ที่มา
http://terasphere.exteen.com/20110527/entry
ต้องขอขอบคุณคนเขียนมากๆเลยขอรับ
http://terasphere.exteen.com/20110527/entry
ต้องขอขอบคุณคนเขียนมากๆเลยขอรับ
คดีละเมิดลิขสิทธิ์นั้น เป็นคดีที่ได้รับการคุ้มครองจาก พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ทำให้สามารถฟ้องได้สองแบบ คือฟ้องเป็นคดีแพ่ง และฟ้องเป็นคดีอาญา การฟ้องทั้งสองแบบมีข้อแตกต่างกันดังนี้
1. การฟ้องแพ่ง เป็นการฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหายอันเกิดขึ้นจากการละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โดยถือว่าการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับทรัพย์สินทางปัญญา คือลิขสิทธิ์ของงานประพันธ์ ตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ผู้ฟ้องจะเรียกค่่าเสียหายตามที่เกิดขึ้นจริง หรือคาดว่าอาจจะเกิดขึ้น การนำสืบของการฟ้องทางแพ่งนั้น เพียงนำสืบให้รู้ว่าเกิดการละเมิดขึ้นจริง และมีความเสียหายก็พอแล้วที่จะทำให้ชนะคดี อายุความการฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ทางแพ่งคือ ภายใน 3 ปีนับแต่ทราบการละเมิด
2. การฟ้องอาญา เป็นการฟ้องเพื่อลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ซึ่งมีโทษทางอาญาบัญญัติไว้ อาจจะทำให้ผู้ละเมิดต้องโทษจำคุกได้ มักจะฟ้องกันเพื่อให้เกิดการเข็ดหลาบไม่กล้ากระทำอีก การนำสืบเพื่อฟ้องคดีอาญานั้นต้องพิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัย ว่าผู้ละเมิดได้กระทำผิดจริงทั้งหมดตามข้อกล่าวหา และอายุความการฟ้องเพียง 3 เดือน หลังแต่พบการละเมิด
การฟ้องทั้งสองแบบ มีวิธีและกระบวนการฟ้อง การสอบสวนนำสืบ และการยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานแตกต่างกัน ซึ่งจะบรรยายดังต่อไปนี้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ทางแพ่ง ไม่จำเป็น ต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพียงแค่ผู้ถูกละเมิดรวบรวมพยานหลักฐาน เอกสารประกอบคดีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เรียงเป็นชุดๆ ยื่นคำฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา หรือศาลแพ่งในเขตอำนาจศาล(เขตจังหวัด) ของท่าน โดยในคำฟ้องให้บรรยายการกระทำละเมิดของจำเลยให้ละเอียด ชี้พยานหลักฐานประกอบในคำฟ้อง รวมถึงระบุค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนเงินอย่างชัดเจนว่า การกระทำของจำเลยทำให้เกิดความเสียหายคิดเป็นเงินกี่บาทๆ และขอความกรุณาจากศาลโปรดพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายด้วย โดยท่านต้องระบุชื่อ ที่อยู่ภูมิลำเนาของจำเลยในคำฟ้อง เพื่อศาลจะได้ส่งคำฟ้องไปให้จำเลยมาต่อสู้คดี
เช่น น.ส. แหวว เขียนนิยายลงอินเตอร์เน็ต ถูก น.ส. หวาน นำไปเสนอให้สนพ. น้ำตาล ตีพิมพ์ น.ส. แหวว ต้องเตรียมพยานหลักฐานแนบท้ายคำฟ้องไป คือ ต้นฉบับนิยายของตัวเอง พิมพ์หน้าเพจนิยายในอินเตอร์เน็ตที่มีวันเดือนปีระบุชัดเจน นิยายที่ถูกลอกและตีพิมพ์ออกมาแล้วจาก สนพ. น้ำตาล และอาจอ้างกองบรรณาธิการของ สนพ. น้ำตาลมาเป็นพยานบุคคล หรือฟ้องเป็นจำเลยร่วมได้ โดยน.ส. แหวว อาจระบุค่าเสียหายคิดตามยอดพิมพ์คูณราคาปกของหนังสือที่ถูกลอก คิดเป็นค่าเสียหายในคำฟ้อง
เมื่อยื่นคำฟ้อง และศาลประทับรับฟ้องลงเลขคดีหมายเลขดำแล้ว ศาลจะส่งคำฟ้องไปยังจำเลยเพื่อเรียกให้มาแก้คดีใน 30 วัน หากภูมิลำเนาของจำเลยไม่มีคนเซ็นรับคำฟ้อง เจ้าหน้าที่จะปิดประกาศไว้ที่หน้าบ้านและนับเวลาไปอีก 15 วัน หากจำเลยไม่มายื่นคำให้การ ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยไม่มีสิทธิ์แก้คดีด้วยตัวเอง ถือว่ารับคำฟ้องของโจทก์ทุกประการ หากจำเลยยื่นคำให้การแก้ต่าง ก็ต้องมานำสืบกันต่อในชั้นศาล โดยศาลจะนัดวันไกล่เกลี่ยก่อน จากนั้นจึงนัดชี้สองสถานพร้อมสืบพยานโจทก์
