เห็นคุณ HuNtZyStEm ได้เขียนเกี่ยวกับอัศวินเทมพลาร์ผมจึงขอนำกลุ่มอัศวินที่ถือว่าเป็นกลุ่มพี่กลุ่มน้องของอัศวินเทมพลาร์และแทมคนไทยเราไม่ค่อยรู้จัก นั้นคือ กลุ่มอัศวินฮอสปิทัลเลอร์
คณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ (Knights Hospitaller) หรือคณะฮอสปิทัลเลอร์ (Order of Hospitallers) เป็นคณะบุรุษที่ทำงานที่โรงพยาบาลอมาลฟิที่ตั้งขึ้นในเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1080 เพื่อเป็นสถานที่สำหรับคนยากจน ผู้แสวงบุญ และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่เดินทางมายังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ หลังจากคริสตจักรตะวันตกได้รับชัยชนะต่อเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1099 ระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 โรงพยาบาลอมาลฟิก็ก่อตั้งเป็นคณะทหารภายใต้กฎบัตร (charter) โดยมีหน้าที่ในการดูแลผู้บาดเจ็บและป้องกันดินแดนศักดิ์สิทธิ์ หลังจากที่เยรูซาเลมเสียเมืองแก่ฝ่ายมุสลิมคณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่โรดส์เป็นอาณาจักรของตนเอง และต่อมาที่มอลตาเป็นประเทศราชภายใต้การปกครองของอุปราชสเปนประจำซิซิลี
การก่อตั้งและประวัติเบื้องต้น
ในปี ค.ศ. 600 อธิการโพรบัส (Abbot Probus) ได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1ให้สร้างสถานพยาบาลในกรุงเยรูซาเลมเพื่อดูแลนักแสวงบุญชาวคริสต์ที่เดินทางไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 800 ชาร์เลอมาญจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขยายสถานพยาบาลของโพรบัสและเพิ่มห้องสมุด ราวสองร้อยปีต่อมาในปี ค.ศ. 1005, กาหลิบอัล-ฮาคิม บิ-อมร อัลลอฮ์ (Al-Hakim bi-Amr Allah) ทำลายสถานพยาบาลและบ้านเรือนอื่นๆ อีกสามพันหลังในกรุงเยรูซาเลม ในปี ค.ศ. 1023 พ่อค้าจากอามาลฟิ และซาเลอร์โน ในอิตาลีได้รับอนุญาตให้สร้างสถานพยาบาลใหม่โดยกาหลิบอาลิ อัซ-ซาเฮียร์ (Ali az-Zahir) แห่งอียิปต์ สถานพยาบาลใหม่สร้างบนที่ที่เดิมเป็นอารามของนักบุญยอห์นผู้ให้รับบัพติศมาบริหารโดยนักพรตคณะเบเนดิกติน
คณะฮอสปิทัลเลอร์อารามิกได้รับก่อตั้งขึ้นเป็นคณะนักบวชหลังสงครามครูเสดครั้งที่ 1 โดยบุญราศีเจอราร์ด โทม (Gerard Thom) ที่ได้รับการอนุมัติโดยพระบัญญัติพระสันตะปาปา (Papal bull) ของสมเด็จพระสันตะปาปาปาสคาลที่ 2 ในปี ค.ศ. 1113 เจอราร์ดขยายดินแดนของคณะและรายได้ไปทั่วราชอาณาจักรเยรูซาเลมและอาณาบริเวณที่ไกลออกไปจากนั้น นอกไปเรมงด์ดูปุยแห่งโปรวองซ์ (Raymond du Puy de Provence) ผู้นำคนต่อมาก่อตั้งสถานพยาบาลที่สำคัญไม่ไกลจากโบสถ์โฮลีเซพัลเครอ (Church of the Holy Sepulchre) ในเยรูซาเลมโดยมีจุดประสงค์เมื่อเริ่มแรกในการดูแลรักษานักแสวงบุญในเยรูซาเลม แต่ต่อมาก็รวมไปถึงการให้บริการคุ้มครองนักแสวงบุญโดยผู้ถืออาวุธและขยายตัวจนกลายเป็นกองกำลังที่มีขนาดใหญ่พอสมควร
ผู้พยาบาลหรือฮอสปิทัลเลอร์ (The Hospitallers) และอัศวินเทมพลาร์ (Knights Templar) ที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1119 กลายเป็นกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนสำคัญผู้มีอำนาจอยู่ในบริเวณนั้น คณะมาได้รับชื่อเสียงหลังจากการต่อสู้กับฝ่ายมุสลิมหลายครั้ง อ่านมาถึงตรงนี้หลายๆท่านคงสงสัยว่าไอ้ฮอสปิทัลเลอร์กับเทมพลาร์มันต่างกันยังไงคืนต้องแรกฮอสปิทัลเลอร์ตั่งมาเป็นกลุ่มที่คอยพยาบาลเท่านั้นครับส่วนเทมพลาร์ก็คอยสู้รบเท่านั้นแต่พอหลังๆฮอสปิทัลเลอร์ก็ติดอาวุธเขารบบ้างทำให้มันต่างกันแค่ชื่อและการแต่งกายเท่านั้นครับ คือเทมพลาร์ใส่ชุดครุมขาวกางเขนแดง
ฮอสปิทัลเลอร์ใส่ชุดดำไม่ก็น้ำเงินเข้มกางเขนขาวครับ
รูปเปรียบเทียบเทมพลาร์กับฮอสปิทัลเลอร์
