สวัสดีครับทุกๆ ท่าน! ก้ออื่นใดต้องขออภัยเป็นอย่างสูงที่ตอนแรกผมได้ประกาศกราวว่า จะเอาขอกินมายั่วน้ำลายทุกคนในอาทิตย์นี้ แต่หลังจากนั้นผมดันป่วย ซะงั้น (ก็อากาศมันเปลี่ยนแปลงบ่อยนี้นา เช้าแดดออก ซักพักฝนตก ซักพักแดดออก ใครไม่ป่วยก็ให้มันรู้กันไป) เอาเป็นว่าเพื่อชดชอยให้ส่วนที่ผมหายไปนาน จึงขออัพกระทู้ 18+ เป็นของแถมล่ะกัน เงียบไปเลย! เด็กๆ เค้าอ่านกระทู้อยู่ไม่เห็นเหรอ เด๋วก็โดนแอดมินแบนซะหรอก งั้นเอาเป็นว่าในส่วนของกระทู้อาหารและการกินผมจะยังไปอัพอาทิตย์หน้าดีไหม? ถ้าใครเห็นว่าไงก็บอกนะ หรือถ้าอยากให้อัพแนวไหนเป็นพิเศษก็บอกได้เลยนะขอรับ กระผม!
เอาล่ะเพื่อไม่ให้เสียเวลาโหลดเมะของเพื่อนไปมากกว่านี้ จะขออัพเรื่องขนมหวานญี่ปุ่นเลยล่ะกันนะครับผม.
ขนมหวานญี่ปุ่นหรือที่คนญี่ปุ่นเค้าเรียกว่า "วากาชิ" คือ ขนมหวานญี่ปุ่นดั้งเดิมที่มีการผสมผสานศิลปะความเป็นญี่ปุ่นในสมัยเมืองหลวงเก่า "เกียวโต" ไว้ได้อย่างลงตัว โดย วากาชิ นั้นได้มาจากตัวอักษร 和 (wa) แปลว่า "แห่งความเป็นญี่ปุ่น" และตัวอักษร 菓子 (kashi) แปลว่า "ขนมหวาน" นำมารวมกันก็จะหมายถึงขนมหวานของญี่ปุ่นนั่นเอง วากาชิเป็นหนึ่งในสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงแก่นแท้ความเป็นญี่ปุ่น และนอกจากนั้นยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่นอีกด้วย
ซึ่งขนมหวาญี่ปุ่นเกิดขึ้นจากการที่ญี่ปุ่นรับอิทธิพลการทำขนมโดยใช้เมล็ดข้าวเป็นวัตถุดิบจากประเทศจีน ผ่านทางพระสงฆ์ที่เดินทางมาเผยแผ่ศาสนา (ไม่ใช่พระถังซัมจั๋งนะอย่าสับสน)ในยุคนาระ (Nara / ค.ศ. 710-784) และชาวเมืองในสมัยนั้นก็เริ่มคิดค้น "โมจิ" และ "ดังโงะ" แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วขนมเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในทางศาสนามากกว่า ประชาชนทั่วไปไม่ค่อยมีโอกาสได้สัมผัสเท่าไรนัก (จึงเรียกว่าขนมของบระเจ้าจอร์ดมันยอดมากกกก!) รูปแบบพื้นฐานของวากาชิที่เราเห็นกันทุกวันนี้ก็ได้เริ่มมาจากยุคนี้นั่นเอง
ขนมหวานญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการที่โดดเด่นที่สุดในช่วงปลายยุคสมัยมุโรมาจิ (Muromachi / ค.ศ. 1336-1573) เมื่อประเทศญี่ปุ่นเริ่มติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ การค้าขายกับโปรตุเกสและสเปนได้นำเอาสูตรอาหารและวัตถุดิบใหม่ๆ เข้ามา ซึ่งได้มีอิทธิพลต่อการทำวากาชิในสมัยนั้นมาก ก่อนหน้านั้นความหวานของวากาชิจะขึ้นอยู่กับรสชาติตามธรรมชาติของส่วนผสมเสียมากกว่า แต่การเข้ามาของน้ำตาลปฏิวัติสูตรสำหรับความหวานในวากาชิเลยทีเดียว (ก็ชีวิตมันขาดหวานไม่ได้ นี่นา ยิ่งหวานเค้ายิ่งช๊อบ ชอบ) และยังเป็นตัวแปรสำคัญในการพัฒนาวากาชิในยุคต่อๆ มาอีกด้วย
