1.กิวตัง(ญี่ปุ่น:Gyūtan牛タン?) เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ทำมาจากลิ้นวัวย่าง คำว่ากิวตังเป็นการผสมระหว่างคำว่า กิว (ญี่ปุ่น:cow牛gyū?) ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่าวัว กับคำว่าตัง (tongue)ในภาษาอังกฤษที่แปลว่าลิ้น เนื่องจากคำว่ากิวตังมีความหมายทางภาษาว่า "ลิ้นวัว" ดังนั้นในญี่ปุ่นจึงใช้คำนี้เรียกลิ้นวัวด้วยเช่นกัน การปรุงกิวตังเริ่มต้นจากเมืองเซนไดเมื่อพ.ศ. 2491ปกติแล้วในเซนไดจะรับประทานกับข้าวบาร์เลย์ซุปหางวัว และผักดอง ในพื้นที่อื่นๆในญี่ปุ่นมักจะมีกิวตังในร้านยะกินิกุเดิมทีกิวตังจะปรุงรสด้วยเกลือในร้านยะกินิกุหลายร้านจึงเรียกกิวตังว่า ทังชิโอะ (ญี่ปุ่น:tanshioタン塩, lit. "tongue salt" ?) ปัจจุบันบางร้านจะบริการกิวตังพร้อมกับtaresauce
เมื่อ พ.ศ. 2491 ซะโนะ เคชิโร เจ้าของร้านยะกิโทะริในเซ็นได ได้เปิดร้านอาหารใหม่ที่บริการอาหารจากลิ้นวัว ร้านนี้มีชื่อว่า ทะซุเกะ (太助) และในปัจจุบันยังคงจัดว่าเป็นร้านกิวตังที่ดีที่สุดในเซนได ซะโนะเปิดร้านนี้เพื่อปรุงอาหารจากลิ้นและหางของวัวที่ Occupation forces ที่ประจำอยู่ในเซนไดหลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง เหลือทิ้งไว้ แรกเริ่มนั้นกิวตังจัดว่าเป็นอาหารที่ค่อนข้างแปลก แต่ก็ค่อยๆเป็นที่นิยมไปทั่วญี่ปุ่น ซึ่งส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากพนักงานเงินเดือนที่ถูกโยกย้ายจากเซนไดไปเมืองอื่นๆ ได้กระจายชื่อเสียงของกิวตังไปยังเมืองเหล่านั้น
เมื่อ พ.ศ. 2534 ญี่ปุ่นได้ยกเลิกการจำกัดการนำเข้าเนื้อวัว ทำให้มีร้านกิวตังเปิดมากขึ้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2546 รัฐบาลญี่ปุ่นได้สั่งห้ามนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐอเมริกาหลังจากพบโรควัวบ้า ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อร้านกิวตังหลายร้าน ตัวอย่างเช่น 90% ของลิ้นวัวที่ใช้ในร้านกิวตังในเซนได จะนำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ Purists บางคนอ้างว่า เนื้อวัวจากสหรัฐอเมริกาที่ปริมาณไขมันที่เหมาะต่อการปรุงกิวตัง และปฏิเสธที่จะใช้เนื้อวัวจากออสเตรเลีย และเนื่องจากลิ้ววัวอาจอุดมไปด้วย Prion protein ที่เป็นสาเหตุของโรควัวบ้า สถานการณ์ของกิวตังในอนาคตจึงยังไม่แน่นอน
2.กี๊ยว (จีนตัวเต็ม: 餃子; จีนตัวย่อ: 饺子; พินอิน: jiǎozi เจี่ยวจึ หรือ "เจี่ยวจือ"; (ญี่ปุ่น: 餃子, ギョーザ, ギョウザ ?) gyōza เกียวซะ) หมายถึงอาหารจีนชนิดหนึ่ง ทำจากแผ่นแป้งผสมหรือแป้งบะหมี่
