เทพซุส
เป็นราชาแห่งทวยเทพ ผู้ปกครองเขาโอลิมปัส (Olympus) และเทพแห่งท้องฟ้าและฟ้าร้องของตำนานเทพปกรณัมกรีก สัญลักษณ์ประจำพระองค์คือสายฟ้า โคเพศผู้ นกอินทรี และต้นโอ๊ก นามของซีอุสแปลว่าความสว่างของท้องฟ้า นามของพระองค์ในตำนานเทพปกรณัมโรมันคือเทพจูปิเตอร์ (Jupiter) และนามในตำนานอีทรูสแคนคือเทพไทเนีย (Tinia)
พระองค์ เป็นพระโอรสองค์สุดท้องของโครนัส (Cronus) และรีอา (Rhea) ซึ่งเป็นเทพไททัน ในหลายๆ ตำนานกล่าวว่าพระองค์ได้สมรสกับเทพีเฮร่า (Hera) แต่ก็มีสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองดอโดน่า (Dodona) ที่อ้างว่าคู่สมรสของเทพซูสแท้จริงแล้วคือเทพีไดโอนี (Dione) นอกจากนี้มหากาพย์อีเลียด (Illiad) ยังกล่าวไว้ว่าเทพซูสเป็นพระบิดาของเทพีอโฟรไดต์ (Aphrodite) ที่กำเนิดจากเทพีไดโอเน่อีกด้วย เทพซูสมักมีชื่อเสียงในพฤติกรรมนอกลู่นอกทางเรื่องชู้สาวของพระองค์ ซึ่งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์กับเด็กหนุ่มนามแกนีมีด (Ganymede) ด้วยเช่นกัน พฤติกรรมของพระองค์ทำให้เกิดผู้สืบเชื้อสายอยู่หลายองค์และหลายคนด้วยกัน อาทิเช่น เทพีอาธีน่า (Athena) เทพอพอลโล (Apollo) และเทพีอาร์ทีมิส (Artemis) เทพเฮอร์มีส (Hermes) เทพีเพอร์ซิโฟเน่ (Persephone) เทพไดโอไนซัส (Dionysus) วีรบุรุษเพอร์ซีอุส (Perseus) วีรบุรุษเฮอร์คิวลีส (Hercules) เฮเลนแห่งทรอย (Helen) กษัตริย์ไมนอส (Minos) และเหล่าเทพีมิวเซส (Muses) ส่วนผู้สืบเชื้อสายที่เกิดจากเทพีเฮร่าโดยตรงได้แก่เทพเอรีส (Ares) เทพีเฮบี (Hebe) และเทพเฮฟเฟสตุส (Hephaestus) เทพีเอริส (Eris) และ เทพีไอไลธีเอีย (Eileithyia)
ตำนาน การถือกำเนิดของเทพซูสมีอยู่ว่า เทพีไกอาเทพมารดาแห่งผืนดิน ได้สมรสกับเทพยูเรนัสเทพแห่งท้องฟ้า และมีบุตรกลุ่มแรกคือ เหล่าเทพไททันซึ่งสร้างความภาคภูมิแก่เทพยูเรนัสมาก แต่ทว่าบุตรต่อๆมาของเทพีไกอากลับอัปลักษณ์และน่ากลัว เช่น ยักษ์ไซคลอปส์ที่มีตาข้างเดียวกลางใบหน้า และอสุรกายน่าเกลียดต่างๆ ทำให้เทพยูเรนัสพิโรธโยนบุตรเหล่านั้นลงไปขังในคุกทาร์ทะรัสใต้พิภพ
เทพี ไกอาแค้นเทพยูเรนัสมากจึงยุยงให้เหล่าเทพไททันก่อกบฏ ไม่มีเทพองค์ใดที่กล้าชิงบัลลังก์พระบิดายกเว้นเทพโครนัส และจากการช่วยเหลือจากเทพีไกอาทำให้เทพโครนัสชิงอำนาจได้สำเร็จ ทว่าเทพโครนัสไม่ได้ทำตามสัญญาที่จะปลดปล่อยอสูรผู้เป็นน้อง เทพไกอาจึงสาปแช่งว่าบุตรที่จะเกิดมาของโครนัสจะชิงอำนาจไปเหมือนกับที่บิดา เคยทำ เทพ โครนัสตระหนกมากเพราะหลังจากนั้นไม่นาน เทพีรีอา พระชายาก็ตั้งครรภ์ เมื่อได้ข่าวการประสูติ เทพโครนัสจึงบุกเข้าไปในตำหนักพระชายาและจับทารกผู้เป็นสายเลือดของตนกลืนลง ท้องไป และครรภ์ต่อๆมาของเทพีรีอาก็เช่นกัน ส่งผลให้เทพีรีอาเศร้าเสียใจอย่างมาก
ความคับแค้นใจทำให้เทพีรีอาตัดสินใจเก็บบุตรคนสุดท้องเอาไว้ โดยแสร้งส่งก้อนหินห่อผ้าให้เทพโครนัสไป ทารกซูสถูกเลี้ยงดูอย่างดีโดยเทพีไกอาผู้เป็นย่าได้นำทารกซีอุสไปซ่อนไว้ใน หุบเขาดิกเทอ ในเกาะครีต ซีอุสกินอาหารคือน้ำผึ้งและน้ำนมจากนิมฟ์ครึ่งแพะที่ชื่อว่า อะมาลไธอา ซึ่งในภายหลังซีอุสได้ได้สร้างนางให้เป็นกลุ่มดาวแพะ หรือกลุ่มดาวมกรในจักรราศีและมีครึ่งเทพครึ่งแพะแห่งป่าที่เล่นฟลุทอยู่ตลอด เวลาชื่อแพนเป็นผู้ให้การศึกษา เมื่อซีอุสเติบใหญ่แข็งแรงจึงหวนกลับไปแก้แค้นโครนอสผู้เป็นเทพบิดาตามคำ ร้องขอของเทพีมารดา
รี อาได้หลอกให้โครนอสกินยาที่จะทำให้สำรอกบุตรที่เคยกลืนออกมา ด้วยความเป็นเทพเจ้าทำให้เหล่าเทพที่ถูกกลืนลงไปไม่ตายซ้ำยังเติบโตขึ้น เมื่อเทพทั้งห้าได้ออกมาจากท้องของโครนัสแล้วจึงร่วมกับซูสปราบโครนัสและส่ง โครนัสไปขังไว้ที่ทาร์ทะรัส ซูสได้รับตำแหน่งเทพผู้นำของเหล่าเทพ เนื่องจากการจับฉลากแบ่งหน้าที่ของทั้งสามพี่น้อง และได้พาเหล่าเทพทั้งหลายขึ้นไปอาศัยอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัส
งเหล่าเทพ เนื่องจากการจับฉลากแบ่งหน้าที่ของทั้งสามพี่น้อง และได้พาเหล่าเทพทั้งหลายขึ้นไปอาศัยอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัส
เทพโพไซดอน
เทพเจ้า แห่งท้องทะเลและมหาสมุทร ผู้ปกครองดินแดนแห่งท้องน้ำ ตั้งแต่แหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง จนถึงใต้บาดาล มีตรีศูลเป็นอาวุธ บางตำนานกล่าวว่ามีท่อนล่างเป็นปลา นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็นเทพแห่งแผ่นดินไหว และเป็นเทพแห่งม้าด้วย
ตามตำนานเล่าว่า โพเซดอนเป็นบุตรของโครนัสกับรีอา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาอีก 5 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นเทพแห่งโอลิมเปียนทั้งสิ้นได้แก่
เฮสเทีย เทพีแห่งเตาผิง ผู้ดูแลครัวเรือน
ดีมิเตอร์ เทพีแห่งธัญพืชและการเกษตร
เฮรา ชายาแห่งเทพซูส เทพีผู้คุ้มครองสตรีและการสมรส
ฮาเดส ผู้ครอบครองยมโลก
ซูส ผู้เป็นใหญ่ในสภาเทพแห่งโอลิมปัส
ดีมิเตอร์ เทพีแห่งธัญพืชและการเกษตร
เฮรา ชายาแห่งเทพซูส เทพีผู้คุ้มครองสตรีและการสมรส
ฮาเดส ผู้ครอบครองยมโลก
ซูส ผู้เป็นใหญ่ในสภาเทพแห่งโอลิมปัส
รูป ลักษณ์ของโพเซดอน ส่วนมากจะปรากฏเป็นชายวัยกลางคน รูปร่างกำยำล่ำสัน มีหนวดเครา ถือสามง่ามเป็นอาวุธ ซึ่งสามง่ามนี้มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถดลบันดาลให้เกิดทะเลคลั่งหรือแผ่นดินไหวได้ ครั้งหนึ่งโพเซดอนเคยคิดที่จะโค่นอำนาจของซุส โดยร่วมมือกับเฮราและอะธีนา แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกซุสลงโทษ โดยการให้ไปสร้างกำแพงเมืองทรอยร่วมกับอพอลโลด้วยเช่นกัน
โพ เซดอนมีมเหสีองค์หนึ่งคือแอมฟิไทรท์ ซึ่งเป็นนีริอิด หรือบุตรสาวของ นีริอัสและดอริส โพไซดอนเห็นนางเต้นรำร่วมกับเหล่านีริอิดอื่นๆ จึงลักพาตัวนางไปเป็นชายาในดินแดนใต้สมุทร
ชายา อีกองค์หนึ่งของโพไซดอนเป็นหญิงรับใช้ของอะธีนา คือ เมดูซ่า ก่อนที่จะถูกสาบให้มีผมเป็นงูเพราะหลงใหลในความงามของเมดูซ่า เมื่ออะธีนาทราบเรื่องจึงสาบเมดูซ่าให้เป็นปีศาจที่มีผมเป็นงู และเมื่อมองใครก็จะกลายเป็นหินไปหมด เมื่อเปอร์ซิอุสตัดศีรษะของเมดูซ่าแล้ว เลือดของเมดูซ่าที่กระเซ็นออกมา กลายเป็นม้าบินสองตัว คือ เพกาซัส (Pegasus) และ คริสซาออร์ (Chrysaor) ดังนั้นจึงถือว่า ทั้งเพกาซัสและคริสซาออร์เป็นลูกของโพเซดอนด้วย
โพ เซดอนมีพาหนะเป็นม้ น้ำเทียมรถ ที่มีส่วนบนเป็นม้าและท่อนล่างเป็นปลาซึ่งบางครั้งจะพบรูปโพเซดอนอยู่บนรถ เทียมม้าน้ำนี้ขึ้นมาจากทะเล
เทพีดิมิเทอร์
ชื่อ ที่ชาวโรมันเรียก คือ Ceres (คำศัพท์ “cereal” มาจากชื่อโรมันของเธอ) เธอเป็นเทพแห่งการเก็บเกี่ยว และความอุดมสมบูรณ์ สัญลักษณ์ของนางคือ คทา คบเพลิง และเมล็ดพืชพันธุ์ เทพีดิมิเทอร์มีธิดาชื่อว่า Persephone ที่เป็นเหตุทำให้เกิดฤดูกาลในการเก็บเกี่ยวขึ้นมา เนื่องจากว่า วันหนึ่งขณะที่ลูกสาวของเทพีดิมิเทอร์ คือนางเพอร์ซีเฟอร์นี (Persephone) กำลังเก็บดอกไม้พลางร้องเพลงอย่างสบายอารมณ์อยู่นั้น Hades (เฮเดส) เทพแห่งแดนบาดาลได้ยินเสียงของนางที่ลอดผ่านร่องดินที่แตกแยกจึงขึ้นมาและ ลักพาตัวนางเพอร์ซีเฟอร์นี ลงไปยังแดนบาดาลและทำให้นางเป็นภรรยาซะ เทพีดิมิเทอร์เสียใจมากเดินไปโดยไม่มีจุดหมายแน่นอนเพื่อค้นหาลูกสาว จนพืชพันธุ์ต่าง ๆ เริ่มเหี่ยวเฉาและเข้าสู่ฤดูหนาวตลอดกาล Hades (เฮเดส) ทนต่อการอ้อนวอน ออดอ้อนของนางเพอร์ซีเฟอร์นี (Persephone) ไม่ไหวในการที่นางจะขอกลับไปพบแม่ของนาง เพื่อจะได้ช่วยแม่ของเธอในการทำหน้าที่ในการเก็บเกี่ยวและมอบความอุดม สมบูรณ์ให้กับโลก เฮเดส จึงอนุญาตให้เธอขึ้นมาได้เฉพาะช่วงเวลาที่เราเรียกกันว่าฤดูร้อน และฤดูใบไม้ผลิ ซึ่ง 2 ฤดูนี้จะเห็นว่ามีพืชพันธุ์ที่งอกงาม รอการเก็บเกี่ยวอยู่มากมาย แต่นางเพอร์ซีเฟอร์นีจะต้องกลับลงแดนบาดาลในฤดูหนาว ที่เราจะเห็นว่าพืชพันธุ์จะแห้งเฉา ถูกเก็บเกี่ยว และพื้นดินขาดความชุ่มชื้น
