น่าจะได้ข้อสรุปมาประมาณหนึ่งแล้ว สำหรับกรณีที่ ศธ.มีแนวคิดปรับเปลี่ยนประโยชน์ของการสอบ O-NET จากเดิม ม.6 ใช้เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ส่วน ม.3 ก็ไว้ใช้เข้า ม.4 ก็ได้เพิ่มมูลค่าด้วยการเอาคะแนน O-NET มาตัดเกรดในโรงเรียน และเป็นเกณฑ์จบหลักสูตรด้วย เรียกว่าเด็กมัธยม พ.ศ.นี้ โอดครวญไปหลายวัน
จากแนวคิดที่เสนอมาและสรุปไปรอบนึงแล้วว่า เอามาใช้ตัดเกรดนั้นเป็นเรื่องจริง โดยเริ่มปีนี้ที่ 20% หมายความว่า คะแนนรายงาน การสอบและกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนจะมีสัดส่วนแค่ 80% เท่านั้น แต่แนวคิดเรื่องใช้เป็นเกณฑ์จบนั้น น่าจะเป็นไปได้ยาก เพราะอาจจะเกิดปัญหาตามมาภายหลังอีกได้ ดังนั้นผลสรุป คือ O-NET ใช้ตัดเกรด แต่ไม่ใช้ตัดเกรดแล้วจ้า
โดยเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เผยความคืบหน้ากรณีที่นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศธ.มีนโยบายให้นำ O-NET มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการจบหลักสูตรของผู้เรียนนั้น ขณะนี้คณะทำงาน ของสพฐ.ได้เสนอร่างประกาศให้นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณา เพื่อนำเสนอนายสุชาติ และจะได้นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยข้อมูลที่นำเสนอนั้นจะให้ใช้ผลคะแนน O-NET มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในผลการเรียนเท่านั้น จะไม่มีผลต่อการจบหลักสูตร ซึ่งจะใช้สัดส่วน 20% โดยจะใช้ในระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ในปีการศึกษา 2555 นี้
"ผลคะแนน O-NET นี้จะไม่มีผลต่อการจบระดับชั้น หมายความว่าหากเด็กได้คะแนน O-NET ไม่ผ่านก็ไม่มีผลต่อการเรียนต่อในระดับชั้นต่อไป แต่ผลคะแนน O-NET จะทำให้ GPAX ของเด็กลดลงได้ หากไม่ตั้งใจสอบเพื่อให้ได้คะแนนดี โดยเฉพาะนักเรียนชั้น ม.6 โดยคะแนน O-NET นี้จะระบุไว้ในใบแสดงผลการเรียนของเด็กด้วย"
ทางคณะทำงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่าหากจะใช้ผลคะแนน O-NET เป็นส่วนประกอบในการจบหลักสูตรจะต้องไปเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบว่าด้วยการจบหลักสูตร และหากใช้จะมีผลกระทบอาจทำให้เด็กไม่จบหลักสูตรจำนวนมาก และ สพฐ.ก็ต้องมีการวางแผนเพื่อซ่อมเสริมให้เด็กได้จบตามหลักสูตร นอกจากนี้คณะทำงานยังเห็นว่าการใช้คะแนน O-NET เพื่อจบหลักสูตรจะเป็นวิธีหนึ่งที่เป็นการให้ยาแรง ในขณะที่เด็กก็ยังไม่ได้มีการเตรียมความพร้อม
อย่างไรก็ตาม สพฐ.คาดหวังว่าการใช้ผลคะแนน O-NET มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในผลการเรียน จะเป็นตัวถ่วงน้ำหนักคะแนนการประเมินในระดับโรงเรียนได้ ซึ่งจะส่งผลให้โรงเรียนมีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น โดยในเรื่องนี้ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ยังไม่ทราบละเอียดจาก สพฐ.แต่คาดว่าเร็วๆ นี้ จะนำเสนอเข้า ครม.เพื่อให้ทันประกาศใช้ในปีนี้
ก่อนอื่นก็ขอแสดงความยินดีล่วงหน้า ที่อย่างน้อยก็ไม่ได้โหดร้ายกับน้องๆ มากเกินไป เหตุผลที่ผู้ใหญ่กลัวก็คงเหมือนกับที่น้องๆ กลัว คือ กลัวจะไปไม่รอด!! ซึ่งสุดท้ายอาจจะเป็นปัญหาใหม่ขึ้นมาอีก
แต่ยังไงก็ตาม O-NET ก็เป็นคะแนนที่สำคัญอยู่แล้ว ต้องทำให้เต็มที่ที่สุด เพราะนั่นไม่ใช่แค่ผลพลอยได้ของน้องๆ แต่ยังเป็นผลที่แสดงความสามารถทางวิชาการของโรงเรียนน้องๆ ด้วยนะคะ และถ้าหากเรื่องนี้มีคาบคืบหน้าหรือจะปรับเปลี่ยนอะไรอีก พี่มิ้นท์จะเอามาอัพเดทให้น้องๆ เช่นเคยจ้า
ขอขอบคุณบทความจากเว็บ Dek-d.com ด้วยครับผม ^^///
