หลายๆคนไม่รู้ และ ก็อาจจะอยากรู้เหมือนผม
ผมเลยหาข้อมูลมาเพิ่มเติมให้รับรู้กันนะครับ จะได้ช่วยกันประหยัด
เอาง่ายๆนะครับยังไม่รวมค่า FT และ VAT นะครับ ค่อยว่ากันที่หลัง
ค่าไฟคอมพิวเตอร์ 1 ช.ม. = (กำลังไฟฟ้าที่ใช้ (Watts) / 1000) x ค่าไฟต่อหน่วย
การใช้ไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์จะเกิดจาก 2 แหล่งใหญ่คือ ตัวเครื่องและจอภาพ
เครื่องคอมจะมีแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า ที่เราต่อเข้าไปที่ Power Supply
จาก 220V. แปลงลงมาเป็นไฟฟ้ากำลังต่ำ 3.3V, 5V และ 12V เพื่อใช้งานให้ส่วนต่างๆ
เช่น Main board, Hard disk, Optical drive (CD หรือ DVD), PCI Card ต่างๆ (Modem, Sound),
พัดระบายความร้อน และ อื่นๆ
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่เราใช้งานจะมีกำลัง Watts อยู่ที่ประมาณ 450 Watts (ดูที่ Power Supply จะบอกไว้ครับ)
หมายถึงการจ่ายไฟฟ้าสูงสุดขณะใดขณะหนึ่งคือ 450 Watts (= 450/220 = 2.05 A ดูวิธีคิดด้านล่าง)
การจ่ายไฟฟ้าสูงสุดขณะใดขณะหนึ่งหมายถึงการจ่ายไฟให้ส่วนประกอบต่างๆของเครื่องคอมเราพร้อมๆกัน
แต่ว่าโดยปกติแล้วเครื่องจะไม่ได้ใช้กำลังไฟเต็มที่ตลอด ก็คือว่า DVD ไม่ได้อ่านตลอด,
Hard disk ก็ไม่ได้ใช้งานตลอด
ดังนั้นการที่จะรู้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะนั้นใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไหร่จริงๆนั้น จะต้องมีอุปกรณ์มาวัดครับ
อุปกรณ์ที่ว่าก็คือแอมมิเตอร์ ซึ่งแอมมิเตอร์นี้จะวัดค่าการกินกระแสไฟออกมาเป็น แอมป์ (A)
เช่น ผมนำแอมมิเตอร์มาวัดคอมพิวเตอร์ของผม ซึ่งต่อจอ (LCD 17") ผ่าน Power Supply เดียวกัน ผลที่ได้คือ 0.9 A
เราต้องคำนวณออกมาเป็น Watts ก่อนนะครับ
กำลังไฟ Watts (W) = แรงดันไฟฟ้า Volt (V) * ค่ากระแส Amp (A)
= 220V * 0.9A
= 198 Watts
มาหาต่อช.ม.กันโดยสูตรข้างบน
ค่าไฟคอมพิวเตอร์ 1 ช.ม. = (กำลังไฟฟ้าที่ใช้ (Watts) / 1000) x ค่าไฟต่อหน่วย
= (198 Watts / 1000) * 2.85 บาทต่อหน่วย
= 0.5643 บาท
ดีใจละซิน้อยมากใช่ไหม แต่เด๊วก่อน รวมค่า FT กับ VAT เข้าไปด้วย
ค่า FT คืออะไร
ค่า FT หรือ ค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือ ค่าไฟฟ้าผันแปร
เป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า
ยิ่งอ่านก็ยิ่งงง สรุปภาษาชาวบ้านนะครับ ค่า FT คือค่ากินป่าว ใช้น้อยเก็บน้อย ใช้มากเก็บมาก
