Roto หรือ Rotoscope
---------------------------
ในสมัยก่อน Rotoscope มักใช้ในงานแอนิเมชั่น เช่น การทำตัวการ์ตูนที่มีแอ็คติ้ง ท่าทางเหมือนคนจริงๆ หรือทำตัวการ์ตูนแสดงร่วมกับคน เป็นต้น โดยอาศัยเทคนิคการฉายภาพวีดีโอที่มีคน ลงไปที่กระดาษ (ที่จะวาดการ์ตูน) แล้วก็วาดการ์ตูนลงไป โดยที่เราจะเห็นตัวนักแสดงอยู่ ก็จะวาดการ์ตูนตามท่าทางของนักแสดงได้ หรือจะให้นักแสดงและตัวการ์ตูนมีปฏิสัมพันธ์กันก็ได้ (เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Space Jam)
แต่ในปัจจุบัน ทุกอย่างเป็น Digital ถ้าพูดถึง Rotoscope จะกลายเป็นการสร้างภาพให้มี alpha หรือก็คือ ไดคัทภาพเคลื่อนไหว เอาเฉพาะส่วนที่เราต้องการ และปล่อยส่วนอื่นๆ กลายเป็นพื้นโปร่งใสไปแทน เพื่อนำไปซ้อนกับภาพอื่นๆ หรือใส่ในฉากอื่นๆ ที่เราต้องการ
เทคนี้ Rotoscope นี้มีประโยชน์มาก เพราะใช้กับ live footage ที่ไม่ได้มีการถ่ายกับพวกสกรีนมาก่อน อาจจะเพราะทำยาก หรือไม่ได้เตรียมการ หรืออะไรก็แล้วแต่ การทำ Roto นี้ไม่ยาก แต่อาศัยความอึดระดับ "บลูส วิลลิส" ยังอาย เพราะจะต้องมานั่งไดคัททีละเฟรม เนื่องจากกระบวนการทำงานของ Rotoscope จะเป็น frame by frame อยู่แล้ว
โชคดีที่โปรแกรมสมัยนี้ไม่ต้องให้เรานั่งไดคัทเองซะทีเดียว เพราะมีเครื่องมือที่ช่วยให้เราทำได้ เช่น Roto Brush ใน Adobe After Effect ซึ่งจะช่วยให้เราไดคัทได้ง่ายขึ้น โดยอาศัยการทำงานแบบ Vector Base แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่พ้นทำทีละเฟรมอยู่ดี
http://www.facebook.com/VFXwithin/posts/579089728770506
Aku no hanaเป็นอนิเมะเรื่องแรก(และเรื่องสุดท้าย)ที่ใช้เทคนิคนี้ซึ่งผมบอกตรงๆเฟลมากๆเพราะออกมาหน้าตาหน้ากลัวถ้าใช้นิดหน่อยพอArtก็โอเคแต่ใช้ทั้งเรื่องนี้ไม่ไหวหลอนเกิน ยิ่งคัดตัวแสดงไม่ดีหน้าตามันก็จะหลอนโครตๆอย่างที่เห็น
---------------------------
ในสมัยก่อน Rotoscope มักใช้ในงานแอนิเมชั่น เช่น การทำตัวการ์ตูนที่มีแอ็คติ้ง ท่าทางเหมือนคนจริงๆ หรือทำตัวการ์ตูนแสดงร่วมกับคน เป็นต้น โดยอาศัยเทคนิคการฉายภาพวีดีโอที่มีคน ลงไปที่กระดาษ (ที่จะวาดการ์ตูน) แล้วก็วาดการ์ตูนลงไป โดยที่เราจะเห็นตัวนักแสดงอยู่ ก็จะวาดการ์ตูนตามท่าทางของนักแสดงได้ หรือจะให้นักแสดงและตัวการ์ตูนมีปฏิสัมพันธ์กันก็ได้ (เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Space Jam)
แต่ในปัจจุบัน ทุกอย่างเป็น Digital ถ้าพูดถึง Rotoscope จะกลายเป็นการสร้างภาพให้มี alpha หรือก็คือ ไดคัทภาพเคลื่อนไหว เอาเฉพาะส่วนที่เราต้องการ และปล่อยส่วนอื่นๆ กลายเป็นพื้นโปร่งใสไปแทน เพื่อนำไปซ้อนกับภาพอื่นๆ หรือใส่ในฉากอื่นๆ ที่เราต้องการ
เทคนี้ Rotoscope นี้มีประโยชน์มาก เพราะใช้กับ live footage ที่ไม่ได้มีการถ่ายกับพวกสกรีนมาก่อน อาจจะเพราะทำยาก หรือไม่ได้เตรียมการ หรืออะไรก็แล้วแต่ การทำ Roto นี้ไม่ยาก แต่อาศัยความอึดระดับ "บลูส วิลลิส" ยังอาย เพราะจะต้องมานั่งไดคัททีละเฟรม เนื่องจากกระบวนการทำงานของ Rotoscope จะเป็น frame by frame อยู่แล้ว
โชคดีที่โปรแกรมสมัยนี้ไม่ต้องให้เรานั่งไดคัทเองซะทีเดียว เพราะมีเครื่องมือที่ช่วยให้เราทำได้ เช่น Roto Brush ใน Adobe After Effect ซึ่งจะช่วยให้เราไดคัทได้ง่ายขึ้น โดยอาศัยการทำงานแบบ Vector Base แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่พ้นทำทีละเฟรมอยู่ดี
http://www.facebook.com/VFXwithin/posts/579089728770506
Aku no hanaเป็นอนิเมะเรื่องแรก(และเรื่องสุดท้าย)ที่ใช้เทคนิคนี้ซึ่งผมบอกตรงๆเฟลมากๆเพราะออกมาหน้าตาหน้ากลัวถ้าใช้นิดหน่อยพอArtก็โอเคแต่ใช้ทั้งเรื่องนี้ไม่ไหวหลอนเกิน ยิ่งคัดตัวแสดงไม่ดีหน้าตามันก็จะหลอนโครตๆอย่างที่เห็น
อะไรคือrotoscopมาทำความรู้จักกัน