เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอแมว
เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ก็มีผลต่อสุขภาพของคนเราอยู่เหมือนกัน นิสัยการเงินเหล่านี้ คือสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพของคุณ ดังนั้นลองมาจัดการนิสัยการเงินเพื่อสุขภาพที่ดีกันดีกว่า
การใช้เงินของคนส่วนใหญ่ มักจะเน้นไปที่สิ่งของที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่า เช่น อุปกรณ์ไอที, ไอโฟน, ไอแพด, กล้องถ่ายรูป, เสื้อผ้า เป็นต้น แต่ทว่ากลับมองข้ามความสำคัญของการใช้เงินเพื่อซื้อสุขภาพร่างกายที่ดี ที่แข็งแรง เพื่อต่อยอดในการใช้ร่างกายทำงานหาเงิน ดังนั้น คุณหมอแมว จึงอนุญาตให้กระปุกดอทคอมนำความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการนิสัยการเงินที่มีผลต่อสุขภาพมาฝากกัน ลองไปอ่านแล้วเปลี่ยนนิสัยการเงินของคุณดูนะคะ
8 อุปนิสัยทางการเงินที่คุณควรจัดการเพื่อสุขภาพ โดย คุณหมอแมว
1. ควบคุมเงินที่ใช้ซื้อสินค้าวิตามินอาหารเสริม
พูดในแง่รวม ๆ วิตามินและอาหารเสริมที่มีผลดีต่อร่างกายมีจำกัด ในปัจจุบันมีงานวิจัยที่ออกมาใหม่ ๆ และตั้งข้อสงสัยถึงประโยชน์ของวิตามินอาหารเสริม
อาหารเสริมหลายชนิดที่เดิมเคยเป็นที่นิยมและเชื่อว่ามีประโยชน์ เมื่อเวลาผ่านไปกลับพบว่าไม่ได้มีประโยชน์ หนำซ้ำยังอาจจะก่อเกิดโทษได้อีกด้วย (อย่างใบแปะก๊วยที่ไปพบว่าอาจจะทำให้เลือดออกมากขึ้น เบต้าแคโรทีน ที่พบว่าอาจจะทำให้คนที่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งมากขึ้น และวิตามินอี ที่สงสัยกันว่าการกินมาก ๆ อาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น หรือสมุนไพร ที่หลาย ๆ ชนิดกินเข้าไปแล้วเกิดตับอักเสบได้)
หากจะกินวิตามินเสริม แนะนำว่าปรึกษาแพทย์ก่อน แต่หากเป็นคนที่กินอาหารได้ปกติ แนะนำว่าพยายามปรับการกินให้หลากหลาย และเก็บเงินตรงนี้เอาไปทำอย่างอื่นจะดีกว่า
2. ออกกำลังแบบ Dollar Cost Average
Dollar Cost Average ในทางการเงิน คือการเลือกหาหุ้นหรือการลงทุนที่พื้นฐานดี จากนั้นลงเงินไปเรื่อย ๆ เป็นประจำ โดยไม่ต้องสนใจว่าหุ้นจะขึ้นจะลง ... ถ้าเรามั่นใจว่าเลือกถูกตัวแล้วพื้นฐานดีจริงมันก็จะให้กำไรเราในระยะยาวเอง
หลักการนี้นำมาปรับกับการออกกำลังกายก็คือ หาวิธีออกกำลังกายที่ใช่กับตัวเรา เหมาะกับสไตล์ของเรา จากนั้นออกกำลังเรื่อย ๆ เป็นระยะ ไม่ต้องหักโหมมาก แต่ว่าทำอย่างสม่ำเสมอ ช่วงไหนว่างมากมีกำลังก็ออกมากอีกหน่อย ช่วงไหนเหนื่อยเพลียจากการทำงาน (ที่ไม่ถึงกับป่วย) ก็ออกลดลงอีกนิด แต่อย่าหยุดออกกำลังกาย ในระยะยาวสุขภาพจะดีกว่าการไปออกกำลังกายตอนแก่ (เปลี่ยนคำว่าออกกำลังกายเป็นรักษาสุขภาพก็ได้เหมือนกัน)
