สวัสดีครับทุกท่านวันนี้ผม Azeroth_pon มีเรื่องแปลกๆมาให้อ่านกันครับเป็นเรื่องของจักพรรดิแห่งอเมริกา เหตุผลที่มันแปลกเพราะอเมริกาเป็นประเทศที่ปกครองแบบประชาธิปไตยจะไปมีจักพรรดิได้อย่างไร
์
ชายคนนี้มีชื่อว่า โจชัว อับราฮัม นอร์ตัน (Joshua Abraham Norton)เกิดที่ลอนดอน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1819 และย้ายไปแอฟริกาใต้ตั้งแต่นอร์ตัน 2 ขวบ จนเขาอายุได้ 30 ก็ย้ายมาซานฟรานซิสโกพร้อมเงิน 40,000 ดอลลาร์ นอร์ตันค้าขายที่ดินจนมีเงินถึง 250,000 ดอลลาร์ แต่เพราะมรสุมทางการเงินทำให้เขาหมดตัวจนเขาหายตัวไปในปี 1858
นอร์ตันกลับมาซานฟรานซิสโกอีกครั้งในปี 1859 ในสภาพสมองไม่ปกติเขาได้ทำจดหมายส่งไปยังสำนักพิมพ์หลายแห่ง ประกาศตนเป็น "จักรพรรดิแห่งสหรัฐอเมริกา (The Emperor of these United States)" ซึ่ง นสพ.ต่างๆเห็นเป็นแค่เรื่องตลกแต่ บก.ของ นสพ.ซาน ฟรานซิสโก บุลเลตินเห็นว่าน่าจะสร้างความขบขันให้ผู้อ่านได้จึงตีพิมพ์เป็นข่าวฮือฮา แต่ก็ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จากนั้นนอร์ตันได้ประกาศตนเป็น "ผู้สำเร็จราชการแห่งเม็กซิโก"
เมื่อตั้งตนเป็นจักพรรดิแล้ว นอร์ตันก็มีโองการออกกฎหมายต่างๆโดยเห็นว่าของเดิมไม่เป็นธรรม มีพระบัญให้ยุบสภาคองเกรสส์ เนื่องจากคอร์รัปชั่นแถมมีคำสั่งให้กองทัพป้องกันมึให้มีการเลือกตั้ง
แต่กองทัพและสภาไม่ได้สนใจต่อโองการจากจักรพรรดินอร์ตัน นอร์ตันจึงเบนความคิดไปที่ศาสนา เช่น บัญชาให้ทั้งคริสต์แคธอลิกและโปรเทสแทนต์ยอมรับความเป็น "จักรพรรดิ"
วิสัยทัศน์หลายอย่างของนอร์ตันกลับกลายเป็นจริง เช่น นอร์ตันมีโองการให้สร้างสะพานและอุโมงค์เชื่อมระหว่างโอ๊คแลนด์กับซานฟรานซิสโก ซึ่งได้มีการสร้างจริงๆแต่หลังการตายของนอร์ตันหลายสิบปี
ั
ในแต่ละวันจักรพรรดินอร์ตันจะทรงเดินสำรวจความเรียบร้อยของนครซานฟรานซิสโกในชุยูนิฟอร์มสีน้ำเงินสุดหรู มีแถบอินทรธนูสีทองซึ่งกองทัพสหรัฐประจำซานฟรานซิสโกมอบให้สวมหมวกหนังบีเวอร์ติดขนนกยูงและเครื่องหมายดอกจัน ทรงไม้เท้าและกางร่มเดินตรวจสภาพถนนและทางเท้า รถราง การก่อสร้างหรือบรูณะต่างๆ ดูการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมให้คำแนะนำแก่ผู้ผ่านไปมา
ในปี 1860-1870 มีการต่อต้านชาวจีนอพยกจนบางทีถึงเลือดถึงเนื้อ ซึ่งนอร์ตันได้พยายามห้าม
