"ผักกุด" จัดอยู่ในวงศ์ WOODSIACEAE หรือวงศ์ ATHYRIACEAE เช่นเดียวกับผักแว่น และกระแตไต่ไม้ นอกจากนี้ผักกุดยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น ผักกุดขาว หัสดำ กุดน้ำ หรือ กุดกิน เป็นต้น
หลายประเทศในเขตร้อนของเอเชียมักมีผักกุดให้เห็น... ไล่ตั้งแต่ ภาคกลางของประเทศจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก ส่วนในประเทศไทยจะพบผักกุดได้ทั่วไปแทบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีสภาพดินไม่แห้งแล้ง หลายคนเข้าใจว่าผักกุดจะขึ้นเฉพาะพื้นดินที่ติดน้ำ แต่ความจริงแล้วสามารถขึ้นได้ในดินทั่วไป เพียงแต่ต้องให้น้ำมากกว่าเท่านั้น สำหรับผักกุดที่ขึ้นริมน้ำจะมีความเมือกและลื่นกว่าผักกุดที่ขึ้นบนพื้นที่ทั่วไป ส่วนรสชาติหรือสรรพคุณไม่ต่างกันเลย ผักกุดไม่ได้เป็นพืชผักแต่เป็นพืชที่เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารับประทานได้ มีลำต้นเป็นเหง้าแบบตั้งตรง ต้นเมื่อมีอายุน้อยมักจะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เมื่ออายุมากขึ้นจะพบว่าเป็นใบประกอบแบบสองชั้น โดยส่วนที่นำมาปรุงเป็นอาหารก็คือส่วนของ ฟรอนด์ (Frond) หรือก้านใบใหม่ที่โผล่ขึ้นมาจากลำต้น มีส่วนปลายม้วนงอ แต่บางชนิดยอดใบจะมีรสขมมาก บางชนิดมีขนสีน้ำตาลปกคลุมตามต้น และแต่ละชนิดก็มีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยาที่แตกต่างกันออกไป
ผักกุด อุดมไปด้วย ธาตุเหล็ก และบีตาแคโรทีน การรับประทานผักกุดร่วมกับเนื้อสัตว์จะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยบำรุงร่างกาย ในผักกุด 100 กรัม จะให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี เส้นใยอาหาร 1.4 กรัม ธาตุแคลเซียม 5 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 36.3 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วย วิตามิน A, วิตามิน B1, B2, B3 ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง เพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ "ส่วนคนเฒ่าคนแก่จะนำใบผักกุดมาต้มดื่มเพื่อช่วยลดไข้แก้ตัวร้อน นอกจากนั้นยังเชื่อว่าการรับประทานผักกุดบ่อยๆ จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องโรคเลือดออกตามไรฟันได้” ชาวบ้านในแถบนี้จึงมีเมนูผักกุดให้เห็นบนโต๊ะอาหารอยู่เกือบทุกมื้อ ด้วยรสชาติจืดอมหวาน และมีความกรอบในตัว จึงนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย อาทิ ยำ ผัด แกงจืด แกงเลียง
แกงส้ม หรือต้มกับกะทิ ไว้รับประทานพร้อมน้ำพริกวันพรุ่งนี้เนโกะจังจะเอาข้อมูลอะไรดีๆ
มาให้เพื่อนๆชาว 2TH
ก็อย่าลืมติดตามกันนะเจ้าค่า..