เคยสงสัยไหมว่าทำไมปัจจุบันผลิตอนิเมชั่นทาง TV ในญี่ปุ่นออกมามากมาย แต่กลับมีแนวโมเอะปนเซอร์วิสออกมาเยอะ จนเกลื่อนตลาด อันที่จริงก็มีเหตุผลหลายๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องของผลกำไร จนทำให้ตลาดอนิเมะในญี่ปุ่นต้องพยายามดิ้นรนเพื่ออยู่รอดเช่นกัน
1. ค่าลงทุนสูงมากกว่าหนังสือการ์ตูน (มาก)
หนังสือการ์ตูน (Manga, มังงะ) ในญี่ปุ่นค่าใช้จ่ายลงทุนค่อนข้างน้อย หลักๆ ไปเสียกับค่านักเขียนที่ลงทุนแค่ค่าเครื่องเขียนกับฝีมือ ซึ่งอาจต้องจ่ายค่าสัญญาหลักร้อยล้านเยนต่อปี กับค่าส่วนแบ่งที่ขายได้ประมาณ 10% แต่ก็แปรผันตามกำไรที่บริษัทได้รับอยู่แล้วจึงไม่ค่อยมีปัญหาอะไร เพียงแต่การแข่งขันจะสูงทำให้เรื่องใหม่ๆ เกิดยาก และหลายเรื่องเขียนเป็น 10 – 20 ปีขึ้นไป ก็ยังไม่จบ
สำหรับอนิเมะแตกต่างกัน เพราะบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีเยอะมาก ไม่ว่าจะโปรดิวเซอร์, ผู้กำกับ, คนดูแลเรื่องบท, อนิเมเตอร์, เพลงประกอบ และอื่นๆ ร่วม 100 ชีวิต เมื่อเอาค่าเวลาฉายที่สูงมากไปบวกกับต้นทุนแล้วค่าใช้จ่ายจะสูงมากขึ้นไปอีก ทำให้ส่วนใหญ่ต้องทำแบบ 3 – 6 เดือนจบ
ในสายตาคนต่างประเทศ ญี่ปุ่นอาจเป็นประเทศที่รุ่งเรืองในด้านการทำแอนิเมชั่น มีการสนับสนุนให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง แต่ในความเป็นจริงคนในประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับละครทีวี, เกมโชว์ และรายการพิเศษมากกว่าการ์ตูนอยู่ดี เวลาฉายเรื่องใหม่ๆ จึงถูกกำหนดไว้ประมาณ 3 ช่วง
รอบเช้าจนถึงสาย (เสาร์ – อาทิตย์)
ส่วนใหญ่เป็นการ์ตูนเด็กและการ์ตูนที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนดังๆ เช่น One Piece, Naruto, Toriko, Bleach, Hunter X Hunter (2011) เป็นต้น เป็นช่วงที่เจาะกลุ่มเด็กได้ดี แต่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เด็กเล็กดูด้วย จึงมีการลดความรุนแรงลงไปตามความเหมาะสม
รอบเย็นจนถึงค่ำ (เสาร์ – อาทิตย์)
เป็นกลุ่ม เรื่องที่มีสปอนเซอร์รายใหญ่คอยหนุนหลังอยู่ โดยหวังเข้าถึงทั้งกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่เป็นหลัก เช่น ซีรีส์ Gundam, Code Geass, Full Metal Alchemist, Fairy Tail เป็นต้น แต่เป็นช่วงที่ยังคำนึงถึงยอดขายแผ่นอยู่พอสมควร บ้างก็ไปเน้นกำไรจากสินค้า เช่น ซีรีส์ Yu-Gi-OH! ที่กระตุ้นยอดขายการ์ดไปในตัว จนหันไปเอาดีทางอนิเมะรอบ Prime Time เพราะเข้าถึงผู้ชมได้มากกว่าหนังสือการ์ตูน
การ์ตูนเรื่องใหม่เกือบทั้งหมดจะมีเวลาฉายในช่วงนี้ คิดเป็นประมาณ 80% - 90% ของที่ฉายในฤดูกาลนั้น มีตั้งแต่ช่วง 4 ทุ่มไปถึงตี 3 คนดูในญี่ปุ่นจึงนิยมตั้งเครื่องบันทึกอัตโนมัติไว้ดูในตอนเช้าแทน
สิ่งหนึ่งที่หลายคนเข้าใจผิด คือ อนิเมะที่ฉายรอบดึกเป็นเรื่องมีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับเยาวชน จึงถูกย้ายไปฉายในช่วงนั้น แต่ในความเป็นจริง ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องนั้น ปัญหาหลักไปอยู่ที่เรื่องค่าเช่าสล็อตเวลาที่สูงกว่าปกติมาก เคยมีการเผยข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับเช่าเวลารายการโทรทัศน์ในญี่ปุ่นไว้ดังนี้ (ต่อ 1 ตอน)
รอบเช้าถึงค่ำ : 10,000,000 - 100,000,000 เยน (ประมาณ 40 ล้านบาท / ตอน)
รอบดึก : 300,000 - 5,000,000 เยน (ประมาณ 2 ล้านบาท / ตอน)
สำหรับการเช่าเวลาในการฉาย จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายต่างกันมากระหว่างรอบเช้าและรอบดึก ทำให้หลายรายการเลือกที่จะฉายรอบดึกเพื่อลดค่าใช้จ่ายลง แล้วค่อยไปฉายซ้ำในช่องอื่น ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่ดังจริง เวลาฉายจะไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อยอดขายนัก
สำหรับการ์ตูนรอบเช้าและเย็น
