ข่าวจาก manager.co.th (นสพ.ผู้จัดการ)
เอเอฟพี/บีบีซี - เคนตักกี ฟราย ชิกเกน(เคเอฟซี) เมื่อวันศุกร์(27) ถูกศาลสั่งจ่ายเงินชดเชยจำนวน 8 ล้านเหรียญออสเตรเลีย(ราว 260 ล้านบาท) ให้แก่เด็กหญิงชาวออสเตรเลียที่ได้รับความเสียหายทางสมองอย่างรุนแรงและเป็นอัมพาตหลังจากรับประทานไก่ของร้านอาหารฟาสต์ฟูดชื่อดังแห่งนี้
ด.ญ.โมนิกา ซามาน อายุเพียง 7 ขวบตอนที่สมองของเธอได้รับความเสียหายจากพิษของเชื้อซัลโมเนลลาที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารของเคเอฟซีในเดือนตุลาคมปี 2005 นอกจากนี้เธอยังมีอาการติดเชื้อในกระแสเลือดและช็อคอย่างรุนแรง
คนในครอบครัวของเด็กญิง ก็ล้มป่วยด้วยเช่นกันและพวกเขาอ้างว่าอาการป่วยของซามาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการรับรู้และก่อความบกพร่องแก่ระบบประสาทควบคุมการพูดอย่างรุนแรง รวมถึงแขนขากระตุกหดเกร็งเป็นผลมาจากการรับประทานอาหารเมนู "ทวิสเตอร์" ของเคเอฟซีสาขาแห่งหนึ่งในซิดนีย์
ศาลฎีกาในนิวเซาต์เวลส์ วินิจฉัยเป็นประโยชน์แห่งฝ่ายโจทก์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วและในวันศุกร์(27) ก็สั่งให้ทางเคเอฟซี จ่ายงดแก่เด็กหญิงชาวออสเตรเลีย 8 ล้านเหรียญออสเตรเลียในค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายทางกฎหมายต่างๆ
ทนายความของฝ่ายโจทก์ให้การต่อศาลระหว่างการพิจารณาคดีเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2009 ว่าก่อนที่จะล้มป่วยโมนิก้าเป็นเด็กฉลาดและกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา ซึ่งผลการพิสูจน์จากห้องทดลองนักวิทยาศาสตร์ต่างยืนยันว่าเนื้อไก่ดังกล่าวเป็นแหล่งแพร่เชื้อซัลโมเนลลาแน่นอน จึงฟ้องร้องเคเอฟซีในข้อหาไม่รับผิดชอบและฝ่าฝืนกฎหมายมาตรฐานการค้า
ขณะที่ผู้พิพากษา สตีเฟน รอตช์มัน ระบุระหว่างการพิจารณาคดีในสัปดาห์ที่แล้วว่าไก่มีเชื้อปนเปื้อนเพราะความบกพร่องของพนักงานคนใดคนหนึ่งหรือมากกว่านั้นของเคเอฟซีที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเตรียมการอย่างถูกต้องเหมาะสม อันเป็นผลมาจากความละเลยไม่เอาใจใส่
ในถ้อยแถลงเมื่อวันศุกร์(27) ทนายความฝ่ายโจทก์บอกว่าทางครอบครัวของโมนิการู้สึกผ่อนคลายอย่างมากหลังการต่อสู้ทางกฎหมายสิ้นสุดเสียที "การที่ โมนิกา ได้รับความเสียหายทางสมองและพิการอย่างรุนแรงก็แทบจะทำให้ครอบครัวนี้สิ้นเนื้อประดาตัว คำสั่งจ่ายเงินชดเชยคือสิ่งจำเป็นอย่างมาก แต่เคเอฟซีกลับบอกว่า โมนิกา ไม่ควรได้รับเงินแม้แต่เซนต์เดียว"
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เคเอฟซีเชื่อว่าพวกเขามีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ว่าทางบริษัทไม่ได้เป็นต้นตอของเรื่องน่าสลดนี้และบ่งชี้ว่าจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ
"เราเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อโมนิกาและครอบครัวซามาน อย่างไรก็ตามเราก็มีหน้าที่ปกป้องชื่อเสียงของเคเอฟซีในฐานะผู้จัดหาอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูง" ซัลวี โกลเวอร์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเคเอฟซีประจำออสเตรเลียกล่าว
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่เรายกข่าวนี้มา ก็เพราะส่วนตัวก็เคยเจออะไรแบบนี้กับตัวเองเหมือนกัน แต่ไม่ถึงกับร้ายแรงติดเชื้อมากมาย ตอนเด็ก เรากิน แมคฯ
สั่งแฮมเบอร์เกอร์ เนื้อมาชิ้น น้ำขวด ก็กินปกติ เหมือนคนอื่นเขากินนั่นละ กินไปพอ 2-3 ช.ม. หลังจากนั่นมีอาการหน้ามืด เวียนหัว แล้วก็อาเจียน
สุดท้ายมันก็สรุปคือ ในแฮมเบอร์เกอร์ที่เรากินไปนั่นอะมีเชื้อโรคปนอยู่ จึงอยากจะบอกนะว่า บางครั้งการกินอาหารเข้าไป มันแถบรู้ไม่ได้เลยว่า
อะไรสะอาดไม่สะอาด อะไรมีเชื้อโรคไม่มีเชื้อโรค ที่เรานำเสนอก็ไมไ่ด้มีจุดประสงค์ที่จะโจมตีอาหารอาหารพวกนี้ว่าไม่ดี แต่เราจะต้องการเตือนว่า
ผู้ผลิตอาหาร ควรจะใส่ใจในเรื่องอาหารที่ทำให้มาก ไทยนี้ก้มักง่ายเรื่องทำอาหารกันหลายคนเช่นกัน ทำอาหารเอาช้อนหักน้ำชุบชิมน้ำชุบ
ก็ยังเอาช้อนที่ตัวเองชินเอาไปขนน้ำชุบอีก ขี้ปากคนทำผสมไปกับอาหาร ญี่ปุ่นเขาเวลาทำอาหารเขาจะมีถ้วยชิมนะ เขาไมไ่ด้ใช้ช้อนที่ตัวเอง
เอามาขนกับน้ำชุบมาชิม เรื่องแบบนี้ควรระวัง อาจจะถึงตายได้ก็แค่การกินนี้ละ
เอเอฟพี/บีบีซี - เคนตักกี ฟราย ชิกเกน(เคเอฟซี) เมื่อวันศุกร์(27) ถูกศาลสั่งจ่ายเงินชดเชยจำนวน 8 ล้านเหรียญออสเตรเลีย(ราว 260 ล้านบาท) ให้แก่เด็กหญิงชาวออสเตรเลียที่ได้รับความเสียหายทางสมองอย่างรุนแรงและเป็นอัมพาตหลังจากรับประทานไก่ของร้านอาหารฟาสต์ฟูดชื่อดังแห่งนี้
ด.ญ.โมนิกา ซามาน อายุเพียง 7 ขวบตอนที่สมองของเธอได้รับความเสียหายจากพิษของเชื้อซัลโมเนลลาที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารของเคเอฟซีในเดือนตุลาคมปี 2005 นอกจากนี้เธอยังมีอาการติดเชื้อในกระแสเลือดและช็อคอย่างรุนแรง
คนในครอบครัวของเด็กญิง ก็ล้มป่วยด้วยเช่นกันและพวกเขาอ้างว่าอาการป่วยของซามาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการรับรู้และก่อความบกพร่องแก่ระบบประสาทควบคุมการพูดอย่างรุนแรง รวมถึงแขนขากระตุกหดเกร็งเป็นผลมาจากการรับประทานอาหารเมนู "ทวิสเตอร์" ของเคเอฟซีสาขาแห่งหนึ่งในซิดนีย์
ศาลฎีกาในนิวเซาต์เวลส์ วินิจฉัยเป็นประโยชน์แห่งฝ่ายโจทก์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วและในวันศุกร์(27) ก็สั่งให้ทางเคเอฟซี จ่ายงดแก่เด็กหญิงชาวออสเตรเลีย 8 ล้านเหรียญออสเตรเลียในค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายทางกฎหมายต่างๆ