3. ระวังอุบัติเหตุทางสุขภาพด้วยประกันสุขภาพ ... แบบเชิงรุก
ปัจจุบันมีประกันสุขภาพหลายชนิด ทางเลือกที่ดีที่สุดคือ ตรวจสอบว่าคุณมีสิทธิการรักษาในแบบใด ประกันสังคม สวัสดิการ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง) ราชการ ... จากนั้นลองคิดดูว่าคุณสามารถรับได้กับระดับการรักษาในโรงพยาบาลที่คุณมีสิทธิแค่ไหน (พอใจกับหมอไหม พอใจกับยาหรือไม่ พอใจกับการรอคอยหรือไม่)
หากไม่พอใจหรือคิดว่าอยากจะเสริม เช่น จะใช้ประกันภัยเฉพาะเวลาตรวจเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องรอคิวนาน หรือใช้ประกันสุขภาพเพื่อร่วมกับสิทธิการรักษาปกติเพื่อลดค่าใช้จ่ายค่าห้อง ก็ไปซื้อประกันอีกที
ทั้งนี้เวลาจะซื้อก็ให้ประเมินสิทธิการรักษาของคุณกับสิ่งที่คุณต้องการ จากนั้นติดต่อตัวแทนประกันและแจ้งเขาไปเพื่อให้เขาเลือกประกันที่ตรงกับเรามากที่สุดมาให้เราดู ... อย่ารอให้ตัวแทนประกันมาหาเอง เพราะคนที่มาเสนอขายให้เรา เขามักจะมีประกันที่เขาต้องการขายให้เราอยู่แล้วซึ่งอาจจะไม่ดีสำหรับเรา
4. เลือกใช้ยาที่ผลิตในประเทศ ในบางโรคที่ไม่ซีเรียส
สำหรับการป่วยที่ไม่หนักหนามาก อาจจะให้แพทย์เลือกยาที่ผลิตในประเทศแทนการใช้ยาตัวของแท้ เนื่องจากราคายาอาจจะต่างกันได้ 5-10 เท่า ในคุณภาพและผลข้างเคียงที่ต่างกันเพียงเล็กน้อย
5. อาหารเพื่อสุขภาพควรเลือกแบบสายกลาง
สูตรอาหารแบบสุดขั้วที่ออกมากันมากมาย บางแบบมีการให้กินน้ำมันพืชบางชนิดมากแบบสุด ๆ บางแบบมีการให้กินอาหารโปรตีนมากสุด บ้างก็ให้กินอาหารที่ผ่านความร้อนน้อย ๆ หรือกินดิบ ๆ ฯลฯ
อาหารในกลุ่มพวกนี้ นอกจากจะไม่มีงานวิจัยชัดเจนว่าช่วยให้อายุยืนยาว ยังเป็นอาหารที่มีราคาแพงกว่าปกติและเสียเวลาเตรียมมากกว่าปกติ ... ซึ่งทำให้เราอาจจะต้องเสียเงินเกินความจำเป็นโดยอาจจะไม่ได้สุขภาพดีขึ้นเท่าไหร่
6. ตรวจสอบสุขภาพของคุณอย่างสม่ำเสมอ และพอดี
ผมเคยเจอทั้งคนที่ไม่ยอมตรวจสอบสุขภาพของตนเองเลยจนกว่าจะแย่ และเคยเจอทั้งคนที่ตรวจเลือดตรวจเอ็กซ์เรย์ถี่ระดับ 1-2 เดือนต่อครั้ง
การไม่ตรวจเลย จะทำให้เมื่อคุณป่วย คุณก็จะป่วยอย่างที่ไม่มีการวางแผนไว้ก่อน การตรวจถี่เกินไป จะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากเกินไป และเสียค่าใช้จ่ายไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็นได้มาก โรคส่วนใหญ่ที่ไม่ร้ายแรง
การตรวจประจำปี ปีละครั้งก็เพียงพอแล้ว (และบางครั้งการตรวจบางชนิดอาจจะเว้นได้นานถึง 2-3 ปี)
7. อย่าหลอกตัวเอง
ผมพบคนที่ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือแม้แต่มะเร็ง ที่เมื่อตรวจพบในตอนแรกที่เป็นไม่มากแล้วปฏิเสธการตรวจต่อเนื่องหรือรับการรักษา บ้างเห็นว่าตนเองยังมีอาการปกติ บ้างเชื่อว่าหมอมักจะบอกให้โอเว่อร์ไว้เพื่อจะได้รักษาหรือขายยา ทำให้สุดท้ายไม่ตรวจต่อหรือไม่สนใจรักษา เมื่อมารักษาอีกครั้งตอนที่มีอาการมากก็สายเกินไปเสียแล้ว
