อันนี้เป็นความรู้ที่นำมาเพจชมรมประวัติศาสตร์สยามของเพื่อนผมที่เขาเขียนและตรวจสอบข้อมูลเองใน facebook ที่ทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายความรู้ผมขออนุญาติเขาไว้แล้ว
สนใจความรู้อื่น >>> https://www.facebook.com/siamhistory?ref=stream
ผัดไทย อาหารไทย นโยบายสร้างชาติ ช่วยเศรษฐกิจของชาติ
รัฐบาล จอมพลป. พิบูลสงคราม ได้บริหารประเทศ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2482-2489 และช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านเมืองไทยนั้น แต่เดิม เรียกกันว่า ประเทศสยาม ท่านผู้นำ จอมพลป. ก็ให้เปลี่ยนชื่อ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2482 จึงกลายเป็น ประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมา นอกจากนั้น ท่านยังออก รัฐนิยม อันเป็นระเบียบ สำหรับ ประชาชนชาวไทย ปฏิบัติให้ดูเป็น อารยชน เช่น การห้ามกินหมาก การแต่งกาย สวมหมวก จนถูกเรียกว่าเป็น ยุคมาลานำไทย ฯลฯ
เมื่อมีชาติไทยแล้ว ก็จำเป็นต้องมี อาหารประจำชาติ จึงอยากคิดอาหารใหม่ขึ้นมาสักจานที่เป็นแบบฉบับของความเป็นไทยแท้ คือผัดไทย ในช่วงนั้น อาหาร ที่เป็นเส้น ๆ นั้นถูกมองว่า เป็นจีนไปหมด ทั้งก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ แม้แต่ขนมจีนยังเป็นจีน อาหารชนิดใหม่ จึงได้รับ การประดิษฐ์ขึ้นมา เริ่มต้นนำเส้นเล็ก มาผัด ใส่เต้าหู้เหลืองซอย ให้เล็ก ๆ เติมกุ้งแห้ง ใส่ใบกระเทียม แล้วตอกไข่ลงไป ยีให้ทั่ว สุดท้าย ก็ใส่ถั่วงอกดิบ แล้วจึงตักขึ้น ใส่จาน อาจจะประดับ ต้นกระเทียม ไว้กินเคียง ถ้าใส่กุ้งใหญ่ ประดับหน้า ก็จะได้ผัดไทยกุ้งสด
ประจวบกับช่วงหลังสงครามยุติลง และไทยต้องทำข้อตกลงกับอังกฤษหลายประการ หนึ่งในข้อตกลงเหล่านั้นคือต้องชดใช้ค่าเสียหายให้อังกฤษเป็นข้าวจำนวน 1.5 ล้านตัน ซึ่งสภาพการณ์ กำลังและกรรมวิธีการผลิตข้าวจำนวนมหาศาลในเวลานั้น น่าจะเป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสเอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการขาดแคลนข้าวที่จะบริโภคภายในประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องรณรงค์ให้ประชาชนหันมาบริโภคก๋วยเตี๋ยวซึ่งทำจากข้าวหักแทน เพื่อลดการบริโภคข้าวภายในประเทศ เนื่องจากในช่วงนั้นสภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ข้าวแพง ไม่ว่าจะยุคใดสมัยใดร้านก๋วยเตี๋ยวก็มีเยอะแยะไปหมด ซึ่งเชื้อสายที่เป็นต้นตำรับก็คือคนจีน จอมพล ป. ต้องการอาหารที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยจึงเริ่มมองหาวัตถุดิบที่เป็นของไทยแท้ ผัดไทย จึงได้บังเกิดขึ้น แม้ว่าก๋วยเตี๋ยวจะเป็นอาหารจีน แต่ท่าน จอมพล ป. ก็เลือกใช้ "เส้นจันท์" ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะแก่การผัดในกระทะ และเส้นเหนียวกว่าเส้นเล็กปกติ
เมื่อได้อาหารจานใหม่ของประเทศไทยแล้ว ท่านจอมพล ป. จึงให้คำปราศรัยเชิญชวนให้พี่น้องชาวไทยหันมาบริโภคก๋วยเตี๋ยว เพื่อเป็นการแก้ไข เศรษฐกิจของชาติในตอนนั้น เพื่อจะได้มีเงินหมุนเวียนในประเทศ ดังคำกล่าวของท่าน จอมพล ป. ว่า
