แนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมถือเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการ
ต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
ธุรกิจของพนักงานที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมต่าง ๆ มากมายที่ต้องการการมีส่วนร่วมของพนักงาน
ทั่วไปจึงจะส่งผลให้การบริหารจัดการงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจของ
พนักงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
หลักการมีส่วนร่วม
หลักของการมีส่วนร่วม ในความหมายของการบริหารจัดการจะมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับ“การตัดสินใจ” นั่นคือ การมีส่วนร่วมจะนำไปสู่การตัดสินใจอย่างมีคุณค่าและอย่างชอบธรรม และต้องเป็นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (meaningfulparticipations) ไม่วางระบบไว้ให้ดูเหมือนว่าได้จัดกระบวนการให้มีส่วนร่วมแล้วเท่านั้น
ถ้าการตัดสินใจที่เกิดจากการมีส่วนร่วมมีความสมเหตุสมผลและชอบธรรมก็ต้องนำไปปฏิบัติแต่ถ้าผู้มีอำนาจเห็นว่าการตัดสินใจนั้นไม่เหมาะสมขัดกับการตัดสินของการมีส่วนร่วมก็จะต้องอธิบายได้โดยมีมาตรฐานแห่งความชอบธรรมที่จะเลือกตัดสินใจเช่นนั้นโดยที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับได้
หากจะดูแผนภูมิของการมีส่วนร่วม(ดูแผนภูมิการมีส่วนร่วม : Participation continuum) จะเห็นว่ามีตั้งแต่น้อยที่สุดของการมีส่วนร่วมคือ “แจ้งเพื่อทราบ” นั่นคือได้ตัดสินใจไปแล้วจึงมาแจ้งให้ทราบ ถ้าเป็นเรื่องเล็กน้อยอาจไม่สร้างปัญหา
เทคนิควิธีมีการแบ่งออกมาเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน
1.เทคนิคการมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล
2.เทคนิคการมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็น
3.เทคนิคการมีส่วนร่วมแบบปรึกษาหารือ
หลักการเลือกเทคนิคการมีส่วนร่วม
- เทคนิคท่เลือกเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่แถลงไว้หรือไม่
- หน่วยงานมีทรัพยากรเพียงพอที่จะใช้ในการทำเทคนิคนั้นหรือไม่
- ถ้าใช้เทคนิคดังกล่าวจะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังถูกต้องหรือไม่
- มีเวลาเหมาะสมและเพียงพอหรือไม่ในการใช้เทคนิคนี้หรือไม่
- หน่วยงานมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพียงพอจะใช้เทคนิคนี้หรือไม่
- มีบุคลากรที่มีทักษะในเทคนิคนี้หรือไม่หรือหน่วยงานต้องอาศัย
การสนับสนุนจากภายนอก
- เทคนิคนี้อย่างเดียวจะทำให้ประชาชนพอใจหรือไม่ หรือต้องทำร่วมกับเทคนิคอื่นๆ
- การใช้เทคนิคจะส่งผลให้การมีส่วนร่วมที่จัดกลายเป็นinputs
ที่ผู้จัดต้องการและสามารถนำไปใช้ได้ไหม
- ในอดีตเคยใช้เทคนิคนี่มาแล้วและประสบความสำเร็จกับกลุ่มประชาชน
ทีมี่ลักษณะใกล้เคียงกันหรือเปล่า
- มีสถานการณ์พิเศษอะไรที่อาจกระทบการใช้เทคนิคนี้หรือไม่
สรุปหลักการเลือกเทคนิค
- เทคนิคนั้นเหมาะสมกับกลุ่มประชาชนผู้เข้าร่วม
- เป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะขิงโครงการที่จะจัดทำ
- เป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับศักยภาพและทรัพยากรของทีมที่จัด
- เป็นเทคนิคที่เหมสะสมกับช่วงเวลาจัด
การมีส่วนรวม