โดย วันรัก สุวรรณวัฒนา?
พวกคุณท้าทายอำนาจประธานเชียร์?
?ทำลายเจตนารมณ์ของพวกผมที่สืบทอดมาเป็นรุ่น
พวกคุณไม่ภูมิใจในสถาบันใช่ไหมครับ จึงทำอย่างนี้ ไปเรียนที่อื่นก็ยังทันนะครับ?
?ถ่ายรูปบันทึกหน้าตาให้ผมหน่อย จะได้ออกนอกระบบแบบเบาๆเหมือน Singular?
?มิน่าล่ะครับ รุ่นน้องมันถึงไม่ฟังรุ่นพี่?
?Staff ทุกคนมีความจิตอาสา”
(เน้นคำโดยผู้เขียน)
เหล่านี้คือประโยคที่ถูกเปล่งออกมาจากปากของนิสิต “รุ่นพี่” ซึ่งเป็นประธานเชียร์ในงานรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อประฌามนิสิตกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่เห็นด้วยกับวัฒนธรรม ?ห้องเชียร์? และได้พยายามขึ้นเวทีแสดงป้ายประท้วงและขออ่านแถลงการณ์ที่พวกตนเตรียมมา จนถูกกลุ่มผู้จัดงานโห่ไล่ให้ออกไปจากสถานที่จัดงาน1
วีดีโอนี้ได้รับการเผยแพร่ในเวปไซต์ Youtube และกลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์และเวบบอร์ดต่างๆในอินเตอร์เนต ล่าสุด เวปไซต์ประชาไทได้ลงสัมภาษณ์หนึ่งในสมาชิกกลุ่มนิสิตที่ดำเนินกิจกรรมคัดค้านห้องเชียร์2
และมติชนออนไลน์ได้เผยแพร่ ?จดหมายเปิดผนึกถึงประชาคมมหาวิทยาลัยมหาสารคามและสังคมไทย เรียกร้องปฏิรูประบบรับน้อง/ห้องเชียร์? ซึ่งมีอาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักเคลื่อนไหวทางสังคม ตลอดจนประชาชนทั่วไปร่วมลงชื่อมากกว่า 200 คน3
และยังคงมีผู้ทยอยลงชื่อสนับสนุนจดหมายนี้อย่างต่อเนื่องใน Event ซึ่งถูกสร้างขึ้นในเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook4
จากระบอบการปกครองแบบเจ้าอาณานิคม สู่เผด็จการห้องเชียร์ : เส้นทางประวัติศาสตร์ของ ?อุดมการณ์โซตัส?
ระบบโซตัส (SOTUS) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายสถาบันการศึกษาในปัจจุบันนั้น สันนิษฐานว่าเริ่มต้นขึ้นจากการนำระบบอาวุโสของโรงเรียนกินนอนในประเทศอังกฤษ (Fagging system) เข้ามาใช้ในโรงเรียนมหาดเล็กตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 2440 ซึ่งเป็นระบบที่มีการแต่งตั้งดรุณาณัติ (Fag-master หรือ Prefect) จากนักเรียนอาวุโสผู้เรียนดีและประพฤติดี เพื่อทำหน้าที่ช่วยครูในการอบรมสั่งสอนและดูแลคณะนักเรียน โรงเรียนมหาดเล็กซึ่งพัฒนามาจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินของรัชกาลที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์แรกเริ่มเพื่อผลิตข้าราชการสำหรับกิจการปกครองท้องถิ่น ในแง่นี้ อาจกล่าวได้ว่าโรงเรียนมหาดเล็กคือกลไกสำคัญในการทำให้โครงสร้างการรวมศูนย์อำนาจเพื่อ ?ปกครอง? และ ?ควบคุม? เมืองขึ้นแข็งแกร่งขึ้น ในช่วงเวลาที่สยามยังไม่เป็นรัฐชาติเฉกเช่นที่เรารู้จักกันทุกวันนี้
ครั้นต่อมา เมื่อได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้สานต่อระบบอาวุโส ผนวกกับแนวคิดเรื่องระเบียบ ประเพณี สามัคคีและน้ำใจ จนคำว่า โซตัส (SOTUS) กลายเป็นคำขวัญทั้ง 5 ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นปณิธานในการอบรมสั่งสอนของผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ ไม่ปรากฎการใช้ความรุนแรงใดๆ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าระบบโซตัสในระยะแรกมีลักษณะของความเป็น ?อุดมคติ? คือเป็นจินตนาการร่วมของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ข้าราชการพลเรือน (ซึ่งต้องออกไป ?ปกครอง? ท้องถิ่นแดนไกลอันป่าเถื่อนล้าหลังในนามของราชการไทย)? ต้องไปให้ถึง ซึ่งสอดรับเป็นอย่างดีกับบริบททางการเมืองของการผนวกรวมชาติและการสร้างมาตรฐานเดียวให้กับคุณค่าต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องเป็นมาตรฐานของ ?ส่วนกลาง? เท่านั้น
ต่อมา ระบบโซตัสในรูปแบบที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งหมายถึงการผนวกรวมกิจกรรมการว้ากและการลงทัณฑ์เข้าเป็นส่วนหนึ่งนั้น ประเทศไทยรับมาในช่วงสงครามเย็นหรือประมาณทศวรรษ 2480 โดยได้มีการส่งนักศึกษาไปเรียนระดับปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยออเรกอนและมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์) และในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งชาติ ณ เมืองลอสแบนยอส ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งในขณะนั้น ฟิลิปปินส์ถูกยึดครองโดยอเมริกามาเกือบครึ่งศตวรรษก่อนหน้า ?ผู้ปกครอง? ได้ถ่ายทอดรูปแบบเทคโนโลยีและรูปแบบการเรียนการสอนให้กับ ?ผู้ถูกปกครอง? จึงทำให้แนวคิดและระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้เป็นไปในแบบอเมริกัน