เทพีฮีร่า
ฮี ราเป็นบุตรองค์ที่ 3 ของโครนัสและรีอา พระนางถูกโครนัสกลืนลงท้องไปตั้งแต่เพิ่งถือกำเนิดเนื่องจากคำสาปของไกอาที่ ว่าบุตรของโครนัสจะโค่นอำนาจของโครนัสเหมือนกับที่โครนัสได้โค่นอำนาจของ ยูเรนัส แต่ต่อมาเทพีรีอาได้ซ่อนซีอุสผู้เป็นบุตรองค์สุดท้องไว้และนำซีอุสกลับมา เพื่อแก้แค้นโครนัส และนำพี่ๆที่ถูกกลืนเข้าไปอยู่ในท้องของโครนัสออกมา เทพีฮีราจึงปรากฏกายขึ้น
เชื่อ กันว่าเทพีฮีราถูกเลี้ยงดูมาโดยไททันทีธิส และมหากาพย์อิเลียด ในครั้งที่ฝ่ายทรอยกำลังได้เปรียบเพราะซูสได้หนีจากเขาโอลิมปัสไปยังเขาไอดา เพื่อให้การช่วยเหลือชาวทรอย ฮีราได้อ้างว่าจะไปพบกับเทพีทีธิส เพื่อจะได้ขอยืมเครื่องแต่งกายที่สวยที่สุดจากอะธีน่าและสร้อยคอแห่งความ ปรารถนาจากอะโฟรไดท์ไปใช้ในการล่อลวงให้ซูสหันเหความสนใจจากสงครามแห่งทรอย เปิดทางให้โพไซดอนได้นำกำลังไปถล่มชายฝั่งทรอย
ฮี ราเป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูส บางตำนานได้กล่าวว่าเมื่อเหล่าเทพโอลิมเปียนได้เอาชนะโครนัสและย้ายขึ้น มาสร้างวิมานบนเทือกเขาโอลิมปัสแล้ว ซูสก็ได้เสาะหาหญิงงามผู้คู่ควรกับตำแหน่งราชินีแห่งเทพทั้งมวล และในที่สุดพระองค์ก็ตัดสินใจเลือกเทพีฮีรา พระเชษฐ์ภคินีของตนเอง ฮีราไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจนี้(เพราะขยาดในความเจ้าชู้ของซูสนั่นเอง) และขังตนเองอยู่ในวิหารเพื่อหนีจากการสมรสกับมหาเทพแห่งโอลิมปัส ซูสจึงปลอมตัวเป็นนกเขาบาดเจ็บบินเข้าไปซบอุระของฮีรา และแน่นอนว่าเทพีผู้อ่อนหวานจะต้องนำนกตัวนั้นเข้าไปพยาบาลในวิหารแน่นอน เมื่อทั้งคู่เข้าไปในวิหารของฮีราแล้ว ซูสก็กลับร่างเป็นมหาเทพและรวบรัดฮีราเป็นราชินีของพระองค์
เท พีฮีร่าเป็นเทพีแห่งหญิงสาวและชีวิตสมรส เป็นผู้ปกป้องสตรีที่แต่งงานแล้ว พระนางทรงประทับบนพระบัลลังก์ทองคำเคียงข้างซูสบนภูเขาโอลิมปัส และทรงพยายามอย่างที่สุดที่จะไม่ใส่พระทัยกับเรื่องราวรักๆ ใคร่ๆ ที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรมของสวามี ฮีราได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเทพธิดาผู้มีพระกรใสกระจ่างดุจงาช้าง ในตำนานโบราณสัตว์ประจำองค์ของเทพีฮีราคือวัว แต่ในตำนานยุคใหม่นกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ และจะตามเสด็จอยู่ไม่ห่าง
เท พีฮีราเป็นที่รู้จักกันดีในด้านของอารมณ์ดุร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่นๆของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางจะเป็นเทพีหรือเป็นมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกเทพีฮีราปองร้ายมีมากมาย เช่น เทพีลีโต มารดาของเทพอพอลโล่และเทพีอาร์ทีมิส เฮอร์คิวลิส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดโอนิซัส ยูโรปา เป็นต้น
ฮี รามีบุตรธิดา 5 องค์ ดังนี้ อาเรส เทพแห่งสงคราม,ฮีบี เทพีแห่งวัยเยาว์, ไอไลไธยา เทพีแห่งการคลอดบุตร, เอริส เทพีแห่งความแตกแยก, เฮเฟตุส เทพแห่งอาวุธ
เทพแอรีส
ชาว โรมันเรียกว่า มารส์ (Mars) เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม อาวุธ และชุดเกราะ เช่นเดียวกับ อธีน่า แต่ทว่าอธีน่าจะได้รับการยกย่องและบูชามากกว่า เนื่องจากอธีน่าเป็นเทพีที่ใช้สติปัญญาวางแผนในการสู้รบมากกว่า ซึ่งได้รับการบูชาในฐานะเทพีแห่งสติปัญญาด้วย ผิดกับแอรีสซึ่งมักจะใช้ความดุดันและโหดร้ายในการสงครามมากกว่า ซึ่งโฮเมอร์ กวีเอกคนสำคัญของกรีกโบราณ ยังเคยเขียนถึงพระองค์ว่า เป็นเทพที่โหดร้ายและหยาบช้า
แอ รีสเป็นบุตรของซีอุสมหาเทพและพระนางเฮรา มเหสีของซีอุส แอรีสเป็นเทพที่ชาวกรีกไม่นับถือบูชา เพราะถือว่าเป็นเทพที่โหดร้ายและมีเรื่องราวที่น่าอับอายเกี่ยวกับพระองค์ เยอะ และถึงแม้จะเป็นเทพแห่งสงคราม แอรีสก็รบแพ้ในการสงครามหลายต่อหลายครั้ง ทั้งแก่มนุษย์กึ่งเทพเองอย่าง เฮราคลีสและกับอธีน่า เทพีแห่งสงคราม พี่น้องของพระองค์เอง
ครั้ง หนึ่งเทพแอรีสทะเลาะกับอเธนา เทพแอรีสบันดาลโทสะขว้างจักรเข้าใส่เทพีอเธนา เทพีอเธนาหลบได้และยกหินที่วางอยู่ใกล้ๆ ทุ่มกลับไป หินกระแทกแอรีสจนทรุดลงไปกองกับพื้น ถือเป็นการพ่ายแพ้แก่พี่น้องสายเลือดตนเองที่เป็นผู้หญิงอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่ากำลังพ่ายแพ้ให้แก่สติปัญญา
แต่ แอรีสเป็นที่นับถืออย่างมากของชาวโรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่โปรดปรานการสู้รบ ถึงกับแต่งให้แอรีสเป็นบิดาของโรมูลัส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรมเลยทีเดียว
ใน ทางด้านชู้สาว พระองค์ลักลอบมีชู้กับเทพีอโฟรไดท์จนเป็นเรื่องราวใหญ่โตให้อับอายไปทั้ง สวรรค์ และเป็นอพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ที่จับผิดและแก้ไขพฤติกรรมของทั้งคู่
แอ รีส เมื่อเสด็จไปไหน จะใช้รถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะและแสงศาตราวุธส่องแสงเจิดจ้าบาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ ดีมอส (Deimos) ซึ่งแปลว่าความกลัว กับ โฟบอส (Phobos) แปลว่าความน่าสยองขวัญ บางตำนานก็กล่าวว่า ทั้งดีมอสและโฟบอสเป็นบุตรชายฝาแฝดของแอรีส และชื่อของทั้งคู่ก็เป็นรากศัพท์ของคำว่า ความตื่นตระหนก (Panic) และ ความกลัว (Phobia) และในทางดาราศาสตร์ แอรีสหรือมารส์ คือดาวอังคาร ดีมอส และ โฟบอส ก็ถูกตั้งเป็นชื่อของดวงจันทร์บริวารของดางอังคารด้วย
เทพ เฮอร์มีส (Hermes) หรือ เมอร์คิวรี่ (Mercury) ตามชื่อที่ชาวโรมันเรียก เป็นเทพบุตรของซูสเทพบดีกับเนางมยา (Maia) เป็นเทพที่มีผู้ร้จักมาก เนื่องจากรูปของเธอปรากฏคุ้นตาคนมากกว่าเทพองค์อื่น ๆ คนมักนำรูปเทพองค์นี้ หรืออย่างน้อยก็ของวิเศษอย่างหนึ่งของเธอ คือ เกือกมีปีก มาแสดงเป็นเครื่องหมายถึงความเร็ว นอกจากเกือก หมวกและไม้ถืออันศักดิ์สิทธิ์ของเธอก็มีปีกเหมือนกัน เธอไปได้เร็วยิ่งนัก ถึงแด่ว่ากันว่า "ไปเร็วเพียงความคิด" ทีเดียว
หมวก และเกือกมีปีกของเฮอร์มีสนั้นเรียกว่า เพตตะซัส (Petasus) และ ทะเลเรีย (Talaria) เป็น ของที่ได้รับประทานจากซูสเทพบิดา ซึ่งโปรดให้เธอเป็นเทพพนักงานสื่อสารประจำพระองค์ ส่วนไม้ถือศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า กะดูเซียส (Caduceus) เดิมเป็นของเทพอพอลโล เธอใช้ต้อนวัวควายในครอบครอง ครั้งหนึ่งเฮอร์มีสขโมยวัวของ เธอไปซ่อน อพอลโลรู้ระแคะระคายดังนั้นจึงมาทวงถามให้เทพภราดรคืนวัวให้แก่เธอ เฮอร์มีสในตอนนั้นยังเยาว์อยู่แท้ ๆ กลับย้อนถามอย่างหน้าตาเฉยว่า วัวอะไรที่ไหนกัน เธอไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ยิน อพอลโลก็ไปฟ้องเทพบิดา ซูส ไกล่เกลี่ยให้เฮอร์มีสคืนวัวให้เจ้าของ อพอลโลได้วัวคืนแล้วก็ไม่ถือเทพผู้น้อง แม้ว่าวัวจะขาดจำนวนไป 2 ตัว เพราะ เฮอร์มีสเอาไปทำเครื่องสังเวยเสียแล้วก็ตาม เธอเห็นเฮอร์มีสมีพิณถือคันหนึ่งเรียกว่า ไลร์ (lyre) เป็นของเฮอร์มีส ประดิษฐ์ขึ้นเองด้วยกระดองเต่าก็อยากได้ จึงเอาไม้กะดูเซียสแลก ไม้ถือกะดูเซียสจึงเป็นของเฮอร์มีสด้วยเหตุฉะนี้ และถือ กันว่าเป็นสัญลักษณ์ของเฮอร์มีสแต่ครั้งนั้น