วิธีแก้ปัญหาสำหรับอนิเมะที่ฉายในช่วงเช้าจนถึงค่ำ จะอยู่ตรงสปอนเซอร์เป็นหลัก ซึ่งถ้าเสนอจนได้สปอนเซอร์รายใหญ่ที่อาจไม่เกี่ยวกับการ์ตูนโดยตรง ก็จะมีช่องทางหากำไรกลับคืนมาได้ในหลายช่องทาง ทั้งค่าลิขสิทธิ์ในผลิตภัณฑ์และโฆษณาให้กับทางสถานีโทรทัศน์ ซึ่งมีเงินหมุนเวียนมากพอ โดยไม่ต้องพึ่งพาการขายแผ่นก็ยังได้ ทำให้สามารถฉายได้นานเป็นปี หรืออาจต่อเนื่องกันหลายปี เพียงแต่ต้องมั่นใจว่าจะมีคนติดตามชมมากพอที่จะกระตุ้นเรตติ้งเรื่องนั้นๆ ได้ และทำให้ทางฝ่ายสปอนเซอร์พอใจ
ในมุมกลับ จะเป็นเรื่องที่ยืดและทำเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบร้อนอะไร เผางานบ้าง ไม่ค่อยเช็คคุณภาพงานมากก็ได้ เพราะไม่ต้องง้อ BD/DVD ขายไม่ออกก็ช่างมัน ถ้านึกถึงยุค Dragon Ball Z น่าจะเห็นภาพชัด สมัยนี้อาจมีพวกเนื้อเรื่องเพิ่มเข้ามาแทนแบบ One Piece, Bleach หรือ Naruto เพื่อให้ฉายได้นานๆ
รอบเย็นจะลำบากขึ้นมาหน่อย เพราะเป็นเวลา Prime Time ที่ค่า Slot เวลาแพงแบบมหาศาล นอกจากสปอนเซอร์ช่วยแล้ว คุณภาพควรจะสูงเพื่อให้ขายแผ่นได้ด้วย
อนิเมะช่วงดึกจะต่างออกไป เพราะพวกสปอนเซอร์จะจำกัดวงแคบลงไปมาก คนดูก็น้อยเพราะเข้านอนกัน ทำให้เรตติ้งไม่ค่อยดีนัก ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับทางอนิเมะโดยตรง เช่น บริษัทเพลง, ค่ายหนังสือการ์ตูน, ผู้พัฒนาเกม และอื่นๆ ทำให้กลุ่มรายได้หลักต้องมาพึ่งพาแผ่น BD/DVD กันเป็นหลัก
เนื่องจากการแข่งขันกันมาก ทำให้เนื้อหาการ์ตูนค่อนข้างเข้มข้นกับคุณภาพสูงกว่าการ์ตูนอนิเมะรอบเช้าในญี่ปุ่นมาก อีกทั้งส่วนใหญ่จบใน 12 – 26 ตอน ทำให้เนื้อเรื่องกระชับกว่า ใครที่มีอคติกับพวกอนิเมะยาวๆ ทางทีวีในไทย ที่มาจากหนังสือการ์ตูน ลองไปหาอนิเมะไม่กี่ตอนจบดูครับ จะเห็นความแตกต่าง
อนิเมะรอบเช้าส่วนใหญ่ ทำยาวๆ แบบสบายตัว เพราะทุนสนับสนุนเยอะ แต่รอบเย็นกับดึกจะหนักใจหน่อย มี Cost ก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เมื่อปลายปีก่อน ทาง Producer เปิดเผยผ่านการสัมมนาว่า ใช้ทุนสร้างร่วม 300 ล้านเยน (ประมาณ 120 ล้านบาท) สำหรับอนิเมะความยาว 26 ตอน ซึ่งถ้าขาดทุนทางฝั่ง Producer ต้องรับผิดชอบ ถ้าย้อนไปดูรูปแรกสุดของบทความ จะเห็นว่าทุนสร้างจะอยู่ประมาณ 10 – 13 ล้านเยนต่อ 1 ตอน เหมือนกัน
ด้านราคาแผ่น Blu-Ray แบบ 6 แผ่น 12 ตอน จะมีราคา (จองล่วงหน้า) ประมาณ 30,000 – 40,000 เยน ถึงจะรู้สึกว่าญี่ปุ่นค่าครองชีพสูงกว่าในไทยหลายเท่า แต่เงินสำหรับซื้ออนิเมะ 1 เรื่อง มากพอที่จะไปถอยเครื่อง PS 3 หรือ Xbox 360 รุ่นหลังๆ ได้สบาย ถ้าความยาวแบบ 26 ตอน บางเรื่องไปซื้อ PS Vita 3 - 4 เครื่องได้เช่นกัน (แค่เปรียบเทียบ คงไม่มีใครซื้อ PS Vita 4 เครื่องจริงๆ หรอก)
ทำให้ปัจจุบันนิยมทำอนิเมะแบบ 12 – 1 3 ตอนจบกันมากขึ้น เพื่อให้จำนวนแผ่นที่ขายน้อยที่สุด ผู้ชมจะได้ซื้อแผ่นได้แบบไม่หนักใจเกินไป ถ้าขายไม่ดีจะได้ไม่ขาดทุนมากนัก และทำเพื่อลองตลาดและกระตุ้นยอดขายฉบับมังงะ, นิยาย ถ้าขายดีค่อยทำต่อในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นเรื่องที่คาดว่าน่าจะขายดี จะมีการทำจำนวน 25 – 26 ตอนกันอยู่บ้าง อย่างเรื่องที่กำลังฉายอยู่ เช่น Accel World, Eureka Seven AO, Hyouka (21 ตอน), Sword Art Online เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.animenewsnetwork.com/interest/2011-11-29/toaru-majutsu-no-index-producer/26-episode-anime-costs-300-million-yen
5. ดีแต่เนื้อเรื่อง ขายยาก / โมเอะ ขายง่าย
ทุก 3 เดือน มักจะมีอนิเมะพล็อตเรื่องดีปรากฏออกมาให้เห็นบ้างเล็กน้อย แต่ความจริงข้อนึง คือ ถึงจะชอบแค่ไหนก็ไม่ซื้อ แค่ชมว่าสนุก เนื้อเรื่องยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่ซื้อ โดยเฉพาะแนวบู๊ดุเด็ดเผ็ดมัน ก็ขาดทุนกันมาบ่อยครั้ง