เมื่อจบกลับมา นักศึกษาของไทยก็ได้นำเอาระบบการว้าก (การกดดันทางจิตวิทยา) และการลงโทษ (การทรมานทางร่างกาย) มาใช้กับมหาวิทยาลัยไทย โดยเริ่มจากโรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แม่โจ้ เชียงใหม่ ซึ่งผลิตนักเรียนเพื่อเข้าเป็นนิสิตของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์5
เป็นไปได้ว่าในช่วงเวลานี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้นำคำว่า ?โซตัส? ซึ่งเป็นคำขวัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาปรับใช้เรียกระบบการรับน้อง ?นำเข้า? รูปแบบใหม่นี้
จากมุมมองทางประวัติศาสตร์นี้ ระบบโซตัสถือเป็น ?ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม? ซึ่งถือกำเนิดขึ้นจากการหยิบยืม ?องค์ความรู้? และ ?เทคโนโลยี? สมัยใหม่มาจากมหาอำนาจจักรวรรดินิยมทั้งอังกฤษและอเมริกัน แม้จะต่างกรรมต่างวาระ แต่ก็อิงอยู่บนฐานกรอบคิดเดียวกัน กล่าวคือ กรอบคิดแบบเจ้าผู้ปกครองอาณานิคม ซึ่งมีรูปแบบที่เข้มข้นรุนแรงเพื่อกำราบ ?เมืองขึ้น? ให้สยบยอม โดยในทางเนื้อหานั้น การเข้าไปรุกรานและควบคุม จำต้องนำรูปแบบการปกครองแบบทหารเข้ามาใช้ โดยผ่านกลไกของระบบการศึกษาของพลเรือน
นอกจากนี้ หากพิจารณาบริบททางการเมืองของไทยในยุคที่โซตัสลงหลักปักฐานอย่างจริงจังในมหาวิทยาลัยไทยนั้น เรากำลังอยู่ในยุค ?รัฐนิยม? ที่มาพร้อมกับการปลูกฝังลัทธิชาตินิยมให้แก่เยาวชนและราษฎรไทย จึงไม่น่าแปลกใจเลยหากแนวคิดและรูปแบบของการปกครองนี้จะถูกหยิบมาใช้ในสถาบันการศึกษาชั้นนำ โดยมีจุดประสงค์เชิงอุดมการณ์ เพื่อสร้างราษฎรที่มีคุณภาพ (ตามอุดมคติของรัฐ) เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติ เพราะในลัทธิชาตินิยม ไม่มีพื้นที่ให้กับความเป็นปัจเจกและความเป็นพลเมืองที่มีสิทธิเสรีภาพเป็นของตน จะมีก็เพียงแต่สำหรับราษฎรที่เชื่อฟังและปฏิบัติตามหน้าที่ของตน (ตามที่รัฐบอก) อย่างเชื่องๆ
ต่อมาในทศวรรษ 2510 เมื่อกระแสสำนึกประชาธิปไตยถูกปลุกให้ตื่นขึ้นอีกครั้งเพื่อต่อต้านอำนาจเผด็จการทหารโดยเฉพาะในหมู่นิสิตนักศึกษา ประเพณีและวิถีปฏิบัติจารีตนิยมหลายอย่างได้ถูกตั้งคำถามในฐานะฟันเฟืองสำคัญทางวัฒนธรรม ซึ่งผู้นำเผด็จการและเครือข่ายอุปถัมภ์นำมาใช้ครอบงำความคิดในระดับจิตใต้สำนึกของประชาชนอย่างแนบเนียน ระบบโซตัส ภายใต้ชื่อเรียกว่า ?การรับน้อง? และ ?ห้องประชุมเชียร์? จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถูกตั้งคำถามในฐานะหัวขบวนแห่งกระบวนการปลูกฝังกล่อมเกลาปัญญาชนคนหนุ่มสาวให้อยู่ในสภาพเกียจคร้านทางปัญญาและสภาพชินชาทางการเมือง
ในยุคนี้ เรามีตัวอย่างมากมายของ ?คนรุ่นใหม่? ซึ่งออกมาเรียกร้องให้มีการเปิดประเด็นถกเถียงเรื่อง ?วัฒนธรรมการรับน้อง? ดังกรณีของกลุ่มวลัญชทัศน์แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้ส่งตัวแทนชิงตำแหน่งประธานชมรมเชียร์ โดยมีนโยบายสำคัญคือการ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเชียร์ ซึ่งก็ได้รับชัยชนะ และสิ่งแรกที่ทำคือการแจกบทกวี ?ฉันจึงมาหาความหมาย? ของ วิทยากร เชียง:Xล ให้แก่นักศึกษาใหม่ในห้องเชียร์6
แต่หลังจากความพ่ายแพ้ของขบวนการนักศึกษาหลัง 2519 ระบบโซตัสก็ได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง คู่ขนานไปกับการกลับมาของการเมืองแบบจารีต ที่มีฐานมาจากระบบอุปถัมภ์และเครือข่ายความสัมพันธ์ของชนชั้นปกครอง การใช้อำนาจปกครองทางการเมืองและวัฒนธรรมถูกทำให้ซับซ้อนและนุ่มนวลขึ้นด้วยเครื่องมือใหม่ที่ชนชั้นนำไทยรับมาจากระบอบจักรวรรดินิยมใหม่ในยุคหลังสงครามเย็น ภายใต้โฉมหน้าของทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ ซึ่งใช้กลไกระบบตลาดในการเบี่ยงเบนความสนใจของผู้คนในสังคมจากการกดขี่และจากปัญหาทีี่แท้จริงได้อย่างเหนือชั้นยิ่งกว่าระบบใดๆในประวัติศาสตร์ การตั้งคำถามกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง (แม้จะมีมาช้านานก็ตาม) จึงถูกทำให้เลือนหายไปจากสังคมไทย เฉกเช่นจิตสำนึกทางสังคมที่เจือจางไปจากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตรั้วมหาวิทยาลัย
หากพิจารณาภาพรวมทางประวัติศาสตร์การเดินทางของระบบโซตัสเพื่อฝังรากในวัฒนธรรมไทยนั้น จะเห็นได้ว่า จาก ?อุดมคติทางจริยธรรม? ในยุคแรกเริ่มพัฒนาสยามประเทศ ระบบโซตัสได้อวตารมาเป็น ?อุดมการณ์โซตัส? อันเข้มเข็งและแข็งทื่อในยุครัฐนิยมและยุคเผด็จการทหารในตอนปลายพุทธศตวรษที่ 25 และตอนต้นพุทธศตวรรรษที่ 26 และได้สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองอีกครั้งหลังความพ่ายแพ้ของขบวนการนักศึกษาหัวก้าวหน้า และก็เป็นรูปแบบ ?เผด็จการห้องเชียร์? เดียวกันนี้เองที่ยังคงสืบต่อมาจนปัจจุบัน
การว้าก การลงทัณฑ์และห้องเชียร์: ฤาเยาวชนไทยจะไร้ซึ่งจินตนาการ?
