credit : claim / Dek D
ไปแล้ววววววววววแมลงสาบ ! ตีมันนนนนนนนน
แมลงสาบ(cockroach) คือแมลงชนิดหนึ่ง โดยชื่อภาษาอังกฤษนั้นมีที่มาจากภาษาละติน ส่วนชื่อไทยนั้นคำว่าสาบ หมายถึง กลิ่นเหม็นสาบ เหม็นอับนั่นเอง แมลงสาบนั้น โดยทั่วไปที่รู้จักกันดีจะเป็นสายพันธุ์ Periplaneta americana ซึ่งสายพันธุ์นี้มีลำตัวยาวประมาณ 3 เซนติเมตร แมลงสาบอยู่ในวงศ์ Blattidae ส่วนแมลงสาบไทยหรือแมลงสาบในสายพันธุ์เอเชียจะอยู่ในวงศ์ Blattella asahinai ซึ่งมีความยาวลำตัวประมาณ 2 เซนติเมตรขึ้นไป
1. ไข่แมลงสาบ
แมลงสาบ วางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละหลายฟอง และจะเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มด้วยสารเหนียวมีลักษณะเป็นแคปซูล หรือกระเปาะ รูปร่างเหมือนเมล็ดถั่ว (ootheca) รูปร่างลักษณะของแคปซูลจะแตกต่างกับไปไม่แน่นอนแล้วแต่ชนิดของแมลงสาบ แมลงสาบบางชนิดจะนำกระเปาะไข่ติดตัวไปด้วยจนไข่ใกล้จะฟักจึงปล่อยออกจากลำตัว แต่บางชนิดอาจมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (parthenogenesis) ก็ได้ ลักษณะการวางไข่ของแมลงสาบแตกต่างกัน บางชนิดจะวางไข่ตามซอกมุมหรือในดิน หรืออาจจะวางติดกับฝาผนังบ้าน หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
แมลงสาบหนึ่งตัว สามารถวางไข่กี่ฟองในชั่วชีวิตของมัน โดยเฉลี่ยแล้วแมลงสาบมีอายุ 180 วัน มันวางไข่เป็นกระเปาะ กระเปาะละ 30-40 ฟอง โดยชั่วชีวิตของมันจะออกได้ 6-8 ล็อก เมื่อคำนวณดูพบว่าแมลงสาบตัวเมียหนึ่งตัวสามารถกำเนิดลูกถึง 180 – 320 ตลอดชั่วชีวิตของมัน นับว่าเป็นแมลงที่ลูกดกจริงๆ
2. แมลงสาบ ต้นเหตุทำให้โลกร้อน
ข้อมูลนี้เป็นเรื่องจริง จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแมลงสาบผายลมออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ยทุก 15 นาที หลังจากมันตายมันก็ปล่อยก๊าซมีเทนถึง 18 ชั่วโมง จากสถิติพบว่าผายลมที่แมลงปล่อยมีมากถึง 20 % ของการปล่อยก๊าซมีเทนทั้งหมดในโลก ด้วยเหตุนี้ทำให้แมลงสาบขึ้นบัญชีดำว่าเป็นตัวการใหญ่ที่ทำให้เกิดโลกร้อนอย่างแท้จริง(นอกจากนี้ยังมีตัวการอีกชนิดคือปลวก ซึ่งปลวกทุกตัวจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เพราะการกัดกินไม้ทำให้เกิดก๊าซขึ้นในกระเพาะ มันจึงผายลมออกมา)
3. ทำไมแมลงสาบตายมันจึงหงายท้อง?
