ท่ามกลางสังคมที่เอาแน่เอา นอนอะไรไม่ได้ หลาย ๆ ครอบครัวต้องเผชิญกับสภาวะขึ้น ๆ ลง ๆ ทั้งราคาน้ำมัน รวมไปถึงราคาสินค้าที่มองไปทางไหนก็มีแต่ข้าวของราคาแพง ทำให้ครอบครัวจำนวนไม่น้อยเกิดความหวาดหวั่น และไม่ไว้ใจกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เป็นอยู่
1. ต้องกล้าที่จะยอมรับว่า ปัจจุบันเราอยู่ในสถานะไหน
การยอมรับสถานะของตัวเอง และครอบครัวคือตัวควบคุมให้เรารู้จักใช้จ่ายอย่างเหมาะสม เช่น เราเป็นคนเงินเดือนไม่มาก มีภาระต้องเลี้ยงดูพ่อกับแม่ ทำให้การใช้เงินต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี เพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดการติดขัดได้
2. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ทั้งระยะสั้น และระยะยาว
การตั้งเป้าหมายในระยะสั้นลองมองแบบเป็นรายเดือนดูก่อนก็ได้ว่า เดือนนี้จะต้องเหลือเก็บเท่าไร ส่วนในระยะยาว คือการวางแผนเกษียณไว้เลย เช่น ต้องการมีเงินสักเท่าไรในช่วงเวลานั้น อาจจะ 20 ปี หรือ 30 ปีข้างหน้า เพื่อมาสอดรับกับเป้าหมายรายเดือนของเราว่าจะต้องใช้เครื่องมืออะไรทำให้ เงินงอกเงย แต่กระนั้นไม่ควรตั้งเป้าหมายที่มันยากเกินไป เช่น อยากเก็บเงินเดือนละ 5,000 ทั้ง ๆ ที่ได้เงินเดือน ๆ ละ 15,000 บาท
3. เริ่มต้นเก็บเงินเดี๋ยวนี้
ปัจจุบันคนเรามีอายุยืนขึ้น หรือพูดง่าย ๆ คือ แก่ง่ายตายช้า โดยอายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นกว่าในอดีตมาก ผู้ชายไทยมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 75 ปี ในขณะที่ผู้หญิงไทยมีแนวโน้มที่อายุยืนถึง 80 ปี ซึ่งอายุที่ยืนยาวขึ้น หมายถึงมีระยะเวลาในการใช้เงินหลังเกษียณเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้ต้องเตรียมเงินเพื่อใช้ในการเกษียณเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากไม่เริ่มต้นเก็บเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตตอนแก่ชราได้ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งค่ากิน และค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงขนาดของครอบครัวที่เล็กลง ส่งผลให้ชีวิตในวัยเกษียณของใครหลายคนต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น
4. กำหนดเป้าหมายที่ต้องการ และลงในรายละเอียด
การกำหนดเป้าหมายจะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีทิศทางมากขึ้น และทราบว่าจะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างไร จากนั้นก็ควรเช็กสุขภาพทางการเงินเพื่อสำรวจดูว่าคุณมีหนทางที่จะทำเป้าหมาย ให้เป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน เช่น มีแผนจะนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยอะไรบ้าง มีกำหนดระยะเวลาเท่าไร เป็นต้น ส่วนในกรณีที่มีเป้าหมายหลายอย่างในช่วงเวลาเดียวกัน สิ่งที่สำคัญคือ การรู้จักจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมาย โดยพิจารณาถึงความจำเป็นและเป้าหมายหลักในชีวิตเป็นสำคัญ
การกำจัดอุปสรรคทางการเงินถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งเราต้องรู้จักทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างเป็นระบบ เพราะนั่นจะทำให้เรารู้ว่าในแต่ละเดือนเราใช้จ่ายอะไรไปบ้าง และควรจะต้องตัดอะไรที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง
6. มีวินัย และสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการเก็บออม และทำบัญชีรายรับรายจ่าย
7. เข้าใจในเรื่องการลงทุนและอัตราผลตอบแทน