ในแต่ละปี ตลอดช่วงเดือนแรกคาบเกี่ยวถึงเดือนที่สองของการเปิดภาคการศึกษา การประชุมเชียร์หรือห้องเชียร์ได้กลายมาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่นิสิตนักศึกษาแรกเข้าหรือ ?น้องใหม่? ต้องถูกบังคับหรือกึ่งบังคับให้เข้า ?ซ้อมเชียร์?? โดยรุ่นพี่ที่ยังเป็นนิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยหรือที่จบไปแล้วจะทำการประชุมวางแผนซักซ้อมกิจกรรมตั้งแต่ก่อนเปิดภาคเรียน โดยกิจกรรมหลักประกอบด้วย การว้ากที่มาพร้อมกับการลงทัณฑ์
?การว้าก? คือการสร้างบรรยากาศของความกดดันและความหวาดกลัวทางจิตวิทยา ด้วยกระบวนการทำให้เกิด ?ความรู้สึกผิด? (emotional guilt) ผ่านการใช้ชุดคำแบบแผนสำเร็จรูปชุดหนึ่งซ้ำไปมา โดยกลุ่มคนซึ่งสถาปนาตนเองเป็น ?รุ่นพี่? บนฐานข้ออ้างเรื่องความอาวุโส (Seniority อักษรตัวแรกของชื่อย่อ SOTUS) เป็นผู้บังคับใช้คำสั่งและการลงโทษทรมานทางร่างกายซ้ำไปมา ในฐานะเครื่องมือละลายพฤติกรรม โดยทั้งหมดทั้งมวลมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างกลุ่มรุ่นน้องที่เชื่อฟังอย่างมีระเบียบวินัย (Order จึงถูกใช้ในสองความหมาย คือคำสั่งและระเบียบวินัย) มีความเป็นหนึ่งเดียว (Unity) และมีความรักเทิดทูนและภูมิใจในสถาบันของตน (Spirit) ทั้งหมดนี้ เรียกกันทั่วไปว่า กระบวนการสืบทอดส่งต่อ ?ประเพณีรับน้องใหม่? (Tradition)
หากพิจารณาคำพูดของนักศึกษาผู้นำเชียร์ที่ยกมาในตอนต้นของบทความและเชื่อมโยงเหตุการณ์นี้เข้ากับวันที่บนปฏิทิน (5 มิถุนายน พ.ศ. 2554) เราจะเห็นความลักลั่นระหว่างบริบทของยุคสมัยกับชุดคำพูดซึ่งสะท้อนชุดความคิดของอุดมการณ์โซตัสได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ในยุคซึ่งฉันทามติของสังคมไทยเรียกร้องความเท่าเทียม ประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก อุดมการณ์โซตัสกลับผลิตซ้ำวิธีคิดและวิถีปฏิบัติของยุคเผด็จการ อันมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างความซาบซึ้งกับจารีตนิยมอย่างปราศจากการถกเถียงด้วยเหตุด้วยผลและการผูกขาดการตีความรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกกับสถาบัน (ในที่นี้ คือสถาบันการศึกษาและสถาบันอาวุโส) ให้มีลักษณะแข็งทื่อไร้พลวัต โดยโจมตีกลุ่มคนที่เห็นต่างว่าเป็นพวกบ่อนทำลาย ?เจตนารมณ์? และ ?ประเพณีอันเก่าแก่? หรือเป็นพวก ?ร้อนวิชาสิทธิมนุษยชน? หรือ ?ทำลายชื่อเสียงสถาบัน? (ดังตัวอย่างบทสัมภาษณ์อันน่าเศร้าสลดใจของอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามและความคิดเห็นของกลุ่มสนับสนุนกิจกรรมประชุมเชียร์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)7
วิวาทะว่าด้วยระบบโซตัสจึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่การตั้งคำถามกับรูปแบบและวิธีการของประเพณีการรับน้องภายในรั้วมหาวิทยาลัยเท่านั้น (กล่าวคือ เราจะใช้วิธีการอย่างไรก็ได้ แม้ว่าจะล้าหลังหรือขัดแย้งกับยุคสมัยเพียงใด เพื่อให้ได้มาซึ่งจุดมุ่งหมายอัน ?ดี? หรือ? ซึ่งในที่นี้ ยังไม่ได้ตั้งคำถามกับ ?เจตนาดี? นี้ ว่าแท้จริงมาจากมุมมองของใคร เพื่อใครกันแน่และ ?ดี? จริงหรือ) แต่หมายรวมถึงการเชื่อมโยงระบบโซตัสเข้ากับบริบทภายนอกรั้วมหาวิทยาลัย เข้ากับสภาพความเป็นจริงของสังคมไทยในปัจจุบันที่รากเหง้าของปัญหาทางการเมือง สังคมและวัฒนธรรมมาจากการไม่ยอมรับและไม่เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายและจากการดำรงอยู่ของระบบอุปถัมภ์และระบบพวกพ้องอันนำมาซึ่งการเลือกปฏิบัติและความอยุติธรรมทั้งหลายในสังคม
ในแง่นี้ พื้นที่ปิดของห้องเชียร์จึงกลายมาเป็นพื้นที่จำลองของปฏิบัติการใช้อำนาจที่ไร้ความชอบธรรมใดๆ เป็นพื้นที่ฝึกความชาชินให้สยบยอมต่อ ?ความเป็นธรรมชาติ? (ภายใต้ชื่อเรียกอันศักดิ์สิทธิ์ว่า ?ประเพณี?) ของโครงสร้างเดิมทางสังคม ซึ่งถูกประกอบสร้างและสถาปนาขึ้นจากอำนาจภายนอก จนนำไปสู่การสมยอมให้ถูกหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อไป และยังเป็นพื้นที่ของการส่งทอด ?วัฒนธรรมเหยียด? ผู้อื่น จึงไม่น่าแปลกใจเลยหาก แท้จริงแล้ว ชนชั้นกลางมีการศึกษาทั้งหลายจะเป็นผู้ชื่นชอบในระบอบเจ้าขุนมูลนายและดูถูกผู้อื่นที่ไม่มีการศึกษาเท่าเทียมตน เพราะคนเหล่านี้ได้รับประโยชน์จากระบบอุปถัมภ์ที่สถาปนาผ่านระบอบการศึกษา จึงต้องพยายามปกปักรักษาอุดมการณ์โซตัสนี้ไว้เพื่อรักษาสถานภาพความเหลื่อมล้ำที่เป็นอยู่ในสังคมให้คงทนถาวรสืบไป