ยกตัวอย่างเรื่องเมื่อต้นปีก็อย่าง Danshi Koukousei no Nichijou (ในไทยชอบเรียก “ชายล้วนกวนบาทา”, มีมังงะภาษาไทยเพิ่งออกในชื่อ “วันๆของพวกผมก็งี้เเหละ” (เพิ่งออกเล่ม 1 ในไทยปลายเดือนก่อน)) ถึงคนโหวตให้ติดอันดับ 2 ของอนิเมะสุดฮาและกระแสในญี่ปุ่นมาแรงมาก แต่ยอดขายแค่ในระดับกำไรนิดหน่อยเท่านั้น (ดูยอดด้านล่าง, เรื่องย่อดูที่นี่ http://www.online-station.net/entertainment/cartoon/135)
กลุ่มที่ช่วยตลาดกลุ่มนี้ กลับเป็นกลุ่มที่ซื้อเพราะตัวละครมากกว่า ประเภทซื้อแบบไม่ต้องคิดมากและมีกำลังทรัพย์พอ (บางคนก็เรียกว่า โอตาคุ) แนวขายตัวละครจึงกลายเป็นเรื่องขายแล้วไม่ค่อยขาดทุนนัก ทำให้แนวเน้นตัวละครสวย ใส แบ๊วๆ เยอะขึ้นตามลำดับ
แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำแนวโมเอะภาพสวยก็พอ เพราะคนซื้อส่วนใหญ่ก็ไม่ได้หน้ามืดซื้อแหลก ก็ต้องมีเนื้อเรื่องบ้าง รวมถึงองค์ประกอบหลายๆ อย่างในเรื่องก็ต้องทำออกมาน่าสนใจ มีคุณค่าพอให้ซื้อเก็บสะสมด้วย
ปัจจุบัน กลุ่มคนดูอนิเมะที่เป็นผู้หญิงก็ไม่ใช่น้อยๆ ทำให้อนิเมะแนวที่เอาใจแม่ยกก็เยอะขึ้นเช่นกัน อย่างตารางฉายซีซันฤดูใบไม้ร่วงที่จะถึงนี้ มีแนวดัดแปลงจากการ์ตูนผู้หญิงค่อนข้างมากกว่าซีซันก่อนๆ รวมถึงดีไซน์ผู้ชายเท่ๆ ก็เยอะขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นแนวที่ดูได้ทั้งชายหญิง เพื่อเอาใจผู้ชมทั้งสองกลุ่ม
เกร็ดความรู้อื่นๆ
- สถานีโทรทัศน์ในญี่ปุ่น มีผังรายการรอบดึกไปจนถึงสว่าง เวลานับเวลาจะแปลกกว่าหลายประเทศ มีตั้งแต่ 24.01 น. ไปจนถึงประมาณประมาณ 28.59 น. ดังนั้น ถ้าเห็นการ์ตูนบางเรื่องฉายในญี่ปุ่นตามตารางเวลา 26.05 น. วันพฤหัส ก็หมายถึง เวลา 2.05 น. ในวันศุกร์
- สถานีโทรทัศน์ในญี่ปุ่นมีนับร้อยช่อง แต่ที่ถ่ายทอดทั่วทั้งญี่ปุ่น มีเพียง FujiTV และ TBS เท่านั้น ที่เหลือเป็นช่องเคเบิลที่เสียค่าใช้จ่ายและสถานีโทรทัศน์ประจำภูมิภาค จึงไม่ใช่ว่าอนิเมะทุกเรื่องจะแพร่ภาพได้ทั่วญี่ปุ่น และหลายเรื่องต้องเสียค่า Cable ถึงจะดูได้
- Original Video Animation (OVA) เป็นเรื่องประเภทที่ไม่ต้องฉายผ่านโทรทัศน์ ทำเป็นแผ่น BD/DVD ขายเลย ทำให้ประหยัดทุนเช่าเวลาฉายทางทีวีไปได้สูงมาก แต่ยอดขายก็ไม่ค่อยสูงตามไปด้วยเนื่องจากไม่ได้ผ่านสายตาของคนดูส่วนใหญ่ทางทีวีมาก่อน จึงไม่ค่อยรู้จักกัน
- บางเรื่องถึงขายได้ระดับขาดทุนแต่ทำต่อก็มี ทั้งนี้อาจเพราะโปรเจ็กต์เริ่มไปแล้ว แต่เว้นช่วงฉาย หรือช่วยดันยอดขายหนังสือการ์ตูนก็ได้ จึงมีทุนสนับสนุนจากด้านอื่น เช่น Bakuman SS3 หรือ Medaka Box SS2
- จุดคุ้มทุนไม่ค่อยเปิดเผยจากบริษัท ทางกลุ่มคนดูในญี่ปุ่นมีการประมาณว่า ขายได้สัก 3,000 – 4,000 แผ่น (นับเฉพาะแผ่นแรก) ก็ลุ้นได้ดูภาคต่อแล้ว แต่กลุ่มผู้สร้างเรื่อง Nichijou ก็เคยออกมาบอกว่าขาดทุน แม้จะขายได้ร่วม 4,000 แผ่นแล้วก็ตาม ทั้งนี้คงต้องดูเรื่องจำนวนตอนกับค่าใช้จ่ายอื่นร่วมไปด้วย
- ว่ากันว่า อนิเมะทางทีวี ถ้าขายแผ่น DVD ได้เกิน 10,000 แผ่น ถือเป็นเรื่องที่ประสบความสำเร็จมาก แต่ถึงจะบูมแค่ไหนก็อย่าเพิ่งหวังว่าจะได้เห็นภาคต่อทันที เพราะส่วนมากจะเกณฑ์ทีมงานไปทำเรื่องอื่นก่อน กว่าจะกลับมาทำต่อมักจะกินเวลา 1 – 2 ปีขึ้นไป
ยอดขายแผ่น BD/DVD ในญี่ปุ่น
พูดถึงเรื่องยอดขายแล้ว ลองดูยอดขายในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อประกอบเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ในที่นี้จะลงเฉพาะยอดที่ติดชาร์ตสัปดาห์แรก ส่วนยอดสรุปยอดรวมตลอดทั้งปีในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งบางเรื่องน่าจะอันดับดีขึ้น
ฤดูใบไม้ร่วงในญี่ปุ่น ปี 2554 (Autumn / Fall 2011)
1. 47,623 Fate/Zero
2. 41,369 Persona 4 The Animation
3. 24,605 Kyoukai Senjou no Horizon
4. 19,613 Working'!!
