6. Helium
ผมก็ไม่เก่งเคมีน่ะขออธิบายอะไรง่ายๆ ละกัน ฮีเลียมเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีอันตราย มีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ มักนิยมบรรจุในบอลลูนและเรือเหาะ ลูกโป่ง นอกจากนี้ยังมีการนำก๊าซฮีเลียมไปผสมในอากาศสำหรับนักดำน้ำ เพื่อความปลอดภัยการหายใจ ฮีเลียมเหลวใช้หลอมโลหะ ขับเคลื่อนจรวด เตาปฏิกรณ์ อุปกรณ์ถ่ายภาพภายในร่างกาย ตัวนำยิ่งยวดเป็นต้น
ก็เป็นเรื่องแปลกที่ในอนาคตเราอาจไม่ได้เห็นลูกโปงสวรรค์ลอยฟ้า หลายคนไม่คิดว่าฮีเลียมจะหมดไปจากโลกอันเนื่องจากฮีเลียมนั้นมีอยู่ในเอกภพ มีมากเป็นอันดับสองรองจากไฮโดรเจน แต่นั้นเป็นจริงแล้วจนถึงปัจจุบันเราไม่สามารถสกัดฮีเลียมในอากาศได้เลย ฮีเลียมที่เราใช้กันทุกวันนี้มาจากก๊าซธรรมชาติและสารกัมมันตรังสีซึ่งมีปริมาณจำกัดและต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาช่วย อีกทั้งมนุษย์ของเรานั้นใช้ก๊าซที่ว่านี้ฟุ่มเฟือยเกินไปและไม้ระมัดระวัง จนมีการคาดการว่าอีไม่นานฮีเลียมจะหมดโลก และลูกโป่งสวรรค์ลูกหนึ่งจะมีราคา 100 ดอลลาร์!!(จากราคาเดิม 3 ดอลลาร์) เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ทางสมาคม American Physical Society ได้ออกมาแถลงการณ์เตือนรัฐบาลสหรัฐว่าวิกฤติการณ์ฮีเลียมกำลังจะเกิดขึ้น โดยที่ผ่านมาสหรัฐขายก๊าซอีเลียมราคาถูกมากเกินไปในขณะที่อุปทานความต้องการของโลกมีมากขึ้น ในหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมานาน ปริมาณการใช้ฮีเลียมได้เพิ่มขึ้น 5-10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปีกลายโลกใช้ฮีเลียม 100 ล้านลูกบาศก์เมตร และทุกประเทศปีบริษัทน้ำมันจะเก็บสะสมฮีเลียมได้ประมาณ 120 ล้านลูกบาศก์เมตร อีกทั้งต้นกำเนิดของฮีเลียมที่ใช้กันได้แก่สารกัมมันตรังสีจึงเป็นชี้ชัดว่าอีกมานาน คือภายในปี 2017 ฮีเลียมจะหมดโลก !!
5. Chocolate
เชื่อหรือไม่ว่าช็อกโกแลตกำลังหมดจากโลก แน่นอนหลายคนไม่เชื่อแน่ เพราะว่ามันเป็นส่วนประกอบของขนมที่เราพบเห็นมากที่สุดในชีวิตประจำวัน ผลิตภัณฑ์ขนมส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบด้วยช็อกโกแลตไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม ลูกอม คุกกี้ เค้ก หรือว่าพาย นี้คือมุมมองของคนทั่วไป หากแต่นักวิเคราะห์คาดการณ์ได้ไว้ว่า ใน 20 ปีข้างหน้า ราคาช็อกโกแลตจะพุ่งสูงขึ้นจนคนธรรมดามิอาจเอื้อมถึงอีกต่อไป ราคาช็อกโกแลตแท่งหนึ่งในอนาคตอาจจะพุ่งไปแตะระดับสามร้อยกว่าบาทเลยทีเดียว!