ภายในพื้นที่ปิดของห้องเชียร์และรั้วมหาวิทยาลัย นักศึกษาทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องได้กระทำการ ?สืบทอด? พิธีกรรมปิดหูปิดตาและปิดจินตนาการของคนหนุ่มสาวในนามของ ?อัตลักษณ์? อันคับแคบของการเป็นนักศึกษาของสถาบันใดสถาบันหนึ่งอย่างเดียว การปฏิเสธที่จะตั้งคำถามหรือเปิดเวทีเสวนาถกเถียงถึงความชอบธรรมของการมีอยู่ของระบบโซตัส ในท่ามกลางสังคมไทยยุคเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่โครงสร้างทางสังคมการเมืองแบบจารีตนิยมสั่นคลอนอย่างถึงราก เป็นเสมือนการเลือกขีดเส้นวงกลมล้อมรอบตนเองเพื่อปิดตายศักยภาพของความเป็นปัญญาชนที่ควรจะมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและเลือกการกดทับปิดกั้นพลังสร้างสรรค์แห่งวัยรุ่นด้วยการสร้างความเป็นอื่นให้กับตนเองและให้กับคนอื่นที่ไม่ใช่พวกตน
นับเป็นสิ่งที่น่าเสียดายหากพวกเขาไม่สามารถมองเห็นความเป็นไปได้อื่นๆของรูปแบบการต้อนรับ ?เพื่อนใหม่? ที่สามารถเชื่อมโยงกับชุมนุมโดยรอบมหาวิทยาลัยเพื่อเรียนรู้จากของจริง ปัญหาจริงและคนจริง ฤาพวกเขามองไม่เห็นว่ามหาวิทยาลัยไม่ใช่พื้นที่ปิด แต่เป็นพื้นที่เปิดสู่ความท้าทายของการเข้าไปปฏิสัมพันธ์กับสภาพความเป็นจริงของสังคมภายนอกซึ่งพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้
ในท่ามกลางเสียงเรียกร้องของสังคมเพื่อการปฏิรูปทางการเมือง การตั้งคำถามกับระบอบคุณค่าอันเป็นฐานเชื่อมโยงและจัดระเบียบความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมเป็นสิ่งที่พึงกระทำร่วมกัน ประเพณีการรับน้องของสถาบันอุดมศึกษาไทยนี้เป็น ?พื้นที่สีเทา? ซึ่งไม่มีที่ทางชัดเจนในภูมิทัศน์ของระบบการศึกษาไทย สวนทางกับยุทธศาตร์การพัฒนาการศึกษา สวนทางกับปณิธานของการผลิตบัณฑิตที่มุ่งเน้นให้นิสิตนักศึกษามีทักษะทางปัญญา สวนทางกับสปิริตของการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่ควรอยู่บนฐานของวัฒนธรรมการวิพากษ์ ท้ายที่สุด ประเพณีนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อปรัชญาพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยอย่างไม่สามารถประนีประนอมได้ เพราะระบบโซตัสเป็นกลไกหลักของการครอบงำเชิงวัฒนธรรมและเป็นเมล็ดพันธุ์ของ ?อุดมการณ์อำนาจนิยม? ที่ตกค้างอยู่ในระดับจิตใต้สำนึกและความคิดความอ่านของผู้คนอย่างแยบยลและแยบคาย อันเป็นต้นตอสำคัญของปัญหาการเมืองที่นำไปสู่การสังหารหมู่เมื่อพฤษภาคม 2553
http://transform.in.th/2011/06/sotus/
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผมก็เป็นพวกหนึ่งที่เกลียดระบบนี้นะ หลายๆอย่างอะแหละ มันไร้สาระมาก ร้องเพลงไร้สาระแถมเนื้อหาใต้สะดือ ร้องเข้าไปให้คอแตกไปเลยให้ได้อะไรขึ้นมา เอาจับไปทำโทษ ทรมาณต่างๆด้วยเหตุผลไร้สาระเช่นร้องเพลงไม่ดัง บางทีต้องอยู่เย็นอยู่ดึกเพื่อซ้อมเชียร์ บางคนไม่ได้นอนหอนะบ้านไกลด้วย กลับบ้าน3-4ทุ่มไม่มีรถสองแถวเข้าบ้านทำไง การเรียนก็เสียไปหลายคนอยู่
รุ่นพี่ผมเห็นหลายคนมันก็เป็นรุ่นพี่ตัวอย่างกันจริงๆ เก่งก็แค่กินเหล้าสูบบุหรีเก่งแต่เรียนแบบใกล้ตายเต็มทน ยิ่งเป็นเด็กซิ่วนี้จะรู้ซึ่งคับ แก่กว่า ชีวิตในมหาลัยชุกโชนกว่าแต่ต้องมาฟังเด็กเมื่อวานซืนว๊ากแล้วแอบขำในใจว่าไอ้พวกนี้มันไม่รู้อะไรซะเลย
และก็นะอย่างว่าคับมันเป็นระบบที่ปลูกฝังระบบเผด็จการจริงๆ ห้ามคิดห้ามโต้แย้ง ไม่มีเหตุผลต้องทำตามที่ผู้นำสั่งอย่างเดียว ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย บางคนไม่รู้เรื่องด้วยก็โดนทำโทษ ในเรื่องของสตาฟนี้ยิ่งงี่เง่าคับ สตาฟมันก็ระดับเดียวกันหมด แต่พอทำผิดก็รับผิดชอบแต่สตาฟพี่เลี้ยง
ไอ้คนว๊ากกะฝ่ายกองเสบียงก็ยืนดูแบบพวกSเห็นคนโดนทรมาณ เหตุผลก็ไร้สาระเช่น คนไม่มาซึ่งก็เรื่องของเขาสิ ไอ้ระบบรับน้องปัญญาอ่อนมันมีประโยทย์ต่อชีวิตยังไง พอรับน้องเสร็จได้รุ่นรุ่นพี่ ก็ได้เบ๊มาเพิ่ม รุ่นน้องก็ไม่ได้ประโยชย์อะไรเลย ลงทะเบียนต่างๆพึ่งตัวเองหมด
รับน้องมันเป็นเรื่องที่งี่เง่าไร้เหตุผลที่สุดละ เกณฑ์ทหารมันยังพอเหลือเหตุผลพอฟังขึ้นบ้างนิดหน่อย แต่รับน้องผมยังหาเหตุผลของมันไม่เจอเลย
พวกคุณท้าทายอำนาจประธานเชียร์?