"อยากให้พี่น้องกินก๋วยเตี๋ยวให้ทั่วกัน เพราะก๋วยเตี๋ยว มีประโยชน์ต่อ ร่างกาย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานพร้อม ทำเองได้ในประเทศไทย หาได้สะดวกและอร่อยด้วย หากพี่น้องชาวไทยกินก๋วยเตี๋ยวคนละ หนึ่งชามทุกวัน วันหนึ่งจะมีคนกินก๋วยเตี๋ยวสิบแปดล้านชาม ตกลงวันหนึ่งค่าก๋วยเตี๋ยวของชาติไทยหนึ่งวันเท่ากับเก้าสิบล้านสตางค์เท่ากับเก้าแสนบาท เป็นจำนวนเงินหมุนเวียนมากพอใช้ เงินเก้าแสนบาทนั้น ก็จะไหลไปสู่ชาวไร่ ชาวนา ชาวทะเลทั่วกันไม่ตกไปอยู่ในมือใครคนหนึ่งคนใดเพียงคนเดียว และเงินหนึ่งบาทก็มีราคาหนึ่งบาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เสมอ ไม่ใช่ซื้ออะไรก็ไม่ได้เหมือนอย่างทุกวันนี้ซึ่งเท่ากับไม่มีประโยขน์เต็มที่ในค่าของเงิน"
ด้วยนโยบายของรัฐบาล "ผัดไทย" ก็เริ่มกลายเป็นอาหารสำคัญขึ้นมาและมีชื่อเสียงในระดับสากล แพร่หลายไปทั่ว รวมทั้งมีการดัดแปลงสูตรไปในรูปแบบต่างๆ นานา เช่น ใส่กุ้งสด หรือการใช้น้ำมะขามเปียก เป็นต้น
ผัดไทยไม่ใช่อาหารธรรมดา เพราะเป็นอาหารที่แฝงไปด้วยแง่ของเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งยุคนั้น เมื่อคนหันมาบริโภคก๋วยเตี๋ยวผัดไทยมากขึ้น จึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการส่งออกข้าว ผักที่ใช้ก็เป็นผักที่ปลูกเอง เครื่องปรุงต่างๆก็หาง่าย แถมชื่อก็เป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็น ชาติไทย
สนใจความรู้อื่น >>> https://www.facebook.com/siamhistory?ref=stream
ผัดไทย อาหารไทย นโยบายสร้างชาติ ช่วยเศรษฐกิจของชาติ
รัฐบาล จอมพลป. พิบูลสงคราม ได้บริหารประเทศ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2482-2489 และช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านเมืองไทยนั้น แต่เดิม เรียกกันว่า ประเทศสยาม ท่านผู้นำ จอมพลป. ก็ให้เปลี่ยนชื่อ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2482 จึงกลายเป็น ประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมา นอกจากนั้น ท่านยังออก รัฐนิยม อันเป็นระเบียบ สำหรับ ประชาชนชาวไทย ปฏิบัติให้ดูเป็น อารยชน เช่น การห้ามกินหมาก การแต่งกาย สวมหมวก จนถูกเรียกว่าเป็น ยุคมาลานำไทย ฯลฯ
เมื่อมีชาติไทยแล้ว ก็จำเป็นต้องมี อาหารประจำชาติ จึงอยากคิดอาหารใหม่ขึ้นมาสักจานที่เป็นแบบฉบับของความเป็นไทยแท้ คือผัดไทย ในช่วงนั้น อาหาร ที่เป็นเส้น ๆ นั้นถูกมองว่า เป็นจีนไปหมด ทั้งก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ แม้แต่ขนมจีนยังเป็นจีน อาหารชนิดใหม่ จึงได้รับ การประดิษฐ์ขึ้นมา เริ่มต้นนำเส้นเล็ก มาผัด ใส่เต้าหู้เหลืองซอย ให้เล็ก ๆ เติมกุ้งแห้ง ใส่ใบกระเทียม แล้วตอกไข่ลงไป ยีให้ทั่ว สุดท้าย ก็ใส่ถั่วงอกดิบ แล้วจึงตักขึ้น ใส่จาน อาจจะประดับ ต้นกระเทียม ไว้กินเคียง ถ้าใส่กุ้งใหญ่ ประดับหน้า ก็จะได้ผัดไทยกุ้งสด