แมลงสาบป่า เป็นอาหารชั้นดีสำหรับนกและสัตว์ตัวเล็กๆอื่นๆ แต่เมื่อแมลงสาบมาอาศัยบ้านเรานั้น แน่นอนเรากินมันไม่ได้ ดังนั้นการกำจัดแมลงสาบคือการใช้เท้ากระทืบหรือเอาอะไรสักอย่างทับให้ไส้แตก และวิธีที่ฮิตที่สุดคือการใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่น แต่คุณเคยสังเกตไหมว่าทำไมเมื่อแมลงสาปโดนสารฆ่าแมลงนี้เข้าไป ทำไมมันจึงหงายท้องก่อนตาย
ความจริงแล้ว แมลงสาบในธรรมชาติส่วนน้อยเท่านั้นที่หงายหลังตาย เพราะโดยทั่วไปแมลงสาบมักเป็นอาหารแก่สัตว์ต่างๆ ก่อนที่มันจะตายนั้นเอง
แต่เมื่อแมลงสาบมาอยู่บ้านมนุษย์ แมลงสาบไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออาศัยอยู่บนพื้นผิวเรียบๆลื่นๆ และโล่งๆ โครงสร้างร่างกายของมันส่วนใหญ่สร้างมาเพื่ออาศัยอยู่ในพื้นที่ขรุขระ มีเศษวัสดุอย่าง เช่น ใบไม้กิ่งไม้ กระจัดกระจายไปทั่ว เมื่อมันมาอาศัยอยู่ในบ้าน ซึ่งมีแต่พื้นเรียบๆลื่นๆ และโล่งๆ จากก็จะทำให้มันมีโอกาสมากที่จะพลิกกลับลำตัวไม่ได้ เมื่อเผอิญหงายท้องไป ดังนั้นอาจบอกได้ว่า บ้านใครที่สะอาดๆ แมลงสาบมีโอกาสจะตายเองมากกว่า
ส่วนกรณีที่ว่าทำไมแมลงสาปโดนสารฆ่าแมลงนี้เข้าไป ทำไมมันจึงหงายท้องก่อนตาย เนื่องด้วยสารฆ่าแมลงส่งผลผลต่อระบบประสาทของแมลงสาบ โดยไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Cholinesterase เอนไซม์ชนิดนี้เป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่สลาย Acetylcholine (ACh) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท เมื่อเอนไซม์ไม่ทำงาน มี ACh มากเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอัมพาต ขาของแมลงสาบจะงอเข้าหากัน เกิดเป็นความไม่สมดุล และทำให้แมลงสาบหงายท้องตายนั้นเอง
4. แมลงสาบอินเตอร์
คำว่าแมลงสาบมาจากภาษาสเปนคำว่า Cucaracha ส่วนภาษาอังกฤษแรกเริ่ม(ปี 1624) เขียนว่า Cacarootch แต่กระนั้นแมลงสาปนั้นมีอยู่ทั่วโลก ทุกทวีป ทั่วประเทศ จึงไม่น่าแปลกที่มันมีคำเรียกหลายภาษา
ตัวอย่างคำเรียกในแต่ละภาษา
A) บัลแกเรีย: хлебарка f
B) จีน: 蟑螂 (zhang1 lang2)
C) ดัทช์: kakkerlak m
D) ฮีบรู: צוק m (jook)
E) ญี่ปุ่น: ゴキブリ (gokiburi)
F) มองโกเลีย: жоом (joom)
G) รัสเซีย: таракан m (tarakan)
H) สวีเดน: kackerlacka
I) ตุรกี: hamam böceği
J) อูรดู: جهنگ
5. เสียงของแมลงสาบมาดากัสการ์
แมลงสาบไม่ใช่ทุกพันธุ์ที่จะบินได้ เช่น แมลงสาบมาดากัสการ์เป็นแมลงสาบที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาแมลงสาบด้วยกัน ชื่อสามัญว่า “Madagascan Giant Hissing Cockroach” ที่มาของชื่อเนื่องจากมันชอบร้องเสียงดังในระหว่างการผสมพันธุ์ และเมื่อมันถูกรบกวน หรือต้องการสื่อสารกับพวกให้รู้ถึงอันตราย