ไม้ กะดูเซียสนี้แต่เดิมเป็นไม้ถือมีปีกลุ่น ๆ ต่อมาเฮอร์มีสถือไปพบงู 2 ตัวกำลังต่อสู้กัน เธอเอาไม้ทิ่มเข้าในระหว่างกลางเพื่อห้าม ความวิวาท งูก็เลื้อยขึ้นมาพันอยู่กับไม้ โดยหันหัวเข้าหากัน ตั้งแต่นั้นมางูนี้ก็พันอยู่กับไม้ถือกะดูเซียสตลอดมา และไม้ถือกะดูเซียสก็ กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย ภายหลังได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของการแพทย์มาจนบัดนี้
เฮอร์ มีสไม่แต่จะเป็นเทพพนักงานสื่อสารของซูสเท่านั้น หากยังเป็นเทพครองการเดินทาง การพาณิชย์ และตลาด เป็นที่บูชาของพวกหัวขโมย และมีหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์คอยนำวิญญาณคนตายไปสู่ยมโลกด้วยจนได้รับนามกร อีกชื่อหนึ่งว่า เฮอร์มีสไซโคปอมปัส (Hermes Psychopompus) สรุปว่าการสื่อสารและการเป็นคนกลางใน กิจการทุกอย่างตกเป็นภาระของเธอ หรืออยู่ในความสอดส่องของเธอทั้งสิ้น ส่วนการที่เธอเป็นที่นับถือบูชาของพวกขโมยก็คง เนื่องจากขโมยวัวของอพอลโลที่เล่ามาแล้วนั่นเอง
สิ่ง ที่น่าแปลกประการหนึ่งในตัวของเฮอร์มีสก็คือ แม้ว่าเธอจะเป็นโอรสของซูสเทพบดีกับนาง เมยา (Maia) ซึ่ง เป็นอนุ แต่ทว่าทรงเป็นโอรสองค์เดียวของซูสที่ราชินีขี้หึงเทวีฮีร่าไม่เกลียดชัง กลับเรียกหาให้เฮอร์มีสอยู่ใกล้ ๆ ด้วยเสีย อีก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบุคลิกและนิสัยของเทพเฮอร์มีส ที่ชอบช่วยเหลือทุกคน ไม่ว่าจะเป็นทวยเทพด้วยกัน หรือมนุษย์ ธรรมดา อาทิเช่น ช่วยปราบยักษ์ร้ายฮิปโปไลตุล ช่วยองค์ซูสเทพบิดาให้พ้นจากพันธนาการของยักษ์ไทฟีอัส ช่วยอนุองค์ หนึ่งของเทพบิดา คือนางไอโอให้รอดตายด้วยการสังหารอาร์กัส อสูรพันตาของเจ้าแม่ฮีร่า และช่วยเหลือเลี้ยงดูไดโอนิซัส ในยามแรกถือกำเนิดขึ้นอีกด้วย ในด้านของมนุษย์นั้น เฮอร์มีสเคยช่วยเปอร์ซีอุสสังหารนางการ์กอนเทดูซ่า ช่วย เฮอร์คิวลิสในยามเดินทางสู่แดนบาดาล ช่วยโอดีสซีอัสให้รอดพ้นเงื้อมมือนางเซอร์ซี และช่วยให้เตเลมาดุสตามหาพ่อจน พบ เป็นต้น
เฮอร์ มีสก็เช่นเดียวกับเทพบุตรองค์อื่น ๆ ตรงที่ไม่ยกย่องเทวีหรือสตรีนางใดเป็นชายา แต่สมัครรักใคร่ไปเรื่อย ๆ นับไม่ถ้วน ว่ากันว่าการที่เธอชอบเสด็จลงไป ในแดนบาดาลบ่อย ๆ นั้นเป็นเพราะหลงเสน่ห์ของเทวีเพอร์เซโฟนีผู้เป็นชายา ของฮาเดส จ้าวแดนบาดาล ยามขึ้นมาสู่ผืนดินเฮอร์มีสก็รักกับสตรีมนุษย์มากหน้า ที่เป็นที่ กล่าวขานได้แก่ อคาคัลลิส (Acacallis) ผู้เป็นธิดาของท้าวไมนอส แห่งครีต เมื่อขึ้นไปสู่สวรรค์โอลิมปัสก็เกิดจิตพิศวาส กับเทวีในทำนองรักข้ามรุ่น โดยเฉพาะกับ เฮเคตี และเทพีอโฟรไดท์ตี้
เฮ ฟเฟสตุส (Hephaestus) หรือ วัลแคน เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง เป็นบุตรของ Zeus กับ Hera (บางตำราว่าเป็นบุตรของ Hera ผู้เดียว) พระองค์เป็นเทพที่พิการและอัปลักษณ์ มีประวัติกำเนิด เล่าแตกต่างกันเป็น 2 นัย
นัย หนึ่งว่าเป็น เทพบุตรของ เทวีฮีรากับเทพปรินายกซุสโดยตรง แต่อีกนัยหนึ่งว่าเฮฟเฟสตุสถือกำเนิดแต่เทวีแม่ฮีรา ทำนองเทวีเอเธน่า เกิดกับซุสฉะนั้น คือผุดขึ้นจากเศียรของเทวีโดยลำพังตนเอง ทั้งนี้เนื่องด้วยเจตจำนงของเทวีฮีรา ที่ต้องการจะแก้ลำซุสในการกำเนิดของเทวีเอเธน่า ให้เทพทั้งปวงเห็นว่าเมื่อซุสทำให้เทวีเอเธน่าเกิดเองได้ เทวีก็สามารถทำให้เฮฟเฟสตุสเกิดเองได้เช่นกัน แต่ถึงกำเนิดของเทพเฮฟเฟสตุสจะเป็นประการใด ก็ต้องนับว่า เฮฟเฟสตุส เป็นเทพบุตรของ ซุส ด้วยเช่นกัน หากมีข้อควรกล่าวก็คือว่า เฮฟเฟสตุส ติดแม่มากกว่าติดพ่อ และเข้ากับแม่ทุกคราวที่พ่อแม่ทะเลาะกัน ในคราวหนึ่งซุสประสงค์จะลงโทษเทวีฮีราให้เข็ดหลาบ เอาโซ่ทองล่ามเทวีแขวนไว้กับกิ่งฟ้าห้อยโตงเตงอยู่ ดังนั้นเฮฟเฟสตุสก็เข้าช่วยเทวี พยายามแก้ไขโซ่จะให้เทวีเป็นอิสระ ซุส บันดาลโทสะจึงจับเฮฟเฟสตุส ขว้างลงมาจากสวรรคโลก
เนื่อง ด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถูกพระบิดา และมารดาทอดทิ้ง Hephaestus ใช้เวลาช่วง 10 ปีแรกอยู่ในทะเล และได้สร้างโรงหล่อไว้ใต้ภูเขา Aetna มี Cyclops เป็นคนงาน โดยสิ่งที่พระองค์สร้างขึ้น มีดังนี้ อาวุธของ Achilles,Aeneas คทาของ Agamemnon, สร้อยคอของ Harmonia ซึ่งผู้สวมใส่จะประสบเคราะห์ร้าย, โล่ของ Heracles
อโฟรได ท์ เป็นเทพเจ้ากรีกแห่งความรัก, ความปรารถนา, และความงาม ชื่ออื่นๆ ที่เรียก “ไคพริส” (Kypris) “ไซธีเรีย” (Cytherea) ตามชื่อสถานที่ ไซปรัส และ ไซธีราซึ่งเชื่อว่าเป็นที่เกิดของอโฟรไดท์ สิ่งศักดิ์สิทธิของแอฟรอไดทีได้แก่ต้นเมอร์เติล (Myrtle), นกพิราบ, นกกระจอก และ หงส์ เทพีอโฟรไดท์เทียบได้กับเทพีวีนัส ในตำนานเทพเจ้าโรมัน
อโฟรไดท์ ทรงเป็นเทพธิดาแห่งความรักและความงาม ทั้งความรักที่บริสุทธิ์ และความรักที่เต็มไปด้วยตัณหา และความริษยา ทรงครอบครองสายคาดวิเศษที่สามารถมัดใจเทพและชายทุกคนได้ในทันที ทรงเป็นผู้ให้พรเพื่อให้ผู้มีความรักสมหวัง ในขณะเดียวกันก็ทรงสามารถที่จะทำลายความรักของผู้ที่พระนางไม่พอใจได้ใน ทันที
การ กำเนิดของอโฟรไดท์มีอยู่ 2 ความเชื่อ ความเชื่อแรกนั้นเชื่อว่าอโฟรไดท์ถือกำเนิดขึ้นจากฟองน้ำในมหาสมุทร และความชื่อที่สองเชื่อว่าอโฟรไดท์เป็นบุตรของซุสกับนางไดโอนี
คำว่า อะฟรอส เชื่อ กันว่าเมื่อครั้งที่โครนัสทำการโค่นอำนาจจากยูเรนัส โครนัสได้โยนบิดาของตนเองลงในมหาสมุทร ทำให้เกิดฟองน้ำที่มีเด็กหญิงอยู่ภายในขึ้น และหลังจากเด็กหญิงผู้นั้นเติบโต เธอก็ลอยมาติดฝั่งพาฟอส ของไซปรัส โดยมีเปลือกหอยเป็นพาหนะ อีก ความเชื่อหนึ่ง เชื่อว่าอะโฟรไดท์เป็นบุตรของซุส และไดโอนีแห่งเกาะดอโดน่า และว่าไดโอนีคือมเหสีองค์แรกของซูสก่อนที่จะสมรสกับเทพีเฮรา
เท พีอโฟรไดท์เป็นหนึ่งในเทพีที่มือชื่อเสียทางด้านชู้สาวมาก พระนางได้รับบัญชาจากซุสให้สมรสกับเทพเฮเฟตุสผู้อัปลักษณ์และพิการ ซึ่งเป็นบุตรชายของซุสกับเฮรา แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเทพและเทพีทั้งสองกลับไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เทพีอะโฟรไดท์ทรงมีความสัมพันธ์กับเทพและชายหนุ่มมากมายที่ไม่ใช่สวามีของตน เอง จนเกิดเรื่องราวนับไม่ถ้วน
หนึ่ง ในชู้รักของเทพีอะโฟรไดท์คือเทพอาเรส เทพแห่งสงครามผู้เป็นบุตรชายอีกองค์ของซุสและเฮรา เทพเฮเฟตุสได้ดัดหลังทั้งคู่ด้วยการวางกับดักตาข่ายไว้ที่เตียงนอน เมื่อถึงเวลาเช้าที่อาเรสจะหลบออกไปจากห้องบรรทมของอะโฟรไดท์ ทั้งเทพอาเรส และเทพีอะโฟรไดท์จึงรู้ตัวว่าติดกับดัก และต้องทนอับอายต่อการที่ถูกเทพทั้งมวลมองดูร่างเปลือยเปล่าของทั้งคู่อยู่ เป็นเวลานาน
นอกจากอาเรสแล้ว อะโฟรไดท์ยังมีชายชู้อีกหลายคนรวมถึง อะโดนิส และเฮอร์เมสด้วย อะโฟรไดท์ มีบุตรกับอาเรส 3 องค์ คือ อีรอส หรือ คิวปิด ผู้เป็นกามเทพ, แอนตีรอส ผู้เป็นเทพแห่งรักที่ไม่สมหวัง การรักตอบ และเป็นผู้ลงโทษผู้ที่ดูถูกความรัก, ฮาร์โมเนีย หรือ เฮอร์ไมโอนี่ ผู้เป็นเทพีแห่งความปรองดอง บุตรของอะโฟรไดท์กับเฮอร์เมส มี 1 องค์ คือ เฮอร์มาโฟรไดตุส ซึ่งเป็นเทพผู้คุ้มครองเพศที่ 3
นอกจากนี้อะโฟรไดท์ยังมีบุตรเจ้าชายแอนคีซีสแห่งโทรจันซึ่งเป็นมนุษย์ 1 คน คือ อีเนียส ผู้เป็นกำลังสำคัญในสงครามแห่งทรอย
อะโฟรไดท์ เป็นเทพีที่มีความเกี่ยวข้องกับตำนาน เรื่องเล่า และมหากาพย์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นมหากาพย์โอดิสซีย์ และอีเลียด ตำนานดอกกุหลาบ ตำนานดอกนาซิสซา ฯลฯ