การรักษาตนเองตั้งแต่ค้นพบโรคแต่แรก ใช้เงินน้อยกว่าการรอให้เป็นมาก ๆ แล้วมาไล่แก้ไล่รักษาหลายสิบเท่าครับ
8. ตัดค่าใช้จ่ายสินค้าที่ทำลายสุขภาพลง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่คือสินค้าที่ทำลายสุขภาพอย่างหนัก ซึ่งนอกจากทำลายสุขภาพ มันยังกินเงินของเราอย่างมหาศาลอีกด้วย
หากปกติเราสูบบุหรี่วันละซอง ในหนึ่งปี เราจะใช้เงินไปทั้งสิ้น 18,250 บาท (คิดที่บุหรี่ซองละ 50)
หากดื่มเบียร์วันละกระป๋อง ในหนึ่งปี เราจะใช้เงินไปทั้งสิ้นราว 10,950 บาท (คิดที่เบียร์ กระป๋องละ 30)
รวมเป็นเงิน 29,200 บาท ... ซึ่งหากนำเงินจำนวนนี้ไปซื้อกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งมีอัตราผลตอบแทน 3% ต่อปี คุณจะได้เงินเพิ่มมาอีก 876 บาท เป็น 30,076 บาท
นี่ยังไม่นับถึงเงินที่คุณไม่ต้องเสียเพิ่มไปกับการเป็นโรคมะเร็ง ถุงลมโป่งพอ หรือตับแข็ง ไขมันเกาะตับอีกด้วย
จะเห็นว่าเรื่องสุขภาพ หากเรามองให้เป็นเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เพื่อวางแผนในชีวิตก็สามารถทำได้ ปรับเปลี่ยนอุปนิสัยและแนวคิดทางการเงินเพื่อสุขภาพของคุณในวันหน้านะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอแมว
เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ก็มีผลต่อสุขภาพของคนเราอยู่เหมือนกัน นิสัยการเงินเหล่านี้ คือสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพของคุณ ดังนั้นลองมาจัดการนิสัยการเงินเพื่อสุขภาพที่ดีกันดีกว่า
การใช้เงินของคนส่วนใหญ่ มักจะเน้นไปที่สิ่งของที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่า เช่น อุปกรณ์ไอที, ไอโฟน, ไอแพด, กล้องถ่ายรูป, เสื้อผ้า เป็นต้น แต่ทว่ากลับมองข้ามความสำคัญของการใช้เงินเพื่อซื้อสุขภาพร่างกายที่ดี ที่แข็งแรง เพื่อต่อยอดในการใช้ร่างกายทำงานหาเงิน ดังนั้น คุณหมอแมว จึงอนุญาตให้กระปุกดอทคอมนำความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการนิสัยการเงินที่มีผลต่อสุขภาพมาฝากกัน ลองไปอ่านแล้วเปลี่ยนนิสัยการเงินของคุณดูนะคะ
8 อุปนิสัยทางการเงินที่คุณควรจัดการเพื่อสุขภาพ โดย คุณหมอแมว
1. ควบคุมเงินที่ใช้ซื้อสินค้าวิตามินอาหารเสริม
พูดในแง่รวม ๆ วิตามินและอาหารเสริมที่มีผลดีต่อร่างกายมีจำกัด ในปัจจุบันมีงานวิจัยที่ออกมาใหม่ ๆ และตั้งข้อสงสัยถึงประโยชน์ของวิตามินอาหารเสริม
