บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
การ์กอยล์ ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามโบสถ์ มหาวิหาร อาคารต่างๆของซีกโลกตะวันตก มหาวิหารดังๆที่โลกรู้จักกันก็มี มังกรการ์กอยล์ อาศัยอยู่ เช่น วิหารนอเตรอดาม แห่ง กรุงปารีส (Notre Dame de Paris) มหาวิหารนอเตรอ-ดาม แห่ง ดิฌง (Notre Dame de Dijon) วิหารแห่งชาติ ณ กรุงวอชิงตัน (Washington National Cathedral) 2 แห่งแรกนี่เรียกยาก ผมสะกดผิดก็อย่าว่ากันนะคับ แต่แห่งหลังเนี่ยถูกต้องชัวร์ๆ นับว่าเจ้ารูปสลัก การ์กอยล์ เนี่ย เป็นประติมากรรมที่สวยงามชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว และก็ไม่ได้มีไว้ประดับประดาอาคารเพื่อความสวยงามเท่านั้น ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย นั่นคือ เป็นที่ระบายน้ำฝน
ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า รูปสลักหน้าตาประหลาด ๆ เหล่านี้มักมีอากัปกิริยาแตกต่างกันไป แต่จะมีจุดหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ มีช่องทางให้ระบายน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็นทางปาก จมูก หู หรือส่วนอื่น ๆ ของรูปสลักเหล่านี้ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีรูปร่างพิลึกพิลั่นอยู่บ้าง มากล่าวถึงชื่อที่เรียกว่า การ์กอยล์ กันบ้าง สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ลา การ์กุยย์ (La Gargouille) ในภาษาฝรั่งเศส อันมีรากศัพท์มาจาก เกอร์:Xลิโอ (Gurgulio) ในภาษาละติน หมายถึง คอ และ พ้องกับเสียงของน้ำที่ไหลผ่านรางน้ำฝนบนตัวอาคาร
มีตำนานมากมายกล่าวถึงที่มาของชื่อ การ์กอยล์ หรือ ลา การ์กุยย์ นี้ แต่ตำนานเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ ตำนานอันเก่าแก่ของฝรั่งเศส ที่เล่าขานกันว่า ประมาณ ศตวรรษที่ 7 ณ หมู่บ้านรูออง (Rouen) ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส มีมังกรไฟตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยดุร้ายอาศัยอยู่ในถ้ำใกล้ริมแม่น้ำแซน (Seine) เจ้ามังกรตัวนี้ยื่นคำขาดให้ผู้คนในหมู่บ้านส่งหญิงพรหมจรรย์มาสังเวยมันทุกปี (ว๊าว! ข้อเสนอของมันเล่นซะจนผมยังต้องอิจฉามันเลย หญิงพรหมจรรย์ทุกปี ถ้าเป็นผมนะ จะยื่นขอเสนอใหม่เป็นทุกเดือน รู้สึกจะแสดงอาการออกนอกหน้าเกินไปแล้วเรา) มิฉะนั้นมันจะพ่นไฟให้ทั้งหมู่บ้านจมอยู่ในกองเพลิงภายในพริบตา ด้วยความกลัว ชาวบ้านจึงจำต้องส่งหญิงสาวไปให้มันทุกปี หากปีใดไม่สามารถหาสาวบริสุทธ์ได้ก็จำต้องส่งนักโทษไปแทน แน่นอนว่าเจ้ามังกรตัวนี้ไม่พอใจอย่างยิ่ง (เป็นผมผมก็ไม่พอใจ จากหญิงสาวพรหมจรรย์เปลี่ยนไปเป็นนักโทษ คนละขั้วกันเลย) ดังนั้นมันจะมาบินวนรอบ ๆ หมู่บ้านพร้อมกับพ่นไฟและ ส่งเสียงขู่คำรามในลำคอ อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกเจ้ามังกรตัวนี้ว่า ลา การ์กุยย์ ชาวบ้านรูอองต้องหวาดกลัวเจ้ามังกรพ่นไปตัวนี้เป็นเวลานาน
จนกระทั่งวันหนึ่ง นักบวช แซงต์ รูมานีส์ (Saint Romanis) (ไม่ใช่อัศวินขี่ม้าขาวหรอกหรือ? แต่เป็นนักบวช) ได้มาเดินทางเยือนหมู่บ้านแห่งนี้ เมื่อได้รับรู้ชะตากรรมของชาวบ้าน ท่านก็เสนอตัวเข้าช่วยเหลือ โดยมีข้อแม้ว่า หากท่านปราบมังกรตัวนี้ได้ ชาวบ้านจะต้องสร้างโบสถ์ให้ท่านหนึ่งหลัง ซึ่งชาวบ้านก็ตกลงรับเงื่อนไขนี้โดยดี (โบสถ์หนึ่งหลังแลกกับไปฆ่ามังกร คุ้มคับคุ้ม) ท่านนักบวชได้เดินทางไปยังถ้ำมังกรโดยไม่มีอาวุธใด ๆ นอกจากไม้กางเขนและศรัทธาต่อ พระเจ้าเท่านั้น แต่กระนั้น ท่านก็สามารถสยบเจ้ามังกรร้ายตัวนี้ได้ และนำมันกลับมายังหมู่บ้าน ชาวบ้าน รูอองรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พวกเขาจะได้อยู่อย่างสงบสุขเสียที หลังจากต้องหวาดกลัวมังกรร้ายมาตลอดเวลา
ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามังกรไฟ ลา การ์กุยย์ นี้จะไม่สามารถกลับมาทำร้ายใครได้อีก ชาวบ้านจึงจับมังกรนี้มัดและเผามันทั้งเป็น แต่เนื่องจากเจ้า ลา การ์กุยย์ เป็นมังกรพ่นไฟ เพลิงจึงเผาผลาญทุกส่วนของมัน ยกเว้น หัวและคอ ซึ่งไม่ว่าใช้วิธีใดก็ไม่สามารถทำลายมันได้ ดังนั้น เมื่อชาวบ้านสร้างโบสถ์ให้นักบวช แซงต์ รูมานีส์ ตามสัญญา นักบวชเลยแนะนำให้เอาหัวมังกรไปประดับไว้กับตัวโบสถ์เพราะเจ้ามังกรตัวนี้มีอำนาจศักด์สิทธิ์ ดังนั้นมันจะสามารถขับไล่มิให้ภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามาใน ตัวโบสถ์ได้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การนำเอารูปสลักสัตว์หน้าตาประหลาดต่าง ๆ มาประดับโบสถ์วิหารก็กลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ในยุโรปและเมื่อชาวยุโรปได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำประติมากรรมประหลาดนี้ไปด้วย ดังนั้น ตามวิหารหรืออาคารจำนวนไม่น้อยในสหรัฐอเมริกาจึงประดับด้วยรูปสลักการ์กอยล์นี้เช่นกัน หากว่าใครแวะไปเที่ยวที่มหาวิหารที่ผมกล่าวมาเนี่ย ก็แวะไปเยี่ยมเยียน เจ้ามังกรการ์กอยล์กันบ้าง และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องจำเอาไว้และปฎิบัติตามเคร่งครัดก็คือ อย่าลืมของฝากนะคับ! (ซื้อฝากนะไม่ได้ให้ฝากซื้อ)
ทำไมต้องมีรูปปั้น กาล์กอยล์
[img]
[IMG]
[/img]