ทนายความของฝ่ายโจทก์ให้การต่อศาลระหว่างการพิจารณาคดีเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2009 ว่าก่อนที่จะล้มป่วยโมนิก้าเป็นเด็กฉลาดและกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา ซึ่งผลการพิสูจน์จากห้องทดลองนักวิทยาศาสตร์ต่างยืนยันว่าเนื้อไก่ดังกล่าวเป็นแหล่งแพร่เชื้อซัลโมเนลลาแน่นอน จึงฟ้องร้องเคเอฟซีในข้อหาไม่รับผิดชอบและฝ่าฝืนกฎหมายมาตรฐานการค้า
ขณะที่ผู้พิพากษา สตีเฟน รอตช์มัน ระบุระหว่างการพิจารณาคดีในสัปดาห์ที่แล้วว่าไก่มีเชื้อปนเปื้อนเพราะความบกพร่องของพนักงานคนใดคนหนึ่งหรือมากกว่านั้นของเคเอฟซีที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเตรียมการอย่างถูกต้องเหมาะสม อันเป็นผลมาจากความละเลยไม่เอาใจใส่
ในถ้อยแถลงเมื่อวันศุกร์(27) ทนายความฝ่ายโจทก์บอกว่าทางครอบครัวของโมนิการู้สึกผ่อนคลายอย่างมากหลังการต่อสู้ทางกฎหมายสิ้นสุดเสียที "การที่ โมนิกา ได้รับความเสียหายทางสมองและพิการอย่างรุนแรงก็แทบจะทำให้ครอบครัวนี้สิ้นเนื้อประดาตัว คำสั่งจ่ายเงินชดเชยคือสิ่งจำเป็นอย่างมาก แต่เคเอฟซีกลับบอกว่า โมนิกา ไม่ควรได้รับเงินแม้แต่เซนต์เดียว"
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เคเอฟซีเชื่อว่าพวกเขามีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ว่าทางบริษัทไม่ได้เป็นต้นตอของเรื่องน่าสลดนี้และบ่งชี้ว่าจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ
"เราเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อโมนิกาและครอบครัวซามาน อย่างไรก็ตามเราก็มีหน้าที่ปกป้องชื่อเสียงของเคเอฟซีในฐานะผู้จัดหาอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูง" ซัลวี โกลเวอร์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเคเอฟซีประจำออสเตรเลียกล่าว
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่เรายกข่าวนี้มา ก็เพราะส่วนตัวก็เคยเจออะไรแบบนี้กับตัวเองเหมือนกัน แต่ไม่ถึงกับร้ายแรงติดเชื้อมากมาย ตอนเด็ก เรากิน แมคฯ
สั่งแฮมเบอร์เกอร์ เนื้อมาชิ้น น้ำขวด ก็กินปกติ เหมือนคนอื่นเขากินนั่นละ กินไปพอ 2-3 ช.ม. หลังจากนั่นมีอาการหน้ามืด เวียนหัว แล้วก็อาเจียน
สุดท้ายมันก็สรุปคือ ในแฮมเบอร์เกอร์ที่เรากินไปนั่นอะมีเชื้อโรคปนอยู่ จึงอยากจะบอกนะว่า บางครั้งการกินอาหารเข้าไป มันแถบรู้ไม่ได้เลยว่า
อะไรสะอาดไม่สะอาด อะไรมีเชื้อโรคไม่มีเชื้อโรค ที่เรานำเสนอก็ไมไ่ด้มีจุดประสงค์ที่จะโจมตีอาหารอาหารพวกนี้ว่าไม่ดี แต่เราจะต้องการเตือนว่า
ผู้ผลิตอาหาร ควรจะใส่ใจในเรื่องอาหารที่ทำให้มาก ไทยนี้ก้มักง่ายเรื่องทำอาหารกันหลายคนเช่นกัน ทำอาหารเอาช้อนหักน้ำชุบชิมน้ำชุบ
ก็ยังเอาช้อนที่ตัวเองชินเอาไปขนน้ำชุบอีก ขี้ปากคนทำผสมไปกับอาหาร ญี่ปุ่นเขาเวลาทำอาหารเขาจะมีถ้วยชิมนะ เขาไมไ่ด้ใช้ช้อนที่ตัวเอง
เอามาขนกับน้ำชุบมาชิม เรื่องแบบนี้ควรระวัง อาจจะถึงตายได้ก็แค่การกินนี้ละ
กิน KFC แล้วเป็นอัมพาต