ใน มหากาพย์อีเลียด ของโฮเมอร์ อะโฟรไดท์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสงครามแห่งทรอย นางได้ทำให้ปารีสหลงรักเฮเลน ผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลกซึ่งเป็นมเหสีของกษัตริย์เมเนลาอุส ทำให้ชาวกรีกทั้งหลายมุ่งหน้าไปยังทรอยเพื่อชิงตัวเฮเลนคืนมา
ส่วน ใหญ่แล้วกวีจะมอบบทบาทของหญิงสาวขี้อิจฉาที่ไร้เหตุผลให้กับอะโฟรไดท์ นางเป็นผู้ลบปัญหาออกจากสมองของนักปราชญ์ บันดาลให้เกิดความรักที่บ้าคลั่งและเป็นไปไม่ได้ นำความทุกข์ใหญ่หลวงมาสู่คู่รักที่นางไม่โปรดปราน ซึ่งหนึ่งในนั้นคืออีรอสลูกชายของนางกับไซคี
อย่าง ไรก็ตามในมหากาพย์อีเลียด ของโฮเมอร์ เทพีอะโฟรไดท์เป็นเทพีที่อ่อนแอและนุ่มนวล ซึ่งไม่สามารถทนดูบุตรอานิอัสบุตรชายของตนถูกฆ่าตายในสงครามแห่งทรอยได้ จนไปขอความช่วยเหลือจากซุสเพื่อให้ซุสให้พรกับบุตรชายของนาง ซึ่งซุสก็ได้ให้พรให้อานิอัสได้เป็นบิดาของชนชาติที่จะครองโลก ซึ่งก็คือชนชาติอิตาเลี่ยน
เท พีอธีนา หนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซูส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อจู่ ๆ ซูสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮฟเฟสตุส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอกกระโดดออกมา เทพีอธีนาเป็นธิดาของเทพีมีธิส ซึ่งถูกซูสกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่ยังมีครรภ์แก่ เนื่องจากคำทำนายที่ว่าบุตรที่เกิดจากนางจะเป็นผู้โค่นบัลลังก์ของซูส แต่แม้ว่าอธีนาจะถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายนั้น พระนางก็เป็นหนึ่งในลูกรักของของซูส ว่ากันว่าฮีราอิจฉาอธีนาที่ถือตัวว่าเป็นผู้กำเนิดมาจากซูสโดยตรง
และ นอกจากอธีนาจะเป็นเทพีแห่งปัญญาแล้ว ยังเชื่อกันว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนางมักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์และหอกที่มือซ้าย และถือไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา โดยที่ชื่อกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ ก็มีที่มาจากพระนามของนาง ชื่อเต็มของอธีนาคือ พัลลัสอธีนา (Pallas Athena) ซึ่งชื่อพัลลัส มาจากเพื่อนมนุษย์ของอธีนาซึ่งเธอพลั้งมือสังหารไปขณะเล่นด้วยกัน จึงได้นำชื่อของพัลลัสมาใส่นำหน้าเพื่อเป็นที่ระลึก อธีนาเป็นตัวแทนของสงครามที่เอาชนะด้วยกลยุทธหรือความถูกต้อง ซึ่งต่างจากแอรีสที่เป็นเทพสงครามที่ใช้กำลังมากกว่า
นอก จากนี้ อธีนา ยังเป็นหนึ่งในสามเทพีพรหมจรรย์ด้วย ซึ่งประกอบด้วย พระนาง, อาร์เทมีส เทพีแห่งดวงจันทร์ และเฮสเทีย เทพีแห่งครัวเรือน
พระองค์พำนักอยู่ ณ Acropolis แห่ง Athensต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์คือต้นมะกอก
ตาม ตำนานกรีกเล่าว่า ที่มาของชื่อเมืองเอเธนส์ (Athens) นั้น มาจากการที่ชาวกรีกจะตั้งชื่อเมืองแต่ไม่รู้จะใช้ชื่ออะไร โพไซดอน เทพแห่งมหาสมุทร ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของอธีนา ใช้ตรีศูลอาวุธของตนสร้างม้าขึ้นมา ชาวเมืองต่างพากันชื่นชมม้าเป็นอันมาก แต่เทพีอธีนาได้เนรมิตมะกอกขึ้นมา ซึ่งสามารถใช้ผลเป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มะกอก ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ในขณะที่ม้าเป็นสัญลักษณ์ของสงคราม ชาวเมืองจึงตกลงใช้ชื่อเมืองว่า เอเธนส์ ตามชื่อของพระนาง และมะกอกก็กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของกรีซมาจนปัจจุบัน
นอก จากนั้นยัง เป็นผู้ให้บังเหียน Pegasus แก่ Bellerophon, เป็นผู้ช่วย Perseus ฆ่า Medusa, สอน Argus ให้ต่อเรือ Argo, สอน Danaus ให้ต่อเรือรบสองหัว, ช่วย Epeius สร้างม้าไม้ เพราะเป็นผู้อยู่ฝ่ายกรีกในสงครามกรุง Troy, ให้ฟันมังกรแก่ Cadmus เพื่อนำไปหว่านบนพื้นดิน, ช่วยเหลือวีรบุรุษต่างๆ ในโอกาสต่างๆ อีกมาก เช่น Heracles หรือ Odysseus ถือได้ว่าพระนางเป็นเทพีที่เต็มเปี่ยมไปด้วยสติปัญญาและความสามารถ
บุตร ชายคนโตของมหาเทพซีอุส และนางเลโต เป็นเทพแห่งแสงสว่าง หรือเทพแห่งดวงอาทิตย์ รวมถึงเป็นเทพแห่งสัจจะและการดนตรีด้วย อพอลโลมีพี่สาวฝาแฝดชื่อ อาร์เทมีส หรือ ไดอาน่า (ในโรมัน) ซึ่งเป็นเทพีแห่งดวงจันทร์คู่กัน อพอลโลเป็นเทพที่ชาวกรีกถือว่ามีรูปงามยิ่ง และเป็นนักดนตรีผู้ขับกล่อมเทพทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ด้วยพิณถือของเธอ นอกจากนี้เธอยังมีคันธนูซึ่งยิงได้ไกล จึงได้สมญานามว่า เทพขมังธนู ใช่แต่เท่านั้นเมื่อไร เธอยังเป็นเทพผู้ถ่ายวิชาโรคศิลป์ ให้แก่มนุษย์เป็นปฐม เป็นเทพแห่งแสงสว่างผู้ขจัดความมืดและเป็นเทพแห่ง สัจธรรมผู้ไม่เคยเอ่ยวาจาเท็จอีกด้วย
นอก จากนี้แล้ว อพอลโลยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ฟีบัส (Phoebus) อาเบล (Abel) ไพธูส (Pytheus) หรือ เฮลิออส (Helios) ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายถึง แสงสว่างทั้งสิ้น
ตาม เรื่องต่าง ๆ ที่เธอมีบทบาทอยู่ อพอลโลดูจะเป็นเทพใจสูงกว่าองค์อื่น ๆ แต่ถึงกระนั้นก็มีอยู่ 2-3 เรื่อง ที่แสดงให้เห็นความโหดเหี้ยมดุร้ายของเธอ อย่างการที่เทพอพอลโลได้สำแดงวีรกรรมสังหารผลาญชีวิตคนพาลมากมาย นอกจากเคยฆ่างู ยักษ์ไพธอนจนมีชื่อ เสียงมหาศาลแล้ว ยังสามารถสังหารยักษ์ อโลอาดี (Aloadae) และ อีฟิอัลทิส(Ephialtes) ซึ่งเป็นเชื้อสายของ วงศ์ไทแทนคิดล้มซูสเทพบดีเพื่อฟื้นวงศ์ไทแทนคืนมา เป็นต้น แต่มีครั้งหนึ่งที่อพอลโลยังไม่อาจเอาชนะมนุษย์ คนหนึ่งได้จนร้อนถึงไท้เทพซูสต้องออกมาประนีประนอม บุรุษเดินดินคนนั้นนามว่า เฮอร์คิวลิส หรือ เฮลาคลิสนั่นเอง เหตุเกิดเพราะเฮอร์คิวลิสไปขอคำพยากรณ์ที่วิหารเดลฟีแล้ว ได้รับคำทำนายไม่ถูกใจ จึงล้มโต๊ะ พิธีใน วิหารแล้วฉวยเอากระถางธูปไป เทพอพอลโลรีบรุดตามไปท้าเล่นมวยปล้ำเพื่อชิงเอากระถางคืน ปล้ำกันอยู่ นานไม่อาจรู้แพ้ชนะ ซูสเห็น ท่าว่าขืนปล่อยไว้นานอพอลโลอาจจะเสียเปรียบพ่ายแพ้แก่มนุษย์เข้าได้ และ อาจเสียหน้าวงศ์เทพแน่ จึงเสด็จลงไปห้ามปรามให้เลิกราต่อกัน ขอให้เฮอร์คิวลิสคืนกระถางธูปแก่อพอลโล แล้วให้ เลิกราเรื่องบาดหมางต่อกัน เรื่องราวก็เลยจบลงด้วยดี
เท พอพอลโลมีอุปนิสัยไม่ยอมแพ้ใครอยู่ไม่น้อย เห็นได้จากที่ไปแข่งเป่าขลุ่ยกับมาไซยาส์ซึ่งเป็นเทพชั้นรอง แล้วตั้งกรรมการตัดสินว่าผู้ใดเป่าเก่งกว่ากัน พระเจ้าไมดาส (Midas องค์ที่จับอะไรก็กลายเป็นทอง) เกิดตัดสินเข้าข้างมาไซยาส์ เพียงเท่านี้ อพอลโลก็ไม่ฟังอะไรอีก จึงสาปให้ไมดาสมีหูเป็นลาไปทันที
ปัจจุบัน อพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่างๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น
อพอ ลโลเป็นเทพที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ณ เมืองเดลฟี ใกล้ทิวเขาพาร์นาซัส ที่มีชื่อว่า เทวรูปโคโลซัส(Colosus) นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็น สัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์
อา ร์เทมิส (Artemis)หรือในภาคโรมันคือไดอานา (Diana)คือเทพเจ้าแห่งการล่าสัตว์ เทพีแห่งดวงจันทร์ และเป็นเทพีแห่งความรักทางใจ ตำนานการกำเนิดกล่าวว่าเป็นธิดาฝาแฝดของเทพซุสกับนางอัปสร ลีโต(Leto) หรือ แลโตนา (Latona) มีพี่ชายร่วมอุทรคือ เทพอพอลโลซึ่งเป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ และการดนตรี
เทพ ฝาแฝดทั้งสองถูกปองร้ายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพราะเทพีเฮราซึ่งเป็นมเหสีเอกของเทพซุสเกลียดชังชายาน้อยของสวามีจึงลามไป ถึงบุตรที่เกิดจากอนุเหล่านั้นด้วย เมื่อรู้เรื่องของนางลีโต พระนางจึงสาปแช่งนางลีโตว่าจะไม่สามารถคลอดบุตรบนแผ่นดินใดได้ อีกทั้งยังส่งงูร้าย ไพธอน (Python)ตามฉกกัดนางลีโตตลอดเวลา นางลีโตประสบเคราะห์กรรมอย่างน่าสงสารเพราะไปที่ใดก็ไม่มีใครต้อนรับด้วย กลัวเกรงอาญาของเทพีเฮรา ทั้งต้องหลบหนีงูร้ายจนอยู่ไม่เป็นสุข และเทพซุสก็กลัวเทพีเฮราเกินกว่าจะช่วยเหลือนางลีโตกับบุตรในครรภ์
กระทั่ง ครบกำหนดครรภ์ นางลีโตเจ็บปวดทุกข์ทรมานปางตายเพราะไม่อาจคลอดบุตรได้ ทำให้เทพโพไซดอนเกิดความสงสาร จึงบันดาลเกาะดีลอส (Delos)ให้โผล่ขึ้นกลางทะเล ไม่ติดต่อกับแผ่นดินใด นางลีโตจึงพ้นคำสาป จนกระทั่งสามารถประสูติเทพฝาแฝด เทพอพอลโล และเทพีอาร์เทอมิส ออกมาอย่างปลอดภัย
ทันที ที่ประสูติออกจากครรภ์ เทพอะพอลโลก็ฆ่างูไพธอนตาย จนได้นามอีกว่า ไพธูส เมื่อเทพทั้งสองประสูติ เทพบิดาซุสจึงอัญเชิญเทพทั้งสองขึ้นเป็นเทพบนเขาโอลิมปัส และคลายความหมางใจระหว่างเทพีเฮรากับเทพฝาแฝดจนเป็นผลสำเร็จ
เท พอพอลโลถูกสถาปนาขึ้นเป็นสุริยเทพ คุมรถม้าพระอาทิตย์รอบโลกให้แสงสว่างแก่มวลมนุษย์ในเวลากลางวัน ส่วนเทพีอาร์เทมีสถูกสถาปนาเป็นจันทราเทวี คุมรถม้าเงินพระจันทร์ ให้แสงสว่างนำทางมวลมนุษย์ในยามกลางคืน ทั้งสองฝาแฝดรักใคร่กันมากและมีความชำนาญในด้านขมังธนูเช่นเดียวกัน โดยธนูของเทพอพอลโลจะแม่นยำร้อนแรงดังแสงอาทิตย์ ผิดกับเทพีอาร์เทมีสซึ่งปลิดชีพผู้ต้องศรอย่างนุ่มนวลราวแสงจันทร์ จนดูคล้ายกับคนที่นอนหลับไปเท่านั้น
เท พีอาร์เทมีสมีชีวิตโลดโผนกว่าเทพีองค์อื่น เพราะทรงโปรดการล่าสัตว์และชอบชีวิตโสด จนเทพซุสประทานนางอัปสรผู้ไม่ต้องการแต่งงานจำนวน 50 ให้เป็นบริวาร สาเหตุที่พระนางไม่ต้องการมีความรัก ก็เพราะมีความหลังฝังใจจากที่นางลีโตต้องทรมานกับการคลอดบุตร และในเวลาที่ประสูติเทพีอาร์เทมิสก็ซึมซับความรู้สึกนั้นได้ พระนางจึงไม่เชื่อในความรักและไม่ต้องการคู่ครอง เทพีอาร์เทมีสวิงวอนให้เทพซุสสาบานว่าจะไม่จับคู่สมรสให้พระนางหรือให้พระ นางสมรสไม่ว่ากรณีใด และให้พระนางเป็นเทพีผู้ครองพรหมจรรย์ ซึ่งเทพซุสก็สาบานโดยให้แม่น้ำสติกซ์ซึ่งไหลรอบนรกเป็นพยาน (การสาบานต่อแม่น้ำสติกซ์มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ใดผิดคำสาบานไม่ว่ามนุษย์หรือเทพเจ้าจะประสบเคราะห์กรรมอย่างร้ายแรง)
ตำนาน ความรักของเทพีอาร์เทมิสนั้นมีอยู่สองตำนาน ตำนานแรกคือตำนานของกรีกซึ่งเกี่ยวกับกลุ่มดาวนายพรานซึ่งสุกสว่างอยู่บน ท้องฟ้าในยามกลางคืน ส่วนอีกตำนานหนึ่งคือตำนานของโรมันซึ่งกล่าวถึงเอนดิเมียน ชายหนุ่มเลี้ยงแกะรูปงาม
ใน ตำนานของกรีกนั้นกล่าวว่าเทพีอาร์เทมิสทรงสาบานตนเป็นเทพีพรหมจารีย์ร่วมกับ อะธีน่าและเฮสเทียต่อหน้าแม่น้ำสติกซ์ นางชิงชังชีวิตสมรส ความรัก และการยุ่งเกี่ยวกับผู้ชาย แต่สิ่งหนึ่งที่เทพีอาร์เทอมิสไม่ปฏิเสธคือการมีสหายเป็นชายที่รักการล่า สัตว์เช่นเดียวกับพระนาง
สหาย สนิทของเทพีอาร์เทอมิสมีนามว่าโอไรออน เขาเป็นนายพรานผู้ฉมังในการล่าสัตว์ มีสุนัขคู่ใจชื่อว่าซิริอุส ทุกๆ วันเทพีอาร์เทมิสและสหายจะร่วมกันล่าสัตว์และพูดคุยกันอย่างสนุกสนานหลังจาก ล่าสัตว์เสร็จ
เท พีอาร์เทมิสหลงรักนายพรานหนุ่มและคิดที่จะสละความเป็นเทพีพรหมจารีย์เพื่อ แต่งงานกับอไรเอิน อพอลโล่รู้ถึงความคิดนี้เข้าและกลัวว่าอาร์เทอมิสจะต้องรับโทษจากการผิดคำ สาบานต่อหน้าแม่น้ำสติกซ์ จึงวางแผนที่จะล้มเลิกความคิดของน้องสาวฝาแฝด
อพอ ลโล่สั่งให้โอไรออนเดินลุยน้ำทะเลไปยังเกาะแห่งหนึ่งกลางทะเล และเมื่อโอไรออนเดินไปถึงยังจุดที่ไกลจนเมื่อมองจากเกาะดีลอสแล้วจะเห็น เพียงศีรษะของโอไรออนที่มองดูเหมือนกับเกาะกลางน้ำ เทพอพอลโล่ก็ชวนเทพีฝาแฝดมาล่าสัตว์แข่งกัน และท้าพนันให้อาร์เทมิสยิงธนูทะลุเกาะกลางทะเลที่อพอลโล่ชี้ให้ดูให้ได้
อาร์ เทมิสตกหลุมพรางของเทพฝาแฝด เหนี่ยวสายธนูเต็มแรงจนลูกธนูทะลุศีรษะของโอไรออนถึงแก่ความตาย เมื่ออาร์เทมิสทราบว่าตนได้ฆ่าชายที่รักลงด้วยน้ำมือของตนเองแล้ว พระนางก็ได้นำศพของอไรเอินและซิริอุสสุนัขคู่ใจขึ้นไปไว้บนท้องฟ้าในตำแหน่ง ของกลุ่มดาวนายพราน และดาวสุนัขใหญ่
ใน ตำนานเทพเจ้ากรีก “ไดอะไนซัส” เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ ผู้เป็นแรงบันดาลใจของความประเพณีความคลั่งและความปิติอย่างล้นเหลือ (ecstasy) และเป็นเทพองค์ล่าสุดในสิบสองเทพโอลิมปัส ที่มาของไดอะไนเซิสไม่เป็นที่ทราบ แต่ตามตำนานว่าได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ
เทพ ไดโอไนซัสเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า แบคคัส เทพแห่งเมรัย และไวน์องุ่น เป็นบุตรของเทพซูสกับนางซิมิลี่ ซึ่งเป็นมนุษย์ ธิดาแห่งกรุงเธป เทพซูสได้แปลงกายเป็น มนุษย์รูปงามลงมาโลกมนุษย์ เพราะเกรงว่ามเหสี พระนางเฮร่า จะรู้เข้า และกลัวว่านางซิมิลี่จะเกรงกลัวในรัศมีของพระองค์ และในที่สุด ก็ได้นางเป็นชายาอีกองค์ แต่แล้ว พระนางเฮร่า ก็รู้เข้า จึงได้แปลงกายมาเป็นคนรับใช้ของนางซิมิลี่ มาหลอกล่อให้นางอยากเห็นรูปร่างที่แท้จริงของเทพซุส
นาง ซิมิลี่ จึงได้ให้เทพซุสในรูปมนุษย์ ไปสาบานกับแม่น้ำสติ๊กซ์ ว่าจะให้ของขวัญแก่นาง แล้วนางซิมิลี่ ก็ให้เทพซุสเปลี่ยนร่างที่แท้จริงออกมา พระองค์เกรงว่า ถ้าให้นางเห็นร่างที่แท้จริงของพระองค์ จะทำให้นางซิมิลี่มอดไหม้ เพราะ รัศมีของพระองค์ จึงบอกแก่นางซิมิลี่ว่า จะดูแลลูกในครรภ์ของนาง ส่วนนางก็จะได้รับของขวัญสมใจ แล้วพระองค์ก้ได้ เปลี่ยนร่างเป็นเทพซูส นางซิมิลี่ก็มอดไหม้ไป แต่บุตรของนางไม่เป็นอะไรเพราะ เป็นบุตรแห่งเทพ จากนั้น เทพซูส จึงได้ให้พวกนิมฟ์ล นางไม้ ดูแลเทพไดโอไนซัส พวกนิมฟ์ล ได้สอนให้เทพไดโอไนซัสปลูกพืชต่างๆโดยเฉพาะองุ่น ต่อมาพระองค์ได้ทดลองนำองุ่นไปหมักเอาไว้ และก็ได้ค้นพบ นำองุ่นที่รสชาติดีอย่างประหลาด ที่ยิ่งดื่ม ยิ่งมึนเมา ยิ่งอยากดื่ม ยิ่งสนุกสนาน พระองค์จึงได้เผยแพร่การทำไวน์องุ่นไปทั่วแดน และต่อมา เทพซูส ได้รับพระองค์ไปเป็นเทพโอลิมปัสอีกพระองค์ (เทพไดโอไนซูส และเทพีดิมีเตอร์ เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ ที่ชาวกรีกและโรมันให้ความเคารพบูชายิ่งนัก)
ได อะไนเซิสผู้เป็นเทพของการเกษตรกรรม และการละคร นอกจากนั้นก็ยังรู้จักกันในนามว่า “ผู้ปลดปล่อย” (Liberator) ที่ปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ หรือด้วยเหล้าองุ่น หน้าที่ของไดอะไนเซิสคือเป็นผู้สร้างดนตรีออโลส (aulos) และยุติความกังวล นักวิชาการถกกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไดอะไนเซิสกับ “คตินิยมเกี่ยวกับวิญญาณ” และความสามารถในการติดต่อระหว่างผู้ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้ว
หมวก และเกือกมีปีกของเฮอร์มีสนั้นเรียกว่า เพตตะซัส (Petasus) และ ทะเลเรีย (Talaria) เป็น ของที่ได้รับประทานจากซูสเทพบิดา ซึ่งโปรดให้เธอเป็นเทพพนักงานสื่อสารประจำพระองค์ ส่วนไม้ถือศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า กะดูเซียส (Caduceus) เดิมเป็นของเทพอพอลโล เธอใช้ต้อนวัวควายในครอบครอง ครั้งหนึ่งเฮอร์มีสขโมยวัวของ เธอไปซ่อน อพอลโลรู้ระแคะระคายดังนั้นจึงมาทวงถามให้เทพภราดรคืนวัวให้แก่เธอ เฮอร์มีสในตอนนั้นยังเยาว์อยู่แท้ ๆ กลับย้อนถามอย่างหน้าตาเฉยว่า วัวอะไรที่ไหนกัน เธอไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ยิน อพอลโลก็ไปฟ้องเทพบิดา ซูส ไกล่เกลี่ยให้เฮอร์มีสคืนวัวให้เจ้าของ อพอลโลได้วัวคืนแล้วก็ไม่ถือเทพผู้น้อง แม้ว่าวัวจะขาดจำนวนไป 2 ตัว เพราะ เฮอร์มีสเอาไปทำเครื่องสังเวยเสียแล้วก็ตาม เธอเห็นเฮอร์มีสมีพิณถือคันหนึ่งเรียกว่า ไลร์ (lyre) เป็นของเฮอร์มีส ประดิษฐ์ขึ้นเองด้วยกระดองเต่าก็อยากได้ จึงเอาไม้กะดูเซียสแลก ไม้ถือกะดูเซียสจึงเป็นของเฮอร์มีสด้วยเหตุฉะนี้ และถือ กันว่าเป็นสัญลักษณ์ของเฮอร์มีสแต่ครั้งนั้น
