คือกระผมทำงานเรื่องนี้พอดีเลยเอามาลงนะครับ
ในระยะแรกหลังจากพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าเสด็จดับขันปรินิพพานแล้วพุทธศาสนิกชนก็ได้นำเอา ดิน น้ำ และใบโพธิ์จากสังเวชสถาน ๔ แห่ง คือ สถานที่ประสูติ(สวนลุมพินีวัน) ตรัสรู้ (พุทธคยา) ปฐมเทศนา (พาราณสี) และ ปรินิพพาน (กุสินารา)เก็บมาไว้เพื่อบูชาคุณพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าต่อมามีการสร้างรูปอื่นที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ เช่นทำดวงตราสัญลักษณ์ประจำสถานที่ต่างๆ ขึ้น ด้วยดินเผาหรือแผ่นเงินเช่นที่เมืองกบิลพัสดุสร้างตราดอกบัว หมายถึงมีสิ่งบริสุทธิ์เกิดขึ้น และตราม้าหมายถึงม้ากัณฐกะ ที่เมืองพาราณสีสร้างตราธรรมจักรมีรูปกวางหมอบอันหมายถึงการแสดงธรรมจักรและพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างเสาหินอโศกไว้ในสถานที่ประสูติ เป็นต้น
ส่วนการสร้างพระพุทธรูปมีประวัติความเป็นมาดังนี้คือ ตามตำนานพุทธประวิติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนธิโกศลแห่งแคว้นโกศลได้โปรดให้ช่างจำหลักพระรูปเหมือนของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าขึ้นจากไม้แก่นจันทร์เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดานับเป็นการสร้างพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก แต่ตำนานพระแก่นจันทร์นี้บางท่านกล่าวว่าเป็นเพียงตำนานที่ยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้อย่างชัดเจนถ้าไม่นับพระแก่นจันทร์ก็สันนิษฐานกันว่า พระพุทธรูปนั้น เริ่มสร้างในราวพุทธศตวรรษที่๗ ตั้งแต่สมัยคันธารราฐ ซึ่งเป็นแคว้นที่อยู่ทางตอนเหนือ ของอินเดียโบราณ(ปัจจุบันอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานิสถาน) ผู้ริเริ่มสร้างไม่ใช่ชาวอินเดียแต่เป็นพวกโยนก(กรีซ) สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระเจ้ามิลินทกษัตริย์เชื้อสายกรีซแห่งแคว้นคันธาระ หรือคันธาราฐ
เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในคันธาระพวกโยนกยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้ามิลินทมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากแสดงองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองแต่เดิมนั้นพระพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใดเพราะในสมัยอินเดียในสมัยนั้นมีข้อห้ามในการทำรูปเคารพ แต่เคยนับถือศาสนาเทวะนิยมและจำหลักรูปเคารพของเทพเจ้ากลุ่มโอลิมปัสมาก่อนเช่น รูปอพอลโลและซีอุส เมื่อเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ก็เลยจำหลักศิลารูปพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าขึ้นเคารพบูชาเป็นครั้งแรก
ส่วนการสร้างพระพุทธรูปมีประวัติความเป็นมาดังนี้คือ ตามตำนานพุทธประวิติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนธิโกศลแห่งแคว้นโกศลได้โปรดให้ช่างจำหลักพระรูปเหมือนของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าขึ้นจากไม้แก่นจันทร์เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดานับเป็นการสร้างพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก แต่ตำนานพระแก่นจันทร์นี้บางท่านกล่าวว่าเป็นเพียงตำนานที่ยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้อย่างชัดเจนถ้าไม่นับพระแก่นจันทร์ก็สันนิษฐานกันว่า พระพุทธรูปนั้น เริ่มสร้างในราวพุทธศตวรรษที่๗ ตั้งแต่สมัยคันธารราฐ ซึ่งเป็นแคว้นที่อยู่ทางตอนเหนือ ของอินเดียโบราณ(ปัจจุบันอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานิสถาน) ผู้ริเริ่มสร้างไม่ใช่ชาวอินเดียแต่เป็นพวกโยนก(กรีซ) สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระเจ้ามิลินทกษัตริย์เชื้อสายกรีซแห่งแคว้นคันธาระ หรือคันธาราฐ
เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในคันธาระพวกโยนกยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้ามิลินทมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากแสดงองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองแต่เดิมนั้นพระพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใดเพราะในสมัยอินเดียในสมัยนั้นมีข้อห้ามในการทำรูปเคารพ แต่เคยนับถือศาสนาเทวะนิยมและจำหลักรูปเคารพของเทพเจ้ากลุ่มโอลิมปัสมาก่อนเช่น รูปอพอลโลและซีอุส เมื่อเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ก็เลยจำหลักศิลารูปพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าขึ้นเคารพบูชาเป็นครั้งแรก
กว่าจะพิมพ์เสร็จ
พระพุทธรูป