วิธีการทำเกี๊ยวใช้วิธีการ (dough) ห่อไส้เนื้อ ผัก หรือส่วนผสมอย่างอื่น ม้วนและปิดห่อด้วยการแตะน้ำเล็กน้อยแล้วบีบที่ขอบ (แผ่นแป้งเมื่อโดนน้ำแล้วจะติดกัน) ทำให้เกี๊ยวมีรูปทรงคล้ายจานบิน เกี๊ยวสามารถนำไปต้ม นึ่ง หรือทอดพอสุก เสิร์ฟพร้อมซอสพริกและซอสสำหรับจิ้มที่ทำจากซอสถั่วเหลืองผสมน้ำส้มสายชู โดยบางครั้งจะใส่น้ำมันพริกหรือน้ำพริกเผา
เกี๊ยวเป็นอาหารที่นิยมทั้งในประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี และนอกเหนือไปจากเอเชียตะวันออก ส่วนในประเทศไทย สามารถพบเห็นเกี๊ยวซึ่งขายคู่กับบะหมี่ใน ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว และคนไทยมักเรียกเกี๊ยวที่ห่อไส้แล้วนำไปทอดว่า เกี๊ยวซ่า คล้ายชื่อเรียกในภาษาญี่ปุ่น นอกจากนั้น มีคนในประเทศไทยจำนวนมากเรียกเกี๊ยวนึ่งหรือเกี๊ยวต้ม ที่มีลักษณะเดียวกับเกี๊ยวซ่าว่า เกี๊ยวซ่านึ่งหรือเกี๊ยวซ่าต้ม เพื่อแสดงความแตกต่างทางลักษณะจากเกี๊ยวที่ในประเทศไทยมักขายคู่กับบะหมี่ ซึ่งเล็กกว่าและห่อต่างกัน อย่างไรก็ตาม เกี๊ยวต้มหรือเกี๊ยวซ่าต้ม ในภาษาจีนคือ 水餃 (ออกเสียงในภาษาจีนกลางว่า สวยเจี่ยว หรือ สุยเจี่ยว) ซึ่งถ้าแปลโดยตรง จะแปลว่า เกี๊ยวน้ำ แต่ในภาษาไทย เกี๊ยวน้ำหมายถึงเกี๊ยวที่ในประเทศไทยมักขายคู่กับบะหมี่ ที่อยู่ในรูปแบบซุป (มีเกี๊ยวแห้งด้วย) ซึ่งใส่ไข่ลงในแป้ง จึงมีสีเหลือง (บางครั้งนำเปลือกเกี๊ยวไปห่อเนื้อสัตว์บด แล้วนำไปทอด เรียกว่า เกี๊ยวกรอบ เกี๊ยวประเภทนี้ไม่ว่าจะเป็นแบบซุปหรือแบบทอด ในภาษาจีนคือ 餛飩 ซึ่งออกเสียงในภาษาจีนกลางว่า หุนทุ้น หรือ หุนทุน ส่วนในภาษาอังกฤษคือ wonton ซึ่งเป็นไปตามการออกเสียงในภาษาจีนกวางตุ้ง) เกี๊ยวซ่านึ่งและเกี๊ยวซ่าต้ม นิยมรับประทานในแบบเดียวกับเกี๊ยวซ่าทอดซึ่งในภาษาจีนกลางคือ 鍋貼 (ออกเสียงว่า กั๊วเท้ หรือ กัวเท) ในไต้หวัน นอกจากเกี๊ยวซ่าทอด มักพบเกี๊ยวซ่าต้มมากกว่าเกี๊ยวซ่านึ่ง ทั่วโลก นอกจากเกี๊ยวซ่าทอด มักพบเกี๊ยวซ่านึ่งมากกว่า ก่อนทอดเกี๊ยวซ่า มักนำไปนึ่งก่อน แต่ชาวไต้หวันมักทอดโดยการเติมน้ำร้อนหลังจากทอดจนเปลือกเกี๊ยวซ่ามีสีน้ำตาลอ่อน แล้วปิดฝาไว้โดยใช้ไฟปานกลางจนกระทั่งน้ำเดือด
ในทิเบตและเนปาลมีอาหารที่มีรูปแบบคล้ายเกี๊ยวเรียกว่า โมโม ปรุงสุกด้วยการนึ่ง ไส้ทำด้วยเนื้อสัตว์
3.คะมะโบะโกะ (ญี่ปุ่น: 蒲鉾 Kamaboko ?) ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายลูกชิ้นปลาเส้น ของประเทศไทย โดยคะมะโบะโกะจะถูกทำให้สุกและเก็บไว้ในห่อ โดยเมื่อต้องการกิน จะหั่นคะมะโบะโกะออกมาเป็นแผ่นๆ โดยสามารถกินได้โดยอุ่นก่อนกิ่น หรือกินโดยไม่ต้องอุ่น นิยมใส่ในราเม็ง นอกจากนี้ยังสามารถกินจิ้มกับน้ำจิ้ม หรือใส่ไว้ในอาหารประเภทต้ม คะมะโบะโกะส่วนมากจะผลิตออกมาในลักษณะเป็นทรงกระบอกหรือครึ่งทรงกระบอก โดยเมื่อหั่นออกมาเป็นแผ่นๆ จะถูกเรียกว่า นะรุโตะ
