สาเหตุไข้หวัด และลักษณะของโรคเกิดจากเชื้อหวัด ซึ่งเป็นเชื้อไวรัส มีอยู่ร่วม 200 ชนิดด้วยกัน การเกิดโรคขึ้นในแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อหวัดเพียงชนิดเดียว เมื่อเป็นแล้วคนเราก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดชนิดนั้น ในการเจ็บป่วยครั้งใหม่ก็จะเกิดจากเชื้อหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ เชื้อหวัดมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ หรือหายใจรดกัน นอกจากนี้ เชื้อหวัดยังอาจติดต่อได้โดยการสัมผัสมือ กล่าวคือ เชื้อหวัดติดที่มือผู้ป่วยเมื่อสัมผัสถูกมือของคนอื่นเชื้อหวัดก็จะติดมือของคนๆ นั้น และเมื่อใช้นิ้วขยี้ตาหรือแคะจมูกก็จะเข้าสู่ร่างกายของคนๆ นั้นจนกลายเป็นไข้หวัดได้
โรคหวัดอาจเกิดได้จากเชื้อไวรัสหลายชนิดด้วยกัน โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัสประเภทคอรีซา (Coryza viruses) ได้แก่ไรโนไวรัส (Rhinovirus) และโคโรนาไวรัส (Coronavirus) ที่พบมากที่สุด เชื้อไวรัสยังรวมไปถึงเอคโคไวรัส (Echovirus), อะดิโนไวรัส (Adenovirus), พาราไมโซไวรัส (Paramixovirus), คอกซ์แซกคีไวรัส (Coxsackievirus) รวมถึงไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหวัดอีกหลายร้อยประเภทที่ถูกค้นพบ จะทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน โดยไวรัสเหล่านี้สามารถกลายพันธุ์เพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ (ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า วิธีการรักษาโรคนี้ยังไม่น่าจะถูกค้นพบในเร็ววัน) โดยที่บริเวณกล่องเสียง (คอหอย) จะเป็นเป็นศูนย์รวมของเชื้อไวรัส โดยสาเหตุที่เชื้อไวรัสชอบไปสะสมตัวกันที่กล่องเสียงก็เนื่องมาจากอุณหภูมิของกล่องเสียงที่ต่ำกว่าบริเวณลำคอ และเป็นส่วนที่มีเซลล์ตัวกระตุ้นมาก ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ไวรัสชอบ
โรคแทรกซ้อนที่มากับหวัดโรคแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่เป็นโรคหวัด เมื่อมีแบคทีเรียที่ปกติแล้วจะอยู่ในระบบทางเดินหายใจอาศัยโอกาสที่ระบบภูมิคุ้มกันกำลังอ่อนแอเข้าไปร่วมทำการแพร่เชื้อกับไวรัส
โรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยเกิดจากการอักเสบแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย (bacteria) ทำให้นำมูกหรือเสลดเป็นสีเหลืองหรือเขียว ถ้าลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง อาจทำให้เป็นต่อมทอลซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ในเด็กเล็ก อาจทำให้มีอาการชักจากไข้สูง ท้องเดิน บางคนอาจมีเสียงแหบ เนื่องจากกล่องเสียงอักเสบ บางคนอาจมีอาการวิงเวียน เนื่องจากอวัยวะการทรงตัวภายในอักเสบ ดังที่เรียกว่า หวัดลงหูซึ่งจะหายได้เองภายใน 3-5 วัน โรคแทรกที่รุนแรงมักจะเกิดในผู้ป่วยที่ไม่ได้พักผ่อน ตรากตรำงานหนัก ร่างกายอ่อนแอ (เช่น ขาดอาหาร) ในทารกหรือผู้สูงอายุ
โดยปกติแล้ว โรคหูชั้นกลางอักเสบ (Otitis media) ที่มักพบในเด็กเล็ก และโรคโพรงอากาศอักเสบ (Sinusitis หรือไซนัสอักเสบ) จะเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อย ซึ่งสาเหตุของการร่วมแพร่เชื้อของแบคทีเรียอาจเกิดขึ้นได้จากการถูกกระทบโดยน้ำมูก หรือถูกในบริเวณนั้นถูกปกคลุมโดยน้ำมูกที่ถูกขับออกมาทางจมูก ซึ่งอธิบายเหตุผลที่ว่าไม่ควรจะปิดจมูกแน่นเมื่อจะมีอาการจามหรือจะสั่งน้ำมูก แต่ควรเปิดโพรงจมูกไว้ทั้งสองข้างแล้วเมื่อจามหรือสั่งน้ำมูกแล้วจึงค่อยเช็ด ซึ่งจะเป็นการทำให้ความกดดันจากการจามหรือสั่งน้ำมูกลดลงไปส่วนหนึ่ง และจะทำให้น้ำมูกไม่เข้าไปในหูหรือบริเวณโพรงอากาศได้ ...
กลไกในการติดต่อไวรัสเชื้อหวัดสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ โดยการเข้าไปในเซลล์ที่หุ้มกล่องเสียงอยู่ จากนั้นมันจะทำการแพร่พันธุ์ตนเองแบบทวีคูณ ทางเข้าหลักของไวรัสเหล่านี้คือผ่านทางตาและจมูก ผ่านทางท่อนาโซไครมัล (Nasocrymal duct) แล้วจึงเข้าไปในกล่องเสียง โดยปากนั้นไม่ใช่ทางเข้าหลักของเชื้อ และเชื้อมักจะไม่ติดต่อผ่านการจูบกัน...