5. 12,137 Guilty Crown
6. 11,984 Boku wa Tomodachi ga Sukunai
7. 4,524 Sekaiichi Hatsukoi 2
8. 4,333 gdgd Fairies
9. 4,240 Shakugan no Shana III (vol.2)
10. 4,077 Tamayura: Hitotose (Blu-ray data only, DVD *,920 ~1,131)
11. 3,421 Maji de Watashi ni Koi Shinasai!
12. 3,379 Shinryaku!? Ika Musume
13. 3,199 Maken-Ki! (Blu-ray data only, DVD *,920 ~1,131)
14. 3,026 Last Exile: Ginyoku no Fam
15. 2,343 Mobile Suit Gundam AGE
16. 2,336 Mirai Nikki
17. 2,333 Chihayafuru (vol.2)
18. 2,325 Mashiroiro Symphony: The Color of Lovers
19. 2,101 Ben-To
20. 2,038 C³
21. 1,853 Kimi to Boku.
22. 1,546 UN-GO
23. 954 Morita-san wa Mukuchi 2
ไม่ติดอันดับในสัปดาห์แรก
Hunter x Hunter
Phi Brain: Kami no Puzzle
ฤดูหนาวในญี่ปุ่น ปี 2555 (Winter 2012)
1. 62,980 Nisemonogatari
2. 15,158 Inu x Boku SS
3. 10,793 Highschool DxD
4. 10,345 Natsume Yuujinchou Shi
5. 9,306 Aquarion Evol
6. 7,694 Ano Natsu de Matteru
7. 7,639 New Prince of Tennis
8. 6,472 Mouretsu Pirates
9. 5,098 Senki Zesshou Symphogear
10. 4,973 Brave 10
11. 4,888 Amagami SS+ plus
12. 4,391 Papa no Iukoto wo Kikinasai!
13. 3,694 Danshi Koukousei no Nichijou
14. 3,599 Rinne no Lagrange
15. 3,354 Black★Rock Shooter
16. 2,573 Another
17. 2,353 Tantei Opera Milky Holmes Dai 2 Maku
18. 1,525 Zero no Tsukaima F (vol.2)
19. 686 Kill Me Baby
ไม่ติดอันดับในสัปดาห์แรก
Recorder to Randoseru Do♪
Thermae Romae
ฤดูใบไม้ผลิในญี่ปุ่น ปี 2555 (Spring 2012)
1. 20,524 Kuroko no Basket
2. 9,891 Accel World
3. 9,455 Hyouka
4. 9,200 Haiyore! Nyaruko-san
5. 7,990 AKB0048
6. 6,966 Saki: Achiga-hen - Episode of Side-A
7. 4,887 Eureka Seven AO
8. 4,698 Natsuiro Kiseki
9. 4,494 Tsuritama
10. 3,759 Queen's Blade: Rebellion
11. 3,588 Nazo no Kanojo X
12. 3,499 Jormungand
13. 3,302 Sengoku Collection
14. 3,192 Kore wa Zombie Desu ka? of the Dead
15. 2,520 Acchi Kocchi
16. 2,180 Hiiro no Kakera
17. 2,059 Tasogare Otome x Amnesia
18. 2,037 Sakamichi no Apollon
19. 1,487 Sankarea
20. 1,133 Shirokuma Cafe
21. 882 Kimi to Boku. 2
22. 612 Zetman
ไม่ติดอันดับในสัปดาห์แรก
Medaka Box (483 < DVD < 1,133, Blu-ray < 1,470)
Shining Hearts: Shiawase no Pan (309 < DVD < 483, Blu-ray < 1,470)
ยอดขายแผ่น BD/DVD อนิเมะในญี่ปุ่นปี 2554 : http://www.online-station.net/entertainment/cartoon/136
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก : myanimelist.net, Oricon Chart
เครดิต: http://www.online-station.net/entertainment/cartoon/180
ปล.บอกตรงๆ นะครับว่าราคาผมเห็นแล้วปวดเฮดทันทีครับ แบบนี้
1. ค่าลงทุนสูงมากกว่าหนังสือการ์ตูน (มาก)
หนังสือการ์ตูน (Manga, มังงะ) ในญี่ปุ่นค่าใช้จ่ายลงทุนค่อนข้างน้อย หลักๆ ไปเสียกับค่านักเขียนที่ลงทุนแค่ค่าเครื่องเขียนกับฝีมือ ซึ่งอาจต้องจ่ายค่าสัญญาหลักร้อยล้านเยนต่อปี กับค่าส่วนแบ่งที่ขายได้ประมาณ 10% แต่ก็แปรผันตามกำไรที่บริษัทได้รับอยู่แล้วจึงไม่ค่อยมีปัญหาอะไร เพียงแต่การแข่งขันจะสูงทำให้เรื่องใหม่ๆ เกิดยาก และหลายเรื่องเขียนเป็น 10 – 20 ปีขึ้นไป ก็ยังไม่จบ
สำหรับอนิเมะแตกต่างกัน เพราะบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีเยอะมาก ไม่ว่าจะโปรดิวเซอร์, ผู้กำกับ, คนดูแลเรื่องบท, อนิเมเตอร์, เพลงประกอบ และอื่นๆ ร่วม 100 ชีวิต เมื่อเอาค่าเวลาฉายที่สูงมากไปบวกกับต้นทุนแล้วค่าใช้จ่ายจะสูงมากขึ้นไปอีก ทำให้ส่วนใหญ่ต้องทำแบบ 3 – 6 เดือนจบ
ขั้นตอนในการสร้างอนิเมะทาง TV แบบโดยรวม (กดที่รูปเพื่อขยาย, รูปจาก zepy.momotato.com)