คะมะโบะโกะเริ่มในช่วงคริสต์ศตรวรรษที่ 14 ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในปัจจุบันมีจำหน่ายทั่วโลก
คะมะโบะโกะขาวและแดง
4. ทงกะสึ (ญี่ปุ่น: 豚カツ, とんかつ หรือ トンカツ tonkatsu ?) เป็นอาหารญี่ปุ่น ทำจากเนื้อสุกรหั่นเป็นแผ่นหนาราวสองเซนติเมตร หมักเกลือและพริกไทย โรยแป้งบาง ๆ ชุบแป้งผสมไข่และน้ำอันตีจนเหลวเข้ากัน ชุบเกล็ดขนมปังซึ่งเรียก "ปังโกะ" (panko) อีกชั้น แล้วทอดจนสุก รับประทานกับอาหารอื่น เป็นต้นว่า ข้าวสวย, กะหล่ำใบ หรือซุปเต้าเจี้ยว[1]
โปรตุเกสเป็นผู้นำเข้าทงกะสึมายังญี่ปุ่น[2] และเดิมเรียก "คะสึเระสึ" (katsuretsu) และเรียกโดยย่อว่า "คะสึ" ทั้งนับเป็นอาหารในเหล่า "โยโชะกุ" (yōshoku) คือ อาหารญี่ปุ่นบรรดาซึ่งดัดแปลงจากอาหารยุโรปในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[3]
คะสึเระสึดั้งเดิมนั้นใช้เนื้อโคปรุง ส่วนเนื้อสุกรที่นิยมกันในปัจจุบันนั้นเริ่มใช้ ณ ร้านอาหารยุโรปแห่งหนึ่งในย่านกินซะ กรุงโตเกียว เมื่อ ค.ศ. 1890[4]
คำ "ทงกะสึ" หมายความว่า คะสึที่ทำจากเนื้อสุกร และบัญญัติขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1930
ทงกะสึ เสิร์ฟพร้อมกับกะหล่ำปลีหั่น, ข้าวและซุปมิโซะในซัปโปโร, ฮกไกโด, ญี่ปุ่น
5.เบ็นโต (ญี่ปุ่น: 弁当 Bentō ?) หมายถึงอาหารที่จัดเตรียมใส่กล่องเพื่อสะดวกต่อการพกพาไปรับประทานนอกบ้าน หรือระหว่างการเดินทาง คล้ายกับข้าวกล่อง (lunch box) ของอเมริกา โดยส่วนมากกล่องที่ใส่จะมีลักษณะเป็นหลุมหลายหลุม เหมือนกับถาดหลุม เพื่อจะได้สามารถจัดอาหาร เช่น ข้าวสวย กับข้าว รวมถึงเครื่องเคียงอื่นๆ ใส่ลงในกล่องได้อย่างเป็นสัดส่วน
ปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่นมีเบ็นโตมากมายหลายชนิดให้เลือกรับประทาน ทั้งตามสถานีรถไฟภัตตาคาร ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อทั่วไป ส่วนในประเทศไทย สามารถหารับประทานได้ตามภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นหลายๆ แห่ง
มีการสันนิษฐานว่าคำว่า ปิ่นโต ของไทย น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า เปี้ยนตัง ของจีน และเบ็นโตของญี่ปุ่นนี่เอง
เบ็นโต หรือ อาหารปิ่นโตแบบญี่ปุ่น