โดยมากขั้นตอนการขึ้นศาลจะจบลงที่ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยนี้เอง หากโจทก์มันใจว่าถูกละเมิด และจำเลยทำการละเมิดจริง ก็จะพูดคุยประนีประนอมยอมความ อาจจะลดค่าเสียหายที่จำเลยต้องจ่ายไปบ้าง คดีก็จะจบลง
หากจำเลยไม่ไกล่เกลี่ยยอมความ ศาลก็จะนัดชี้สองสถาน สืบพยาน ตามขั้นตอนการดำเนินคดีต่อไปจนพิพากษาถึงที่สุด ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานว่าแน่นหนาแค่ไหน ทนายซักพยานเก่งแค่ไหน ละครับ.
หากจำเลยไม่มาศาลเลย ศาลก็จะถือว่าขาดนัดพิจารณา โจทก์สามารถยื่นคำร้องขอให้โจทก์ชนะคดีเนื่องจากจำเลยขาดนัดพิจารณา เมื่อศาลพิพากษาตามร้องดังกล่าว โจทก์สามารถดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์เอากับจำเลยได้ โดยติดต่อกับสำนักงานบังคับคดี จำเลยจะถูกอายัดทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ เงินในบัญชีธนาคารจนกว่าจะชำระหนี้มูลละเมิดแก่โจทก์หมดสิ้น.
ส่วนการฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ทางอาญา จำเป็น ต้องไปแจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีกับตำรวจ โดยรวบรวมเอกสารหลักฐานเช่นเดียวกันกับการฟ้องแพ่ง เพื่อให้ตำรวจออกหมายเรียก หรือร้องต่อศาลเพื่อออก หมายค้น หรือหมายจับไปยังผู้ละเมิด ผู้ละเมิดต้องถูกนำตัวมาสอบสวนกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากพบว่ามีความผิดจริงในชั้นต้น อาจถูกคุมขังไว้ จำเลยต้องหาหลักทรัพย์มาประกันตัว คดีแบบนี้เห็นได้มากเกี่ยวกับคดีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ครับ เพราะบริษัทซอฟท์แวร์จะเน้นการฟ้องให้เข็ดหลาบ ไม่กระทำอีก มากกว่าต้องการเงินค่าเสียหาย
จากนั้นตำรวจจะรวบรวมสำนวนเพื่อยื่นต่ออัยการให้สั่งฟ้อง และนำตัวจำเลยไปไต่สวนในชั้นศาล และดำเนินคดีไปตามขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคดี ผู้ถูกละเมิดอาจยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการได้
คดีจะเข้าสู่การไกล่เกลี่ยเช่นเดียวกับคดีแพ่ง หากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ ก็จะสืบพยานจนหมดสิ้น ศาลพิพากษษ หากไม่เห็นผิด หรือนำสืบไม่ชัดเจนจนสิ้นสงสัย ศาลจะยกฟ้องเสีย หากนำสืบจนเห็นสม ศาลอาจพิพากษาปรับและจำคุกตามลำดับโทษ โดยอาจให้รอลงอาญาไว้หากจำเลยกระทำผิดครั้งแรก
อย่างไรก็ตาม การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์เป็นคดีอาญาสำหรับนักเขียนนั้นยุ่งยากวุ่นวาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็มักไม่ใส่ใจ อีกทั้งยังก่อศัตรูขึ้นได้ง่าย คดีใช้เวลานานคั่งค้างรกโรงศาล และเมื่อเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวยอมความได้ ศาลท่านก็มักจะไกล่เกลี่ยเกลี้ยกล่อมให้ประนีประนอมเสีย ผมจึงไม่แนะนำครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานเขียน ผู้ละเมิดอาจเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี การฟ้องจึงต้องย้ายไปพิจารณาในศาลเยาวชนและครอบครัว ก็ขอให้เมตตาแก่เด็กๆ และให้โอกาสเขากลับตัวแก้ไขเสียใหม่เถิด หากแก้ไขไม่ได้ทำซ้ำหลายครั้งจึงพิจารณากันอีกที