ไม้ กะดูเซียสนี้แต่เดิมเป็นไม้ถือมีปีกลุ่น ๆ ต่อมาเฮอร์มีสถือไปพบงู 2 ตัวกำลังต่อสู้กัน เธอเอาไม้ทิ่มเข้าในระหว่างกลางเพื่อห้าม ความวิวาท งูก็เลื้อยขึ้นมาพันอยู่กับไม้ โดยหันหัวเข้าหากัน ตั้งแต่นั้นมางูนี้ก็พันอยู่กับไม้ถือกะดูเซียสตลอดมา และไม้ถือกะดูเซียสก็ กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย ภายหลังได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของการแพทย์มาจนบัดนี้
เฮอร์ มีสไม่แต่จะเป็นเทพพนักงานสื่อสารของซูสเท่านั้น หากยังเป็นเทพครองการเดินทาง การพาณิชย์ และตลาด เป็นที่บูชาของพวกหัวขโมย และมีหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์คอยนำวิญญาณคนตายไปสู่ยมโลกด้วยจนได้รับนามกร อีกชื่อหนึ่งว่า เฮอร์มีสไซโคปอมปัส (Hermes Psychopompus) สรุปว่าการสื่อสารและการเป็นคนกลางใน กิจการทุกอย่างตกเป็นภาระของเธอ หรืออยู่ในความสอดส่องของเธอทั้งสิ้น ส่วนการที่เธอเป็นที่นับถือบูชาของพวกขโมยก็คง เนื่องจากขโมยวัวของอพอลโลที่เล่ามาแล้วนั่นเอง
สิ่ง ที่น่าแปลกประการหนึ่งในตัวของเฮอร์มีสก็คือ แม้ว่าเธอจะเป็นโอรสของซูสเทพบดีกับนาง เมยา (Maia) ซึ่ง เป็นอนุ แต่ทว่าทรงเป็นโอรสองค์เดียวของซูสที่ราชินีขี้หึงเทวีฮีร่าไม่เกลียดชัง กลับเรียกหาให้เฮอร์มีสอยู่ใกล้ ๆ ด้วยเสีย อีก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบุคลิกและนิสัยของเทพเฮอร์มีส ที่ชอบช่วยเหลือทุกคน ไม่ว่าจะเป็นทวยเทพด้วยกัน หรือมนุษย์ ธรรมดา อาทิเช่น ช่วยปราบยักษ์ร้ายฮิปโปไลตุล ช่วยองค์ซูสเทพบิดาให้พ้นจากพันธนาการของยักษ์ไทฟีอัส ช่วยอนุองค์ หนึ่งของเทพบิดา คือนางไอโอให้รอดตายด้วยการสังหารอาร์กัส อสูรพันตาของเจ้าแม่ฮีร่า และช่วยเหลือเลี้ยงดูไดโอนิซัส ในยามแรกถือกำเนิดขึ้นอีกด้วย ในด้านของมนุษย์นั้น เฮอร์มีสเคยช่วยเปอร์ซีอุสสังหารนางการ์กอนเทดูซ่า ช่วย เฮอร์คิวลิสในยามเดินทางสู่แดนบาดาล ช่วยโอดีสซีอัสให้รอดพ้นเงื้อมมือนางเซอร์ซี และช่วยให้เตเลมาดุสตามหาพ่อจน พบ เป็นต้น
เฮอร์ มีสก็เช่นเดียวกับเทพบุตรองค์อื่น ๆ ตรงที่ไม่ยกย่องเทวีหรือสตรีนางใดเป็นชายา แต่สมัครรักใคร่ไปเรื่อย ๆ นับไม่ถ้วน ว่ากันว่าการที่เธอชอบเสด็จลงไป ในแดนบาดาลบ่อย ๆ นั้นเป็นเพราะหลงเสน่ห์ของเทวีเพอร์เซโฟนีผู้เป็นชายา ของฮาเดส จ้าวแดนบาดาล ยามขึ้นมาสู่ผืนดินเฮอร์มีสก็รักกับสตรีมนุษย์มากหน้า ที่เป็นที่ กล่าวขานได้แก่ อคาคัลลิส (Acacallis) ผู้เป็นธิดาของท้าวไมนอส แห่งครีต เมื่อขึ้นไปสู่สวรรค์โอลิมปัสก็เกิดจิตพิศวาส กับเทวีในทำนองรักข้ามรุ่น โดยเฉพาะกับ เฮเคตี และเทพีอโฟรไดท์ตี้
เทพเฮฟเฟสตุส
เฮ ฟเฟสตุส (Hephaestus) หรือ วัลแคน เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง เป็นบุตรของ Zeus กับ Hera (บางตำราว่าเป็นบุตรของ Hera ผู้เดียว) พระองค์เป็นเทพที่พิการและอัปลักษณ์ มีประวัติกำเนิด เล่าแตกต่างกันเป็น 2 นัย
นัย หนึ่งว่าเป็น เทพบุตรของ เทวีฮีรากับเทพปรินายกซุสโดยตรง แต่อีกนัยหนึ่งว่าเฮฟเฟสตุสถือกำเนิดแต่เทวีแม่ฮีรา ทำนองเทวีเอเธน่า เกิดกับซุสฉะนั้น คือผุดขึ้นจากเศียรของเทวีโดยลำพังตนเอง ทั้งนี้เนื่องด้วยเจตจำนงของเทวีฮีรา ที่ต้องการจะแก้ลำซุสในการกำเนิดของเทวีเอเธน่า ให้เทพทั้งปวงเห็นว่าเมื่อซุสทำให้เทวีเอเธน่าเกิดเองได้ เทวีก็สามารถทำให้เฮฟเฟสตุสเกิดเองได้เช่นกัน แต่ถึงกำเนิดของเทพเฮฟเฟสตุสจะเป็นประการใด ก็ต้องนับว่า เฮฟเฟสตุส เป็นเทพบุตรของ ซุส ด้วยเช่นกัน หากมีข้อควรกล่าวก็คือว่า เฮฟเฟสตุส ติดแม่มากกว่าติดพ่อ และเข้ากับแม่ทุกคราวที่พ่อแม่ทะเลาะกัน ในคราวหนึ่งซุสประสงค์จะลงโทษเทวีฮีราให้เข็ดหลาบ เอาโซ่ทองล่ามเทวีแขวนไว้กับกิ่งฟ้าห้อยโตงเตงอยู่ ดังนั้นเฮฟเฟสตุสก็เข้าช่วยเทวี พยายามแก้ไขโซ่จะให้เทวีเป็นอิสระ ซุส บันดาลโทสะจึงจับเฮฟเฟสตุส ขว้างลงมาจากสวรรคโลก
เนื่อง ด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถูกพระบิดา และมารดาทอดทิ้ง Hephaestus ใช้เวลาช่วง 10 ปีแรกอยู่ในทะเล และได้สร้างโรงหล่อไว้ใต้ภูเขา Aetna มี Cyclops เป็นคนงาน โดยสิ่งที่พระองค์สร้างขึ้น มีดังนี้ อาวุธของ Achilles,Aeneas คทาของ Agamemnon, สร้อยคอของ Harmonia ซึ่งผู้สวมใส่จะประสบเคราะห์ร้าย, โล่ของ Heracles
เทพีอโฟรไดท์
อโฟรได ท์ เป็นเทพเจ้ากรีกแห่งความรัก, ความปรารถนา, และความงาม ชื่ออื่นๆ ที่เรียก “ไคพริส” (Kypris) “ไซธีเรีย” (Cytherea) ตามชื่อสถานที่ ไซปรัส และ ไซธีราซึ่งเชื่อว่าเป็นที่เกิดของอโฟรไดท์ สิ่งศักดิ์สิทธิของแอฟรอไดทีได้แก่ต้นเมอร์เติล (Myrtle), นกพิราบ, นกกระจอก และ หงส์ เทพีอโฟรไดท์เทียบได้กับเทพีวีนัส ในตำนานเทพเจ้าโรมัน
อโฟรไดท์ ทรงเป็นเทพธิดาแห่งความรักและความงาม ทั้งความรักที่บริสุทธิ์ และความรักที่เต็มไปด้วยตัณหา และความริษยา ทรงครอบครองสายคาดวิเศษที่สามารถมัดใจเทพและชายทุกคนได้ในทันที ทรงเป็นผู้ให้พรเพื่อให้ผู้มีความรักสมหวัง ในขณะเดียวกันก็ทรงสามารถที่จะทำลายความรักของผู้ที่พระนางไม่พอใจได้ใน ทันที
การ กำเนิดของอโฟรไดท์มีอยู่ 2 ความเชื่อ ความเชื่อแรกนั้นเชื่อว่าอโฟรไดท์ถือกำเนิดขึ้นจากฟองน้ำในมหาสมุทร และความชื่อที่สองเชื่อว่าอโฟรไดท์เป็นบุตรของซุสกับนางไดโอนี
คำว่า อะฟรอส เชื่อ กันว่าเมื่อครั้งที่โครนัสทำการโค่นอำนาจจากยูเรนัส โครนัสได้โยนบิดาของตนเองลงในมหาสมุทร ทำให้เกิดฟองน้ำที่มีเด็กหญิงอยู่ภายในขึ้น และหลังจากเด็กหญิงผู้นั้นเติบโต เธอก็ลอยมาติดฝั่งพาฟอส ของไซปรัส โดยมีเปลือกหอยเป็นพาหนะ อีก ความเชื่อหนึ่ง เชื่อว่าอะโฟรไดท์เป็นบุตรของซุส และไดโอนีแห่งเกาะดอโดน่า และว่าไดโอนีคือมเหสีองค์แรกของซูสก่อนที่จะสมรสกับเทพีเฮรา
เท พีอโฟรไดท์เป็นหนึ่งในเทพีที่มือชื่อเสียทางด้านชู้สาวมาก พระนางได้รับบัญชาจากซุสให้สมรสกับเทพเฮเฟตุสผู้อัปลักษณ์และพิการ ซึ่งเป็นบุตรชายของซุสกับเฮรา แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเทพและเทพีทั้งสองกลับไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เทพีอะโฟรไดท์ทรงมีความสัมพันธ์กับเทพและชายหนุ่มมากมายที่ไม่ใช่สวามีของตน เอง จนเกิดเรื่องราวนับไม่ถ้วน
หนึ่ง ในชู้รักของเทพีอะโฟรไดท์คือเทพอาเรส เทพแห่งสงครามผู้เป็นบุตรชายอีกองค์ของซุสและเฮรา เทพเฮเฟตุสได้ดัดหลังทั้งคู่ด้วยการวางกับดักตาข่ายไว้ที่เตียงนอน เมื่อถึงเวลาเช้าที่อาเรสจะหลบออกไปจากห้องบรรทมของอะโฟรไดท์ ทั้งเทพอาเรส และเทพีอะโฟรไดท์จึงรู้ตัวว่าติดกับดัก และต้องทนอับอายต่อการที่ถูกเทพทั้งมวลมองดูร่างเปลือยเปล่าของทั้งคู่อยู่ เป็นเวลานาน
นอกจากอาเรสแล้ว อะโฟรไดท์ยังมีชายชู้อีกหลายคนรวมถึง อะโดนิส และเฮอร์เมสด้วย อะโฟรไดท์ มีบุตรกับอาเรส 3 องค์ คือ อีรอส หรือ คิวปิด ผู้เป็นกามเทพ, แอนตีรอส ผู้เป็นเทพแห่งรักที่ไม่สมหวัง การรักตอบ และเป็นผู้ลงโทษผู้ที่ดูถูกความรัก, ฮาร์โมเนีย หรือ เฮอร์ไมโอนี่ ผู้เป็นเทพีแห่งความปรองดอง บุตรของอะโฟรไดท์กับเฮอร์เมส มี 1 องค์ คือ เฮอร์มาโฟรไดตุส ซึ่งเป็นเทพผู้คุ้มครองเพศที่ 3