เมื่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 ลัทธิอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ก็แบ่งเป็นกองทหารและกลุ่มผู้ทำงานกับผู้เจ็บป่วยแต่ก็ยังเป็นคณะนักบวชและได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ จากพระสันตะปาปา เช่นไม่ต้องอยู่ในอำนาจการปกครองของผู้ใดนอกไปจากอำนาจการปกครองของพระสันตะปาปา ไม่ต้องเสียภาษีและมีสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างทางศาสนาด้วยตนเองได้ คณะอัศวินเท็มพลาร์และฮอสปิทัลเลอร์สร้างป้อมปราการต่างๆ ในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ ในช่วงเวลาที่รุ่งเรืองที่สุดของราชอาณาจักรเยรูซาเลมฮอสปิทัลเลอร์มีป้อมใหญ่ๆ เจ็ดป้อมและอสังหาริมทรัพย์อีก 140 แห่ง สองแห่งที่ใหญ่ที่สุดในราชอาณาจักรและในราชรัฐแอนติออก (Principality of Antioch) คือปราสาทเชวาลีเยร์ (Krak des Chevaliers) และปราสาทมาร์กัท (Margat) ทรัพย์สินของคณะแบ่งเป็นไพรออรี (Priory) ที่แบ่งออกเป็นเบลลิวิค (bailiwick) เฟรดเดอริค บาร์บารอซซาจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรงสัญญาว่าจะพิทักษ์อัศวินแห่งเซนต์จอห์นในเอกสารพระราชนุญาตของปี ค.ศ. 1185
การขยายอำนาจของอิสลามในบริเวณตะวันออกกลางจนในที่สุดก็สามารถขับอัศวินออกจากเยรูซาเลม. หลังจากราชอาณาจักรเยรูซาเลมล่มในปี ค.ศ. 1291 (กรุงเยรูซาเลมเองล่มในปี ค.ศ. 1187) อัศวินก็ถูกจำกัดบริเวณอยู่แต่ในอาณาจักรเคานท์แห่งตริโปลี และเมื่อเอเคอร์ถูกยึดในปี ค.ศ. 1291 อัศวินก็ต้องไปหาที่ตั้งใหม่ในราชอาณาจักรไซปรัส หลังจากการเข้าไปพัวพันกับการเมืองในไซปรัสแกรนด์มาสเตอร์กีโยม เดอ วิลลาเรต์ (Guillaume de Villaret) ก็วางแผนที่จะหาที่ดินที่เป็นของคณะเองโดยเลือกเกาะโรดส์เป็นที่ตั้งใหม่
ต่อมาอัศวินเทมพลาร์ถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1312 และทรัพย์สินและที่ดินส่วนใหญ่ถูกยกให้กับฮอสปิทัลเลอร์ (Hospitaller)
เมื่อตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะโรดส์อัศวินเซนต์จอห์นก็รู้จักกันในชื่อ “อัศวินแห่งโรดส์” ด้วย ก็จำยอมต้องกลายเป็นนักรบเพิ่มขึ้นอีกโดยเฉพาะในการต่อสู้กับโจรสลัดบาร์บารี อัศวินแห่งโรดส์สามารถป้องกันการรุกรานในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ได้สองครั้งๆ หนึ่งโดยสุลต่านแห่งอียิปต์ในปี ค.ศ. 1444 และอีกครั้งหนึ่งโดยสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2แห่งจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1480 ผู้ที่หลังจากยึดยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ในปี ค.ศ. 1453 แล้วก็ทรงหันมาตั้งเป้าที่จะทำลายอัศวินแห่งโรดส์
ในปี ค.ศ. 1494 อัศวินแห่งโรดส์ก็ไปตั้งที่มั่นที่แหลมฮาลิคาร์นัสซัส อัศวินใช้ส่วนที่ไม่ถูกทำลายของซากที่บรรจุศพแห่งมอสโซลอส (Mausoleum of Maussollos) (หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ) ไปใช้ในการสร้างเสริมปราสาทโบดรัมในปี ค.ศ. 1522สุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมันก็ทรงนำกองทัพเรือ 400 ลำและทหารราบจำนวน 200,000 มารุกรานโรดส์ทางฝ่ายอัศวินภายใต้การนำของแกรนด์มาสเตอร์ฟิลลิป วิลลิเยร์ เดอ ลิสเซิล-อาดัน (Philippe Villiers de L'Isle-Adam) มีทหารด้วยกันทั้งหมด 7,000 คนและป้อม การล้อมโรดส์ใช้เวลาห้าเดือน ในที่สุดผู้ที่รอดจากการโจมตีก็ได้รับพระบรมราชานุญาตจากสุลต่านสุลัยมานให้ออกจากโรดส์ อัศวินแห่งโรดส์จึงถอยไปตั้งหลักที่ซิซิลี
อัศวินแห่งมอลตาชื่อนี้พอจะคุ่นมัยครับแต่สำหรับคนที่ได้เล่นเกมส์ Age of Empires 3 ในโหดเนื้อเรื่องก็คงจะรู้จักกัน
หลังจากที่เร่ร่อนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งอยู่เจ็ดปีในยุโรป อัศวินก็ก่อตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1530 เมื่อสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งสเปนในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งซิซิลีก็พระราชทานมอลตาให้แก่คณะ พร้อมทั้งโกโซ (Gozo) และทริโปลี (Tripoli) เมืองท่างของแอฟริกาเหนือในการเป็นอาณาจักรเป็นการแลกเปลี่ยนกับเหยี่วมอลตาหนึ่งตัวต่อปีที่ต้องนำมามอบให้แก่อุปราชแห่งซิซิลีผู้เป็นผู้แทนพระองค์ในวัน “All Souls Day” ของทุกปี อัศวินฮอสปิทัลเลอร์ก็ยังคงต่อสู้กับฝ่ายมุสลิมอยู่ และโดยเฉพาะกับกลุ่มโจรสลัดบาร์บารี แม้ว่าจะมีกองเรือเพียงไม่กี่ลำเมือนไม่เจ็บแล้วไม่จำทำให้เป็นที่เคืองพระทัยของสุลต่านออตโตมัน ที่เห็นว่าอัศวินฮอสพิทาลเลอร์สามารถไปหาที่มั่นใหม่ได้ ในปี ค.ศ. 1565 สุลต่านสุลัยมานจึงทรงส่งกองทัพจำนวน 40,000 คนมาล้อมอัศวิน 700 คนและทหารอีก 8,000 คนเพื่อจะกำจัดอัศวินออกจากมอลตา