1. การฟ้องแพ่ง เป็นการฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหายอันเกิดขึ้นจากการละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โดยถือว่าการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับทรัพย์สินทางปัญญา คือลิขสิทธิ์ของงานประพันธ์ ตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ผู้ฟ้องจะเรียกค่่าเสียหายตามที่เกิดขึ้นจริง หรือคาดว่าอาจจะเกิดขึ้น การนำสืบของการฟ้องทางแพ่งนั้น เพียงนำสืบให้รู้ว่าเกิดการละเมิดขึ้นจริง และมีความเสียหายก็พอแล้วที่จะทำให้ชนะคดี อายุความการฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ทางแพ่งคือ ภายใน 3 ปีนับแต่ทราบการละเมิด
2. การฟ้องอาญา เป็นการฟ้องเพื่อลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ซึ่งมีโทษทางอาญาบัญญัติไว้ อาจจะทำให้ผู้ละเมิดต้องโทษจำคุกได้ มักจะฟ้องกันเพื่อให้เกิดการเข็ดหลาบไม่กล้ากระทำอีก การนำสืบเพื่อฟ้องคดีอาญานั้นต้องพิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัย ว่าผู้ละเมิดได้กระทำผิดจริงทั้งหมดตามข้อกล่าวหา และอายุความการฟ้องเพียง 3 เดือน หลังแต่พบการละเมิด
การฟ้องทั้งสองแบบ มีวิธีและกระบวนการฟ้อง การสอบสวนนำสืบ และการยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานแตกต่างกัน ซึ่งจะบรรยายดังต่อไปนี้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ทางแพ่ง ไม่จำเป็น ต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพียงแค่ผู้ถูกละเมิดรวบรวมพยานหลักฐาน เอกสารประกอบคดีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เรียงเป็นชุดๆ ยื่นคำฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา หรือศาลแพ่งในเขตอำนาจศาล(เขตจังหวัด) ของท่าน โดยในคำฟ้องให้บรรยายการกระทำละเมิดของจำเลยให้ละเอียด ชี้พยานหลักฐานประกอบในคำฟ้อง รวมถึงระบุค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนเงินอย่างชัดเจนว่า การกระทำของจำเลยทำให้เกิดความเสียหายคิดเป็นเงินกี่บาทๆ และขอความกรุณาจากศาลโปรดพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายด้วย โดยท่านต้องระบุชื่อ ที่อยู่ภูมิลำเนาของจำเลยในคำฟ้อง เพื่อศาลจะได้ส่งคำฟ้องไปให้จำเลยมาต่อสู้คดี
เช่น น.ส. แหวว เขียนนิยายลงอินเตอร์เน็ต ถูก น.ส. หวาน นำไปเสนอให้สนพ. น้ำตาล ตีพิมพ์ น.ส. แหวว ต้องเตรียมพยานหลักฐานแนบท้ายคำฟ้องไป คือ ต้นฉบับนิยายของตัวเอง พิมพ์หน้าเพจนิยายในอินเตอร์เน็ตที่มีวันเดือนปีระบุชัดเจน นิยายที่ถูกลอกและตีพิมพ์ออกมาแล้วจาก สนพ. น้ำตาล และอาจอ้างกองบรรณาธิการของ สนพ. น้ำตาลมาเป็นพยานบุคคล หรือฟ้องเป็นจำเลยร่วมได้ โดยน.ส. แหวว อาจระบุค่าเสียหายคิดตามยอดพิมพ์คูณราคาปกของหนังสือที่ถูกลอก คิดเป็นค่าเสียหายในคำฟ้อง
เมื่อยื่นคำฟ้อง และศาลประทับรับฟ้องลงเลขคดีหมายเลขดำแล้ว ศาลจะส่งคำฟ้องไปยังจำเลยเพื่อเรียกให้มาแก้คดีใน 30 วัน หากภูมิลำเนาของจำเลยไม่มีคนเซ็นรับคำฟ้อง เจ้าหน้าที่จะปิดประกาศไว้ที่หน้าบ้านและนับเวลาไปอีก 15 วัน หากจำเลยไม่มายื่นคำให้การ ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยไม่มีสิทธิ์แก้คดีด้วยตัวเอง ถือว่ารับคำฟ้องของโจทก์ทุกประการ หากจำเลยยื่นคำให้การแก้ต่าง ก็ต้องมานำสืบกันต่อในชั้นศาล โดยศาลจะนัดวันไกล่เกลี่ยก่อน จากนั้นจึงนัดชี้สองสถานพร้อมสืบพยานโจทก์
โดยมากขั้นตอนการขึ้นศาลจะจบลงที่ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยนี้เอง หากโจทก์มันใจว่าถูกละเมิด และจำเลยทำการละเมิดจริง ก็จะพูดคุยประนีประนอมยอมความ อาจจะลดค่าเสียหายที่จำเลยต้องจ่ายไปบ้าง คดีก็จะจบลง
หากจำเลยไม่ไกล่เกลี่ยยอมความ ศาลก็จะนัดชี้สองสถาน สืบพยาน ตามขั้นตอนการดำเนินคดีต่อไปจนพิพากษาถึงที่สุด ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานว่าแน่นหนาแค่ไหน ทนายซักพยานเก่งแค่ไหน ละครับ.