นอกจากนี้อะโฟรไดท์ยังมีบุตรเจ้าชายแอนคีซีสแห่งโทรจันซึ่งเป็นมนุษย์ 1 คน คือ อีเนียส ผู้เป็นกำลังสำคัญในสงครามแห่งทรอย
อะโฟรไดท์ เป็นเทพีที่มีความเกี่ยวข้องกับตำนาน เรื่องเล่า และมหากาพย์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นมหากาพย์โอดิสซีย์ และอีเลียด ตำนานดอกกุหลาบ ตำนานดอกนาซิสซา ฯลฯ
ใน มหากาพย์อีเลียด ของโฮเมอร์ อะโฟรไดท์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสงครามแห่งทรอย นางได้ทำให้ปารีสหลงรักเฮเลน ผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลกซึ่งเป็นมเหสีของกษัตริย์เมเนลาอุส ทำให้ชาวกรีกทั้งหลายมุ่งหน้าไปยังทรอยเพื่อชิงตัวเฮเลนคืนมา
ส่วน ใหญ่แล้วกวีจะมอบบทบาทของหญิงสาวขี้อิจฉาที่ไร้เหตุผลให้กับอะโฟรไดท์ นางเป็นผู้ลบปัญหาออกจากสมองของนักปราชญ์ บันดาลให้เกิดความรักที่บ้าคลั่งและเป็นไปไม่ได้ นำความทุกข์ใหญ่หลวงมาสู่คู่รักที่นางไม่โปรดปราน ซึ่งหนึ่งในนั้นคืออีรอสลูกชายของนางกับไซคี
อย่าง ไรก็ตามในมหากาพย์อีเลียด ของโฮเมอร์ เทพีอะโฟรไดท์เป็นเทพีที่อ่อนแอและนุ่มนวล ซึ่งไม่สามารถทนดูบุตรอานิอัสบุตรชายของตนถูกฆ่าตายในสงครามแห่งทรอยได้ จนไปขอความช่วยเหลือจากซุสเพื่อให้ซุสให้พรกับบุตรชายของนาง ซึ่งซุสก็ได้ให้พรให้อานิอัสได้เป็นบิดาของชนชาติที่จะครองโลก ซึ่งก็คือชนชาติอิตาเลี่ยน
เทพีอธีนา
เท พีอธีนา หนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซูส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อจู่ ๆ ซูสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮฟเฟสตุส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอกกระโดดออกมา เทพีอธีนาเป็นธิดาของเทพีมีธิส ซึ่งถูกซูสกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่ยังมีครรภ์แก่ เนื่องจากคำทำนายที่ว่าบุตรที่เกิดจากนางจะเป็นผู้โค่นบัลลังก์ของซูส แต่แม้ว่าอธีนาจะถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายนั้น พระนางก็เป็นหนึ่งในลูกรักของของซูส ว่ากันว่าฮีราอิจฉาอธีนาที่ถือตัวว่าเป็นผู้กำเนิดมาจากซูสโดยตรง
และ นอกจากอธีนาจะเป็นเทพีแห่งปัญญาแล้ว ยังเชื่อกันว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนางมักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์และหอกที่มือซ้าย และถือไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา โดยที่ชื่อกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ ก็มีที่มาจากพระนามของนาง ชื่อเต็มของอธีนาคือ พัลลัสอธีนา (Pallas Athena) ซึ่งชื่อพัลลัส มาจากเพื่อนมนุษย์ของอธีนาซึ่งเธอพลั้งมือสังหารไปขณะเล่นด้วยกัน จึงได้นำชื่อของพัลลัสมาใส่นำหน้าเพื่อเป็นที่ระลึก อธีนาเป็นตัวแทนของสงครามที่เอาชนะด้วยกลยุทธหรือความถูกต้อง ซึ่งต่างจากแอรีสที่เป็นเทพสงครามที่ใช้กำลังมากกว่า
นอก จากนี้ อธีนา ยังเป็นหนึ่งในสามเทพีพรหมจรรย์ด้วย ซึ่งประกอบด้วย พระนาง, อาร์เทมีส เทพีแห่งดวงจันทร์ และเฮสเทีย เทพีแห่งครัวเรือน
พระองค์พำนักอยู่ ณ Acropolis แห่ง Athensต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์คือต้นมะกอก
ตาม ตำนานกรีกเล่าว่า ที่มาของชื่อเมืองเอเธนส์ (Athens) นั้น มาจากการที่ชาวกรีกจะตั้งชื่อเมืองแต่ไม่รู้จะใช้ชื่ออะไร โพไซดอน เทพแห่งมหาสมุทร ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของอธีนา ใช้ตรีศูลอาวุธของตนสร้างม้าขึ้นมา ชาวเมืองต่างพากันชื่นชมม้าเป็นอันมาก แต่เทพีอธีนาได้เนรมิตมะกอกขึ้นมา ซึ่งสามารถใช้ผลเป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มะกอก ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ในขณะที่ม้าเป็นสัญลักษณ์ของสงคราม ชาวเมืองจึงตกลงใช้ชื่อเมืองว่า เอเธนส์ ตามชื่อของพระนาง และมะกอกก็กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของกรีซมาจนปัจจุบัน
นอก จากนั้นยัง เป็นผู้ให้บังเหียน Pegasus แก่ Bellerophon, เป็นผู้ช่วย Perseus ฆ่า Medusa, สอน Argus ให้ต่อเรือ Argo, สอน Danaus ให้ต่อเรือรบสองหัว, ช่วย Epeius สร้างม้าไม้ เพราะเป็นผู้อยู่ฝ่ายกรีกในสงครามกรุง Troy, ให้ฟันมังกรแก่ Cadmus เพื่อนำไปหว่านบนพื้นดิน, ช่วยเหลือวีรบุรุษต่างๆ ในโอกาสต่างๆ อีกมาก เช่น Heracles หรือ Odysseus ถือได้ว่าพระนางเป็นเทพีที่เต็มเปี่ยมไปด้วยสติปัญญาและความสามารถ
เทพอพอลโล
บุตร ชายคนโตของมหาเทพซีอุส และนางเลโต เป็นเทพแห่งแสงสว่าง หรือเทพแห่งดวงอาทิตย์ รวมถึงเป็นเทพแห่งสัจจะและการดนตรีด้วย อพอลโลมีพี่สาวฝาแฝดชื่อ อาร์เทมีส หรือ ไดอาน่า (ในโรมัน) ซึ่งเป็นเทพีแห่งดวงจันทร์คู่กัน อพอลโลเป็นเทพที่ชาวกรีกถือว่ามีรูปงามยิ่ง และเป็นนักดนตรีผู้ขับกล่อมเทพทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ด้วยพิณถือของเธอ นอกจากนี้เธอยังมีคันธนูซึ่งยิงได้ไกล จึงได้สมญานามว่า เทพขมังธนู ใช่แต่เท่านั้นเมื่อไร เธอยังเป็นเทพผู้ถ่ายวิชาโรคศิลป์ ให้แก่มนุษย์เป็นปฐม เป็นเทพแห่งแสงสว่างผู้ขจัดความมืดและเป็นเทพแห่ง สัจธรรมผู้ไม่เคยเอ่ยวาจาเท็จอีกด้วย
นอก จากนี้แล้ว อพอลโลยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ฟีบัส (Phoebus) อาเบล (Abel) ไพธูส (Pytheus) หรือ เฮลิออส (Helios) ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายถึง แสงสว่างทั้งสิ้น
ตาม เรื่องต่าง ๆ ที่เธอมีบทบาทอยู่ อพอลโลดูจะเป็นเทพใจสูงกว่าองค์อื่น ๆ แต่ถึงกระนั้นก็มีอยู่ 2-3 เรื่อง ที่แสดงให้เห็นความโหดเหี้ยมดุร้ายของเธอ อย่างการที่เทพอพอลโลได้สำแดงวีรกรรมสังหารผลาญชีวิตคนพาลมากมาย นอกจากเคยฆ่างู ยักษ์ไพธอนจนมีชื่อ เสียงมหาศาลแล้ว ยังสามารถสังหารยักษ์ อโลอาดี (Aloadae) และ อีฟิอัลทิส(Ephialtes) ซึ่งเป็นเชื้อสายของ วงศ์ไทแทนคิดล้มซูสเทพบดีเพื่อฟื้นวงศ์ไทแทนคืนมา เป็นต้น แต่มีครั้งหนึ่งที่อพอลโลยังไม่อาจเอาชนะมนุษย์ คนหนึ่งได้จนร้อนถึงไท้เทพซูสต้องออกมาประนีประนอม บุรุษเดินดินคนนั้นนามว่า เฮอร์คิวลิส หรือ เฮลาคลิสนั่นเอง เหตุเกิดเพราะเฮอร์คิวลิสไปขอคำพยากรณ์ที่วิหารเดลฟีแล้ว ได้รับคำทำนายไม่ถูกใจ จึงล้มโต๊ะ พิธีใน วิหารแล้วฉวยเอากระถางธูปไป เทพอพอลโลรีบรุดตามไปท้าเล่นมวยปล้ำเพื่อชิงเอากระถางคืน ปล้ำกันอยู่ นานไม่อาจรู้แพ้ชนะ ซูสเห็น ท่าว่าขืนปล่อยไว้นานอพอลโลอาจจะเสียเปรียบพ่ายแพ้แก่มนุษย์เข้าได้ และ อาจเสียหน้าวงศ์เทพแน่ จึงเสด็จลงไปห้ามปรามให้เลิกราต่อกัน ขอให้เฮอร์คิวลิสคืนกระถางธูปแก่อพอลโล แล้วให้ เลิกราเรื่องบาดหมางต่อกัน เรื่องราวก็เลยจบลงด้วยดี
เท พอพอลโลมีอุปนิสัยไม่ยอมแพ้ใครอยู่ไม่น้อย เห็นได้จากที่ไปแข่งเป่าขลุ่ยกับมาไซยาส์ซึ่งเป็นเทพชั้นรอง แล้วตั้งกรรมการตัดสินว่าผู้ใดเป่าเก่งกว่ากัน พระเจ้าไมดาส (Midas องค์ที่จับอะไรก็กลายเป็นทอง) เกิดตัดสินเข้าข้างมาไซยาส์ เพียงเท่านี้ อพอลโลก็ไม่ฟังอะไรอีก จึงสาปให้ไมดาสมีหูเป็นลาไปทันที
ปัจจุบัน อพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่างๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น
อพอ ลโลเป็นเทพที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ณ เมืองเดลฟี ใกล้ทิวเขาพาร์นาซัส ที่มีชื่อว่า เทวรูปโคโลซัส(Colosus) นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็น สัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์