6.ทาโกะยากิ (ญี่ปุ่น: たこ焼き หรือ 蛸焼 takoyaki หมึกทอดหรือย่าง ?) เป็นชื่ออาหารญี่ปุ่นอย่างหนึ่ง โดยเป็นเกี๊ยว (dumpling) ทรงกลม ทำจากแป้ง น้ำ นม และไข่ผสมกัน หรือที่เรียกรวมกันในภาษาอังกฤษว่า "แบ็ตเทอร์" (batter) ใส่ไส้เป็นหมึกตัวเล็กทั้งตัวหรือหั่นเต๋า, เท็มปุระขูด หรือที่เรียก "เท็งกะซุ" (tenkasu), ขิงดอง หรือที่เรียก "เบะนิโชะงะ" (beni shoga) หรือหัวหอมเขียว แล้วทำให้สุกโดยทอดหรือปิ้งในกระทะหลุมอย่างกระทะขนมครก ปัจจุบัน มักราดซอสทะโกะยะกิ และมายงแนส (mayonnaise) แล้วโรยสาหร่ายเขียวที่เรียก "อะโอะโนะริ" (aonori) กับปลาทูขอดทอดแห้ง หรือที่เรียก "กะสึโอะบุชิ" (katsuobushi) ด้วย[1]
พ่อค้าอาหารริมถนนชาวญี่ปุ่นชื่อ โทะเมะกิชิ เอนโดะ (Tomekichi Endo) คิดค้นทะโกะยะกิขึ้นใน พ.ศ. 2478 โดยดัดแปลงมาจากอาหารชื่อ "อะกะชิยะกิ" (Akashiyaki) แล้ววางขายในโอะซะกะ[1] แรกเริ่ม ทะโกะยะกิได้รับความนิยมเป็นอันมากในคันไซ แล้วแพร่ไปคันโต ก่อนจะไปสู่ท้องที่อื่น ๆ ตามลำดับ บัดนี้ ยังเป็นที่นิยมภายนอกประเทศญี่ปุ่นด้วย สำหรับในญี่ปุ่นเอง จำเดิมทะโกะยะกิมีขายทั่วไปตามรถเข็นริมถนน ที่เรียก "ยะตะอิ" (yatai) ปัจจุบัน มีวางขายในภัตตาคาร ห้างสรรพสินค้า และร้านซื้อสะดวกยี่สิบสี่ชั่วโมงด้วย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังผลิตทะโกะยะกิแช่แข็งส่งออกไปขายนอกประเทศเป็นอันมาก และทะโกะยะกิกลายเป็นอาหารประจำถิ่นโอะซะกะและคันไซ
คำว่า "ยะกิ" นั้นมาจาก คำ "ยะกุ" (ญี่ปุ่น: 焼く yaku ?) หมายถึง ทอด ย่าง หรือปิ้ง และเป็นคำประกอบชื่ออาหารอีกหลายชนิดของญี่ปุ่น อาทิ เท็ปปันยะกิ, ยะกิโตะริ, เทะริยะกิ และ ซุกิยะกิ[2]
สำหรับกระทะหลุมอันมีไว้ทอดหรือปิ้งทะโกะยะกินั้น ภาษาญี่ปุ่นเรียก "ทะโกะยะกิกิ" (ญี่ปุ่น: たこ焼き器 takoyaki-ki ?) หรือ "ทะโกะยะกินะเบะ" (ญี่ปุ่น: たこ焼き鍋 takoyaki-nabe ?) ทำจากเหล็กหล่อ (cast iron) ลักษณะเป็นหลุมกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้หยอดทะโกะยะกิลงไปเมื่อกระทะร้อนได้ที่แล้ว แต่บางที เครื่องทำทะโกะยะกิที่ต่อกับแก๊สหุงต้มก็นิยมใช้ในเทศกาลต่าง ๆ และเครื่องใช้ไฟฟ้าลักษณะอย่างเตาก็นิยมใช้ทำทะโกะยะกิในครัวเรือน
- โชยุราเม็ง (ราเม็งซีอิ๊ว)
- มิโซะราเม็ง
- พลายราเม็ง
- บันชูราเม็ง
- ทะกะยะมะราเม็ง
- โอโนะมิจิราเม็ง
- จุ้ยราเม็ง
- ปาล์มราเม็ง
8.เทปปันยะกิ (ญี่ปุ่น: 鉄板焼き teppan'yaki ?) เป็นรูปแบบหนึ่งของอาหารญี่ปุ่นที่ใช้กระทะเหล็กแบนในการประกอบอาหารในประเทศญี่ปุ่น เทปปันยากิจึงหมายถึงอาหารที่ทำให้สุกโดยกระทะเหล็ก ทั้งนี้รวมถึง สเต็ก กุ้ง โอโคโนมิยากิ ยากิโซบะ และ มอนจายากิ