ประจวบกับช่วงหลังสงครามยุติลง และไทยต้องทำข้อตกลงกับอังกฤษหลายประการ หนึ่งในข้อตกลงเหล่านั้นคือต้องชดใช้ค่าเสียหายให้อังกฤษเป็นข้าวจำนวน 1.5 ล้านตัน ซึ่งสภาพการณ์ กำลังและกรรมวิธีการผลิตข้าวจำนวนมหาศาลในเวลานั้น น่าจะเป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสเอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการขาดแคลนข้าวที่จะบริโภคภายในประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องรณรงค์ให้ประชาชนหันมาบริโภคก๋วยเตี๋ยวซึ่งทำจากข้าวหักแทน เพื่อลดการบริโภคข้าวภายในประเทศ เนื่องจากในช่วงนั้นสภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ข้าวแพง ไม่ว่าจะยุคใดสมัยใดร้านก๋วยเตี๋ยวก็มีเยอะแยะไปหมด ซึ่งเชื้อสายที่เป็นต้นตำรับก็คือคนจีน จอมพล ป. ต้องการอาหารที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยจึงเริ่มมองหาวัตถุดิบที่เป็นของไทยแท้ ผัดไทย จึงได้บังเกิดขึ้น แม้ว่าก๋วยเตี๋ยวจะเป็นอาหารจีน แต่ท่าน จอมพล ป. ก็เลือกใช้ "เส้นจันท์" ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะแก่การผัดในกระทะ และเส้นเหนียวกว่าเส้นเล็กปกติ
เมื่อได้อาหารจานใหม่ของประเทศไทยแล้ว ท่านจอมพล ป. จึงให้คำปราศรัยเชิญชวนให้พี่น้องชาวไทยหันมาบริโภคก๋วยเตี๋ยว เพื่อเป็นการแก้ไข เศรษฐกิจของชาติในตอนนั้น เพื่อจะได้มีเงินหมุนเวียนในประเทศ ดังคำกล่าวของท่าน จอมพล ป. ว่า
"อยากให้พี่น้องกินก๋วยเตี๋ยวให้ทั่วกัน เพราะก๋วยเตี๋ยว มีประโยชน์ต่อ ร่างกาย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานพร้อม ทำเองได้ในประเทศไทย หาได้สะดวกและอร่อยด้วย หากพี่น้องชาวไทยกินก๋วยเตี๋ยวคนละ หนึ่งชามทุกวัน วันหนึ่งจะมีคนกินก๋วยเตี๋ยวสิบแปดล้านชาม ตกลงวันหนึ่งค่าก๋วยเตี๋ยวของชาติไทยหนึ่งวันเท่ากับเก้าสิบล้านสตางค์เท่ากับเก้าแสนบาท เป็นจำนวนเงินหมุนเวียนมากพอใช้ เงินเก้าแสนบาทนั้น ก็จะไหลไปสู่ชาวไร่ ชาวนา ชาวทะเลทั่วกันไม่ตกไปอยู่ในมือใครคนหนึ่งคนใดเพียงคนเดียว และเงินหนึ่งบาทก็มีราคาหนึ่งบาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เสมอ ไม่ใช่ซื้ออะไรก็ไม่ได้เหมือนอย่างทุกวันนี้ซึ่งเท่ากับไม่มีประโยขน์เต็มที่ในค่าของเงิน"
ด้วยนโยบายของรัฐบาล "ผัดไทย" ก็เริ่มกลายเป็นอาหารสำคัญขึ้นมาและมีชื่อเสียงในระดับสากล แพร่หลายไปทั่ว รวมทั้งมีการดัดแปลงสูตรไปในรูปแบบต่างๆ นานา เช่น ใส่กุ้งสด หรือการใช้น้ำมะขามเปียก เป็นต้น
ผัดไทยไม่ใช่อาหารธรรมดา เพราะเป็นอาหารที่แฝงไปด้วยแง่ของเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งยุคนั้น เมื่อคนหันมาบริโภคก๋วยเตี๋ยวผัดไทยมากขึ้น จึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการส่งออกข้าว ผักที่ใช้ก็เป็นผักที่ปลูกเอง เครื่องปรุงต่างๆก็หาง่าย แถมชื่อก็เป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็น ชาติไทย
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย [n]_[a]jes เมื่อ 2012-12-15 22:54
ที่มาของผัดไทย