ปล. น้องๆที่กำลังคิดหนักเรื่องเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย คงจะสบายใจได้แล้วนะครับ
จากแนวคิดที่เสนอมาและสรุปไปรอบนึงแล้วว่า เอามาใช้ตัดเกรดนั้นเป็นเรื่องจริง โดยเริ่มปีนี้ที่ 20% หมายความว่า คะแนนรายงาน การสอบและกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนจะมีสัดส่วนแค่ 80% เท่านั้น แต่แนวคิดเรื่องใช้เป็นเกณฑ์จบนั้น น่าจะเป็นไปได้ยาก เพราะอาจจะเกิดปัญหาตามมาภายหลังอีกได้ ดังนั้นผลสรุป คือ O-NET ใช้ตัดเกรด แต่ไม่ใช้ตัดเกรดแล้วจ้า
โดยเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เผยความคืบหน้ากรณีที่นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศธ.มีนโยบายให้นำ O-NET มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการจบหลักสูตรของผู้เรียนนั้น ขณะนี้คณะทำงาน ของสพฐ.ได้เสนอร่างประกาศให้นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณา เพื่อนำเสนอนายสุชาติ และจะได้นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยข้อมูลที่นำเสนอนั้นจะให้ใช้ผลคะแนน O-NET มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในผลการเรียนเท่านั้น จะไม่มีผลต่อการจบหลักสูตร ซึ่งจะใช้สัดส่วน 20% โดยจะใช้ในระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ในปีการศึกษา 2555 นี้
"ผลคะแนน O-NET นี้จะไม่มีผลต่อการจบระดับชั้น หมายความว่าหากเด็กได้คะแนน O-NET ไม่ผ่านก็ไม่มีผลต่อการเรียนต่อในระดับชั้นต่อไป แต่ผลคะแนน O-NET จะทำให้ GPAX ของเด็กลดลงได้ หากไม่ตั้งใจสอบเพื่อให้ได้คะแนนดี โดยเฉพาะนักเรียนชั้น ม.6 โดยคะแนน O-NET นี้จะระบุไว้ในใบแสดงผลการเรียนของเด็กด้วย"
ทางคณะทำงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่าหากจะใช้ผลคะแนน O-NET เป็นส่วนประกอบในการจบหลักสูตรจะต้องไปเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบว่าด้วยการจบหลักสูตร และหากใช้จะมีผลกระทบอาจทำให้เด็กไม่จบหลักสูตรจำนวนมาก และ สพฐ.ก็ต้องมีการวางแผนเพื่อซ่อมเสริมให้เด็กได้จบตามหลักสูตร นอกจากนี้คณะทำงานยังเห็นว่าการใช้คะแนน O-NET เพื่อจบหลักสูตรจะเป็นวิธีหนึ่งที่เป็นการให้ยาแรง ในขณะที่เด็กก็ยังไม่ได้มีการเตรียมความพร้อม
อย่างไรก็ตาม สพฐ.คาดหวังว่าการใช้ผลคะแนน O-NET มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในผลการเรียน จะเป็นตัวถ่วงน้ำหนักคะแนนการประเมินในระดับโรงเรียนได้ ซึ่งจะส่งผลให้โรงเรียนมีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น โดยในเรื่องนี้ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ยังไม่ทราบละเอียดจาก สพฐ.แต่คาดว่าเร็วๆ นี้ จะนำเสนอเข้า ครม.เพื่อให้ทันประกาศใช้ในปีนี้
ก่อนอื่นก็ขอแสดงความยินดีล่วงหน้า ที่อย่างน้อยก็ไม่ได้โหดร้ายกับน้องๆ มากเกินไป เหตุผลที่ผู้ใหญ่กลัวก็คงเหมือนกับที่น้องๆ กลัว คือ กลัวจะไปไม่รอด!! ซึ่งสุดท้ายอาจจะเป็นปัญหาใหม่ขึ้นมาอีก
แต่ยังไงก็ตาม O-NET ก็เป็นคะแนนที่สำคัญอยู่แล้ว ต้องทำให้เต็มที่ที่สุด เพราะนั่นไม่ใช่แค่ผลพลอยได้ของน้องๆ แต่ยังเป็นผลที่แสดงความสามารถทางวิชาการของโรงเรียนน้องๆ ด้วยนะคะ และถ้าหากเรื่องนี้มีคาบคืบหน้าหรือจะปรับเปลี่ยนอะไรอีก พี่มิ้นท์จะเอามาอัพเดทให้น้องๆ เช่นเคยจ้า
ขอขอบคุณบทความจากเว็บ Dek-d.com ด้วยครับผม ^^///
ปล. น้องๆที่กำลังคิดหนักเรื่องเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย คงจะสบายใจได้แล้วนะครับ
ม.6 โล่ง!! ไม่ใช้ O-NET เป็นเกณฑ์จบ แต่ใช้ตัดเกรดตามเดิม