ในช่วงแรกของการรุกราน สถาณะการณ์ดูเหมือนจะซ้ำรอยกับที่โรดส์ที่ฝ่ายฮอสปิทัลเลอร์เพลี่ยงพล้ำ เมืองต่างๆ เกือบทุกเมืองถูกทำลายและอัศวินครึ่งหนึ่งถูกสังหาร เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมสถานะการณ์ของฝ่ายอัศวินก็ถึงจุดวิกฤติ ทหารถูกฆ่าตายไปเป็นจำนวนมากและอ่อนกำลังลงทุกวัน แต่เมื่อสภาสงครามเสนอให้ทิ้งอิลบอร์โก (Il Borgo) และเซ็งเกลีย (Senglea) และถอยไปยังป้อมเซนต์แอนเจโล (Fort St. Angelo) แกรนด์มาสเตอร์ฌอง ปาริโซต์ เดอ ลา วาเลตต์ (Jean Parisot de la Valette) ปฏิเสธ
อุปราชแห่งซิซิลีก็ไม่ส่งกองหนุนมาช่วยซึ่งอาจจะเป็นเพราะพระราชโองการจากพระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปนคลุมเครือที่ทำให้การตัดสินใจช่วยหรือไม่ช่วยตกอยู่ในความรับผิดชอบของอุปราช ถ้าตัดสินใจผิดก็หมายถึงการพ่ายแพ้และทำให้ซิซิลีและเนเปิลส์ตกอยู่ในอันตรายจากฝ่ายออตโตมัน ตัวอุปราชเองก็ทิ้งลูกชายไว้กับวาเลตต์บนเกาะ ฉะนั้นจึงไม่ใช่การตัดสินใจที่ง่ายนัก แต่ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดอุปราชก็ลังเลในการส่งกองกำลังไปช่วยจนกระทั่งผลของการถูกโจมตีแทบจะอยู่ในมือของอัศวินที่ถูกละทิ้งอยู่บนเกาะ
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมก็มีการโจมตีครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายโดยผู้ที่มาล้อม สถานะการณ์คับขันจนแม้แต่ทหารผู้บาดเจ็บก็ต้องร่วมเข้าต่อสู้ป้องกันด้วย แต่การโจมตีของฝ่ายออตโตมันก็ไม่รุนแรงนักนอกจากที่ป้อมเซนต์เอลโม ซึ่งทำให้ป้อมต่างๆ ยังต่อต้านอยู่ได้ ทางฝ่ายอัศวินก็ซ่อมแซมกำแพงส่วนที่ถูกตีแตกทั้งกลางวันและกลางคืน สำหรับฝ่ายออตโตมันการยึดมอลตาดูจะยากขึ้นทุกวัน กองกำลังที่พักอยู่ในที่แคบจำกัดก็ล้มป่วยและเสียชีวิตกันมากมายระหว่างช่วงฤดูร้อน อาวุธและอาหารก็เริ่มร่อยหรอลงและกำลังใจในการต่อสู้ของทางฝ่ายออตโตมันก็เริ่มลดถอยลงเพราะความพ่ายแพ้ในการพยายามโจมตีหลายครั้งที่ได้รับ นอกจากนั้นแล้วเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนทางฝ่ายออตโตมันก็สูญเสียเทอร์กุต ไรส์ (Turgut Reis) ผู้เป็นแม่ทัพเรือผู้มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ แม่ทัพสองคนที่เหลืออยู่ปิยาเล ปาชา (Piyale Pasha) และลาลา คารา มุสตาฟา ปาชา (Lala Kara Mustafa Pasha) เป็นผู้มีความเลินเล่อ ทั้งสองมีกองทัพเรือขนาดใหญ่ที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงครั้งเดียว, ขาดการติดต่อกับฝั่งอาฟริกา และไม่พยายามระวังการโจมตีจากแนวหลังโดยซิซิลี
เมื่อวันที่ 1 กันยายน ปิยาเลและลาลาก็พยายามเป็นครั้งสุดท้ายแต่กำลังขวัญของทหารฝ่ายออตโตมันก็อยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ซึ่งทำให้การโจมตีเป็นไปอย่างไม่เต็มใจเท่าใดนักซึ่งทำให้อัศวินผู้ที่ถูกล้อมมีกำลังใจดีขึ้นและเริ่มมองเห็นทางที่จะได้รับชัยชนะ ทางฝ่ายออตโตมันมีความตกประหวั่นเมื่อได้ข่าวว่าทางซิซิลีส่งกำลังมาช่วยโดยหาทราบไม่ว่าเป็นเพียงกองกำลังเพียงกองเล็กๆ แต่ก็มีผลทำให้ละทิ้งการล้อมเมื่อวันที่ 8 กันยายน การล้อมมอลตาจึงเป็นชัยชนะครั้งสุดท้ายของอัศวินแห่งเซนต์จอห์น
เมื่อฝ่ายออตโตมันถอยทัพไปแล้วฮอสปิทัลเลอร์ก็เหลือกำลังคนอยู่เพียง 600 คนที่ถืออาวุธได้ การสันนิษฐานที่เชื่อถือได้กล่าวว่าฝ่ายออตโตมันตอนที่มีกำลังคนสูงสุดมีถึง 40,000 คนและเหลือ 15,000 คนกลับไปคอนสแตนติโนเปิล การล้อมเป็นภาพที่บันทึกไว้บนจิตรกรรมฝาผนังโดยมัตเตโอ เปเรซ ดาลเล็ชชิโอ (Matteo Perez d'Aleccio) ในท้องพระโรงเซนต์ไมเคิลและเซนต์จอร์จหรือที่เรียกว่าท้องพระโรงพระราชบัลลังก์ (Throne Room) ในวังของแกรนด์มาสเตอร์ในวาเล็ตตา ความเสียหายที่ได้รับจากการล้อมเมืองทำให้ต้องสร้างเมืองใหม่ - เมืองปัจจุบันวาเล็ตตาเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่แกรนด์มาสเตอร์ผู้ต่อต้านการล้อมโดยไม่ยอมถอย