คำพยากรณ์นี้กำลังเป็นจริง เห็นได้จากราคาของช็อกโกแลตเริ่มสูงขึ้นในตลาดเป็นเท่าตัวในหลายปีที่ผ่านมา ด้วยสาเหตุง่ายๆ คืออุปสงค์-อุปทานไม่เท่ากัน เมื่ออุปสงค์ความต้องการของช็อกโกแลตในตลาดนับวันจะมากขึ้นโดยเฉพาะจีนและอินเดียที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกเริ่มนิยมทานช็อกโกแลตมาก แต่ในขณะเดียวกันอุปทานจำนวนช็อกโกแลตที่ป้อนเข้าสู่ตลาดนั้นกำลังน้อยลง สาเหตุนั้นมาจากเกษตรกรผู้ปลูกต้นโกโก้ (เมล็ดโกโก้ใช้ทำช็อกโกแลต) ในประเทศโลกที่สามต่างพากันทยอยเลิกปลูกโกโก้ไปแล้วหลายต่อหลายราย ด้วยสาเหตุมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานไร่โกโก้เริ่มลดลง เพราะว่าค่าจ้างแรงงานอย่างกับทาส โดยจากสำรวจพบว่าค่าจ้างแรงงานทำไร่โกโก้ในประเทศไอวอรี่โคสต์ ผู้ส่งออกเมล็ดโกโก้อันดับหนึ่งของโลก นั้นแต่ละคนได้ค่าจ้างเพียง 80 เซ็นต์ (ประมาณ 24 บาท) ต่อวัน! และยังไม่นับการดูแลรักษาต้นโกโก้ที่ยากดั่งดูแลหมีแพนด้า ที่มีทั้งแมลงศัตรูพืชและโรคพืช สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และภัยพิบัติที่เพิ่มขึ้น ทุกอย่างนี้ล้วนแต่กระทบต่อปริมาณผลผลิตเมล็ดโกโก้ทั้งสิ้น และปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งคือต้นโกโก้เริ่มลดจำนวนลง เพราะไม่มีใครอยากจะปลูก เนื่องจากต้นโกโก้เป็นพืชที่ชอบดูดสารอาหารจากดินไปใช้จนเกลี้ยง หลังจากแปลงปลูกเดิมหมดสารอาหารแล้ว เกษตรกรก็ต้องถางป่าใหม่ ย้ายที่ปลูก แล้วรอไปอีกอย่างต่ำ 5 ปีกว่าจะเก็บผลผลิตได้ ด้วยปัญหาต่างๆ เหล่านี้นี่เอง ทำให้แรงงานภาคเกษตรของประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ๆ ของโลก เช่น ประเทศไอวอรี่โคสต์ ประเทศอินโดนีเซีย เปลี่ยนเป้าหมายไปสู่พืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ที่มีอนาคตมากกว่า เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา เป็นต้น
4. Medical Isotopes
ไอโซโทปทางการแพทย์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกัมมันตภาพรังสีที่ใช้ในทางการแพทย์ หรือเรียกว่า หรือเภสัชภัณฑ์รังสี (radiopharmaceuticals)เวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยรังสีดังกล่าวมีอำนาจทะลุทะลวงและมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปตามประโยชน์ของแต่ละรังสี เช่นใช้รังสีเอ็กซ์ในการตรวจสอบการทำงานของอวัยวะในร่างกาย ความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น ไตหรือสมอง เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วยในการวินิจฉัยหรือการรักษาผู้ป่วย หรือการรักษาโรคบางอย่างสามารถใช้วิธีการรังสีรักษา โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ทีใช้รังสีทำลายหรือทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง หากแต่ปัจจุบันไอโซโทปรังสีนั้นมีเพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว(ซึ่งปกติมันก็ขาดแคลนอยู่แล้ว) และในอนาคตไอโซโทปจะไม่เพียงพอต่อโลก ด้วยสาเหตุมากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรที่มาพร้อมกับคนป่วยที่ต้องการไอโซโทปมากขึ้น แค่ในอเมริกาก็มีผู้ป่วยดังกล่าวถึง 50,000 คน นอกจากนั้นไอโซโทปนั้นยังใช้ปริมาณมากในผู้ป่วยแต่ละคนเพราะในหลายขั้นตอนในการรักษา การใช้แต่ละครั้งก็จะหมดไปไม่สามารถนำมากลับมาใช้ใหม่ได้อีก อีกทั้งการกระบวนการผลิตไอโซโทปก็ยังยาก อีกทั้งยังขาดแคลนบุคลากรที่เชียวชาญเฉพาะทาง ทำให้กระบวนการผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ประเทศพัฒนาแล้วเป็นส่วนมาก ดังนั้นปัญหาการขาดแคลนไอโซเทปยังเป็นโจทย์ที่หลายประเทศต้องแก้ต่อไป
