ประวัติของชินเซ็นกุมิ
ชินเซ็นกุมิซึ่งหลายๆ คนคงเคยได้ยินชื่อของหมาป่าแห่งมิบุ กลุ่มนี้กันมาบ้างแล้วซึ่งชินเซ็นกุมิเป็นกลุ่มของซามุไรที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลความสงบภายใน คล้ายๆกับเป็นเป็นตำรวจลับนั้นเอง กลุ่มชินเซ็นเกิดขึ้นในช่วงยุคปลายแห่งการปกครองของโชกุนตระกูลโทะกุงะวะในปี 1863 ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่น กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ...
เป็นการรวมตัว ของกลุ่มซามูไรที่ภักดีต่อโชกุน โตกุกาว่า คอยกวาดล้างผู้ที่ได้ชื่อว่าหัวก้าวหน้าต้องการให้ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีที่ตั้งอยู่ที่ เขต มิบุ เกียวโต โดยเป็นที่มาของฉายาว่า หมาป่าแห่งมิบุ (Wolve of Mibu) ทุกคนจะใส่เครื่องแบบเหมือนกันเป็นชุดที่เรียกว่า ชุดปีกพิราบ กลุ่มชินเซ็นมี คอนโด้ อิซามิ เป็นผู้นำ ฮิจิคาตะ โทชิโซ โชจิเป็นหัวหน้าหน่วยที่หนึ่ง และถือเป็นผู้มีฝีมือเป็นเลิศที่สุดในกลุ่ม ภาพพจน์ของกลุ่มชินเซ็น ค่อนข้างจะมีหลายมุมมองบางทีพวกเขาก็ถูกมองว่า เป็นพวกป่าเถื่อน โหดเหี้ยม หัวเก่า ไม่ยอมรับ การเปลี่ยนแปลง เป็นสุนัขรับใช้ศักดินา ขณะที่อีกด้านกลุ่มชินเซ็นถูกยกย่องให้เป็นผู้มี ความจงรักภักดีต่อโชกุน เป็นสัญลักษณ์สุดท้ายแห่งซามูไรแบบเก่า
ภายหลังโชกุนแห่งโตกุกาว่า ประกาศคืนอำนาจการปกครอง ให้กับสมเด็จพระจักรพรรดิ กลุ่มชินเซ็นก็เปลี่ยนสภาพ จากผู้ล่าเป็นผู้ถูกล่าจากผู้ปกป้องรัฐบาล กลายเป็นผู้ต่อต้านสมาชิกลุ่มชินเซ็นส่วนใหญ่ต้องจบชีวิตลงด้วย อายุที่ยังไม่พ้นจากวัยหนุ่มเลย เมื่อประเทศญี่ปุ่นเริ่มรับอารยธรรมตะวันตก คนญี่ปุ่นพากันตื่นตระหนกและหวาดกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ระบอบรัฐบาลศักดินาภายใต้อำนาจของโชกุนโตกุกาว่าที่ดำเนินมากว่าสองร้อยหกสิบปีเริ่มถูกคนญี่ปุ่นหัวสมัยใหม่เคลือบแคลง สำนักดาบมากมายถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อถ่ายทอดวิชาให้กับผู้ที่พร้อมจะมาเป็นนักรบ โดยจุดมุ่งหมายก็คือการปกป้องประเทศชาติจากพวกตะวักตก