มีหนหนึ่งที่เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มต่อต้านกับชาวจีน นอร์ตันได้ไปยืนขวางและก้มหัวลงสวดมนต์ ทำให้ทั้ง 2 กลุ่มสลายตัวไปและไม่เกิดเหตุร้ายใดๆ(ใช้ความสงบสยบความขัดแย้งสุดยอดเลยครับองค์จักรพรรดิ)
องค์จักรพรรดินอร์ตันเป็นที่รักของชาวซานฟรานซิสโก แม้พระองค์จะขัดสนเงินทอง แต่ก็เสด็จไปเสวยในภัตตาคารชั้นดีทั้งหลายได้เสมอๆ บรรดาภัตตาคารเหล่านี้จะติดแผ่นป้ายทองเหลืองไว้ว่า "ภัตตาคารนี้องค์จักรพรรดินอร์ตันโปรดเสด็จมาเสวย (Appointment TO His Imperial Majesty,Emperor Norton I of the United States)" นอกจากนี้ละครหรือคอนเสิร์ตใดที่จะเปิดการแสดงโดยไม่ได้เตรียมที่นั่งพิเศษไว้ให้จักรพรรดิ
จักรพรรดิมักมีสุนัข 2 ตัว บัมเมอร์กับลาซารุสตามเสด็จจนเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง แม้พระองค์จะมิได้เป็นเจ้าของสุนัข 2 ตัวนี้แต่ยามเสวย พระองค์จะปันอาหารให้สุนัขเสมอ
องค์จักรพรรดิกับสุนัของค์รักษ์
ปี 1867 โปลิศชื่อว่า อาร์มานด์ บาร์บิเออร์ ได้จับองค์จักรพรรดิในข้อหาวิกลจริต ข่าวการจับกุมได้ก็ให้เกิดความโกรธเคืองแก่ชาวนครและบรรดาหนังสือพิมพ์ก็กล่าวประณามเป็นการใหญ่โตเป็นเหตุให้หัวหน้าตำรวจต้องรีบปล่อยองค์จักรพรรดิและขอขมาอย่างเป็นทางการ โดยหัวหน้าตำรวจ แพตริก โครว์ลีย์ กล่าวคำอมตะว่า "ท่านไม่เคยทำให้ใครต้องหลั่งโลหิต ไม่เคยแย่งชิงทรัพย์สินใคร และไม่เคยบ่อนทำลายประเทศใด เพียงแค่นี้ก็เกินพอแล้วที่จะพูดถึงคุณความดีของจักรพรรดิ"
ซึ่งองค์จักรพรรดิได้ "พระราชทานอภัยโทษ" ให้โปลิศคนนั้นจากนั้นเป็นต้นมาเมื่อองค์จักรพรรดิเดินผ่านตำรวจจะตะเบ๊ะคารวะทุกครั้ง
เนื่องจากความขัดสนจักรพรรดิจึงผลิตธนบัตรใช้เองโดยมีพระฉายาลักษณ์อยู่บนธนบัตรด้วย โดยธนบัตรนี้ใช้ชำระหนี้สินในท้องถิ่นได้โดยทุกคนยอมรับ มีราคาใบละ 50 เซนต์จนถึง 10 ดอลลาร์ และปัจจุบันเป็นของสะสมที่มีค่ามาก
ธนบัตรขององค์จักรพรรดิ
เมื่อเครื่องแบบจักรพรรดิขาดรุ่งริ่ง พระองค์ก็เปรยว่า "ขอบอกให้ท่านทั้งหลายได้ทราบว่า บัดนี้ชุดทรงของเราเก่าคร่ำคร่าไม่น่าดู ทำให้เป็นที่อัปยศของชาติ"
วันรุ่งขึ้นคณะสภาแห่งซานฟรานซิสโกลงมติตั้งงบสำหรับหาฉลองพระองค์ใหม่ถวายจักรพรรดิทันที