ในปี ค.ศ. 1607 แกรนด์มาสเตอร์ฮอสปิทัลเลอร์ก็ได้รับฐานะเป็น “Reichsfürst” (เจ้าชายแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แม้ว่าดินแดนของฮอสปิทัลเลอร์จะอยู่ทางใต้ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) ในปี ค.ศ. 1630 แกรนด์มาสเตอร์ก็ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานะทางศาสนาเท่าเทียมกับพระคาร์ดินัลที่ใช้คำนำหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ว่า “His Most Eminent Highness” ที่แสดงถึงความสมฐานะในการเป็นเจ้าชายแห่งคริสตจักร (Prince of the Church)
แต่กระนั้นไม่นานอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ก็ต้องพยายามดำเนินการรักษาคณะด้วยรายได้ที่ลดต่ำลงความเสื่อมโทรมทางจริยธรรมของอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ในช่วงนี้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดจากการตัดสินใจของอัศวินหลายคนในการเข้ารับราชการในราชนาวีต่างประเทศและกลายเป็น“ทหารรับจ้าง 'sea-dogs' แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยนิยมกันไปทำงานให้กับฝรั่งเศสและปล้นเรือโจนสลัดกับเรือของมุดสริม การเปลี่ยนทัศนคติของอัศวินในระหว่างช่วงนี้สรุปได้จากคำกล่าวของพอล ลาครัวซ์ที่ว่า
"ฐานะที่เพิ่มขึ้นจากความมั่งคั่งร่ำรวย การมีอภิสิทธิ์ที่ทำให้เป็นเหมือนราชรัฐ ... คณะในที่สุดก็ขาดจริยธรรมจากความฟุ่มเฟือย และ การปราศจากกิจการ ที่ทำให้เลิกคิดถึงจุดประสงค์เดิมที่แท้จริในการก่อตั้งคณะ และหันไปอ้าแขนรับความสำราญ ความละโมบและความหยิ่งในที่สุดก็ไม่มีขอบเขต อัศวินแสร้งทำตนว่าเหนืออำนาจของผู้ใด โดยการเที่ยวยึดเที่ยวปล้นโดยไม่คำนึงว่าเป็นทรัพย์สินของผู้ใดไม่ว่าจะเป็นของผู้นอกศาสนาหรือคริสเตียน"
นอกจากการปล้นสดมทางเรือแล้วอัศวินก็ยังมีกิจการการค้าทาสที่รุ่งเรืองพอกับโจรสลัดบาร์บารี
ในปี 1789 เกิดการปฏิวัติขึ้นในฝรั่งเศส มีการต่อต้านพวกขุนนางและชนชั้นสูงไปทั่วประเทศ ทำให้กลุ่มฮอสปิทัลเลอร์สูญเสียแหล่งเงินทุนในฝรั่งเศสไปอย่างถาวร เมื่อการปฏิวัติจบลง รัฐบาลใหม่ของฝรั่งเศสก็สั่งยึดอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินของฮอสพิทาลเลอร์ในฝรั่งเศสจนหมด
เมื่อปี 1798 ฐานที่มั่นของกลุ่มในมอลตาถูกนโปเลียนยึดในระหว่างการขยายอิทธิพลไปอียิปต์ของนโปเลียน ทางกลุ่มพยายามเจรจาต่อรองกับยุโรปเพื่อที่จะกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง พระเจ้า ซาร์แห่งรัสเซียจึงมอบที่หลบภัยให้พวกอัศวินในเมือง St. Petersburg
ในช่วงปี 1800 ทางกลุ่มก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ เนื่องจากสูญเสียสมาชิกในยุโรป และตกต่ำจนถึงที่สุด ด้วยการสนับสนุนจากพระสันตปาปา ลีโอที่ 13 ทางกลุ่มก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งในปี 1834 และมีศูนย์บัญชาการในกรุงโรม และเป็นที่รู้จักในชื่อ คณะทหารองค์อธิปัตย์แห่งมอลตา (Sovereign Military Order of Malta)
ในปัจจุบัน
คณะทหารองค์อธิปัตย์แห่งมอลตาเป็นคณะโรมันคาทอลิก ได้รับการยอมรับจาก สมาชิกถาวรแห่งสหประชาชาติ โดยมีกิจกรรมหลักๆในเรื่องทางศาสนา การกุศล และโรงพยาบาล และเป็นที่รู้จักกันในชื่อคณะแห่งมอลตา (Order of Malta) คติประจำกลุ่มคือ Tuitio Fidei et Obsequium Pauperum เป็นภาษาละติน แปลว่า "ผู้ปกป้องความศรัทธาและช่วยเหลือผู้ยากไร้"(Defence of the faith and assistance to the poor)
หลังจากผ่านการรบหลายครั้งถูกโจนตรีจนต้องถึงดินแดนของตนก็หลายครั้งตกต่ำจนต้องปล้นเรือมุดสริมและค้าทาดพวกเข้าก็ยังยืนยัดมาจนถึงปัดจุบัน แต่ปัดจุบันเหล่าอัศวินไม่ได้ใส่ชุดเกราะไปรบแบบในอดีปอีกแล้วแต่พวกเขาใส่เสื่อกราวและถุงมือยางแทนและกลับไปสู้จุดประสงค์เดิมของพวกเขาคือปกป้องความศรัทธาและช่วยเหลือผู้ยากไร้ครับ
คณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ (Knights Hospitaller) หรือคณะฮอสปิทัลเลอร์ (Order of Hospitallers) เป็นคณะบุรุษที่ทำงานที่โรงพยาบาลอมาลฟิที่ตั้งขึ้นในเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1080 เพื่อเป็นสถานที่สำหรับคนยากจน ผู้แสวงบุญ และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่เดินทางมายังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ หลังจากคริสตจักรตะวันตกได้รับชัยชนะต่อเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1099 ระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 โรงพยาบาลอมาลฟิก็ก่อตั้งเป็นคณะทหารภายใต้กฎบัตร (charter) โดยมีหน้าที่ในการดูแลผู้บาดเจ็บและป้องกันดินแดนศักดิ์สิทธิ์ หลังจากที่เยรูซาเลมเสียเมืองแก่ฝ่ายมุสลิมคณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่โรดส์เป็นอาณาจักรของตนเอง และต่อมาที่มอลตาเป็นประเทศราชภายใต้การปกครองของอุปราชสเปนประจำซิซิลี
การก่อตั้งและประวัติเบื้องต้น
ในปี ค.ศ. 600 อธิการโพรบัส (Abbot Probus) ได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1ให้สร้างสถานพยาบาลในกรุงเยรูซาเลมเพื่อดูแลนักแสวงบุญชาวคริสต์ที่เดินทางไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 800 ชาร์เลอมาญจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขยายสถานพยาบาลของโพรบัสและเพิ่มห้องสมุด ราวสองร้อยปีต่อมาในปี ค.ศ. 1005, กาหลิบอัล-ฮาคิม บิ-อมร อัลลอฮ์ (Al-Hakim bi-Amr Allah) ทำลายสถานพยาบาลและบ้านเรือนอื่นๆ อีกสามพันหลังในกรุงเยรูซาเลม ในปี ค.ศ. 1023 พ่อค้าจากอามาลฟิ และซาเลอร์โน ในอิตาลีได้รับอนุญาตให้สร้างสถานพยาบาลใหม่โดยกาหลิบอาลิ อัซ-ซาเฮียร์ (Ali az-Zahir) แห่งอียิปต์ สถานพยาบาลใหม่สร้างบนที่ที่เดิมเป็นอารามของนักบุญยอห์นผู้ให้รับบัพติศมาบริหารโดยนักพรตคณะเบเนดิกติน
คณะฮอสปิทัลเลอร์อารามิกได้รับก่อตั้งขึ้นเป็นคณะนักบวชหลังสงครามครูเสดครั้งที่ 1 โดยบุญราศีเจอราร์ด โทม (Gerard Thom) ที่ได้รับการอนุมัติโดยพระบัญญัติพระสันตะปาปา (Papal bull) ของสมเด็จพระสันตะปาปาปาสคาลที่ 2 ในปี ค.ศ. 1113 เจอราร์ดขยายดินแดนของคณะและรายได้ไปทั่วราชอาณาจักรเยรูซาเลมและอาณาบริเวณที่ไกลออกไปจากนั้น นอกไปเรมงด์ดูปุยแห่งโปรวองซ์ (Raymond du Puy de Provence) ผู้นำคนต่อมาก่อตั้งสถานพยาบาลที่สำคัญไม่ไกลจากโบสถ์โฮลีเซพัลเครอ (Church of the Holy Sepulchre) ในเยรูซาเลมโดยมีจุดประสงค์เมื่อเริ่มแรกในการดูแลรักษานักแสวงบุญในเยรูซาเลม แต่ต่อมาก็รวมไปถึงการให้บริการคุ้มครองนักแสวงบุญโดยผู้ถืออาวุธและขยายตัวจนกลายเป็นกองกำลังที่มีขนาดใหญ่พอสมควร
ผู้พยาบาลหรือฮอสปิทัลเลอร์ (The Hospitallers) และอัศวินเทมพลาร์ (Knights Templar) ที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1119 กลายเป็นกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนสำคัญผู้มีอำนาจอยู่ในบริเวณนั้น คณะมาได้รับชื่อเสียงหลังจากการต่อสู้กับฝ่ายมุสลิมหลายครั้ง อ่านมาถึงตรงนี้หลายๆท่านคงสงสัยว่าไอ้ฮอสปิทัลเลอร์กับเทมพลาร์มันต่างกันยังไงคืนต้องแรกฮอสปิทัลเลอร์ตั่งมาเป็นกลุ่มที่คอยพยาบาลเท่านั้นครับส่วนเทมพลาร์ก็คอยสู้รบเท่านั้นแต่พอหลังๆฮอสปิทัลเลอร์ก็ติดอาวุธเขารบบ้างทำให้มันต่างกันแค่ชื่อและการแต่งกายเท่านั้นครับ คือเทมพลาร์ใส่ชุดครุมขาวกางเขนแดง
ฮอสปิทัลเลอร์ใส่ชุดดำไม่ก็น้ำเงินเข้มกางเขนขาวครับ
รูปเปรียบเทียบเทมพลาร์กับฮอสปิทัลเลอร์