2. กว่า 80% ของอนิเมะ เลือกฉายรอบดึกเพื่อลดต้นทุน ไม่ได้ติดเรตในสายตาคนต่างประเทศ ญี่ปุ่นอาจเป็นประเทศที่รุ่งเรืองในด้านการทำแอนิเมชั่น มีการสนับสนุนให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง แต่ในความเป็นจริงคนในประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับละครทีวี, เกมโชว์ และรายการพิเศษมากกว่าการ์ตูนอยู่ดี เวลาฉายเรื่องใหม่ๆ จึงถูกกำหนดไว้ประมาณ 3 ช่วง
รอบเช้าจนถึงสาย (เสาร์ – อาทิตย์)
ส่วนใหญ่เป็นการ์ตูนเด็กและการ์ตูนที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนดังๆ เช่น One Piece, Naruto, Toriko, Bleach, Hunter X Hunter (2011) เป็นต้น เป็นช่วงที่เจาะกลุ่มเด็กได้ดี แต่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เด็กเล็กดูด้วย จึงมีการลดความรุนแรงลงไปตามความเหมาะสม
Hunter X Hunter ภาครีเมค (2011) ปรับจากเลือดเป็นกลีบดอกไม้แทน (ปรับให้โหดขึ้นหน่อยในภายหลัง แต่ก็ห่างไกลจากต้นฉบับอยู่ดี)
เป็นกลุ่ม เรื่องที่มีสปอนเซอร์รายใหญ่คอยหนุนหลังอยู่ โดยหวังเข้าถึงทั้งกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่เป็นหลัก เช่น ซีรีส์ Gundam, Code Geass, Full Metal Alchemist, Fairy Tail เป็นต้น แต่เป็นช่วงที่ยังคำนึงถึงยอดขายแผ่นอยู่พอสมควร บ้างก็ไปเน้นกำไรจากสินค้า เช่น ซีรีส์ Yu-Gi-OH! ที่กระตุ้นยอดขายการ์ดไปในตัว จนหันไปเอาดีทางอนิเมะรอบ Prime Time เพราะเข้าถึงผู้ชมได้มากกว่าหนังสือการ์ตูน
Yu-Gi-OH! Zexal (ภาคที่ 4 ของซีรีส์) ยังคงฉายต่อเนื่อง ช่วยดันยอดขายการ์ดจริง
รอบดึก (ทุกวัน)การ์ตูนเรื่องใหม่เกือบทั้งหมดจะมีเวลาฉายในช่วงนี้ คิดเป็นประมาณ 80% - 90% ของที่ฉายในฤดูกาลนั้น มีตั้งแต่ช่วง 4 ทุ่มไปถึงตี 3 คนดูในญี่ปุ่นจึงนิยมตั้งเครื่องบันทึกอัตโนมัติไว้ดูในตอนเช้าแทน
สิ่งหนึ่งที่หลายคนเข้าใจผิด คือ อนิเมะที่ฉายรอบดึกเป็นเรื่องมีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับเยาวชน จึงถูกย้ายไปฉายในช่วงนั้น แต่ในความเป็นจริง ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องนั้น ปัญหาหลักไปอยู่ที่เรื่องค่าเช่าสล็อตเวลาที่สูงกว่าปกติมาก เคยมีการเผยข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับเช่าเวลารายการโทรทัศน์ในญี่ปุ่นไว้ดังนี้ (ต่อ 1 ตอน)
รอบเช้าถึงค่ำ : 10,000,000 - 100,000,000 เยน (ประมาณ 40 ล้านบาท / ตอน)
รอบดึก : 300,000 - 5,000,000 เยน (ประมาณ 2 ล้านบาท / ตอน)
สำหรับการเช่าเวลาในการฉาย จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายต่างกันมากระหว่างรอบเช้าและรอบดึก ทำให้หลายรายการเลือกที่จะฉายรอบดึกเพื่อลดค่าใช้จ่ายลง แล้วค่อยไปฉายซ้ำในช่องอื่น ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่ดังจริง เวลาฉายจะไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อยอดขายนัก
Kuroko no Basuke เคยฉายเกือบตี 2 เพื่อลดทุน แต่ขายดีแบบสุดๆ
3. เวลาฉายส่งผลต่อคุณภาพของอนิเมะสำหรับการ์ตูนรอบเช้าและเย็น
วิธีแก้ปัญหาสำหรับอนิเมะที่ฉายในช่วงเช้าจนถึงค่ำ จะอยู่ตรงสปอนเซอร์เป็นหลัก ซึ่งถ้าเสนอจนได้สปอนเซอร์รายใหญ่ที่อาจไม่เกี่ยวกับการ์ตูนโดยตรง ก็จะมีช่องทางหากำไรกลับคืนมาได้ในหลายช่องทาง ทั้งค่าลิขสิทธิ์ในผลิตภัณฑ์และโฆษณาให้กับทางสถานีโทรทัศน์ ซึ่งมีเงินหมุนเวียนมากพอ โดยไม่ต้องพึ่งพาการขายแผ่นก็ยังได้ ทำให้สามารถฉายได้นานเป็นปี หรืออาจต่อเนื่องกันหลายปี เพียงแต่ต้องมั่นใจว่าจะมีคนติดตามชมมากพอที่จะกระตุ้นเรตติ้งเรื่องนั้นๆ ได้ และทำให้ทางฝ่ายสปอนเซอร์พอใจ
ในมุมกลับ จะเป็นเรื่องที่ยืดและทำเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบร้อนอะไร เผางานบ้าง ไม่ค่อยเช็คคุณภาพงานมากก็ได้ เพราะไม่ต้องง้อ BD/DVD ขายไม่ออกก็ช่างมัน ถ้านึกถึงยุค Dragon Ball Z น่าจะเห็นภาพชัด สมัยนี้อาจมีพวกเนื้อเรื่องเพิ่มเข้ามาแทนแบบ One Piece, Bleach หรือ Naruto เพื่อให้ฉายได้นานๆ