?ทำลายเจตนารมณ์ของพวกผมที่สืบทอดมาเป็นรุ่น
พวกคุณไม่ภูมิใจในสถาบันใช่ไหมครับ จึงทำอย่างนี้ ไปเรียนที่อื่นก็ยังทันนะครับ?
?ถ่ายรูปบันทึกหน้าตาให้ผมหน่อย จะได้ออกนอกระบบแบบเบาๆเหมือน Singular?
?มิน่าล่ะครับ รุ่นน้องมันถึงไม่ฟังรุ่นพี่?
?Staff ทุกคนมีความจิตอาสา”
(เน้นคำโดยผู้เขียน)
เหล่านี้คือประโยคที่ถูกเปล่งออกมาจากปากของนิสิต “รุ่นพี่” ซึ่งเป็นประธานเชียร์ในงานรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อประฌามนิสิตกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่เห็นด้วยกับวัฒนธรรม ?ห้องเชียร์? และได้พยายามขึ้นเวทีแสดงป้ายประท้วงและขออ่านแถลงการณ์ที่พวกตนเตรียมมา จนถูกกลุ่มผู้จัดงานโห่ไล่ให้ออกไปจากสถานที่จัดงาน1
วีดีโอนี้ได้รับการเผยแพร่ในเวปไซต์ Youtube และกลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์และเวบบอร์ดต่างๆในอินเตอร์เนต ล่าสุด เวปไซต์ประชาไทได้ลงสัมภาษณ์หนึ่งในสมาชิกกลุ่มนิสิตที่ดำเนินกิจกรรมคัดค้านห้องเชียร์2
และมติชนออนไลน์ได้เผยแพร่ ?จดหมายเปิดผนึกถึงประชาคมมหาวิทยาลัยมหาสารคามและสังคมไทย เรียกร้องปฏิรูประบบรับน้อง/ห้องเชียร์? ซึ่งมีอาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักเคลื่อนไหวทางสังคม ตลอดจนประชาชนทั่วไปร่วมลงชื่อมากกว่า 200 คน3
และยังคงมีผู้ทยอยลงชื่อสนับสนุนจดหมายนี้อย่างต่อเนื่องใน Event ซึ่งถูกสร้างขึ้นในเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook4
จากระบอบการปกครองแบบเจ้าอาณานิคม สู่เผด็จการห้องเชียร์ : เส้นทางประวัติศาสตร์ของ ?อุดมการณ์โซตัส?
ระบบโซตัส (SOTUS) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายสถาบันการศึกษาในปัจจุบันนั้น สันนิษฐานว่าเริ่มต้นขึ้นจากการนำระบบอาวุโสของโรงเรียนกินนอนในประเทศอังกฤษ (Fagging system) เข้ามาใช้ในโรงเรียนมหาดเล็กตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 2440 ซึ่งเป็นระบบที่มีการแต่งตั้งดรุณาณัติ (Fag-master หรือ Prefect) จากนักเรียนอาวุโสผู้เรียนดีและประพฤติดี เพื่อทำหน้าที่ช่วยครูในการอบรมสั่งสอนและดูแลคณะนักเรียน โรงเรียนมหาดเล็กซึ่งพัฒนามาจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินของรัชกาลที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์แรกเริ่มเพื่อผลิตข้าราชการสำหรับกิจการปกครองท้องถิ่น ในแง่นี้ อาจกล่าวได้ว่าโรงเรียนมหาดเล็กคือกลไกสำคัญในการทำให้โครงสร้างการรวมศูนย์อำนาจเพื่อ ?ปกครอง? และ ?ควบคุม? เมืองขึ้นแข็งแกร่งขึ้น ในช่วงเวลาที่สยามยังไม่เป็นรัฐชาติเฉกเช่นที่เรารู้จักกันทุกวันนี้
ครั้นต่อมา เมื่อได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้สานต่อระบบอาวุโส ผนวกกับแนวคิดเรื่องระเบียบ ประเพณี สามัคคีและน้ำใจ จนคำว่า โซตัส (SOTUS) กลายเป็นคำขวัญทั้ง 5 ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นปณิธานในการอบรมสั่งสอนของผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ ไม่ปรากฎการใช้ความรุนแรงใดๆ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าระบบโซตัสในระยะแรกมีลักษณะของความเป็น ?อุดมคติ? คือเป็นจินตนาการร่วมของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ข้าราชการพลเรือน (ซึ่งต้องออกไป ?ปกครอง? ท้องถิ่นแดนไกลอันป่าเถื่อนล้าหลังในนามของราชการไทย)? ต้องไปให้ถึง ซึ่งสอดรับเป็นอย่างดีกับบริบททางการเมืองของการผนวกรวมชาติและการสร้างมาตรฐานเดียวให้กับคุณค่าต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องเป็นมาตรฐานของ ?ส่วนกลาง? เท่านั้น
ต่อมา ระบบโซตัสในรูปแบบที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งหมายถึงการผนวกรวมกิจกรรมการว้ากและการลงทัณฑ์เข้าเป็นส่วนหนึ่งนั้น ประเทศไทยรับมาในช่วงสงครามเย็นหรือประมาณทศวรรษ 2480 โดยได้มีการส่งนักศึกษาไปเรียนระดับปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยออเรกอนและมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์) และในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งชาติ ณ เมืองลอสแบนยอส ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งในขณะนั้น ฟิลิปปินส์ถูกยึดครองโดยอเมริกามาเกือบครึ่งศตวรรษก่อนหน้า ?ผู้ปกครอง? ได้ถ่ายทอดรูปแบบเทคโนโลยีและรูปแบบการเรียนการสอนให้กับ ?ผู้ถูกปกครอง? จึงทำให้แนวคิดและระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้เป็นไปในแบบอเมริกัน