คืนวันที่ 8 มกราคม 1880 ฝนตกพรำๆ องค์จักรพรรดิถลาลื่นล้ม หน้าโบสถ์เซนต์แมรี่ ตำรวจได้รีบนำพระองค์ส่งโรงพยาบาล หากทว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ระหว่างทาง รุ่งขึ้นประดาหนังสือพิมพ์ต่างประโคมข่าวหน้าหนึ่งด้วยข้อความคล้ายๆกันว่า "บนถนน ท่ามกลางความมืดของคืนข้างแรมและฝนตกพรำๆ นอร์ตันที่ 1 ผู้ที่พระเจ้าทรงเมตตา จักรพรรดิแห่งสหรัฐอเมริกาและผู้สำเร็จราชการแห่งแม็กซิโก ได้ทรงจากโลกนี้ไปแล้ว"
องค์กรต่างๆของซานฟรานซิสโกได้ร่วมกันจัดหาโลงไม้ชั้นดี และมีพิธีศพที่ยิ่งใหญ่ในวันที่ 10 มกราคม ชาวซานฟรานซิสโก 30,000 คนเข้าร่วมเป็นขบวนแห่ยาว 3 กม. แผ่นป้ายหินอ่อนที่หลุมศพขององค์จักรพรรดิมีคำจารึกว่า "นอร์ตันที่ 1 จักรพรรดิแห่งสหรัฐอเมริกาและผู้สำเร็จราชการเม็กซิโก"
แผ่นป้ายหินอ่อนที่หลุมศพขององค์จักรพรรดิ
เป็นไงครับกับจักรพรรดิแห่งอเมริกาแม้ว่าพระองค์จะเป็นแค่คนที่สมองไม่ปกติแต่ท่านก็ไม่เคยทำความเดือดร้อนให้ใครเหมือนที่หัวหน้าตำรวจ แพตริก โครว์ลีย์ กล่าวคำอมตะว่า "ท่านไม่เคยทำให้ใครต้องหลั่งโลหิต ไม่เคยแย่งชิงทรัพย์สินใคร และไม่เคยบ่อนทำลายประเทศใด เพียงแค่นี้ก็เกินพอแล้วที่จะพูดถึงคุณความดีของจักรพรรดิ"
ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ครับ
ขอบคุณที่มาอ่านนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ ต่วย ตูนพิเศษ ฉบับที่ 452
์
ชายคนนี้มีชื่อว่า โจชัว อับราฮัม นอร์ตัน (Joshua Abraham Norton)เกิดที่ลอนดอน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1819 และย้ายไปแอฟริกาใต้ตั้งแต่นอร์ตัน 2 ขวบ จนเขาอายุได้ 30 ก็ย้ายมาซานฟรานซิสโกพร้อมเงิน 40,000 ดอลลาร์ นอร์ตันค้าขายที่ดินจนมีเงินถึง 250,000 ดอลลาร์ แต่เพราะมรสุมทางการเงินทำให้เขาหมดตัวจนเขาหายตัวไปในปี 1858
นอร์ตันกลับมาซานฟรานซิสโกอีกครั้งในปี 1859 ในสภาพสมองไม่ปกติเขาได้ทำจดหมายส่งไปยังสำนักพิมพ์หลายแห่ง ประกาศตนเป็น "จักรพรรดิแห่งสหรัฐอเมริกา (The Emperor of these United States)" ซึ่ง นสพ.ต่างๆเห็นเป็นแค่เรื่องตลกแต่ บก.ของ นสพ.ซาน ฟรานซิสโก บุลเลตินเห็นว่าน่าจะสร้างความขบขันให้ผู้อ่านได้จึงตีพิมพ์เป็นข่าวฮือฮา แต่ก็ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จากนั้นนอร์ตันได้ประกาศตนเป็น "ผู้สำเร็จราชการแห่งเม็กซิโก"
เมื่อตั้งตนเป็นจักพรรดิแล้ว นอร์ตันก็มีโองการออกกฎหมายต่างๆโดยเห็นว่าของเดิมไม่เป็นธรรม มีพระบัญให้ยุบสภาคองเกรสส์ เนื่องจากคอร์รัปชั่นแถมมีคำสั่งให้กองทัพป้องกันมึให้มีการเลือกตั้ง