ตอนนี้เขาไม่ขึ้นค่าไฟ แต่ขึ้นค่า FT แทน ดูดีไหมครับ
หลังจากลองคำนวณค่า FT และ VAT ใหม่ ผมใช้ไฟประมาณ 1,400 Units
จะได้ค่าไฟต่อหน่วยประมาณ 3.785 บาทต่อหน่วย
ลองคำนวณอีกที
ค่าไฟคอมพิวเตอร์ 1 ช.ม. = (198 / 1000) * 3.785
ค่าไฟคอมพิวเตอร์ 1 ช.ม. = 0.74943 บาทต่อ 1 เครื่อง
ใครเปิดร้าน 8.00 ปิด 22.00 = 14 ช.ม คิดเฉลี่ย 10 ช.ม. (บางเวลาไม่มีคนปิดเครื่อง)
สมมุติมี 20 เครื่อง 1 เดือนค่าไฟฟ้าเฉาะคอมพิวเตอร์
= 30 วัน * 20 เครื่อง * 10 ช.ม. x 0.74943 ค่าไฟฟ้า
= 30 x 20 x 10 x 0.91597
= 4,496.58
ดังนั้น ค่าไฟฟ้าเฉพาะคอมพิวเตอร์ 20 เครื่อง 1 เดือนประมาณ 4,496.58 บาท
คอมใช้จอ LCD 17" นะครับ ถ้า CRT ต้องลองวัดดูครับ มากกว่านิดหน่อย
ไม่รวมไฟฟ้าส่องสว่าง ค่าแอร์ ไฟเครื่องพิมพ์ ไฟห้องน้ำ ค่าไฟกระติกน้ำร้อนต้มมาม่า
ตู้เย็นแช่เครื่องดื่ม และ อื่นๆอีกมากมาย ...
ใกล้เคียงไหมครับ บอกทีว่าร้านคุณเป็นแบบนี้หรือป่าว
ไฟฟ้าควรใช้งานอย่างประหยัดนะครับ ลองๆนึกถึงวันที่ไฟดับ ตอนกลางคืนอะครับ
ทีวีก็ดูไม่ได้ ร้อนก็ร้อน นอนก็ไม่หลับ ประหยัดๆนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.d-itsolution.com/forum/index.php?topic=52.0
ผมเลยหาข้อมูลมาเพิ่มเติมให้รับรู้กันนะครับ จะได้ช่วยกันประหยัด
เอาง่ายๆนะครับยังไม่รวมค่า FT และ VAT นะครับ ค่อยว่ากันที่หลัง
ค่าไฟคอมพิวเตอร์ 1 ช.ม. = (กำลังไฟฟ้าที่ใช้ (Watts) / 1000) x ค่าไฟต่อหน่วย
การใช้ไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์จะเกิดจาก 2 แหล่งใหญ่คือ ตัวเครื่องและจอภาพ
เครื่องคอมจะมีแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า ที่เราต่อเข้าไปที่ Power Supply
จาก 220V. แปลงลงมาเป็นไฟฟ้ากำลังต่ำ 3.3V, 5V และ 12V เพื่อใช้งานให้ส่วนต่างๆ
เช่น Main board, Hard disk, Optical drive (CD หรือ DVD), PCI Card ต่างๆ (Modem, Sound),
พัดระบายความร้อน และ อื่นๆ
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่เราใช้งานจะมีกำลัง Watts อยู่ที่ประมาณ 450 Watts (ดูที่ Power Supply จะบอกไว้ครับ)
หมายถึงการจ่ายไฟฟ้าสูงสุดขณะใดขณะหนึ่งคือ 450 Watts (= 450/220 = 2.05 A ดูวิธีคิดด้านล่าง)
การจ่ายไฟฟ้าสูงสุดขณะใดขณะหนึ่งหมายถึงการจ่ายไฟให้ส่วนประกอบต่างๆของเครื่องคอมเราพร้อมๆกัน
แต่ว่าโดยปกติแล้วเครื่องจะไม่ได้ใช้กำลังไฟเต็มที่ตลอด ก็คือว่า DVD ไม่ได้อ่านตลอด,
Hard disk ก็ไม่ได้ใช้งานตลอด
