แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khemooo เมื่อ 2013-10-18 18:32
สถานที่คุมขังนักโทษซึ่งอาจไม่ค่อยมีใครเต็มใจเรียกว่า “คุก” แห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเล ห่างจากกรุงออสโลเพียงราวๆ 1 ชั่วโมงรถยนต์ และเข้าถึงได้ด้วยเรือเฟอร์รีเท่านั้นปรัชญาแหวกแนวของเรือนจำแห่งนี้สามารถสัมผัสได้ตั้งแต่คุณก้าวเท้าลงเรือที่มีเหล่านักโทษเป็นผู้ดูแล พวกเขาเอ่ยทักทายคนนอกอย่างเป็นกันเอง แถมยังช่วยผูกเรือให้เสร็จสรรพ จนคุณอาจนึกสงสัยว่าที่นี่เป็นคุกแน่หรือ? แต่เมื่อคุณได้เห็นความเป็นอยู่อันแสนสบายในบ้านพักสไตล์รีสอร์ตของเรือนจำบาสตอย ก็จะเข้าใจได้ว่า เหตุใดนักโทษคดีอุกฉกรรจ์เหล่านี้จึงไม่คิดหลบหนีไปไหนให้ลำบาก
คุกที่สบายที่สุดในโลก
สถานที่คุมขังนักโทษซึ่งอาจไม่ค่อยมีใครเต็มใจเรียกว่า “คุก” แห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเล ห่างจากกรุงออสโลเพียงราวๆ 1 ชั่วโมงรถยนต์ และเข้าถึงได้ด้วยเรือเฟอร์รีเท่านั้นปรัชญาแหวกแนวของเรือนจำแห่งนี้สามารถสัมผัสได้ตั้งแต่คุณก้าวเท้าลงเรือที่มีเหล่านักโทษเป็นผู้ดูแล พวกเขาเอ่ยทักทายคนนอกอย่างเป็นกันเอง แถมยังช่วยผูกเรือให้เสร็จสรรพ จนคุณอาจนึกสงสัยว่าที่นี่เป็นคุกแน่หรือ? แต่เมื่อคุณได้เห็นความเป็นอยู่อันแสนสบายในบ้านพักสไตล์รีสอร์ตของเรือนจำบาสตอย ก็จะเข้าใจได้ว่า เหตุใดนักโทษคดีอุกฉกรรจ์เหล่านี้จึงไม่คิดหลบหนีไปไหนให้ลำบาก
เกาะบาสตอยมีชายหาดกว้างขวางให้นักโทษได้นอนเอกเขนกอาบแสงแดดอุ่นๆ ในฤดูร้อน ทั้งยังมีแหล่งตกปลา, คอร์ตเทนนิส หรือแม้กระทั่งห้องเซาน่า และแทนที่จะมีลูกกรงเหล็กไว้กักขังคนผิดเหมือนเช่นเรือนจำทั่วไป นักโทษที่บาสตอยกลับมีบ้านไม้หลังเล็กทาสีหวานเป็นของตัวเอง แถมยังถือกุญแจบ้านไปไหนมาไหนได้ตามชอบใจอีกต่างหา ที่บาสตอยไม่มีทั้งเหล่าผู้คุมหน้าเ:X้ยม หรือกำแพงสูงป้องกันนักโทษหลบหนี ทั้งที่เกาะแห่งนี้เต็มไปด้วยอาชญากรที่เคยก่อคดีร้ายแรงมากมาย ตั้งแต่ค้ายาเสพติดไปจนถึงฆ่าข่มขืน แต่คนเหล่านี้กลับได้ใช้ชีวิตอย่างที่คนธรรมดาทั่วไปต้องยอม “เสียเงินซื้อ” ในช่วงวันหยุดพักผ่อน
แนวคิดของเรือนจำบาสตอยไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจสำหรับชาวนอร์เวย์ ด้วยวัตถุประสงค์ของเรือนจำมิใช่การลงโทษผู้กระทำผิด แต่ต้องการ “เปลี่ยน” พฤติกรรมและมุมมองพวกเขาให้อาร์เน คเวิร์นวิค นีลเซน ผู้ว่าการเรือนจำบาสตอย ให้เหตุผลในเรื่องนี้ว่า การใช้บทลงโทษที่รุนแรงต่ออาชญากรไม่ได้ช่วยอะไร นอกจากจะยิ่งทำให้พวกเขาหมกมุ่นกับความคิดป่าเถื่อนมากขึ้น นโยบายของเรือนจำบาสตอยดูจะได้ผลดีเสียด้วย เพราะจากสถิติพบว่า นักโทษที่เคยผ่านชีวิตในเรือนจำทั่วๆ ไปของนอร์เวย์กลับไปกระทำผิดซ้ำอีกภายใน 2 ปี เพียงร้อยละ 20 ขณะที่เรือนจำบาสตอยมีสถิตินักโทษกระทำผิดซ้ำเพียงร้อยละ 16 เท่านั้น ในทางตรงกันข้าม ผลวิจัยเมื่อปี 2011 พบว่า นักโทษในเรือนจำของสหรัฐฯ มีสถิติการกระทำความผิดซ้ำภายใน 3 ปี หลังถูกปล่อยตัวสูงถึงร้อยละ 43 ส่วนผลการศึกษาก่อนหน้านั้นก็พบว่า นักโทษในสหรัฐฯ มีแนวโน้มทำผิดซ้ำถึงร้อยละ 50 ทีเดียว