แต่กองทัพและสภาไม่ได้สนใจต่อโองการจากจักรพรรดินอร์ตัน นอร์ตันจึงเบนความคิดไปที่ศาสนา เช่น บัญชาให้ทั้งคริสต์แคธอลิกและโปรเทสแทนต์ยอมรับความเป็น "จักรพรรดิ"
วิสัยทัศน์หลายอย่างของนอร์ตันกลับกลายเป็นจริง เช่น นอร์ตันมีโองการให้สร้างสะพานและอุโมงค์เชื่อมระหว่างโอ๊คแลนด์กับซานฟรานซิสโก ซึ่งได้มีการสร้างจริงๆแต่หลังการตายของนอร์ตันหลายสิบปี
ั
ในแต่ละวันจักรพรรดินอร์ตันจะทรงเดินสำรวจความเรียบร้อยของนครซานฟรานซิสโกในชุยูนิฟอร์มสีน้ำเงินสุดหรู มีแถบอินทรธนูสีทองซึ่งกองทัพสหรัฐประจำซานฟรานซิสโกมอบให้สวมหมวกหนังบีเวอร์ติดขนนกยูงและเครื่องหมายดอกจัน ทรงไม้เท้าและกางร่มเดินตรวจสภาพถนนและทางเท้า รถราง การก่อสร้างหรือบรูณะต่างๆ ดูการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมให้คำแนะนำแก่ผู้ผ่านไปมา
ในปี 1860-1870 มีการต่อต้านชาวจีนอพยกจนบางทีถึงเลือดถึงเนื้อ ซึ่งนอร์ตันได้พยายามห้าม
มีหนหนึ่งที่เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มต่อต้านกับชาวจีน นอร์ตันได้ไปยืนขวางและก้มหัวลงสวดมนต์ ทำให้ทั้ง 2 กลุ่มสลายตัวไปและไม่เกิดเหตุร้ายใดๆ(ใช้ความสงบสยบความขัดแย้งสุดยอดเลยครับองค์จักรพรรดิ)
องค์จักรพรรดินอร์ตันเป็นที่รักของชาวซานฟรานซิสโก แม้พระองค์จะขัดสนเงินทอง แต่ก็เสด็จไปเสวยในภัตตาคารชั้นดีทั้งหลายได้เสมอๆ บรรดาภัตตาคารเหล่านี้จะติดแผ่นป้ายทองเหลืองไว้ว่า "ภัตตาคารนี้องค์จักรพรรดินอร์ตันโปรดเสด็จมาเสวย (Appointment TO His Imperial Majesty,Emperor Norton I of the United States)" นอกจากนี้ละครหรือคอนเสิร์ตใดที่จะเปิดการแสดงโดยไม่ได้เตรียมที่นั่งพิเศษไว้ให้จักรพรรดิ
จักรพรรดิมักมีสุนัข 2 ตัว บัมเมอร์กับลาซารุสตามเสด็จจนเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง แม้พระองค์จะมิได้เป็นเจ้าของสุนัข 2 ตัวนี้แต่ยามเสวย พระองค์จะปันอาหารให้สุนัขเสมอ
องค์จักรพรรดิกับสุนัของค์รักษ์
ปี 1867 โปลิศชื่อว่า อาร์มานด์ บาร์บิเออร์ ได้จับองค์จักรพรรดิในข้อหาวิกลจริต ข่าวการจับกุมได้ก็ให้เกิดความโกรธเคืองแก่ชาวนครและบรรดาหนังสือพิมพ์ก็กล่าวประณามเป็นการใหญ่โตเป็นเหตุให้หัวหน้าตำรวจต้องรีบปล่อยองค์จักรพรรดิและขอขมาอย่างเป็นทางการ โดยหัวหน้าตำรวจ แพตริก โครว์ลีย์ กล่าวคำอมตะว่า "ท่านไม่เคยทำให้ใครต้องหลั่งโลหิต ไม่เคยแย่งชิงทรัพย์สินใคร และไม่เคยบ่อนทำลายประเทศใด เพียงแค่นี้ก็เกินพอแล้วที่จะพูดถึงคุณความดีของจักรพรรดิ"
