ไททานิกเป็นเรือที่เปิดศักราชใหม่ให้กับอุตสาหกรรมเรือเดินสมุทร เนื่องจากเป็นเรือลำแรกๆ ของโลกที่สร้างโดยโลหะและรองรับผู้โดยสารได้ถึง 2433 คน ยาว 269.0622 เมตร กว้าง 28.194 เมตร หนัก 46328 ตันอิมพีเรียล(47071434.4681 กิโลกรัม) แบ่งเป็น 9 ชั้น เรียงจากชั้นบนลงชั้นล่างได้ดังนี้
9.ดาดฟ้า สงวนไว้ให้ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง มีปล่องไฟ 4 ตัว สูงตัวละ 19 เมตร
8.ชั้นA ห้องนั่งเล่นของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง
7.ชั้นB ห้องอาหารของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง
6.ชั้นC ห้องสมุดของผู้โดยสารชั้นสอง ห้องเอนกประสงค์ของผู้โดยสารชั้นสาม
5.ชั้นD ห้องอาหารของผู้โดยสารชั้นสอง
4.ชั้นE ห้องนอนของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง สอง สาม ลูกเรือ
3.ชั้นF ห้องอาหารของผู้โดยสารชั้นสาม ห้องออกกำลังกายส่วนรวม
2.ชั้นG สระว่ายน้ำส่วนรวม ห้องเก็บกระเป๋าเดินทาง
1.ชั้นห้องเครื่องมี 16 ห้อง หม้อน้ำรวม 29 ชุด ส่งเชื้อเพลิงให้เครื่องยนต์ 3 ตัว เครื่องยนต์ 3 ตัว หมุนใบจักร 3 ใบ รวม 50000 แรงม้า เร่งความเร็วเรือได้สูงสุด 24 น็อต(44.448 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ห้องเครื่องทั้ง 16 ห้องมีกำแพงสูงถึงชั้น F และมีประตูกลซึ่งจะปิดลงมาทุกบานทั่วลำเรือเมื่อพบเหตุผิดปกติที่ห้องเครื่องใดห้องเครื่องหนึ่ง ซึ่งถ้าหากไม่เกิดรอยรั่วในหลายห้องเครื่องจนเกินไป ตามหลักการลอยตัวแล้ว เรือจะไม่จม ถึงแม้จะเป็นจุดอ่อนที่สุดของเรือซึ่งก็คือหัวเรือ ก็ยังรับรอยแตกได้ถึง 4 ห้องเครื่องติดกันโดยไม่จม
แต่ว่าเรือสำรองช่วยชีวิตหรือเรือบดนั้นเพียงพอสำหรับผู้โดยสารเพียง 1178 คนเท่านั้น
การเดินทางครั้งแรก เริ่มการเดินทางที่ เซาแธมทัน, อิงแลนด์ (Southampton, England) ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ควบคุมโดยกัปตัน เอ็ดเวิร์ด เจ. สมิธ (Edward J. Smith) เพื่อเดินทางไปยังนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางครั้งนั้น มีผู้เดินทางรวมทั้งหมด 2217 คน แบ่งเป็นผู้โดยสารชั้น 1, ผู้โดยสารชั้น 2, ผู้โดยสารชั้น 3 และลูกเรือ
วันที่ 14 เมษายนค.ศ. 1912 ขณะเดินทางอยู่ทางใต้ของแกรนด์แบงค์ ของนิวฟันด์แลนด์ เวลา 23.39 น. เวรยามที่เสากระโดงแจ้งว่าได้พบภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่อยู่ข้างหน้าเรือ ลูกเรือจึงได้เลี้ยวลำเรือเพื่อหลบเลี่ยง แต่เนื่องจากใบจักรและหางเสือที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของเรือ ทำให้ผู้บังคับเรือซึ่งยังไม่ชินกับการบังคับเรือใหญ่ขนาดนี้ทำให้กะขนาดการเลี้ยวผิด และชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง ที่ 41 องศา 46 ลิปดาเหนือ 50 องศา 14 ลิปดาตะวันตก เมื่อ23.40 น.
