ในปี ค.ศ. 1888 นายฟรายด์ริช ไรนิตเซอร์ (Friedrich Reinitzer) เป็น นักพฤกษศาสตร์ ชาวออสเตรีย ขณะที่เขาศึกษาสารไขมันจากพืช ชั่วข้ามคืนเท่านั้น เขาพบสารชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายโคเลสเตอรอล อยู่ในสภาวะละลายเป็นของเหลวในภาวะที่มีความร้อน พอเย็นตัวลงก็กลายเป็นสารสีขุ่น และเมื่อเย็นลงอีกก็กลายเป็นสีใส พอเย็นตัวถึงจุดหนึ่ง กลับเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินและตกผลึก ซึ่งเป็นผลึกเหลว นำมาใช้สร้างจอแอลซีดีหน้าปัดนาฬิกาข้อมือแบบดิจิตอล หน้าจอเครื่องคิดเลขหน้าจอเครื่องแฟกซ์ จอคอมพิวเตอร์ จอทีวีที่ติดตั้งในรถยนตร์ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ และแม้แต่จอทีวีขนาดใหญ่ ตัวจอเหล่านี้มีคุณสมบัติในการทำงานที่อาศัยการเบี่ยงเบนของแสง สามารถปรับหรือขยับให้แสงเข้าหน้าปัดจอได้มากน้อยตามต้องการ
ผู้ที่นำการค้นพบผลึกเหลวมาพัฒนาขยายผลก็คือนายจอร์จ ฮีลเมียร์ (George Heilmeier) ใน ปีค.ศ. 1963 เริ่มใช้กับหน้าปัดนาฬิกาเป็นครั้งแรกต่อมาในปี ค.ศ. 1969 นายเจมส์ เฟอร์กาสัน(James Fergason) ได้นำหน้าปัดแอลซีดีมาพัฒนาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น และขยายผลในการใช้สู่จอต่างๆใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในทุกวันนี้
ที่มา: หนังสือ MK พาปิ๊ง! ไอเดียซิ่ง...ในสิ่งที่ไม่ธรรมดา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยลัยรามคำแหง
Credit : sanook
จอ LCD (Liquid Crystal Display) ปิ๊ง! จากสารเหลวที่ตกผลึก
[IMG]