ลองกลับไปดู DBZ แล้ว รู้สึกถึงความแตกต่างของยุคสมัย (ด้านความยืด) ภาค Kai ค่อยรวบรัดขึ้นมาหน่อย
รอบเย็นจะลำบากขึ้นมาหน่อย เพราะเป็นเวลา Prime Time ที่ค่า Slot เวลาแพงแบบมหาศาล นอกจากสปอนเซอร์ช่วยแล้ว คุณภาพควรจะสูงเพื่อให้ขายแผ่นได้ด้วย
Gintama หนึ่งในอนิเมะไม่กี่เรื่อง ที่ทำออกมาดีไม่แพ้ฉบับมังงะ
สำหรับการ์ตูนรอบดึกอนิเมะช่วงดึกจะต่างออกไป เพราะพวกสปอนเซอร์จะจำกัดวงแคบลงไปมาก คนดูก็น้อยเพราะเข้านอนกัน ทำให้เรตติ้งไม่ค่อยดีนัก ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับทางอนิเมะโดยตรง เช่น บริษัทเพลง, ค่ายหนังสือการ์ตูน, ผู้พัฒนาเกม และอื่นๆ ทำให้กลุ่มรายได้หลักต้องมาพึ่งพาแผ่น BD/DVD กันเป็นหลัก
เนื่องจากการแข่งขันกันมาก ทำให้เนื้อหาการ์ตูนค่อนข้างเข้มข้นกับคุณภาพสูงกว่าการ์ตูนอนิเมะรอบเช้าในญี่ปุ่นมาก อีกทั้งส่วนใหญ่จบใน 12 – 26 ตอน ทำให้เนื้อเรื่องกระชับกว่า ใครที่มีอคติกับพวกอนิเมะยาวๆ ทางทีวีในไทย ที่มาจากหนังสือการ์ตูน ลองไปหาอนิเมะไม่กี่ตอนจบดูครับ จะเห็นความแตกต่าง
บางเรื่องแค่ฉากก็กินขาดแล้ว (ภาพจากเรื่อง Tari Tari)
4. ไม่นิยมสร้างอนิเมะยาวๆ เพราะเสี่ยงขาดทุนสูงอนิเมะรอบเช้าส่วนใหญ่ ทำยาวๆ แบบสบายตัว เพราะทุนสนับสนุนเยอะ แต่รอบเย็นกับดึกจะหนักใจหน่อย มี Cost ก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เมื่อปลายปีก่อน ทาง Producer เปิดเผยผ่านการสัมมนาว่า ใช้ทุนสร้างร่วม 300 ล้านเยน (ประมาณ 120 ล้านบาท) สำหรับอนิเมะความยาว 26 ตอน ซึ่งถ้าขาดทุนทางฝั่ง Producer ต้องรับผิดชอบ ถ้าย้อนไปดูรูปแรกสุดของบทความ จะเห็นว่าทุนสร้างจะอยู่ประมาณ 10 – 13 ล้านเยนต่อ 1 ตอน เหมือนกัน
ด้านราคาแผ่น Blu-Ray แบบ 6 แผ่น 12 ตอน จะมีราคา (จองล่วงหน้า) ประมาณ 30,000 – 40,000 เยน ถึงจะรู้สึกว่าญี่ปุ่นค่าครองชีพสูงกว่าในไทยหลายเท่า แต่เงินสำหรับซื้ออนิเมะ 1 เรื่อง มากพอที่จะไปถอยเครื่อง PS 3 หรือ Xbox 360 รุ่นหลังๆ ได้สบาย ถ้าความยาวแบบ 26 ตอน บางเรื่องไปซื้อ PS Vita 3 - 4 เครื่องได้เช่นกัน (แค่เปรียบเทียบ คงไม่มีใครซื้อ PS Vita 4 เครื่องจริงๆ หรอก)
ทำให้ปัจจุบันนิยมทำอนิเมะแบบ 12 – 1 3 ตอนจบกันมากขึ้น เพื่อให้จำนวนแผ่นที่ขายน้อยที่สุด ผู้ชมจะได้ซื้อแผ่นได้แบบไม่หนักใจเกินไป ถ้าขายไม่ดีจะได้ไม่ขาดทุนมากนัก และทำเพื่อลองตลาดและกระตุ้นยอดขายฉบับมังงะ, นิยาย ถ้าขายดีค่อยทำต่อในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นเรื่องที่คาดว่าน่าจะขายดี จะมีการทำจำนวน 25 – 26 ตอนกันอยู่บ้าง อย่างเรื่องที่กำลังฉายอยู่ เช่น Accel World, Eureka Seven AO, Hyouka (21 ตอน), Sword Art Online เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.animenewsnetwork.com/interest/2011-11-29/toaru-majutsu-no-index-producer/26-episode-anime-costs-300-million-yen
Accel World ฉายแบบไม่กลัวขาดทุน เพราะซันไรส์เตรียมขายฟิกเกอร์และของเล่นตามมาอีกเพียบ
5. ดีแต่เนื้อเรื่อง ขายยาก / โมเอะ ขายง่าย
ทุก 3 เดือน มักจะมีอนิเมะพล็อตเรื่องดีปรากฏออกมาให้เห็นบ้างเล็กน้อย แต่ความจริงข้อนึง คือ ถึงจะชอบแค่ไหนก็ไม่ซื้อ แค่ชมว่าสนุก เนื้อเรื่องยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่ซื้อ โดยเฉพาะแนวบู๊ดุเด็ดเผ็ดมัน ก็ขาดทุนกันมาบ่อยครั้ง
ยกตัวอย่างเรื่องเมื่อต้นปีก็อย่าง Danshi Koukousei no Nichijou (ในไทยชอบเรียก “ชายล้วนกวนบาทา”, มีมังงะภาษาไทยเพิ่งออกในชื่อ “วันๆของพวกผมก็งี้เเหละ” (เพิ่งออกเล่ม 1 ในไทยปลายเดือนก่อน)) ถึงคนโหวตให้ติดอันดับ 2 ของอนิเมะสุดฮาและกระแสในญี่ปุ่นมาแรงมาก แต่ยอดขายแค่ในระดับกำไรนิดหน่อยเท่านั้น (ดูยอดด้านล่าง, เรื่องย่อดูที่นี่ http://www.online-station.net/entertainment/cartoon/135)