การออม และการลงทุนควรมีความหลากหลาย เพื่อกระจายความเสี่ยงและต่อยอดการออมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ถ้ามีการออมเดือนละ 10,000 บาท และนำไปลงทุนในอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเทียบกับจำนวนปี คุณจะเห็นความมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้นและความสม่ำเสมอในการออม คือ แม้จะออมเงินเดือนละ 10,000 บาท แต่ถ้าทำผลตอบแทนได้ในระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลา 3 ปี จะมีเงินเก็บสูงถึงเกือบ 449,830 บาท และถ้ายังออมได้สม่ำเสมอในระยะเวลา 15 ปี คุณจะมีเงินเก็บถึง 6,163,660 บาทเลยทีเดียว
8. เริ่มต้นก่อนมีชัยไปกว่าครึ่ง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ น้อง ก. ลงทุนปีละ 10,000 บาท ตั้งแต่อายุ 18 ปี ได้ผลตอบแทนปีละ 10% และลงทุนถึงอายุ 30 ปี แล้วปล่อยเงินลงทุนทิ้งไว้ โดยไม่ลงทุนเพิ่มจนอายุ 65 ปี น้องก.จะมีเงินต้น (10,000 บาท X 13 ปี) เท่ากับ 130,000 บาท และจะมีเงินเก็บตอนอายุ 65 ปี เท่ากับ 6,900,000 บาท
ส่วนพี่ ข.ลงทุนปีละ 20,000 บาท ตั้งแต่อายุ 30 ปี ได้ผลตอบแทนปีละ 10% และลงทุนต่อเนื่องจนอายุถึง 65 ปี พี่ข.จะมีเงินต้น (20,000 บาท X 35 ปี) เท่ากับ 700,000 บาท และจะมีเงินเก็บตอนอายุ 65 ปี เท่ากับ 5,420,000 บาท
ดังนั้น น้องก.เริ่มต้นลงทุนก่อนย่อมมีชัยไปกว่าพี่ข.อย่างเห็นได้ชัด โดยการลงทุนที่ว่านี้ เป็นการจัดสรรหรือกระจายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่น ลงทุนกับกองทุนรวมตลาดเงิน พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หรืออื่น ๆ เป็นต้น
นอกเหนือจาก 8 ข้อในข้างต้นแล้ว เราคงต้องยอมรับในความจริงอีกอย่างหนึ่งว่า คนจะรวยไม่ใช่เพราะเก็บเงินเก่ง แต่การใช้จ่ายอย่างมีสติ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือเส้นทางสู่เศรษฐีในอนาคต
ขอบคุณ เว็บไซค์ http://www.meesara.com
1. ต้องกล้าที่จะยอมรับว่า ปัจจุบันเราอยู่ในสถานะไหน
การยอมรับสถานะของตัวเอง และครอบครัวคือตัวควบคุมให้เรารู้จักใช้จ่ายอย่างเหมาะสม เช่น เราเป็นคนเงินเดือนไม่มาก มีภาระต้องเลี้ยงดูพ่อกับแม่ ทำให้การใช้เงินต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี เพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดการติดขัดได้
2. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ทั้งระยะสั้น และระยะยาว
การตั้งเป้าหมายในระยะสั้นลองมองแบบเป็นรายเดือนดูก่อนก็ได้ว่า เดือนนี้จะต้องเหลือเก็บเท่าไร ส่วนในระยะยาว คือการวางแผนเกษียณไว้เลย เช่น ต้องการมีเงินสักเท่าไรในช่วงเวลานั้น อาจจะ 20 ปี หรือ 30 ปีข้างหน้า เพื่อมาสอดรับกับเป้าหมายรายเดือนของเราว่าจะต้องใช้เครื่องมืออะไรทำให้ เงินงอกเงย แต่กระนั้นไม่ควรตั้งเป้าหมายที่มันยากเกินไป เช่น อยากเก็บเงินเดือนละ 5,000 ทั้ง ๆ ที่ได้เงินเดือน ๆ ละ 15,000 บาท
3. เริ่มต้นเก็บเงินเดี๋ยวนี้
ปัจจุบันคนเรามีอายุยืนขึ้น หรือพูดง่าย ๆ คือ แก่ง่ายตายช้า โดยอายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นกว่าในอดีตมาก ผู้ชายไทยมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 75 ปี ในขณะที่ผู้หญิงไทยมีแนวโน้มที่อายุยืนถึง 80 ปี ซึ่งอายุที่ยืนยาวขึ้น หมายถึงมีระยะเวลาในการใช้เงินหลังเกษียณเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้ต้องเตรียมเงินเพื่อใช้ในการเกษียณเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากไม่เริ่มต้นเก็บเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตตอนแก่ชราได้ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งค่ากิน และค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงขนาดของครอบครัวที่เล็กลง ส่งผลให้ชีวิตในวัยเกษียณของใครหลายคนต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น
