"ดาวแดง" (The Red Planets) ซึ่งมักจะมี นิยายวิทยาศาสตร์มากมาย ที่กล่าวถึงดาวดวงนี้ โดยเฉพาะ เมื่อกล่าวถึง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ บนดาวอังคาร
ดาวอังคาร ดาวเคราะห์อันดับที่ 4 ในระบบสุริยะ เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นเป็นดวงสีแดง ชาวกรีกและโรมันจะยกให้เป็นเทพแห่งสงคราม ดาวอังคารมีลักษณะหลายอย่างคล้ายโลกมากคือ 1 วันบนดาวอังคารมี 24 ชั่วโมงใกล้เคียงกัน มีแกนเอียงทำมุม 24 องศาใกล้เคียงกับโลก ทำให้มีฤดูกาล 4 ฤดูคล้ายกัน แต่ 1 ปีของ ดาวอังคาร ยาวนานกว่าโลกเกือบสองเท่า จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ สนใจดาวอังคารเป็นพิเศษ และเชื่อว่าต้องมี สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
ข้อมูลจำเพาะของดาวอังคาร
โครงสร้างของดาวอังคาร
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ | โดยเฉลี่ย 227.94 ล้านกิโลเมตร(1.524 a.u.) ใกล้สุด 206.7 ล้านกิโลเมตร (1.381 a.u.) ไกลสุด 249.1 ล้านกิโลเมตร (1.666 a.u.) |
Eccentricity | 0.093 |
คาบการหมุนรอบตัวเอง | 24 ชั่วโมง 37 นาที 22.6 วินาที |
คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ | 686.980 วันบนโลก ด้วยความเร็ว 24.10 กิโลเมตรต่อวินาที |
ระนาบโคจร (Inclination) | 1:50:59 องศา |
แกนเอียงกับระนาบโคจร | 23:59 องศา |
มวล | 6.421x1026 กรัม หรือ 0.107 เท่าของโลก |
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 6,794 กิโลเมตร (โลก 12,756 กิโลเมตร ที่เส้นศูนย์สูตร) |
แรงโน้มถ่วง | 0.380 เท่าของโลก |
ความเร็วหลุดพ้น | 5.03 กิโลเมตรต่อวินาที |
ความหนาแน่น | 1 ต่อ 3.94 เมื่อเทียบกับน้ำ |
ความสว่างสูงสุด | -2.8 |
โครงสร้างของดาวอังคาร
เปลือกชั้นนอกของดาวอังคารเป็นชั้นของหิน มีสีแดงเพราะเป็นออกไซด์ของเหล็ก (สนิมเหล็ก) พื้นผิวเป็นที่ราบส่วนใหญ่ มีก้อนหินเล็กกระจัดกระจ่ายไปทั่ว ชั้นกลางจะเป็นชั้นของหินซิลิเกต แกนกลางเป็นโลหะแข็ง
ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus) เป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ มีความสูง 25 กิโลเมตรสูงเป็น สามเท่าของ ยอดเขาเอเวอร์เรสบนโลก รอบฐานกว้าง 600 กิโลเมตร
ร่องรอยบนที่ราบของดาวอังคารลักษณะคล้ายกับว่าเคยมีน้ำในอดีต
ที่ขั้วเหนือและใต้ของดาวอังคารจะปรากฏเป็นขั้วน้ำแข็งของคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะขยายตัวมากขึ้นเมื่อดาวอังคารหันขั้นนั้นออกจากดวงอาทิตย์
ปริศนารูปหน้าคนที่ยานอวกาศไวกิ้งถ่ายภาพไว้ได้
หุบเหวมาริเนอร์ เป็นหุบเหวขนาดใหญ่กว้างขนาดเท่ากับความกว้างของทวีปอเมริกาเหนือ กว้างราว 4,700 กิโลเมตร ลึก 2-7 กิโลเมตร เป็นหุบเหวเหยียดยาวผ่ากลางดาวอังคาร
บรรยากาศบนดาวอังคาร มีบรรยากาศที่เบาบางมากใช้หายใจไม่ได้ ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ 95% ไนโตรเจน 2.7% อาร์กอน 1.6% ออกซิเจนและไอน้ำ 0.7% บรรยากาศของดาวอังคารแปรปรวนมากกระแสลมแรง และทำให้เกิดฝุ่นคลุ้งไปทั่วทั้งดาวอังคารนานหลายเดือน ซึ่งบางครั้งสามารถมองเห็นเป็นแถบมืดครอบคลุม ดาวอังคารได้จากโลก อุณหภูมิของดาวอังคาร อยู่ระหว่าง +25 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน ถึง -120 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน บริวารของดาวอังคาร มีอยู่ 2 ดวงเป็นดาวขนาดเล็ก นักวิทยาศาสตร์คิดว่าคงเป็นสะเก็ดดาวเคราะห์น้อย ที่ถูกสนามแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารจับไว้
ยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวอังคาร มีหลายลำคือ
1. มาริเนอร์ 4
2. มาริเนอร์ 9
3. มาร์ส 3
4. ไวกิ้ง 1 และ 2
5. มาร์สพาทไฟเดอร์
หมายเหตุ:
Eccentricity เป็นค่าคงทีของวงโคจร ที่บอกว่าวงโคจรนั้นรีมากหรือน้อย หาได้จากระยะห่างของจุด โฟกัสทั้งสอง หารด้วย ความยาวของแกนหลัก ซึ่งวงกลมจะมีค่า Ecc=0 และพาลาโบล่าจะมีค่า Ecc=1 Inclination มุมเอียงที่ระนาบการโคจรของดาวเคราะห์หรือดาวหาง ทำกับระนานอิคลิปติค มีหน่วยเป็น องศา
ดาวบริวารของดาวอังคาร 2 ดวงคือ โฟบอส กับ ดีมอสที่มา :
http://www.hawastsoc.org/solar/cap/mars/phobos.htm http://www.hawastsoc.org/solar/cap/mars/deimos.htmhttp://www.jpl.nasa.gov/releases/98/mgsphobos.html
ยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวอังคาร มีหลายลำคือ
1. มาริเนอร์ 4
2. มาริเนอร์ 9
3. มาร์ส 3
4. ไวกิ้ง 1 และ 2
5. มาร์สพาทไฟเดอร์
หมายเหตุ:
Eccentricity เป็นค่าคงทีของวงโคจร ที่บอกว่าวงโคจรนั้นรีมากหรือน้อย หาได้จากระยะห่างของจุด โฟกัสทั้งสอง หารด้วย ความยาวของแกนหลัก ซึ่งวงกลมจะมีค่า Ecc=0 และพาลาโบล่าจะมีค่า Ecc=1 Inclination มุมเอียงที่ระนาบการโคจรของดาวเคราะห์หรือดาวหาง ทำกับระนานอิคลิปติค มีหน่วยเป็น องศา
ดาวบริวารของดาวอังคาร 2 ดวงคือ โฟบอส กับ ดีมอสที่มา :
http://www.hawastsoc.org/solar/cap/mars/phobos.htm http://www.hawastsoc.org/solar/cap/mars/deimos.htmhttp://www.jpl.nasa.gov/releases/98/mgsphobos.html
ดาวอังคาร(Mars)
[IMG]