เมื่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 ลัทธิอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ก็แบ่งเป็นกองทหารและกลุ่มผู้ทำงานกับผู้เจ็บป่วยแต่ก็ยังเป็นคณะนักบวชและได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ จากพระสันตะปาปา เช่นไม่ต้องอยู่ในอำนาจการปกครองของผู้ใดนอกไปจากอำนาจการปกครองของพระสันตะปาปา ไม่ต้องเสียภาษีและมีสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างทางศาสนาด้วยตนเองได้ คณะอัศวินเท็มพลาร์และฮอสปิทัลเลอร์สร้างป้อมปราการต่างๆ ในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ ในช่วงเวลาที่รุ่งเรืองที่สุดของราชอาณาจักรเยรูซาเลมฮอสปิทัลเลอร์มีป้อมใหญ่ๆ เจ็ดป้อมและอสังหาริมทรัพย์อีก 140 แห่ง สองแห่งที่ใหญ่ที่สุดในราชอาณาจักรและในราชรัฐแอนติออก (Principality of Antioch) คือปราสาทเชวาลีเยร์ (Krak des Chevaliers) และปราสาทมาร์กัท (Margat) ทรัพย์สินของคณะแบ่งเป็นไพรออรี (Priory) ที่แบ่งออกเป็นเบลลิวิค (bailiwick) เฟรดเดอริค บาร์บารอซซาจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรงสัญญาว่าจะพิทักษ์อัศวินแห่งเซนต์จอห์นในเอกสารพระราชนุญาตของปี ค.ศ. 1185
การขยายอำนาจของอิสลามในบริเวณตะวันออกกลางจนในที่สุดก็สามารถขับอัศวินออกจากเยรูซาเลม. หลังจากราชอาณาจักรเยรูซาเลมล่มในปี ค.ศ. 1291 (กรุงเยรูซาเลมเองล่มในปี ค.ศ. 1187) อัศวินก็ถูกจำกัดบริเวณอยู่แต่ในอาณาจักรเคานท์แห่งตริโปลี และเมื่อเอเคอร์ถูกยึดในปี ค.ศ. 1291 อัศวินก็ต้องไปหาที่ตั้งใหม่ในราชอาณาจักรไซปรัส หลังจากการเข้าไปพัวพันกับการเมืองในไซปรัสแกรนด์มาสเตอร์กีโยม เดอ วิลลาเรต์ (Guillaume de Villaret) ก็วางแผนที่จะหาที่ดินที่เป็นของคณะเองโดยเลือกเกาะโรดส์เป็นที่ตั้งใหม่
ต่อมาอัศวินเทมพลาร์ถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1312 และทรัพย์สินและที่ดินส่วนใหญ่ถูกยกให้กับฮอสปิทัลเลอร์ (Hospitaller)
เมื่อตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะโรดส์อัศวินเซนต์จอห์นก็รู้จักกันในชื่อ “อัศวินแห่งโรดส์” ด้วย ก็จำยอมต้องกลายเป็นนักรบเพิ่มขึ้นอีกโดยเฉพาะในการต่อสู้กับโจรสลัดบาร์บารี อัศวินแห่งโรดส์สามารถป้องกันการรุกรานในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ได้สองครั้งๆ หนึ่งโดยสุลต่านแห่งอียิปต์ในปี ค.ศ. 1444 และอีกครั้งหนึ่งโดยสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2แห่งจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1480 ผู้ที่หลังจากยึดยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ในปี ค.ศ. 1453 แล้วก็ทรงหันมาตั้งเป้าที่จะทำลายอัศวินแห่งโรดส์
ในปี ค.ศ. 1494 อัศวินแห่งโรดส์ก็ไปตั้งที่มั่นที่แหลมฮาลิคาร์นัสซัส อัศวินใช้ส่วนที่ไม่ถูกทำลายของซากที่บรรจุศพแห่งมอสโซลอส (Mausoleum of Maussollos) (หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ) ไปใช้ในการสร้างเสริมปราสาทโบดรัมในปี ค.ศ. 1522สุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมันก็ทรงนำกองทัพเรือ 400 ลำและทหารราบจำนวน 200,000 มารุกรานโรดส์ทางฝ่ายอัศวินภายใต้การนำของแกรนด์มาสเตอร์ฟิลลิป วิลลิเยร์ เดอ ลิสเซิล-อาดัน (Philippe Villiers de L'Isle-Adam) มีทหารด้วยกันทั้งหมด 7,000 คนและป้อม การล้อมโรดส์ใช้เวลาห้าเดือน ในที่สุดผู้ที่รอดจากการโจมตีก็ได้รับพระบรมราชานุญาตจากสุลต่านสุลัยมานให้ออกจากโรดส์ อัศวินแห่งโรดส์จึงถอยไปตั้งหลักที่ซิซิลี
อัศวินแห่งมอลตาชื่อนี้พอจะคุ่นมัยครับแต่สำหรับคนที่ได้เล่นเกมส์ Age of Empires 3 ในโหดเนื้อเรื่องก็คงจะรู้จักกัน
หลังจากที่เร่ร่อนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งอยู่เจ็ดปีในยุโรป อัศวินก็ก่อตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1530 เมื่อสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งสเปนในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งซิซิลีก็พระราชทานมอลตาให้แก่คณะ พร้อมทั้งโกโซ (Gozo) และทริโปลี (Tripoli) เมืองท่างของแอฟริกาเหนือในการเป็นอาณาจักรเป็นการแลกเปลี่ยนกับเหยี่วมอลตาหนึ่งตัวต่อปีที่ต้องนำมามอบให้แก่อุปราชแห่งซิซิลีผู้เป็นผู้แทนพระองค์ในวัน “All Souls Day” ของทุกปี อัศวินฮอสปิทัลเลอร์ก็ยังคงต่อสู้กับฝ่ายมุสลิมอยู่ และโดยเฉพาะกับกลุ่มโจรสลัดบาร์บารี แม้ว่าจะมีกองเรือเพียงไม่กี่ลำเมือนไม่เจ็บแล้วไม่จำทำให้เป็นที่เคืองพระทัยของสุลต่านออตโตมัน ที่เห็นว่าอัศวินฮอสพิทาลเลอร์สามารถไปหาที่มั่นใหม่ได้ ในปี ค.ศ. 1565 สุลต่านสุลัยมานจึงทรงส่งกองทัพจำนวน 40,000 คนมาล้อมอัศวิน 700 คนและทหารอีก 8,000 คนเพื่อจะกำจัดอัศวินออกจากมอลตา