อย่างที่บอกคือความสามารถพิเศษแมลงสาบมาดากัสการ์คือเสียง โดยตัวเต็มวัยของทั้งสองเพศและตัวอ่อนในระยะหลังสามารถทำเสียงได้ เสียงนั้นคล้ายเสียงขู่ของงู (hissing sound) อวัยวะที่ให้กำเนิดเสียงของแมลงสาบชนิดนี้อยู่ที่รูหายใจ (spiracle) จากด้านข้างของท้องปล้องที่ 4 ทั้งสองข้าง แมลงสาบยักษ์ทำเสียงเพื่อใช้ในการเกี้ยวพาราสีก่อนผสมพันธุ์ แมลงสาบเพศผู้อาจใช้เสียงขู่เพื่อไล่ตัวผู้อื่นๆเพื่อแย่งตัวเมีย นอกจากนี้เสียงขู่ยังใช้สำหรับป้องกันตัวเองจากศัตรูธรรมชาติ
6. แมลงสาบหัวขาด
ด้วยลักษณะโครงสร้างของแมลงสาบ ทำให้มันค่อนข้างทนทานกับแรงกระแทกและอื่นๆอีกมากมาย บางครั้งก็เอาของหนักวางทับมัน มันก็ไม่ตาย และที่อึดยิ่งกว่านั้น คือ หัวขาดแล้วยังมีชีวิตอยู่ได้เป็นอาทิตย์ ซึ่งน่าแปลกมากทำไมแมลงสาปโดนตัดหัวแล้วไม่ตาย แต่ในขณะที่มนุษย์โดนตัดหัวถึงตาย
นักวิทยาศาสตร์ได้ให้คำอธิบายว่าเปรียบเทียบระหว่างคนและแมลงสาปโดนตัดหัวว่า คนเรานั้นเมื่อโดนตัดหัวจะเสียชีวิตทุกรายเพราะเสียเลือดแรงดันเลือดต่ำลง ทำให้ไม่สามารถส่งออกซิเจนและสารอาหารเดินทางไปเลี้ยงเนื้อเยื่อในส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ อีกประการหนึ่ง คนหายใจทางปากและจมูก มีสมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานที่สำคัญ เมื่อไม่มีศีรษะระบบหายใจก็หยุดทำงาน และไม่มีช่องทางสำหรับอาหารเข้าสู่ร่างกาย
แต่ระบบร่างกายของแมลงสาบไม่ได้เป็นอย่างนั้น แมลงสาบไม่มีแรงดันโลหิตเหมือนคน มันไม่มีเครือข่ายเส้นเลือด หรือเส้นเลือดฝอยเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียน แมลงสาบใช้ระบบเส้นเลือดไหลเวียนแบบเปิด ซึ่งมีแรงดันโลหิตน้อยมาก
หลังจากแมลงสาบถูกตัดหัวขาดแล้ว แผลที่คอจะสมานอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดไม่ไหลทะลักออกจนตาย แมลงสาบยังหายใจผ่านทางท่อหายใจขนาดเล็กที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่จำเป็นต้องใช้สมองควบคุมการหายใจ และเลือดไม่ได้เป็นตัวลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกาย แต่เนื้อเยื่อต่อตรงเข้ากับท่อหายใจโดยตรง
แมลงสาบยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สัตว์เลือดเย็น หมายความว่า กินอาหารน้อยกว่ามนุษย์ ดังนั้น ถ้ามันได้กินอาหารสักมื้อ มันสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้หลายสัปดาห์ ตราบใดที่มันไม่ถูกสัตว์นักล่าสวาปาม แค่มันทำตัวนิ่งเฉย ไม่เดินเพ่นพ่านให้ติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือไวรัส มาปลิดชีพ
นอกจากนี้ อวัยวะแต่ละส่วนของแมลงสาบยังมีกลุ่มเนื้อเยื่อประสาทเฉพาะของตัวเอง คอยตอบสนองระบบประสาทพื้นฐาน ถึงจะไม่มีสมองร่างกายของมันยังทำงานพื้นๆ ได้ เช่น ยืน และขยับตัวได้เมื่อถูกแตะ และไม่ใช่แต่ลำตัวเท่านั้นที่แสดงปฏิกิริยาตอบสนองได้ แม้แต่หัวที่ขาดกระเด็นออกมาจากร่างกาย ยังสามารถขยับหนวดไปมาได้หลายชั่วโมงจนกว่าพลังงานหมด หรือถ้าเอาสารอาหารป้อนแล้วไปเลี้ยงในตู้เย็น หัวแมลงสาบยังขยับได้อีกนาน