เมื่อจบกลับมา นักศึกษาของไทยก็ได้นำเอาระบบการว้าก (การกดดันทางจิตวิทยา) และการลงโทษ (การทรมานทางร่างกาย) มาใช้กับมหาวิทยาลัยไทย โดยเริ่มจากโรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แม่โจ้ เชียงใหม่ ซึ่งผลิตนักเรียนเพื่อเข้าเป็นนิสิตของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์5
เป็นไปได้ว่าในช่วงเวลานี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้นำคำว่า ?โซตัส? ซึ่งเป็นคำขวัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาปรับใช้เรียกระบบการรับน้อง ?นำเข้า? รูปแบบใหม่นี้
จากมุมมองทางประวัติศาสตร์นี้ ระบบโซตัสถือเป็น ?ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม? ซึ่งถือกำเนิดขึ้นจากการหยิบยืม ?องค์ความรู้? และ ?เทคโนโลยี? สมัยใหม่มาจากมหาอำนาจจักรวรรดินิยมทั้งอังกฤษและอเมริกัน แม้จะต่างกรรมต่างวาระ แต่ก็อิงอยู่บนฐานกรอบคิดเดียวกัน กล่าวคือ กรอบคิดแบบเจ้าผู้ปกครองอาณานิคม ซึ่งมีรูปแบบที่เข้มข้นรุนแรงเพื่อกำราบ ?เมืองขึ้น? ให้สยบยอม โดยในทางเนื้อหานั้น การเข้าไปรุกรานและควบคุม จำต้องนำรูปแบบการปกครองแบบทหารเข้ามาใช้ โดยผ่านกลไกของระบบการศึกษาของพลเรือน
นอกจากนี้ หากพิจารณาบริบททางการเมืองของไทยในยุคที่โซตัสลงหลักปักฐานอย่างจริงจังในมหาวิทยาลัยไทยนั้น เรากำลังอยู่ในยุค ?รัฐนิยม? ที่มาพร้อมกับการปลูกฝังลัทธิชาตินิยมให้แก่เยาวชนและราษฎรไทย จึงไม่น่าแปลกใจเลยหากแนวคิดและรูปแบบของการปกครองนี้จะถูกหยิบมาใช้ในสถาบันการศึกษาชั้นนำ โดยมีจุดประสงค์เชิงอุดมการณ์ เพื่อสร้างราษฎรที่มีคุณภาพ (ตามอุดมคติของรัฐ) เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติ เพราะในลัทธิชาตินิยม ไม่มีพื้นที่ให้กับความเป็นปัจเจกและความเป็นพลเมืองที่มีสิทธิเสรีภาพเป็นของตน จะมีก็เพียงแต่สำหรับราษฎรที่เชื่อฟังและปฏิบัติตามหน้าที่ของตน (ตามที่รัฐบอก) อย่างเชื่องๆ
ต่อมาในทศวรรษ 2510 เมื่อกระแสสำนึกประชาธิปไตยถูกปลุกให้ตื่นขึ้นอีกครั้งเพื่อต่อต้านอำนาจเผด็จการทหารโดยเฉพาะในหมู่นิสิตนักศึกษา ประเพณีและวิถีปฏิบัติจารีตนิยมหลายอย่างได้ถูกตั้งคำถามในฐานะฟันเฟืองสำคัญทางวัฒนธรรม ซึ่งผู้นำเผด็จการและเครือข่ายอุปถัมภ์นำมาใช้ครอบงำความคิดในระดับจิตใต้สำนึกของประชาชนอย่างแนบเนียน ระบบโซตัส ภายใต้ชื่อเรียกว่า ?การรับน้อง? และ ?ห้องประชุมเชียร์? จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถูกตั้งคำถามในฐานะหัวขบวนแห่งกระบวนการปลูกฝังกล่อมเกลาปัญญาชนคนหนุ่มสาวให้อยู่ในสภาพเกียจคร้านทางปัญญาและสภาพชินชาทางการเมือง
ในยุคนี้ เรามีตัวอย่างมากมายของ ?คนรุ่นใหม่? ซึ่งออกมาเรียกร้องให้มีการเปิดประเด็นถกเถียงเรื่อง ?วัฒนธรรมการรับน้อง? ดังกรณีของกลุ่มวลัญชทัศน์แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้ส่งตัวแทนชิงตำแหน่งประธานชมรมเชียร์ โดยมีนโยบายสำคัญคือการ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเชียร์ ซึ่งก็ได้รับชัยชนะ และสิ่งแรกที่ทำคือการแจกบทกวี ?ฉันจึงมาหาความหมาย? ของ วิทยากร เชียง:Xล ให้แก่นักศึกษาใหม่ในห้องเชียร์6
แต่หลังจากความพ่ายแพ้ของขบวนการนักศึกษาหลัง 2519 ระบบโซตัสก็ได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง คู่ขนานไปกับการกลับมาของการเมืองแบบจารีต ที่มีฐานมาจากระบบอุปถัมภ์และเครือข่ายความสัมพันธ์ของชนชั้นปกครอง การใช้อำนาจปกครองทางการเมืองและวัฒนธรรมถูกทำให้ซับซ้อนและนุ่มนวลขึ้นด้วยเครื่องมือใหม่ที่ชนชั้นนำไทยรับมาจากระบอบจักรวรรดินิยมใหม่ในยุคหลังสงครามเย็น ภายใต้โฉมหน้าของทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ ซึ่งใช้กลไกระบบตลาดในการเบี่ยงเบนความสนใจของผู้คนในสังคมจากการกดขี่และจากปัญหาทีี่แท้จริงได้อย่างเหนือชั้นยิ่งกว่าระบบใดๆในประวัติศาสตร์ การตั้งคำถามกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง (แม้จะมีมาช้านานก็ตาม) จึงถูกทำให้เลือนหายไปจากสังคมไทย เฉกเช่นจิตสำนึกทางสังคมที่เจือจางไปจากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตรั้วมหาวิทยาลัย
หากพิจารณาภาพรวมทางประวัติศาสตร์การเดินทางของระบบโซตัสเพื่อฝังรากในวัฒนธรรมไทยนั้น จะเห็นได้ว่า จาก ?อุดมคติทางจริยธรรม? ในยุคแรกเริ่มพัฒนาสยามประเทศ ระบบโซตัสได้อวตารมาเป็น ?อุดมการณ์โซตัส? อันเข้มเข็งและแข็งทื่อในยุครัฐนิยมและยุคเผด็จการทหารในตอนปลายพุทธศตวรษที่ 25 และตอนต้นพุทธศตวรรรษที่ 26 และได้สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองอีกครั้งหลังความพ่ายแพ้ของขบวนการนักศึกษาหัวก้าวหน้า และก็เป็นรูปแบบ ?เผด็จการห้องเชียร์? เดียวกันนี้เองที่ยังคงสืบต่อมาจนปัจจุบัน
การว้าก การลงทัณฑ์และห้องเชียร์: ฤาเยาวชนไทยจะไร้ซึ่งจินตนาการ?