ศิลปะของวากาชิได้รับการพัฒนาจนถึงจุดสูงสุดในช่วงต้นยุคสมัยเอโดะ (Edo / ค.ศ. 1603-1867) มีการพัฒนาสูตรขนมต่างๆ และการแข่งขันมากมาย ทั้งในเกียวโต, เอโดะ และภูมิภาคอื่นๆ ชาวเมืองทั่วไปต่างก็ได้เพลิดเพลินกับขนมหวานต่างๆ กันได้อย่างอิสระ (ก็แน่ล่ะ ก่อนหน้านี้ดันเป็นขนมของบระเจ้า ห้ามแตะต้องนี่นา) ขนมหวานญี่ปุ่นชั้นเลิศต่างก็ถูกคิดค้นขึ้นในยุคนี้เช่นกัน การนำขนมหวานไปใช้ในโอกาสต่างๆ ก็มีให้เห็นมากขึ้น เช่น ใช้ทานในพิธีชงชา, ทานเป็นของว่างยามบ่าย หรือมอบเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญต่างๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะปีใหม่ วันแซยิด วันเชงเม้ง วันสงการนต์ วันเด็ก วันสารทเดือนสิบ เด๋วๆ นะอันหลังเนี่ยมั่วแล้วๆ
ในช่วงยุคเมจิ (Meiji / ค.ศ. 1868-1912) เค้กและขนมหวานสไตล์ตะวันตกเริ่มเข้ามาในญี่ปุ่น และมีอิทธิพลต่อวากาชิเป็นอย่างมาก คำว่า "วากาชิ" นี้ก็ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงปลายยุคไทโช (Taisho / ค.ศ. 1912-1926) เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างขนมหวานญี่ปุ่นออกจากขนมสไตล์ตะวันตก หรือที่เรียกว่า "โยกาชิ" (洋菓子 / Yougashi) นั่นเอง
ต่อมาวากาชิได้ถูกแบ่งแยกประเภทออกมาเป็นประเภทต่างๆ โดยแยกจากวัตถุดิบที่ใช้ทำบ้าง หรือแยกจากกรรมวิธีการทำบ้าง แต่วันนี้เราจะขอเสนอวิธีการแบ่งประเภทที่คนส่วนใหญ่เค้าชอบแบ่งกันมากที่สุด โดยแบ่งได้ดังนี้
โดรายากิ (Dorayaki)
อันนี้คงรู้จักกันเป็นอย่างดี เป็นขนมที่แมวสีฟ้าโดเรมอนชอบกิน จนเอาชื่อของแมวตัวนั้นมาตั้งเป็นชื่อขนม ขนมนี้ทำจากแป้งแพนเค้กสองชิ้นประกอบกันสอดใส้ถั่วแดงแค่นั้นเอง
โจ นะมะกะชิ (Jyo-Namagashi)
ขนมญี่ปุ่นส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เป็นแป้งห่อไส้ถั่วแดงบดหรือ "อัน" (An) แป้งที่นำมาห่อหุ้มมีทั้งแป้งท้าวยายม่อม แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า ปั้นเป็นรูปทรงต่างๆทั้งดอกไม้ ผลไม้ พระจันทร์ ซึ่งจะออกแบบให้เข้ากับฤดูกาล ทั้งชื่อขนม ส่วนผสม รูปทรงและสีสัน เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้ผู้คนได้รู้ว่าฤดูกาลใหม่กำลังจะมาเยือน ตัวอย่างเช่น ซากุระโมจิ (โมจิสีชมพูห่อด้วยใบซากุระ) ซึ่งจะออกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
ฮิงะชิ (Higashi)