7. แมลงสาบ ตัวการโรคภูมิแพ้
แมลงสาบเป็นตัวก่อโรคสำคัญหนึ่งของมนุษย์ คือโรคภูมิแพ้ โดยแมลงสาบจะปล่อยสารคัดหลั่งจากตัว ไม่ว่าจะเป็นอึ หรือ อะไรก็ตามที่อยู่บนตัวมัน เป็นAllergen(สารก่อภูมิแพ้)ชั้นดี ดังนั้น เด็กที่อยู่บ้านสกปรกก็อาจจะเป็นภูมิแพ้ได้ง่าย ซึ่งภูมิแพ้นี้ถ้าเป็นเรื้อรัง จะมีโอกาสพัฒนาไปสู่การเป็นโรคหอบหืดได้
แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคแพ้แมลงสาบ (Cockroach allery) มากขึ้นเรื่อยๆ โดยพบอัตราการเกิดโรคสูงเป็นอันดับสองรองจากโรคแพ้ไรฝุ่น (แพ้ไรฝุ่นประมาณ 60% , แมลงสาบ 40%) อาการที่พบในผู้แพ้แมลงสาบ คือ หายใจไม่สะดวกหรือจับหืด (asthma) อันเนื่องมาจากการสูดดมสารแพ้ (cockroach allergens) เข้าไป ปัจจุบันนักวิจัยให้การยอมรับว่าแมลงสาบสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหอบหืด และโรคแพ้อากาศ (rhinitis)
8. แมลงสาบ เจ้าแห่งความเร็ว
มีการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความเร็วที่สุดของแมลงสาบพันธุ์อเมริกันมีความเร็ว เฉลี่ย 2.0 ไมล์ต่อชั่วโมง(75 เซนติเมตรต่อวินาที) ซึ่งหากเปรียบเทียบกับสัตว์ใหญ่สักตัวละก็ มันวิ่งเร็วพอๆกับเสือชีต้าห์!!( 110-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ด้วยโครงสร้างที่เบา อีกทั้งสรีระที่แบนๆ ทำให้มันกระจายน้ำหนักได้ดี ดังนั้นเราจึงเห็นมันวิ่งเร็วมากจนตบแทบไม่ทัน แต่กระนั้นมันก็ชอบหลงทิศหลงทาง ต้องใช้หนวดและตาในการคลำหาเส้นทาง และมันจะปล่อยสารไว้ตามทางที่มันเดินเพื่อจะได้กลับไปที่เดิมได้เร็ว ดังนั้นจึงไม่แปลกใจแต่อย่างใดหากเราจะเหยียบแมลงสาบแล้วพบว่าแมลงสาบจะวิ่งสะเปะสะปะ
9. แมลงสาบ ผู้รอดชีวิตจากสงครามนิวเคลียร์
แมลงสาบมีชื่อเสียงมานานแล้วว่า เป็นสิ่งมีชีวิตที่ทนทายาด และมีการยืนกรานแล้วว่าแมลงสาบเป็นสิ่งมีชีวิตที่รอดชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์แน่นอน แต่กระนั้นเราก็ไม่สามารถหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้เลยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น บางทีอาจเป็นเพราะเซลล์ของแมลงสาบอาจสามารถฆ่ารังสีที่เป็นตัวก่อมะเร็ง หรืออาจเป็นเพราะมันสามารถทนอยู่กับสภาพกัมมันตรังสีได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งได้
10. แมลงสาบซอมบี้
Emerald roach wasp มีชื่อไทยว่า ต่อสาบมรกต หรือ ต่อมณีรัตน์ เป็นต่อชนิดหนึ่งพบได้ในแถบแอฟริกา อินเดีย และหมู่เกาะแปซิฟิก มันจะแสวงหาแมลงซักตัวเพื่อเป็นที่พักตัวอ่อนให้กับมัน โดยเหยื่อที่มันชอบคือแมลงสาบ แม้แมลงสาบมันจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวมันหลายช่วงตัวก็ตาม ซึ่งมันก็จะเข้าไปโจมตีโดยการต่อยแล้วปล่อยสารพิษประสาทที่ชื่อOctopamine ให้แมลงสาบ ส่งผลให้แมลงสาบเป็นอัมพาตแต่ไม่สามารถจะเดินได้ด้วยตัวเอง