นางเสือง ราชินีองค์แรกในประวัติศาสตร์ไทย วีรสตรีไทยผู้อยู่เบื้องหลังในการกอบ:X้อาณาจักรสุโขทัยให้พ้นจากการรุกรานของขอม
นางเสือง พระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถุม ผู้นำบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำยม-น่าน และเป็นพระขนิษฐาของพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ทรงอภิเษกสมรสกับพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ต่อมาพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองร่วมมือกันขับไล่ขอมออกไปจากสุโขทัย พ่อขุนผาเมืองได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลาวหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้กลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ นางเสืองเป็นพระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และ เป็นพระมารดาของพ่อขุนบาลเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
นางเสืองเป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาด รอบรู้ สังเกตได้จากราชบุตร คือพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งทรงความเป็นปราชญ์อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นมหาราชองค์แรก และเมื่อพระองค์เป็นโอรสของนางเสือง พระองค์ฉลาด พระราชมารดาก็ย่อมฉลาดด้วย ทำนองลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น สมัยนั้นกษัตริย์ต้องกรำอยู่กับการศึกและการปกครอง ต้องปล่อยให้งานบ้านงานเรือนตกเป็นหน้าที่ของมเหสี
นางเสืองเป็นพระราชินีที่รักโอรสธิดาเป็นพิเศษ มีความชำนาญในเรื่องการครองเรือนเป็นอย่างดี ข้อยืนยันสนับสนุนก็คือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่ว่า “เมื่อชั่วพ่อ:X :Xบำเรอแก่พ่อ:X :Xได้ตัวเนื้อตัวปลา :Xเอามาแก่พ่อ:X :Xได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อย กินดี :Xเอามาแก่พ่อ:X :Xไปตีหน้าวังช้างได้ :Xเอามาแก่พ่อ:X :Xไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ป่าวได้นาง ได้เงินได้ทอง :Xเอามาเวนแก่พ่อ:X” ข้อความเหล่านี้ แสดงว่า นางเสืองได้อบรมพระราชโอรสให้มีความกตัญญู เคารพบิดามารดา หรืออย่างน้อยก็เคารพผู้อาวุโส เช่นพระเชษฐา
ปล. ในรูปภาพแรกประกอบเป็น องค์เทวรูปพระแม่ย่า ซึ่งสันนิษฐานว่าคงเป็นนางกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง และนางกษัตริย์องค์นี้น่าจะเป็นพระนางเสือง ซึ่งเป็นพระราชชนนีของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นพระเจ้าย่าของพระยาลิไท สาเหตุที่เรียกว่า "พระแม่ย่า" เนื่องจากคนสมัยก่อนนับถือกษัตริย์ว่าเป็นพ่อ ดังนั้นแม่ของพ่อ (กษัตริย์) จึงเรียกว่า ย่า แปลโดยรวมว่า ย่าผู้เป็นแม่ของพระมหากษัตริย์ส่วนรูปที่ 2 เป็นรูปนางเสืองในจินตนาการ
>>>>https://www.facebook.com/siamhistory
นางเสือง พระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถุม ผู้นำบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำยม-น่าน และเป็นพระขนิษฐาของพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ทรงอภิเษกสมรสกับพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ต่อมาพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองร่วมมือกันขับไล่ขอมออกไปจากสุโขทัย พ่อขุนผาเมืองได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลาวหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้กลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ นางเสืองเป็นพระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และ เป็นพระมารดาของพ่อขุนบาลเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
นางเสืองเป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาด รอบรู้ สังเกตได้จากราชบุตร คือพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งทรงความเป็นปราชญ์อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นมหาราชองค์แรก และเมื่อพระองค์เป็นโอรสของนางเสือง พระองค์ฉลาด พระราชมารดาก็ย่อมฉลาดด้วย ทำนองลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น สมัยนั้นกษัตริย์ต้องกรำอยู่กับการศึกและการปกครอง ต้องปล่อยให้งานบ้านงานเรือนตกเป็นหน้าที่ของมเหสี
นางเสืองเป็นพระราชินีที่รักโอรสธิดาเป็นพิเศษ มีความชำนาญในเรื่องการครองเรือนเป็นอย่างดี ข้อยืนยันสนับสนุนก็คือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่ว่า “เมื่อชั่วพ่อ:X :Xบำเรอแก่พ่อ:X :Xได้ตัวเนื้อตัวปลา :Xเอามาแก่พ่อ:X :Xได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อย กินดี :Xเอามาแก่พ่อ:X :Xไปตีหน้าวังช้างได้ :Xเอามาแก่พ่อ:X :Xไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ป่าวได้นาง ได้เงินได้ทอง :Xเอามาเวนแก่พ่อ:X” ข้อความเหล่านี้ แสดงว่า นางเสืองได้อบรมพระราชโอรสให้มีความกตัญญู เคารพบิดามารดา หรืออย่างน้อยก็เคารพผู้อาวุโส เช่นพระเชษฐา
ปล. ในรูปภาพแรกประกอบเป็น องค์เทวรูปพระแม่ย่า ซึ่งสันนิษฐานว่าคงเป็นนางกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง และนางกษัตริย์องค์นี้น่าจะเป็นพระนางเสือง ซึ่งเป็นพระราชชนนีของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นพระเจ้าย่าของพระยาลิไท สาเหตุที่เรียกว่า "พระแม่ย่า" เนื่องจากคนสมัยก่อนนับถือกษัตริย์ว่าเป็นพ่อ ดังนั้นแม่ของพ่อ (กษัตริย์) จึงเรียกว่า ย่า แปลโดยรวมว่า ย่าผู้เป็นแม่ของพระมหากษัตริย์ส่วนรูปที่ 2 เป็นรูปนางเสืองในจินตนาการ
>>>>https://www.facebook.com/siamhistory
ราชินีองค์แรกในประวัติศาสตร์ไทย