตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนจะเผยแพร่
ผมเอง ยอมรับ ว่า ไม่มีปัญญาทำบทบรรยายแบบนี้ เพราะ ไม่เก่งภาษาญี่ปุ่น แค่พออ่านได้เป็นบางตัว
และก็ยัง ขอบคุณ และชื่นชมท่านที่แปลและใส่บทบรรยายมาให้ ไม่งั้นคงไม่ต่างอะไรกับนั่งดูหนัง AV ที่ไม่สนเนื้อเรื่อง และบทสนทนา
ผมเองก็แค่อยากจะ แนะนำ ไม่ได้เป็นการด่านะครับ อยากให้ทำแบบนีต่อไป และทำให้ดียิ่งขึ้นครับ
ปล.ผมไม่ใช่ครูภาษาไทยนะ
แบบว่า ตามเข้ามาด้วยการเสพเมะเรื่องนึง ที่โหลดมาจากบล็อกแจกหนังแห่งหนึ่ง
ตามมาเสพ EP ที่เหลือ
อย่าว่างั้นงี้เลยนะครับ หลังจากที่เสพมาได้พักใหญ่ๆ ปัญหาเล็กๆอย่างนึง ที่ผมเจอ(คิดว่าหลายท่านก็คงเจอ)
คือ เรื่อง บทบรรยายไทย การสะกด และการใช้ภาษา ที่เจอผิดบ่อยมาก คือ คำว่า "อนุญาติ" คำนี้ ไม่มี สระ "อิ" ที่ตัว ต.เต่า ที่ถูกคือ "อนุญาต"
เจออยู่คำนึง ถึงกับรับไม่ได้ คือคำว่า "บันดา" (หมดกัน ภาษาพ่อภาษาแม่) "บรรดา" เขียนแบบนี้ครับผม
หรือ คำว่า อมตะ เคยเจออยู่ทีนึง เขียนว่า อัมมตะ หรือไม่ก็ อำมตะ เสียงอ่าน มันอ่านว่า อะ-มะ-ตะ ไม่ใช่ อำ-มะ-ตะ(คำว่า มตะ หรือ มะตะ แปลว่า ตาย เติมอ.อ่างไว้ข้างหน้า ให้ความหมายตรงข้ามกับคำเดิม แปลว่า ไม่ตาย ทำนองเดียวกับคำว่า มนุษย์ และ อมนุษย์)
หรือ การพิมพ์ และการสะกด มันมีลำดับ ก่อน-หลัง ในการพิมพ์ อย่าง สระ กับ วรรณยุกต์ เอก โท ตรี โดยปกติต้องพิมพ์วรรณยุกต์ก่อน แล้วตามด้วยสระ เสมอ เนื่องจาก อ้างอิงระบบการพิมพ์มาจากเครื่องพิมพ์ดีดแบบเก่า ที่ใช้กระเดื่องและกลไกในการพิมพ์และขยับช่องไฟ
บนแป้นวรรณยุกต์ จะไม่มีกระเดื่องโยงไปขยับช่องไฟ
คำว่า "น้ำ" ต้องพิมพ์ น.หนู ตามด้วยไม้โท แล้วตามด้วย สระอำ หากพิมพ์สลับลำดับ มันจะขึ้นเป็นแถบดำ ไม่ก็ เว้นวรรคแปลกๆออกมา แบบนี้ "นำ้"
ไหนๆ ทำแล้ว ทำให้ดี สมกับได้ชื่อว่าเป็น "คนไทย"
อีกอย่าง มันทำให้ผมคิดว่า การศึกษา ระดับต้นของบ้านเรา มันเป็นอะไรไปแล้ว เด็กๆสมัยนี้ เขียนหนังสือ ผิดๆถูกๆ และติดนิสัยมาจนถึงระดับสูงอย่างระดับปริญญา จะผิดที่เด็กซะทั้งหมด คงไม่ใช่ ที่หนักกว่า น่าจะเป็นครูผู้สอน คงขาดความเข้มงวดไปเยอะพอสมควร
เข้าใจว่า บางบท บางตอน สมควรใช้การสะกด และการเล่นเสียงแบบ ภาษาวิบัติ อันนั้น เข้าใจ และมันไม่ถึงกับผิด ตรงกันข้าม มันช่วยให้สนุกยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ แต่บทสนทนาปกติ ก็ควร พิมพ์ และตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนจะเผยแพร่
ผมเอง ยอมรับ ว่า ไม่มีปัญญาทำบทบรรยายแบบนี้ เพราะ ไม่เก่งภาษาญี่ปุ่น แค่พออ่านได้เป็นบางตัว
และก็ยัง ขอบคุณ และชื่นชมท่านที่แปลและใส่บทบรรยายมาให้ ไม่งั้นคงไม่ต่างอะไรกับนั่งดูหนัง AV ที่ไม่สนเนื้อเรื่อง และบทสนทนา
ผมเองก็แค่อยากจะ แนะนำ ไม่ได้เป็นการด่านะครับ อยากให้ทำแบบนีต่อไป และทำให้ดียิ่งขึ้นครับ
ปล.ผมไม่ใช่ครูภาษาไทยนะ
ฝากตัวด้วยครับ เพิ่งสมัคร