ดังนั้นการที่จะรู้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะนั้นใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไหร่จริงๆนั้น จะต้องมีอุปกรณ์มาวัดครับ
อุปกรณ์ที่ว่าก็คือแอมมิเตอร์ ซึ่งแอมมิเตอร์นี้จะวัดค่าการกินกระแสไฟออกมาเป็น แอมป์ (A)
เช่น ผมนำแอมมิเตอร์มาวัดคอมพิวเตอร์ของผม ซึ่งต่อจอ (LCD 17") ผ่าน Power Supply เดียวกัน ผลที่ได้คือ 0.9 A
เราต้องคำนวณออกมาเป็น Watts ก่อนนะครับ
กำลังไฟ Watts (W) = แรงดันไฟฟ้า Volt (V) * ค่ากระแส Amp (A)
= 220V * 0.9A
= 198 Watts
มาหาต่อช.ม.กันโดยสูตรข้างบน
ค่าไฟคอมพิวเตอร์ 1 ช.ม. = (กำลังไฟฟ้าที่ใช้ (Watts) / 1000) x ค่าไฟต่อหน่วย
= (198 Watts / 1000) * 2.85 บาทต่อหน่วย
= 0.5643 บาท
ดีใจละซิน้อยมากใช่ไหม แต่เด๊วก่อน รวมค่า FT กับ VAT เข้าไปด้วย
ค่า FT คืออะไร
ค่า FT หรือ ค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือ ค่าไฟฟ้าผันแปร
เป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า
ยิ่งอ่านก็ยิ่งงง สรุปภาษาชาวบ้านนะครับ ค่า FT คือค่ากินป่าว ใช้น้อยเก็บน้อย ใช้มากเก็บมาก
ตอนนี้เขาไม่ขึ้นค่าไฟ แต่ขึ้นค่า FT แทน ดูดีไหมครับ
หลังจากลองคำนวณค่า FT และ VAT ใหม่ ผมใช้ไฟประมาณ 1,400 Units
จะได้ค่าไฟต่อหน่วยประมาณ 3.785 บาทต่อหน่วย
ลองคำนวณอีกที
ค่าไฟคอมพิวเตอร์ 1 ช.ม. = (198 / 1000) * 3.785
ค่าไฟคอมพิวเตอร์ 1 ช.ม. = 0.74943 บาทต่อ 1 เครื่อง
ใครเปิดร้าน 8.00 ปิด 22.00 = 14 ช.ม คิดเฉลี่ย 10 ช.ม. (บางเวลาไม่มีคนปิดเครื่อง)
สมมุติมี 20 เครื่อง 1 เดือนค่าไฟฟ้าเฉาะคอมพิวเตอร์
= 30 วัน * 20 เครื่อง * 10 ช.ม. x 0.74943 ค่าไฟฟ้า
= 30 x 20 x 10 x 0.91597
= 4,496.58
ดังนั้น ค่าไฟฟ้าเฉพาะคอมพิวเตอร์ 20 เครื่อง 1 เดือนประมาณ 4,496.58 บาท
คอมใช้จอ LCD 17" นะครับ ถ้า CRT ต้องลองวัดดูครับ มากกว่านิดหน่อย
ไม่รวมไฟฟ้าส่องสว่าง ค่าแอร์ ไฟเครื่องพิมพ์ ไฟห้องน้ำ ค่าไฟกระติกน้ำร้อนต้มมาม่า
ตู้เย็นแช่เครื่องดื่ม และ อื่นๆอีกมากมาย ...
ใกล้เคียงไหมครับ บอกทีว่าร้านคุณเป็นแบบนี้หรือป่าว
ไฟฟ้าควรใช้งานอย่างประหยัดนะครับ ลองๆนึกถึงวันที่ไฟดับ ตอนกลางคืนอะครับ
ทีวีก็ดูไม่ได้ ร้อนก็ร้อน นอนก็ไม่หลับ ประหยัดๆนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.d-itsolution.com/forum/index.php?topic=52.0
อยากรู้ไหม ค่าไฟคอมพิวเตอร์ของคุณ 1 ช.ม.เท่าไหร่