Board
Chat
Store
Board
ห้องสมุด
📢
แจ้งข่าวล๊อกอินผ่าน Facebook ไม่ได้
Forum
ห้องสมุด
Read Thread
Reply
ประวัติหมากล้อม
Views 2.49K
10 Repiled
0 Point
N-P-K
L
First post
#1
Google Translate
ประวัติหมากล้อม
หมากล้อม
มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “เหวยฉี” ในภาษาจีน “บาดุก” ในภาษาเกาหลี หรือ “อิโกะ” ในภาษาญี่ปุ่น เป็นกีฬาหมากกระดานชนิดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมากว่า 3,000 ปี เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน และต่อมาได้เผยแพร่ไปยังเกาหลี และ ญี่ปุ่นเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ผู้บริหารประเทศระดับฮ่องเต้ แม่ทัพนายกองและ ปัญญาชนชั้นสูง ปัจจุบันนิยมเล่นกันแพร่หลายกว่า 66 ประเทศใน ทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกา แอฟริกา และ โอเชียเนีย โดยเฉพาะใน ญี่ปุ่น และ เกาหลี ญี่ปุ่นรู้จักหมากล้อมเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อน จนปัจจุบันพัฒนา มาเป็นกีฬาประจำชาติอย่างหนึ่ง
หมากล้อม
เป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน อันประกอบด้วย ดนตรี ลายสือศิลป์ (การเขียนตัวอักษรจีน) การวาดภาพ และ หมากล้อม ชาวจีนโบราณ เปรียบเทียบการเล่นหมากล้อมว่า เสมือนการสนทนาด้วยมือ หมากล้อมมีพื้นที่เล่นมากถึง 361 จุด บนเส้นที่ตัดกันด้านละ 19 เส้น หมากล้อมจึงเป็นเกมที่เล่นยาก และเป็นศิลปะสุดยอดของการเล่นหมากกระดาน ทั้งยังเป็นศาสตร์ท้าทายให้ผู้เล่นศึกษาแนวคิด ในการวางแผน มองการณ์ไกล หาโอกาสสร้าง ต่อสู้และ บุกชิงพื้นที่มาครอบครองภายใต้หลักการ ให้คู่ต่อสู้สามารถอยู่ได้ โดยใช้หมากขาวและดำวางบนกระดานสร้างกลุ่มให้เกิดกลุ่มกำลังให้มากที่สุด การวางเม็ดหมากล้อมแต่ละครั้งบนกระดานนั้นยังต้องอาศัย หลักการของการใช้เหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์ ความสำคัญของหมากล้อมมิใช่เป็นเพียงศิลปะในการเล่นเกมกีฬาที่สนุก ตื่นเต้น และท้าทายเท่านั้น แนวความคิด และ ปรัชญาที่เกิดจากทักษะ และ ความชำนาญของผู้เล่น เช่น การวางแผน การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพ และ ผลตอบแทนสูงสุด การสร้างกลุ่มกำลังบนรากฐานของการให้โอกาส และการแบ่งปัน การสร้างสมดุลของสภาวะหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ และ ความคุ้นเคยต่อการเปลี่ยนแปลงอย่าง ไม่มีวันจบสิ้น ประสบการณ์เหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการบริหารการปกครอง และ แม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างชาญฉลาด หมากล้อมจึงเป็นที่นิยม และ ได้รับการยอมรับในประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูง ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา เยอรมัน ฝรั่งเศส หรือ ในเอเชีย เช่น จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น
ต้นกำเนิดของหมากล้อม
อยู่ในประเทศจีน เมื่อ 3000 ปีก่อน โดยจักรพรรดิ์จีน สมัยนั้นได้ให้เหล่า ขุนนางคิดค้นเกมส์ขึ้นแม้เกมส์นี้จะเกิดในประเทศจีน แต่เมื่อประมาณปี ค.ศ.740ได้มีผู้นำเกมส์นี้เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น เหล่าซามูไร ขุนนาง และ โชกุน ได้มีการตั้งรางวัล และ ตำแหน่ง “อาจารย์สอนหมากล้อมโชกุน” ต่อมาในช่วงปี ค.ศ.1602 เกมส์นี้เป็นที่นิยมเล่นในหมู่ชนชั้นสูง ค.ศ.1612 ก็ได้เกิด 4 สำนักหมากล้อมขึ้นคือ Honinbo, Inoue, Yasui และ Hayashi เกิดมีการแข่งขันกันระหว่างสำนัก ทำให้หมากล้อมมีการพัฒนาอย่างสูงมาก จนกระทั่งถึงปี 1868 จักรพรรดิ์ญี่ปุ่นสมัยนั้น ยกเลิกการสนับสนุนหมากล้อมทั้งปวง เนื่องจากเกิดสงครามถือเป็นยุคมืดของหมากล้อม จนกระทั่งปี 1924 ก็มีการตั้งสมาคมหมากล้อมญี่ปุ่นขึ้น ใช้ชื่อว่า Nihon Kiin และมีการพัฒนาหมากล้อมขึ้นมาจนเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่ง ทางด้านประเทศจีนแม้ว่าจะเป็นต้นกำเนิดของหมากล้อม แต่หมากล้อมในประเทศจีน กลับไม่ได้เป็นที่นิยม ไม่ได้รับการสนับสนุน แต่ก็ยังมีนักหมากล้อมฝีมือดี ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ อู๋ ชิงหยวน ในเวลาต่อมาจีนได้สนับสนุนหมากล้อมมากขึ้น จนเกิดยอดฝีมือขึ้นมากมาย ปัจจุบันมีรายการแข่งขันระหว่าง 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งทั้ง 3 ประเทศมีฝีมือที่ทัดเทียมกันในปัจจุบัน ด้าน ยุโรป อเมริกา แม้ว่า มาโคว์ โปโล ได้นำชุดหมากล้อมเข้าสู่ประเทศบ้านเกิดแต่กลับไม่เป็นที่รู้จักอาจเป็นเพราะ ไม่มีผู้ที่เล่นหมากล้อมเป็นมากนัก แต่ในปัจจุบันหมากล้อมเป็นที่แพร่หลายในอเมริกา และ ยุโรปหลายประเทศ
ปัจจุบัน
มีการจัดตั้งสมาพันธ์หมากล้อมนานาชาติขึ้น โดยมีประเทศสมาชิคทั้งสิ้น 66 ประเทศ 5 ทวีป ทั่วโลกและผลักดันกีฬาหมากล้อมจนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก GAISF (General Association of International Sport Federation) โดยสมาพันธ์หมากล้อมนานาชาติ (IGF) ได้เข้าเป็นสมาชิก GAISF เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งมีผลช่วยสมาชิก IGF ในการขอเข้าเป็นสมาชิกโอลิมปิคในประเทศของตนเอง (NOC) หรือ ขอบรรจุ เป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ จากรายงานของ NATIONAL INSTITUTION OF HEALTH - AMERICA “ระบุว่ากีฬาเล่นกล้าม หรือเพาะกายเป็นกีฬา ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจมากเช่นเดียวกับวิ่งจ๊อกกิ้ง มวยปล้ำ " แต่ข้อเด่นของกีฬาเพาะกายเองก็มีมากกลายเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ทำให้กีฬาเพาะกายยังเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มชายชาตรีเสมอมา
ข้อมูลจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
http://www.sat.or.th
ประวัติหมากล้อม
Recommended Comments (2)
Recommended Comments (2)
All Comments (10)
You only viewing one comment, click here to view all comments
tow10642
L
#2
มีประโยชน์ดีครับ
แต่ไหงตอนจบกลายเป็นกีฬาเพาะกายได้หว่า