อา ร์เทมิส (Artemis)หรือในภาคโรมันคือไดอานา (Diana)คือเทพเจ้าแห่งการล่าสัตว์ เทพีแห่งดวงจันทร์ และเป็นเทพีแห่งความรักทางใจ ตำนานการกำเนิดกล่าวว่าเป็นธิดาฝาแฝดของเทพซุสกับนางอัปสร ลีโต(Leto) หรือ แลโตนา (Latona) มีพี่ชายร่วมอุทรคือ เทพอพอลโลซึ่งเป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ และการดนตรี
เทพ ฝาแฝดทั้งสองถูกปองร้ายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพราะเทพีเฮราซึ่งเป็นมเหสีเอกของเทพซุสเกลียดชังชายาน้อยของสวามีจึงลามไป ถึงบุตรที่เกิดจากอนุเหล่านั้นด้วย เมื่อรู้เรื่องของนางลีโต พระนางจึงสาปแช่งนางลีโตว่าจะไม่สามารถคลอดบุตรบนแผ่นดินใดได้ อีกทั้งยังส่งงูร้าย ไพธอน (Python)ตามฉกกัดนางลีโตตลอดเวลา นางลีโตประสบเคราะห์กรรมอย่างน่าสงสารเพราะไปที่ใดก็ไม่มีใครต้อนรับด้วย กลัวเกรงอาญาของเทพีเฮรา ทั้งต้องหลบหนีงูร้ายจนอยู่ไม่เป็นสุข และเทพซุสก็กลัวเทพีเฮราเกินกว่าจะช่วยเหลือนางลีโตกับบุตรในครรภ์
กระทั่ง ครบกำหนดครรภ์ นางลีโตเจ็บปวดทุกข์ทรมานปางตายเพราะไม่อาจคลอดบุตรได้ ทำให้เทพโพไซดอนเกิดความสงสาร จึงบันดาลเกาะดีลอส (Delos)ให้โผล่ขึ้นกลางทะเล ไม่ติดต่อกับแผ่นดินใด นางลีโตจึงพ้นคำสาป จนกระทั่งสามารถประสูติเทพฝาแฝด เทพอพอลโล และเทพีอาร์เทอมิส ออกมาอย่างปลอดภัย
ทันที ที่ประสูติออกจากครรภ์ เทพอะพอลโลก็ฆ่างูไพธอนตาย จนได้นามอีกว่า ไพธูส เมื่อเทพทั้งสองประสูติ เทพบิดาซุสจึงอัญเชิญเทพทั้งสองขึ้นเป็นเทพบนเขาโอลิมปัส และคลายความหมางใจระหว่างเทพีเฮรากับเทพฝาแฝดจนเป็นผลสำเร็จ
เท พอพอลโลถูกสถาปนาขึ้นเป็นสุริยเทพ คุมรถม้าพระอาทิตย์รอบโลกให้แสงสว่างแก่มวลมนุษย์ในเวลากลางวัน ส่วนเทพีอาร์เทมีสถูกสถาปนาเป็นจันทราเทวี คุมรถม้าเงินพระจันทร์ ให้แสงสว่างนำทางมวลมนุษย์ในยามกลางคืน ทั้งสองฝาแฝดรักใคร่กันมากและมีความชำนาญในด้านขมังธนูเช่นเดียวกัน โดยธนูของเทพอพอลโลจะแม่นยำร้อนแรงดังแสงอาทิตย์ ผิดกับเทพีอาร์เทมีสซึ่งปลิดชีพผู้ต้องศรอย่างนุ่มนวลราวแสงจันทร์ จนดูคล้ายกับคนที่นอนหลับไปเท่านั้น
เท พีอาร์เทมีสมีชีวิตโลดโผนกว่าเทพีองค์อื่น เพราะทรงโปรดการล่าสัตว์และชอบชีวิตโสด จนเทพซุสประทานนางอัปสรผู้ไม่ต้องการแต่งงานจำนวน 50 ให้เป็นบริวาร สาเหตุที่พระนางไม่ต้องการมีความรัก ก็เพราะมีความหลังฝังใจจากที่นางลีโตต้องทรมานกับการคลอดบุตร และในเวลาที่ประสูติเทพีอาร์เทมิสก็ซึมซับความรู้สึกนั้นได้ พระนางจึงไม่เชื่อในความรักและไม่ต้องการคู่ครอง เทพีอาร์เทมีสวิงวอนให้เทพซุสสาบานว่าจะไม่จับคู่สมรสให้พระนางหรือให้พระ นางสมรสไม่ว่ากรณีใด และให้พระนางเป็นเทพีผู้ครองพรหมจรรย์ ซึ่งเทพซุสก็สาบานโดยให้แม่น้ำสติกซ์ซึ่งไหลรอบนรกเป็นพยาน (การสาบานต่อแม่น้ำสติกซ์มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ใดผิดคำสาบานไม่ว่ามนุษย์หรือเทพเจ้าจะประสบเคราะห์กรรมอย่างร้ายแรง)
ตำนาน ความรักของเทพีอาร์เทมิสนั้นมีอยู่สองตำนาน ตำนานแรกคือตำนานของกรีกซึ่งเกี่ยวกับกลุ่มดาวนายพรานซึ่งสุกสว่างอยู่บน ท้องฟ้าในยามกลางคืน ส่วนอีกตำนานหนึ่งคือตำนานของโรมันซึ่งกล่าวถึงเอนดิเมียน ชายหนุ่มเลี้ยงแกะรูปงาม
ใน ตำนานของกรีกนั้นกล่าวว่าเทพีอาร์เทมิสทรงสาบานตนเป็นเทพีพรหมจารีย์ร่วมกับ อะธีน่าและเฮสเทียต่อหน้าแม่น้ำสติกซ์ นางชิงชังชีวิตสมรส ความรัก และการยุ่งเกี่ยวกับผู้ชาย แต่สิ่งหนึ่งที่เทพีอาร์เทอมิสไม่ปฏิเสธคือการมีสหายเป็นชายที่รักการล่า สัตว์เช่นเดียวกับพระนาง
สหาย สนิทของเทพีอาร์เทอมิสมีนามว่าโอไรออน เขาเป็นนายพรานผู้ฉมังในการล่าสัตว์ มีสุนัขคู่ใจชื่อว่าซิริอุส ทุกๆ วันเทพีอาร์เทมิสและสหายจะร่วมกันล่าสัตว์และพูดคุยกันอย่างสนุกสนานหลังจาก ล่าสัตว์เสร็จ
เท พีอาร์เทมิสหลงรักนายพรานหนุ่มและคิดที่จะสละความเป็นเทพีพรหมจารีย์เพื่อ แต่งงานกับอไรเอิน อพอลโล่รู้ถึงความคิดนี้เข้าและกลัวว่าอาร์เทอมิสจะต้องรับโทษจากการผิดคำ สาบานต่อหน้าแม่น้ำสติกซ์ จึงวางแผนที่จะล้มเลิกความคิดของน้องสาวฝาแฝด
อพอ ลโล่สั่งให้โอไรออนเดินลุยน้ำทะเลไปยังเกาะแห่งหนึ่งกลางทะเล และเมื่อโอไรออนเดินไปถึงยังจุดที่ไกลจนเมื่อมองจากเกาะดีลอสแล้วจะเห็น เพียงศีรษะของโอไรออนที่มองดูเหมือนกับเกาะกลางน้ำ เทพอพอลโล่ก็ชวนเทพีฝาแฝดมาล่าสัตว์แข่งกัน และท้าพนันให้อาร์เทมิสยิงธนูทะลุเกาะกลางทะเลที่อพอลโล่ชี้ให้ดูให้ได้
อาร์ เทมิสตกหลุมพรางของเทพฝาแฝด เหนี่ยวสายธนูเต็มแรงจนลูกธนูทะลุศีรษะของโอไรออนถึงแก่ความตาย เมื่ออาร์เทมิสทราบว่าตนได้ฆ่าชายที่รักลงด้วยน้ำมือของตนเองแล้ว พระนางก็ได้นำศพของอไรเอินและซิริอุสสุนัขคู่ใจขึ้นไปไว้บนท้องฟ้าในตำแหน่ง ของกลุ่มดาวนายพราน และดาวสุนัขใหญ่
เทพไดโอโนซัส
ใน ตำนานเทพเจ้ากรีก “ไดอะไนซัส” เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์ ผู้เป็นแรงบันดาลใจของความประเพณีความคลั่งและความปิติอย่างล้นเหลือ (ecstasy) และเป็นเทพองค์ล่าสุดในสิบสองเทพโอลิมปัส ที่มาของไดอะไนเซิสไม่เป็นที่ทราบ แต่ตามตำนานว่าได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ
เทพ ไดโอไนซัสเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า แบคคัส เทพแห่งเมรัย และไวน์องุ่น เป็นบุตรของเทพซูสกับนางซิมิลี่ ซึ่งเป็นมนุษย์ ธิดาแห่งกรุงเธป เทพซูสได้แปลงกายเป็น มนุษย์รูปงามลงมาโลกมนุษย์ เพราะเกรงว่ามเหสี พระนางเฮร่า จะรู้เข้า และกลัวว่านางซิมิลี่จะเกรงกลัวในรัศมีของพระองค์ และในที่สุด ก็ได้นางเป็นชายาอีกองค์ แต่แล้ว พระนางเฮร่า ก็รู้เข้า จึงได้แปลงกายมาเป็นคนรับใช้ของนางซิมิลี่ มาหลอกล่อให้นางอยากเห็นรูปร่างที่แท้จริงของเทพซุส
นาง ซิมิลี่ จึงได้ให้เทพซุสในรูปมนุษย์ ไปสาบานกับแม่น้ำสติ๊กซ์ ว่าจะให้ของขวัญแก่นาง แล้วนางซิมิลี่ ก็ให้เทพซุสเปลี่ยนร่างที่แท้จริงออกมา พระองค์เกรงว่า ถ้าให้นางเห็นร่างที่แท้จริงของพระองค์ จะทำให้นางซิมิลี่มอดไหม้ เพราะ รัศมีของพระองค์ จึงบอกแก่นางซิมิลี่ว่า จะดูแลลูกในครรภ์ของนาง ส่วนนางก็จะได้รับของขวัญสมใจ แล้วพระองค์ก้ได้ เปลี่ยนร่างเป็นเทพซูส นางซิมิลี่ก็มอดไหม้ไป แต่บุตรของนางไม่เป็นอะไรเพราะ เป็นบุตรแห่งเทพ จากนั้น เทพซูส จึงได้ให้พวกนิมฟ์ล นางไม้ ดูแลเทพไดโอไนซัส พวกนิมฟ์ล ได้สอนให้เทพไดโอไนซัสปลูกพืชต่างๆโดยเฉพาะองุ่น ต่อมาพระองค์ได้ทดลองนำองุ่นไปหมักเอาไว้ และก็ได้ค้นพบ นำองุ่นที่รสชาติดีอย่างประหลาด ที่ยิ่งดื่ม ยิ่งมึนเมา ยิ่งอยากดื่ม ยิ่งสนุกสนาน พระองค์จึงได้เผยแพร่การทำไวน์องุ่นไปทั่วแดน และต่อมา เทพซูส ได้รับพระองค์ไปเป็นเทพโอลิมปัสอีกพระองค์ (เทพไดโอไนซูส และเทพีดิมีเตอร์ เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ ที่ชาวกรีกและโรมันให้ความเคารพบูชายิ่งนัก)
ได อะไนเซิสผู้เป็นเทพของการเกษตรกรรม และการละคร นอกจากนั้นก็ยังรู้จักกันในนามว่า “ผู้ปลดปล่อย” (Liberator) ที่ปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ หรือด้วยเหล้าองุ่น หน้าที่ของไดอะไนเซิสคือเป็นผู้สร้างดนตรีออโลส (aulos) และยุติความกังวล นักวิชาการถกกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไดอะไนเซิสกับ “คตินิยมเกี่ยวกับวิญญาณ” และความสามารถในการติดต่อระหว่างผู้ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้ว
12 เทพเจ้าแห่งยอดเขาโอลิมปัส
[IMG]