เป็นขนมแบบแห้ง เก็บไว้ได้นาน ทำจากแป้งข้าวเหนียว น้ำตาล และวาซัมบงโตะ (Wasambon-to) น้ำตาลผงที่ทำด้วยกรรมวิธีแบบดั้งเดิมผสมกันแล้วนำมาอัดในพิมพ์ ได้ขนมที่ผิวเป็นแป้งแห้งๆคล้ายขนมโก๋ เสิร์ฟในพิธีชงชา
เซมเบ้ (Sembei)
เป็นข้าวเกรียบสีน้ำตาล เคี้ยวกรุบกรอบ มีหลากรูปร่างหลายขนาด (ใหญ่ที่สุดที่เคยเห็นก็ขนาดเท่าแผ่นเสียง) แต่แบบยอดฮิตคือทรงกลมแบนเหมือนที่รองแก้ว ทำจากข้าวเหนียวนำมาปิ้ง แต่งรสด้วยโชยุและเกลือเป็นหลัก ราดหน้าด้วยงา สาหร่าย พริก เพิ่มกลิ่น เพิ่มรสให้อร่อยกันได้หลายแบบ นอกจากนี้ยังมีเซมเบ้แบบหวานหรือซาราเมะ เซมเบ้ (Sarame Sembei) ทำจากแป้งสาลี น้ำตาลและกลูโคส
โนะนะกะ (Monaka)
คือเวเฟอร์ไส้ถั่วแดง มีทั้งถั่วบดและแบบเต็มเม็ด ประกบด้วยแผ่นแป้งบางกรอบทำจากข้าวเหนียว ทำเป็นรูปวงกลม สี่เหลี่ยมดอกซากุระ และอีกสารพัดรูปแล้วแต่จะสร้างสรรค์ โดดเด่นที่ความกรอบกับความนิ่มผสานกับรสหวานๆมันๆ นอกจากไส้ถั่วแดงแล้วยังมีไส้ชาเขียวและถั่วอื่นๆด้วย
โยคัง (Yokan)
ใช้ส่วนผสมหลักคือวุ้นที่ได้จากสาหร่าย เรียกว่า คันเตน (Kanten) แบ่งได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ มิซุ โยคัง เป็นวุ้นใสๆแช่เย็น กินในฤดร้อนผสมผลไม้ลงไป ได้รสหวานเย็น หอมชื่นใจ อีกชนิดคือ มุชิ โยคัง เป็นวุ้นขุ่นๆ เนื้อนิ่มเหนียว ตัดเป็นชิ้นเหลี่ยมพอคำ ทำจากถั่ว เกาลัด หรือมันที่บดละเอียด แป้งสาลี น้ำตาล และคันเตน
มันจู (Manjyu)
เป็นขนมกลมๆแป้งด้านนอกที่ห่อทำจากแป้งมันเทศ (บางครั้งใช้แป้งโซบะ) ไส้เป็นถั่วบดและมีมันเทศหรือเกาลัดอยู่ตรงกลางไส้อีกที นำไปนึ่ง อบหรือย่าง จึงได้ขนมอร่อยโดยเฉพาะขนมโมมิจิมันจูที่เมืองมิยาจิมาโดดเด่นที่ห่อด้วยใบเมเปิล มีหลายไส้ทั้งถั่วแดงบด คัสตาร์ด ช็อคโกแลต ถือเป็นขอดังที่ไม่ว่าใครไปเยือนก็ต้องลองชิม
ดังโกะ (Dango)
มีเป็นสิบสูตร แต่ที่หน้าตาเหมือนลูกชิ้นเสียบไม้ที่เราเคยเห็นกันเรียกว่า คุชิ ดังโกะ (ตอนเด็กๆ ผมสารภาพเลยว่าเห็นเจ้าขนมนี้เป็นลูกชิ้นปิ้งบ้านเรา 55+) ทำจากแป้งโมจิ บางครั้งก็ผสมเต้าหู้ลงไปในแป้งด้วย ปั้นเป็นลูกกลม เสียบไม้แล้วนำไปปิ้ง ได้ลูกชิ้นแป้งนุ่มๆเหนียวๆราดซอสโชยุ ซอสเต้าเจี้ยว หรือเกาลัดบด หรือจะโรยด้วยถั่วบดกับน้ำตาลทรายแดงก็เข้าท่า
ไดฟุกุ (Daifuku)
คนไทยเราชอบเรียกว่าโมจิไส้ถั่วแดง แต่จริงๆเขาเรียกขนมประเภทนี้ว่าไดฟุกุ แป้งด้าน นอกทำจากแป้งข้าวเหนียวนึ่งที่นำมาตีจนเหนียว (โมจิ) มีสีขาว เขียวและชมพู ส่วนไส้ก็เป็นถั่วแดง ที่พิเศษก็จะใส่ผลไม้ลงไป เช่น อิจิโกะ ไดฟุกุ (Ichigo Daifuku) เป็นโมจิไส้ลูกสตรอร์เบอร์รี่หอมหวาน อร่อยจับใจ นอกจากนั้นยังมีไส้เมลอนบดและไอศกรีมรสต่างๆด้วย
