ยาปฏิชีวนะจากผิวกบ
อาจจะฟังดูน่าขยะแขยงใช่มั๊ยคะ ที่ปล่อยกบให้ลงไปว่ายในถังน้ำนม แต่เมื่อประมาณ 25 ปีก่อน นักวิจัย Michael Zasloff ได้ทำการผ่าตัดกบพันธุ์แอฟริกัน เพื่อนำรังไข่ออกมา ในการทดลองทางการแพทย์ ที่ National Institutes of Health ในสหรัฐ และพบภายหลังว่า กบที่ถูกผ่าตัดรังไข่สามารถรักษาแผลเองได้และไม่มีการติดเชื้อใด ๆ
การค้นพบโดยบังเอิญในครั้นนั้นทำให้ Zasloff และทีมงานพยายามหาคำตอบว่า ทำไมกบสามารถผลิตสารฆ่าเชื้อที่รักษาแผลของพวกมันได้อย่างชะงัด และได้พบว่ากบแอฟริกันเหล่านั้นสร้างสารฆ่าเชื้อบนผิวหนังของพวกมัน!!
อาจารย์ Zasloff กล่าวว่า กบแต่ละชนิดผลิตสารฆ่าเชื้อที่แตกต่างกัน ซึ่งช่วยกำจัดเชื้อต่าง ๆ ได้หลายชนิด อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า กบผลิตสาร Peptide ที่ฆ่าเชื้อที่เป็นต้นเหตุของเชื้อ Salmonella ที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้
นักเคมีชาวรัสเซีย Albert Lebedev กล่าวว่า สารจากผิวหนังของกบมีสรรพคุณตั้งแต่ ต้านเชื้อรา ฆ่าไวรัส ปราบเบคทีเรีย ต้านเนื้องอก เสริมระบบประสาท และอื่น ๆ อีก แต่ที่พิเศษเด่นไปกว่านั้นคือ สารสู้โรคจากกบมีประสิทธิภาพดีโดยไม่ต้องใช้ในปริมาณมาก
และขณะนี้อาจารย์ Zasloff กำลังค้นคว้าวิจัยและพัฒนา ยาแก้การติดเชื้อที่เท้าสำหรับคนเป็นโรคเบาหวานโดยใช้ Peptide จากกบ รายงานฉบับเต็มของการศึกษาสรรพคุณของสารจากผิวหนังกบในรัสเซียถูกตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ The Journal of Proteome Research และอนาคตอาจจะมีการนำ Peptide จากกบนี้ไปผลิตยาปฏิชีวะรักษาโรคอื่น ๆ ต่อไปก็เป็นได้ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก voathai.com
ทราบหรือไม่คะว่า สมัยก่อน เมื่อครั้งที่ตู้เย็นยังไม่ได้ถูกผลิตขึ้นมาสู่โลกใบนี้ และยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถเก็บน้ำนมได้อย่างทันสมัยเหมือนอย่างในปัจุบัน เกษตรกรที่ประกอบอาชีพฟาร์มโคนมในประเทศรัสเซียมีความเชื่อว่า หากปล่อย "กบ" ให้ว่ายอยู่ในถังนมแล้วจะช่วยให้นมบูดช้าลง ทำให่้สามารถเก็บน้ำนมได้นานขึ้น ซึ่งก็ได้ผลดีทีเดียว
ซึ่งต่อมานักวิทยาศาสตร์พบว่า สารที่ผลิตจากกบที่อยู่บนผิวกบสามารถฆ่าเชื้อได้หลายชนิดและอาจนำไปผลิตยาปฏิชีวนะได้!!
อาจจะฟังดูน่าขยะแขยงใช่มั๊ยคะ ที่ปล่อยกบให้ลงไปว่ายในถังน้ำนม แต่เมื่อประมาณ 25 ปีก่อน นักวิจัย Michael Zasloff ได้ทำการผ่าตัดกบพันธุ์แอฟริกัน เพื่อนำรังไข่ออกมา ในการทดลองทางการแพทย์ ที่ National Institutes of Health ในสหรัฐ และพบภายหลังว่า กบที่ถูกผ่าตัดรังไข่สามารถรักษาแผลเองได้และไม่มีการติดเชื้อใด ๆ
การค้นพบโดยบังเอิญในครั้นนั้นทำให้ Zasloff และทีมงานพยายามหาคำตอบว่า ทำไมกบสามารถผลิตสารฆ่าเชื้อที่รักษาแผลของพวกมันได้อย่างชะงัด และได้พบว่ากบแอฟริกันเหล่านั้นสร้างสารฆ่าเชื้อบนผิวหนังของพวกมัน!!
อาจารย์ Zasloff กล่าวว่า กบแต่ละชนิดผลิตสารฆ่าเชื้อที่แตกต่างกัน ซึ่งช่วยกำจัดเชื้อต่าง ๆ ได้หลายชนิด อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า กบผลิตสาร Peptide ที่ฆ่าเชื้อที่เป็นต้นเหตุของเชื้อ Salmonella ที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้
นักเคมีชาวรัสเซีย Albert Lebedev กล่าวว่า สารจากผิวหนังของกบมีสรรพคุณตั้งแต่ ต้านเชื้อรา ฆ่าไวรัส ปราบเบคทีเรีย ต้านเนื้องอก เสริมระบบประสาท และอื่น ๆ อีก แต่ที่พิเศษเด่นไปกว่านั้นคือ สารสู้โรคจากกบมีประสิทธิภาพดีโดยไม่ต้องใช้ในปริมาณมาก
และขณะนี้อาจารย์ Zasloff กำลังค้นคว้าวิจัยและพัฒนา ยาแก้การติดเชื้อที่เท้าสำหรับคนเป็นโรคเบาหวานโดยใช้ Peptide จากกบ รายงานฉบับเต็มของการศึกษาสรรพคุณของสารจากผิวหนังกบในรัสเซียถูกตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ The Journal of Proteome Research และอนาคตอาจจะมีการนำ Peptide จากกบนี้ไปผลิตยาปฏิชีวะรักษาโรคอื่น ๆ ต่อไปก็เป็นได้ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก voathai.com
ยาปฏิชีวนะจากผิวกบ