4. กำหนดเป้าหมายที่ต้องการ และลงในรายละเอียด
การกำหนดเป้าหมายจะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีทิศทางมากขึ้น และทราบว่าจะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างไร จากนั้นก็ควรเช็กสุขภาพทางการเงินเพื่อสำรวจดูว่าคุณมีหนทางที่จะทำเป้าหมาย ให้เป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน เช่น มีแผนจะนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยอะไรบ้าง มีกำหนดระยะเวลาเท่าไร เป็นต้น ส่วนในกรณีที่มีเป้าหมายหลายอย่างในช่วงเวลาเดียวกัน สิ่งที่สำคัญคือ การรู้จักจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมาย โดยพิจารณาถึงความจำเป็นและเป้าหมายหลักในชีวิตเป็นสำคัญ
5. กำจัดอุปสรรค
การกำจัดอุปสรรคทางการเงินถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งเราต้องรู้จักทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างเป็นระบบ เพราะนั่นจะทำให้เรารู้ว่าในแต่ละเดือนเราใช้จ่ายอะไรไปบ้าง และควรจะต้องตัดอะไรที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง
6. มีวินัย และสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการเก็บออม และทำบัญชีรายรับรายจ่าย
7. เข้าใจในเรื่องการลงทุนและอัตราผลตอบแทน
การออม และการลงทุนควรมีความหลากหลาย เพื่อกระจายความเสี่ยงและต่อยอดการออมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ถ้ามีการออมเดือนละ 10,000 บาท และนำไปลงทุนในอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเทียบกับจำนวนปี คุณจะเห็นความมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้นและความสม่ำเสมอในการออม คือ แม้จะออมเงินเดือนละ 10,000 บาท แต่ถ้าทำผลตอบแทนได้ในระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลา 3 ปี จะมีเงินเก็บสูงถึงเกือบ 449,830 บาท และถ้ายังออมได้สม่ำเสมอในระยะเวลา 15 ปี คุณจะมีเงินเก็บถึง 6,163,660 บาทเลยทีเดียว
8. เริ่มต้นก่อนมีชัยไปกว่าครึ่ง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ น้อง ก. ลงทุนปีละ 10,000 บาท ตั้งแต่อายุ 18 ปี ได้ผลตอบแทนปีละ 10% และลงทุนถึงอายุ 30 ปี แล้วปล่อยเงินลงทุนทิ้งไว้ โดยไม่ลงทุนเพิ่มจนอายุ 65 ปี น้องก.จะมีเงินต้น (10,000 บาท X 13 ปี) เท่ากับ 130,000 บาท และจะมีเงินเก็บตอนอายุ 65 ปี เท่ากับ 6,900,000 บาท
ส่วนพี่ ข.ลงทุนปีละ 20,000 บาท ตั้งแต่อายุ 30 ปี ได้ผลตอบแทนปีละ 10% และลงทุนต่อเนื่องจนอายุถึง 65 ปี พี่ข.จะมีเงินต้น (20,000 บาท X 35 ปี) เท่ากับ 700,000 บาท และจะมีเงินเก็บตอนอายุ 65 ปี เท่ากับ 5,420,000 บาท
ดังนั้น น้องก.เริ่มต้นลงทุนก่อนย่อมมีชัยไปกว่าพี่ข.อย่างเห็นได้ชัด โดยการลงทุนที่ว่านี้ เป็นการจัดสรรหรือกระจายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่น ลงทุนกับกองทุนรวมตลาดเงิน พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หรืออื่น ๆ เป็นต้น
นอกเหนือจาก 8 ข้อในข้างต้นแล้ว เราคงต้องยอมรับในความจริงอีกอย่างหนึ่งว่า คนจะรวยไม่ใช่เพราะเก็บเงินเก่ง แต่การใช้จ่ายอย่างมีสติ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือเส้นทางสู่เศรษฐีในอนาคต
ขอบคุณ เว็บไซค์ http://www.meesara.com
8 เคล็ดลับเพื่อความสำเร็จในการกล้าที่จะรวย(ถ้าซ้ำก็ขอโทษทีนะ)