Danshi Koukousei no Nichijou เรื่องใหม่จากทีมสร้างกินทามะ แต่(ยัง)ดังไม่เท่า
กลุ่มที่ช่วยตลาดกลุ่มนี้ กลับเป็นกลุ่มที่ซื้อเพราะตัวละครมากกว่า ประเภทซื้อแบบไม่ต้องคิดมากและมีกำลังทรัพย์พอ (บางคนก็เรียกว่า โอตาคุ) แนวขายตัวละครจึงกลายเป็นเรื่องขายแล้วไม่ค่อยขาดทุนนัก ทำให้แนวเน้นตัวละครสวย ใส แบ๊วๆ เยอะขึ้นตามลำดับ
แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำแนวโมเอะภาพสวยก็พอ เพราะคนซื้อส่วนใหญ่ก็ไม่ได้หน้ามืดซื้อแหลก ก็ต้องมีเนื้อเรื่องบ้าง รวมถึงองค์ประกอบหลายๆ อย่างในเรื่องก็ต้องทำออกมาน่าสนใจ มีคุณค่าพอให้ซื้อเก็บสะสมด้วย
K-ON! เรื่องสบายๆ ของชมรมดนตรี ทั้งแผ่นและสินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทำกำไรถึง 15,000 ล้านเยน (ประมาณ 6,000 ล้านบาท) ในปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน กลุ่มคนดูอนิเมะที่เป็นผู้หญิงก็ไม่ใช่น้อยๆ ทำให้อนิเมะแนวที่เอาใจแม่ยกก็เยอะขึ้นเช่นกัน อย่างตารางฉายซีซันฤดูใบไม้ร่วงที่จะถึงนี้ มีแนวดัดแปลงจากการ์ตูนผู้หญิงค่อนข้างมากกว่าซีซันก่อนๆ รวมถึงดีไซน์ผู้ชายเท่ๆ ก็เยอะขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นแนวที่ดูได้ทั้งชายหญิง เพื่อเอาใจผู้ชมทั้งสองกลุ่ม
Uta no Prince-sama Maji Love 1000% กลุ่มนักร้องชาย อีกเรื่องที่ขายดีเกินคาด ดูได้ทั้งชายหญิง (ฉายปีก่อน, มีกำหนดซีซันต่อไป เดือน 4 ปี 2556)
เกร็ดความรู้อื่นๆ
- สถานีโทรทัศน์ในญี่ปุ่น มีผังรายการรอบดึกไปจนถึงสว่าง เวลานับเวลาจะแปลกกว่าหลายประเทศ มีตั้งแต่ 24.01 น. ไปจนถึงประมาณประมาณ 28.59 น. ดังนั้น ถ้าเห็นการ์ตูนบางเรื่องฉายในญี่ปุ่นตามตารางเวลา 26.05 น. วันพฤหัส ก็หมายถึง เวลา 2.05 น. ในวันศุกร์
- สถานีโทรทัศน์ในญี่ปุ่นมีนับร้อยช่อง แต่ที่ถ่ายทอดทั่วทั้งญี่ปุ่น มีเพียง FujiTV และ TBS เท่านั้น ที่เหลือเป็นช่องเคเบิลที่เสียค่าใช้จ่ายและสถานีโทรทัศน์ประจำภูมิภาค จึงไม่ใช่ว่าอนิเมะทุกเรื่องจะแพร่ภาพได้ทั่วญี่ปุ่น และหลายเรื่องต้องเสียค่า Cable ถึงจะดูได้
- Original Video Animation (OVA) เป็นเรื่องประเภทที่ไม่ต้องฉายผ่านโทรทัศน์ ทำเป็นแผ่น BD/DVD ขายเลย ทำให้ประหยัดทุนเช่าเวลาฉายทางทีวีไปได้สูงมาก แต่ยอดขายก็ไม่ค่อยสูงตามไปด้วยเนื่องจากไม่ได้ผ่านสายตาของคนดูส่วนใหญ่ทางทีวีมาก่อน จึงไม่ค่อยรู้จักกัน
- บางเรื่องถึงขายได้ระดับขาดทุนแต่ทำต่อก็มี ทั้งนี้อาจเพราะโปรเจ็กต์เริ่มไปแล้ว แต่เว้นช่วงฉาย หรือช่วยดันยอดขายหนังสือการ์ตูนก็ได้ จึงมีทุนสนับสนุนจากด้านอื่น เช่น Bakuman SS3 หรือ Medaka Box SS2
- จุดคุ้มทุนไม่ค่อยเปิดเผยจากบริษัท ทางกลุ่มคนดูในญี่ปุ่นมีการประมาณว่า ขายได้สัก 3,000 – 4,000 แผ่น (นับเฉพาะแผ่นแรก) ก็ลุ้นได้ดูภาคต่อแล้ว แต่กลุ่มผู้สร้างเรื่อง Nichijou ก็เคยออกมาบอกว่าขาดทุน แม้จะขายได้ร่วม 4,000 แผ่นแล้วก็ตาม ทั้งนี้คงต้องดูเรื่องจำนวนตอนกับค่าใช้จ่ายอื่นร่วมไปด้วย
- ว่ากันว่า อนิเมะทางทีวี ถ้าขายแผ่น DVD ได้เกิน 10,000 แผ่น ถือเป็นเรื่องที่ประสบความสำเร็จมาก แต่ถึงจะบูมแค่ไหนก็อย่าเพิ่งหวังว่าจะได้เห็นภาคต่อทันที เพราะส่วนมากจะเกณฑ์ทีมงานไปทำเรื่องอื่นก่อน กว่าจะกลับมาทำต่อมักจะกินเวลา 1 – 2 ปีขึ้นไป
ยอดขายแผ่น BD/DVD ในญี่ปุ่น
พูดถึงเรื่องยอดขายแล้ว ลองดูยอดขายในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อประกอบเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ในที่นี้จะลงเฉพาะยอดที่ติดชาร์ตสัปดาห์แรก ส่วนยอดสรุปยอดรวมตลอดทั้งปีในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งบางเรื่องน่าจะอันดับดีขึ้น
ฤดูใบไม้ร่วงในญี่ปุ่น ปี 2554 (Autumn / Fall 2011)
1. 47,623 Fate/Zero
2. 41,369 Persona 4 The Animation
3. 24,605 Kyoukai Senjou no Horizon
4. 19,613 Working'!!