หากจำเลยไม่มาศาลเลย ศาลก็จะถือว่าขาดนัดพิจารณา โจทก์สามารถยื่นคำร้องขอให้โจทก์ชนะคดีเนื่องจากจำเลยขาดนัดพิจารณา เมื่อศาลพิพากษาตามร้องดังกล่าว โจทก์สามารถดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์เอากับจำเลยได้ โดยติดต่อกับสำนักงานบังคับคดี จำเลยจะถูกอายัดทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ เงินในบัญชีธนาคารจนกว่าจะชำระหนี้มูลละเมิดแก่โจทก์หมดสิ้น.
ส่วนการฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ทางอาญา จำเป็น ต้องไปแจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีกับตำรวจ โดยรวบรวมเอกสารหลักฐานเช่นเดียวกันกับการฟ้องแพ่ง เพื่อให้ตำรวจออกหมายเรียก หรือร้องต่อศาลเพื่อออก หมายค้น หรือหมายจับไปยังผู้ละเมิด ผู้ละเมิดต้องถูกนำตัวมาสอบสวนกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากพบว่ามีความผิดจริงในชั้นต้น อาจถูกคุมขังไว้ จำเลยต้องหาหลักทรัพย์มาประกันตัว คดีแบบนี้เห็นได้มากเกี่ยวกับคดีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ครับ เพราะบริษัทซอฟท์แวร์จะเน้นการฟ้องให้เข็ดหลาบ ไม่กระทำอีก มากกว่าต้องการเงินค่าเสียหาย
จากนั้นตำรวจจะรวบรวมสำนวนเพื่อยื่นต่ออัยการให้สั่งฟ้อง และนำตัวจำเลยไปไต่สวนในชั้นศาล และดำเนินคดีไปตามขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคดี ผู้ถูกละเมิดอาจยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการได้
คดีจะเข้าสู่การไกล่เกลี่ยเช่นเดียวกับคดีแพ่ง หากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ ก็จะสืบพยานจนหมดสิ้น ศาลพิพากษษ หากไม่เห็นผิด หรือนำสืบไม่ชัดเจนจนสิ้นสงสัย ศาลจะยกฟ้องเสีย หากนำสืบจนเห็นสม ศาลอาจพิพากษาปรับและจำคุกตามลำดับโทษ โดยอาจให้รอลงอาญาไว้หากจำเลยกระทำผิดครั้งแรก
อย่างไรก็ตาม การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์เป็นคดีอาญาสำหรับนักเขียนนั้นยุ่งยากวุ่นวาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็มักไม่ใส่ใจ อีกทั้งยังก่อศัตรูขึ้นได้ง่าย คดีใช้เวลานานคั่งค้างรกโรงศาล และเมื่อเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวยอมความได้ ศาลท่านก็มักจะไกล่เกลี่ยเกลี้ยกล่อมให้ประนีประนอมเสีย ผมจึงไม่แนะนำครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานเขียน ผู้ละเมิดอาจเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี การฟ้องจึงต้องย้ายไปพิจารณาในศาลเยาวชนและครอบครัว ก็ขอให้เมตตาแก่เด็กๆ และให้โอกาสเขากลับตัวแก้ไขเสียใหม่เถิด หากแก้ไขไม่ได้ทำซ้ำหลายครั้งจึงพิจารณากันอีกที
การฟ้องคดีลิขสิทธิ์ (ลองอ่านดูก่อน)
กุโระ..โมเอะที่โลกลืม
[IMG]