สวัสดีตอนเย็นนะเจ้าค่ะ...พอดีเห็นว่าช่วงนี้กระแสเรื่องโรคระบาดกำลังมาแรง เนโกะจังเลยเกิดความรู้สึกเป็นห่วงเพื่อนๆชาว 2TH ขึ้นมาซะงั้น...อิอิ
วันนี้เลยนำข้อมูลดีๆที่เกี่ยวกับ "เชื้อไวรัสอีโบลาหรือโรคไข้เลือดอีโบลา(Ebola virus disease)" มาฝากเพื่อนๆให้ได้รับทราบ และอย่างที่บอก"รู้ไว้และหวังว่าจะไม่ต้องใช้นะเจ้าค่า"
จากกรณีที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศแถบแอฟริกาองค์การอนามัยโลก สรุป ณ วันที่ 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,093 ราย เสียชีวิต 660 ราย และยังพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่สำหรับในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้ออกมายืนยันว่าโอกาสการแพร่ระบาดเข้ามาให้ไทยนั้นค่อนข้างยาก และประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยจากเชื้อนี้ แต่ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบเฝ้าระวังและป้องกันโรคนี้ไว้ 3 มาตรการหลัก คือ
1. มาตรการเฝ้าระวัง ให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์จากองค์การอนามัย และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือคนไทยที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโลก เนื่องจากโรคนี้ไม่มีวัคซีนป้องกัน และไม่มียารักษาเฉพาะโรค จึงต้องมีการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว หากพบผู้ป่วยมีอาการอยู่ในข่ายสงสัย ให้รายงานทันที
2. มาตรการดูแลรักษา ให้โรงพยาบาลทุกแห่งดูแลเข้มผู้ป่วยที่มีอาการในข่ายสงสัย โดยใช้มาตรการเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อที่มีอันตรายสูง เช่น ไข้หวัดนก โรคซาร์ส
3. มาตรการการตรวจวิเคราะห์ ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ
สำหรับเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นกลุุ่มโรคไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า "ซาร์อี อีไบลาไวรัส" (Zaire ebolavirus) แต่อย่างไรก็ดี จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถระบุแหล่งต้นตอที่เป็นรังของเชื้ออย่างแน่ชัดได้
การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาหรือโรคไข้เลือดอีโบลา มีลักษณะแพร่เชื้อจากคนสู่คนผ่านทางการรับหรือสัมผัสของเหลวจากร่างกายผู้ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นเลือด น้ำลาย น้ำมูก เหงื่อ สารคัดหลั่งต่าง ๆ ตลอดจนเชื้ออสุจิ
โรคอีโบลามีระยะฟักตัว 2-21 วัน โดยอาการสามารถแสดงได้ตั้งแต่วันแรกเริ่มจากมีไข้สูงเฉียบพลัน เริ่มจากมีไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งตัว เจ็บคอ ตามมาด้วยอาการท้องเสีย อาเจียน มีผื่นนูน มีเลือดออกตามเยื่อบุของร่างกาย เช่น เยื่อบุตา ภายในช่องปาก รวมทั้งเลือดออกที่อวัยวะภายใน มีอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง การทำงานของตับและไตล้มเหลว ช็อก ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 50%-90%
ทั้งนี้ อาการในระยะแรกเริ่มของโรคมีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการป่วยด้วยโรคชนิดอื่น ๆ เช่น ไข้มาลาเรีย ท้องร่วง ไข้หวัด ไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ ทำให้ระบุโรคได้ล่าช้า และในปัจจุบันยังคงไม่มีทั้งวัคซีนป้องกันและยารักษาเชื้ออีโบลาโดยเฉพาะ ทำได้เพียงรักษาไปตามอาการด้วยการให้น้ำและเกลือแร่ทดแทน รวมทั้งให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดในช่วงแรก เพื่อป้องกันเลือดจับเป็นลิ่มในหลอดเลือด จากนั้นจึงให้ยาช่วยการแข็งตัวของเลือดในระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการเลือดออก.
จบกันไปแล้วนะเจ้าค่ะ กับเชื้อไวรัสอีโบลา(Ebola virus disease) วันพรุ่งนี้เนโกะจังจะเอาข้อมูลอะไรดีๆ มาให้เพื่อนๆชาว 2TH ก็อย่าลืมติดตามกันนะเจ้าค่า...
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบดีๆจากกระทรวงสาธารณสุข และ kapook.com
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://health.kapook.com/view94563.html