จากนั้นต่อจะสามารถบังคับหนวดของแมลงสาบให้เดินตามมันไปยังรังของมันได้ตามต้องการอย่างว่าง่าย(คล้ายจูงหมากลับบ้าน) เมื่อเข้ารังแล้วปล่อยไข่ไว้ในตัวมันแล้วมันก็จะเด็ดกินหนวดของเหยื่อของมัน อ๊ะ! เหยื่อยังไม่ตายนะจากนั้นมันก็จะฝังแมลงสาบไว้เพื่อเป็นอาหารให้ลูกมันซึ่ง เมื่อลูกฟักจากไข่ก็จะเริ่มกินอาหารก็คือเนื้อแมลงสาบซึ่งขณะนั้นแมลงสาบไม่สามารถทำอะไรได้(แต่ดิ้นได้)ก็จะทรมานกับการถูกกินทั้งเป็นและเป็นอาหารจนตัวอ่อนโตขึ้น ซึ่งแมลงสาบก็จะเหลือแต่ซากแล้วล่ะ แล้วตัวเต็มวัยก็จะไปหาแหล่งผสมพันธุ์ แล้วมาปล่อยไข่ไว้ต่อไป
ไปแล้ววววววววววแมลงสาบ ! ตีมันนนนนนนนน
แมลงสาบ(cockroach) คือแมลงชนิดหนึ่ง โดยชื่อภาษาอังกฤษนั้นมีที่มาจากภาษาละติน ส่วนชื่อไทยนั้นคำว่าสาบ หมายถึง กลิ่นเหม็นสาบ เหม็นอับนั่นเอง แมลงสาบนั้น โดยทั่วไปที่รู้จักกันดีจะเป็นสายพันธุ์ Periplaneta americana ซึ่งสายพันธุ์นี้มีลำตัวยาวประมาณ 3 เซนติเมตร แมลงสาบอยู่ในวงศ์ Blattidae ส่วนแมลงสาบไทยหรือแมลงสาบในสายพันธุ์เอเชียจะอยู่ในวงศ์ Blattella asahinai ซึ่งมีความยาวลำตัวประมาณ 2 เซนติเมตรขึ้นไป
1. ไข่แมลงสาบ
แมลงสาบ วางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละหลายฟอง และจะเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มด้วยสารเหนียวมีลักษณะเป็นแคปซูล หรือกระเปาะ รูปร่างเหมือนเมล็ดถั่ว (ootheca) รูปร่างลักษณะของแคปซูลจะแตกต่างกับไปไม่แน่นอนแล้วแต่ชนิดของแมลงสาบ แมลงสาบบางชนิดจะนำกระเปาะไข่ติดตัวไปด้วยจนไข่ใกล้จะฟักจึงปล่อยออกจากลำตัว แต่บางชนิดอาจมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (parthenogenesis) ก็ได้ ลักษณะการวางไข่ของแมลงสาบแตกต่างกัน บางชนิดจะวางไข่ตามซอกมุมหรือในดิน หรืออาจจะวางติดกับฝาผนังบ้าน หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
แมลงสาบหนึ่งตัว สามารถวางไข่กี่ฟองในชั่วชีวิตของมัน โดยเฉลี่ยแล้วแมลงสาบมีอายุ 180 วัน มันวางไข่เป็นกระเปาะ กระเปาะละ 30-40 ฟอง โดยชั่วชีวิตของมันจะออกได้ 6-8 ล็อก เมื่อคำนวณดูพบว่าแมลงสาบตัวเมียหนึ่งตัวสามารถกำเนิดลูกถึง 180 – 320 ตลอดชั่วชีวิตของมัน นับว่าเป็นแมลงที่ลูกดกจริงๆ
2. แมลงสาบ ต้นเหตุทำให้โลกร้อน
ข้อมูลนี้เป็นเรื่องจริง จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแมลงสาบผายลมออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ยทุก 15 นาที หลังจากมันตายมันก็ปล่อยก๊าซมีเทนถึง 18 ชั่วโมง จากสถิติพบว่าผายลมที่แมลงปล่อยมีมากถึง 20 % ของการปล่อยก๊าซมีเทนทั้งหมดในโลก ด้วยเหตุนี้ทำให้แมลงสาบขึ้นบัญชีดำว่าเป็นตัวการใหญ่ที่ทำให้เกิดโลกร้อนอย่างแท้จริง(นอกจากนี้ยังมีตัวการอีกชนิดคือปลวก ซึ่งปลวกทุกตัวจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เพราะการกัดกินไม้ทำให้เกิดก๊าซขึ้นในกระเพาะ มันจึงผายลมออกมา)
3. ทำไมแมลงสาบตายมันจึงหงายท้อง?