ในช่วงแรกของการรุกราน สถาณะการณ์ดูเหมือนจะซ้ำรอยกับที่โรดส์ที่ฝ่ายฮอสปิทัลเลอร์เพลี่ยงพล้ำ เมืองต่างๆ เกือบทุกเมืองถูกทำลายและอัศวินครึ่งหนึ่งถูกสังหาร เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมสถานะการณ์ของฝ่ายอัศวินก็ถึงจุดวิกฤติ ทหารถูกฆ่าตายไปเป็นจำนวนมากและอ่อนกำลังลงทุกวัน แต่เมื่อสภาสงครามเสนอให้ทิ้งอิลบอร์โก (Il Borgo) และเซ็งเกลีย (Senglea) และถอยไปยังป้อมเซนต์แอนเจโล (Fort St. Angelo) แกรนด์มาสเตอร์ฌอง ปาริโซต์ เดอ ลา วาเลตต์ (Jean Parisot de la Valette) ปฏิเสธ
อุปราชแห่งซิซิลีก็ไม่ส่งกองหนุนมาช่วยซึ่งอาจจะเป็นเพราะพระราชโองการจากพระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปนคลุมเครือที่ทำให้การตัดสินใจช่วยหรือไม่ช่วยตกอยู่ในความรับผิดชอบของอุปราช ถ้าตัดสินใจผิดก็หมายถึงการพ่ายแพ้และทำให้ซิซิลีและเนเปิลส์ตกอยู่ในอันตรายจากฝ่ายออตโตมัน ตัวอุปราชเองก็ทิ้งลูกชายไว้กับวาเลตต์บนเกาะ ฉะนั้นจึงไม่ใช่การตัดสินใจที่ง่ายนัก แต่ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดอุปราชก็ลังเลในการส่งกองกำลังไปช่วยจนกระทั่งผลของการถูกโจมตีแทบจะอยู่ในมือของอัศวินที่ถูกละทิ้งอยู่บนเกาะ
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมก็มีการโจมตีครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายโดยผู้ที่มาล้อม สถานะการณ์คับขันจนแม้แต่ทหารผู้บาดเจ็บก็ต้องร่วมเข้าต่อสู้ป้องกันด้วย แต่การโจมตีของฝ่ายออตโตมันก็ไม่รุนแรงนักนอกจากที่ป้อมเซนต์เอลโม ซึ่งทำให้ป้อมต่างๆ ยังต่อต้านอยู่ได้ ทางฝ่ายอัศวินก็ซ่อมแซมกำแพงส่วนที่ถูกตีแตกทั้งกลางวันและกลางคืน สำหรับฝ่ายออตโตมันการยึดมอลตาดูจะยากขึ้นทุกวัน กองกำลังที่พักอยู่ในที่แคบจำกัดก็ล้มป่วยและเสียชีวิตกันมากมายระหว่างช่วงฤดูร้อน อาวุธและอาหารก็เริ่มร่อยหรอลงและกำลังใจในการต่อสู้ของทางฝ่ายออตโตมันก็เริ่มลดถอยลงเพราะความพ่ายแพ้ในการพยายามโจมตีหลายครั้งที่ได้รับ นอกจากนั้นแล้วเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนทางฝ่ายออตโตมันก็สูญเสียเทอร์กุต ไรส์ (Turgut Reis) ผู้เป็นแม่ทัพเรือผู้มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ แม่ทัพสองคนที่เหลืออยู่ปิยาเล ปาชา (Piyale Pasha) และลาลา คารา มุสตาฟา ปาชา (Lala Kara Mustafa Pasha) เป็นผู้มีความเลินเล่อ ทั้งสองมีกองทัพเรือขนาดใหญ่ที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงครั้งเดียว, ขาดการติดต่อกับฝั่งอาฟริกา และไม่พยายามระวังการโจมตีจากแนวหลังโดยซิซิลี
เมื่อวันที่ 1 กันยายน ปิยาเลและลาลาก็พยายามเป็นครั้งสุดท้ายแต่กำลังขวัญของทหารฝ่ายออตโตมันก็อยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ซึ่งทำให้การโจมตีเป็นไปอย่างไม่เต็มใจเท่าใดนักซึ่งทำให้อัศวินผู้ที่ถูกล้อมมีกำลังใจดีขึ้นและเริ่มมองเห็นทางที่จะได้รับชัยชนะ ทางฝ่ายออตโตมันมีความตกประหวั่นเมื่อได้ข่าวว่าทางซิซิลีส่งกำลังมาช่วยโดยหาทราบไม่ว่าเป็นเพียงกองกำลังเพียงกองเล็กๆ แต่ก็มีผลทำให้ละทิ้งการล้อมเมื่อวันที่ 8 กันยายน การล้อมมอลตาจึงเป็นชัยชนะครั้งสุดท้ายของอัศวินแห่งเซนต์จอห์น
เมื่อฝ่ายออตโตมันถอยทัพไปแล้วฮอสปิทัลเลอร์ก็เหลือกำลังคนอยู่เพียง 600 คนที่ถืออาวุธได้ การสันนิษฐานที่เชื่อถือได้กล่าวว่าฝ่ายออตโตมันตอนที่มีกำลังคนสูงสุดมีถึง 40,000 คนและเหลือ 15,000 คนกลับไปคอนสแตนติโนเปิล การล้อมเป็นภาพที่บันทึกไว้บนจิตรกรรมฝาผนังโดยมัตเตโอ เปเรซ ดาลเล็ชชิโอ (Matteo Perez d'Aleccio) ในท้องพระโรงเซนต์ไมเคิลและเซนต์จอร์จหรือที่เรียกว่าท้องพระโรงพระราชบัลลังก์ (Throne Room) ในวังของแกรนด์มาสเตอร์ในวาเล็ตตา ความเสียหายที่ได้รับจากการล้อมเมืองทำให้ต้องสร้างเมืองใหม่ - เมืองปัจจุบันวาเล็ตตาเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่แกรนด์มาสเตอร์ผู้ต่อต้านการล้อมโดยไม่ยอมถอย