3. Tequila
ตีเกียล่า เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีใช้รากสะสมของต้นอากาเว่ สายพันธุ์ Agave tequilana (บ้านเราเป็นไม้ประดับ) เป็นวัตถุดิบในการหมัดและกลั่นเป็นเครื่องดื่มแอลกฮอล์ที่รู้จักกันทั่วโลก นิยมดื่มโดยใส่แก้วใสขนาดเล็ก มีมะนาวฝาน และเกลือ และต้องดื่มให้หมดในรวดเดียว
เครื่องดื่มดังกล่าวกำลังหมดไปจากโลกอีกไม่กี่ปีข้างหน้า อันเนื่องจากอุปสงค์-อุปทาน ตลาดต้องการมากขึ้นแต่จำนวนติเกียล่านั้นไม่พอที่จะป้อนตลาด เนื่องจากขั้นตอนการผลิตตีเกียล่านั้นยากทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นขึ้นปลูกเลยทีเดียว โดยเริ่มต้นตั้งแต่พื้นที่ปลูกที่ต้องอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่มีความเฉพาะเจาะจงมาก ต้องเป็นพื้นที่ราบสูงที่แห้งแล้งตอนกลางของประเทศเม็กซิโก ต้นอากาเว่นั้นจะต้องใช้เวลาปลูกอย่างน้อย 8-12 ปีจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวในการหมักได้(พระเจ้าช่วยกล้วยทอด) เมื่อเก็บเกี่ยวเอารากสะสมแล้วจะต้องทำให้สุขอย่างช้าๆ ด้วยไอร้อนอุณหภูมิประมาณ 140-185 องศากระบวนการดังกล่าวใช้เวลาถึง 30-72 ชั่วโมง ก่อนที่จะมาบดคั้นเอาน้ำแล้วเอามาหมักและกลั่นต่อไป และเชื่อหรือไม่ว่ากฎหมายเม็กซิโกนั้นเขียนไว้ว่าเม็กซิโกเป็นประเทศเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิผลิตตีเกียล่าแต่เพียงผู้เดียว และนั้นเองทำให้ตีเกียล่าออกมาในตลาดน้อยมาก
อีกทั้งปัจจุบันเกษตรกรเม็กซิโกไม่นิยมปลูกอากาเว่(ปลูกแล้วได้ผลสิบกว่าปีใครอยากจะปลูกล่ะนั้น) พวกเขาหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจที่ได้กำไรมากกว่า ในปี 2006 รัฐบาลบุซได้วางกฎระเบียบใหม่ในการใช้พลังชีวภาพทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงโดยใช้ข้าวโพดมาทำเอทานอล ด้วยนโยบายนี้ทำให้เกษตรกรเม็กซิโกเริ่มละทิ้งพืชพื้นเมืองของพวกเขาแล้วหันมาปลูกข้าวโพดแทน ส่วนอากาเว่ที่ปลูกอยู่เดิมนั้นพวกเขาก็ทำลายด้วยการใช้ไฟเผา และด้วยเหตุนี้เองทำให้ปัจจุบันตีเกียล่าเริ่มกลายเป็นของหายาก
2. Phosphorus
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุหนึ่งที่หลายๆ คนรู้กันว่ามันจะหมดไปจากโลก เป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะกับพืช การใช้งานทางพาณิชย์ที่สำคัญที่สุดของฟอสฟอรัส คือ การผลิตปุ๋ย นอกจากนี้ยังใช้ในการผลิตวัตถุระเบิด ไม้ขีดไฟ ดอกไม้ไฟ ยาฆ่าแมลง ยาสีฟัน ผงซักฟอก
ใช่ฟอสฟอรัสมีความจำเป็นต่อโลก ชีวิตมนุษย์ทุกคนขึ้นอยู่กับมัน แต่ความจริงก็คือธาตุดังกล่าวกำลังหมดไปจากโลก นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ว่าฟอสฟอรัสจะหมดไปจากโลกอีก 30 ปี!! โลกกำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนอาหารในอนาคต โดยนักวิจัยจากประเทศออสเตรเลีย, ยุโรป