แมลงสาบป่า เป็นอาหารชั้นดีสำหรับนกและสัตว์ตัวเล็กๆอื่นๆ แต่เมื่อแมลงสาบมาอาศัยบ้านเรานั้น แน่นอนเรากินมันไม่ได้ ดังนั้นการกำจัดแมลงสาบคือการใช้เท้ากระทืบหรือเอาอะไรสักอย่างทับให้ไส้แตก และวิธีที่ฮิตที่สุดคือการใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่น แต่คุณเคยสังเกตไหมว่าทำไมเมื่อแมลงสาปโดนสารฆ่าแมลงนี้เข้าไป ทำไมมันจึงหงายท้องก่อนตาย
ความจริงแล้ว แมลงสาบในธรรมชาติส่วนน้อยเท่านั้นที่หงายหลังตาย เพราะโดยทั่วไปแมลงสาบมักเป็นอาหารแก่สัตว์ต่างๆ ก่อนที่มันจะตายนั้นเอง
แต่เมื่อแมลงสาบมาอยู่บ้านมนุษย์ แมลงสาบไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออาศัยอยู่บนพื้นผิวเรียบๆลื่นๆ และโล่งๆ โครงสร้างร่างกายของมันส่วนใหญ่สร้างมาเพื่ออาศัยอยู่ในพื้นที่ขรุขระ มีเศษวัสดุอย่าง เช่น ใบไม้กิ่งไม้ กระจัดกระจายไปทั่ว เมื่อมันมาอาศัยอยู่ในบ้าน ซึ่งมีแต่พื้นเรียบๆลื่นๆ และโล่งๆ จากก็จะทำให้มันมีโอกาสมากที่จะพลิกกลับลำตัวไม่ได้ เมื่อเผอิญหงายท้องไป ดังนั้นอาจบอกได้ว่า บ้านใครที่สะอาดๆ แมลงสาบมีโอกาสจะตายเองมากกว่า
ส่วนกรณีที่ว่าทำไมแมลงสาปโดนสารฆ่าแมลงนี้เข้าไป ทำไมมันจึงหงายท้องก่อนตาย เนื่องด้วยสารฆ่าแมลงส่งผลผลต่อระบบประสาทของแมลงสาบ โดยไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Cholinesterase เอนไซม์ชนิดนี้เป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่สลาย Acetylcholine (ACh) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท เมื่อเอนไซม์ไม่ทำงาน มี ACh มากเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอัมพาต ขาของแมลงสาบจะงอเข้าหากัน เกิดเป็นความไม่สมดุล และทำให้แมลงสาบหงายท้องตายนั้นเอง
4. แมลงสาบอินเตอร์
คำว่าแมลงสาบมาจากภาษาสเปนคำว่า Cucaracha ส่วนภาษาอังกฤษแรกเริ่ม(ปี 1624) เขียนว่า Cacarootch แต่กระนั้นแมลงสาปนั้นมีอยู่ทั่วโลก ทุกทวีป ทั่วประเทศ จึงไม่น่าแปลกที่มันมีคำเรียกหลายภาษา
ตัวอย่างคำเรียกในแต่ละภาษา
A) บัลแกเรีย: хлебарка f
B) จีน: 蟑螂 (zhang1 lang2)
C) ดัทช์: kakkerlak m
D) ฮีบรู: צוק m (jook)
E) ญี่ปุ่น: ゴキブリ (gokiburi)
F) มองโกเลีย: жоом (joom)
G) รัสเซีย: таракан m (tarakan)
H) สวีเดน: kackerlacka
I) ตุรกี: hamam böceği
J) อูรดู: جهنگ
5. เสียงของแมลงสาบมาดากัสการ์
แมลงสาบไม่ใช่ทุกพันธุ์ที่จะบินได้ เช่น แมลงสาบมาดากัสการ์เป็นแมลงสาบที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาแมลงสาบด้วยกัน ชื่อสามัญว่า “Madagascan Giant Hissing Cockroach” ที่มาของชื่อเนื่องจากมันชอบร้องเสียงดังในระหว่างการผสมพันธุ์ และเมื่อมันถูกรบกวน หรือต้องการสื่อสารกับพวกให้รู้ถึงอันตราย
อย่างที่บอกคือความสามารถพิเศษแมลงสาบมาดากัสการ์คือเสียง โดยตัวเต็มวัยของทั้งสองเพศและตัวอ่อนในระยะหลังสามารถทำเสียงได้ เสียงนั้นคล้ายเสียงขู่ของงู (hissing sound) อวัยวะที่ให้กำเนิดเสียงของแมลงสาบชนิดนี้อยู่ที่รูหายใจ (spiracle) จากด้านข้างของท้องปล้องที่ 4 ทั้งสองข้าง แมลงสาบยักษ์ทำเสียงเพื่อใช้ในการเกี้ยวพาราสีก่อนผสมพันธุ์ แมลงสาบเพศผู้อาจใช้เสียงขู่เพื่อไล่ตัวผู้อื่นๆเพื่อแย่งตัวเมีย นอกจากนี้เสียงขู่ยังใช้สำหรับป้องกันตัวเองจากศัตรูธรรมชาติ