หนึ่งในสำนักที่โดดเด่นขึ้นมาก็คือสำนักดาบเทนนิน ริชิน ซึ่งนำโดยคอนโด้ อิซามิ ตั้งอยู่ในเมืองทะมะ ใกล้กับเอโดะ ที่นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของชินเซ็นกุมิ ในบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของสำนัก มีบุคคลสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์นี้อยู่หลายคนนั่นคือ ฮิจิคาตะ โทชิโซ , โซจิ และ อิโนะอุเอะ เก็นซาบุโร่ พวกเขามีความผูกพันกันประหนึ่งพี่น้องร่วมท้อง นอกจากนี้ยังมีสมาชิกอื่นคือ ยามานามิ เคสุเกะ, ฮาราดะ ซาโนะสุเกะ และนากาคุระ ชิมปาจิ ซึ่งพวกหลังนี้ออกจะสนใจที่พักอาหารมากกว่าการฝึกซ้อม เมื่อสถานการณ์ในเกียวโตทวีความตึงเครียด เหล่าซามูไรที่มีเลือดรักชาติเต็มเปี่ยมเหล่านี้จึงตัดสินใจเดินทางเข้าสู่เมืองหลวง ที่เกียวโต ไดเมียวแห่งไอสึคือท่านมัตสึไดระ คาตาโมริได้มอบหมายให้คนหนุ่มเหล่านี้ทำหน้าที่ปกป้องเมือง ร่วมกับคิโยคาว่า ฮาชิโร่ ทว่าจริงๆแล้วคิโยคาว่ามีความคิดที่จะล้มล้างรัฐบาลบาคุฟุ โดยการรวบรวมซามูไรที่เข้มแข็งเพื่อเพิ่มฐานกำลัง แต่โชกุนล่วงรู้ถึงแผนการดังกล่าว คอนโด้ อิซามิ ผู้มีความปรารถนาที่จะสนับสนุนโชกุนจึงก่อตั้งกลุ่ม “ชินเซ็นกุมิ” ประกาศว่าจะสู้เพื่อบาคุฟุจนถึงที่สุด ตัวคันจิ มาโคโตะ หมายถึง “ความภักดี” จึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชินเซ็นเพื่อยืนยันปณิธานดังกล่าว
โครงสร้างของกลุ่มชินเซ็นเริ่มแรก ....
หัวหน้ากลุ่ม : เซริซาวะ คาโมะ , คอนโด้ อิซามิ , นิอิมิ นิชิกิ
รองหัวหน้ากลุ่ม : ฮิจิคาตะ โทชิโซ , ยามานามิ เคสุเกะ
จำนวนสมาชิกแรกเข้า : ประมาณ 13 คน
เหล่าซามูไรที่เริ่มรู้จักชินเซ็นกุมิก็ค่อยๆทยอยมาสมัครเป็นสมาชิกเรื่อยๆ ในช่วงแรกนั้น กลุ่มชินเซ็นยังไม่ได้เข้มแข็งนัก สมาชิกหลายคนไม่พอใจกับการกระทำของเซริซาวะ และนิอิมิ ซึ่งประพฤติตัวเหลวแหลกทำให้ชื่อเสียงกลุ่มเสื่อมเสีย เและเนื่องจากกลุ่มชินเซ็นมีถิ่นพำนักแรกอยู่ในหมู่บ้านมิบุ จึงถูกขนานนามว่า “หมาป่าแห่งมิบุ” หลังจากนั้น นิอิมิได้รับคำสั่งจากเซริซาวะให้วางเพลิงโรงเตี๊ยมแห่งหนึ่ง นิอิมิซึ่งทำตามภายหลังกลับถูกเซริซาวะทำให้กลายเป็นแพะรับบาป และเขาต้องคว้านท้องตนเอง อย่างไรก็ตาม สมาชิกชินเซ็นกุมิบางคนรู้เบื้องหลังของเหตุการณ์นี้ พวกเขาร่วมกันวางแผนสังหารเซริซาวะ คาโมะและสมาชิกอื่นๆที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อกลุ่ม หลังจากนั้นทั้งคอนโด้ อิซามิ และฮิจิคาตะ โทชิโซได้เปลี่ยนแปลงกฎการเข้ากลุ่มชินเซ็นของซามูไรใหม่ให้ยากมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย กฎของชินเซ็นกุมิถูกเขียนให้เข้มงวดและเด็ดขาดมากขึ้น ผู้ใดก็ตามที่ฝ่าฝืนจะถูกประหารหรือต้องทำการคว้านท้องตนเองกลุ่มชินเซ็นได้รับมอบหมายให้เดินตรวจตราพื้นที่ในเกียวโต เพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องเมืองด้วยชีวิต กลุ่มชินเซ็นจึงพร้อมที่จะสังหารผู้ใดก็ตามทีทำลายความสงบสุขของเมือง ซึ่งทำให้กลุ่มเริ่มเป็นที่หวาดกลัวในแง่ของความโหดเหี้ยมไร้เมตตา ในช่วงเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1864 กลุ่มชินเซ็นเข้าโจมตีโรงเตี๊ยมอิเคดะ การปะทะกันครั้งนี้เกิดเนื่องมาจากเหล่าซามูไรจากโจชูได้รวมตัวกันวางแผนเผาเมืองและลักพาตัวองค์จักรพรรดิ (กบฏโจชูมีเป้าหมายล้มล้างรัฐบาลบาคุฟุ โดยการแยกองค์จักรพรรดิออกจากรัฐบาลเสียก่อน) กลุ่มชินเซ็นล่วงรู้ถึงแผนการดังกล่าวจึงเตรียมกำลังพลเข้าบุกสังหาร กลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ซึ่งฝ่ายชินเซ็นเป็นฝ่ายที่ได้ชัยชนะ แม้จะสูญเสียซามูไรที่มีฝีมือไปไม่น้อย แต่วีรกรรมของกลุ่มชินเซ็นที่ปกป้องเกียวโตจากการถูกวางเพลิงครั้งยิ่งใหญ่ทำให้ชื่อเสียงของชินเซ็นกุมิโด่งดังในชั่วข้ามคืน ตรงนี้ใครได้อ่านในซามูไรพเนจรจะพบว่า ผู้เขียนแต่งให้กลุ่มโจชูเป็นพระเอก โดยเขียนให้ คาสึระ โคโกโร่ ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์นี้เป็นผู้มีความเห็นขัดแย้งที่จะลักพาตัวจักรพรรดิ์ ซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่มุมมองแต่ละบุคคลว่าจะมองใครเป็นยังไง แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องของยุคสมัยมากกว่า ไม่เกี่ยวว่าใครดีใครเลว
เมื่อกลายเป็นฮีโร่ของประเทศชาติ สมาชิกของกลุ่มชินเซ็นก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกลุ่มชินเซ็นก็ก้าวไปถึงจุดสูงสุดด้วยจำนวนสมาชิกกว่าสามร้อยคนซึ่งทำให้ต้องมีการจัดระบบภายในเสียใหม่
โครงสร้างของกลุ่มชินเซ็นหลังปฏิรูป
หัวหน้ากลุ่ม : คอนโด้ อิซามิ
รองหัวหน้ากลุ่ม : ฮิจิคาตะ โทชิโซ
ที่ปรึกษาด้านการทหาร : อิโต้ คาชิทาโร่
หัวหน้าหน่วย หน่วยที่ 1 : โซจิ
หัวหน้าหน่วยที่ 2 : นากาคุระ ชิมปาจิ
หัวหน้าหน่วยที่ 3 : 7ซโต้ ฮะจิเมะ
หัวหน้าหน่วยที่ 4 : มัตสึบาระ ทาดาจิ
หัวหน้าหน่วยที่ 5 : ทาเคดะ คันเรียวไซ
หัวหน้าหน่วยที่ 6 : อิโนะอุเอะ เก็นซาบุโร่