ในแต่ละปี ตลอดช่วงเดือนแรกคาบเกี่ยวถึงเดือนที่สองของการเปิดภาคการศึกษา การประชุมเชียร์หรือห้องเชียร์ได้กลายมาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่นิสิตนักศึกษาแรกเข้าหรือ ?น้องใหม่? ต้องถูกบังคับหรือกึ่งบังคับให้เข้า ?ซ้อมเชียร์?? โดยรุ่นพี่ที่ยังเป็นนิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยหรือที่จบไปแล้วจะทำการประชุมวางแผนซักซ้อมกิจกรรมตั้งแต่ก่อนเปิดภาคเรียน โดยกิจกรรมหลักประกอบด้วย การว้ากที่มาพร้อมกับการลงทัณฑ์
?การว้าก? คือการสร้างบรรยากาศของความกดดันและความหวาดกลัวทางจิตวิทยา ด้วยกระบวนการทำให้เกิด ?ความรู้สึกผิด? (emotional guilt) ผ่านการใช้ชุดคำแบบแผนสำเร็จรูปชุดหนึ่งซ้ำไปมา โดยกลุ่มคนซึ่งสถาปนาตนเองเป็น ?รุ่นพี่? บนฐานข้ออ้างเรื่องความอาวุโส (Seniority อักษรตัวแรกของชื่อย่อ SOTUS) เป็นผู้บังคับใช้คำสั่งและการลงโทษทรมานทางร่างกายซ้ำไปมา ในฐานะเครื่องมือละลายพฤติกรรม โดยทั้งหมดทั้งมวลมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างกลุ่มรุ่นน้องที่เชื่อฟังอย่างมีระเบียบวินัย (Order จึงถูกใช้ในสองความหมาย คือคำสั่งและระเบียบวินัย) มีความเป็นหนึ่งเดียว (Unity) และมีความรักเทิดทูนและภูมิใจในสถาบันของตน (Spirit) ทั้งหมดนี้ เรียกกันทั่วไปว่า กระบวนการสืบทอดส่งต่อ ?ประเพณีรับน้องใหม่? (Tradition)
หากพิจารณาคำพูดของนักศึกษาผู้นำเชียร์ที่ยกมาในตอนต้นของบทความและเชื่อมโยงเหตุการณ์นี้เข้ากับวันที่บนปฏิทิน (5 มิถุนายน พ.ศ. 2554) เราจะเห็นความลักลั่นระหว่างบริบทของยุคสมัยกับชุดคำพูดซึ่งสะท้อนชุดความคิดของอุดมการณ์โซตัสได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ในยุคซึ่งฉันทามติของสังคมไทยเรียกร้องความเท่าเทียม ประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก อุดมการณ์โซตัสกลับผลิตซ้ำวิธีคิดและวิถีปฏิบัติของยุคเผด็จการ อันมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างความซาบซึ้งกับจารีตนิยมอย่างปราศจากการถกเถียงด้วยเหตุด้วยผลและการผูกขาดการตีความรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกกับสถาบัน (ในที่นี้ คือสถาบันการศึกษาและสถาบันอาวุโส) ให้มีลักษณะแข็งทื่อไร้พลวัต โดยโจมตีกลุ่มคนที่เห็นต่างว่าเป็นพวกบ่อนทำลาย ?เจตนารมณ์? และ ?ประเพณีอันเก่าแก่? หรือเป็นพวก ?ร้อนวิชาสิทธิมนุษยชน? หรือ ?ทำลายชื่อเสียงสถาบัน? (ดังตัวอย่างบทสัมภาษณ์อันน่าเศร้าสลดใจของอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามและความคิดเห็นของกลุ่มสนับสนุนกิจกรรมประชุมเชียร์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)7
วิวาทะว่าด้วยระบบโซตัสจึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่การตั้งคำถามกับรูปแบบและวิธีการของประเพณีการรับน้องภายในรั้วมหาวิทยาลัยเท่านั้น (กล่าวคือ เราจะใช้วิธีการอย่างไรก็ได้ แม้ว่าจะล้าหลังหรือขัดแย้งกับยุคสมัยเพียงใด เพื่อให้ได้มาซึ่งจุดมุ่งหมายอัน ?ดี? หรือ? ซึ่งในที่นี้ ยังไม่ได้ตั้งคำถามกับ ?เจตนาดี? นี้ ว่าแท้จริงมาจากมุมมองของใคร เพื่อใครกันแน่และ ?ดี? จริงหรือ) แต่หมายรวมถึงการเชื่อมโยงระบบโซตัสเข้ากับบริบทภายนอกรั้วมหาวิทยาลัย เข้ากับสภาพความเป็นจริงของสังคมไทยในปัจจุบันที่รากเหง้าของปัญหาทางการเมือง สังคมและวัฒนธรรมมาจากการไม่ยอมรับและไม่เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายและจากการดำรงอยู่ของระบบอุปถัมภ์และระบบพวกพ้องอันนำมาซึ่งการเลือกปฏิบัติและความอยุติธรรมทั้งหลายในสังคม
ในแง่นี้ พื้นที่ปิดของห้องเชียร์จึงกลายมาเป็นพื้นที่จำลองของปฏิบัติการใช้อำนาจที่ไร้ความชอบธรรมใดๆ เป็นพื้นที่ฝึกความชาชินให้สยบยอมต่อ ?ความเป็นธรรมชาติ? (ภายใต้ชื่อเรียกอันศักดิ์สิทธิ์ว่า ?ประเพณี?) ของโครงสร้างเดิมทางสังคม ซึ่งถูกประกอบสร้างและสถาปนาขึ้นจากอำนาจภายนอก จนนำไปสู่การสมยอมให้ถูกหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อไป และยังเป็นพื้นที่ของการส่งทอด ?วัฒนธรรมเหยียด? ผู้อื่น จึงไม่น่าแปลกใจเลยหาก แท้จริงแล้ว ชนชั้นกลางมีการศึกษาทั้งหลายจะเป็นผู้ชื่นชอบในระบอบเจ้าขุนมูลนายและดูถูกผู้อื่นที่ไม่มีการศึกษาเท่าเทียมตน เพราะคนเหล่านี้ได้รับประโยชน์จากระบบอุปถัมภ์ที่สถาปนาผ่านระบอบการศึกษา จึงต้องพยายามปกปักรักษาอุดมการณ์โซตัสนี้ไว้เพื่อรักษาสถานภาพความเหลื่อมล้ำที่เป็นอยู่ในสังคมให้คงทนถาวรสืบไป