อาหารเสริมหลายชนิดที่เดิมเคยเป็นที่นิยมและเชื่อว่ามีประโยชน์ เมื่อเวลาผ่านไปกลับพบว่าไม่ได้มีประโยชน์ หนำซ้ำยังอาจจะก่อเกิดโทษได้อีกด้วย (อย่างใบแปะก๊วยที่ไปพบว่าอาจจะทำให้เลือดออกมากขึ้น เบต้าแคโรทีน ที่พบว่าอาจจะทำให้คนที่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งมากขึ้น และวิตามินอี ที่สงสัยกันว่าการกินมาก ๆ อาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น หรือสมุนไพร ที่หลาย ๆ ชนิดกินเข้าไปแล้วเกิดตับอักเสบได้)
หากจะกินวิตามินเสริม แนะนำว่าปรึกษาแพทย์ก่อน แต่หากเป็นคนที่กินอาหารได้ปกติ แนะนำว่าพยายามปรับการกินให้หลากหลาย และเก็บเงินตรงนี้เอาไปทำอย่างอื่นจะดีกว่า
2. ออกกำลังแบบ Dollar Cost Average
Dollar Cost Average ในทางการเงิน คือการเลือกหาหุ้นหรือการลงทุนที่พื้นฐานดี จากนั้นลงเงินไปเรื่อย ๆ เป็นประจำ โดยไม่ต้องสนใจว่าหุ้นจะขึ้นจะลง ... ถ้าเรามั่นใจว่าเลือกถูกตัวแล้วพื้นฐานดีจริงมันก็จะให้กำไรเราในระยะยาวเอง
หลักการนี้นำมาปรับกับการออกกำลังกายก็คือ หาวิธีออกกำลังกายที่ใช่กับตัวเรา เหมาะกับสไตล์ของเรา จากนั้นออกกำลังเรื่อย ๆ เป็นระยะ ไม่ต้องหักโหมมาก แต่ว่าทำอย่างสม่ำเสมอ ช่วงไหนว่างมากมีกำลังก็ออกมากอีกหน่อย ช่วงไหนเหนื่อยเพลียจากการทำงาน (ที่ไม่ถึงกับป่วย) ก็ออกลดลงอีกนิด แต่อย่าหยุดออกกำลังกาย ในระยะยาวสุขภาพจะดีกว่าการไปออกกำลังกายตอนแก่ (เปลี่ยนคำว่าออกกำลังกายเป็นรักษาสุขภาพก็ได้เหมือนกัน)
3. ระวังอุบัติเหตุทางสุขภาพด้วยประกันสุขภาพ ... แบบเชิงรุก
ปัจจุบันมีประกันสุขภาพหลายชนิด ทางเลือกที่ดีที่สุดคือ ตรวจสอบว่าคุณมีสิทธิการรักษาในแบบใด ประกันสังคม สวัสดิการ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง) ราชการ ... จากนั้นลองคิดดูว่าคุณสามารถรับได้กับระดับการรักษาในโรงพยาบาลที่คุณมีสิทธิแค่ไหน (พอใจกับหมอไหม พอใจกับยาหรือไม่ พอใจกับการรอคอยหรือไม่)
หากไม่พอใจหรือคิดว่าอยากจะเสริม เช่น จะใช้ประกันภัยเฉพาะเวลาตรวจเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องรอคิวนาน หรือใช้ประกันสุขภาพเพื่อร่วมกับสิทธิการรักษาปกติเพื่อลดค่าใช้จ่ายค่าห้อง ก็ไปซื้อประกันอีกที
ทั้งนี้เวลาจะซื้อก็ให้ประเมินสิทธิการรักษาของคุณกับสิ่งที่คุณต้องการ จากนั้นติดต่อตัวแทนประกันและแจ้งเขาไปเพื่อให้เขาเลือกประกันที่ตรงกับเรามากที่สุดมาให้เราดู ... อย่ารอให้ตัวแทนประกันมาหาเอง เพราะคนที่มาเสนอขายให้เรา เขามักจะมีประกันที่เขาต้องการขายให้เราอยู่แล้วซึ่งอาจจะไม่ดีสำหรับเรา
4. เลือกใช้ยาที่ผลิตในประเทศ ในบางโรคที่ไม่ซีเรียส
สำหรับการป่วยที่ไม่หนักหนามาก อาจจะให้แพทย์เลือกยาที่ผลิตในประเทศแทนการใช้ยาตัวของแท้ เนื่องจากราคายาอาจจะต่างกันได้ 5-10 เท่า ในคุณภาพและผลข้างเคียงที่ต่างกันเพียงเล็กน้อย
5. อาหารเพื่อสุขภาพควรเลือกแบบสายกลาง
สูตรอาหารแบบสุดขั้วที่ออกมากันมากมาย บางแบบมีการให้กินน้ำมันพืชบางชนิดมากแบบสุด ๆ บางแบบมีการให้กินอาหารโปรตีนมากสุด บ้างก็ให้กินอาหารที่ผ่านความร้อนน้อย ๆ หรือกินดิบ ๆ ฯลฯ
อาหารในกลุ่มพวกนี้ นอกจากจะไม่มีงานวิจัยชัดเจนว่าช่วยให้อายุยืนยาว ยังเป็นอาหารที่มีราคาแพงกว่าปกติและเสียเวลาเตรียมมากกว่าปกติ ... ซึ่งทำให้เราอาจจะต้องเสียเงินเกินความจำเป็นโดยอาจจะไม่ได้สุขภาพดีขึ้นเท่าไหร่
6. ตรวจสอบสุขภาพของคุณอย่างสม่ำเสมอ และพอดี
ผมเคยเจอทั้งคนที่ไม่ยอมตรวจสอบสุขภาพของตนเองเลยจนกว่าจะแย่ และเคยเจอทั้งคนที่ตรวจเลือดตรวจเอ็กซ์เรย์ถี่ระดับ 1-2 เดือนต่อครั้ง
การไม่ตรวจเลย จะทำให้เมื่อคุณป่วย คุณก็จะป่วยอย่างที่ไม่มีการวางแผนไว้ก่อน การตรวจถี่เกินไป จะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากเกินไป และเสียค่าใช้จ่ายไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็นได้มาก โรคส่วนใหญ่ที่ไม่ร้ายแรง
การตรวจประจำปี ปีละครั้งก็เพียงพอแล้ว (และบางครั้งการตรวจบางชนิดอาจจะเว้นได้นานถึง 2-3 ปี)
7. อย่าหลอกตัวเอง
ผมพบคนที่ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือแม้แต่มะเร็ง ที่เมื่อตรวจพบในตอนแรกที่เป็นไม่มากแล้วปฏิเสธการตรวจต่อเนื่องหรือรับการรักษา บ้างเห็นว่าตนเองยังมีอาการปกติ บ้างเชื่อว่าหมอมักจะบอกให้โอเว่อร์ไว้เพื่อจะได้รักษาหรือขายยา ทำให้สุดท้ายไม่ตรวจต่อหรือไม่สนใจรักษา เมื่อมารักษาอีกครั้งตอนที่มีอาการมากก็สายเกินไปเสียแล้ว
การรักษาตนเองตั้งแต่ค้นพบโรคแต่แรก ใช้เงินน้อยกว่าการรอให้เป็นมาก ๆ แล้วมาไล่แก้ไล่รักษาหลายสิบเท่าครับ
8. ตัดค่าใช้จ่ายสินค้าที่ทำลายสุขภาพลง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่คือสินค้าที่ทำลายสุขภาพอย่างหนัก ซึ่งนอกจากทำลายสุขภาพ มันยังกินเงินของเราอย่างมหาศาลอีกด้วย
หากปกติเราสูบบุหรี่วันละซอง ในหนึ่งปี เราจะใช้เงินไปทั้งสิ้น 18,250 บาท (คิดที่บุหรี่ซองละ 50)
หากดื่มเบียร์วันละกระป๋อง ในหนึ่งปี เราจะใช้เงินไปทั้งสิ้นราว 10,950 บาท (คิดที่เบียร์ กระป๋องละ 30)
รวมเป็นเงิน 29,200 บาท ... ซึ่งหากนำเงินจำนวนนี้ไปซื้อกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งมีอัตราผลตอบแทน 3% ต่อปี คุณจะได้เงินเพิ่มมาอีก 876 บาท เป็น 30,076 บาท
นี่ยังไม่นับถึงเงินที่คุณไม่ต้องเสียเพิ่มไปกับการเป็นโรคมะเร็ง ถุงลมโป่งพอ หรือตับแข็ง ไขมันเกาะตับอีกด้วย
จะเห็นว่าเรื่องสุขภาพ หากเรามองให้เป็นเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เพื่อวางแผนในชีวิตก็สามารถทำได้ ปรับเปลี่ยนอุปนิสัยและแนวคิดทางการเงินเพื่อสุขภาพของคุณในวันหน้านะครับ
8 นิสัยการเงินที่มีผลต่อสุขภาพ มาจัดการกันเถอะ