และสหรัฐอเมริกายอมรับว่าสาเหตุที่ฟอสฟอรัสกำลังจะหมดไปเนื่องจากทั่วโลกได้ใช้ธาตุดังกล่าวผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ(โดยอเมริกา) และความต้องการธาตุฟอสฟอรัสมากขึ้นในแต่ละประเทศ(โดยเฉพาะจีน)ที่นำมาใช้ทางการเกษตรเร่งผลผลิตเพื่อเพียงพอต่อการเลี้ยงประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งที่ฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่มีอยู่ในธรรมชาติน้อยมาก และเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ด้วยเหตุนี้ฟอสฟอรัสจึงถูกใช้หมุนเวียนอยู่ระหว่างสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในปริมาณที่จำกัด อีกทั้งต้องใช้เวลาหลายล้านปีในการสกัดธาตุออกมาดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ทำให้ปัจจุบันหลายประเทศเริ่มประสบปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นบราซิล อินเดีย ประเทศที่ส่งออกฟอสฟอรัสอย่างรัสเซียและแอฟริกาเริ่มสงวนฟอสฟอรัสในอนาคตวันข้างหน้า ที่สวีเดนหาทางออกแนวใหม่โดยการสร้างห้องน้ำเพื่อแยกและเก็บปัสสาวะคนที่ใช้บริการเพื่อผลิตฟอสฟอรัสเลยทีเดียว ในหลายเดือนที่ผ่านมาราคาของวัตถุดิบหินฟอสเฟตได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 700 และความต้องการยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ต่อปี เห็นได้ชัดว่าอนาคตฟอสฟอรัสจะขาดแคลนและโลกอาจอยู่สถาวะขาดแคลนอาหาร ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะสกัดฟอสฟอรัสซึ่งถือว่าเป็นเรื่องท้าทายในด้านเทคโนโลยีและเงินทุนมหาศาลเป็นอย่างมาก
1. Water
สมัยก่อนเคยมีนิยายวิทยาศาสตร์หลายเรื่องที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโลกอนาคตที่หลายคนทำสงครามเพื่อแย่งชิงน้ำ สมัยก่อนหลายคนคิดว่าเป็นเรื่องตลกที่มนุษย์ฆ่ากันตายด้วยเรื่องไร้เหตุผลเหล่านี้ หากแต่คุณรู้หรือไม่ว่าปัจจุบันสถานการณ์น้ำนั้นวิกฤตทั่วโลก ในประเทศโลกที่สามน้ำสะอาดเป็นของมีค่ายิ่งกว่าทองคำ ในแต่ละปีจะมีประชากรโลกราว 2 ล้านคน เสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด และประชากรโลกอีกไม่น้อยกว่า 2,400 ล้านคนทั่วโลก ขาดการสุขาภิบาลน้ำที่ดี หรือขาดแคลนน้ำเพื่อบริโภคอุปโภคที่เพียงพอแก่ความจำเป็น
บนโลกเรามีน้ำน้ำจืดที่กินได้มีเพียง 0.6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่กินได้(นอกนั้นเป็นน้ำเค็มและน้ำแข็งทั่วโลก) ซึ่งถือว่ามีปริมาณจำกัดมาก ปัจจุบันทั่วโลกได้ใช้น้ำอย่างไม่รู้คุณค่าในหลายปีที่ผ่านมาเนื่องด้วยประชากรเพิ่มมากขึ้นความต้องการก็มากขึ้น ในขณะที่ระบบการจัดการน้ำมีอยู่จำกัด ทำให้แหล่งน้ำสำคัญของโลกครึ่งหนึ่งลดลง ในประเทศจีนทะเลสาบกว่า 500 แห่งได้หายไปเพราะการเพาะปลูกของจีน เนื่องจากจีนใช้น้ำในการเพาะปลูกมาก เช่น ผลผลิตข้าวสาลี 1 ตันต้องใช้น้ำถึง 1 พันตัน อีกทั้งปัจจุบันแหล่งน้ำสำคัญของโลกยังถูกปนเปื้อนด้วยมลพิษเข้าไปอีกไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำไนส์ในอียิปต์,แม่น้ำโรนในฝรั่งเศส, แม่น้ำนอร์เรย์ ฯลฯ ทำให้สหประชาชาติเริ่มเตือนว่าตอนนี้โลกเรากำลังอยู่สถานการณ์ขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับดื่มกิน หลายประเทศเริ่มมีสถานการณ์ตึงเครียดเกิดสงครามแย่งชิงน้ำ(แหล่งน้ำ) ไม่ว่าจะเป็น ปากีสถานและอินเดีย อินเดียและจีน หรือ อิสราเอลและตะวันออกกลาง ซึ่งในอนาคตน้ำขวดหนึ่งอาจมีราคาสูงพอๆ กับทองคำก็เป็นไปได้
CREDIT : http://www.unigang.com/Article/6711 ครับท่าน
[IMG]