ขอขอบคุณที่อ่านกันนะครับ
เครดิตhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94ขอขอบคุณมากนะครับปล.ช่วงนี้รักษาสุขภาพกันด้วยนะคับ^^
โรคหวัดอาจเกิดได้จากเชื้อไวรัสหลายชนิดด้วยกัน โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัสประเภทคอรีซา (Coryza viruses) ได้แก่ไรโนไวรัส (Rhinovirus) และโคโรนาไวรัส (Coronavirus) ที่พบมากที่สุด เชื้อไวรัสยังรวมไปถึงเอคโคไวรัส (Echovirus), อะดิโนไวรัส (Adenovirus), พาราไมโซไวรัส (Paramixovirus), คอกซ์แซกคีไวรัส (Coxsackievirus) รวมถึงไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหวัดอีกหลายร้อยประเภทที่ถูกค้นพบ จะทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน โดยไวรัสเหล่านี้สามารถกลายพันธุ์เพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ (ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า วิธีการรักษาโรคนี้ยังไม่น่าจะถูกค้นพบในเร็ววัน) โดยที่บริเวณกล่องเสียง (คอหอย) จะเป็นเป็นศูนย์รวมของเชื้อไวรัส โดยสาเหตุที่เชื้อไวรัสชอบไปสะสมตัวกันที่กล่องเสียงก็เนื่องมาจากอุณหภูมิของกล่องเสียงที่ต่ำกว่าบริเวณลำคอ และเป็นส่วนที่มีเซลล์ตัวกระตุ้นมาก ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ไวรัสชอบ
โรคแทรกซ้อนที่มากับหวัดโรคแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่เป็นโรคหวัด เมื่อมีแบคทีเรียที่ปกติแล้วจะอยู่ในระบบทางเดินหายใจอาศัยโอกาสที่ระบบภูมิคุ้มกันกำลังอ่อนแอเข้าไปร่วมทำการแพร่เชื้อกับไวรัส
โรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยเกิดจากการอักเสบแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย (bacteria) ทำให้นำมูกหรือเสลดเป็นสีเหลืองหรือเขียว ถ้าลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง อาจทำให้เป็นต่อมทอลซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ในเด็กเล็ก อาจทำให้มีอาการชักจากไข้สูง ท้องเดิน บางคนอาจมีเสียงแหบ เนื่องจากกล่องเสียงอักเสบ บางคนอาจมีอาการวิงเวียน เนื่องจากอวัยวะการทรงตัวภายในอักเสบ ดังที่เรียกว่า หวัดลงหูซึ่งจะหายได้เองภายใน 3-5 วัน โรคแทรกที่รุนแรงมักจะเกิดในผู้ป่วยที่ไม่ได้พักผ่อน ตรากตรำงานหนัก ร่างกายอ่อนแอ (เช่น ขาดอาหาร) ในทารกหรือผู้สูงอายุ
โดยปกติแล้ว โรคหูชั้นกลางอักเสบ (Otitis media) ที่มักพบในเด็กเล็ก และโรคโพรงอากาศอักเสบ (Sinusitis หรือไซนัสอักเสบ) จะเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อย ซึ่งสาเหตุของการร่วมแพร่เชื้อของแบคทีเรียอาจเกิดขึ้นได้จากการถูกกระทบโดยน้ำมูก หรือถูกในบริเวณนั้นถูกปกคลุมโดยน้ำมูกที่ถูกขับออกมาทางจมูก ซึ่งอธิบายเหตุผลที่ว่าไม่ควรจะปิดจมูกแน่นเมื่อจะมีอาการจามหรือจะสั่งน้ำมูก แต่ควรเปิดโพรงจมูกไว้ทั้งสองข้างแล้วเมื่อจามหรือสั่งน้ำมูกแล้วจึงค่อยเช็ด ซึ่งจะเป็นการทำให้ความกดดันจากการจามหรือสั่งน้ำมูกลดลงไปส่วนหนึ่ง และจะทำให้น้ำมูกไม่เข้าไปในหูหรือบริเวณโพรงอากาศได้ ...
กลไกในการติดต่อไวรัสเชื้อหวัดสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ โดยการเข้าไปในเซลล์ที่หุ้มกล่องเสียงอยู่ จากนั้นมันจะทำการแพร่พันธุ์ตนเองแบบทวีคูณ ทางเข้าหลักของไวรัสเหล่านี้คือผ่านทางตาและจมูก ผ่านทางท่อนาโซไครมัล (Nasocrymal duct) แล้วจึงเข้าไปในกล่องเสียง โดยปากนั้นไม่ใช่ทางเข้าหลักของเชื้อ และเชื้อมักจะไม่ติดต่อผ่านการจูบกัน...
ขอขอบคุณที่อ่านกันนะครับ
เครดิตhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94ขอขอบคุณมากนะครับปล.ช่วงนี้รักษาสุขภาพกันด้วยนะคับ^^
โรคหวัด
กุโระ..โมเอะที่โลกลืม
[IMG]