ภายในพื้นที่ปิดของห้องเชียร์และรั้วมหาวิทยาลัย นักศึกษาทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องได้กระทำการ ?สืบทอด? พิธีกรรมปิดหูปิดตาและปิดจินตนาการของคนหนุ่มสาวในนามของ ?อัตลักษณ์? อันคับแคบของการเป็นนักศึกษาของสถาบันใดสถาบันหนึ่งอย่างเดียว การปฏิเสธที่จะตั้งคำถามหรือเปิดเวทีเสวนาถกเถียงถึงความชอบธรรมของการมีอยู่ของระบบโซตัส ในท่ามกลางสังคมไทยยุคเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่โครงสร้างทางสังคมการเมืองแบบจารีตนิยมสั่นคลอนอย่างถึงราก เป็นเสมือนการเลือกขีดเส้นวงกลมล้อมรอบตนเองเพื่อปิดตายศักยภาพของความเป็นปัญญาชนที่ควรจะมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและเลือกการกดทับปิดกั้นพลังสร้างสรรค์แห่งวัยรุ่นด้วยการสร้างความเป็นอื่นให้กับตนเองและให้กับคนอื่นที่ไม่ใช่พวกตน
นับเป็นสิ่งที่น่าเสียดายหากพวกเขาไม่สามารถมองเห็นความเป็นไปได้อื่นๆของรูปแบบการต้อนรับ ?เพื่อนใหม่? ที่สามารถเชื่อมโยงกับชุมนุมโดยรอบมหาวิทยาลัยเพื่อเรียนรู้จากของจริง ปัญหาจริงและคนจริง ฤาพวกเขามองไม่เห็นว่ามหาวิทยาลัยไม่ใช่พื้นที่ปิด แต่เป็นพื้นที่เปิดสู่ความท้าทายของการเข้าไปปฏิสัมพันธ์กับสภาพความเป็นจริงของสังคมภายนอกซึ่งพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้
ในท่ามกลางเสียงเรียกร้องของสังคมเพื่อการปฏิรูปทางการเมือง การตั้งคำถามกับระบอบคุณค่าอันเป็นฐานเชื่อมโยงและจัดระเบียบความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมเป็นสิ่งที่พึงกระทำร่วมกัน ประเพณีการรับน้องของสถาบันอุดมศึกษาไทยนี้เป็น ?พื้นที่สีเทา? ซึ่งไม่มีที่ทางชัดเจนในภูมิทัศน์ของระบบการศึกษาไทย สวนทางกับยุทธศาตร์การพัฒนาการศึกษา สวนทางกับปณิธานของการผลิตบัณฑิตที่มุ่งเน้นให้นิสิตนักศึกษามีทักษะทางปัญญา สวนทางกับสปิริตของการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่ควรอยู่บนฐานของวัฒนธรรมการวิพากษ์ ท้ายที่สุด ประเพณีนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อปรัชญาพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยอย่างไม่สามารถประนีประนอมได้ เพราะระบบโซตัสเป็นกลไกหลักของการครอบงำเชิงวัฒนธรรมและเป็นเมล็ดพันธุ์ของ ?อุดมการณ์อำนาจนิยม? ที่ตกค้างอยู่ในระดับจิตใต้สำนึกและความคิดความอ่านของผู้คนอย่างแยบยลและแยบคาย อันเป็นต้นตอสำคัญของปัญหาการเมืองที่นำไปสู่การสังหารหมู่เมื่อพฤษภาคม 2553
http://transform.in.th/2011/06/sotus/
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผมก็เป็นพวกหนึ่งที่เกลียดระบบนี้นะ หลายๆอย่างอะแหละ มันไร้สาระมาก ร้องเพลงไร้สาระแถมเนื้อหาใต้สะดือ ร้องเข้าไปให้คอแตกไปเลยให้ได้อะไรขึ้นมา เอาจับไปทำโทษ ทรมาณต่างๆด้วยเหตุผลไร้สาระเช่นร้องเพลงไม่ดัง บางทีต้องอยู่เย็นอยู่ดึกเพื่อซ้อมเชียร์ บางคนไม่ได้นอนหอนะบ้านไกลด้วย กลับบ้าน3-4ทุ่มไม่มีรถสองแถวเข้าบ้านทำไง การเรียนก็เสียไปหลายคนอยู่
รุ่นพี่ผมเห็นหลายคนมันก็เป็นรุ่นพี่ตัวอย่างกันจริงๆ เก่งก็แค่กินเหล้าสูบบุหรีเก่งแต่เรียนแบบใกล้ตายเต็มทน ยิ่งเป็นเด็กซิ่วนี้จะรู้ซึ่งคับ แก่กว่า ชีวิตในมหาลัยชุกโชนกว่าแต่ต้องมาฟังเด็กเมื่อวานซืนว๊ากแล้วแอบขำในใจว่าไอ้พวกนี้มันไม่รู้อะไรซะเลย
และก็นะอย่างว่าคับมันเป็นระบบที่ปลูกฝังระบบเผด็จการจริงๆ ห้ามคิดห้ามโต้แย้ง ไม่มีเหตุผลต้องทำตามที่ผู้นำสั่งอย่างเดียว ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย บางคนไม่รู้เรื่องด้วยก็โดนทำโทษ ในเรื่องของสตาฟนี้ยิ่งงี่เง่าคับ สตาฟมันก็ระดับเดียวกันหมด แต่พอทำผิดก็รับผิดชอบแต่สตาฟพี่เลี้ยง
ไอ้คนว๊ากกะฝ่ายกองเสบียงก็ยืนดูแบบพวกSเห็นคนโดนทรมาณ เหตุผลก็ไร้สาระเช่น คนไม่มาซึ่งก็เรื่องของเขาสิ ไอ้ระบบรับน้องปัญญาอ่อนมันมีประโยทย์ต่อชีวิตยังไง พอรับน้องเสร็จได้รุ่นรุ่นพี่ ก็ได้เบ๊มาเพิ่ม รุ่นน้องก็ไม่ได้ประโยชย์อะไรเลย ลงทะเบียนต่างๆพึ่งตัวเองหมด
รับน้องมันเป็นเรื่องที่งี่เง่าไร้เหตุผลที่สุดละ เกณฑ์ทหารมันยังพอเหลือเหตุผลพอฟังขึ้นบ้างนิดหน่อย แต่รับน้องผมยังหาเหตุผลของมันไม่เจอเลย
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย PanzerElite เมื่อ 2013-5-1 23:12
โซตัส: เมล็ดพันธุ์อุดมการณ์อำนาจนิยมที่ตกค้างในสังคมไทย