คำว่า เทปปังยะกิ มาจากคำว่า เทปปัง (鉄板) ที่แปลว่าแผ่นเหล็ก และ ยะกิ (焼き) ที่แปลว่าย่าง ปิ้ง และทอดด้วยกระทะประวัติผู้ให้กำเนิดรูปแบบของเทปปันยากิน คือร้านอาหารญี่ปุ่นที่ชื่อ มิโซโน (Misono) ในปี ค.ศ. 1945[1] โดยนำเอาคอนเซปของการปรุงอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก มาปรุงลงบนกระทะเทปปัน แล้วพบว่าอาหารขนิดนี้ได้รับความนิยมในหมู่ชาวต่างชาติมากกว่าชาวญี่ปุ่น ชาวต่างชาติชื่นชมกับทักษะการเตรียมอาหารของพ่อครัว ฝึมือการทำอาหาร และรู้สึกคุ้นเคยมากกว่าอาหารแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น ร้านอาหารแห่งนี้โด่งดังขึ้นเรื่อยๆในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และทางร้านเองได้พัฒนาทักษะการเตรียมอาหารของพ่อครัวให้เพิ่มมากขึ้น เช่น การเรียงหัวหอมให้เป็นทรงภูเขาไฟฟูจิ และจุดแอลกอฮอล์หรือสาเกให้ติดไฟ ทำให้เกิดภูเขาไฟหัวหอมที่มีเปลวไฟ[แก้]ส่วนผสม
ส่วนผสมทั่วไปที่ใช้สำหรับเทปปันยากินสไตล์ตะวันตกคือ เนื้อ กุ้ง หอย กุ้งล็อบสเตอร์ ไก่ และ ผัก ใช้น้ำมันถั่วเหลืองในการปรุงส่วนผสมต่างๆ สำหรับเทปปันยากิสไตล์ญี่ปุ่น มี ยากิโซบะ ประกอบด้วย บะหมี่ กะหล่ำปลี เนื้อ หรืออาหารทะเล และ โอโคโนมิยากิ ที่ปรุงด้วยน้ำมันพืข น้ำมันสัตว์ หรือทั้งสองอย่าง ร้านเทปปันยากิในประเทศญี่ปุ่นจำนวนมากมีเนื้อโกเบ (Kobe beef) เคียงด้วยถั่วงอก แตง (zucchini) กระเทียมแผ่น หรือข้าวผัด บางร้านมีน้ำจิ้มสำหรับอาหารโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ในประเทศญี่ปุ่น ซอสถั่วเหลืองเป็นซอสที่หาได้ทั่วไป[แก้]ทวีปอเมริกาเหนือรูปแบบของเทปปันยากิในอเมริกาเหนือ ประกอบด้วยสเต็กและเนื้ออื่นๆ กับผัก และมักจะรู้จักในนามของ ฮิบาชิ (hibashi) เพื่อกล่าวถึงร้านสเต็กญี่ปุ่น (Japanese steakhouses)ในสหรัฐอเมริกา ร้านเบนิฮานา (Benihana) ที่เปิดสาขาแรกในนิวยอร์ก ในปี ค.ศ. 1964[2] เป็นผู้ทำให้เทปปันยากิโด่งดัง ร้านนี้นำเสนอเทปปปันยากิโดยการให้พ่อครัวแสดงการทำอาหารให้ผู้ที่มารับประทานอาหารชม โดยมีเทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย พ่อครัวจะโยนภาชนะมากกว่าสองชิ้นสลับไปมา พลิกกุ้งขึ้นไปอยู่บนกระเป๋าเสื้อของตน นำไข่ลงไปใส่ไว้ในหมวก โยนไข่ขึ้นไปในอากาศแล้วเคาะด้วยมีด จากนั้นส่งกุ้งเข้าปากผู้ชม หรือเรียงหัวหอมทำเป็นภูเขาไฟภูเขาไฟหัวหอมนี้เป็นการแสดงอย่างหนึ่งของพ่อครัวในร้านเทปปันยากิ เริ่มด้วยการหัวหอมหั่นบางๆ แล้วนำมาซ้อนกันหลายๆชั้นจนดูเหมือนภูเขาไฟฟูจิยามาที่มีเปลวไฟ จากนั้นจุ่มลงในของเหลวที่ปะทุขึ้นเหมือนเป็นลาวาในการเตรียมการแบบดั้งเดิม หัวหอมจะถูกหั่นเป็นชั้นๆ ชั้นบนสุดหรือล่างสุดของกองจะถูกแยกออกมา จากนั้นจะถูกแยกออกทีละวง วงนอกสุด(วงที่ใหญ่ที่สุด)จะถูกใช้เป็นฐาน โดยด้านวงรอบนอกที่กว้างกว่าจะคว่ำอยู่ด้านล่าง วงที่เล็กกว่าจะถูกวางซ้อนขึ้นไปเรื่อยๆจนเกิดเป็นทรงโคนที่มีรูตรงกลางหลังจากการสร้างหัวหอมทรงโคน