ซึ่งองค์จักรพรรดิได้ "พระราชทานอภัยโทษ" ให้โปลิศคนนั้นจากนั้นเป็นต้นมาเมื่อองค์จักรพรรดิเดินผ่านตำรวจจะตะเบ๊ะคารวะทุกครั้ง
เนื่องจากความขัดสนจักรพรรดิจึงผลิตธนบัตรใช้เองโดยมีพระฉายาลักษณ์อยู่บนธนบัตรด้วย โดยธนบัตรนี้ใช้ชำระหนี้สินในท้องถิ่นได้โดยทุกคนยอมรับ มีราคาใบละ 50 เซนต์จนถึง 10 ดอลลาร์ และปัจจุบันเป็นของสะสมที่มีค่ามาก
ธนบัตรขององค์จักรพรรดิ
เมื่อเครื่องแบบจักรพรรดิขาดรุ่งริ่ง พระองค์ก็เปรยว่า "ขอบอกให้ท่านทั้งหลายได้ทราบว่า บัดนี้ชุดทรงของเราเก่าคร่ำคร่าไม่น่าดู ทำให้เป็นที่อัปยศของชาติ"
วันรุ่งขึ้นคณะสภาแห่งซานฟรานซิสโกลงมติตั้งงบสำหรับหาฉลองพระองค์ใหม่ถวายจักรพรรดิทันที
คืนวันที่ 8 มกราคม 1880 ฝนตกพรำๆ องค์จักรพรรดิถลาลื่นล้ม หน้าโบสถ์เซนต์แมรี่ ตำรวจได้รีบนำพระองค์ส่งโรงพยาบาล หากทว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ระหว่างทาง รุ่งขึ้นประดาหนังสือพิมพ์ต่างประโคมข่าวหน้าหนึ่งด้วยข้อความคล้ายๆกันว่า "บนถนน ท่ามกลางความมืดของคืนข้างแรมและฝนตกพรำๆ นอร์ตันที่ 1 ผู้ที่พระเจ้าทรงเมตตา จักรพรรดิแห่งสหรัฐอเมริกาและผู้สำเร็จราชการแห่งแม็กซิโก ได้ทรงจากโลกนี้ไปแล้ว"
องค์กรต่างๆของซานฟรานซิสโกได้ร่วมกันจัดหาโลงไม้ชั้นดี และมีพิธีศพที่ยิ่งใหญ่ในวันที่ 10 มกราคม ชาวซานฟรานซิสโก 30,000 คนเข้าร่วมเป็นขบวนแห่ยาว 3 กม. แผ่นป้ายหินอ่อนที่หลุมศพขององค์จักรพรรดิมีคำจารึกว่า "นอร์ตันที่ 1 จักรพรรดิแห่งสหรัฐอเมริกาและผู้สำเร็จราชการเม็กซิโก"
แผ่นป้ายหินอ่อนที่หลุมศพขององค์จักรพรรดิ
เป็นไงครับกับจักรพรรดิแห่งอเมริกาแม้ว่าพระองค์จะเป็นแค่คนที่สมองไม่ปกติแต่ท่านก็ไม่เคยทำความเดือดร้อนให้ใครเหมือนที่หัวหน้าตำรวจ แพตริก โครว์ลีย์ กล่าวคำอมตะว่า "ท่านไม่เคยทำให้ใครต้องหลั่งโลหิต ไม่เคยแย่งชิงทรัพย์สินใคร และไม่เคยบ่อนทำลายประเทศใด เพียงแค่นี้ก็เกินพอแล้วที่จะพูดถึงคุณความดีของจักรพรรดิ"
ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ครับ
ขอบคุณที่มาอ่านนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ ต่วย ตูนพิเศษ ฉบับที่ 452
จักรพรรดิแห่งสหรัฐอเมริกา
ปลายนิ้วเคลื่อนขีดเขียน จดจารสารศักดิ์สิทธิ์ เคลื่อนต่อไป ไม่ยอมให้ความคิดหรือจริตสำนวนหวนทวนคืนมาขีดฆ่าแม้ครึ่งบรรทัดหรือน้ำตาชะล้างคำใดให้เลือนหาย