ไทยะกิ (Tai Yaki)
ขนมหน้าตาน่ารักรูปปลาตัวเท่าผ่ามือ เป็นขนมที่จำลองรูปแบบของปลากะพงแดง เรียกอีกชื่อว่า "แพนเค้กญี่ปุ่น" เนื้อแป้งแน่นและเหนียวนุ่ม นอกจากไส้ถั่วแดงมาตรฐานแล้วก็มีไส้เกาลัด ไส้มันหวานและอีกสารพัดไส้ รูปทรงก็มีสารพัดรูปเช่นกัน ทั้งรูปตุ๊กตา รูปกลมๆ แบนๆ ที่เรียกว่า อิมะกะวะ ยะกิ และที่เรารู้จักกันดีที่สุด โดรายากิ ขนมสุดโปรดของโดราเอมอนที่เป็นรูปฆ้องนั่นเอง
บัวลอยถั่วแดง (Azuki Shiratama)
เป็นถั่วแดงต้ม แล้วมีแป้งก้อนกลมเล็กๆ ใส่อยู่ด้วย เหนี่ยวๆ หนึบๆ
ขนมสอดใส้ถั่วแดง
ญี่ปุ่นมีขนมสอดใส้ถั่วแดงเยอะ รวมไว้ทีเดียวเลยละกัน ก็พวกขนมปังไส้ถั่วแดง โดนัทถั่วแดง ซาลาเปาถั่วแดงบ้านเราก็จัดเข้าจำพวกนี้ด้วยนะครับผม
หวานเย็นถั่วแดง (Anmistu)
เป็นของหวานคนแก่ มีถั่วแดง ผลไม้ และของหวานอื่นๆ ตามแต่จะใส่ลงไป แล้วราดด้วยน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลทรายแดง ให้รสชาติหวานหอม เหมาะสำหรับกินกันตอนหน้าร้อน
ถั่วแดงต้มน้ำตาล (Anko)
ถั่วแดงต้มน้ำตาล เหลวๆ หวานมาก
ขนมไข่ยุ่น (Kasutera)
เป็นขนมไข่ ชื่อเรียกยาก คาสเทลล่า จังหวัดที่ทำขนมไข่ที่ดังมากคือ ฮิโรชิม่า ใครไปฮิโรชิม่า ก็ต้องแบกขนมไข่มาฝากคนรู้จักกันทั้งนั้น ขนมไข่ยุ่นนี้ นุ่มมากครับ ใครกินเนยสดที่ว่านุ่มๆ แล้วจะเปลี่ยนใจทันที ที่นี่เค้าจะคัดไข่ชั่งน้ำหนักทีละฟอง เพื่อให้ได้ส่วนผสมที่ตรงเป๊ะๆ ออกมานุ่มทุกชิ้น
ซากุระโมจิ Sakuramochi
เป็นขนมที่ทำจากแป้งโมจิ หรือแป้งข้าวเหนียวบ้านเราน่ะครับ แล้วห่อด้วยใบซากุระ
เยลลี่ถั่วแดง Mizuyoukan
เป็นของหวานคนแก่ แต่ถ้ากินตอนอากาศร้อนๆ ก็ช่วยให้ร่างการสดชื่นได้ เป็นเยลลี่ถั่วแดง และมีรสอื่นๆ ด้วยเช่น ชาเขียว เป็นต้น
และนี้ก็เป็นข้อมูลของ วาซาบิ เอ้ย! วากาชิที่ผมสามารถหามานำเสนอพอสังเขปนะครับ
ขอขอบคุณ www.jgbthai.com,www.oknation.net และ japanesefoodsguide.blogspot.com ที่ให้ข้อมูลมานะครับ.
http://www.youtube.com/watch?v=mtG2UEm3Lsg
มารู้จักขนมหวานญี่ปุ่นกันเถอะ.
โอตาคุที่ดีไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องเมะทุกเรื่อง แต่เป็นโอตาคุที่แบ่งเวลาเป็นต่างหาก
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 Sodaman ได้ทำการยุติการใช้บอร์ดนี้แล้ว ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านกระทู้ของผมเสมอมานะครับผม.
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 Sodaman ได้ทำการยุติการใช้บอร์ดนี้แล้ว ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านกระทู้ของผมเสมอมานะครับผม.
[IMG]