6. แมลงสาบหัวขาด
ด้วยลักษณะโครงสร้างของแมลงสาบ ทำให้มันค่อนข้างทนทานกับแรงกระแทกและอื่นๆอีกมากมาย บางครั้งก็เอาของหนักวางทับมัน มันก็ไม่ตาย และที่อึดยิ่งกว่านั้น คือ หัวขาดแล้วยังมีชีวิตอยู่ได้เป็นอาทิตย์ ซึ่งน่าแปลกมากทำไมแมลงสาปโดนตัดหัวแล้วไม่ตาย แต่ในขณะที่มนุษย์โดนตัดหัวถึงตาย
นักวิทยาศาสตร์ได้ให้คำอธิบายว่าเปรียบเทียบระหว่างคนและแมลงสาปโดนตัดหัวว่า คนเรานั้นเมื่อโดนตัดหัวจะเสียชีวิตทุกรายเพราะเสียเลือดแรงดันเลือดต่ำลง ทำให้ไม่สามารถส่งออกซิเจนและสารอาหารเดินทางไปเลี้ยงเนื้อเยื่อในส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ อีกประการหนึ่ง คนหายใจทางปากและจมูก มีสมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานที่สำคัญ เมื่อไม่มีศีรษะระบบหายใจก็หยุดทำงาน และไม่มีช่องทางสำหรับอาหารเข้าสู่ร่างกาย
แต่ระบบร่างกายของแมลงสาบไม่ได้เป็นอย่างนั้น แมลงสาบไม่มีแรงดันโลหิตเหมือนคน มันไม่มีเครือข่ายเส้นเลือด หรือเส้นเลือดฝอยเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียน แมลงสาบใช้ระบบเส้นเลือดไหลเวียนแบบเปิด ซึ่งมีแรงดันโลหิตน้อยมาก
หลังจากแมลงสาบถูกตัดหัวขาดแล้ว แผลที่คอจะสมานอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดไม่ไหลทะลักออกจนตาย แมลงสาบยังหายใจผ่านทางท่อหายใจขนาดเล็กที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่จำเป็นต้องใช้สมองควบคุมการหายใจ และเลือดไม่ได้เป็นตัวลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกาย แต่เนื้อเยื่อต่อตรงเข้ากับท่อหายใจโดยตรง
แมลงสาบยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สัตว์เลือดเย็น หมายความว่า กินอาหารน้อยกว่ามนุษย์ ดังนั้น ถ้ามันได้กินอาหารสักมื้อ มันสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้หลายสัปดาห์ ตราบใดที่มันไม่ถูกสัตว์นักล่าสวาปาม แค่มันทำตัวนิ่งเฉย ไม่เดินเพ่นพ่านให้ติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือไวรัส มาปลิดชีพ
นอกจากนี้ อวัยวะแต่ละส่วนของแมลงสาบยังมีกลุ่มเนื้อเยื่อประสาทเฉพาะของตัวเอง คอยตอบสนองระบบประสาทพื้นฐาน ถึงจะไม่มีสมองร่างกายของมันยังทำงานพื้นๆ ได้ เช่น ยืน และขยับตัวได้เมื่อถูกแตะ และไม่ใช่แต่ลำตัวเท่านั้นที่แสดงปฏิกิริยาตอบสนองได้ แม้แต่หัวที่ขาดกระเด็นออกมาจากร่างกาย ยังสามารถขยับหนวดไปมาได้หลายชั่วโมงจนกว่าพลังงานหมด หรือถ้าเอาสารอาหารป้อนแล้วไปเลี้ยงในตู้เย็น หัวแมลงสาบยังขยับได้อีกนาน
7. แมลงสาบ ตัวการโรคภูมิแพ้
แมลงสาบเป็นตัวก่อโรคสำคัญหนึ่งของมนุษย์ คือโรคภูมิแพ้ โดยแมลงสาบจะปล่อยสารคัดหลั่งจากตัว ไม่ว่าจะเป็นอึ หรือ อะไรก็ตามที่อยู่บนตัวมัน เป็นAllergen(สารก่อภูมิแพ้)ชั้นดี ดังนั้น เด็กที่อยู่บ้านสกปรกก็อาจจะเป็นภูมิแพ้ได้ง่าย ซึ่งภูมิแพ้นี้ถ้าเป็นเรื้อรัง จะมีโอกาสพัฒนาไปสู่การเป็นโรคหอบหืดได้
แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคแพ้แมลงสาบ (Cockroach allery) มากขึ้นเรื่อยๆ โดยพบอัตราการเกิดโรคสูงเป็นอันดับสองรองจากโรคแพ้ไรฝุ่น (แพ้ไรฝุ่นประมาณ 60% , แมลงสาบ 40%) อาการที่พบในผู้แพ้แมลงสาบ คือ หายใจไม่สะดวกหรือจับหืด (asthma) อันเนื่องมาจากการสูดดมสารแพ้ (cockroach allergens) เข้าไป ปัจจุบันนักวิจัยให้การยอมรับว่าแมลงสาบสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหอบหืด และโรคแพ้อากาศ (rhinitis)
8. แมลงสาบ เจ้าแห่งความเร็ว
มีการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความเร็วที่สุดของแมลงสาบพันธุ์อเมริกันมีความเร็ว เฉลี่ย 2.0 ไมล์ต่อชั่วโมง(75 เซนติเมตรต่อวินาที) ซึ่งหากเปรียบเทียบกับสัตว์ใหญ่สักตัวละก็ มันวิ่งเร็วพอๆกับเสือชีต้าห์!!( 110-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ด้วยโครงสร้างที่เบา อีกทั้งสรีระที่แบนๆ ทำให้มันกระจายน้ำหนักได้ดี ดังนั้นเราจึงเห็นมันวิ่งเร็วมากจนตบแทบไม่ทัน แต่กระนั้นมันก็ชอบหลงทิศหลงทาง ต้องใช้หนวดและตาในการคลำหาเส้นทาง และมันจะปล่อยสารไว้ตามทางที่มันเดินเพื่อจะได้กลับไปที่เดิมได้เร็ว ดังนั้นจึงไม่แปลกใจแต่อย่างใดหากเราจะเหยียบแมลงสาบแล้วพบว่าแมลงสาบจะวิ่งสะเปะสะปะ
9. แมลงสาบ ผู้รอดชีวิตจากสงครามนิวเคลียร์
แมลงสาบมีชื่อเสียงมานานแล้วว่า เป็นสิ่งมีชีวิตที่ทนทายาด และมีการยืนกรานแล้วว่าแมลงสาบเป็นสิ่งมีชีวิตที่รอดชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์แน่นอน แต่กระนั้นเราก็ไม่สามารถหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้เลยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น บางทีอาจเป็นเพราะเซลล์ของแมลงสาบอาจสามารถฆ่ารังสีที่เป็นตัวก่อมะเร็ง หรืออาจเป็นเพราะมันสามารถทนอยู่กับสภาพกัมมันตรังสีได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งได้
10. แมลงสาบซอมบี้
Emerald roach wasp มีชื่อไทยว่า ต่อสาบมรกต หรือ ต่อมณีรัตน์ เป็นต่อชนิดหนึ่งพบได้ในแถบแอฟริกา อินเดีย และหมู่เกาะแปซิฟิก มันจะแสวงหาแมลงซักตัวเพื่อเป็นที่พักตัวอ่อนให้กับมัน โดยเหยื่อที่มันชอบคือแมลงสาบ แม้แมลงสาบมันจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวมันหลายช่วงตัวก็ตาม ซึ่งมันก็จะเข้าไปโจมตีโดยการต่อยแล้วปล่อยสารพิษประสาทที่ชื่อOctopamine ให้แมลงสาบ ส่งผลให้แมลงสาบเป็นอัมพาตแต่ไม่สามารถจะเดินได้ด้วยตัวเอง จากนั้นต่อจะสามารถบังคับหนวดของแมลงสาบให้เดินตามมันไปยังรังของมันได้ตามต้องการอย่างว่าง่าย(คล้ายจูงหมากลับบ้าน) เมื่อเข้ารังแล้วปล่อยไข่ไว้ในตัวมันแล้วมันก็จะเด็ดกินหนวดของเหยื่อของมัน อ๊ะ! เหยื่อยังไม่ตายนะจากนั้นมันก็จะฝังแมลงสาบไว้เพื่อเป็นอาหารให้ลูกมันซึ่ง เมื่อลูกฟักจากไข่ก็จะเริ่มกินอาหารก็คือเนื้อแมลงสาบซึ่งขณะนั้นแมลงสาบไม่สามารถทำอะไรได้(แต่ดิ้นได้)ก็จะทรมานกับการถูกกินทั้งเป็นและเป็นอาหารจนตัวอ่อนโตขึ้น ซึ่งแมลงสาบก็จะเหลือแต่ซากแล้วล่ะ แล้วตัวเต็มวัยก็จะไปหาแหล่งผสมพันธุ์ แล้วมาปล่อยไข่ไว้ต่อไป
10 เรื่อง(ไม่)น่ารู้ เกี่ยวกับแมลงสาบ
[IMG]
จะทำอะไรก็ทำ ? : )