เมื่อเอ่ยถึงชีวิตนักโทษในเรือนจำบาสตอย พวกเขามีกฎเกณฑ์ให้ถือปฏิบัติเพียงน้อยนิด แต่มีกิจกรรมดีๆ ให้เลือกทำมากมายในแต่ละวัน นักโทษเหล่านี้จะต้องรายงานกิจกรรมที่ตนเองทำระหว่างเวลา 8.30-15.30 น.ของทุกวันให้เจ้าหน้าที่รับทราบ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะทำอะไร เช่น ทำสวน, ปลูกผัก, เลี้ยงม้า หรืออื่นๆ และยังสามารถนำ “เงินเบี้ยเลี้ยง” ราว 70 ปอนด์ต่อสัปดาห์ไปซื้อของจากซูเปอร์มาร์เกตบนเกาะมาทำอาหารมื้อเช้าหรือมื้อกลางวันรับประทานเองได้ด้วย ส่วนมื้อเย็นทางเรือนจำจะจัดเตรียมอาหารไว้ให้ ซึ่งก็มีแต่เมนูชั้นดี เช่น ปลาแซลมอน และแกงไก่พริกแดง เป็นต้น ด้วยว่าเกาะบาสตอยมีเพียงผืนน้ำกว้าง 1.5 ไมล์ขวางกั้นจากแผ่นดินใหญ่ และไม่มีแม้แต่รั้วลวดหนามที่จะป้องกันการหลบหนี นักโทษที่ “อึด” พอจึงอาจจะไปจากที่นี่ด้วยการว่ายน้ำข้ามทะเลไป หรือไม่ก็ขโมยเรือสักลำ แต่ปรากฏว่าที่ผ่านมาแทบไม่มีใครเคยทดลองมาก่อน เพราะหากหนีออกไปและถูกจับได้ก็จะถูกเพิ่มโทษและส่งตัวไปยังเรือนจำที่มีมาตรการคุมเข้มสูงสุด ซึ่งคงไม่มีใครปรารถนาเช่นนั้น
การที่เรือนจำบาสตอยมีเจ้าหน้าที่เพียง 3 นายคอยรักษาความปลอดภัยยามค่ำคืน ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักโทษไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องหลบหนีไปไหน ยิ่งไปกว่านั้น นีลเซน ยังมีกลยุทธ์ “ซื้อใจ” อาชญากรเหล่านี้ด้วยการแจกสมอลทอล์กให้ตั้งแต่วันแรกที่มาถึงเกาะ และสั่งให้พวกเขาหาโทรศัพท์สักเครื่องบนแผ่นดินใหญ่โทร.กลับมาบอกเจ้าหน้าที่ (ในกรณีที่หนีออกไปได้) “เพื่อเราจะได้ไม่ต้องส่งยามฝั่งออกไปตามหาพวกคุณ” แม้จะสุขสบายเหมือนมาพักผ่อนตากอากาศ แต่นักโทษทุกคนในเรือนจำบาสตอยก็ยังปรารถนาที่จะก้าวออกไปจากที่นี่ทันทีที่รับโทษครบกำหนด เพราะถึงอย่างไรมันก็ยังเป็น “คุก” อยู่ดี และในส่วนลึกของจิตใจแล้ว พวกเขาก็ยังทราบว่าตนเองไม่ได้มีอิสรภาพอย่างแท้จริง
นอกจากเกาะบาสตอย นอร์เวย์ยังมีเรือนจำอีกหลายแห่งที่ใช้นโยบาย “เป็นมิตรกับนักโทษ” เพื่อขัดเกลาพฤติกรรมพวกเขาให้กลับไปเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป เช่น เรือนจำฮาเลนเด (Halende Prison) ที่ดูเผินๆ เหมือนโรงแรมมากกว่า และว่ากันว่าอาจจะเป็นสถานที่คุมขังมือปืนหัวรุนแรง อันเดอร์ส เบห์ริง เบรวิก ผู้เคยก่อเหตุวางระเบิดสำนักงานรัฐบาลในกรุงออสโล และกราดยิงค่ายยุวชนบนเกาะอูเทอร์ยาของนอร์เวย์จนมีคนตายไปถึง 77 ศพ เมื่อปี 2011 ด้วย แม้หลายคนอาจมองว่า สิ่งที่อาชญากรเหล่านี้ได้รับจากเรือนจำบาสตอยช่างไม่ยุติธรรมต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเอาเสียเลย แต่ Gerhard Ploeg ที่ปรึกษาอาวุโสจากกระทรวงยุติธรรมนอร์เวย์ ก็ยืนยันว่า “เป้าหมายหลักของเราคือการนำนักโทษกลับคืนสู่สังคม”
คุกที่สบายที่สุดในโลก