น้ำมันจะถูกราดลงในช่องเปิด(ตรงปล่องภูเขาไฟ) ตามด้วยเอธิลแอลกอฮอล์เจือจาง และเปิดไฟ แอลกอฮอล์ลุกไหม้ภายในไม่กี่วินาที เหลือแต่ไอของแอลกอฮอล์ที่ไม่เผาไหม้กำลังพ่นออกจากปล่องเหมือนเป็นควันไฟ[3] ซอสเทริยากิยังสามารถเติมลงไปหลังจากไฟดับ และน้ำมันที่ถูกทำให้ร้อนจากการย่าง จะปะทุขึ้นและไหลออกจากปล่องเหมือนลาวาอุปกรณ์อื่นในตระกูลเทปปันคือ ตะแกรงสำหรับย่าง ประกอบด้วยเหล็กแผ่นบางวางอยู่เหนือเตาเผาทรงกลม โดยทั่วไปแผ่นเหล็กจะเล็กกว่าเตาเผาและกลมเหมือนเตาเผาบาร์บีคิวของมองโกเลีย
9.โซะบะ (ญี่ปุ่น: そば, 蕎麦 soba ?) เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ได้ความนิยมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งบัควีท (ไม่ใช่แป้งสาลี) มีลักษณะเป็นเส้นยาว สีน้ำตาลโซะบะ นิยมรับประทานทั้งแบบเย็น จุ่มกับซอส และแบบร้อน ในน้ำซุป ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวิธีนำเส้นโซะบะไปประกอบอาหารนั้นนอกจากนี้ ในประเทศญี่ปุ่นเอง ยังนิยมเรียกอาหารเส้น ที่เป็นเส้นขนาดเล็กว่า โซะบะ อีกด้วย ซึ่งต่างจาก อุด้ง ซึ่งมีลักษณะเส้นหนา ทำจากแป้งสาลี โซะบะถูกขายอยู่ในหลากหลายสถานที่ ตั้งแต่ในร้านอาหารจานด่วนราคาถูกตามสถานีรถไฟต่างๆ จนกระทั่งร้านอาหารหรูหราราคาแพง นอกจากนี้ เส้นโซะบะยังมีขายแบบเส้นแห้ง และบะหมี่สำเร็จรูป ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตอีกด้วยในประเทศไทย มักเรียกเส้นบะหมี่ฮกเกี้ยนซึ่งมีลักษณะเส้นใหญ่ หนา สีเหลืองว่า เส้นโซะบะ เนื่องจากร้านอาหารในประเทศไทยนิยมนำบะหมี่ชนิดนี้มาผัด คล้ายอาหารญี่ปุ่นที่เรียกว่า ยากิโซะบะ
10.วาซาบิ (ญี่ปุ่น: ワサビ wasabi ?) เป็นเครื่องปรุงที่ทำมาจากการบดลำต้นของพืช Canola (Japanese horseradish) จัดเป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในตระกูลเดียวกับพวกบรอกโคลีและกะหล่ำ เป็นสมุนไพรดั้งเดิมของญี่ปุ่น สามารถปลูกได้ทั้งบนดิน และพื้นน้ำ โดยปลูกบนพื้นน้ำจะให้คุณภาพที่ดีกว่า ในหลายประเทศมักจะเรียกวาซาบิกันผิดๆ ว่าฮอร์สแรดิชญี่ปุ่น ฮอร์สแรดิชสีเขียว หรือแม้แต่มัสตาร์ดญี่ปุ่น
ลักษณะใบของวาซาบิจะคล้ายกับดอกของต้นโฮลีฮอค ต้นมีความสูงแค่เข่า ส่วนโคนลำต้นที่ใช้ในการทำอาหารมีลักษณะเป็นหัวเหมือนหัวไชเท้าหรือบอระเพ็ดแต่เป็นสีเขียวอ่อนๆ เมื่อบดแล้วมีกลิ่นที่ฉุนรุนแรง ถ้ารับประทานจะให้ความรู้สึกแสบร้อนขึ้นจมูกในระยะสั้นๆ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นความกลมกล่อม จากรสหวานและขมผสมกัน และให้ความเผ็ดเล็กน้อย[แก้]วิธีทำนำส่วนโคนลำต้นที่มีความหนาออกมาใช้ และหลายๆ คนมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นส่วนรากของมัน เวลาจะนำไปรับประทาน หรือประกอบอาหารนั้นจะต้องมีกรรมวิธีพิเศษคือนำวาซาบิไปฝนกับเครื่องฝนพิเศษที่ทำมาจากเหงือกปลาฉลาม (Wasabi Oroshi) ซึ่งจะมีปุ่มขนาดเล็กๆ จนทำให้ผลวาซาบิละเอียดจนมีลักษณะคล้ายครีมสีเขียว หลังจากนั้นก็นำไปผสมกับโชยุใช้เป็นน้ำจิ้มสำหรับปลาดิบ (ซะชิมิ, sashimi) หรือ ซูชิ (sushi) เพื่อให้ได้รสชาติอร่อยยิ่งขึ้น
[แก้]แหล่งเพาะปลูกแหล่งที่ปลูกวาซาบิอยู่ที่ชิมิทสึ แปลว่า น้ำสะอาด การปลูกวาซาบินั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องลงทุนค่อนข้างสูง พืชชนิดนี้มักจะปลูกในที่โล่ง แต่จะต้องมีการจำกัดปริมาณแสงแดดไม่ให้ส่องลงมาถูกต้นพืชโดยตรงในช่วงฤดูร้อน(ถ้าโดนแล้วจะให้ผลไม่ดี)เนื่องจากมีแหล่งปลูกที่จำกัดจึงทำให้วาซาบิมีราคาค่อนข้างสูง ที่ประเทศไทยนั้นตามร้านอาหารมีระดับ หรือตามโรงแรมบางแห่งเท่านั้นที่จะใช้โคนต้นวาซาบิสดบด เพราะต้องนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นด้วยราคากิโลกรัมละหลายพันบาท ดังนั้นจึงมีวาซาบิเทียมซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีเขียวและปรุงแต่งกลิ่นและสีเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาผสมและกวนกับน้ำเย็นแล้วทิ้งไว้สักครู่ก็จะมีหน้าตาเหมือนกับวาซาบิของแท้แต่กลิ่นรสจะฉุนจัดจ้านกว่าเรียกว่า "ผงวาซาบิ"แม้ว่าผลิตผลจะเผ็ดเกินกว่าที่จะนำมารับประทานเดี่ยวๆ แต่ก็ได้รับการสั่งนำเข้าจำนวนมากจากบริษัทใหญ่ๆ ในญี่ปุ่น เพื่อที่จะนำมาผสมผสานกับเครื่องปรุงอื่นๆ เช่น หัวไชเท้าและเครื่องเทศ ที่เรียกกันว่า "เนริวาซาบิ" และตลาดของเครื่องปรุงเนริวาซาบิ มีมูลค่าถึง 16 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ในขณะที่วาซาบิแบบดั้งเดิมมีมูลค่าในตลาด 36 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี[1][แก้]ประโยชน์กลิ่นฉุนของวาซาบิจะช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลได้ทุกชนิด เพราะสารที่อยู่ในวาซาบิเมื่อฝนเป็นแป้งกระทบกับออกซิเจนในอากาศ จะเกิดปฏิกิริยาเป็นทั้งกลิ่นฉุนและให้รสรุนแรง สารนี้จะมีประโยชน์ในการกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ขับน้ำลายออกมา ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการย่อย อีกทั้งในวาซาบิยังอุดมด้วยวิตามินซี[แก้]สรรพคุณทางยาวาซาบินอกจากจะช่วยดับกลิ่นคาวแล้วยังมีสรรพคุณทางยาดังนี้
- ฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค พบว่าวาซาบิมีผลในการฆ่าเชื้อโรค และสามารถต่อต้านการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด
- กำจัดพยาธิที่อาศัยอยู่ในปลาได้ เมื่อผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารของมนุษย์
- ฤทธิ์ต่อต้านสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งของกระเพาะอาหาร
- ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน ฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
- ป้องกันฟันผุ ในอนาคตอาจนำไปประยุกต์เป็นส่วนผสมในยาสีฟัน
- ช่วยกระตุ้นในการสร้างภูมิคุ้มกันในการกำจัดเซลล์ที่เริ่มผิดปรกติ
[แก้]ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมักจะเข้าใจกันว่าวาซาบิสามารถช่วยให้หายใจโล่งขึ้น หรือบรรเทาอาการหวัด เนื่องจากเวลารับประทานวาซาบิแล้วจะรู้สึกฉุนและเผ็ดร้อนขึ้นจมูก แต่มีผลการทดลองของนักวิจัยชาวสหรัฐอเมริกาค้นพบว่า วาซาบิแทนที่จะช่วยให้การหายใจดีขึ้น กลับอาจทำให้การหายใจที่ติดขัดอยู่แล้วนั้นแย่ลง ศูนย์การแพทย์ Kaiser Permanente Medical Center ในเมืองโอคแลนด์ มลรัฐแคลิฟอร์เนียได้ทำการศึกษาผลของวาซาบิ กับอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 22 คน โดยมีการให้รับวาซาบิหลายๆ ครั้ง และมีการวัดการระบายในช่องจมูก เพื่อศึกษาผลต่อการหายใจในช่องจมูก หลังการศึกษาได้ผลสรุปว่าจริงๆ แล้ววาซาบิทำให้ทางเดินหายใจติดขัด ซึ่งผู้รับประทานมักจะรู้สึกและเข้าใจเองว่า วาซาบิทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น แต่แท้ที่จริงแล้ววาซาบิจะเป็นตัวที่ทำให้การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงในโพรงจมูกเพิ่มขึ้นซึ่งเลือดเหล่านี้จะทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้น หรืออุดตันลง ส่วนสาเหตุที่ทำให้รู้สึกเหมือนจมูกโล่งขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของเลือดที่ว่านี้ ทำให้เกิดความเย็นของลมหายใจที่ผ่านช่องโพรงจมูก หรืออาจเป็นเพราะการกระตุ้นที่โพรงจมูกในชั่วขณะหนึ่งเพื่อให้อากาศไหลผ่านกลับมาได้สะดวกเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกจมูกโล่งขึ้นได้[2]
ผงวาซาบิ ผงวาซาบิที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คิดว่าทำมาจากวาซาบิสดที่ถูกทำให้แห้งแล้วบดเป็นผง แต่ในความจริงแล้วเป็นวาซาบิเทียมที่ทำจากฮอร์สแรดิชผสมกับผงมัสตาร์ด (ซึ่งให้ความฉุนแบบเผ็ดร้อนขึ้นจมูกคล้ายวาซาบิ) แป้ง และ สีผสมอาหาร โดยไม่มีส่วนผสมของวาซาบิเลย แต่ให้รสชาติที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ว่าความฉุนนั้นจะหายไปรวดเร็วกว่า ผงวาซาบิทำขึ้นเพื่อทดแทนวาซาบิบดสดที่มีราคาสูง และไม่สามารถเก็บรักษาได้นานเท่าผงวาซาบิ -
[IMG]