หัวหน้าหน่วยที่ 7 : ทานิ ซันจูโร่
หัวหน้าหน่วยที่ 8 : โทโด เฮสุเกะ
หัวหน้าหน่วยที่ 9 : ซุซุกิ มิกิซาบุโร่
หัวหน้าหน่วยที่ 10 : ฮาราดะ ซาโนะสุเกะ
หัวหน้ากลุ่ม : คอนโดะ อิซามิ
รองหัวหน้า : ฮิจิคาตะ โทชิโซ
หัวหน้าหน่วยที่ 1 : โซจิ
หัวหน้าหน่วยที่ 2 : นากาคุระ ชิมปาจิ
หัวหน้าหน่วยที่ 3 : 7ซโต้ ฮะจิเมะ
หัวหน้าหน่วยที่ 9 : ซุซุกิ มิกิซาบุโร่
ภาพจริงของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
กฎเหล็กของชินเซ็นกุมิ ตราขึ้นโดยฮิจิคาตะ โทชิโซ
ข้อหนึ่ง : ต้องปฏิบัติตนตามวิถีนักรบอย่างเคร่งครัด
ข้อสอง : ไม่อนุญาตให้หลบหนีจากกลุ่ม
ข้อสาม : ห้ามรับเงินตราโดยไม่ได้รับอนุญาติ
ข้อสี่ : ห้ามลงมือสะสางเรื่องใดๆตามอำเภอใจ
ข้อห้า : ไม่อนุญาตให้ต่อสู้ด้วยเรื่องส่วนตัว ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎทั้งห้าข้อนี้จะต้องคว้านท้องตนเองโดยไม่มีการอุทธรณ์ใดๆ
ส่วนข้อความต่อไปนี้เป็นสิ่งที่สมาชิกของชินเซ็นกุมิจะต้องยึดถือเป็นบรรทัดฐาน “กรณีที่หัวหน้าหน่วยได้รับอันตรายถึงชีวิต สมาชิกในหน่วยจะต้องต่อสู้จนกว่าตัวจะตาย ในการต่อสู้ที่มีผู้เสียชีวิต ไม่อนุญาติให้นำศพกลับ เว้นแต่ศพของหัวหน้าหน่วยเท่านั้น” "ถ้าหากสมาชิกของกลุ่มต้องปะทะกับคนแปลกหน้า ไม่ว่าจะอยู่ในหน้าที่หรือไม่ หากปล่อยให้ศัตรูหนีไปได้แม้จะเป็นในสภาพที่บาดเจ็บ หรือกระทั่งถูกแทงที่กลางหลัง ผู้นั้นก็จะได้รับคำสั่งให้คว้านท้อง”
ท้ายที่สุดในสงครามโบชิน กลุ่มชินเซ็นก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้และแตกไป นักรบแห่งชินเซ็นกุมิล้วนเป็นผู้กล้าที่ยอมสละชีพเพื่อประเทศชาติ น่าเสียดายที่พวกเขาอยู่ผิดข้างในหน้าประวัติศาสตร์นี้เท่านั้นเอง แต่ไม่ว่าอย่างไร ชินเซ็นกุมิก็ยังคงเป็นที่จดจำในฐานะผู้เคยสร้างวีรกรรมเพื่อประเทศชาติจนถึงทุกวันนี้ บุคคลสำคัญในกลุ่มยังได้รับการสร้างอนุสรณ์และการสักการะจากคนญี่ปุ่นตลอดมา ...
ครับก็คงจะได้รับรู้ถึงเรื่องราวของหมาป่าแห่งมิบุในเรื่องของที่มาที่ไปแม้บุคคลกลุ่มนี้จะเสียชีวิตไปแล้วแต่ชื่อเสียงของคนกลุ่มนี้ยังอยู่ต่อมาให้คนรุ่นหลังได้รู้จักกลุ่มคนดังกล่าวต่อไป...
ประวิติศาสตร์ยาวนานจิงเอลยครับ ชินเซ็นกุมิ หมาป่าแห่งมิบุ..
ขอบคุณข้อมูลจาก
- http://th.wikipedia.org
- Asian cafe.com
ประวัติของชินเซ็นกุมิ