ในปี ค.ศ. 1607 แกรนด์มาสเตอร์ฮอสปิทัลเลอร์ก็ได้รับฐานะเป็น “Reichsfürst” (เจ้าชายแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แม้ว่าดินแดนของฮอสปิทัลเลอร์จะอยู่ทางใต้ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) ในปี ค.ศ. 1630 แกรนด์มาสเตอร์ก็ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานะทางศาสนาเท่าเทียมกับพระคาร์ดินัลที่ใช้คำนำหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ว่า “His Most Eminent Highness” ที่แสดงถึงความสมฐานะในการเป็นเจ้าชายแห่งคริสตจักร (Prince of the Church)
แต่กระนั้นไม่นานอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ก็ต้องพยายามดำเนินการรักษาคณะด้วยรายได้ที่ลดต่ำลงความเสื่อมโทรมทางจริยธรรมของอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ในช่วงนี้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดจากการตัดสินใจของอัศวินหลายคนในการเข้ารับราชการในราชนาวีต่างประเทศและกลายเป็น“ทหารรับจ้าง 'sea-dogs' แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยนิยมกันไปทำงานให้กับฝรั่งเศสและปล้นเรือโจนสลัดกับเรือของมุดสริม การเปลี่ยนทัศนคติของอัศวินในระหว่างช่วงนี้สรุปได้จากคำกล่าวของพอล ลาครัวซ์ที่ว่า
"ฐานะที่เพิ่มขึ้นจากความมั่งคั่งร่ำรวย การมีอภิสิทธิ์ที่ทำให้เป็นเหมือนราชรัฐ ... คณะในที่สุดก็ขาดจริยธรรมจากความฟุ่มเฟือย และ การปราศจากกิจการ ที่ทำให้เลิกคิดถึงจุดประสงค์เดิมที่แท้จริในการก่อตั้งคณะ และหันไปอ้าแขนรับความสำราญ ความละโมบและความหยิ่งในที่สุดก็ไม่มีขอบเขต อัศวินแสร้งทำตนว่าเหนืออำนาจของผู้ใด โดยการเที่ยวยึดเที่ยวปล้นโดยไม่คำนึงว่าเป็นทรัพย์สินของผู้ใดไม่ว่าจะเป็นของผู้นอกศาสนาหรือคริสเตียน"
นอกจากการปล้นสดมทางเรือแล้วอัศวินก็ยังมีกิจการการค้าทาสที่รุ่งเรืองพอกับโจรสลัดบาร์บารี
ในปี 1789 เกิดการปฏิวัติขึ้นในฝรั่งเศส มีการต่อต้านพวกขุนนางและชนชั้นสูงไปทั่วประเทศ ทำให้กลุ่มฮอสปิทัลเลอร์สูญเสียแหล่งเงินทุนในฝรั่งเศสไปอย่างถาวร เมื่อการปฏิวัติจบลง รัฐบาลใหม่ของฝรั่งเศสก็สั่งยึดอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินของฮอสพิทาลเลอร์ในฝรั่งเศสจนหมด
เมื่อปี 1798 ฐานที่มั่นของกลุ่มในมอลตาถูกนโปเลียนยึดในระหว่างการขยายอิทธิพลไปอียิปต์ของนโปเลียน ทางกลุ่มพยายามเจรจาต่อรองกับยุโรปเพื่อที่จะกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง พระเจ้า ซาร์แห่งรัสเซียจึงมอบที่หลบภัยให้พวกอัศวินในเมือง St. Petersburg
ในช่วงปี 1800 ทางกลุ่มก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ เนื่องจากสูญเสียสมาชิกในยุโรป และตกต่ำจนถึงที่สุด ด้วยการสนับสนุนจากพระสันตปาปา ลีโอที่ 13 ทางกลุ่มก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งในปี 1834 และมีศูนย์บัญชาการในกรุงโรม และเป็นที่รู้จักในชื่อ คณะทหารองค์อธิปัตย์แห่งมอลตา (Sovereign Military Order of Malta)
ในปัจจุบัน
คณะทหารองค์อธิปัตย์แห่งมอลตาเป็นคณะโรมันคาทอลิก ได้รับการยอมรับจาก สมาชิกถาวรแห่งสหประชาชาติ โดยมีกิจกรรมหลักๆในเรื่องทางศาสนา การกุศล และโรงพยาบาล และเป็นที่รู้จักกันในชื่อคณะแห่งมอลตา (Order of Malta) คติประจำกลุ่มคือ Tuitio Fidei et Obsequium Pauperum เป็นภาษาละติน แปลว่า "ผู้ปกป้องความศรัทธาและช่วยเหลือผู้ยากไร้"(Defence of the faith and assistance to the poor)
หลังจากผ่านการรบหลายครั้งถูกโจนตรีจนต้องถึงดินแดนของตนก็หลายครั้งตกต่ำจนต้องปล้นเรือมุดสริมและค้าทาดพวกเข้าก็ยังยืนยัดมาจนถึงปัดจุบัน แต่ปัดจุบันเหล่าอัศวินไม่ได้ใส่ชุดเกราะไปรบแบบในอดีปอีกแล้วแต่พวกเขาใส่เสื่อกราวและถุงมือยางแทนและกลับไปสู้จุดประสงค์เดิมของพวกเขาคือปกป้องความศรัทธาและช่วยเหลือผู้ยากไร้ครับ
อัศวินฮอสปิทัลเลอร์กลุ่มพี่กลุ่มน้องของอัศวินเทมพลาร์
ปลายนิ้วเคลื่อนขีดเขียน จดจารสารศักดิ์สิทธิ์ เคลื่อนต่อไป ไม่ยอมให้ความคิดหรือจริตสำนวนหวนทวนคืนมาขีดฆ่าแม้ครึ่งบรรทัดหรือน้ำตาชะล้างคำใดให้เลือนหาย