เรือได้ชนกับภูเขาน้ำแข็งทางกราบขวาหัวเรือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนทนรอยแตกได้ไม่อึดเท่าจุดอื่นๆ และห้องเครื่องส่วนหัว 5 ห้องเครื่องแรกก็เกิดรอยรั่ว แต่หัวเรือเป็นจุดอ่อนที่สุดในเรือที่สามารถรับรอยแตกต่อเนื่องจากหัวเรือได้เพียง 4 ห้อง วิศวกรผู้สร้างเรือบอกว่า น้ำจะท่วมห้องเครื่องทั้งห้าสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อท่วมมิดชั้นF เริ่มไหลขึ้นชั้นE น้ำจึงเข้าท่วมห้องเครื่องที่ 6 และท่วมไปทีละห้องๆ และจมในที่สุด ลูกเรือก็คิดว่าเรือคงจะจมเร็วมาก จึงปล่อยเรือบดออกทั้งๆที่ยังใส่คนไม่เต็มลำ
เวลา 02.20 น. ของวันที่ 15 เมษายนค.ศ. 1912 เรือทั้งลำจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ผู้โดยสารและลูกเรือ 2217 ชีวิต รอดชีวิตเพียง 704 ชีวิต เสียชีวิตทั้งหมด 1513 ราย
เวลาประมาณ 04.20 น. เรือโดยสารขนาดใหญ่ชื่อ "อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย" (RMS Carpathia) ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตบนเรือบดทั้งหมด และพาสู่นิวยอร์ก ในวันที่ 18 เมษายนค.ศ. 1912 จากนั้น ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1985 ซากเรือไททานิคได้ถูกค้นพบอีกครั้ง
9.ดาดฟ้า สงวนไว้ให้ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง มีปล่องไฟ 4 ตัว สูงตัวละ 19 เมตร
8.ชั้นA ห้องนั่งเล่นของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง
7.ชั้นB ห้องอาหารของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง
6.ชั้นC ห้องสมุดของผู้โดยสารชั้นสอง ห้องเอนกประสงค์ของผู้โดยสารชั้นสาม
5.ชั้นD ห้องอาหารของผู้โดยสารชั้นสอง
4.ชั้นE ห้องนอนของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง สอง สาม ลูกเรือ
3.ชั้นF ห้องอาหารของผู้โดยสารชั้นสาม ห้องออกกำลังกายส่วนรวม
2.ชั้นG สระว่ายน้ำส่วนรวม ห้องเก็บกระเป๋าเดินทาง
1.ชั้นห้องเครื่องมี 16 ห้อง หม้อน้ำรวม 29 ชุด ส่งเชื้อเพลิงให้เครื่องยนต์ 3 ตัว เครื่องยนต์ 3 ตัว หมุนใบจักร 3 ใบ รวม 50000 แรงม้า เร่งความเร็วเรือได้สูงสุด 24 น็อต(44.448 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ห้องเครื่องทั้ง 16 ห้องมีกำแพงสูงถึงชั้น F และมีประตูกลซึ่งจะปิดลงมาทุกบานทั่วลำเรือเมื่อพบเหตุผิดปกติที่ห้องเครื่องใดห้องเครื่องหนึ่ง ซึ่งถ้าหากไม่เกิดรอยรั่วในหลายห้องเครื่องจนเกินไป ตามหลักการลอยตัวแล้ว เรือจะไม่จม ถึงแม้จะเป็นจุดอ่อนที่สุดของเรือซึ่งก็คือหัวเรือ ก็ยังรับรอยแตกได้ถึง 4 ห้องเครื่องติดกันโดยไม่จม
แต่ว่าเรือสำรองช่วยชีวิตหรือเรือบดนั้นเพียงพอสำหรับผู้โดยสารเพียง 1178 คนเท่านั้น
การเดินทางครั้งแรก เริ่มการเดินทางที่ เซาแธมทัน, อิงแลนด์ (Southampton, England) ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ควบคุมโดยกัปตัน เอ็ดเวิร์ด เจ. สมิธ (Edward J. Smith) เพื่อเดินทางไปยังนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางครั้งนั้น มีผู้เดินทางรวมทั้งหมด 2217 คน แบ่งเป็นผู้โดยสารชั้น 1, ผู้โดยสารชั้น 2, ผู้โดยสารชั้น 3 และลูกเรือ
วันที่ 14 เมษายนค.ศ. 1912 ขณะเดินทางอยู่ทางใต้ของแกรนด์แบงค์ ของนิวฟันด์แลนด์ เวลา 23.39 น. เวรยามที่เสากระโดงแจ้งว่าได้พบภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่อยู่ข้างหน้าเรือ ลูกเรือจึงได้เลี้ยวลำเรือเพื่อหลบเลี่ยง แต่เนื่องจากใบจักรและหางเสือที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของเรือ ทำให้ผู้บังคับเรือซึ่งยังไม่ชินกับการบังคับเรือใหญ่ขนาดนี้ทำให้กะขนาดการเลี้ยวผิด และชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง ที่ 41 องศา 46 ลิปดาเหนือ 50 องศา 14 ลิปดาตะวันตก เมื่อ23.40 น.
เรือได้ชนกับภูเขาน้ำแข็งทางกราบขวาหัวเรือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนทนรอยแตกได้ไม่อึดเท่าจุดอื่นๆ และห้องเครื่องส่วนหัว 5 ห้องเครื่องแรกก็เกิดรอยรั่ว แต่หัวเรือเป็นจุดอ่อนที่สุดในเรือที่สามารถรับรอยแตกต่อเนื่องจากหัวเรือได้เพียง 4 ห้อง วิศวกรผู้สร้างเรือบอกว่า น้ำจะท่วมห้องเครื่องทั้งห้าสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อท่วมมิดชั้นF เริ่มไหลขึ้นชั้นE น้ำจึงเข้าท่วมห้องเครื่องที่ 6 และท่วมไปทีละห้องๆ และจมในที่สุด ลูกเรือก็คิดว่าเรือคงจะจมเร็วมาก จึงปล่อยเรือบดออกทั้งๆที่ยังใส่คนไม่เต็มลำ
เวลา 02.20 น. ของวันที่ 15 เมษายนค.ศ. 1912 เรือทั้งลำจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ผู้โดยสารและลูกเรือ 2217 ชีวิต รอดชีวิตเพียง 704 ชีวิต เสียชีวิตทั้งหมด 1513 ราย
เวลาประมาณ 04.20 น. เรือโดยสารขนาดใหญ่ชื่อ "อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย" (RMS Carpathia) ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตบนเรือบดทั้งหมด และพาสู่นิวยอร์ก ในวันที่ 18 เมษายนค.ศ. 1912 จากนั้น ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1985 ซากเรือไททานิคได้ถูกค้นพบอีกครั้ง
๐๐ประวัติเรือTitanic๐๐