5. 12,137 Guilty Crown
6. 11,984 Boku wa Tomodachi ga Sukunai
7. 4,524 Sekaiichi Hatsukoi 2
8. 4,333 gdgd Fairies
9. 4,240 Shakugan no Shana III (vol.2)
10. 4,077 Tamayura: Hitotose (Blu-ray data only, DVD *,920 ~1,131)
11. 3,421 Maji de Watashi ni Koi Shinasai!
12. 3,379 Shinryaku!? Ika Musume
13. 3,199 Maken-Ki! (Blu-ray data only, DVD *,920 ~1,131)
14. 3,026 Last Exile: Ginyoku no Fam
15. 2,343 Mobile Suit Gundam AGE
16. 2,336 Mirai Nikki
17. 2,333 Chihayafuru (vol.2)
18. 2,325 Mashiroiro Symphony: The Color of Lovers
19. 2,101 Ben-To
20. 2,038 C³
21. 1,853 Kimi to Boku.
22. 1,546 UN-GO
23. 954 Morita-san wa Mukuchi 2
ไม่ติดอันดับในสัปดาห์แรก
Hunter x Hunter
Phi Brain: Kami no Puzzle
ฤดูหนาวในญี่ปุ่น ปี 2555 (Winter 2012)
1. 62,980 Nisemonogatari
2. 15,158 Inu x Boku SS
3. 10,793 Highschool DxD
4. 10,345 Natsume Yuujinchou Shi
5. 9,306 Aquarion Evol
6. 7,694 Ano Natsu de Matteru
7. 7,639 New Prince of Tennis
8. 6,472 Mouretsu Pirates
9. 5,098 Senki Zesshou Symphogear
10. 4,973 Brave 10
11. 4,888 Amagami SS+ plus
12. 4,391 Papa no Iukoto wo Kikinasai!
13. 3,694 Danshi Koukousei no Nichijou
14. 3,599 Rinne no Lagrange
15. 3,354 Black★Rock Shooter
16. 2,573 Another
17. 2,353 Tantei Opera Milky Holmes Dai 2 Maku
18. 1,525 Zero no Tsukaima F (vol.2)
19. 686 Kill Me Baby
ไม่ติดอันดับในสัปดาห์แรก
Recorder to Randoseru Do♪
Thermae Romae
ฤดูใบไม้ผลิในญี่ปุ่น ปี 2555 (Spring 2012)
1. 20,524 Kuroko no Basket
2. 9,891 Accel World
3. 9,455 Hyouka
4. 9,200 Haiyore! Nyaruko-san
5. 7,990 AKB0048
6. 6,966 Saki: Achiga-hen - Episode of Side-A
7. 4,887 Eureka Seven AO
8. 4,698 Natsuiro Kiseki
9. 4,494 Tsuritama
10. 3,759 Queen's Blade: Rebellion
11. 3,588 Nazo no Kanojo X
12. 3,499 Jormungand
13. 3,302 Sengoku Collection
14. 3,192 Kore wa Zombie Desu ka? of the Dead
15. 2,520 Acchi Kocchi
16. 2,180 Hiiro no Kakera
17. 2,059 Tasogare Otome x Amnesia
18. 2,037 Sakamichi no Apollon
19. 1,487 Sankarea
20. 1,133 Shirokuma Cafe
21. 882 Kimi to Boku. 2
22. 612 Zetman
ไม่ติดอันดับในสัปดาห์แรก
Medaka Box (483 < DVD < 1,133, Blu-ray < 1,470)
Shining Hearts: Shiawase no Pan (309 < DVD < 483, Blu-ray < 1,470)
ยอดขายแผ่น BD/DVD อนิเมะในญี่ปุ่นปี 2554 : http://www.online-station.net/entertainment/cartoon/136
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก : myanimelist.net, Oricon Chart
เครดิต: http://www.online-station.net/entertainment/cartoon/180
ปล.บอกตรงๆ นะครับว่าราคาผมเห็นแล้วปวดเฮดทันทีครับ แบบนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Magaruradyne เมื่อ 2012-9-5 12:30
5 สิ่งที่คุณอาจยังไม่รู้ ในธุรกิจอนิเมะ